ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์หรือธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ 10 ประการคือ
1. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
2. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่าการเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
3. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
4. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวเราเองติเตียนเองโดยศีลได้หรือไม่
5. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
6. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
7. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักได้รับผลของกรรมนั้น
8. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่
9. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
10. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษที่ยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่
ธรรมทั้ง 10 ประการนี้เป็นพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
โดยนัยแห่งธรรม 10 ประการนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนให้สงฆ์สาวกผู้เข้ามาบวชได้ระลึกถึงธรรม 10 ประการนี้เป็นประจำ เพื่อความไม่ประมาท
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เข้ามาบวชในพุทธศาสนา ถ้าเข้ามาด้วยศรัทธาคือความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จะต้องยึดมั่นในธรรม 10 ประการ ดูข่าวโทรทัศน์ช่องหนึ่ง รายงานข่าวว่าเจ้าอาวาสแต่งตัวเป็นคฤหัสถ์เข้าพักในโรงแรม และสั่งสีกาจากสถานอาบอบนวดมาปรนนิบัติครั้งละ 2 คน ทำมาหลายครั้ง แต่ครั้งสุดท้ายถึงคราวซวย ประชาชนแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกจับกุม และนำไปสึก ในข่าวเดียวกันนี้ ได้มีการจับกุมพระภิกษุอีก 2 รูปในข้อหาพัวพันกับการขายยาบ้า จึงเท่ากับว่าในวันเดียวมีข่าวพระทำผิดวินัย และผิดกฎหมายถึง 3 รูป เพียงแค่นี้ก็มากพอที่จะทำให้ชาวพุทธอ่านแล้ว ฟังแล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายศรัทธาต่อพระสงฆ์ถึงกับคิดเลิกทำบุญได้แล้ว และที่เป็นเช่นนี้ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวคือ พระประพฤติตัวไม่ดี จะมีอยู่ส่วนน้อยที่ได้เห็นข่าวในทำนองนี้แล้วคิดอย่างมีเหตุผลว่า พระที่ไม่ดีมีอยู่จริง แต่ก็มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับพระที่ดีซึ่งมีอยู่มากนับแต่วันแรกที่เข้ามาเป็นบรรพชิต โดยเริ่มจากข้อที่ 1 ที่ว่าเราได้เข้าถึงเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
คำว่า บรรพชิตเป็นภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นภาษามคธหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าภาษาบาลีเป็นปัพพชิต ซึ่งมีความหมายเหมือนกันทั้งสองคำว่าเป็นผู้งดเว้นจากกิจกรรมของคฤหัสถ์ กล่าวคืออากัปกิริยาใดๆ ที่เคยทำเมื่อครั้งที่ยังไม่บวช หลังจากที่ได้บวชแล้วจะทำเยี่ยงเดิมอีกไม่ได้ นั่นหมายความว่า ผู้ที่บวชแล้วหรือผู้ที่เป็นบรรพชิตจะทำเยี่ยงคฤหัสถ์ไม่ได้นั่นเอง
ถึงแม้จะมีคำสอนดังกล่าวข้างต้น และมีศีลหรือพระวินัยให้ผู้ที่มาบวชต้องถือปฏิบัติ 227 ข้อสำหรับภิกษุ 311 ข้อสำหรับภิกษุณี 100 ข้อ โดยแบ่งเป็นนาสนังคะ 10 ทัณฑกรรม 15 และเสขิยวัตร 75 สำหรับสามเณร แต่ทุกวันนี้ทั้งภิกษุและสามเณรมีความประพฤติย่อหย่อน ทำผิดศีล ผิดกฎหมาย ไร้จริยธรรม ดังจะเห็นได้จากข่าวทางสื่อ ดังเช่นเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว หรือบางคนอาจมองโลกสวยถึงขั้นบอกว่า พระที่เลวยังดีกว่าคฤหัสถ์ที่ดี โดยให้เหตุผลว่า พระภิกษุมีศีล 227 ข้อ คงจะไม่ทำผิดศีลหมดทุกข้อในคราวเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเทียบกับคฤหัสถ์ที่มีศีลอย่างมากแค่ 8 ข้อเปรียบเทียบจำนวนกันแล้ว พระภิกษุก็ยังเหลือศีลมากกว่า
