ความจริงวันมาฆบูชาในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 แต่เพราะสังคมไทยมัวสาละวนสนใจอยู่กับคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 76,000 ล้านบาท จึงทำให้แทบไม่มีใครกล่าวถึงเรื่องมาฆบูชาไป
แม้คอลัมน์นี้ก็ต้องมาทำเรื่องมาฆบูชาลงตีพิมพ์ในวันนี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็คล้อยตามกระแสไปเช่นเดียวกัน แต่จะว่าคล้อยตามไปโดยไม่รู้สึกตัวก็ไม่ได้เพราะความจริงก็รู้อยู่ แต่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเสียก่อน
ที่ต้องทำอย่างนั้นก็เพราะว่า มีปรากฏการณ์มากหลายที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคมไทย หากปล่อยเนิ่นช้าไปก็จะยิ่งทำให้ความเข้าใจผิดแพร่หลายออกไปมากขึ้น และจะทำให้คนไทยแตกความสามัคคีหรือหลงผิดติดยึดในเรื่องผิดๆ มากขึ้น
ดังนั้นจึงนึกเสียว่า การทำหน้าที่อย่างนั้นก็เป็นการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ดังเจตนารมณ์อันแท้จริงของวันมาฆบูชาเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เรื่องมาฆบูชารำลึกต้องเลื่อนมาถึงวันนี้
โดยปกติแล้ววันมาฆบูชาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่เนื่องจากปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือเป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน ดังนั้นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนมาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
ก็ต้องเริ่มต้นว่า วันสำคัญในพระพุทธศาสนาของเรานั้น ที่สำคัญก็มีอยู่ 3 วัน คือ
วันของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งเรียกว่าวันวิสาขบูชา เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
วันของพระธรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งเรียกว่าวันอาสาฬหบูชา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมเป็นครั้งแรก โดยแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
และวันของพระสงฆ์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 และปีนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือน 4 ซึ่งเรียกว่าวันมาฆบูชา และที่เรียกว่าวันมาฆบูชานั้นเป็นไปตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าประเทศพุทธศาสนาทั้งหลายและความอันมีมาในพระไตรปิฎกนั้น วันมาฆบูชาเป็นวันที่สำคัญมากที่สุดวันหนึ่ง จึงทรงโปรดให้มีการพิธีมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรก
ต่อมาทางราชการโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งของสงฆ์และฆราวาสก็ได้เผยแพร่อบรมสั่งสอนเยาวชนคนไทยว่า วันมาฆบูชามีความสำคัญ เรียกว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาตเพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 4 อย่างเกิดขึ้น
คือเป็นวันที่พระจันทร์เพ็ญเสวยมาฆะฤกษ์ เป็นวันที่พระอรหันต์มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายมีจำนวน 1,250 รูป พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพที่ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทาจากพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เอง และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์
มีการอธิบายขยายความด้วยว่า เหตุที่พระอรหันต์ 1,250 รูป มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายเพราะเคยเป็นพราหมณ์มาก่อน มีความคุ้นเคยที่จะต้องมาชุมนุมกันในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระศิวะเสด็จออกตรวจโลก คือเป็นวันศิวาราตรี
สอนกันไปสอนกันมาอย่างนี้ ชาวพุทธบ้านเราก็รับรู้และมีความเชื่อแล้วถือเอาความสำคัญของวันมาฆบูชาแต่เพียงวันจาตุรงคสันนิบาตนี้ จึงทำให้แก่นแท้ของวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งในพระพุทธศาสนานี้ต้องเจือจางไป และทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์อันพึงได้ในโอกาสอันสำคัญนี้
