การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนามี ๒ อย่างคือสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานพวกเราควรทำความเข้าใจกรรมฐานทั้ง ๒ อย่างให้ชัดเจน เพื่อว่าเมื่อเวลาทำสมถ กรรมฐานจะได้ไม่หลงไปทำมิจฉาสมาธิ และเมื่อเวลาเจริญวิปัสสนากรรมฐานจะได้ไม่หลงไปทำสมถกรรมฐาน ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้เป็นปัญหาที่พบมากในหมู่นักปฏิบัติ
สำหรับท่านที่ไม่มีเวลาจะสนใจกรรมฐานทั้งสองอย่าง จะสนใจอย่างเดียวก็ได้ แต่ขอให้สนใจวิปัสสนากรรมฐานก็แล้วกัน เพราะวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ต้องมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้จึงจะมีการสอนกัน ส่วนสมถกรรมฐานนั้นเป็นสาธารณะ ไม่มีพระพุทธเจ้า ก็มีนักปราชญ์อื่นๆ มาสอนกันได้อยู่แล้ว
เวลานี้พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ รีบเรียนเรื่องวิปัสสนากรรมฐานไว้ก่อนก็แล้วกัน ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ทำความเข้าใจบทความนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ข้อ ๓ เป็นต้นไป ถ้าอ่านเที่ยวเดียวไม่รู้เรื่อง ก็ลองอ่านหลายๆ เที่ยว พวกเราคงเข้าใจจนได้ในที่สุด กระซิบบอกพวกเราไว้เลยว่า ถ้าเข้าใจเมื่อใด จะพบว่านี่คือขุมทรัพย์แห่งความสุขที่ใครๆ ก็ปรารถนานั่นเอง
๑. ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือสมถะและวิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง” (อาคันตุกาคารสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙/๒๙๔) แต่ในแวดวงของผู้ปฏิบัติแล้วเรามักพบว่า เพื่อนนักปฏิบัติหลาย ท่านยอมรับกรรมฐานเพียงอย่างใด อย่างหนึ่ง ละเลยที่จะเรียนรู้กรรมฐานอีกอย่างหนึ่ง และบางกรณียังปรามาสเสียด้วยซ้ำไปว่า กรรมฐานที่ตนไม่นิยมนั้นไม่มีความสำคัญอะไรเลย
ฝ่ายที่นิยมสมถกรรมฐาน ก็มักจะมีความเห็นสุดโต่งว่า “(๑) การปฏิบัติธรรมจะต้องเริ่มต้นด้วยการเจริญสมถกรรมฐานเท่านั้น และ(๒) หากจิตสงบแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นได้เอง” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้มีตัณหาจริตคือมีนิสัยรักสวยรักงาม รักสุขรักสบาย และรักสงบนั้น ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และควรเริ่มต้นการปฏิบัติด้วยการทำสมถกรรมฐานให้จิตสงบในระดับลึกเสียก่อน จิตจึงจะมีคุณภาพในการตามรู้กายและเวทนาได้ดี ส่วนผู้ที่มีทิฏฐิจริตคือเป็นคนเจ้าความคิดนั้น ควรเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยไม่จำเป็นต้องทำสมถกรรมฐานให้จิตสงบแนบแน่นเสียก่อน ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องเริ่มต้นการปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสมถกรรมฐาน นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติที่ชอบเจริญสมถกรรมฐานก็ควรทราบว่า การทำความสงบก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาโดยอัตโนมัติ เพราะวิธี ทำความสงบจิตหรือการเจริญสมถกรรมฐานก็เป็นอย่างหนึ่ง วิธีที่จะทำให้ เกิดปัญญาหรือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่วิธีการเดียวกัน มีความแตกต่างกันตั้งแต่อารมณ์กรรมฐานไปจนถึงวิธีการในการมีสติรู้อารมณ์กรรมฐานนั้นด้วย
