๖. ขยายความ “วิธีการรู้รูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา” (ต่อ)
๖.๔.๔ โพชฌงค์
โพชฌงค์คือองค์ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือทำให้เกิดอริยมรรค องค์ธรรมของโพชฌงค์เป็นนามธรรมล้วนๆ ได้แก่ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขา
สติสัมโพชฌงค์ คือสติเจตสิกที่ระลึกรู้อารมณ์รูป นาม ในสติปัฏฐาน ๔ จนมีกำลังแก่กล้าเป็นสัมมาสติในอริยมรรค
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือปัญญาเจตสิกที่รู้ความจริงของรูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา จนแก่กล้าเป็นสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค
วิริยสัมโพชฌงค์ คือวิริยเจตสิกที่ทำกิจในการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น ทำกุศลให้เกิดขึ้น และทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญขึ้น วิริยเจตสิกนี้เมื่อแก่กล้าขึ้นก็จะเป็นสัมมาวายามะในอริยมรรค
ปีติสัมโพชฌงค์ คือปีติเจตสิกหรือความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นปีติที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน องค์ธรรมได้แก่ปีติเจตสิกที่เกิดในจิต ๓๔ ดวง คือ (๑) มหากุศลจิตอันประกอบด้วยโสมนัสเวทนาและปัญญา ซึ่งเกิดได้ทั้งด้วยการชักชวนให้เกิดและ เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม ๒ ดวง (๒) มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ อันประกอบด้วยโสมนัสเวทนาและปัญญา ซึ่งเกิดได้ด้วยการชักชวนให้เกิดและเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม ๒ ดวง (๓) มหัคคตจิตในฌานที่ ๑-๓ ทั้งที่เป็นกุศล ๓ ดวง เป็นกิริยาในพระอรหันต์อีก ๓ ดวง และ (๔) โลกุตตรจิตอันประกอบด้วย ฌานที่ ๑-๓ ในพระอริยบุคคล ๘ ประเภทอีก ๒๔ ดวง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือปัสสัทธิเจตสิกที่เป็นความสงบกายสงบใจในการเจริญสติปัฏฐาน
สมาธิสัมโพชฌงค์ คือเอกัคคตาเจตสิกหรือความตั้งมั่นของจิตในการรู้อารมณ์รูปนาม จนแก่กล้าเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่ทำให้จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในรูปนามอันเป็นอารมณ์ ของวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้จิตดำเนินไปในทางสายกลาง ได้อย่างมั่นคง
โพชฌงค์เป็นนามธรรมจึงต้องใช้การตามรู้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า
“เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย”
เมื่อตามรู้มากเข้าในที่สุดก็จะเห็นความจริงว่า สภาวธรรมทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา และทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
อย่างไรก็ตาม โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง และเกินจากเรื่องขันธ์ อายตนะ ธาตุ ซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมิขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนเพื่อนนักปฏิบัติให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน เช่นการระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของรูปกาย และการรู้จิตเป็นต้น เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว โพชฌงค์ก็จะเกิดขึ้น และสติปัญญาก็จะตามระลึกและเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของโพชฌงค์ได้เอง
กล่าวคือเมื่อตามรู้รูปนามอยู่นั้นสติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น การตามรู้รูปนามก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติเกิดเนืองๆ จิตก็ยิ่งขยันรู้รูปนามได้เร็วขึ้นๆ อกุศลที่มีอยู่ก็เป็นอันถูกละไปและอกุศลใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น ธรรมฝ่ายกุศลที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นและเจริญงอกงาม นี้คือวิริยสัมโพชฌงค์
