ปัญญามีหลายระดับดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อ ๕.๒.๖ แต่ขอกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งเพราะเป็นเรื่องสำคัญมากที่เพื่อนนักปฏิบัติควรทราบ เนื่องจากเราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยปัญญานี้แหละ คือ ปัญญาเบื้องต้น รู้ว่ารูปนามมีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ไม่ใช่ตัวเราของเรา ทุกสิ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมต้องดับไป จิตต้องมีปัญญาในระดับนี้จึงจะบรรลุเป็นพระโสดาบันและพระสกิทาคามีได้ ปัญญาขั้นกลาง รู้ว่าความทุกข์เกิดจากความยึดมั่นในรูปนาม ถ้าจิตไม่เข้าไปยึด จิตก็ไม่ ทุกข์ จิตต้องมีปัญญาในระดับนี้จึงจะบรรลุเป็นพระอนาคามีได้ ส่วนปัญญาขั้นสูงหรือปัญญาอันยิ่ง เป็นความรู้ถ่องแท้ว่า รูปนามนั่นแหละคือตัวทุกข์ โดยเฉพาะจิตเป็นตัวทุกข์อย่างน่าอัศจรรย์จริงๆ คือไม่ต้องเข้า ไปยึดอะไร จิตก็เป็นตัวทุกข์โดยตัวเองอยู่แล้ว ความจริงอันนี้รู้ได้ยากยิ่งนัก เพราะตัวจิตเองนั้นคนทั่วไปไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น และยากที่จะรู้เห็นได้ สิ่งที่รู้เห็นกันได้ก็มักจะไม่ใช่จิตแต่เป็นธัมมารมณ์ อื่นๆ ส่วนพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี แม้จะไปรู้ไปเห็นจิตเข้า ก็จะพบว่าจิตเป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ดูจะเป็นของดีวิเศษเสียเหลือเกิน เพราะดูประภัสสรผ่องใส มีความสุขอิ่มเอิบอยู่ในตัวเอง จึงยากที่จะเห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์ได้ จิตต้องมีปัญญาอันยิ่งจึงจะเห็นว่ารูปนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตนี้ เป็นตัวทุกข์ จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้เพราะปล่อยวางความถือมั่นในรูปนามลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถือมั่นใน จิต พอจิตวางรูปนามปุ๊บ ก็ประจักษ์นิพ- พานในขณะนั้นเลยทีเดียว
(๕) “เข้าถึงอยู่” หมายความว่าจิตประจักษ์ถึงนิพพานและเข้าถึงนิพพาน แต่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในนิพพาน
ในทางปริยัติถือว่านิพพานเป็นธัมมารมณ์อันหนึ่งที่จิตไปรู้เข้า แต่ใครก็เข้า ไปอยู่ในนิพพานไม่ได้ เพราะนิพพานไม่ ใช่สถานที่ หรือสภาวะที่จะรองรับรูปนามให้ตั้งอยู่ในนิพพานได้ และพระอริยบุคคล จะเห็นนิพพานได้ ก็เมื่อเวลาที่เกิดมรรคญาณ ผลญาณ และในเวลาที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
ส่วนนักปฏิบัติได้พบเห็นสภาวะที่แปลกประหลาดบางอย่าง เป็นสภาวะที่รู้เห็นได้ในเวลาปกตินี้เอง โดยไม่ต้องเกิดมรรคเกิดผลและไม่ต้องเข้าฌานสมาบัติ ใดๆทั้งสิ้น คือเมื่อปฏิบัติจนจิตปล่อยวางจิตไปแล้ว จะพบว่า