ความจริงแล้วที่อบรมสั่งสอนกันมานั้นเป็นเรื่องห่างเหินผิดเพี้ยนไปจากเรื่องราวที่เป็นจริงมากมาย เป็นเรื่องน่าละอายของชาวพุทธบ้านเราที่ใครๆ เขายกย่องว่าเป็นเมืองของพระพุทธศาสนา ที่ว่าผิดเพี้ยนอย่างไรและเนื้อแท้เป็นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่งในเทศกาลอันสำคัญนี้
ประการแรก ฐานะของวันเพ็ญเดือน 3 และพระจันทร์เสวยมาฆะฤกษ์ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อันใด เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี เพราะในช่วงเดือน 3 หรือเดือน 4 ในกรณีเป็นปีอธิกมาสนั้น จะเป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์โคจรผ่านกลุ่มดาวลูกไก่หรือดาวกฤตติกา หรือดาวมาฆะ จึงเรียกช่วงเวลาเดือนนี้ว่ามาฆะมาส เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี และในช่วงเดือนหนึ่งก็ย่อมมีวันพระจันทร์เพ็ญ จึงมีปรากฏการณ์พระจันทร์เพ็ญในขณะเสวยหรือโคจรผ่านกลุ่มดาวมาฆะ
ประการที่สอง พระอรหันต์ 1,250 รูปนั้น พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เองก็จริง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อันใด เพราะช่วงนั้นเป็นพรรษาแรกของโพธิกาล เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ตรัสรู้คือวันเพ็ญเดือน 6 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 3 รวมเวลา 9 เดือน พระสาวกทั้งหลายล้วนได้รับการบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น เพราะช่วงนั้นยังมิได้ประทานวิธีบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทาและญัตติจตุตถกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
ประการที่สาม พระอรหันต์ขีนาสพ 1,250 รูปนั้นไม่ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายดังที่กล่าวอ้างกันมา แต่เป็นพระอรหันต์ที่พำนักอยู่ที่สวนลัฏฐิวัน ซึ่งเป็นสวนที่อยู่ใกล้กับพระราชวังของพระเจ้าพิมพิสาร พระมหาราชเจ้าแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นมหาอำนาจของอินเดียในยุคนั้น
ตรงนี้สำคัญและต้องกล่าวด้วยว่า ณ วันเพ็ญเดือน 3 แรกแห่งโพธิกาลนั้น มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว 1,340 รูป ทั้งนี้ไม่นับรวมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระอรหันต์ 1,340 รูปนั้นคือกลุ่มปัญจวัคคีย์ 5 รูป พระยัสสะและเพื่อนกลุ่มแรก 5 รูป พวกเพื่อนของพระยัสสะกลุ่มที่สองอีก 50 รูป กลุ่มภัททวัคคีย์จำนวน 30 รูป กลุ่มพวกชฎิล 3 พี่น้อง 1,000 รูป และกลุ่มพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ 250 รูป
ในจำนวน 1,340 รูปนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรัสสั่งให้แยกย้ายกันไปประกาศพระพุทธศาสนาก่อน 2 ชุด รวม 90 รูป
กลุ่มแรก จำนวน 60 รูป ได้แก่กลุ่มของปัญจวัคคีย์ 5 รูป และกลุ่มของพระยัสสะ 55 รูป
กลุ่มที่สอง จำนวน 30 รูป ได้แก่กลุ่มของภัททวัคคีย์
ดังนั้นจึงมีพระอรหันต์เหลืออยู่ที่สวนลัฏฐิวันในวันเพ็ญเดือน 3 แรกแห่งโพธิกาลเพียง 1,250 รูป หรือกล่าวง่ายๆ ว่าที่เหลืออยู่นั้นเป็นพระอรหันต์จาก 2 กลุ่มเดิมคือกลุ่มชฎิล 1,000 รูป และกลุ่มพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ 250 รูป
ในกลุ่มของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ 250 รูปนั้นปรากฏว่าหลังจากบวชแล้วเพื่อนๆ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อน ต่อมาพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ตาม เหลือพระสารีบุตรเป็นองค์สุดท้ายที่บรรลุช้ากว่าใครเพราะมีปัญญาและมีความสงสัยในเรื่องราวต่างๆ มาก
ในตอนกลางวันของวันเพ็ญเดือน 3 ปีนั้น หลังจากที่ทรงนำคณะชฎิลไปที่สวนลัฏฐิวันแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดทีฆนขะปริพาชกที่ถ้ำสุกรขาตาเชิงเขาคิชฌกูฏ โดยพระสารีบุตรได้ตามเสด็จไปถวายงานพัด
ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชกนั้น พระสารีบุตรก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นพระอรหันต์องค์ที่ 1,340 และเป็นพระอรหันต์ที่ทำให้จำนวนพระอรหันต์ซึ่งอยู่ที่สวนลัฏฐิวันครบ 1,250 รูปในวันนั้น โดยที่พระทีฆนขะแม้เมื่อได้ฟังธรรมแล้วในวันนั้นก็ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ดังนั้น พระอรหันต์ 1,250 รูป จึงมิได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายแต่ประการใด และในวันนั้นก็ไม่ใช่วันศิวาราตรี เพราะวันที่พระศิวะตรวจโลกจะอยู่ในช่วงเดือน 11 ไม่ใช่อยู่ในช่วงเดือน 3 ที่สำคัญคือพระอรหันต์ 1,250 รูปนั้นไม่มีรูปใดเป็นพราหมณ์เลย เพราะพื้นเดิมนั้นเป็นพวกชฎิลและปริพาชก ซึ่งเป็นคนละพวกกับพราหมณ์
เมื่อโปรดพระทีฆนขะแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จกลับสวนลัฏฐิวันพร้อมกับพระสารีบุตรซึ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ค่ำคืนนั้นเป็นคืนเพ็ญ พระจันทร์เด่นกระจ่างกลางเวหา ทอสาดแสงนวลตา และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ได้นั่งชุมนุมกันเพื่อฟังธรรมตามปกติ
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ณ โอกาสและกาละอันนั้น
พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแก่พระอรหันต์ทั้งหลายว่า การประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่นั้นเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งอดีตพระพุทธเจ้าบางพระองค์มีโพธิกาลยาวมาก มีการประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่ 2-3 ครั้งก็มี แต่ในโพธิกาลของพระองค์นั้นสั้น ดังนั้นจึงมีการประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวนี้
ดังนั้นชาวพุทธจึงพึงเข้าใจว่า การประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่ในวันเพ็ญเดือน 3 ในโพธิกาลเพื่อแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นกรณียกิจหรือประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
โอวาทปาติโมกข์ที่ทรงแสดงในราตรีนั้น มีความว่า
“ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่านิพพานเป็นบรมธรรม
ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
วันนี้เนื้อที่มีเท่านี้แหละ ขอท่านทั้งหลายพึงน้อมนำและรับเอาประโยชน์แห่งโอวาทปาติโมกข์ให้เสมือนหนึ่งได้นั่งสดับอยู่เบื้องหน้าพระตถาคตเจ้านั้นเถิด.
แม้คอลัมน์นี้ก็ต้องมาทำเรื่องมาฆบูชาลงตีพิมพ์ในวันนี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็คล้อยตามกระแสไปเช่นเดียวกัน แต่จะว่าคล้อยตามไปโดยไม่รู้สึกตัวก็ไม่ได้เพราะความจริงก็รู้อยู่ แต่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเสียก่อน
ที่ต้องทำอย่างนั้นก็เพราะว่า มีปรากฏการณ์มากหลายที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคมไทย หากปล่อยเนิ่นช้าไปก็จะยิ่งทำให้ความเข้าใจผิดแพร่หลายออกไปมากขึ้น และจะทำให้คนไทยแตกความสามัคคีหรือหลงผิดติดยึดในเรื่องผิดๆ มากขึ้น
ดังนั้นจึงนึกเสียว่า การทำหน้าที่อย่างนั้นก็เป็นการปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ดังเจตนารมณ์อันแท้จริงของวันมาฆบูชาเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นจึงทำให้เรื่องมาฆบูชารำลึกต้องเลื่อนมาถึงวันนี้
โดยปกติแล้ววันมาฆบูชาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่เนื่องจากปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือเป็นปีที่มีเดือน 8 สองหน ดังนั้นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนมาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
ก็ต้องเริ่มต้นว่า วันสำคัญในพระพุทธศาสนาของเรานั้น ที่สำคัญก็มีอยู่ 3 วัน คือ
วันของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งเรียกว่าวันวิสาขบูชา เพราะเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
วันของพระธรรม ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งเรียกว่าวันอาสาฬหบูชา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระธรรมเป็นครั้งแรก โดยแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
และวันของพระสงฆ์ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 และปีนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือน 4 ซึ่งเรียกว่าวันมาฆบูชา และที่เรียกว่าวันมาฆบูชานั้นเป็นไปตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเห็นว่าประเทศพุทธศาสนาทั้งหลายและความอันมีมาในพระไตรปิฎกนั้น วันมาฆบูชาเป็นวันที่สำคัญมากที่สุดวันหนึ่ง จึงทรงโปรดให้มีการพิธีมาฆบูชาขึ้นเป็นครั้งแรก