ฝ่ายที่นิยมวิปัสสนากรรมฐานก็มักมีความเห็นสุดโต่งไปอีกข้างหนึ่งว่า “(๑) สมถกรรมฐานเป็นคำสอนของฤาษีชีไพรนอกพระพุทธศาสนา และไม่สำคัญเลย และ (๒) วิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นสิ่งที่ควรเจริญ และเมื่อเจริญแล้วสมาธิจะเกิดขึ้นเอง” ทัศนะเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนไว้อย่างนั้น ความจริงแล้วสมถกรรมฐานมีประโยชน์มาก คือใช้เป็นฐานเบื้องต้น ในการหัดรู้สภาวะรูปนามสำหรับบางท่านก็ได้ ใช้เป็นเครื่องช่วยให้จิตมีกำลังรู้เห็นสภาวธรรมได้ชัดเจนก็ได้ และใช้เป็นที่พักของจิตให้เกิดกำลังและความแช่มชื่นใจในระหว่างการเจริญวิปัสสนาก็ได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในข้อ ๒)
นอกจากนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนสมถกรรมฐานไว้เป็นอันมาก และพระเถระรุ่นหลังได้รวบรวมอารมณ์ของสมถกรรมฐานไว้ถึง ๔๐ อย่าง ทั้งนี้ด้วยทรงเล็งเห็นประโยชน์ของสมถกรรมฐานนั่นเอง อีกประการหนึ่งผู้ที่พยายามจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวนั้น หลายคนที่เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยไม่ทำสมถกรรมฐานก่อน ก็มักจะหลงเพ่งกาย เช่นเพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง หรือเพ่งกายทั้งกาย ทั้งนี้เพราะจิตไม่มีความตั้งมั่นพอ การปฏิบัติเช่นนั้นมักไม่ได้ทั้งความสงบจิตและปัญญา เช่นเดียวกับผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าไม่ทำสมถกรรมฐานให้จิตตั้งมั่นเสียก่อน จิตจะเกิดความกระสับกระส่ายและปฏิเสธเวทนา ไม่สามารถตามรู้เวทนาด้วยจิตที่เป็นกลางได้ อันจะทำให้ไม่เกิดปัญญาเห็นเวทนาและขันธ์อื่นๆ เป็นไตรลักษณ์ ดังนั้นพวกเราไม่ควรปฏิเสธสมถกรรมฐาน อย่างน้อยก็ควรศึกษาเรื่องจิตสิกขาให้ดีเสียก่อนจนรู้จักสภาวะของจิตที่ตั้งมั่นมีสัมมาสมาธิแล้วจึงค่อยเจริญปัญญาต่อไป
เท่าที่ผู้เขียนสังเกตเห็น พบว่าผู้ที่ปฏิเสธวิปัสสนากรรมฐานนั้น มักจะเป็นผู้ที่ไม่สนใจศึกษาพระปริยัติธรรม แต่มีศรัทธาที่จะปฏิบัติ ส่วนผู้ที่ปฏิเสธสมถกรรมฐานมีทั้งผู้ที่ศึกษาพระปริยัติธรรมมาก และพบว่านักปฏิบัติจำนวนมากมักติดความสงบหรือหลงนิมิตต่างๆ ด้วย
เพื่อนชาวพุทธไม่ควรคิดเอาเองโดยอัตโนมัติว่า กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ควรเจริญ ส่วนอีกอย่างหนึ่งไม่สำคัญเลย แท้จริงกรรมฐานทั้งสองมีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่มีประโยชน์แตกต่างกัน เสมือนหัวใจกับสมองที่ต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่
ดังนั้นเราจึงควรทำตามทีี่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ คือเจริญกรรมฐานทั้งสองนี้ด้วยปัญญาอันยิ่ง โดยมีสัมปชัญญะกำกับไว้เสมอ ได้แก่ จะต้องรู้ชัดว่า (๑)จะเจริญกรรมฐานใด (๒)เพื่ออะไร (๓)เจริญอย่างไร และ (๔)ระหว่างเจริญ กรรมฐานก็ต้องหมั่นรู้สึกตัว ไม่หลงไม่เผลอคลาดเคลื่อนไปจากอารมณ์กรรมฐานนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 103 มิ.ย. 52 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
