ความเดิมจากตอนที่แล้ว
เรื่องราวของผู้กล่าวคำว่า “นโม” ๖ คน ในจำนวน ๘ คนที่ปรากฏในพระสูตร ได้แก่ ๑. พรหมายุพราหมณ์ ๒. ชาณุโสณีพราหมณ์ ๓. พระเจ้า ปเสนทิโกศล ๔. ท้าวสักกะจอมเทพ ๕. ธนัญชานีพราหมณ์ ๖. อารามทัณฑพราหมณ์
๗. การณปาลีพราหมณ์ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕ การณปาลีสูตร ๔. จักได้พรรณนาพร้อมเพิ่มเติมอรรถกถาเพื่อความสมบูรณแห่งเนื้อความไว้ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ ผู้ทำราชการในราชสำนัก ลุกแต่เช้าตรู่ ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวี คือซ่อมส่วนที่ชำรุด ทาสีของประตูป้อม และกำแพงอยู่ ได้เห็นพราหมณ์ปิงคิยานีกำลังเดินมาแต่ไกล จึงคิดว่า พราหมณ์ผู้นี้มีปัญญาญาณ กล้าไปไหนมาแต่เช้าหนอ เมื่อรู้สึกว่าพราหมณ์เดินเข้ามาใกล้โดยลำดับ จึงได้กล่าวว่า “อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน?”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม” (ปิงคิยานีพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวกตั้งอยู่ในอนาคามิผล ได้ยินว่า พราหมณ์ผู้นี้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น แล้วจึงเข้าเมือง จนเป็นกิจวัตรประจำวัน)
การณปาลีพราหมณ์คิดว่า ท่านพราหมณ์ปิงคิยานีย่อมสำคัญพระสมณโคดมว่าเป็นบัณฑิตหรือไม่หนอ จึงถามต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของพระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร?”
ปิงคิยานี “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นใครเล่า ในอันที่จะรู้ถึงความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดมได้ ข้าพเจ้าจักรู้ได้ด้วยเหตุไรเล่า ผู้ใดพึงรู้ถึงความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ก็จะพึงเป็นพุทธะเช่นนั้น อันผู้ประสงค์จะวัดภูเขาสิเนรุก็ดี แผ่นดินก็ดี อากาศก็ดีควรได้ไม้วัดหรือเชือกเท่ากับเขาสิเนรุ แผ่นดิน และอากาศนั้น แม้ผู้รู้ปัญญาของพระสมณโคดม ก็ควรจะได้พระสัพพัญญุตญาณเช่นเดียวกับพระญาณของพระองค์เหมือนกัน”
การณปาลี “ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก”
ปิงคิยานี “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครเล่าในการที่จะ สรรเสริญพระสมณโคดม พระคุณทั้งหลายของพระองค์ ซึ่งชาวโลกทั้งปวงสรรเสริญแล้ว อันฟุ้งไปเหนือคุณทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องสรรเสริญพระองค์ด้วยพระคุณอื่นๆ เหมือนอย่างว่า ดอกจัมปาก็ดี อุบลขาบก็ดี ปทุมแดงก็ดี จันทน์แดงก็ดี เป็นของผ่องใสและมีกลิ่นหอมด้วยสิริคือสีและกลิ่นประจำภายในของมันเอง ไม่จำจะต้องชมดอกไม้นั้นด้วยสีและกลิ่นที่จรมาภายนอก อนึ่ง เหมือนอย่างว่า แก้วมณีก็ดี ดวงจันทร์ก็ดี ย่อมส่องประกายด้วย แสงของมันเอง แก้วมณีและดวงจันทร์นั้นก็ไม่จำต้องส่งประกายด้วยแสงอื่นฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้น ทรงได้รับสรรเสริญยกย่อง ให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลกทั้งปวงด้วยพระคุณของพระองค์เองที่ชาวโลกทั้งปวงสรรเสริญแล้ว ก็ไม่จำต้องสรรเสริญพระองค์ด้วยพระคุณอื่น
พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวกาสีและชาวโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวอังคะและมคธ กษัตริย์ลิจฉวีกรุงเวสาลีประเสริฐกว่าชาวแคว้น วัชชี มัลลกษัตริย์เมืองปาวา เมืองกุสินารา เป็นผู้ประเสริฐ แม้กษัตริย์นั้นๆ เหล่าอื่นก็ประเสริฐกว่าชนบทเหล่านั้นๆ พราหมณ์มีจังกีพราหมณ์เป็นต้นก็ประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย อุบาสกมีอนาถบิณฑิกะเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าอุบาสกทั้งหลาย อุบาสิกามีนางวิสาขาเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าอุบาสิกาหลายร้อย ปริพาชกมีสุกุลุทายีเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าปริพาชกหลายร้อย มหาสาวิกามีอุบลวัณณาเถรีเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าภิกษุณีหลายร้อย พระมหาเถระมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าภิกษุหลายร้อย เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่า ทวยเทพหลายพัน พรหมมีมหาพรหมเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าพรหมหลายพันชนและเทพแม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ยังยกย่องชมเชยสรรเสริญพระทศพล ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
การณปาลี “ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดม?”
