ออกจากกาม หมายความว่าอย่างไร
ปุจฉา : กราบหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพอย่างสูง ดิฉันเพิ่งหันมาศึกษาธรรมะ เลยไม่ค่อยรู้อะไรมาก แต่ก็พยายามเรียนรู้ค่ะ ตอนนี้ดิฉันมีข้อสงสัยเรื่องธรรมะเรื่องหนึ่งค่ะคือคำว่า สัมมาสังกัปปะ ที่บอกว่า ดำริออกจากกาม และคำว่า สัมมากัมมันตะ คือ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทั้สองคำนี้หมายความว่าอย่างไรคะ และผู้ที่ไม่ใช่พระ คือคนทั่วไปทั้งชายและหญิง จะปฏิบัติได้ไหมคะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ ที่กรุณาตอบข้อสงสัยให้ดิฉัน
กิตติมา
วิสัชนา : คำว่า “กาม” อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของการสมสู่ หรือเรื่องเพศอย่างเดียว แต่มันหมายถึงความทะยานอยาก คำว่า สัมมาสังกัปปะ การดำริออกจากกาม ก็หมาย ความว่า ดำริหรือคิดที่จะหยุดความทะยานอยากของตน เช่น อยากเห็นรูปสวย อยากฟังเสียงเพราะ อยากดมกลิ่นหอม อยากมีสัมผัสนุ่ม ลิ้นอยากรับรสอร่อย เหล่านี้เป็นเรื่องของกามทั้งนั้น เพราะฉะนั้นสองคำนี้ ถ้าเรารู้คำแรก ก็พอจะเข้าใจความหมายของ คำที่สอง ดังนั้น การที่เราจะออกจากกาม ก็คือทำวิถีชีวิตนี้ให้พ้นจากสถานภาพของตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายถูกต้องสัมผัส ซึ่งก็ต้องมีธรรมะข้อหนึ่งในการปฏิบัติ คือ สติ เพราะถ้ามีสัมมาสติ คุณก็สามารถดำริออกจากกามได้
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของพระเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรปฏิบัติ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นคำภาวนา?
ปุจฉา : นมัสการพระคุณเจ้าหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพ โยมมีข้อที่อยากจะขอปุจฉาหลวงปู่ข้อหนึ่ง เพราะโยมยังไม่ค่อยเข้าใจ โยมอยากทราบว่า คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้ง 3 คำนี้เป็นคำภาวนาเพื่อแสดงให้พุทธศาสนิกชน ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ใช่หรือไม่เจ้าคะ
สุมน
วิสัชนา : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่คำภาวนา แต่เป็นวิปัสสนา เพราะคำภาวนา คือคำท่องบ่นเฉยๆ ถ้ามัวแต่ท่องกันเฉยๆ แล้วเมื่อไหร่จะบรรลุธรรม แต่ตัววิปัสสนา คือตัวที่ใช้ปัญญา ว่าอะไรไม่เที่ยง อะไรมันเป็นทุกข์
อย่าลืมว่า ธรรมะชั้นสูงที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปรมัตถธรรม เป็นวิมุตติธรรม เป็นธรรมที่ทำให้สัตว์โลกหลุดพ้น คือเป็นธรรมที่ทำให้ถึงวิมุตติ คือ หลุดพ้น ดับแล้วเย็น คือนิพพาน ธรรมะสามอย่างนี้ไม่มีสอนในศาสนาอื่น