เมื่อตามรู้ตามดูรูปนามเรื่อยไปจิตใจจะมีความสุข มีความอิ่มใจที่ได้มีสติระลึกรู้รูปนาม นี้คือปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อปีติเกิดขึ้นและสติระลึกรู้ปีตินั้น จิตก็เข้าสู่ความสงบระงับหรือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เมื่อจิตมีความสงบระงับและอิ่มเอิบใจอยู่นั้น สมาธิสัมโพชฌงค์คือความตั้งมั่นของจิตในการรู้รูปนามก็เกิดขึ้น แล้วสามารถรู้รูปนามได้ด้วยจิตที่เป็นกลาง หากจิตไม่เป็นกลาง สติก็ระลึกรู้ความ ไม่เป็นกลางนั้น ความไม่เป็นกลางอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอกุศลก็จะดับไปเพราะการเจริญสติ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยอำนาจของการเจริญวิปัสสนา นี้คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่จะเจริญขึ้นเพราะการเจริญสติปัฏฐาน และแม้โพชฌงค์จะเป็นองค์ธรรมอันดีเลิศ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะยึดถือ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่เพียงการตามรู้และเข้าใจความเป็นจริงขององค์ธรรมใน โพชฌงค์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเท่านั้น ก็ขนาดองค์ธรรมที่ดีเลิศปานนี้ยังไม่ยึดถือแล้ว จิตจะยึด ถืออะไรได้อีกง่ายๆเล่า ในที่สุดจิตก็จะปล่อยวางสภาวธรรมทั้งปวง แล้วบรรลุมรรคผลนิพพานได้ต่อไป
๖.๔.๕ อริยสัจจ์ มีทั้งส่วนที่เป็นรูปและนาม คือทุกข์นั้นมีทั้งรูปและนาม แต่สมุทัยหรือตัณหาเป็นนามล้วนๆ ทุกข์และสมุทัยนี้ใช้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ สำหรับนิโรธและมรรคเป็นส่วนของโลกุตตรธรรมซึ่งพ้นจากรูปนาม จึงไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน
อย่างไรก็ตามการเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้อริยสัจจ์ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเกินภูมิของพวกเราไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนเพื่อนนักปฏิบัติให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน เมื่อสติปัญญาแก่กล้า แล้ว สติปัญญาก็จะตามระลึกและเข้าใจอริยสัจจ์ได้เอง คือจะเข้าใจทุกขสัจจ์ว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี มีแต่รูปกับนามอันเป็นตัวทุกข์ และเมื่อใดเข้าใจทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว สมุทัยก็เป็นอันถูกละไปเอง มรรคและนิโรธก็จะเกิด ขึ้นตามลำดับไป
การเข้าใจทุกข์ให้รอบด้านไม่ใช่เรื่องง่าย คนทั่วไปเขาก็เข้าใจทุกข์ไปตามสติปัญญาอย่างโลกๆ ของเขา คือเข้าใจว่า ถ้าเมื่อใดเราได้รับอารมณ์ที่เลวก็เป็นทุกข์ ถ้าเมื่อใดเราได้รับอารมณ์ที่ดีก็เป็นสุข
ส่วนนักปฏิบัติในเบื้องต้นจะเห็นว่า ความสุขและความทุกข์ทั้งหลายยังเป็นของที่แปรปรวน เอาเป็นเครื่องให้ความสุขที่ถาวรไม่ได้ ต่อเมื่อใดผู้ปฏิบัติสามารถคุ้ม ครองจิตได้ด้วยสติปัญญา จิตไม่เกิดความอยาก ไม่เกิดความยึดถือ และไม่เกิดความดิ้นรนทางใจ เมื่อนั้นจิตจะไม่ทุกข์ แต่เมื่อใดจิตเกิดความอยาก เกิดความยึดถือ และเกิดความดิ้นรนทางใจ เมื่อนั้นจิตจะเป็นทุกข์
ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้จึงพยายามรักษาจิตอย่างเป็นชีวิต จิตใจ ต่อเมื่อปฏิบัติมากเข้าจึงจะเข้าใจอริยสัจจ์ได้อย่างลึกซึ้งหมดจด คือได้เห็นความจริงว่าขันธ์ทั้งปวงแม้แต่จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ เข้าใจได้ อย่างนี้จิตจะเกิดปล่อยวางจิต แล้วได้พบกับสภาวธรรม แห่งความสิ้นตัณหาหรือวิราคะ และสิ้นความดิ้นรนทางใจหรือวิสังขาร นี่เองคือความเข้าใจอริยสัจจ์อย่างแจ่มแจ้งถึงที่สุด
สรุปแล้วไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้อารมณ์รูปนามอย่างใดในสติปัฏฐาน ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติมีสติระลึกรู้สภาวะของรูปนาม และมีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งสิ้น และในที่สุด จิตจะเห็นแจ้งอริยสัจจ์แล้วปล่อยวางความถือมั่น ในรูปนามได้ทั้งสิ้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
