พระใบลานเปล่า หมายถึง พระโปฐิละ คำว่า “โปฐิละ” แปลว่าใบลานเปล่า ได้แก่ คัมภีร์ที่ปราศจากตัวอักษร เปรียบเหมือนจิตที่ปราศจากธรรม ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่ทรงจำและแตกฉานในพระธรรมวินัยมาก เป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์จำนวนมาก แต่ท่านก็ไม่เคยลงมือปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ในเวลาที่ท่านเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะเรียกท่านว่า “โปฐิละๆ” เป็นการกระตุ้นให้ท่านเกิดความสำนึกตัวว่า ท่านมีแต่ความทรงจำธรรมะได้ แต่ใจไม่มีธรรม พระโปฐิละถูกเรียกเช่นนี้ก็ได้อายจริงๆ เมื่อทนไม่ไหวท่านจึงทูลลาพระพุทธเจ้าออกไปปฏิบัติธรรม เพื่อเติมใบลานคือใจของท่าน ให้เต็มไปด้วยอักษรคือธรรม
๒. การทำกรรมฐานทางมโนทวาร
ง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง ๖ ทวาร (ต่อ)
๒.๓ การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป
การเจริญวิปัสสนาโดยการรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ จัดเป็นการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนาในอายตนบรรพ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีผลเช่นเดียวกับการเจริญสติปัฏฐานด้วยอารมณ์อื่นๆ ที่ง่ายกว่า เช่นการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่ว่าจะเจริญสติปัฏฐานในบรรพและปัฏฐานใดที่มีอารมณ์รูปนาม ก็มีผลเป็นอันเดียวกัน คือเพื่อความมีสติเนืองๆ และเพื่อให้เกิดปัญญาเข้าใจรูปนามตามความเป็นจริง
พระอรรถกถาจารย์ท่านสอนว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ เปรียบเหมือนประตูเมือง ๔ ทิศ เพียงเข้าประตูหนึ่งประตูใดก็เข้าเมือง คือ ถึงนิพพานได้แล้ว
ประตูแรก คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีตัณหาจริตที่มีปัญญาไม่มากนัก
ประตูที่ ๒ คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีตัณหาจริตที่มีปัญญากล้า
ประตูที่ ๓ คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีทิฏฐิจริตที่มีปัญญาไม่มากนัก
ประตูที่ ๔ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีทิฏฐิจริตที่มีปัญญากล้า
พวกเราส่วนมากมีปัญญาไม่กล้านัก จึงควรสนใจกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มากสักหน่อย ทั้ง ๒ ปัฏฐานนี้เป็นทางบรรลุมรรคผลนิพพานได้เช่นเดียวกับปัฏฐานอื่นที่ยากกว่านั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากเราจะเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยอิริยาบถบรรพ คือการตามรู้กายที่อยู่ในอาการยืนเดินนั่งนอนเนืองๆ ในที่สุดจิตก็จะจดจำสภาวะของรูป ที่เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งได้ จะเห็นกายเป็นรูปยืนเดินนั่ง นอน ไม่เห็นว่าเรายืนเดินนั่งนอน พอรูปยืนเดินนั่งนอนปรากฏ สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้น เมื่อจิตมีสติ จิตก็เป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล จิตก็มีความสุข เมื่อจิตมีความสุข จิตก็ตั้งมั่นอยู่กับการรู้กายรู้ใจตนเองไม่หลงไปที่อื่น เมื่อจิตมีความตั้งมั่น จิตก็สามารถเจริญวิปัสสนาคือตามรู้รูปยืนเดินนั่งนอนได้ โดยไม่ต้องพยายามจะรู้ เมื่อจิตตามรู้รูปยืนเดินนั่งนอนมากเข้า ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของรูปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
อนึ่ง การรู้รูปไม่ใช่จะรู้ได้แต่รูป เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นไม่ว่าจะใช้อารมณ์ในบรรพใด ก็ต้องมีการจำแนกรูปนามด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการจำแนกรูปนามเป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะเกิดการเจริญวิปัสสนาอันเป็นการเห็นความเกิดดับของรูปนาม
