“กลองดี ตีดังไกล กลองไม่ตี ดังเอง กลองจัญไร” นี่คือวาทะของพระเถระรูปหนึ่ง และถ้าจำไม่ผิดคือพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส ผู้ได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์แห่งกรุงสยามรูปหนึ่ง ซึ่งมีคำสอนประทับใจมากมายเป็นต้นว่า โง่ไม่เป็น เป็นใหญ่ยาก
โดยแบ่งคำสอนในเชิงอุปมาอุปไมยดังกล่าวข้างต้น หมายถึงว่า คนดีมีคุณธรรม ประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ย่อมมีชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล โดยมีผู้ที่เห็นความดีนำไปยกย่องกล่าวขวัญถึง โดยเจ้าตัวไม่จำเป็นต้องขอร้องหรือจ้างวานให้ทำเช่นนั้น
ในทางกลับกัน คนไม่ดี ไม่มีคุณธรรรม แถมยังก่อกรรมหรือมีส่วนก่อกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แต่ต้องการให้มีคนยกย่องสรรเสริญ จึงไปขอร้องหรือแม้กระทั่งอ้อนวอนและจ้างวานให้มีคนยกย่องสรรเสริญ พรรณนาความดีของตนเอง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้คนเชื่อถือ แล้วนำไปสู่การแสวงหาโอกาสเพื่อการได้มาซึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ผู้ที่ทำเช่นนี้ก็คือคนจัญไรไม่ควรที่ใครจะศรัทธา และไปคบหาสมาคมด้วย เพราะจะพากันจัญไรไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม ในโลกของปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ย่อมมีทั้งคนดี และคนเลวปะปนกันอยู่ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีคนประเภทกลองไม่ตีดังเอง
ด้วยเหตุคนประเภทนี้ จึงมีอยู่ในทุกวงการไม่เว้นแม้กระทั่งในวงการภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นนักบวชในพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง สิ่งที่ปุถุชนแสวงหาอันได้แก่ลาภ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลง และผันแปรไปตามกระแสโลก จึงเป็นที่พระภิกษุผู้มีศีล และบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นไม่ควรยึดติด และแสวงหาด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่เพศและภาวะของนักบวช
สิ่งที่ผันแปรไปตามกระแสโลก หรือโลกธรรมมี 8 ประการแบ่งออกเป็นสองประเภทดังนี้
1. ประเภทที่ทุกคนต้องการหรืออิฏฐารมณ์มี 4 ประการคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข
2. ประเภทที่ทุกคนไม่ต้องการหรืออนิฏฐารมณ์มี 4 ประการคือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์
โดยนัยแห่งโลกธรรม 8 ประการนี้ พระพุทธองค์ได้สอนให้รู้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนอยากมี อยากเป็นในวันนี้อาจเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ไม่อยากมี อยากเป็นวันใดก็ได้ จึงไม่ควรยึดถือและมุ่งมั่นแสวงหาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกไม่ควร และไม่สอดคล้องกับเพศภาวะและกาลเทศะ
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีภิกษุจำนวนไม่น้อยยังคงแสวงหาในส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะไม่ควรถึงกับใช้เงินเป็นตัวการในการสร้างภาพให้เห็นว่าตนเองเป็นคนดี มีชื่อเสียง มีคุณธรรม
พระธัมมชโยแห่งวัดธรรมกาย คือหนึ่งในบุคคลประเภทนี้ จะเห็นได้ในกิจกรรมที่จัดขึ้นเช่น การเดินธุดงค์กลางกรุงบนเส้นทางซึ่งมีการโปรยดอกไม้ และมีผู้คนพลุกพล่านไม่เหมาะแก่ธุดงควัตร รวมไปถึงการจัดงานตักบาตรซึ่งมีการจัดงานใหญ่โต มีพระภิกษุและคฤหัสถ์มาร่วมงานนับพันนับหมื่นคน มีการปิดถนนก่อความเดือดร้อนแก่ผู้เดินทาง
การจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำบุญตักบาตรดังที่เกิดขึ้นในจังหวัดระนอง และสงขลาไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเน้นความพอเพียงและเรียบง่าย
อีกประการหนึ่ง การทำทานจะได้หรือไม่มากน้อยแค่ไหน มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้รับและปริมาณหรือจำนวนของสิ่งที่นำมาเป็นทาน แต่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการให้ทาน 3 ประการคือ
1. ปฏิคาหก คือ ผู้รับเป็นผู้มีศีล เช่น ภิกษุมีศีล 227 ข้อ และภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ เป็นต้น
2. ทายก คือ ผู้ให้มีศรัทธา ตามนัยแห่งกาลามสูตรคือศรัทธาประกอบด้วยปัญญา ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และให้แล้วมีจิตเบิกบาน
3. วัตถุทาน คือ สิ่งของที่นำมาให้มีความบริสุทธิ์ มิได้เป็นสิ่งของที่ได้มาด้วยการทุจริต
แต่ในการทำบุญตักบาตรของวัดพระธรรมกาย ยืนยันได้หรือไม่ว่าปฏิคาหกมีศีลบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระธัมมชโยซึ่งเคยตกเป็นผู้ต้องหา กระทำผิดกฎหมาย และเข้าข่ายต้องอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตของ สมเด็จพระสังฆราช ทั้งในขณะนี้กำลังตกเป็นจำเลยทางสังคมในกรณีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังอยู่ระยะหนึ่ง
ทายกที่มาทำทานมีศรัทธา ประกอบด้วยปัญญา ตามนัยแห่งกาลามสูตรหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ศรัทธาอาศัย
ส่วนวัตถุทาน อันเป็นไทยธรรมซึ่งนำมารับประกันได้หรือไม่ว่า มิได้มีส่วนใดส่วนหนึ่งมีเส้นทางแห่งการได้มาไม่บริสุทธิ์ ดังที่ได้เกิดขึ้นจากการแสวงหาอันมิชอบ เฉกเช่นในกรณีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ไปทำบุญในงานมหกรรมแสวงบุญซึ่งวัดธรรมกายจัดขึ้นในแต่ละครั้ง ถ้าอยากรู้ว่าตนเองทำบุญแล้วได้บุญหรือไม่ ก็ขอให้นำองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นมาเป็นหลักในการพิจารณาหาคำตอบ ก็สามารถบอกได้ว่าได้บุญหรือได้บาป
ด้วยเหตุที่การจัดกิจกรรมทำบุญของวัดพระธรรมกาย ก่อให้เกิดข้อกังขาทั้งในแง่ของคำสอน และพิธีกรรม รวมไปถึงพฤติกรรมองค์กรซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่ศรัทธา และไม่ศรัทธาจนกลายเป็นที่มาของการต่อต้าน ดังที่ได้เกิดขึ้นที่จังหวัดระนอง และที่จังหวัดสงขลา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อคนคนเดียวสถานที่แห่งเดียว หรือวัตถุอันเดียวมีทั้งผู้ศรัทธา และไม่มีศรัทธา เฉกเช่นพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวพุทธซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารประเทศ ควรจะได้เข้ามาดูแลแก้ไขความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นด้วยการยึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ขจัดความอยากมี ความอยากเป็น ความไม่อยากมีอยากเป็น และมุ่งเน้นความหลุดพ้นจากกิเลสคำสอนนั้นเป็นของพระองค์
ในทางกลับกัน คำสอนใดเป็นไปเพื่อความยึดติด หมักหมมอยู่ในกามคำสอนนั้น มิใช่ของพระพุทธเจ้า
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดูแลสำนักพุทธจะได้เข้ามาดูแลแก้ไขในส่วนนี้ โดยอาศัยความรู้ ความชำนาญทางด้านกฎหมาย และความรู้ ความเข้าใจพระธรรมวินัย ช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่แฝงตัวเข้ามา และฝังอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนาให้หมดไปในที่สุด
