อภัยทานกับการทำบุญทำทาน
ปุจฉา : เรียนหลวงปู่ที่เคารพ ดิฉันเพิ่งหันมาสนใจธรรมะ ก็พยายามหาหนังสือธรรมะมาอ่าน เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ก็มีเรื่องสงสัยหลายอย่าง พอได้อ่านปุจฉา-วิสัชนา ก็ช่วยให้เข้าใจอะไรได้ดีขึ้น เพราะบางครั้งมีหลายคำถามที่อยากถาม พอดีมีคนถามมาก่อน ก็เลยได้คำตอบไปด้วย แต่ข้อสงสัยที่อยากจะขอปุจฉาหลวงปู่ ยังไม่เห็นมีใครถามมา ก็เลยอยากจะถามว่าการให้อภัย ที่หลวงปู่เคยบอกว่าต้องให้อภัย มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว ดิฉันอยากทราบว่าการให้อภัยจะได้บุญมากพอกับการทำบุญทำทานด้วยทรัพย์สินเงินทองหรือเปล่าคะ
.................................................................................ปัทมา
วิสัชนา : อภัยทานเป็นทานที่จัดว่าเป็นปรมัตถธรรม เป็นทานที่เป็นส่วนลึกของจิตวิญญาณ เมื่อเกิดขึ้นในใจ เราจะมีความสุขตลอดกาล ทุกครั้งที่เราพบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ไม่มีน้ำใจให้แก่เรา เราก็สามารถให้อภัยแก่เขาได้ แน่นอนผลแห่งความสุขเกิดขึ้นตลอดกาล ส่วนการทำทานนานๆ จะทำที ไม่ได้ทำถี่ๆ มันอาจจะมีผลน้อยกว่าการอภัยทาน
ปฏิบัติอย่างไรให้ใจเบาสบาย
ปุจฉา : นมัสการหลวงปู่พุทธะอิสระ ดิฉันชอบอ่านปุจฉา-วิสัชนา เพราะได้ข้อคิดดีๆ คราวนี้จึงเขียนมาขอคำแนะนำจากหลวงปู่ว่าในชีวิตประจำวันของเรานั้น ควรจะปฏิบัติกาย วาจา ใจอย่างไร จึงจะเกิดผลของการปฏิบัติ เช่น ใจโปร่ง โล่ง เบา สบาย และมีความสุข ขอให้เน้นเรื่องใจนะคะ และเราจะมีวิธีบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการเจริญสติในขณะทำงานในสำนักงานที่ค่อนข้างยุ่งมากๆ ได้อย่างไรคะ ขอขอบพระคุณค่ะ
..................................................................................มนัสนันท์
วิสัชนา : ขอเพียงคุณมีสติ มันก็จะทำให้กาย วาจา และใจคุณ ทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด คนที่ทำไม่ผิด พูดไม่ผิด และคิดไม่ผิด จิตใจจะโปร่งเบาสบาย เพราะไม่มีมลภาวะ มันจะอยู่ไกลจาก ปัญหาที่ตกค้าง ความผ่อนคลายจะอุบัติขึ้น ปัญหา มลภาวะและสภาวะความตึงเครียดที่เกิดจากความผิดพลาดบกพร่องไม่ถูกต้อง และจากการตำหนิติว่าจากคนรอบข้างก็จะไม่มี เพราะฉะนั้นความผ่อนคลายของจิตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นตามมา การเจริญสติเป็นเครื่องป้องกันความผิดพลาด และทำให้ชีวิตจิตวิญญาณมีความผ่อนคลาย โปร่งเบาได้ทุกขณะ
ถ้าขณะทำงานคุณก็ยังต้องหายใจ คุณก็แค่รู้ว่า คุณกำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก รู้แค่นี้ก็เป็นการบริหารพัฒนาจิตแล้ว
หยิ่งในศักดิ์ศรี?