สำหรับท่านที่ไม่มีเวลาจะสนใจกรรมฐานทั้งสองอย่าง จะสนใจอย่างเดียวก็ได้ แต่ขอให้สนใจวิปัสสนากรรมฐานก็แล้วกัน เพราะวิปัสสนากรรมฐานเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ต้องมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้จึงจะมีการสอนกัน ส่วนสมถกรรมฐานนั้นเป็นสาธารณะ ไม่มีพระพุทธเจ้า ก็มีนักปราชญ์อื่นๆ มาสอนกันได้อยู่แล้ว
เวลานี้พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่ รีบเรียนเรื่องวิปัสสนากรรมฐานไว้ก่อนก็แล้วกัน ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ ทำความเข้าใจบทความนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ข้อ ๓ เป็นต้นไป ถ้าอ่านเที่ยวเดียวไม่รู้เรื่อง ก็ลองอ่านหลายๆ เที่ยว พวกเราคงเข้าใจจนได้ในที่สุด กระซิบบอกพวกเราไว้เลยว่า ถ้าเข้าใจเมื่อใด จะพบว่านี่คือขุมทรัพย์แห่งความสุขที่ใครๆ ก็ปรารถนานั่นเอง
๑. ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือสมถะและวิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง” (อาคันตุกาคารสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙/๒๙๔) แต่ในแวดวงของผู้ปฏิบัติแล้วเรามักพบว่า เพื่อนนักปฏิบัติหลาย ท่านยอมรับกรรมฐานเพียงอย่างใด อย่างหนึ่ง ละเลยที่จะเรียนรู้กรรมฐานอีกอย่างหนึ่ง และบางกรณียังปรามาสเสียด้วยซ้ำไปว่า กรรมฐานที่ตนไม่นิยมนั้นไม่มีความสำคัญอะไรเลย
ฝ่ายที่นิยมสมถกรรมฐาน ก็มักจะมีความเห็นสุดโต่งว่า “(๑) การปฏิบัติธรรมจะต้องเริ่มต้นด้วยการเจริญสมถกรรมฐานเท่านั้น และ(๒) หากจิตสงบแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นได้เอง” ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้มีตัณหาจริตคือมีนิสัยรักสวยรักงาม รักสุขรักสบาย และรักสงบนั้น ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และควรเริ่มต้นการปฏิบัติด้วยการทำสมถกรรมฐานให้จิตสงบในระดับลึกเสียก่อน จิตจึงจะมีคุณภาพในการตามรู้กายและเวทนาได้ดี ส่วนผู้ที่มีทิฏฐิจริตคือเป็นคนเจ้าความคิดนั้น ควรเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยไม่จำเป็นต้องทำสมถกรรมฐานให้จิตสงบแนบแน่นเสียก่อน ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องเริ่มต้นการปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสมถกรรมฐาน นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติที่ชอบเจริญสมถกรรมฐานก็ควรทราบว่า การทำความสงบก็ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาโดยอัตโนมัติ เพราะวิธี ทำความสงบจิตหรือการเจริญสมถกรรมฐานก็เป็นอย่างหนึ่ง วิธีที่จะทำให้ เกิดปัญญาหรือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่วิธีการเดียวกัน มีความแตกต่างกันตั้งแต่อารมณ์กรรมฐานไปจนถึงวิธีการในการมีสติรู้อารมณ์กรรมฐานนั้นด้วย