(๑) จิตพรากออกจากขันธ์หรือรูป นาม ไม่เกาะเกี่ยวและไม่หยั่งลงสู่รูปนาม แม้รูปนามยังมีอยู่ แต่จิตก็ไม่ได้มาซึ่งรูปนามเพราะไม่ได้เข้าไปกำหนดหมาย ดังนั้นชาติ คือความเกิดหรือความได้มาซึ่งรูปนามในปัจจุบันก็มีไม่ได้ ชาติคือความเกิดต่อไปในอนาคตก็มีไม่ได้ด้วย จิตไม่มีความยินดียินร้ายหรือสำคัญมั่นหมายในรูปนาม และจิตไม่มีความยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งปวงด้วย
(๒)ในเวลาที่มีกิจจะต้องรู้รูปนาม จิตจะเห็นความเป็นปรมัตถ์ของรูปนามโดยอัตโนมัติ เห็นรูปนามโดยความเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญจากความเป็นตัวตน เป็นภาพลวงตา และปล่อยให้รูปนามทำ งานไปตามหน้าที่ หรือตามความเมตตากรุณาที่มีเหลืออยู่ในจิตตามความเคยชิน ส่วนในเวลาที่จำเป็นต้องรู้อารมณ์บัญญัติ ก็รู้อารมณ์บัญญัติ แต่รู้ด้วยความเข้าใจถึงความว่างเปล่าของอารมณ์บัญญัตินั้นด้วย และดำรงตนอยู่อย่างอนุโลมตามโลก แต่ก็ไม่อนุโลมจนเสีย ธรรม
(๓) มีสภาวะที่แปลกประหลาดน่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง คือผู้ที่ปล่อยวางจิตแล้วจะพบว่ามีสภาวะบางสิ่งซึ่งรู้ได้ด้วยจิตปรากฏอยู่ เป็นสภาวะที่สว่างรุ่งเรือง มีสันติ สงบสงัด ปราศจากขันธ์ ปราศจากกิเลส ปราศจากความเคลื่อนไหว ปราศจากรูปลักษณ์ และปราศจากความผันแปร สภาวะอันนี้ปรากฏเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ในคำสอนฝ่ายเถรวาทไม่พบคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เซนเรียกสภาวะอันนี้ว่า “มหาสุญญตา” และเรียกจิตที่ไปรู้มหาสุญญตาว่าจิตเดิมแท้บ้าง หรือจิตหนึ่งบ้าง
มหาสุญญตาเป็นสิ่งที่จิตไปรู้ได้ แต่ไม่มีรูปนามใดๆ ที่จะเข้าไปตั้งอยู่ในมหาสุญญตาได้ แม้รูปนามมีอยู่ แต่ก็เข้าไม่ถึงมหาสุญญตานี้ ปนเปื้อนเข้าไม่ได้ในมหาสุญญตานี้ มหาสุญญตานี้ครอบคลุมรูปนามและโลกธาตุทั้งปวงอยู่ ไม่เกิดขึ้นและไม่เคยหายไปไหน แต่หาผู้ที่รู้เห็นได้ยาก เว้นแต่ผู้ที่ปล่อยวางรูปนามได้ทั้งหมดแล้วเท่านั้น
จิตที่เข้าถึงสภาวะอันนี้จะโปร่งโล่ง กว้างขวางไม่มีขอบเขต ไม่มีขนาดและที่ตั้งให้เป็นเครื่องกดถ่วงบีบคั้น ปราศจากความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ทั้งปวง เพราะไม่ยึดถือใส่ใจในอารมณ์เหล่านั้น แม้กระทั่งมหาสุญญตาก็ไม่ได้มีไว้เพื่อความยึดถือ อนึ่งเรื่องเหล่านี้ผู้เขียนเคยได้ฟังครูบาอาจารย์เล่ามา จึงนำมาเล่าต่อให้เพื่อนนักปฏิบัติได้ทราบไว้บ้างเป็นการแบ่งปันข้อมูลกัน เพราะเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดจนคิดไปไม่ถึง อย่างไรก็ตามเราอย่าด่วนเรียกสภาวะอันนี้ว่านิพพาน แต่เรียกว่ามหาสุญญตาก็แล้วกัน เพราะคำสอนเรื่องนี้ไม่มีปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาทของเรา
(๖) “รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว” หมาย ความว่าชาติหรือความได้มาซึ่งรูปนามในชาติใหม่ไม่มีอีกแล้ว เพราะจิตปราศจากตัณหาจึงปราศจากอุบัติภพที่จะทำให้มีรูปนามต่อไปอีก
ส่วนรูปนามที่เหลืออยู่ในปัจจุบันชาติ ก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นวิบาก แต่เมื่อจิตปราศจากตัณหา ก็ย่อมปราศจากอุปาทานคือไม่เข้าไปตั้งไว้ หรือไม่เข้าไปยึดถือเกาะเกี่ยวรูปนามให้เกิดภาระทางใจ จิตไม่หยิบฉวยรูปนามขึ้นมาเพื่อการยึดถืออีก ดังนั้นแม้รูปนามยังมีอยู่ก็เหมือนไม่มี คือไม่มีภาระทางใจอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าได้วางภาระ หนักที่จิตต้องหยิบฉวยยึดถือรูปนามลงได้ สภาวธรรมภายในกับสภาวธรรมภาย นอกเป็นความว่างเปล่าเสมอกัน นี้ก็เป็นความสิ้นชาติในปัจจุบัน
(๗) “พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” หมายความว่าจิตของผู้ปฏิบัติเข้าถึงความอิ่ม ความเต็ม ความพอ หมดความกระหาย และหมดความดิ้นรนที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป เพราะรู้ชัดว่ารูปนามไม่ใช่ตัวเราของเรา เมื่อปล่อยวางได้แล้ว ก็ไม่ต้องหยิบฉวยเอามาศึกษาให้เป็นภาระอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ว่าเราเป็นผู้ทรงธรรม มีแต่จิตนั่นแหละเป็นผู้ทรงธรรม ส่วนขันธ์ก็อยู่ส่วนขันธ์และเป็นไปตามปัจจัยปรุงแต่งของเขา เมื่อสิ้นขันธ์คือจิตสิ้นความสืบต่อแล้ว ธรรมก็ทรงธรรมเต็มบริบูรณ์อยู่ดังเดิมนั่นเอง ไม่มีขาดตกบก- พร่องแต่อย่างใดเลย
ที่กล่าวมานี้เป็นทางสายกลางที่ไม่ ข้องแวะกับความปรุงแต่งอันสุดโต่งทั้ง สองฝ่าย นี้เป็นทางข้ามภพข้ามชาติที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์สิ้นเชิงคือนิพพาน และเป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมาจากครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติบ้าง ศึกษาจาก พระปริยัติธรรมบ้าง จึงจดจำมาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังในหมู่เพื่อนนักปฏิบัติด้วยกัน แต่ความจำของผู้เขียนอาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ เพื่อนนักปฏิบัติจึงอย่าได้ เชื่อถือหรือใช้อ้างอิงเป็นตำรา เพียงรับฟังเพื่อความเพลิดเพลินในธรรมและเทียบเคียงกับผลการปฏิบัติที่ทำอยู่ก็พอแล้ว
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
(๕) “เข้าถึงอยู่” หมายความว่าจิตประจักษ์ถึงนิพพานและเข้าถึงนิพพาน แต่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในนิพพาน
ในทางปริยัติถือว่านิพพานเป็นธัมมารมณ์อันหนึ่งที่จิตไปรู้เข้า แต่ใครก็เข้า ไปอยู่ในนิพพานไม่ได้ เพราะนิพพานไม่ ใช่สถานที่ หรือสภาวะที่จะรองรับรูปนามให้ตั้งอยู่ในนิพพานได้ และพระอริยบุคคล จะเห็นนิพพานได้ ก็เมื่อเวลาที่เกิดมรรคญาณ ผลญาณ และในเวลาที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