แล้วมันจะวิมุตติได้ มันจะดับแล้วเย็นได้ ไม่ใช่ท่อง แต่ต้องทำ แล้วคุณจะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณเข้าใจ แล้วการที่คุณจะเข้าใจ คุณต้องรู้ว่า อนิจจังคือความไม่เที่ยง ทุกขังคือเป็นทุกข์ อนัตตาคือความไม่มีตัวตน คุณต้องรู้ความหมาย เพราะฉะนั้นจึงเป็น วิปัสสนา คือการใช้ปัญญาใคร่ครวญวิจารณ์ตามความเป็นจริง
ขอธรรมะที่ทำให้ไม่ย่อท้อ
ปุจฉา : กราบหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพ ผมทำงานบริษัทแห่งหนึ่งมาหลายปีแล้ว ในที่ทำงานก็มีคนหลายจำพวก แต่ผมก็ไม่สนใจเรื่องราวอะไรของใคร ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไป แต่มาตอนหลังๆนี่ผมรู้สึกเบื่อๆ ไม่อยากทำอะไร เพราะทำอะไรก็มีแต่อุปสรรคมีแต่ปัญหาเยอะแยะ น่าปวดหัว ทำให้ผมรู้สึกท้อแท้ในชีวิต ผมคิดว่าผมไม่รู้จะทำงานนี้ไปอีกนานแค่ไหน ทำไปก็เท่านั้น เพราะผมยังโสด ไม่มีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ
ผมเป็นคนไม่ชอบเที่ยวเตร่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หนังละครก็ไม่ชอบดู ทำงานเสร็จก็กลับบ้าน อ่านหนังสือ บางทีผมก็รู้สึกเหนื่อยมากกับการทำงาน เลยทำให้ผมเฉิ่อยๆเนือยๆ ไม่ค่อยกระตือรือร้นเหมือนแต่ก่อน ผมอยากจะรบกวนถามหลวงปู่ว่า มีธรรมะข้อไหนบ้างครับ ที่จะช่วยให้เราไม่ย่อท้อต่อชีวิต
ชานนท์
วิสัชนา : ที่จริงแล้วทุกชีวิตต้องมีเป้าหมาย ขอเพียงเราซื่อตรงต่อเป้าหมายของเรา และรัก ในเป้าหมายนั้น พร้อมกับทำความรู้สึกว่าเป้าหมายนั้นเป็นแรงบันดาลใจ หรือเป็นเครื่องทำให้เกิดแรงบันดาลใจต่อการกระทำ พูด คิด ของเรา และทำมันอย่างไม่ย่นย่อ ไม่ท้อถอย ฉันคิดว่าไม่ว่าปัญหาหรืออุปสรรคอะไร เราก็จะสามารถฝ่าฟันและบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างถึงที่สุด
แต่สำคัญว่าที่เรามีปัญหา มีอุปสรรค แล้วเราก็เกียจคร้าน อ่อนแอ ท้อถอย ก็เพราะเราไม่ซื่อตรงต่อเป้าหมาย เราไม่จริงใจต่อเป้าหมาย แล้วเราก็ท้อแท้ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปคือเราไม่รักต่ออุดมการณ์ของเรา เพราะฉะนั้นความซื่อตรง ความรักและความจริงใจ มันจะเป็นเครื่องยังให้เกิดกำลังใจ ในการที่เราจะนำชีวิตไปสู่เป้าหมาย อย่างชนิดฝ่าฟันต่อทุกปัญหาและทุกอุปสรรค สำคัญที่สุดเราต้องรักต่ออุดมการณ์ของเรา อย่ากลัว อย่าหวาดผวา อย่าสะดุ้ง และอย่ามีความรู้สึกท้อแท้หรือท้อถอยต่ออุปสรรค ที่เกิดขึ้น
ถามว่าจะใช้ธรรมะข้อใด อยากบอกว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าความรัก เพราะความรัก ที่ยิ่งใหญ่ที่มีในหัวใจของเราจะชนะทุกเรื่อง ความรักสร้างความงามให้เกิดขึ้น ความรัก จะทำให้เกิดความเพียร ความรักจะทำให้เกิดความอดทน ความรักจะทำให้เกิดกำลังใจ และความรักจะทำให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการที่ตรงใจ ถูกใจ และพอดีในหัวใจ
