คนทุกคนต้องมีความฝันถึงอนาคตที่ตนเองต้องการ ความคงอยู่ของความฝันนั้นขึ้นอยู่กับความตั้งใจที่จะทำความฝันนั้นให้เป็นความจริง แม้จะยากลำบากใช้เวลานานมากเท่าไร ก็ยังคงความตั้งใจไว้อย่างเต็มเปี่ยม นี่จึงเป็นเครื่องกำหนดความสำเร็จตามความฝันของคน พึงดูตัวอย่างจากพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีความฝันว่าพระองค์จะต้องพันจากความทุกข์บนโลกใบนี้ พระองค์ได้ทรงทำความฝันนี้ให้เป็นความจริงได้ภายในเวลา ๖ ปี แล้วทรงมีความฝันต่อไปว่าจะช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พ้นจากความทุกข์ ซึ่งทรงสามารถทำได้สำเร็จจนถึงเวลาเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระสงฆ์สาวกได้สืบสานความฝันของพระพุทธองค์จนกลายมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
ความฝันกับความจริงเป็นสิ่งที่อาจมีและไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ฝัน ผู้ประสบความสำเร็จในสังคมทั่วโลก ล้วนเป็นผู้ทำความฝันให้เป็นจริง ด้วยการประพฤติตนตามแนวอิทธิบาทธรรม ๔ ประการ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจ ความตั้งใจที่จะทำความฝันให้เป็นจริง ๒. วิริยะ ความเพียร พยายามที่จะทำให้ความฝันเป็นจริง ๓. จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในการทำความฝันให้เป็นจริงอย่างไม่วางธุระ ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในการดำเนินชีวิตไปสู่ความฝันที่ตั้งใจไว้ โลกนี้จึงมีผู้ทำความฝันให้เป็นจริงน้อยมาก
นักเขียน เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีความฝันอันสามารถพรรณนาสื่อสัมพันธ์สู่บุคคลอื่นได้ ความฝันอันเป็นจินตนาการของนักเขียน สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนแสวงหาความฝันในชีวิตของตน แต่อักษรแห่งจินตนาการนั้นจะเป็นประโยชน์เมื่อมีผู้อ่าน การกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจในงานเขียนจึงเป็นกิจสำคัญของนักเขียน งานเขียนที่นิยมแพร่หลายในสังคมทั่วโลก จึงเป็นงานเขียนที่เกี่ยวพันกับชีวิตของผู้คนในสังคม ง่ายต่อการสื่อสัมพันธ์จินตนาการต่อผู้อ่าน นวนิยายจึงเป็นงานเขียนที่ได้รับความนิยมจากสังคมเสมอมา
จากตัวหนังสือ ถูกนำไปปรับเป็นสื่อสัมพันธ์ในรูปแบบละคร ที่สร้างความเข้าใจแก่ผู้สนใจมากขึ้น เริ่มจาก ละครเวที สู่ละครวิทยุ ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ จินตนาการของนักเขียนจึงไม่มีที่สิ้นสุด ไร้ขอบเขต ไร้กาลเวลา เป็นส่วนเสี้ยวชีวิตของมนุษย์ที่อาจพบเห็นได้ในสังคม
ละครเป็นความฝันในจินตนาการของนักเขียน ละครเป็นสื่อสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจของผู้ชม ละครจึงเป็นหัวใจที่จะหล่อเลี้ยงสถานีโทรทัศน์ให้ดำรงอยู่ แต่ละครเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนมาก และง่ายต่อการขาดทุน ดังนั้นความสำเร็จของละคร จึงเป็นความสำคัญของสถานี เหตุนี้การสำรวจความนิยมในละครจึงเป็นสิ่งที่สถานีโทรทัศน์ต้องจัดทำ เพื่อพัฒนาการที่ดีของละคร และรายได้ของสถานีโทรทัศน์