ต่อมาทางราชการโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งของสงฆ์และฆราวาสก็ได้เผยแพร่อบรมสั่งสอนเยาวชนคนไทยว่า วันมาฆบูชามีความสำคัญ เรียกว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาตเพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 4 อย่างเกิดขึ้น
คือเป็นวันที่พระจันทร์เพ็ญเสวยมาฆะฤกษ์ เป็นวันที่พระอรหันต์มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายมีจำนวน 1,250 รูป พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพที่ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทาจากพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เอง และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์
มีการอธิบายขยายความด้วยว่า เหตุที่พระอรหันต์ 1,250 รูป มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายเพราะเคยเป็นพราหมณ์มาก่อน มีความคุ้นเคยที่จะต้องมาชุมนุมกันในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระศิวะเสด็จออกตรวจโลก คือเป็นวันศิวาราตรี
สอนกันไปสอนกันมาอย่างนี้ ชาวพุทธบ้านเราก็รับรู้และมีความเชื่อแล้วถือเอาความสำคัญของวันมาฆบูชาแต่เพียงวันจาตุรงคสันนิบาตนี้ จึงทำให้แก่นแท้ของวันสำคัญที่สุดวันหนึ่งในพระพุทธศาสนานี้ต้องเจือจางไป และทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์อันพึงได้ในโอกาสอันสำคัญนี้
ความจริงแล้วที่อบรมสั่งสอนกันมานั้นเป็นเรื่องห่างเหินผิดเพี้ยนไปจากเรื่องราวที่เป็นจริงมากมาย เป็นเรื่องน่าละอายของชาวพุทธบ้านเราที่ใครๆ เขายกย่องว่าเป็นเมืองของพระพุทธศาสนา ที่ว่าผิดเพี้ยนอย่างไรและเนื้อแท้เป็นอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่งในเทศกาลอันสำคัญนี้
ประการแรก ฐานะของวันเพ็ญเดือน 3 และพระจันทร์เสวยมาฆะฤกษ์ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อันใด เป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี เพราะในช่วงเดือน 3 หรือเดือน 4 ในกรณีเป็นปีอธิกมาสนั้น จะเป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์โคจรผ่านกลุ่มดาวลูกไก่หรือดาวกฤตติกา หรือดาวมาฆะ จึงเรียกช่วงเวลาเดือนนี้ว่ามาฆะมาส เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกปี และในช่วงเดือนหนึ่งก็ย่อมมีวันพระจันทร์เพ็ญ จึงมีปรากฏการณ์พระจันทร์เพ็ญในขณะเสวยหรือโคจรผ่านกลุ่มดาวมาฆะ
ประการที่สอง พระอรหันต์ 1,250 รูปนั้น พระพุทธเจ้าบวชให้ด้วยพระองค์เองก็จริง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์อันใด เพราะช่วงนั้นเป็นพรรษาแรกของโพธิกาล เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ตรัสรู้คือวันเพ็ญเดือน 6 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 3 รวมเวลา 9 เดือน พระสาวกทั้งหลายล้วนได้รับการบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น เพราะช่วงนั้นยังมิได้ประทานวิธีบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทาและญัตติจตุตถกรรม ซึ่งเป็นแบบแผนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
ประการที่สาม พระอรหันต์ขีนาสพ 1,250 รูปนั้นไม่ได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายดังที่กล่าวอ้างกันมา แต่เป็นพระอรหันต์ที่พำนักอยู่ที่สวนลัฏฐิวัน ซึ่งเป็นสวนที่อยู่ใกล้กับพระราชวังของพระเจ้าพิมพิสาร พระมหาราชเจ้าแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นมหาอำนาจของอินเดียในยุคนั้น
ตรงนี้สำคัญและต้องกล่าวด้วยว่า ณ วันเพ็ญเดือน 3 แรกแห่งโพธิกาลนั้น มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว 1,340 รูป ทั้งนี้ไม่นับรวมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระอรหันต์ 1,340 รูปนั้นคือกลุ่มปัญจวัคคีย์ 5 รูป พระยัสสะและเพื่อนกลุ่มแรก 5 รูป พวกเพื่อนของพระยัสสะกลุ่มที่สองอีก 50 รูป กลุ่มภัททวัคคีย์จำนวน 30 รูป กลุ่มพวกชฎิล 3 พี่น้อง 1,000 รูป และกลุ่มพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ 250 รูป