ดังนั้น ผู้ที่เริ่มการปฏิบัติด้วยการรู้รูป เช่นอิริยาบถ ๔ ก็จะรู้จักนามอันได้แก่จิตและความรู้สึกทั้งหลายด้วย โดยนามเป็นผู้รู้รูปและเป็นผู้สั่งให้รูปเคลื่อนไหว นาม และรูปมีความสัมพันธ์กัน และนามก็เกิดดับมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานจึงทำให้
(๑) รู้และเข้าใจความเป็นจริงของทั้งรูปและนามว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์
(๒) ละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวตน
(๓) ละความยึดถือรูปนามได้ในที่สุด
การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพียงอย่างเดียว จึงสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงนิพพานได้ดังที่กล่าวมานี้
ส่วนการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามรู้สภาพของจิตใจที่เป็นกุศลและอกุศลเนืองๆ ในที่สุดจิตจะจดจำสภาวะของจิตได้ ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างนี้ จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ อาการของจิตต่างๆนานาเป็นอย่างนี้ พอสภาวะใดที่จิตจดจำได้แล้วปรากฏ สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้น แล้วจิตจะเป็นกุศล มีความสุข มีความตั้งมั่น และเกิดปัญญารู้ความจริงของจิตใจได้ในที่สุด
อนึ่ง การรู้จิตก็ไม่ใช่จะรู้ได้แต่จิต เพราะผู้ปฏิบัติก็ย่อมจะรู้จักรูปไปได้ด้วย รวมทั้งสามารถเห็นลักษณะของรูปนามจนเกิดปัญญาละความเห็นผิด และปล่อยวางความถือมั่นในรูปนาม เข้าถึงนิพพานได้เช่นกัน
สรุปแล้วไม่ว่าจะเจริญสติปัฏฐานในบรรพใดที่มีอารมณ์ปรมัตถ์ ก็ล้วนแต่เป็นการฝึกซ้อมให้จิตเกิดสติระลึกรู้รูปนามตามความเป็นจริงได้ด้วยกันทั้งนั้น จนกระทั่งเกิดปัญญาและวิมุตติในที่สุด
เพื่อนนักปฏิบัติไม่จำเป็นจะต้องเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งละเอียดลึกซึ้งมาก ก็เข้าถึงความหลุดพ้นได้เช่นกัน
แต่ถ้าผู้ใดมีปัญญากล้า จะเจริญธัมมานุปัสสนาหรือเจริญสติด้วยการทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ ก็เป็นเรื่องที่สมควรอนุโมทนาด้วย เพราะผู้มีปัญญากล้าจะรู้สึกว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเรื่องน่าเบื่อ คับแคบ และไม่น่าสนใจเท่าใดนัก
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 133 มกราคม 2555 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
๒. การทำกรรมฐานทางมโนทวาร
ง่ายกว่าการทำกรรมฐานทั้ง ๖ ทวาร (ต่อ)
๒.๓ การทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ เป็นเรื่องเกินความจำเป็นสำหรับนักปฏิบัติทั่วไป
การเจริญวิปัสสนาโดยการรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ จัดเป็นการเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนาในอายตนบรรพ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีผลเช่นเดียวกับการเจริญสติปัฏฐานด้วยอารมณ์อื่นๆ ที่ง่ายกว่า เช่นการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่ว่าจะเจริญสติปัฏฐานในบรรพและปัฏฐานใดที่มีอารมณ์รูปนาม ก็มีผลเป็นอันเดียวกัน คือเพื่อความมีสติเนืองๆ และเพื่อให้เกิดปัญญาเข้าใจรูปนามตามความเป็นจริง
พระอรรถกถาจารย์ท่านสอนว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ เปรียบเหมือนประตูเมือง ๔ ทิศ เพียงเข้าประตูหนึ่งประตูใดก็เข้าเมือง คือ ถึงนิพพานได้แล้ว
ประตูแรก คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีตัณหาจริตที่มีปัญญาไม่มากนัก
ประตูที่ ๒ คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีตัณหาจริตที่มีปัญญากล้า
ประตูที่ ๓ คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีทิฏฐิจริตที่มีปัญญาไม่มากนัก
ประตูที่ ๔ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมาะสำหรับผู้มีทิฏฐิจริตที่มีปัญญากล้า