ละครเป็นการนำเสนอส่วนเสี้ยวของชีวิตหนึ่งในโลกนี้ ที่กอปรด้วยอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ การดูละคร จึงเป็นการศึกษาชีวิตในรูปแบบหนึ่ง ที่ได้สาระและความบันเทิง บรรพชนได้มีภาษิตสอนลูกหลานที่กำลังเติบโตว่า “ดูหนัง ดูละคร แล้วต้องย้อนดูตัวเอง” ภาษิตนี้เป็นการสอนให้รู้จักการดูละคร เหมือนดังที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนอภัยราชกุมารว่า “ท่านทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันวิจิตร เปรียบด้วยราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่”
มีเรื่องเล่าสืบมาแต่ครั้งพุทธกาลว่า เมื่ออภัยราชกุมาร ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบมาแล้ว พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระบิดาทรงพอพระทัย และพระราชทาน หญิงฟ้อนผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับคนหนึ่งให้พร้อมทั้งพระราชทานราชสมบัติให้ครองมีกำหนด ๗ วัน
อภัยราชกุมารไม่เสด็จออกภายนอกพระราชมนเทียร เลย เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น ๗ วัน เสด็จ ไปสู่ท่าแม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนาน แล้วเสด็จ เข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับนั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ในขณะนั้นเอง หญิงนั้นได้ตายด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา
อภัยราชกุมารทรงมีความเศร้าโศกอันเนื่องมาจากการตายของหญิงฟ้อนผู้นั้น พระองค์ทรงดำริว่า “ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสีย ไม่มีใครดับความเศร้าโศกของเราได้” จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ณ พระเวฬุวัน กราบทูลว่า
“พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความเศร้าโศกของข้าพระองค์ดับเถิด”
พระศาสดาทรงปลอบแล้วตรัสว่า “กุมาร ก็ประมาณแห่งน้ำตาทั้งหลายที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใครๆ รู้ไม่ได้”
เมื่อทรงทราบว่าความเศร้าโศกของอภัยราชกุมารเบา บางแล้ว จึงตรัสว่า “กุมาร เธออย่าโศกเลย ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชนพาลทั้งหลาย” แล้วตรัสพระคาถา ว่า “ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่”
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา อธิบายความภาษิตนี้ไว้ว่า “พระพุทธเจ้าสอนให้เราภาวนา สอนให้เราปล่อยวางความยุ่งหรือความทุกข์ในโลก แต่อุบายที่จะทำให้เราปล่อยวางโลกและพ้นจากทุกข์ในโลกนี้ได้ พระองค์สอนให้เราดูโลกในแง่ความเป็นจริง จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ล่ะ แต่ว่ามีพุทธภาษิตพอที่จะยืนยันรับ รองมตินี้ได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักธรรมวิจารณ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรธรรมขั้นนักธรรมชั้นเอก “ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันวิจิตรบรรจง ดุจราชรถทรงของพระราชา ที่พวก คนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ใครจักสำรวมซึ่งจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร” ในเมื่อเราพิจารณาตามหลักปริยัติในสูตรนี้ เราก็พอที่จะทำความเข้าใจได้แล้วว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราหันหลังให้โลก ให้หันหน้าไปดูโลก ลืมตามองดูโลก แล้วก็พิจารณาโลกในแง่แห่งความ เป็นจริง ความเป็นจริงของโลกที่ปรากฏอยู่ ภาษาพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่า อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่เป็นตัวของตัว
ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้มีปรากฏการณ์ขึ้นในเบื้อง ต้น ทรงตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ในที่สุดย่อมสลายตัว อันนี้เป็นกฏความจริง ธรรมะคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นหลักวิชาการ เป็นทฤษฎี คือ สูตรที่จะทำให้ผู้ศึกษาปฏิบัติถือเป็นหลักค้นคว้า เพื่อดำเนินจิตเข้าไปสู่สภาวะความรู้จริง เห็นจริง
ทีนี้สิ่งที่เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ก็หมายถึงกายกับใจและทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้าเราไม่ดูโลกนี้ ไม่พิจารณาโลกนี้ เราจะเอาอะไรเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของเราก็เป็นโลก เมื่อมันอยู่กับเรา เป็นเราอยู่โดยสมมติบัญญัติก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็คือโลกนี้ สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ก็คือโลก ตาของเราก็อยู่ในโลกนี้ สิ่งเหล่านั้นก็อยู่ในโลกนี้ ท่านลองคิดดูซิว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่หรือที่มายั่วยุให้จิตของเราผิดปกติ คนตาบอด ไม่รู้จักว่ารูปสวยรูปงาม ก็ไม่รู้จักที่จะไปชอบหรือไปเกลียดรูปนั้น คนหูหนวกฟังเสียงไม่รู้เรื่อง ก็ไม่รู้ว่าเสียงดี เสียงเพราะ หรือเสียงไม่ดี คนหูดีฟังแล้วเกิดความยินดี เกิดความยินร้าย ซึ่งแล้วแต่เสียงนั้นจะเป็นเหตุ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ก่อกวนให้เราเกิดกิเลส หรือที่เรียกอย่างภาษาตลกๆ เขาว่า ยั่วกิเลส ก็คือ สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจนี่เอง”
พระพุทธเจ้าทรงชวนให้เรามาดูโลก ก็เพื่อให้เราได้แสวงหาความจริงของสัตวโลก ที่ยังมีจิตใจเต็มไปด้วยสรรพกิเลส อันเป็นดุจเชื้อโรคที่นำให้สัตวโลกต้องเวียนว่ายตายเกิดนับประมาณจำนวนชาติไม่ได้ คนที่ยังเห็นว่าโลกนี้ยังสวยงาม น่าอยู่น่าอาศัย ย่อมเป็นบุคคลที่ยังต้อง เวียนว่ายตายเกิด คนที่เห็นว่าโลกนี้เต็มไปด้วยสรรพทุกข์ มากมาย เหลียวมองไปทางไหน ก็เห็นแต่ทุกข์ ที่เกาะติดสัตวโลก จิตใจก็คลายความยึดติดในโลก มีความฝันเกิด ขึ้นว่า ตนต้องพยายามแสวงหาหนทางพ้นไปจากโลก พ้นจากสรรพทุกข์เหล่านั้น นำตนไปสู่สถานที่ไม่มีสรรพทุกข์มาเกี่ยวข้อง แต่นั้นก็เจริญอิทธิบาท ๔ ยังตนให้สัมฤทธิผลตามที่ปรารถนา
ธรรมดาของโลกที่เป็นธรรมคู่ คือ เมื่อมีสิ่งหนึ่ง จะต้องมีสิ่งตรงข้ามเป็นคู่เสมอ เช่น มีสุขก็ต้องมีทุกข์เป็นคู่ มีหิวก็ต้องมีอิ่มเป็นคู่ จิตใจของคนในโลกจึงเวียนสลับอยู่ในธรรมคู่ แต่คนไม่มีปัญญาพิจารณาให้เห็นโลกในฐานะเป็นธรรมคู่ เพราะมัวแต่ยึดติดในภาวการณ์ที่ตนประสบอยู่ในขณะปัจจุบัน การดูโลกตามแนวพุทโธวาท จึงทำให้รู้สึกว่ายาก เพราะตนยังเป็นทาสกิเลส ที่ยังติดในสุขประโยชน์ ที่ได้เห็นรูปสวยๆได้ยินเสียงไพเราะเสนาะ หู ได้สูดกลิ่นหอม ได้ลิ้มรสอาหารที่ถูกปาก ได้สัมผัสความอ่อนนุ่มของเครื่องใช้ ได้รู้ซึ้งถึงสุขประโยชน์เหล่านี้ด้วยใจของตน ที่สุดความฝันจะพาตนไปพ้นจากโลกก็ไม่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ด้วยคิดว่าทำวันนี้ให้ได้สุขประโยชน์เต็มที่ พรุ่งนี้เป็นอย่างไรก็ช่างมัน นี่แหละเป็นเหตุให้ โลก-นรก-สวรรค์ ยังคงมีอยู่สืบมา บรรพชนไทยผู้มีปัญญาได้เห็นธรรมคู่ของโลก จึงได้ตั้งสุภาษิตสอนบุตรหลานสืบมาว่า “สองคนยลตามช่อง...คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม...คนสองตาแหลมคม...เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”