๖.๔.๔ โพชฌงค์
โพชฌงค์คือองค์ธรรมที่เป็นเครื่องให้ตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือทำให้เกิดอริยมรรค องค์ธรรมของโพชฌงค์เป็นนามธรรมล้วนๆ ได้แก่ สติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขา
สติสัมโพชฌงค์ คือสติเจตสิกที่ระลึกรู้อารมณ์รูป นาม ในสติปัฏฐาน ๔ จนมีกำลังแก่กล้าเป็นสัมมาสติในอริยมรรค
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือปัญญาเจตสิกที่รู้ความจริงของรูปนามว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา จนแก่กล้าเป็นสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค
วิริยสัมโพชฌงค์ คือวิริยเจตสิกที่ทำกิจในการละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น ทำกุศลให้เกิดขึ้น และทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญขึ้น วิริยเจตสิกนี้เมื่อแก่กล้าขึ้นก็จะเป็นสัมมาวายามะในอริยมรรค
ปีติสัมโพชฌงค์ คือปีติเจตสิกหรือความอิ่มใจในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นปีติที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน องค์ธรรมได้แก่ปีติเจตสิกที่เกิดในจิต ๓๔ ดวง คือ (๑) มหากุศลจิตอันประกอบด้วยโสมนัสเวทนาและปัญญา ซึ่งเกิดได้ทั้งด้วยการชักชวนให้เกิดและ เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม ๒ ดวง (๒) มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ อันประกอบด้วยโสมนัสเวทนาและปัญญา ซึ่งเกิดได้ด้วยการชักชวนให้เกิดและเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ชักชวนให้เกิดรวม ๒ ดวง (๓) มหัคคตจิตในฌานที่ ๑-๓ ทั้งที่เป็นกุศล ๓ ดวง เป็นกิริยาในพระอรหันต์อีก ๓ ดวง และ (๔) โลกุตตรจิตอันประกอบด้วย ฌานที่ ๑-๓ ในพระอริยบุคคล ๘ ประเภทอีก ๒๔ ดวง
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือปัสสัทธิเจตสิกที่เป็นความสงบกายสงบใจในการเจริญสติปัฏฐาน
สมาธิสัมโพชฌงค์ คือเอกัคคตาเจตสิกหรือความตั้งมั่นของจิตในการรู้อารมณ์รูปนาม จนแก่กล้าเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่ทำให้จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายในรูปนามอันเป็นอารมณ์ ของวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้จิตดำเนินไปในทางสายกลาง ได้อย่างมั่นคง
โพชฌงค์เป็นนามธรรมจึงต้องใช้การตามรู้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า
“เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย”
เมื่อตามรู้มากเข้าในที่สุดก็จะเห็นความจริงว่า สภาวธรรมทั้งหมดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา และทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
อย่างไรก็ตาม โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง และเกินจากเรื่องขันธ์ อายตนะ ธาตุ ซึ่งเป็นวิปัสสนาภูมิขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนเพื่อนนักปฏิบัติให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน เช่นการระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของรูปกาย และการรู้จิตเป็นต้น เมื่อสติปัญญาแก่กล้าแล้ว โพชฌงค์ก็จะเกิดขึ้น และสติปัญญาก็จะตามระลึกและเข้าใจความเป็นไตรลักษณ์ของโพชฌงค์ได้เอง
กล่าวคือเมื่อตามรู้รูปนามอยู่นั้นสติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น การตามรู้รูปนามก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติเกิดเนืองๆ จิตก็ยิ่งขยันรู้รูปนามได้เร็วขึ้นๆ อกุศลที่มีอยู่ก็เป็นอันถูกละไปและอกุศลใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น ธรรมฝ่ายกุศลที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นและเจริญงอกงาม นี้คือวิริยสัมโพชฌงค์