ปุจฉา : เรียนหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพ ผมมีเรื่องขอปรึกษาหลวงปู่ คือเพื่อนผมคนหนึ่ง ดูๆแล้วเหมือนเขาเป็นคนที่หยิ่งในศักดิ์ศรี ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร เขาไม่ยอมรับความช่วยเหลือและน้ำใจจากคนรอบข้าง และก็พยายามหลีกเลี่ยงบ่ายเบี่ยงต่างๆนานา เขาบอกผมว่า เขาไม่ชอบเป็นหนี้บุญคุณใคร ลำบากแค่ไหนเขาก็ทนได้ มีเท่าไหร่ก็กินเท่านั้น เขาบอกว่าชอบยืนด้วยลำแข้งตัวเอง และเขาเองก็ไม่ค่อยได้ให้อะไรใครด้วย เพราะเขาบอกว่า ไม่อยากสร้างบุญคุณกับใคร จริงๆ แล้วเขาก็เป็นเพื่อนที่ดีนะครับ หลวงปู่ว่านิสัยเช่นนี้จัดว่าหยิ่งในศักดิ์ศรี หรือว่าเป็นนิสัยที่ไม่รู้จักการเป็นผู้รับผู้ให้กันแน่ แล้วผมจะบอกเขาอย่างไร เพื่อให้เขาเปลี่ยนความคิด ถ้าหากสิ่งที่เขาคิดและทำเป็นเรื่องที่ไม่ถูก ขอบพระคุณครับ
................................................................................วรพจน์
วิสัชนา : การที่เพื่อนคุณคิดแบบนี้ก็ดี แต่อย่ามีมานะทิฐิ อย่าถือตัวถือตนจนกลายเป็นว่าเราก้มหัวให้กับใครไม่ได้ จนกลายเป็นคนทระนงยะโส การที่ยืนด้วยลำแข้งตนเองเป็นเรื่องดี ทำทุกอย่างด้วยสองมือตัวเองเป็นเรื่องงาม คิดทุกเรื่องด้วยหนึ่งหัวของตัวเองก็เป็นเรื่องถูกต้อง ยืนหยัดด้วยสองขาของตัวเองก็เป็นเรื่องวิเศษ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้อะไรกับใครเลย เพราะมนุษย์นั้นจะอยู่แบบโดดเดี่ยวเดียวดายไร้สังคมไม่ได้
การได้มีการการุณเกื้อกูลอนุเคราะห์กัน ไม่ใช่การที่ทำให้เราเสียศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการ สร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นในหมู่ของสังคมมนุษย์ การโอบอ้อมอารีเกื้อกูลกันตามกาลตามสมัย ก็จะทำให้เกิดความผูกพันกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย เห็นอกเห็นใจกัน ก็จะมีเมตตาต่อกัน เป็นมิตรต่อกัน
บอกเขาว่าการได้มีสัมพันธภาพอันดีต่อกันไม่ได้หมายถึงการไปทำลายศักดิ์ศรี การที่ไม่รับอะไรจากใครก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่างน้อยต้องคิดที่จะให้บ้าง เช่น ให้น้ำใจ ให้ความการุณ อนุเคราะห์เกื้อกูล และให้อภัย เพราะคุณเป็นมนุษย์ที่อยู่ในสังคม
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)
ปุจฉา : เรียนหลวงปู่ที่เคารพ ดิฉันเพิ่งหันมาสนใจธรรมะ ก็พยายามหาหนังสือธรรมะมาอ่าน เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ก็มีเรื่องสงสัยหลายอย่าง พอได้อ่านปุจฉา-วิสัชนา ก็ช่วยให้เข้าใจอะไรได้ดีขึ้น เพราะบางครั้งมีหลายคำถามที่อยากถาม พอดีมีคนถามมาก่อน ก็เลยได้คำตอบไปด้วย แต่ข้อสงสัยที่อยากจะขอปุจฉาหลวงปู่ ยังไม่เห็นมีใครถามมา ก็เลยอยากจะถามว่าการให้อภัย ที่หลวงปู่เคยบอกว่าต้องให้อภัย มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว ดิฉันอยากทราบว่าการให้อภัยจะได้บุญมากพอกับการทำบุญทำทานด้วยทรัพย์สินเงินทองหรือเปล่าคะ
.................................................................................ปัทมา
วิสัชนา : อภัยทานเป็นทานที่จัดว่าเป็นปรมัตถธรรม เป็นทานที่เป็นส่วนลึกของจิตวิญญาณ เมื่อเกิดขึ้นในใจ เราจะมีความสุขตลอดกาล ทุกครั้งที่เราพบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ไม่มีน้ำใจให้แก่เรา เราก็สามารถให้อภัยแก่เขาได้ แน่นอนผลแห่งความสุขเกิดขึ้นตลอดกาล ส่วนการทำทานนานๆ จะทำที ไม่ได้ทำถี่ๆ มันอาจจะมีผลน้อยกว่าการอภัยทาน
ปฏิบัติอย่างไรให้ใจเบาสบาย
ปุจฉา : นมัสการหลวงปู่พุทธะอิสระ ดิฉันชอบอ่านปุจฉา-วิสัชนา เพราะได้ข้อคิดดีๆ คราวนี้จึงเขียนมาขอคำแนะนำจากหลวงปู่ว่าในชีวิตประจำวันของเรานั้น ควรจะปฏิบัติกาย วาจา ใจอย่างไร จึงจะเกิดผลของการปฏิบัติ เช่น ใจโปร่ง โล่ง เบา สบาย และมีความสุข ขอให้เน้นเรื่องใจนะคะ และเราจะมีวิธีบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการเจริญสติในขณะทำงานในสำนักงานที่ค่อนข้างยุ่งมากๆ ได้อย่างไรคะ ขอขอบพระคุณค่ะ
..................................................................................มนัสนันท์
วิสัชนา : ขอเพียงคุณมีสติ มันก็จะทำให้กาย วาจา และใจคุณ ทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด คนที่ทำไม่ผิด พูดไม่ผิด และคิดไม่ผิด จิตใจจะโปร่งเบาสบาย เพราะไม่มีมลภาวะ มันจะอยู่ไกลจาก ปัญหาที่ตกค้าง ความผ่อนคลายจะอุบัติขึ้น ปัญหา มลภาวะและสภาวะความตึงเครียดที่เกิดจากความผิดพลาดบกพร่องไม่ถูกต้อง และจากการตำหนิติว่าจากคนรอบข้างก็จะไม่มี เพราะฉะนั้นความผ่อนคลายของจิตวิญญาณย่อมเกิดขึ้นตามมา การเจริญสติเป็นเครื่องป้องกันความผิดพลาด และทำให้ชีวิตจิตวิญญาณมีความผ่อนคลาย โปร่งเบาได้ทุกขณะ
ถ้าขณะทำงานคุณก็ยังต้องหายใจ คุณก็แค่รู้ว่า คุณกำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก รู้แค่นี้ก็เป็นการบริหารพัฒนาจิตแล้ว
หยิ่งในศักดิ์ศรี?