ส่วนนักปฏิบัติได้พบเห็นสภาวะที่แปลกประหลาดบางอย่าง เป็นสภาวะที่รู้เห็นได้ในเวลาปกตินี้เอง โดยไม่ต้องเกิดมรรคเกิดผลและไม่ต้องเข้าฌานสมาบัติ ใดๆทั้งสิ้น คือเมื่อปฏิบัติจนจิตปล่อยวางจิตไปแล้ว จะพบว่า
(๑) จิตพรากออกจากขันธ์หรือรูป นาม ไม่เกาะเกี่ยวและไม่หยั่งลงสู่รูปนาม แม้รูปนามยังมีอยู่ แต่จิตก็ไม่ได้มาซึ่งรูปนามเพราะไม่ได้เข้าไปกำหนดหมาย ดังนั้นชาติ คือความเกิดหรือความได้มาซึ่งรูปนามในปัจจุบันก็มีไม่ได้ ชาติคือความเกิดต่อไปในอนาคตก็มีไม่ได้ด้วย จิตไม่มีความยินดียินร้ายหรือสำคัญมั่นหมายในรูปนาม และจิตไม่มีความยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งปวงด้วย
(๒)ในเวลาที่มีกิจจะต้องรู้รูปนาม จิตจะเห็นความเป็นปรมัตถ์ของรูปนามโดยอัตโนมัติ เห็นรูปนามโดยความเป็นของว่างเปล่า เป็นของสูญจากความเป็นตัวตน เป็นภาพลวงตา และปล่อยให้รูปนามทำ งานไปตามหน้าที่ หรือตามความเมตตากรุณาที่มีเหลืออยู่ในจิตตามความเคยชิน ส่วนในเวลาที่จำเป็นต้องรู้อารมณ์บัญญัติ ก็รู้อารมณ์บัญญัติ แต่รู้ด้วยความเข้าใจถึงความว่างเปล่าของอารมณ์บัญญัตินั้นด้วย และดำรงตนอยู่อย่างอนุโลมตามโลก แต่ก็ไม่อนุโลมจนเสีย ธรรม
(๓) มีสภาวะที่แปลกประหลาดน่าอัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง คือผู้ที่ปล่อยวางจิตแล้วจะพบว่ามีสภาวะบางสิ่งซึ่งรู้ได้ด้วยจิตปรากฏอยู่ เป็นสภาวะที่สว่างรุ่งเรือง มีสันติ สงบสงัด ปราศจากขันธ์ ปราศจากกิเลส ปราศจากความเคลื่อนไหว ปราศจากรูปลักษณ์ และปราศจากความผันแปร สภาวะอันนี้ปรากฏเต็มบริบูรณ์อยู่ต่อหน้าต่อตา ในคำสอนฝ่ายเถรวาทไม่พบคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เซนเรียกสภาวะอันนี้ว่า “มหาสุญญตา” และเรียกจิตที่ไปรู้มหาสุญญตาว่าจิตเดิมแท้บ้าง หรือจิตหนึ่งบ้าง
มหาสุญญตาเป็นสิ่งที่จิตไปรู้ได้ แต่ไม่มีรูปนามใดๆ ที่จะเข้าไปตั้งอยู่ในมหาสุญญตาได้ แม้รูปนามมีอยู่ แต่ก็เข้าไม่ถึงมหาสุญญตานี้ ปนเปื้อนเข้าไม่ได้ในมหาสุญญตานี้ มหาสุญญตานี้ครอบคลุมรูปนามและโลกธาตุทั้งปวงอยู่ ไม่เกิดขึ้นและไม่เคยหายไปไหน แต่หาผู้ที่รู้เห็นได้ยาก เว้นแต่ผู้ที่ปล่อยวางรูปนามได้ทั้งหมดแล้วเท่านั้น
จิตที่เข้าถึงสภาวะอันนี้จะโปร่งโล่ง กว้างขวางไม่มีขอบเขต ไม่มีขนาดและที่ตั้งให้เป็นเครื่องกดถ่วงบีบคั้น ปราศจากความยินดียินร้ายต่ออารมณ์ทั้งปวง เพราะไม่ยึดถือใส่ใจในอารมณ์เหล่านั้น แม้กระทั่งมหาสุญญตาก็ไม่ได้มีไว้เพื่อความยึดถือ อนึ่งเรื่องเหล่านี้ผู้เขียนเคยได้ฟังครูบาอาจารย์เล่ามา จึงนำมาเล่าต่อให้เพื่อนนักปฏิบัติได้ทราบไว้บ้างเป็นการแบ่งปันข้อมูลกัน เพราะเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดจนคิดไปไม่ถึง อย่างไรก็ตามเราอย่าด่วนเรียกสภาวะอันนี้ว่านิพพาน แต่เรียกว่ามหาสุญญตาก็แล้วกัน เพราะคำสอนเรื่องนี้ไม่มีปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาทของเรา
(๖) “รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว” หมาย ความว่าชาติหรือความได้มาซึ่งรูปนามในชาติใหม่ไม่มีอีกแล้ว เพราะจิตปราศจากตัณหาจึงปราศจากอุบัติภพที่จะทำให้มีรูปนามต่อไปอีก
ส่วนรูปนามที่เหลืออยู่ในปัจจุบันชาติ ก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปจนกว่าจะสิ้นวิบาก แต่เมื่อจิตปราศจากตัณหา ก็ย่อมปราศจากอุปาทานคือไม่เข้าไปตั้งไว้ หรือไม่เข้าไปยึดถือเกาะเกี่ยวรูปนามให้เกิดภาระทางใจ จิตไม่หยิบฉวยรูปนามขึ้นมาเพื่อการยึดถืออีก ดังนั้นแม้รูปนามยังมีอยู่ก็เหมือนไม่มี คือไม่มีภาระทางใจอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าได้วางภาระ หนักที่จิตต้องหยิบฉวยยึดถือรูปนามลงได้ สภาวธรรมภายในกับสภาวธรรมภาย นอกเป็นความว่างเปล่าเสมอกัน นี้ก็เป็นความสิ้นชาติในปัจจุบัน
(๗) “พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” หมายความว่าจิตของผู้ปฏิบัติเข้าถึงความอิ่ม ความเต็ม ความพอ หมดความกระหาย และหมดความดิ้นรนที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป เพราะรู้ชัดว่ารูปนามไม่ใช่ตัวเราของเรา เมื่อปล่อยวางได้แล้ว ก็ไม่ต้องหยิบฉวยเอามาศึกษาให้เป็นภาระอีกต่อไป ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกว่าเราเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะไม่มีความสำคัญมั่นหมายใดๆ ว่าเราเป็นผู้ทรงธรรม มีแต่จิตนั่นแหละเป็นผู้ทรงธรรม ส่วนขันธ์ก็อยู่ส่วนขันธ์และเป็นไปตามปัจจัยปรุงแต่งของเขา เมื่อสิ้นขันธ์คือจิตสิ้นความสืบต่อแล้ว ธรรมก็ทรงธรรมเต็มบริบูรณ์อยู่ดังเดิมนั่นเอง ไม่มีขาดตกบก- พร่องแต่อย่างใดเลย
ที่กล่าวมานี้เป็นทางสายกลางที่ไม่ ข้องแวะกับความปรุงแต่งอันสุดโต่งทั้ง สองฝ่าย นี้เป็นทางข้ามภพข้ามชาติที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์สิ้นเชิงคือนิพพาน และเป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมาจากครูบาอาจารย์ในสายปฏิบัติบ้าง ศึกษาจาก พระปริยัติธรรมบ้าง จึงจดจำมาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังในหมู่เพื่อนนักปฏิบัติด้วยกัน แต่ความจำของผู้เขียนอาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ เพื่อนนักปฏิบัติจึงอย่าได้ เชื่อถือหรือใช้อ้างอิงเป็นตำรา เพียงรับฟังเพื่อความเพลิดเพลินในธรรมและเทียบเคียงกับผลการปฏิบัติที่ทำอยู่ก็พอแล้ว
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)