ละครเป็นเหตุการณ์จำลองชีวิตบนโลก ที่ผู้แสดงจะต้องแสดงกิเลสของมนุษย์ให้ปรากฏตามที่บทกำหนดไว้ การดูละครก็เป็นดุจการดูโลกที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ดูละครให้เห็นสรรพกิเลสที่อยู่ในละคร แล้วพิจารณา เอาตนไปเปรียบเทียบด้วยปัญญา จะเห็นได้ว่าละครเรื่องหนึ่งเป็นดุจชาติหนึ่ง ละครมีหลายเรื่อง ก็เป็นดุจชาติที่มีหลายชาติ นักแสดงคนเดิมแต่รับบทบาทเปลี่ยนไปตามละคร ก็เป็นดุจเราที่เวียนไปเกิดในหลายฐานะในแต่ละชาติ นักแสดงถูกกำหนดด้วยจินตนาการของนักเขียน แต่คนเราผู้เวียนว่ายเกิดตาย ถูกกำหนดชีวิตด้วยวิบากกรรมที่ตนได้ทำไว้ในแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ละครเมื่ออวสานย่อมแสดงผลแห่งการกระทำของตัวละคร ชีวิตของคนเราเมื่อสิ้นสุด ก็ต้องรับผลแห่งกรรม วิบากนั้น เมื่อดูละครอย่างผู้มีปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนา ความเบื่อหน่ายในชีวิตก็จะบังเกิดขึ้น ทำให้นำตนเข้าสู่กระแสพุทโธวาทที่นำไปสู่พระนิพพาน แต่นั้นก็มีอิทธิบาทธรรมไปจนถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
เหตุนี้ละครจึงมีหลากหลายแนวชีวิต ตามแต่นักเขียน จะกำหนดขึ้น ส่วนดีของละครไทยคือการสอนให้คนทำดี ละเว้นความชั่ว ละครไทยจึงเป็นละครที่ดูแล้วเข้าใจง่าย สอดแทรกสาระให้คนดูได้พิจารณาเห็นความถ่องแท้ของชีวิต ตามรูปแบบที่สามารถพบเห็นได้ในสังคม นอกจากนี้ละครยังช่วยสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาติให้คงอยู่สืบไป พัฒนาการของละครย่อมแปรเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ ตามแต่จินตนาการของนักเขียนที่มุ่งจะถ่ายทอดสู่คนดู
เหตุที่คนดูละครส่วนมากเป็นผู้หญิง ละครจึงมีบทบาทของผู้หญิงที่หลากหลายไปตามภาวการณ์ พัฒนาการของสตรีในละคร จึงมีความสัมพันธ์กับความจริงของสตรีที่อยู่ในสังคม ปัจจุบันละครแสดงให้ทราบถึงสิทธิสตรี ที่มีเสรีภาพ ภราดรภาพ เฉกเช่นบุรุษ
ละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ ละครเวที ล้วนเป็นละครที่มีกำหนดระยะเวลาในการแสดงที่ชัดเจน แต่ละครชีวิต ที่มนุษย์ต้องเล่นไปตามอำนาจของกรรม ไม่มีกำหนด ระยะเวลา สุขทุกข์ล้วนผันแปรไปตามอำนาจกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แม้สิ้นลมหายใจ ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ยัง ต้องเล่นละครชีวิตสืบต่อไป จนกว่าชีวิตจะถึงที่สุด บรรลุแดนนิพพานตามพุทธทัศนะ
กาลเวลาที่ผันผ่านไปทุกนาที ได้ทำลายชีวิตของคนเราให้เสื่อมสูญไปทีละน้อยๆ การเจริญปัญญาให้เห็นถ่องแท้ในความจริงของชีวิต ย่อมเป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดขึ้นในชีวิตของตน ทำชีวิตของตนให้เสวยสุขที่อยู่เหนืออารมณ์ที่เกิดจากอำนาจกิเลส
สำหรับผู้ดูละคร จงตั้งใจดูให้เห็นสัจธรรมของพระพุทธเจ้า และนำมาประยุกต์ปฏิบัติให้เกิดสุขประโยชน์ตามพุทโธวาท
สำหรับคนทำละคร จงตั้งใจอยู่เสมอว่าการมอบหมายสิ่งที่ดี ก่อสุขประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบต่อสังคม
คุณล่ะเป็นผู้ดูละคร หรือ คนทำละคร? คำตอบนี้จักเป็นประโยชน์ต่อคุณตลอดไป....