ปุจฉา : เรียนหลวงปู่พุทธะอิสระที่เคารพ ผมมีเรื่องขอปรึกษาหลวงปู่ คือเพื่อนผมคนหนึ่ง ดูๆแล้วเหมือนเขาเป็นคนที่หยิ่งในศักดิ์ศรี ทั้งๆที่เขาก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร เขาไม่ยอมรับความช่วยเหลือและน้ำใจจากคนรอบข้าง และก็พยายามหลีกเลี่ยงบ่ายเบี่ยงต่างๆนานา เขาบอกผมว่า เขาไม่ชอบเป็นหนี้บุญคุณใคร ลำบากแค่ไหนเขาก็ทนได้ มีเท่าไหร่ก็กินเท่านั้น เขาบอกว่าชอบยืนด้วยลำแข้งตัวเอง และเขาเองก็ไม่ค่อยได้ให้อะไรใครด้วย เพราะเขาบอกว่า ไม่อยากสร้างบุญคุณกับใคร จริงๆ แล้วเขาก็เป็นเพื่อนที่ดีนะครับ หลวงปู่ว่านิสัยเช่นนี้จัดว่าหยิ่งในศักดิ์ศรี หรือว่าเป็นนิสัยที่ไม่รู้จักการเป็นผู้รับผู้ให้กันแน่ แล้วผมจะบอกเขาอย่างไร เพื่อให้เขาเปลี่ยนความคิด ถ้าหากสิ่งที่เขาคิดและทำเป็นเรื่องที่ไม่ถูก ขอบพระคุณครับ
................................................................................วรพจน์
วิสัชนา : การที่เพื่อนคุณคิดแบบนี้ก็ดี แต่อย่ามีมานะทิฐิ อย่าถือตัวถือตนจนกลายเป็นว่าเราก้มหัวให้กับใครไม่ได้ จนกลายเป็นคนทระนงยะโส การที่ยืนด้วยลำแข้งตนเองเป็นเรื่องดี ทำทุกอย่างด้วยสองมือตัวเองเป็นเรื่องงาม คิดทุกเรื่องด้วยหนึ่งหัวของตัวเองก็เป็นเรื่องถูกต้อง ยืนหยัดด้วยสองขาของตัวเองก็เป็นเรื่องวิเศษ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้อะไรกับใครเลย เพราะมนุษย์นั้นจะอยู่แบบโดดเดี่ยวเดียวดายไร้สังคมไม่ได้
การได้มีการการุณเกื้อกูลอนุเคราะห์กัน ไม่ใช่การที่ทำให้เราเสียศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการ สร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้นในหมู่ของสังคมมนุษย์ การโอบอ้อมอารีเกื้อกูลกันตามกาลตามสมัย ก็จะทำให้เกิดความผูกพันกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัย เห็นอกเห็นใจกัน ก็จะมีเมตตาต่อกัน เป็นมิตรต่อกัน
บอกเขาว่าการได้มีสัมพันธภาพอันดีต่อกันไม่ได้หมายถึงการไปทำลายศักดิ์ศรี การที่ไม่รับอะไรจากใครก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่างน้อยต้องคิดที่จะให้บ้าง เช่น ให้น้ำใจ ให้ความการุณ อนุเคราะห์เกื้อกูล และให้อภัย เพราะคุณเป็นมนุษย์ที่อยู่ในสังคม
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ วัดอ้อน้อย จ.นครปฐม)