เมื่อตามรู้ตามดูรูปนามเรื่อยไปจิตใจจะมีความสุข มีความอิ่มใจที่ได้มีสติระลึกรู้รูปนาม นี้คือปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อปีติเกิดขึ้นและสติระลึกรู้ปีตินั้น จิตก็เข้าสู่ความสงบระงับหรือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เมื่อจิตมีความสงบระงับและอิ่มเอิบใจอยู่นั้น สมาธิสัมโพชฌงค์คือความตั้งมั่นของจิตในการรู้รูปนามก็เกิดขึ้น แล้วสามารถรู้รูปนามได้ด้วยจิตที่เป็นกลาง หากจิตไม่เป็นกลาง สติก็ระลึกรู้ความ ไม่เป็นกลางนั้น ความไม่เป็นกลางอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจของอกุศลก็จะดับไปเพราะการเจริญสติ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยอำนาจของการเจริญวิปัสสนา นี้คืออุเบกขาสัมโพชฌงค์
โพชฌงค์เป็นองค์ธรรมที่จะเจริญขึ้นเพราะการเจริญสติปัฏฐาน และแม้โพชฌงค์จะเป็นองค์ธรรมอันดีเลิศ แต่เราก็ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะยึดถือ ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่เพียงการตามรู้และเข้าใจความเป็นจริงขององค์ธรรมใน โพชฌงค์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเท่านั้น ก็ขนาดองค์ธรรมที่ดีเลิศปานนี้ยังไม่ยึดถือแล้ว จิตจะยึด ถืออะไรได้อีกง่ายๆเล่า ในที่สุดจิตก็จะปล่อยวางสภาวธรรมทั้งปวง แล้วบรรลุมรรคผลนิพพานได้ต่อไป
๖.๔.๕ อริยสัจจ์ มีทั้งส่วนที่เป็นรูปและนาม คือทุกข์นั้นมีทั้งรูปและนาม แต่สมุทัยหรือตัณหาเป็นนามล้วนๆ ทุกข์และสมุทัยนี้ใช้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้ สำหรับนิโรธและมรรคเป็นส่วนของโลกุตตรธรรมซึ่งพ้นจากรูปนาม จึงไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน
อย่างไรก็ตามการเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้อริยสัจจ์ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเกินภูมิของพวกเราไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงขอเชิญชวนเพื่อนนักปฏิบัติให้ตามรู้อารมณ์กรรมฐานที่ปรากฏง่ายๆ และเป็นสามัญไปก่อน เมื่อสติปัญญาแก่กล้า แล้ว สติปัญญาก็จะตามระลึกและเข้าใจอริยสัจจ์ได้เอง คือจะเข้าใจทุกขสัจจ์ว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี มีแต่รูปกับนามอันเป็นตัวทุกข์ และเมื่อใดเข้าใจทุกข์แจ่มแจ้งแล้ว สมุทัยก็เป็นอันถูกละไปเอง มรรคและนิโรธก็จะเกิด ขึ้นตามลำดับไป
การเข้าใจทุกข์ให้รอบด้านไม่ใช่เรื่องง่าย คนทั่วไปเขาก็เข้าใจทุกข์ไปตามสติปัญญาอย่างโลกๆ ของเขา คือเข้าใจว่า ถ้าเมื่อใดเราได้รับอารมณ์ที่เลวก็เป็นทุกข์ ถ้าเมื่อใดเราได้รับอารมณ์ที่ดีก็เป็นสุข
ส่วนนักปฏิบัติในเบื้องต้นจะเห็นว่า ความสุขและความทุกข์ทั้งหลายยังเป็นของที่แปรปรวน เอาเป็นเครื่องให้ความสุขที่ถาวรไม่ได้ ต่อเมื่อใดผู้ปฏิบัติสามารถคุ้ม ครองจิตได้ด้วยสติปัญญา จิตไม่เกิดความอยาก ไม่เกิดความยึดถือ และไม่เกิดความดิ้นรนทางใจ เมื่อนั้นจิตจะไม่ทุกข์ แต่เมื่อใดจิตเกิดความอยาก เกิดความยึดถือ และเกิดความดิ้นรนทางใจ เมื่อนั้นจิตจะเป็นทุกข์
ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้จึงพยายามรักษาจิตอย่างเป็นชีวิต จิตใจ ต่อเมื่อปฏิบัติมากเข้าจึงจะเข้าใจอริยสัจจ์ได้อย่างลึกซึ้งหมดจด คือได้เห็นความจริงว่าขันธ์ทั้งปวงแม้แต่จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์ เข้าใจได้ อย่างนี้จิตจะเกิดปล่อยวางจิต แล้วได้พบกับสภาวธรรม แห่งความสิ้นตัณหาหรือวิราคะ และสิ้นความดิ้นรนทางใจหรือวิสังขาร นี่เองคือความเข้าใจอริยสัจจ์อย่างแจ่มแจ้งถึงที่สุด
สรุปแล้วไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้อารมณ์รูปนามอย่างใดในสติปัฏฐาน ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติมีสติระลึกรู้สภาวะของรูปนาม และมีปัญญาเข้าใจความเป็นจริงของรูปนามว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งสิ้น และในที่สุด จิตจะเห็นแจ้งอริยสัจจ์แล้วปล่อยวางความถือมั่น ในรูปนามได้ทั้งสิ้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 123 กุมภาพันธ์ 2554 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)