ในจำนวน 1,340 รูปนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรัสสั่งให้แยกย้ายกันไปประกาศพระพุทธศาสนาก่อน 2 ชุด รวม 90 รูป
กลุ่มแรก จำนวน 60 รูป ได้แก่กลุ่มของปัญจวัคคีย์ 5 รูป และกลุ่มของพระยัสสะ 55 รูป
กลุ่มที่สอง จำนวน 30 รูป ได้แก่กลุ่มของภัททวัคคีย์
ดังนั้นจึงมีพระอรหันต์เหลืออยู่ที่สวนลัฏฐิวันในวันเพ็ญเดือน 3 แรกแห่งโพธิกาลเพียง 1,250 รูป หรือกล่าวง่ายๆ ว่าที่เหลืออยู่นั้นเป็นพระอรหันต์จาก 2 กลุ่มเดิมคือกลุ่มชฎิล 1,000 รูป และกลุ่มพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ 250 รูป
ในกลุ่มของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ 250 รูปนั้นปรากฏว่าหลังจากบวชแล้วเพื่อนๆ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อน ต่อมาพระโมคคัลลานะบรรลุเป็นพระอรหันต์ตาม เหลือพระสารีบุตรเป็นองค์สุดท้ายที่บรรลุช้ากว่าใครเพราะมีปัญญาและมีความสงสัยในเรื่องราวต่างๆ มาก
ในตอนกลางวันของวันเพ็ญเดือน 3 ปีนั้น หลังจากที่ทรงนำคณะชฎิลไปที่สวนลัฏฐิวันแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดทีฆนขะปริพาชกที่ถ้ำสุกรขาตาเชิงเขาคิชฌกูฏ โดยพระสารีบุตรได้ตามเสด็จไปถวายงานพัด
ในระหว่างที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดทีฆนขะปริพาชกนั้น พระสารีบุตรก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นพระอรหันต์องค์ที่ 1,340 และเป็นพระอรหันต์ที่ทำให้จำนวนพระอรหันต์ซึ่งอยู่ที่สวนลัฏฐิวันครบ 1,250 รูปในวันนั้น โดยที่พระทีฆนขะแม้เมื่อได้ฟังธรรมแล้วในวันนั้นก็ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ดังนั้น พระอรหันต์ 1,250 รูป จึงมิได้มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายแต่ประการใด และในวันนั้นก็ไม่ใช่วันศิวาราตรี เพราะวันที่พระศิวะตรวจโลกจะอยู่ในช่วงเดือน 11 ไม่ใช่อยู่ในช่วงเดือน 3 ที่สำคัญคือพระอรหันต์ 1,250 รูปนั้นไม่มีรูปใดเป็นพราหมณ์เลย เพราะพื้นเดิมนั้นเป็นพวกชฎิลและปริพาชก ซึ่งเป็นคนละพวกกับพราหมณ์
เมื่อโปรดพระทีฆนขะแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จกลับสวนลัฏฐิวันพร้อมกับพระสารีบุตรซึ่งบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ค่ำคืนนั้นเป็นคืนเพ็ญ พระจันทร์เด่นกระจ่างกลางเวหา ทอสาดแสงนวลตา และพระอรหันต์ทั้งหลายก็ได้นั่งชุมนุมกันเพื่อฟังธรรมตามปกติ
พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ณ โอกาสและกาละอันนั้น
พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแก่พระอรหันต์ทั้งหลายว่า การประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่นั้นเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งอดีตพระพุทธเจ้าบางพระองค์มีโพธิกาลยาวมาก มีการประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่ 2-3 ครั้งก็มี แต่ในโพธิกาลของพระองค์นั้นสั้น ดังนั้นจึงมีการประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวนี้
ดังนั้นชาวพุทธจึงพึงเข้าใจว่า การประชุมพระอรหันต์ครั้งใหญ่ในวันเพ็ญเดือน 3 ในโพธิกาลเพื่อแสดงโอวาทปาติโมกข์นั้นเป็นกรณียกิจหรือประเพณีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
โอวาทปาติโมกข์ที่ทรงแสดงในราตรีนั้น มีความว่า
“ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่านิพพานเป็นบรมธรรม
ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การทำกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้ายผู้อื่น
การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ความสำรวมในปาติโมกข์
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
การอยู่ในเสนาสนะที่สงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต
นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
วันนี้เนื้อที่มีเท่านี้แหละ ขอท่านทั้งหลายพึงน้อมนำและรับเอาประโยชน์แห่งโอวาทปาติโมกข์ให้เสมือนหนึ่งได้นั่งสดับอยู่เบื้องหน้าพระตถาคตเจ้านั้นเถิด.