งานสำคัญ (ต่อ)
พระอานนท์(ต่อ)
๔. การวิสัชนาพระธรรมในคราวทำปฐมสังคายนา คราวที่พระมหากัสสปะได้เสนอให้มีการทำปฐมสังคายนาขึ้นหลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน โดยที่ประชุมสงฆ์ได้มีมติ คัดเลือกพระอุบาลีให้ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยนั้น ในขณะเดียวกันก็ได้คัดเลือกพระอานนท์ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรมอย่างที่กล่าวไว้แล้ว ท่านได้รับคัดเลือกขณะที่ยังเป็นพระโสดาบัน แต่ด้วยผลแห่งการบำเพ็ญเพียร ท่านจึงได้บรรลุอรหัตผลในเช้ามืดของวันที่จะทำสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่อย่างดียิ่งโดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ เพื่อให้ช่วยกันจัดหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น “พระสุตตันตปิฎก” และ “พระอภิธรรมปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้
๕. การสร้างผู้สืบต่อ ท่านก็เป็นเช่นเดียวกับพระสาวกผู้ใหญ่รูปอื่นๆ อาทิ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระอุบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นหัวหน้าหมู่คณะอบรมสั่งสอนสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิก และมีศิษย์ ศึกษาธรรมต่อจากท่านที่ปรากฏชื่อ คือ พระสัพพกามี พระ ยสกากัณฑบุตร พระสาฬหะ พระเรวตะ พระขุชชโสภิตตะ พระสาณวาสีสัมภูตะ ซึ่งศิษย์ทั้งหมดของท่านนี้ ได้มามีบทบาทสำคัญมากในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒
๖. การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทก็ถือพระอานนท์ว่าเป็นเหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า เนื่อง จากครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น เวลาเสด็จไป ในที่ใดก็มีพระอานนท์ตามเสด็จไปด้วยดุจเงา กล่าวตามภาษาสามัญก็ว่า เห็นพระพุทธเจ้า ณ ที่ใดก็เห็นพระอานนท์ ณ ที่นั้น ดังนั้นหลังจากทำปฐมสังคายนาแล้ว ท่านจึงออกจาริกไปตามวัดต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ทำนองที่ว่าเพื่อเตือนให้เกิดพุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อัน เป็นทางปลูกสร้างความสามัคคีไว้เพื่อความไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา
วัดแรกที่ผ่านไป คือ วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ดินแดนของพระเจ้าอุเทน การไปเมืองโกสัมพีครั้งนี้ แม้พระไตรปิฎกจะกล่าวว่าไปเพื่อแจ้งข่าวแก่พระฉันนะ ว่า สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านก็จริง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นก็คือการได้พบพระเจ้าอุเทน และได้สนทนากันจนพระเจ้าอุเทนเลื่อมใสยิ่งขึ้น
สาเหตุที่จะทำให้ท่านได้พบกับพระเจ้าอุเทน สืบเนื่องมาจากนางสนมของพระเจ้าอุเทนได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่ท่านหลังจากได้ฟังธรรมแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงสงสัยว่าท่านจะนำผ้าเหล่านั้นไปทำอะไร จึงเข้าไปหาแล้วตรัสถาม ซึ่งพระเถระก็ถวายพระพรให้ทราบ พระไตรปิฎกได้บันทึก คำสนทนาไว้ดังนี้
พระเจ้าอุเทน : พระคุณเจ้า ผ้าตั้ง ๕๐๐ ผืน พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: อาตมาภาพ จักแบ่งปันให้แก่พระที่มีจีวรเก่า
พระเจ้าอุเทน : จีวรเก่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูนอน
พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูนอนเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้ากั้นเพดาน
พระเจ้าอุเทน : ผ้ากั้นเพดานเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูพื้น
พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูพื้นเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดเท้า
พระเจ้าอุเทน : ผ้าเช็ดเท้าเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าขี้ริ้ว
พระเจ้าอุเทน : ผ้าขี้ริ้วเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปโขลกเคล้ากับดินเหนียวแล้วนำไปฉาบกุฏิ
พระเจ้าอุเทนครั้นได้สดับคำตอบจากท่านแล้วก็เกิดศรัทธา จึงทรงรับสั่งให้ถวายผ้าเพิ่มเติมอีก
