ในแง่ของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งในสหรัฐอเมริกา การทำจินตนาการบำบัดถูกนำมาใช้ในการบำบัดทางเลือกบ่อยเป็นอันดับ 4 ในฐานะเป็นเครื่องมือบำบัดด้วยตนเอง และได้รับการนำไปใช้เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคแก่ ผู้ป่วยมะเร็งบ่อยที่สุด
โปรแกรมรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา นอกจากสถาบันไซมอนตันแล้ว โปรแกรมบำบัดผู้ป่วยมะเร็งของศาสตราจารย์เบอร์นี่ ซีเกล (Bernie Siegel) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล เมื่อเกษียณแล้วท่านมีความสนใจการบำบัดทางกายและจิตมาก ได้ตั้งกลุ่มบำบัดขึ้น ชื่อ Exceptional Cancer Patient (E CaP) ในปี 1978 ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ให้การบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง ท่านใช้หลักการทางกายและจิต ใช้ความรักความเมตตา การให้อภัย การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน โดยการทำกลุ่มบำบัด การใช้จินตนาการบำบัด เทคนิคความผ่อนคลายต่างๆ ท่านได้ระตุ้นให้คนไข้เห็นความสำคัญของพลังบำบัดที่มีอยู่ในร่างกายของเราเอง ซึ่งสามารถเยียวยาตนเองได้ท่านได้เล่าประสบการณ์ และหลักการดูแลผู้ป่วยไว้ในหนังสือชื่อ Love, Medicine and Miracles โปรแกรมของท่านนับว่ามีชื่อเสียงมากในสหรัฐอเมริกาโปรแกรมหนึ่ง (สามารถหาข้อมูลได้ใน www.ecap-online.org)
ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรจะมีความรู้ว่าในพุทธศาสนาก็มีวิธีการหรือแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ความคิด จินตนาการ ซึ่งเป็นวิธีการที่พระพุทธศาสนานำมาใช้ในการปฏิบัติธรรมอย่างมากมายเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ
ง่ายที่สุดก็คือ การแผ่เมตตาให้โน้มใจคิดเยื่อใยในสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นอารมณ์ที่อ่อนโยน ตรงข้ามกับความ เครียด ความโกรธ มีผลทำให้เราเกิดความผ่อนคลาย จิตเป็นสมาธิได้เร็ว นอนหลับง่าย แถมฝันดีอีกด้วย ใบหน้าจะผ่องใส นี่เป็นอานิสงส์ส่วนหนึ่งของการแผ่เมตตา ซึ่งมี 11 ประการด้วยกัน ผลต่อสุขภาพ คือ ทำให้สุขภาพทางกายและจิตดี แก้โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคความดันโลหิต โรคหัวใจได้ การแผ่เมตตาทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทำได้บ่อยๆ ท่านจึงเรียกว่า กรรมฐานในชีวิต ประจำวัน
สำหรับวิธีการปฏิบัติเราใช้การนึกในใจเป็นภาษาไทยก็ได้ ภาษาบาลีก็ได้ตามแต่ถนัด ดังนี้คือ
“สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้ง หมดทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกัน และกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกายและสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งสิ้นเถิด”
หรือจะนึกในใจสั้นๆ ว่า
“ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆเถิด” ซ้ำๆกันตลอดก็ได้เช่นกัน การปฏิบัติเช่นนี้ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายใจ ชุ่มชื่นเบิกบานใจ ทำให้เป็นคนใจเย็น ไม่โกรธง่าย เป็นอารมณ์ของการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ซึ่งมีผลให้เรามีสุขภาพดีตามมาด้วย
นอกจากนั้น พระพุทธองค์ยังทรงสอนวิธีการทำสมถกรรมฐาน คือ ทำอุบายให้ใจสงบเป็นสมาธิ ซึ่งมี 40 วิธี คือ กสิณ 10 อสุภ 10 อนุสสติ 10 พรหมวิหาร 4 จตุธาตุววัตถาน 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 และอรูปธรรม 4 ในกรรมฐาน 40 วิธีนี้ นอกจากพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดังที่กล่าวมาในตอนต้นเกี่ยวกับการแผ่เมตตาแล้ว วิธีการใช้ความนึกคิด จินตนาการก็คือ อนุสสติ 10 ประการ นั่นเอง ซึ่งมีดังนี้ คือ
1. พุทธานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
2. ธัมมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระธรรม
3. สังฆานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
4. สีลานุสสติ การระลึกถึงคุณของศีล
5. จาคานุสสติ การระลึกถึงการบริจาคของตนที่ได้กระทำไปแล้ว
6. เทวตานุสสติ การระลึกถึงธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา
7. มรณัสสติ การระลึกถึงความตาย
8. กายคตาสติ การระลึกถึงร่างกายให้เห็นว่าเป็นของ ไม่งาม
9. อานาปานสติ การกำหนดลมหายใจเข้าและออก
10. อุปสมานุสสติ การระลึกถึงพระนิพพาน อันเป็นที่สงบระงับแห่งทุกข์ทั้งปวง
การนึกถึงธรรมทั้ง 10 ประการนี้จะมีผลให้จิตผ่อนคลายเป็นสมาธิ โดยข้อ 1-7 และข้อ 10 ทำให้สมาธิลึกถึง ขั้นอุปจารสมาธิ ข้อ 8 และข้อ 9 ทำให้ได้สมาธิถึงขั้น อัปปนาสมาธิ คือ ได้ฌาน
ดังนั้นการปฏิบัติธรรมหรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณก็สามารถนำมาใช้ในการทำให้สุขภาพแข็งแรงและบำบัดโรคได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป
(อ่านต่อฉบับหน้า)
โปรแกรมรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา นอกจากสถาบันไซมอนตันแล้ว โปรแกรมบำบัดผู้ป่วยมะเร็งของศาสตราจารย์เบอร์นี่ ซีเกล (Bernie Siegel) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางศัลยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล เมื่อเกษียณแล้วท่านมีความสนใจการบำบัดทางกายและจิตมาก ได้ตั้งกลุ่มบำบัดขึ้น ชื่อ Exceptional Cancer Patient (E CaP) ในปี 1978 ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ให้การบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง ท่านใช้หลักการทางกายและจิต ใช้ความรักความเมตตา การให้อภัย การเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน โดยการทำกลุ่มบำบัด การใช้จินตนาการบำบัด เทคนิคความผ่อนคลายต่างๆ ท่านได้ระตุ้นให้คนไข้เห็นความสำคัญของพลังบำบัดที่มีอยู่ในร่างกายของเราเอง ซึ่งสามารถเยียวยาตนเองได้ท่านได้เล่าประสบการณ์ และหลักการดูแลผู้ป่วยไว้ในหนังสือชื่อ Love, Medicine and Miracles โปรแกรมของท่านนับว่ามีชื่อเสียงมากในสหรัฐอเมริกาโปรแกรมหนึ่ง (สามารถหาข้อมูลได้ใน www.ecap-online.org)
ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เราควรจะมีความรู้ว่าในพุทธศาสนาก็มีวิธีการหรือแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ความคิด จินตนาการ ซึ่งเป็นวิธีการที่พระพุทธศาสนานำมาใช้ในการปฏิบัติธรรมอย่างมากมายเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ
ง่ายที่สุดก็คือ การแผ่เมตตาให้โน้มใจคิดเยื่อใยในสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นอารมณ์ที่อ่อนโยน ตรงข้ามกับความ เครียด ความโกรธ มีผลทำให้เราเกิดความผ่อนคลาย จิตเป็นสมาธิได้เร็ว นอนหลับง่าย แถมฝันดีอีกด้วย ใบหน้าจะผ่องใส นี่เป็นอานิสงส์ส่วนหนึ่งของการแผ่เมตตา ซึ่งมี 11 ประการด้วยกัน ผลต่อสุขภาพ คือ ทำให้สุขภาพทางกายและจิตดี แก้โรคเครียด โรคนอนหลับยาก โรคความดันโลหิต โรคหัวใจได้ การแผ่เมตตาทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทำได้บ่อยๆ ท่านจึงเรียกว่า กรรมฐานในชีวิต ประจำวัน
สำหรับวิธีการปฏิบัติเราใช้การนึกในใจเป็นภาษาไทยก็ได้ ภาษาบาลีก็ได้ตามแต่ถนัด ดังนี้คือ
“สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้ง หมดทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกัน และกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกายและสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งสิ้นเถิด”
หรือจะนึกในใจสั้นๆ ว่า
“ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุขๆเถิด” ซ้ำๆกันตลอดก็ได้เช่นกัน การปฏิบัติเช่นนี้ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายสบายใจ ชุ่มชื่นเบิกบานใจ ทำให้เป็นคนใจเย็น ไม่โกรธง่าย เป็นอารมณ์ของการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ซึ่งมีผลให้เรามีสุขภาพดีตามมาด้วย
นอกจากนั้น พระพุทธองค์ยังทรงสอนวิธีการทำสมถกรรมฐาน คือ ทำอุบายให้ใจสงบเป็นสมาธิ ซึ่งมี 40 วิธี คือ กสิณ 10 อสุภ 10 อนุสสติ 10 พรหมวิหาร 4 จตุธาตุววัตถาน 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 และอรูปธรรม 4 ในกรรมฐาน 40 วิธีนี้ นอกจากพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ดังที่กล่าวมาในตอนต้นเกี่ยวกับการแผ่เมตตาแล้ว วิธีการใช้ความนึกคิด จินตนาการก็คือ อนุสสติ 10 ประการ นั่นเอง ซึ่งมีดังนี้ คือ
1. พุทธานุสสติ การระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
2. ธัมมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระธรรม
3. สังฆานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
4. สีลานุสสติ การระลึกถึงคุณของศีล
5. จาคานุสสติ การระลึกถึงการบริจาคของตนที่ได้กระทำไปแล้ว
6. เทวตานุสสติ การระลึกถึงธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา
7. มรณัสสติ การระลึกถึงความตาย
8. กายคตาสติ การระลึกถึงร่างกายให้เห็นว่าเป็นของ ไม่งาม
9. อานาปานสติ การกำหนดลมหายใจเข้าและออก
10. อุปสมานุสสติ การระลึกถึงพระนิพพาน อันเป็นที่สงบระงับแห่งทุกข์ทั้งปวง
การนึกถึงธรรมทั้ง 10 ประการนี้จะมีผลให้จิตผ่อนคลายเป็นสมาธิ โดยข้อ 1-7 และข้อ 10 ทำให้สมาธิลึกถึง ขั้นอุปจารสมาธิ ข้อ 8 และข้อ 9 ทำให้ได้สมาธิถึงขั้น อัปปนาสมาธิ คือ ได้ฌาน
ดังนั้นการปฏิบัติธรรมหรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณก็สามารถนำมาใช้ในการทำให้สุขภาพแข็งแรงและบำบัดโรคได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อๆ ไป
(อ่านต่อฉบับหน้า)