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
ความฝันกับความจริงเป็นสิ่งที่อาจมีและไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ฝัน ผู้ประสบความสำเร็จในสังคมทั่วโลก ล้วนเป็นผู้ทำความฝันให้เป็นจริง ด้วยการประพฤติตนตามแนวอิทธิบาทธรรม ๔ ประการ คือ ๑. ฉันทะ ความพอใจ ความตั้งใจที่จะทำความฝันให้เป็นจริง ๒. วิริยะ ความเพียร พยายามที่จะทำให้ความฝันเป็นจริง ๓. จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในการทำความฝันให้เป็นจริงอย่างไม่วางธุระ ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในการดำเนินชีวิตไปสู่ความฝันที่ตั้งใจไว้ โลกนี้จึงมีผู้ทำความฝันให้เป็นจริงน้อยมาก
นักเขียน เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีความฝันอันสามารถพรรณนาสื่อสัมพันธ์สู่บุคคลอื่นได้ ความฝันอันเป็นจินตนาการของนักเขียน สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนแสวงหาความฝันในชีวิตของตน แต่อักษรแห่งจินตนาการนั้นจะเป็นประโยชน์เมื่อมีผู้อ่าน การกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจในงานเขียนจึงเป็นกิจสำคัญของนักเขียน งานเขียนที่นิยมแพร่หลายในสังคมทั่วโลก จึงเป็นงานเขียนที่เกี่ยวพันกับชีวิตของผู้คนในสังคม ง่ายต่อการสื่อสัมพันธ์จินตนาการต่อผู้อ่าน นวนิยายจึงเป็นงานเขียนที่ได้รับความนิยมจากสังคมเสมอมา
จากตัวหนังสือ ถูกนำไปปรับเป็นสื่อสัมพันธ์ในรูปแบบละคร ที่สร้างความเข้าใจแก่ผู้สนใจมากขึ้น เริ่มจาก ละครเวที สู่ละครวิทยุ ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ จินตนาการของนักเขียนจึงไม่มีที่สิ้นสุด ไร้ขอบเขต ไร้กาลเวลา เป็นส่วนเสี้ยวชีวิตของมนุษย์ที่อาจพบเห็นได้ในสังคม
ละครเป็นความฝันในจินตนาการของนักเขียน ละครเป็นสื่อสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจของผู้ชม ละครจึงเป็นหัวใจที่จะหล่อเลี้ยงสถานีโทรทัศน์ให้ดำรงอยู่ แต่ละครเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนมาก และง่ายต่อการขาดทุน ดังนั้นความสำเร็จของละคร จึงเป็นความสำคัญของสถานี เหตุนี้การสำรวจความนิยมในละครจึงเป็นสิ่งที่สถานีโทรทัศน์ต้องจัดทำ เพื่อพัฒนาการที่ดีของละคร และรายได้ของสถานีโทรทัศน์
ละครเป็นการนำเสนอส่วนเสี้ยวของชีวิตหนึ่งในโลกนี้ ที่กอปรด้วยอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ การดูละคร จึงเป็นการศึกษาชีวิตในรูปแบบหนึ่ง ที่ได้สาระและความบันเทิง บรรพชนได้มีภาษิตสอนลูกหลานที่กำลังเติบโตว่า “ดูหนัง ดูละคร แล้วต้องย้อนดูตัวเอง” ภาษิตนี้เป็นการสอนให้รู้จักการดูละคร เหมือนดังที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนอภัยราชกุมารว่า “ท่านทั้งหลาย จงมาดูโลกนี้อันวิจิตร เปรียบด้วยราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ [แต่] พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่”
มีเรื่องเล่าสืบมาแต่ครั้งพุทธกาลว่า เมื่ออภัยราชกุมาร ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบมาแล้ว พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระบิดาทรงพอพระทัย และพระราชทาน หญิงฟ้อนผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับคนหนึ่งให้พร้อมทั้งพระราชทานราชสมบัติให้ครองมีกำหนด ๗ วัน