การได้สนทนากับพระเจ้าอุเทนครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ ต่อภารกิจของท่านมาก ประการแรกเป็นประโยชน์ตรงที่ทำให้พระเจ้าอุเทนเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนา อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนั้น เพราะยุคนั้นแคว้นวังสะถือเป็นแคว้น มหาอำนาจแคว้นหนึ่ง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ได้ อำนาจรัฐสนับสนุน ย่อมประสบผลสำเร็จรวดเร็ว ประการสุดท้าย เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางไปเยี่ยมพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ในแคว้นต่างๆ โดยได้นำผ้าที่นางสนมและพระเจ้าอุเทนถวายไปแบ่งถวาย เป็นการสงเคราะห์และยึดเหนี่ยวน้ำใจให้เกิดความระลึกและตระหนักในความเป็นพุทธสาวกด้วยกัน
การที่พระพุทธศาสนามั่นคงและรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถือได้ว่าพระอานนท์ได้มีบทบาทสำคัญมากรูปหนึ่งทีเดียว
พระนาคิตะ เคยถวายการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าขณะอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์อิจฉานังคละ แคว้นโกศล พระพุทธเจ้าเคยปฏิเสธผ่านทางท่านไม่ขอรับลาภสักการะที่พราหมณ์และคหบดีชาวอิจฉานังคละจัดทำมาถวายเพราะมาส่งเสียงอื้ออึงอยู่ที่หน้าซุ้มประตูที่ประทับ
พระภค ุมีกล่าวไว้ว่าคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจาก เมืองโกสัมพี เพื่อไปประทับ ณ ป่าปาริเลยยกะนั้นได้เสด็จ ผ่านมาทางพาลกโลณการาม ทรงพบพระภคุซึ่งอยู่ตามลำพัง จึงทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระที่อยู่รูปเดียวให้ฟังแล้วเสด็จเลยไป จากนั้นก็ไม่มีกล่าวถึงบทบาทของท่าน อีกเลย
พระกิมพิละ มีกล่าวไว้ว่าท่านทูลถามถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่นานหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าเป็นเพราะ พุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพในการศึกษา ในความไม่ประมาท และในการปฏิสันถาร
พระสีวลี ไม่มีระบุไว้แน่ชัดถึงบทบาทของท่านเช่นรูป อื่นๆ มีแต่กล่าวไว้ว่าท่านเป็นพระที่มีลาภมาก ไม่ว่าจะอยู่ในถิ่นทุรกันดารอย่างใดก็ไม่เคยลำบากเรื่องอาหาร คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองสาวัตถี พระสีวลีเข้าไปกราบแล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าขออนุญาตพาพระ ๕๐๐ รูปไปเพื่อทดลองบุญของท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ท่านจึงพาพระทั้ง ๕๐๐ รูปเดินป่าบ่ายหน้าไปทาง ป่าหิมพานต์ ท่านเดินทางผ่านสถานที่กันดาร ๗ แห่ง และพักอยู่แห่งละ ๗ วัน ซึ่งในแต่ละวันนั้นเทวดาและอมนุษย์ อื่นๆ ได้ถวายทานแก่ท่านและพระ ๕๐๐ รูป สถานที่กันดาร ๗ แห่ง คือสถานที่ที่มีต้นไทรขึ้นอยู่ ภูเขาปัณฑวะ แม่น้ำอจิรวดี สาครใหญ่ ป่าหิมพานต์ สระฉัททันต์ ภูเขาคันธมาทน์และภูเขาเรวตะ โดยเฉพาะขณะอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ เทวดาชื่อนาคทัตตะได้ถวายทาน ๗ วัน โดยถวายข้าวปรุงด้วยนมสดกับข้าวปรุงด้วยเนยใส สลับอย่างละวัน พระที่ร่วมเดินทางจึงถามเทวดาชื่อนาคทัตตะนั้น เทวดานั้นกล่าวว่า นี้เป็นผลที่ได้ถวายสลากภัตรที่ปรุงด้วยน้ำนมสดแก่พระพุทธเจ้ากัสสปะ อีกคราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าเคยพาพระ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลผ่านถิ่นทุรกันดารไปเยี่ยมพระ ขทิรวนิยเรวตะ โดยมีพระสีวลีตามเสด็จอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ผลปรากฎว่าพระทั้งหมดนั้นไม่ลำบากด้วยอาหาร เหตุการณ์ทำนองนี้ยังเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นด้วยผลบุญของพระสีวลีที่ทำไว้แต่อดีตชาติ
เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยตรง แต่เป็นเหตุการณ์สนับสนุนที่พอกล่าวอ้างได้ว่ามีส่วนส่งเสริมต่อการปฏิบัติธรรมของ พระสาวกรูปอื่นๆ เพราะอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการปฏิบัติธรรม
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดย ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)