แต่ในความเป็นจริง เขาผู้นั้นลืมไปว่า พระภิกษุต้องอาบัติหรือล่วงละเมิดปาราชิกเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ถึงแม้ศีลข้ออื่นจะไม่ถูกล่วงละเมิด ก็จะหมดไปพร้อมกับการขาดจากความเป็นภิกษุนั่นเอง
ปาราชิกคืออะไร และทำไมจึงมีโทษหนัก
ปาราชิกคือศีลของภิกษุ ซึ่งมีโทษหนักถึงขั้นพ้นจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิตมีอยู่ 4 ข้อคือ
1. ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน คือการสมสู่ทางเพศเยี่ยงคฤหัสถ์เป็นการทำตนให้หมักหมมในกาม ถือว่าเป็นการใช้ชีวิตหย่อนยานหรือที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค
2. ห้ามภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป สิกขาบทนี้เป็นไปตามกฎหมายในยุคนั้น ซึ่งกำหนดโทษผู้ที่ลักขโมยสิ่งของ ซึ่งมีราคาหัวมาสกขึ้นไป ด้วยการประหารชีวิตหรือเนรเทศ
3. ห้ามมิให้ฆ่ามนุษย์ เนื่องจากในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ดังนั้นจึงกำหนดโทษหนักสำหรับผู้ที่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน
4. ห้ามมิให้ภิกษุอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน สิกขาบทเป็นการป้องกันมิให้ทำตนเป็นผู้วิเศษ และหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อ และแสวงหาลาภสักการะจากความเชื่อมั่น
ใน 4 ข้อนี้ ภิกษุล่วงละเมิดเพียงข้อใดข้อหนึ่ง มีโทษถึงขั้นขาดจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ เปรียบได้กับโทษประหารชีวิตตามนัยแห่งกฎหมายของบ้านเมือง
ด้วยเหตุนี้ ภิกษุที่ล่วงละเมิดปาราชิกจะเป็นข้อใดก็ตาม ถือได้ว่าไม่เป็นภิกษุแล้ว และถ้ายังคงห่มจีวรต่อไปก็เท่ากับคฤหัสถ์ในคราบของนักบวชหลอกลวงประชาชนผู้ศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุที่มีความประพฤติเยี่ยงนี้ว่าเปรียบได้กับมหาโจร 5 ประเภทคือ
1. มหาโจรพวกหนึ่งคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะเข้าไปฆ่าปล้นเอาไปเผาในคามนิคมราชธานี เปรียบได้กับภิกษุบางรูปคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจาริกไปในคามนิคมราชธานีให้คฤหัสถ์ และบรรพชิตสักการะเคารพนับถือบูชา อ่อนน้อม และได้จีวรบิณฑบาตที่อยู่อาศัยตลอดยารักษาโรค
2. ภิกษุชั่วบางรูปเรียนพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วโกงเป็นของตนเอง
3. ภิกษุชั่วบางรูปใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่าประพฤติผิดพรหมจรรย์ อันไม่มีมูล
4. ภิกษุชั่วบางรูป ถือเอาครุภัณฑ์ ครุบริขารซึ่งเป็นของสงฆ์ เช่น อาราม ที่ตั้งอาราม วิหาร ที่ตั้งวิหาร เตียงตั่ง เป็นต้น ไปสงเคราะห์คฤหัสถ์ประจบคฤหัสถ์ (เพื่อหวังได้ลาภสักการะ)
5. ภิกษุผู้อวดคุณวิเศษที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง ชื่อว่าเป็นพวกมหาโจรในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย
ภิกษุ 5 ประเภทข้างต้น พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นโจรในคราบของนักบวช
ดังนั้น ถ้าชาวพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวพุทธที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ถ้าต้องการให้พุทธศาสนามีความมั่นคง ก็จะต้องกำจัดโจร 5 ประเภทนี้ให้หมดไปจากวงการสงฆ์ และถ้าทำได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้จรรโลงพระศาสนาอย่างแท้จริง
ส่วนว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าภิกษุรูปใด และสังกัดสำนักไหน มีพฤติกรรมเยี่ยงโจร 5 ประเภทคงจะรู้ได้ไม่ยาก เพียงแต่นำเอาลักษณะของโจร 5 ประเภทมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมภิกษุบางรูปในบางสำนัก ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดก็บอกได้รูปไหน และสำนักใด
แต่เห็นแล้วจะจัดการหรือไม่อย่างไร ข้อนี้ต้องยกให้เป็นภาระหน้าที่ของผู้ที่มีอำนาจรัฐทางฝ่ายอาณาจักร และสงฆ์ฝ่ายปกครองเป็นผู้ใช้ดุลพินิจเอง
1. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่าเราถึงความมีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
2. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่าการเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
3. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
4. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวเราเองติเตียนเองโดยศีลได้หรือไม่
5. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
6. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
7. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักได้รับผลของกรรมนั้น
8. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่
9. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่
10. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษที่ยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่
ธรรมทั้ง 10 ประการนี้เป็นพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต
โดยนัยแห่งธรรม 10 ประการนี้ พระพุทธองค์ทรงสอนให้สงฆ์สาวกผู้เข้ามาบวชได้ระลึกถึงธรรม 10 ประการนี้เป็นประจำ เพื่อความไม่ประมาท
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เข้ามาบวชในพุทธศาสนา ถ้าเข้ามาด้วยศรัทธาคือความเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จะต้องยึดมั่นในธรรม 10 ประการ ดูข่าวโทรทัศน์ช่องหนึ่ง รายงานข่าวว่าเจ้าอาวาสแต่งตัวเป็นคฤหัสถ์เข้าพักในโรงแรม และสั่งสีกาจากสถานอาบอบนวดมาปรนนิบัติครั้งละ 2 คน ทำมาหลายครั้ง แต่ครั้งสุดท้ายถึงคราวซวย ประชาชนแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกจับกุม และนำไปสึก ในข่าวเดียวกันนี้ ได้มีการจับกุมพระภิกษุอีก 2 รูปในข้อหาพัวพันกับการขายยาบ้า จึงเท่ากับว่าในวันเดียวมีข่าวพระทำผิดวินัย และผิดกฎหมายถึง 3 รูป เพียงแค่นี้ก็มากพอที่จะทำให้ชาวพุทธอ่านแล้ว ฟังแล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายศรัทธาต่อพระสงฆ์ถึงกับคิดเลิกทำบุญได้แล้ว และที่เป็นเช่นนี้ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียวคือ พระประพฤติตัวไม่ดี จะมีอยู่ส่วนน้อยที่ได้เห็นข่าวในทำนองนี้แล้วคิดอย่างมีเหตุผลว่า พระที่ไม่ดีมีอยู่จริง แต่ก็มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับพระที่ดีซึ่งมีอยู่มากนับแต่วันแรกที่เข้ามาเป็นบรรพชิต โดยเริ่มจากข้อที่ 1 ที่ว่าเราได้เข้าถึงเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
คำว่า บรรพชิตเป็นภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นภาษามคธหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าภาษาบาลีเป็นปัพพชิต ซึ่งมีความหมายเหมือนกันทั้งสองคำว่าเป็นผู้งดเว้นจากกิจกรรมของคฤหัสถ์ กล่าวคืออากัปกิริยาใดๆ ที่เคยทำเมื่อครั้งที่ยังไม่บวช หลังจากที่ได้บวชแล้วจะทำเยี่ยงเดิมอีกไม่ได้ นั่นหมายความว่า ผู้ที่บวชแล้วหรือผู้ที่เป็นบรรพชิตจะทำเยี่ยงคฤหัสถ์ไม่ได้นั่นเอง
ถึงแม้จะมีคำสอนดังกล่าวข้างต้น และมีศีลหรือพระวินัยให้ผู้ที่มาบวชต้องถือปฏิบัติ 227 ข้อสำหรับภิกษุ 311 ข้อสำหรับภิกษุณี 100 ข้อ โดยแบ่งเป็นนาสนังคะ 10 ทัณฑกรรม 15 และเสขิยวัตร 75 สำหรับสามเณร แต่ทุกวันนี้ทั้งภิกษุและสามเณรมีความประพฤติย่อหย่อน ทำผิดศีล ผิดกฎหมาย ไร้จริยธรรม ดังจะเห็นได้จากข่าวทางสื่อ ดังเช่นเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว หรือบางคนอาจมองโลกสวยถึงขั้นบอกว่า พระที่เลวยังดีกว่าคฤหัสถ์ที่ดี โดยให้เหตุผลว่า พระภิกษุมีศีล 227 ข้อ คงจะไม่ทำผิดศีลหมดทุกข้อในคราวเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเทียบกับคฤหัสถ์ที่มีศีลอย่างมากแค่ 8 ข้อเปรียบเทียบจำนวนกันแล้ว พระภิกษุก็ยังเหลือศีลมากกว่า