อภัยราชกุมารไม่เสด็จออกภายนอกพระราชมนเทียร เลย เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น ๗ วัน เสด็จ ไปสู่ท่าแม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนาน แล้วเสด็จ เข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับนั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ในขณะนั้นเอง หญิงนั้นได้ตายด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา
อภัยราชกุมารทรงมีความเศร้าโศกอันเนื่องมาจากการตายของหญิงฟ้อนผู้นั้น พระองค์ทรงดำริว่า “ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสีย ไม่มีใครดับความเศร้าโศกของเราได้” จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ณ พระเวฬุวัน กราบทูลว่า
“พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความเศร้าโศกของข้าพระองค์ดับเถิด”
พระศาสดาทรงปลอบแล้วตรัสว่า “กุมาร ก็ประมาณแห่งน้ำตาทั้งหลายที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใครๆ รู้ไม่ได้”
เมื่อทรงทราบว่าความเศร้าโศกของอภัยราชกุมารเบา บางแล้ว จึงตรัสว่า “กุมาร เธออย่าโศกเลย ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชนพาลทั้งหลาย” แล้วตรัสพระคาถา ว่า “ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่”
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แห่งวัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา อธิบายความภาษิตนี้ไว้ว่า “พระพุทธเจ้าสอนให้เราภาวนา สอนให้เราปล่อยวางความยุ่งหรือความทุกข์ในโลก แต่อุบายที่จะทำให้เราปล่อยวางโลกและพ้นจากทุกข์ในโลกนี้ได้ พระองค์สอนให้เราดูโลกในแง่ความเป็นจริง จริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ล่ะ แต่ว่ามีพุทธภาษิตพอที่จะยืนยันรับ รองมตินี้ได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักธรรมวิจารณ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรธรรมขั้นนักธรรมชั้นเอก “ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันวิจิตรบรรจง ดุจราชรถทรงของพระราชา ที่พวก คนเขลาหมกอยู่ แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ใครจักสำรวมซึ่งจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร” ในเมื่อเราพิจารณาตามหลักปริยัติในสูตรนี้ เราก็พอที่จะทำความเข้าใจได้แล้วว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราหันหลังให้โลก ให้หันหน้าไปดูโลก ลืมตามองดูโลก แล้วก็พิจารณาโลกในแง่แห่งความ เป็นจริง ความเป็นจริงของโลกที่ปรากฏอยู่ ภาษาพระพุทธเจ้า ท่านเรียกว่า อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่เป็นตัวของตัว
ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้มีปรากฏการณ์ขึ้นในเบื้อง ต้น ทรงตัวอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ในที่สุดย่อมสลายตัว อันนี้เป็นกฏความจริง ธรรมะคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นหลักวิชาการ เป็นทฤษฎี คือ สูตรที่จะทำให้ผู้ศึกษาปฏิบัติถือเป็นหลักค้นคว้า เพื่อดำเนินจิตเข้าไปสู่สภาวะความรู้จริง เห็นจริง