พระอานนท์(ต่อ)
๔. การวิสัชนาพระธรรมในคราวทำปฐมสังคายนา คราวที่พระมหากัสสปะได้เสนอให้มีการทำปฐมสังคายนาขึ้นหลังพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน โดยที่ประชุมสงฆ์ได้มีมติ คัดเลือกพระอุบาลีให้ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยนั้น ในขณะเดียวกันก็ได้คัดเลือกพระอานนท์ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรมอย่างที่กล่าวไว้แล้ว ท่านได้รับคัดเลือกขณะที่ยังเป็นพระโสดาบัน แต่ด้วยผลแห่งการบำเพ็ญเพียร ท่านจึงได้บรรลุอรหัตผลในเช้ามืดของวันที่จะทำสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่อย่างดียิ่งโดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ เพื่อให้ช่วยกันจัดหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น “พระสุตตันตปิฎก” และ “พระอภิธรรมปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้
๕. การสร้างผู้สืบต่อ ท่านก็เป็นเช่นเดียวกับพระสาวกผู้ใหญ่รูปอื่นๆ อาทิ พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระอุบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เป็นหัวหน้าหมู่คณะอบรมสั่งสอนสัทธิวิหาริก และอันเตวาสิก และมีศิษย์ ศึกษาธรรมต่อจากท่านที่ปรากฏชื่อ คือ พระสัพพกามี พระ ยสกากัณฑบุตร พระสาฬหะ พระเรวตะ พระขุชชโสภิตตะ พระสาณวาสีสัมภูตะ ซึ่งศิษย์ทั้งหมดของท่านนี้ ได้มามีบทบาทสำคัญมากในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒
๖. การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทก็ถือพระอานนท์ว่าเป็นเหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า เนื่อง จากครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น เวลาเสด็จไป ในที่ใดก็มีพระอานนท์ตามเสด็จไปด้วยดุจเงา กล่าวตามภาษาสามัญก็ว่า เห็นพระพุทธเจ้า ณ ที่ใดก็เห็นพระอานนท์ ณ ที่นั้น ดังนั้นหลังจากทำปฐมสังคายนาแล้ว ท่านจึงออกจาริกไปตามวัดต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ทำนองที่ว่าเพื่อเตือนให้เกิดพุทธานุสสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า อัน เป็นทางปลูกสร้างความสามัคคีไว้เพื่อความไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา
วัดแรกที่ผ่านไป คือ วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ ดินแดนของพระเจ้าอุเทน การไปเมืองโกสัมพีครั้งนี้ แม้พระไตรปิฎกจะกล่าวว่าไปเพื่อแจ้งข่าวแก่พระฉันนะ ว่า สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านก็จริง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นก็คือการได้พบพระเจ้าอุเทน และได้สนทนากันจนพระเจ้าอุเทนเลื่อมใสยิ่งขึ้น
สาเหตุที่จะทำให้ท่านได้พบกับพระเจ้าอุเทน สืบเนื่องมาจากนางสนมของพระเจ้าอุเทนได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่ท่านหลังจากได้ฟังธรรมแล้ว พระเจ้าอุเทนทรงสงสัยว่าท่านจะนำผ้าเหล่านั้นไปทำอะไร จึงเข้าไปหาแล้วตรัสถาม ซึ่งพระเถระก็ถวายพระพรให้ทราบ พระไตรปิฎกได้บันทึก คำสนทนาไว้ดังนี้
พระเจ้าอุเทน : พระคุณเจ้า ผ้าตั้ง ๕๐๐ ผืน พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: อาตมาภาพ จักแบ่งปันให้แก่พระที่มีจีวรเก่า
พระเจ้าอุเทน : จีวรเก่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูนอน
พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูนอนเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้ากั้นเพดาน
พระเจ้าอุเทน : ผ้ากั้นเพดานเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าปูพื้น
พระเจ้าอุเทน : ผ้าปูพื้นเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์: ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำเป็นผ้าเช็ดเท้า
พระเจ้าอุเทน : ผ้าเช็ดเท้าเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปทำผ้าขี้ริ้ว
พระเจ้าอุเทน : ผ้าขี้ริ้วเก่าเล่า พระคุณเจ้าจักเอาไปทำอะไร
พระอานนท์ : ปวงอาตมาภาพ จักเอาไปโขลกเคล้ากับดินเหนียวแล้วนำไปฉาบกุฏิ
พระเจ้าอุเทนครั้นได้สดับคำตอบจากท่านแล้วก็เกิดศรัทธา จึงทรงรับสั่งให้ถวายผ้าเพิ่มเติมอีก