แต่ในความเป็นจริง เขาผู้นั้นลืมไปว่า พระภิกษุต้องอาบัติหรือล่วงละเมิดปาราชิกเพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ขาดจากความเป็นภิกษุแล้ว ถึงแม้ศีลข้ออื่นจะไม่ถูกล่วงละเมิด ก็จะหมดไปพร้อมกับการขาดจากความเป็นภิกษุนั่นเอง
ปาราชิกคืออะไร และทำไมจึงมีโทษหนัก
ปาราชิกคือศีลของภิกษุ ซึ่งมีโทษหนักถึงขั้นพ้นจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิตมีอยู่ 4 ข้อคือ
1. ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน คือการสมสู่ทางเพศเยี่ยงคฤหัสถ์เป็นการทำตนให้หมักหมมในกาม ถือว่าเป็นการใช้ชีวิตหย่อนยานหรือที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค
2. ห้ามภิกษุถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มีราคาตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป สิกขาบทนี้เป็นไปตามกฎหมายในยุคนั้น ซึ่งกำหนดโทษผู้ที่ลักขโมยสิ่งของ ซึ่งมีราคาหัวมาสกขึ้นไป ด้วยการประหารชีวิตหรือเนรเทศ
3. ห้ามมิให้ฆ่ามนุษย์ เนื่องจากในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ดังนั้นจึงกำหนดโทษหนักสำหรับผู้ที่ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน
4. ห้ามมิให้ภิกษุอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน สิกขาบทเป็นการป้องกันมิให้ทำตนเป็นผู้วิเศษ และหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อ และแสวงหาลาภสักการะจากความเชื่อมั่น
ใน 4 ข้อนี้ ภิกษุล่วงละเมิดเพียงข้อใดข้อหนึ่ง มีโทษถึงขั้นขาดจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ เปรียบได้กับโทษประหารชีวิตตามนัยแห่งกฎหมายของบ้านเมือง
ด้วยเหตุนี้ ภิกษุที่ล่วงละเมิดปาราชิกจะเป็นข้อใดก็ตาม ถือได้ว่าไม่เป็นภิกษุแล้ว และถ้ายังคงห่มจีวรต่อไปก็เท่ากับคฤหัสถ์ในคราบของนักบวชหลอกลวงประชาชนผู้ศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุที่มีความประพฤติเยี่ยงนี้ว่าเปรียบได้กับมหาโจร 5 ประเภทคือ
1. มหาโจรพวกหนึ่งคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะเข้าไปฆ่าปล้นเอาไปเผาในคามนิคมราชธานี เปรียบได้กับภิกษุบางรูปคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจาริกไปในคามนิคมราชธานีให้คฤหัสถ์ และบรรพชิตสักการะเคารพนับถือบูชา อ่อนน้อม และได้จีวรบิณฑบาตที่อยู่อาศัยตลอดยารักษาโรค
2. ภิกษุชั่วบางรูปเรียนพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วโกงเป็นของตนเอง
3. ภิกษุชั่วบางรูปใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่าประพฤติผิดพรหมจรรย์ อันไม่มีมูล
4. ภิกษุชั่วบางรูป ถือเอาครุภัณฑ์ ครุบริขารซึ่งเป็นของสงฆ์ เช่น อาราม ที่ตั้งอาราม วิหาร ที่ตั้งวิหาร เตียงตั่ง เป็นต้น ไปสงเคราะห์คฤหัสถ์ประจบคฤหัสถ์ (เพื่อหวังได้ลาภสักการะ)
5. ภิกษุผู้อวดคุณวิเศษที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง ชื่อว่าเป็นพวกมหาโจรในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย
ภิกษุ 5 ประเภทข้างต้น พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นโจรในคราบของนักบวช
ดังนั้น ถ้าชาวพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวพุทธที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ถ้าต้องการให้พุทธศาสนามีความมั่นคง ก็จะต้องกำจัดโจร 5 ประเภทนี้ให้หมดไปจากวงการสงฆ์ และถ้าทำได้ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้จรรโลงพระศาสนาอย่างแท้จริง
ส่วนว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าภิกษุรูปใด และสังกัดสำนักไหน มีพฤติกรรมเยี่ยงโจร 5 ประเภทคงจะรู้ได้ไม่ยาก เพียงแต่นำเอาลักษณะของโจร 5 ประเภทมาเปรียบเทียบกับพฤติกรรมภิกษุบางรูปในบางสำนัก ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดก็บอกได้รูปไหน และสำนักใด
แต่เห็นแล้วจะจัดการหรือไม่อย่างไร ข้อนี้ต้องยกให้เป็นภาระหน้าที่ของผู้ที่มีอำนาจรัฐทางฝ่ายอาณาจักร และสงฆ์ฝ่ายปกครองเป็นผู้ใช้ดุลพินิจเอง