ฝ่ายที่นิยมวิปัสสนากรรมฐานก็มักมีความเห็นสุดโต่งไปอีกข้างหนึ่งว่า “(๑) สมถกรรมฐานเป็นคำสอนของฤาษีชีไพรนอกพระพุทธศาสนา และไม่สำคัญเลย และ (๒) วิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นสิ่งที่ควรเจริญ และเมื่อเจริญแล้วสมาธิจะเกิดขึ้นเอง” ทัศนะเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนไว้อย่างนั้น ความจริงแล้วสมถกรรมฐานมีประโยชน์มาก คือใช้เป็นฐานเบื้องต้น ในการหัดรู้สภาวะรูปนามสำหรับบางท่านก็ได้ ใช้เป็นเครื่องช่วยให้จิตมีกำลังรู้เห็นสภาวธรรมได้ชัดเจนก็ได้ และใช้เป็นที่พักของจิตให้เกิดกำลังและความแช่มชื่นใจในระหว่างการเจริญวิปัสสนาก็ได้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในข้อ ๒)
นอกจากนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนสมถกรรมฐานไว้เป็นอันมาก และพระเถระรุ่นหลังได้รวบรวมอารมณ์ของสมถกรรมฐานไว้ถึง ๔๐ อย่าง ทั้งนี้ด้วยทรงเล็งเห็นประโยชน์ของสมถกรรมฐานนั่นเอง อีกประการหนึ่งผู้ที่พยายามจะเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวนั้น หลายคนที่เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยไม่ทำสมถกรรมฐานก่อน ก็มักจะหลงเพ่งกาย เช่นเพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง หรือเพ่งกายทั้งกาย ทั้งนี้เพราะจิตไม่มีความตั้งมั่นพอ การปฏิบัติเช่นนั้นมักไม่ได้ทั้งความสงบจิตและปัญญา เช่นเดียวกับผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าไม่ทำสมถกรรมฐานให้จิตตั้งมั่นเสียก่อน จิตจะเกิดความกระสับกระส่ายและปฏิเสธเวทนา ไม่สามารถตามรู้เวทนาด้วยจิตที่เป็นกลางได้ อันจะทำให้ไม่เกิดปัญญาเห็นเวทนาและขันธ์อื่นๆ เป็นไตรลักษณ์ ดังนั้นพวกเราไม่ควรปฏิเสธสมถกรรมฐาน อย่างน้อยก็ควรศึกษาเรื่องจิตสิกขาให้ดีเสียก่อนจนรู้จักสภาวะของจิตที่ตั้งมั่นมีสัมมาสมาธิแล้วจึงค่อยเจริญปัญญาต่อไป
เท่าที่ผู้เขียนสังเกตเห็น พบว่าผู้ที่ปฏิเสธวิปัสสนากรรมฐานนั้น มักจะเป็นผู้ที่ไม่สนใจศึกษาพระปริยัติธรรม แต่มีศรัทธาที่จะปฏิบัติ ส่วนผู้ที่ปฏิเสธสมถกรรมฐานมีทั้งผู้ที่ศึกษาพระปริยัติธรรมมาก และพบว่านักปฏิบัติจำนวนมากมักติดความสงบหรือหลงนิมิตต่างๆ ด้วย
เพื่อนชาวพุทธไม่ควรคิดเอาเองโดยอัตโนมัติว่า กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ควรเจริญ ส่วนอีกอย่างหนึ่งไม่สำคัญเลย แท้จริงกรรมฐานทั้งสองมีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ เพียงแต่มีประโยชน์แตกต่างกัน เสมือนหัวใจกับสมองที่ต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่
ดังนั้นเราจึงควรทำตามทีี่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ คือเจริญกรรมฐานทั้งสองนี้ด้วยปัญญาอันยิ่ง โดยมีสัมปชัญญะกำกับไว้เสมอ ได้แก่ จะต้องรู้ชัดว่า (๑)จะเจริญกรรมฐานใด (๒)เพื่ออะไร (๓)เจริญอย่างไร และ (๔)ระหว่างเจริญ กรรมฐานก็ต้องหมั่นรู้สึกตัว ไม่หลงไม่เผลอคลาดเคลื่อนไปจากอารมณ์กรรมฐานนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 103 มิ.ย. 52 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)