การได้สนทนากับพระเจ้าอุเทนครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ ต่อภารกิจของท่านมาก ประการแรกเป็นประโยชน์ตรงที่ทำให้พระเจ้าอุเทนเลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนา อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนั้น เพราะยุคนั้นแคว้นวังสะถือเป็นแคว้น มหาอำนาจแคว้นหนึ่ง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ได้ อำนาจรัฐสนับสนุน ย่อมประสบผลสำเร็จรวดเร็ว ประการสุดท้าย เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางไปเยี่ยมพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ในแคว้นต่างๆ โดยได้นำผ้าที่นางสนมและพระเจ้าอุเทนถวายไปแบ่งถวาย เป็นการสงเคราะห์และยึดเหนี่ยวน้ำใจให้เกิดความระลึกและตระหนักในความเป็นพุทธสาวกด้วยกัน
การที่พระพุทธศาสนามั่นคงและรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถือได้ว่าพระอานนท์ได้มีบทบาทสำคัญมากรูปหนึ่งทีเดียว
พระนาคิตะ เคยถวายการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าขณะอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์อิจฉานังคละ แคว้นโกศล พระพุทธเจ้าเคยปฏิเสธผ่านทางท่านไม่ขอรับลาภสักการะที่พราหมณ์และคหบดีชาวอิจฉานังคละจัดทำมาถวายเพราะมาส่งเสียงอื้ออึงอยู่ที่หน้าซุ้มประตูที่ประทับ
พระภค ุมีกล่าวไว้ว่าคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จออกจาก เมืองโกสัมพี เพื่อไปประทับ ณ ป่าปาริเลยยกะนั้นได้เสด็จ ผ่านมาทางพาลกโลณการาม ทรงพบพระภคุซึ่งอยู่ตามลำพัง จึงทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระที่อยู่รูปเดียวให้ฟังแล้วเสด็จเลยไป จากนั้นก็ไม่มีกล่าวถึงบทบาทของท่าน อีกเลย
พระกิมพิละ มีกล่าวไว้ว่าท่านทูลถามถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่นานหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าเป็นเพราะ พุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เคารพในการศึกษา ในความไม่ประมาท และในการปฏิสันถาร
พระสีวลี ไม่มีระบุไว้แน่ชัดถึงบทบาทของท่านเช่นรูป อื่นๆ มีแต่กล่าวไว้ว่าท่านเป็นพระที่มีลาภมาก ไม่ว่าจะอยู่ในถิ่นทุรกันดารอย่างใดก็ไม่เคยลำบากเรื่องอาหาร คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองสาวัตถี พระสีวลีเข้าไปกราบแล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าขออนุญาตพาพระ ๕๐๐ รูปไปเพื่อทดลองบุญของท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ท่านจึงพาพระทั้ง ๕๐๐ รูปเดินป่าบ่ายหน้าไปทาง ป่าหิมพานต์ ท่านเดินทางผ่านสถานที่กันดาร ๗ แห่ง และพักอยู่แห่งละ ๗ วัน ซึ่งในแต่ละวันนั้นเทวดาและอมนุษย์ อื่นๆ ได้ถวายทานแก่ท่านและพระ ๕๐๐ รูป สถานที่กันดาร ๗ แห่ง คือสถานที่ที่มีต้นไทรขึ้นอยู่ ภูเขาปัณฑวะ แม่น้ำอจิรวดี สาครใหญ่ ป่าหิมพานต์ สระฉัททันต์ ภูเขาคันธมาทน์และภูเขาเรวตะ โดยเฉพาะขณะอยู่ที่ภูเขาคันธมาทน์ เทวดาชื่อนาคทัตตะได้ถวายทาน ๗ วัน โดยถวายข้าวปรุงด้วยนมสดกับข้าวปรุงด้วยเนยใส สลับอย่างละวัน พระที่ร่วมเดินทางจึงถามเทวดาชื่อนาคทัตตะนั้น เทวดานั้นกล่าวว่า นี้เป็นผลที่ได้ถวายสลากภัตรที่ปรุงด้วยน้ำนมสดแก่พระพุทธเจ้ากัสสปะ อีกคราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าเคยพาพระ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลผ่านถิ่นทุรกันดารไปเยี่ยมพระ ขทิรวนิยเรวตะ โดยมีพระสีวลีตามเสด็จอยู่ในจำนวนนั้นด้วย ผลปรากฎว่าพระทั้งหมดนั้นไม่ลำบากด้วยอาหาร เหตุการณ์ทำนองนี้ยังเกิดขึ้นอีกหลายครั้ง พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นด้วยผลบุญของพระสีวลีที่ทำไว้แต่อดีตชาติ
เหตุการณ์ที่กล่าวมานี้ แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาโดยตรง แต่เป็นเหตุการณ์สนับสนุนที่พอกล่าวอ้างได้ว่ามีส่วนส่งเสริมต่อการปฏิบัติธรรมของ พระสาวกรูปอื่นๆ เพราะอาหารถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการปฏิบัติธรรม
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดย ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)