ทีนี้สิ่งที่เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ก็หมายถึงกายกับใจและทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้าเราไม่ดูโลกนี้ ไม่พิจารณาโลกนี้ เราจะเอาอะไรเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของเราก็เป็นโลก เมื่อมันอยู่กับเรา เป็นเราอยู่โดยสมมติบัญญัติก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็คือโลกนี้ สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สิ่งเหล่านี้ก็คือโลก ตาของเราก็อยู่ในโลกนี้ สิ่งเหล่านั้นก็อยู่ในโลกนี้ ท่านลองคิดดูซิว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่หรือที่มายั่วยุให้จิตของเราผิดปกติ คนตาบอด ไม่รู้จักว่ารูปสวยรูปงาม ก็ไม่รู้จักที่จะไปชอบหรือไปเกลียดรูปนั้น คนหูหนวกฟังเสียงไม่รู้เรื่อง ก็ไม่รู้ว่าเสียงดี เสียงเพราะ หรือเสียงไม่ดี คนหูดีฟังแล้วเกิดความยินดี เกิดความยินร้าย ซึ่งแล้วแต่เสียงนั้นจะเป็นเหตุ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ก่อกวนให้เราเกิดกิเลส หรือที่เรียกอย่างภาษาตลกๆ เขาว่า ยั่วกิเลส ก็คือ สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจนี่เอง”
พระพุทธเจ้าทรงชวนให้เรามาดูโลก ก็เพื่อให้เราได้แสวงหาความจริงของสัตวโลก ที่ยังมีจิตใจเต็มไปด้วยสรรพกิเลส อันเป็นดุจเชื้อโรคที่นำให้สัตวโลกต้องเวียนว่ายตายเกิดนับประมาณจำนวนชาติไม่ได้ คนที่ยังเห็นว่าโลกนี้ยังสวยงาม น่าอยู่น่าอาศัย ย่อมเป็นบุคคลที่ยังต้อง เวียนว่ายตายเกิด คนที่เห็นว่าโลกนี้เต็มไปด้วยสรรพทุกข์ มากมาย เหลียวมองไปทางไหน ก็เห็นแต่ทุกข์ ที่เกาะติดสัตวโลก จิตใจก็คลายความยึดติดในโลก มีความฝันเกิด ขึ้นว่า ตนต้องพยายามแสวงหาหนทางพ้นไปจากโลก พ้นจากสรรพทุกข์เหล่านั้น นำตนไปสู่สถานที่ไม่มีสรรพทุกข์มาเกี่ยวข้อง แต่นั้นก็เจริญอิทธิบาท ๔ ยังตนให้สัมฤทธิผลตามที่ปรารถนา
ธรรมดาของโลกที่เป็นธรรมคู่ คือ เมื่อมีสิ่งหนึ่ง จะต้องมีสิ่งตรงข้ามเป็นคู่เสมอ เช่น มีสุขก็ต้องมีทุกข์เป็นคู่ มีหิวก็ต้องมีอิ่มเป็นคู่ จิตใจของคนในโลกจึงเวียนสลับอยู่ในธรรมคู่ แต่คนไม่มีปัญญาพิจารณาให้เห็นโลกในฐานะเป็นธรรมคู่ เพราะมัวแต่ยึดติดในภาวการณ์ที่ตนประสบอยู่ในขณะปัจจุบัน การดูโลกตามแนวพุทโธวาท จึงทำให้รู้สึกว่ายาก เพราะตนยังเป็นทาสกิเลส ที่ยังติดในสุขประโยชน์ ที่ได้เห็นรูปสวยๆได้ยินเสียงไพเราะเสนาะ หู ได้สูดกลิ่นหอม ได้ลิ้มรสอาหารที่ถูกปาก ได้สัมผัสความอ่อนนุ่มของเครื่องใช้ ได้รู้ซึ้งถึงสุขประโยชน์เหล่านี้ด้วยใจของตน ที่สุดความฝันจะพาตนไปพ้นจากโลกก็ไม่บังเกิดขึ้นในจิตใจ ด้วยคิดว่าทำวันนี้ให้ได้สุขประโยชน์เต็มที่ พรุ่งนี้เป็นอย่างไรก็ช่างมัน นี่แหละเป็นเหตุให้ โลก-นรก-สวรรค์ ยังคงมีอยู่สืบมา บรรพชนไทยผู้มีปัญญาได้เห็นธรรมคู่ของโลก จึงได้ตั้งสุภาษิตสอนบุตรหลานสืบมาว่า “สองคนยลตามช่อง...คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม...คนสองตาแหลมคม...เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย”