ปิงคิยานี “ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใดบุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว และความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาพึงลิ้มรสโดยลักษณะใดๆ ก็ย่อมได้รสดีอันไม่เจือ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมได้ความดีใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสแห่งใจ โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษพึงได้ไม้จันทน์แห่งจันทน์เหลืองหรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใดๆ เช่นจากราก จาก ลำต้น หรือจากยอด ก็ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์หรือโดยอัพภูตธรรม ก็ย่อมได้ความปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้นฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขา ย่อมหมดไปโดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนสระน้ำมีน้ำใสน่าเพลินใจ น้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดย ลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความกระวนกระวาย ความเหน็ด เหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น”
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่งห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ เปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)”
แล้วกล่าวต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่ม แจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”
พรรณนาเรื่องการณปาลีพราหมณ์ โดยพิสดารเช่นนี้ ด้วยประสงค์จะให้อุบาสกอุบาสิกาได้ตระหนักถึงกิจแห่งพุทธสาวก ที่ต้องศึกษาพุทธธรรม จนมีปัญญาอุบายในการอธิบายพุทธธรรมแก่ผู้ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธธรรม ให้เกิดความเลื่อมใส เหมือนดังที่ปิงคิยานีพราหมณ์ ได้กระทำให้อารามทัณฑพราหมณ์เลื่อมใส จนเปล่งอุทานว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” แล
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 106 กันยายน 2552 โดยพระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
เรื่องราวของผู้กล่าวคำว่า “นโม” ๖ คน ในจำนวน ๘ คนที่ปรากฏในพระสูตร ได้แก่ ๑. พรหมายุพราหมณ์ ๒. ชาณุโสณีพราหมณ์ ๓. พระเจ้า ปเสนทิโกศล ๔. ท้าวสักกะจอมเทพ ๕. ธนัญชานีพราหมณ์ ๖. อารามทัณฑพราหมณ์
๗. การณปาลีพราหมณ์ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕ การณปาลีสูตร ๔. จักได้พรรณนาพร้อมเพิ่มเติมอรรถกถาเพื่อความสมบูรณแห่งเนื้อความไว้ดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ ผู้ทำราชการในราชสำนัก ลุกแต่เช้าตรู่ ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวี คือซ่อมส่วนที่ชำรุด ทาสีของประตูป้อม และกำแพงอยู่ ได้เห็นพราหมณ์ปิงคิยานีกำลังเดินมาแต่ไกล จึงคิดว่า พราหมณ์ผู้นี้มีปัญญาญาณ กล้าไปไหนมาแต่เช้าหนอ เมื่อรู้สึกว่าพราหมณ์เดินเข้ามาใกล้โดยลำดับ จึงได้กล่าวว่า “อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน?”
ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า “ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม” (ปิงคิยานีพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวกตั้งอยู่ในอนาคามิผล ได้ยินว่า พราหมณ์ผู้นี้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น แล้วจึงเข้าเมือง จนเป็นกิจวัตรประจำวัน)
การณปาลีพราหมณ์คิดว่า ท่านพราหมณ์ปิงคิยานีย่อมสำคัญพระสมณโคดมว่าเป็นบัณฑิตหรือไม่หนอ จึงถามต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของพระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร?”