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน 2552 โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)
ปุจฉา : กราบหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพอย่างสูง ดิฉันเพิ่งหันมาศึกษาธรรมะ เลยไม่ค่อยรู้อะไรมาก แต่ก็พยายามเรียนรู้ค่ะ ตอนนี้ดิฉันมีข้อสงสัยเรื่องธรรมะเรื่องหนึ่งค่ะคือคำว่า สัมมาสังกัปปะ ที่บอกว่า ดำริออกจากกาม และคำว่า สัมมากัมมันตะ คือ ไม่ประพฤติผิดในกาม ทั้สองคำนี้หมายความว่าอย่างไรคะ และผู้ที่ไม่ใช่พระ คือคนทั่วไปทั้งชายและหญิง จะปฏิบัติได้ไหมคะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ ที่กรุณาตอบข้อสงสัยให้ดิฉัน
กิตติมา
วิสัชนา : คำว่า “กาม” อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของการสมสู่ หรือเรื่องเพศอย่างเดียว แต่มันหมายถึงความทะยานอยาก คำว่า สัมมาสังกัปปะ การดำริออกจากกาม ก็หมาย ความว่า ดำริหรือคิดที่จะหยุดความทะยานอยากของตน เช่น อยากเห็นรูปสวย อยากฟังเสียงเพราะ อยากดมกลิ่นหอม อยากมีสัมผัสนุ่ม ลิ้นอยากรับรสอร่อย เหล่านี้เป็นเรื่องของกามทั้งนั้น เพราะฉะนั้นสองคำนี้ ถ้าเรารู้คำแรก ก็พอจะเข้าใจความหมายของ คำที่สอง ดังนั้น การที่เราจะออกจากกาม ก็คือทำวิถีชีวิตนี้ให้พ้นจากสถานภาพของตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายถูกต้องสัมผัส ซึ่งก็ต้องมีธรรมะข้อหนึ่งในการปฏิบัติ คือ สติ เพราะถ้ามีสัมมาสติ คุณก็สามารถดำริออกจากกามได้
เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เรื่องของพระเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนควรปฏิบัติ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นคำภาวนา?
ปุจฉา : นมัสการพระคุณเจ้าหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพ โยมมีข้อที่อยากจะขอปุจฉาหลวงปู่ข้อหนึ่ง เพราะโยมยังไม่ค่อยเข้าใจ โยมอยากทราบว่า คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้ง 3 คำนี้เป็นคำภาวนาเพื่อแสดงให้พุทธศาสนิกชน ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ใช่หรือไม่เจ้าคะ
สุมน
วิสัชนา : อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่คำภาวนา แต่เป็นวิปัสสนา เพราะคำภาวนา คือคำท่องบ่นเฉยๆ ถ้ามัวแต่ท่องกันเฉยๆ แล้วเมื่อไหร่จะบรรลุธรรม แต่ตัววิปัสสนา คือตัวที่ใช้ปัญญา ว่าอะไรไม่เที่ยง อะไรมันเป็นทุกข์
อย่าลืมว่า ธรรมะชั้นสูงที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปรมัตถธรรม เป็นวิมุตติธรรม เป็นธรรมที่ทำให้สัตว์โลกหลุดพ้น คือเป็นธรรมที่ทำให้ถึงวิมุตติ คือ หลุดพ้น ดับแล้วเย็น คือนิพพาน ธรรมะสามอย่างนี้ไม่มีสอนในศาสนาอื่น