โดยแบ่งคำสอนในเชิงอุปมาอุปไมยดังกล่าวข้างต้น หมายถึงว่า คนดีมีคุณธรรม ประกอบกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ย่อมมีชื่อเสียงเลื่องลือไปไกล โดยมีผู้ที่เห็นความดีนำไปยกย่องกล่าวขวัญถึง โดยเจ้าตัวไม่จำเป็นต้องขอร้องหรือจ้างวานให้ทำเช่นนั้น
ในทางกลับกัน คนไม่ดี ไม่มีคุณธรรรม แถมยังก่อกรรมหรือมีส่วนก่อกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แต่ต้องการให้มีคนยกย่องสรรเสริญ จึงไปขอร้องหรือแม้กระทั่งอ้อนวอนและจ้างวานให้มีคนยกย่องสรรเสริญ พรรณนาความดีของตนเอง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้คนเชื่อถือ แล้วนำไปสู่การแสวงหาโอกาสเพื่อการได้มาซึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ผู้ที่ทำเช่นนี้ก็คือคนจัญไรไม่ควรที่ใครจะศรัทธา และไปคบหาสมาคมด้วย เพราะจะพากันจัญไรไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม ในโลกของปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ย่อมมีทั้งคนดี และคนเลวปะปนกันอยู่ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีคนประเภทกลองไม่ตีดังเอง
ด้วยเหตุคนประเภทนี้ จึงมีอยู่ในทุกวงการไม่เว้นแม้กระทั่งในวงการภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นนักบวชในพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง สิ่งที่ปุถุชนแสวงหาอันได้แก่ลาภ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ไม่มีความแน่นอน เปลี่ยนแปลง และผันแปรไปตามกระแสโลก จึงเป็นที่พระภิกษุผู้มีศีล และบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นไม่ควรยึดติด และแสวงหาด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่เพศและภาวะของนักบวช
สิ่งที่ผันแปรไปตามกระแสโลก หรือโลกธรรมมี 8 ประการแบ่งออกเป็นสองประเภทดังนี้
1. ประเภทที่ทุกคนต้องการหรืออิฏฐารมณ์มี 4 ประการคือ ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข
2. ประเภทที่ทุกคนไม่ต้องการหรืออนิฏฐารมณ์มี 4 ประการคือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์
โดยนัยแห่งโลกธรรม 8 ประการนี้ พระพุทธองค์ได้สอนให้รู้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนอยากมี อยากเป็นในวันนี้อาจเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ไม่อยากมี อยากเป็นวันใดก็ได้ จึงไม่ควรยึดถือและมุ่งมั่นแสวงหาด้วยวิธีการที่ไม่ถูกไม่ควร และไม่สอดคล้องกับเพศภาวะและกาลเทศะ
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีภิกษุจำนวนไม่น้อยยังคงแสวงหาในส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะไม่ควรถึงกับใช้เงินเป็นตัวการในการสร้างภาพให้เห็นว่าตนเองเป็นคนดี มีชื่อเสียง มีคุณธรรม
พระธัมมชโยแห่งวัดธรรมกาย คือหนึ่งในบุคคลประเภทนี้ จะเห็นได้ในกิจกรรมที่จัดขึ้นเช่น การเดินธุดงค์กลางกรุงบนเส้นทางซึ่งมีการโปรยดอกไม้ และมีผู้คนพลุกพล่านไม่เหมาะแก่ธุดงควัตร รวมไปถึงการจัดงานตักบาตรซึ่งมีการจัดงานใหญ่โต มีพระภิกษุและคฤหัสถ์มาร่วมงานนับพันนับหมื่นคน มีการปิดถนนก่อความเดือดร้อนแก่ผู้เดินทาง
การจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำบุญตักบาตรดังที่เกิดขึ้นในจังหวัดระนอง และสงขลาไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเน้นความพอเพียงและเรียบง่าย
อีกประการหนึ่ง การทำทานจะได้หรือไม่มากน้อยแค่ไหน มิได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้รับและปริมาณหรือจำนวนของสิ่งที่นำมาเป็นทาน แต่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการให้ทาน 3 ประการคือ
1. ปฏิคาหก คือ ผู้รับเป็นผู้มีศีล เช่น ภิกษุมีศีล 227 ข้อ และภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ เป็นต้น
2. ทายก คือ ผู้ให้มีศรัทธา ตามนัยแห่งกาลามสูตรคือศรัทธาประกอบด้วยปัญญา ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และให้แล้วมีจิตเบิกบาน
3. วัตถุทาน คือ สิ่งของที่นำมาให้มีความบริสุทธิ์ มิได้เป็นสิ่งของที่ได้มาด้วยการทุจริต
แต่ในการทำบุญตักบาตรของวัดพระธรรมกาย ยืนยันได้หรือไม่ว่าปฏิคาหกมีศีลบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระธัมมชโยซึ่งเคยตกเป็นผู้ต้องหา กระทำผิดกฎหมาย และเข้าข่ายต้องอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตของ สมเด็จพระสังฆราช ทั้งในขณะนี้กำลังตกเป็นจำเลยทางสังคมในกรณีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังอยู่ระยะหนึ่ง
ทายกที่มาทำทานมีศรัทธา ประกอบด้วยปัญญา ตามนัยแห่งกาลามสูตรหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ศรัทธาอาศัย
ส่วนวัตถุทาน อันเป็นไทยธรรมซึ่งนำมารับประกันได้หรือไม่ว่า มิได้มีส่วนใดส่วนหนึ่งมีเส้นทางแห่งการได้มาไม่บริสุทธิ์ ดังที่ได้เกิดขึ้นจากการแสวงหาอันมิชอบ เฉกเช่นในกรณีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ไปทำบุญในงานมหกรรมแสวงบุญซึ่งวัดธรรมกายจัดขึ้นในแต่ละครั้ง ถ้าอยากรู้ว่าตนเองทำบุญแล้วได้บุญหรือไม่ ก็ขอให้นำองค์ประกอบ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นมาเป็นหลักในการพิจารณาหาคำตอบ ก็สามารถบอกได้ว่าได้บุญหรือได้บาป
ด้วยเหตุที่การจัดกิจกรรมทำบุญของวัดพระธรรมกาย ก่อให้เกิดข้อกังขาทั้งในแง่ของคำสอน และพิธีกรรม รวมไปถึงพฤติกรรมองค์กรซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่ศรัทธา และไม่ศรัทธาจนกลายเป็นที่มาของการต่อต้าน ดังที่ได้เกิดขึ้นที่จังหวัดระนอง และที่จังหวัดสงขลา เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อคนคนเดียวสถานที่แห่งเดียว หรือวัตถุอันเดียวมีทั้งผู้ศรัทธา และไม่มีศรัทธา เฉกเช่นพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย จึงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวพุทธซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารประเทศ ควรจะได้เข้ามาดูแลแก้ไขความขัดแย้งซึ่งเกิดขึ้นด้วยการยึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ขจัดความอยากมี ความอยากเป็น ความไม่อยากมีอยากเป็น และมุ่งเน้นความหลุดพ้นจากกิเลสคำสอนนั้นเป็นของพระองค์
ในทางกลับกัน คำสอนใดเป็นไปเพื่อความยึดติด หมักหมมอยู่ในกามคำสอนนั้น มิใช่ของพระพุทธเจ้า
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดูแลสำนักพุทธจะได้เข้ามาดูแลแก้ไขในส่วนนี้ โดยอาศัยความรู้ ความชำนาญทางด้านกฎหมาย และความรู้ ความเข้าใจพระธรรมวินัย ช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่แฝงตัวเข้ามา และฝังอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนาให้หมดไปในที่สุด