ปิงคิยานี “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นใครเล่า ในอันที่จะรู้ถึงความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดมได้ ข้าพเจ้าจักรู้ได้ด้วยเหตุไรเล่า ผู้ใดพึงรู้ถึงความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดม ผู้นั้นก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ก็จะพึงเป็นพุทธะเช่นนั้น อันผู้ประสงค์จะวัดภูเขาสิเนรุก็ดี แผ่นดินก็ดี อากาศก็ดีควรได้ไม้วัดหรือเชือกเท่ากับเขาสิเนรุ แผ่นดิน และอากาศนั้น แม้ผู้รู้ปัญญาของพระสมณโคดม ก็ควรจะได้พระสัพพัญญุตญาณเช่นเดียวกับพระญาณของพระองค์เหมือนกัน”
การณปาลี “ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก”
ปิงคิยานี “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครเล่าในการที่จะ สรรเสริญพระสมณโคดม พระคุณทั้งหลายของพระองค์ ซึ่งชาวโลกทั้งปวงสรรเสริญแล้ว อันฟุ้งไปเหนือคุณทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องสรรเสริญพระองค์ด้วยพระคุณอื่นๆ เหมือนอย่างว่า ดอกจัมปาก็ดี อุบลขาบก็ดี ปทุมแดงก็ดี จันทน์แดงก็ดี เป็นของผ่องใสและมีกลิ่นหอมด้วยสิริคือสีและกลิ่นประจำภายในของมันเอง ไม่จำจะต้องชมดอกไม้นั้นด้วยสีและกลิ่นที่จรมาภายนอก อนึ่ง เหมือนอย่างว่า แก้วมณีก็ดี ดวงจันทร์ก็ดี ย่อมส่องประกายด้วย แสงของมันเอง แก้วมณีและดวงจันทร์นั้นก็ไม่จำต้องส่งประกายด้วยแสงอื่นฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้น ทรงได้รับสรรเสริญยกย่อง ให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลกทั้งปวงด้วยพระคุณของพระองค์เองที่ชาวโลกทั้งปวงสรรเสริญแล้ว ก็ไม่จำต้องสรรเสริญพระองค์ด้วยพระคุณอื่น
พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวกาสีและชาวโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวอังคะและมคธ กษัตริย์ลิจฉวีกรุงเวสาลีประเสริฐกว่าชาวแคว้น วัชชี มัลลกษัตริย์เมืองปาวา เมืองกุสินารา เป็นผู้ประเสริฐ แม้กษัตริย์นั้นๆ เหล่าอื่นก็ประเสริฐกว่าชนบทเหล่านั้นๆ พราหมณ์มีจังกีพราหมณ์เป็นต้นก็ประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย อุบาสกมีอนาถบิณฑิกะเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าอุบาสกทั้งหลาย อุบาสิกามีนางวิสาขาเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าอุบาสิกาหลายร้อย ปริพาชกมีสุกุลุทายีเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าปริพาชกหลายร้อย มหาสาวิกามีอุบลวัณณาเถรีเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าภิกษุณีหลายร้อย พระมหาเถระมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าภิกษุหลายร้อย เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่า ทวยเทพหลายพัน พรหมมีมหาพรหมเป็นต้นก็ประเสริฐกว่าพรหมหลายพันชนและเทพแม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ยังยกย่องชมเชยสรรเสริญพระทศพล ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
การณปาลี “ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดม?”
ปิงคิยานี “ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใดบุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว และความอ่อนเพลียครอบงำ พึงได้รวงผึ้ง เขาพึงลิ้มรสโดยลักษณะใดๆ ก็ย่อมได้รสดีอันไม่เจือ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมได้ความดีใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสแห่งใจ โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษพึงได้ไม้จันทน์แห่งจันทน์เหลืองหรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใดๆ เช่นจากราก จาก ลำต้น หรือจากยอด ก็ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์หรือโดยอัพภูตธรรม ก็ย่อมได้ความปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้นฉันนั้น
เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขา ย่อมหมดไปโดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนสระน้ำมีน้ำใสน่าเพลินใจ น้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว กระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดย ลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความกระวนกระวาย ความเหน็ด เหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น”
เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่งห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ เปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)”
แล้วกล่าวต่อไปว่า “ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่ม แจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานีประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”
พรรณนาเรื่องการณปาลีพราหมณ์ โดยพิสดารเช่นนี้ ด้วยประสงค์จะให้อุบาสกอุบาสิกาได้ตระหนักถึงกิจแห่งพุทธสาวก ที่ต้องศึกษาพุทธธรรม จนมีปัญญาอุบายในการอธิบายพุทธธรรมแก่ผู้ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธธรรม ให้เกิดความเลื่อมใส เหมือนดังที่ปิงคิยานีพราหมณ์ ได้กระทำให้อารามทัณฑพราหมณ์เลื่อมใส จนเปล่งอุทานว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” แล
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 106 กันยายน 2552 โดยพระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)