แล้วมันจะวิมุตติได้ มันจะดับแล้วเย็นได้ ไม่ใช่ท่อง แต่ต้องทำ แล้วคุณจะทำได้ก็ต่อเมื่อคุณเข้าใจ แล้วการที่คุณจะเข้าใจ คุณต้องรู้ว่า อนิจจังคือความไม่เที่ยง ทุกขังคือเป็นทุกข์ อนัตตาคือความไม่มีตัวตน คุณต้องรู้ความหมาย เพราะฉะนั้นจึงเป็น วิปัสสนา คือการใช้ปัญญาใคร่ครวญวิจารณ์ตามความเป็นจริง
ขอธรรมะที่ทำให้ไม่ย่อท้อ
ปุจฉา : กราบหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพ ผมทำงานบริษัทแห่งหนึ่งมาหลายปีแล้ว ในที่ทำงานก็มีคนหลายจำพวก แต่ผมก็ไม่สนใจเรื่องราวอะไรของใคร ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไป แต่มาตอนหลังๆนี่ผมรู้สึกเบื่อๆ ไม่อยากทำอะไร เพราะทำอะไรก็มีแต่อุปสรรคมีแต่ปัญหาเยอะแยะ น่าปวดหัว ทำให้ผมรู้สึกท้อแท้ในชีวิต ผมคิดว่าผมไม่รู้จะทำงานนี้ไปอีกนานแค่ไหน ทำไปก็เท่านั้น เพราะผมยังโสด ไม่มีครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ
ผมเป็นคนไม่ชอบเที่ยวเตร่ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หนังละครก็ไม่ชอบดู ทำงานเสร็จก็กลับบ้าน อ่านหนังสือ บางทีผมก็รู้สึกเหนื่อยมากกับการทำงาน เลยทำให้ผมเฉิ่อยๆเนือยๆ ไม่ค่อยกระตือรือร้นเหมือนแต่ก่อน ผมอยากจะรบกวนถามหลวงปู่ว่า มีธรรมะข้อไหนบ้างครับ ที่จะช่วยให้เราไม่ย่อท้อต่อชีวิต
ชานนท์
วิสัชนา : ที่จริงแล้วทุกชีวิตต้องมีเป้าหมาย ขอเพียงเราซื่อตรงต่อเป้าหมายของเรา และรัก ในเป้าหมายนั้น พร้อมกับทำความรู้สึกว่าเป้าหมายนั้นเป็นแรงบันดาลใจ หรือเป็นเครื่องทำให้เกิดแรงบันดาลใจต่อการกระทำ พูด คิด ของเรา และทำมันอย่างไม่ย่นย่อ ไม่ท้อถอย ฉันคิดว่าไม่ว่าปัญหาหรืออุปสรรคอะไร เราก็จะสามารถฝ่าฟันและบรรลุเป้าหมายนั้นได้อย่างถึงที่สุด
แต่สำคัญว่าที่เรามีปัญหา มีอุปสรรค แล้วเราก็เกียจคร้าน อ่อนแอ ท้อถอย ก็เพราะเราไม่ซื่อตรงต่อเป้าหมาย เราไม่จริงใจต่อเป้าหมาย แล้วเราก็ท้อแท้ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น สรุปคือเราไม่รักต่ออุดมการณ์ของเรา เพราะฉะนั้นความซื่อตรง ความรักและความจริงใจ มันจะเป็นเครื่องยังให้เกิดกำลังใจ ในการที่เราจะนำชีวิตไปสู่เป้าหมาย อย่างชนิดฝ่าฟันต่อทุกปัญหาและทุกอุปสรรค สำคัญที่สุดเราต้องรักต่ออุดมการณ์ของเรา อย่ากลัว อย่าหวาดผวา อย่าสะดุ้ง และอย่ามีความรู้สึกท้อแท้หรือท้อถอยต่ออุปสรรค ที่เกิดขึ้น
ถามว่าจะใช้ธรรมะข้อใด อยากบอกว่าไม่มีอะไรมากไปกว่าความรัก เพราะความรัก ที่ยิ่งใหญ่ที่มีในหัวใจของเราจะชนะทุกเรื่อง ความรักสร้างความงามให้เกิดขึ้น ความรัก จะทำให้เกิดความเพียร ความรักจะทำให้เกิดความอดทน ความรักจะทำให้เกิดกำลังใจ และความรักจะทำให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการที่ตรงใจ ถูกใจ และพอดีในหัวใจ
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน 2552 โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)