พวกเราส่วนมากมีปัญญาไม่กล้านัก จึงควรสนใจกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มากสักหน่อย ทั้ง ๒ ปัฏฐานนี้เป็นทางบรรลุมรรคผลนิพพานได้เช่นเดียวกับปัฏฐานอื่นที่ยากกว่านั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากเราจะเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยอิริยาบถบรรพ คือการตามรู้กายที่อยู่ในอาการยืนเดินนั่งนอนเนืองๆ ในที่สุดจิตก็จะจดจำสภาวะของรูป ที่เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งได้ จะเห็นกายเป็นรูปยืนเดินนั่ง นอน ไม่เห็นว่าเรายืนเดินนั่งนอน พอรูปยืนเดินนั่งนอนปรากฏ สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้น เมื่อจิตมีสติ จิตก็เป็นกุศล เมื่อจิตเป็นกุศล จิตก็มีความสุข เมื่อจิตมีความสุข จิตก็ตั้งมั่นอยู่กับการรู้กายรู้ใจตนเองไม่หลงไปที่อื่น เมื่อจิตมีความตั้งมั่น จิตก็สามารถเจริญวิปัสสนาคือตามรู้รูปยืนเดินนั่งนอนได้ โดยไม่ต้องพยายามจะรู้ เมื่อจิตตามรู้รูปยืนเดินนั่งนอนมากเข้า ก็จะเกิดปัญญาเข้าใจความจริงของรูปว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
อนึ่ง การรู้รูปไม่ใช่จะรู้ได้แต่รูป เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นไม่ว่าจะใช้อารมณ์ในบรรพใด ก็ต้องมีการจำแนกรูปนามด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการจำแนกรูปนามเป็นปัญญาขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะเกิดการเจริญวิปัสสนาอันเป็นการเห็นความเกิดดับของรูปนาม
ดังนั้น ผู้ที่เริ่มการปฏิบัติด้วยการรู้รูป เช่นอิริยาบถ ๔ ก็จะรู้จักนามอันได้แก่จิตและความรู้สึกทั้งหลายด้วย โดยนามเป็นผู้รู้รูปและเป็นผู้สั่งให้รูปเคลื่อนไหว นาม และรูปมีความสัมพันธ์กัน และนามก็เกิดดับมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานจึงทำให้
(๑) รู้และเข้าใจความเป็นจริงของทั้งรูปและนามว่ามีลักษณะเป็นไตรลักษณ์
(๒) ละความเห็นผิดว่ารูปนามเป็นตัวตน
(๓) ละความยึดถือรูปนามได้ในที่สุด
การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพียงอย่างเดียว จึงสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติบรรลุถึงนิพพานได้ดังที่กล่าวมานี้
ส่วนการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามรู้สภาพของจิตใจที่เป็นกุศลและอกุศลเนืองๆ ในที่สุดจิตจะจดจำสภาวะของจิตได้ ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างนี้ จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างนี้ อาการของจิตต่างๆนานาเป็นอย่างนี้ พอสภาวะใดที่จิตจดจำได้แล้วปรากฏ สติก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้น แล้วจิตจะเป็นกุศล มีความสุข มีความตั้งมั่น และเกิดปัญญารู้ความจริงของจิตใจได้ในที่สุด
อนึ่ง การรู้จิตก็ไม่ใช่จะรู้ได้แต่จิต เพราะผู้ปฏิบัติก็ย่อมจะรู้จักรูปไปได้ด้วย รวมทั้งสามารถเห็นลักษณะของรูปนามจนเกิดปัญญาละความเห็นผิด และปล่อยวางความถือมั่นในรูปนาม เข้าถึงนิพพานได้เช่นกัน
สรุปแล้วไม่ว่าจะเจริญสติปัฏฐานในบรรพใดที่มีอารมณ์ปรมัตถ์ ก็ล้วนแต่เป็นการฝึกซ้อมให้จิตเกิดสติระลึกรู้รูปนามตามความเป็นจริงได้ด้วยกันทั้งนั้น จนกระทั่งเกิดปัญญาและวิมุตติในที่สุด
เพื่อนนักปฏิบัติไม่จำเป็นจะต้องเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานซึ่งละเอียดลึกซึ้งมาก ก็เข้าถึงความหลุดพ้นได้เช่นกัน
แต่ถ้าผู้ใดมีปัญญากล้า จะเจริญธัมมานุปัสสนาหรือเจริญสติด้วยการทำกรรมฐานทางทวารทั้ง ๖ ก็เป็นเรื่องที่สมควรอนุโมทนาด้วย เพราะผู้มีปัญญากล้าจะรู้สึกว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเรื่องน่าเบื่อ คับแคบ และไม่น่าสนใจเท่าใดนัก
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 133 มกราคม 2555 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)