ละครเป็นเหตุการณ์จำลองชีวิตบนโลก ที่ผู้แสดงจะต้องแสดงกิเลสของมนุษย์ให้ปรากฏตามที่บทกำหนดไว้ การดูละครก็เป็นดุจการดูโลกที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ดูละครให้เห็นสรรพกิเลสที่อยู่ในละคร แล้วพิจารณา เอาตนไปเปรียบเทียบด้วยปัญญา จะเห็นได้ว่าละครเรื่องหนึ่งเป็นดุจชาติหนึ่ง ละครมีหลายเรื่อง ก็เป็นดุจชาติที่มีหลายชาติ นักแสดงคนเดิมแต่รับบทบาทเปลี่ยนไปตามละคร ก็เป็นดุจเราที่เวียนไปเกิดในหลายฐานะในแต่ละชาติ นักแสดงถูกกำหนดด้วยจินตนาการของนักเขียน แต่คนเราผู้เวียนว่ายเกิดตาย ถูกกำหนดชีวิตด้วยวิบากกรรมที่ตนได้ทำไว้ในแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ละครเมื่ออวสานย่อมแสดงผลแห่งการกระทำของตัวละคร ชีวิตของคนเราเมื่อสิ้นสุด ก็ต้องรับผลแห่งกรรม วิบากนั้น เมื่อดูละครอย่างผู้มีปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนา ความเบื่อหน่ายในชีวิตก็จะบังเกิดขึ้น ทำให้นำตนเข้าสู่กระแสพุทโธวาทที่นำไปสู่พระนิพพาน แต่นั้นก็มีอิทธิบาทธรรมไปจนถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
เหตุนี้ละครจึงมีหลากหลายแนวชีวิต ตามแต่นักเขียน จะกำหนดขึ้น ส่วนดีของละครไทยคือการสอนให้คนทำดี ละเว้นความชั่ว ละครไทยจึงเป็นละครที่ดูแล้วเข้าใจง่าย สอดแทรกสาระให้คนดูได้พิจารณาเห็นความถ่องแท้ของชีวิต ตามรูปแบบที่สามารถพบเห็นได้ในสังคม นอกจากนี้ละครยังช่วยสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาติให้คงอยู่สืบไป พัฒนาการของละครย่อมแปรเปลี่ยนไปตามวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ ตามแต่จินตนาการของนักเขียนที่มุ่งจะถ่ายทอดสู่คนดู
เหตุที่คนดูละครส่วนมากเป็นผู้หญิง ละครจึงมีบทบาทของผู้หญิงที่หลากหลายไปตามภาวการณ์ พัฒนาการของสตรีในละคร จึงมีความสัมพันธ์กับความจริงของสตรีที่อยู่ในสังคม ปัจจุบันละครแสดงให้ทราบถึงสิทธิสตรี ที่มีเสรีภาพ ภราดรภาพ เฉกเช่นบุรุษ
ละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ ละครเวที ล้วนเป็นละครที่มีกำหนดระยะเวลาในการแสดงที่ชัดเจน แต่ละครชีวิต ที่มนุษย์ต้องเล่นไปตามอำนาจของกรรม ไม่มีกำหนด ระยะเวลา สุขทุกข์ล้วนผันแปรไปตามอำนาจกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แม้สิ้นลมหายใจ ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ยัง ต้องเล่นละครชีวิตสืบต่อไป จนกว่าชีวิตจะถึงที่สุด บรรลุแดนนิพพานตามพุทธทัศนะ
กาลเวลาที่ผันผ่านไปทุกนาที ได้ทำลายชีวิตของคนเราให้เสื่อมสูญไปทีละน้อยๆ การเจริญปัญญาให้เห็นถ่องแท้ในความจริงของชีวิต ย่อมเป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดขึ้นในชีวิตของตน ทำชีวิตของตนให้เสวยสุขที่อยู่เหนืออารมณ์ที่เกิดจากอำนาจกิเลส
สำหรับผู้ดูละคร จงตั้งใจดูให้เห็นสัจธรรมของพระพุทธเจ้า และนำมาประยุกต์ปฏิบัติให้เกิดสุขประโยชน์ตามพุทโธวาท
สำหรับคนทำละคร จงตั้งใจอยู่เสมอว่าการมอบหมายสิ่งที่ดี ก่อสุขประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบต่อสังคม
คุณล่ะเป็นผู้ดูละคร หรือ คนทำละคร? คำตอบนี้จักเป็นประโยชน์ต่อคุณตลอดไป....
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)