ละะสังโยชน์ด้วยสติและโยนิโสมนสิการ
ฉะนั้น เมื่อดูเข้ามาตามที่ศาสนธรรมส่องด้วยดวงตาก็ย่อมจะมองเห็นตากับรูป มองเห็นหูกับเสียง มองเห็นจมูกกับกลิ่นเป็นต้น และจะมองเห็นสังโยชน์คือความผูก จะมองเห็นทางที่สังโยชน์อันยังไม่เกิดจะบังเกิดขึ้น และเมื่อปฏิบัติละสังโยชน์ตามที่ทรงสั่งสอนนี้ก็จะมองเห็นทางละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว พร้อมกับจะทราบทางตามที่ทรงสั่งสอนในการที่สังโยชน์ที่ละได้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วย แต่ว่าจักษุคือดวงตาที่มองเห็นนี้ก็จะต้องเป็นดวงตาปัญญาอันประกอบด้วยสติ และดวงตาปัญญานั้นก็จะต้องประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาทำไว้ในใจโดยแยบคาย ซึ่งเป็นปัญญาพื้นฐานสำหรับ ใช้พิจารณาโดยแยบคาย คือตามทางเหตุผล ก็จะได้ปัญญาที่เป็นตัวผลยิ่งขึ้นไป และเมื่ออาศัยปัญญาดังนี้จึงจะรู้จักสิ่งเหล่านี้ คือ จะรู้จักตา รู้จักรูป รู้จักหู รู้จักเสียง รู้จักจมูก รู้จักกลิ่น และจะรู้จักสังโยชน์ที่เกิดขึ้น จะรู้จักละสังโยชน์ที่บังเกิดขึ้น ตลอดจนถึงรู้วิธีที่จะป้องกันแก้มิให้สังโยชน์บังเกิดขึ้นอีก จนถึงละได้เด็ดขาดในที่สุด
และความที่จะต้องอาศัยดวงตาปัญญามองให้รู้จักโดยอาศัยแสงไฟฉายอันเป็นดวงประทีปคือศาสนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนี้ อันเรียกว่าเป็นโยนิโสมนสิการนั้น ก็คือจะต้องรู้จักคิด เพราะอันที่จริงนั้นทุกคนก็รู้จัก ตา รู้จักรูป รู้จักหู รู้จักเสียง รู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ตลอดจนรู้จักลิ้น รู้จักรส รู้จักกาย รู้จักสิ่งที่กายถูกต้อง รู้จักมโนคือใจที่รู้ที่คิด และรู้จักธรรมคือเรื่องในใจที่คิด ที่รู้กันอยู่ด้วยกัน และก็ย่อมมีความรู้สึกในตัวสังโยชน์คือความผูกที่เกิดขึ้นอยู่ด้วยกัน ดังที่ท่านชี้สังโยชน์ว่า ฉันทราคะ คือความพอใจ หรือความติดใจด้วยอำนาจของความพอใจ คือเมื่อชอบขึ้นมาและผูกความชอบไว้ในใจก็รู้ว่าเราชอบ ตรงกันข้ามคือว่าไม่ชอบก็รู้ว่าเราไม่ชอบ และที่ผูกอยู่เป็นความชอบความไม่ชอบดั่งนี้ก็รู้ ก็รู้อยู่ด้วยกันดั่งนี้เป็นธรรมดา แต่ว่าความรู้ดั่งนี้ยังไม่ใช่โยนิโสมนสิการที่เป็นตัวปัญญาในที่นี้
รู้สภาพธรรมดา
โยนิโสมนสิการที่เป็นตัวปัญญาในที่นี้นั้นก็คือต้องรู้ จักคิด คิดให้รู้จักสภาพของสิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ ที่เป็นไปอยู่ ตามเหตุและผลที่เป็นตัวสภาพ คือที่เป็นไปตามกระบวนของตนเอง คือตามกระบวนของสิ่งเหล่านี้ที่เป็นเหตุเป็น ผล เป็นไปในตัวเอง ซึ่งเป็นสภาพธรรมดา อันสภาพ ธรรมดาที่ควรจะใช้วิธีคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการให้รู้จักนี้ ก็เป็นสภาพธรรมดาที่เห็นเหตุปัจจัยของกันและกันเป็นไปนั้นอย่างหนึ่ง สภาพธรรมดาที่เป็นสามัญลักษณะอีกอย่างหนึ่ง
สภาพธรรมดาที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นไปตามสภาพของตนเองนั้น ก็คือตาก็เป็นตา ซึ่งมีสภาพมองเห็น รูปก็เป็นรูป คือเป็นสิ่งที่ตามองเห็น หูก็เป็นสิ่งที่ได้ยิน สภาพธรรมดาของหูก็ได้ยิน และเสียงก็เป็นสิ่งที่หูได้ยิน จมูกก็มีสภาพธรรมดาที่ได้กลิ่น กลิ่นก็เป็นสิ่งที่จมูกจะพึงได้ และเมื่อตากับรูปประจวบกัน มีมโนคือใจเข้าประกอบ ก็สำเร็จ เป็นการเห็น หูกับเสียงประจวบกัน เมื่อมีมโนคือใจเข้าประกอบก็สำเร็จเป็นการได้ยิน จมูกกับกลิ่นประจวบกัน เมื่อมีมโนคือใจ เข้าประกอบ ก็ให้สำเร็จเป็นการทราบกลิ่น ลิ้นกับรสประจวบกัน เมื่อมีมโนคือใจเข้าประกอบ ก็ให้สำเร็จเป็นการทราบรส กาย และสิ่งที่กายถูกต้องประจวบกัน ก็ให้สำเร็จเป็นการทราบสิ่งถูกต้องทางกาย มโนคือใจกับธรรมคือเรื่องราวประจวบกัน ก็ให้สำเร็จเป็นความรู้เรื่อง
อันการเห็น การได้ยิน คือการเห็นรูปทางตา การได้ยินทางหู การทราบกลิ่น ทราบรส ทราบสิ่งถูกต้อง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และการที่รู้เรื่องทางมโนคือใจ เหล่านี้เป็นวิญญาณดังที่ได้เคยกล่าวแล้ว นี้เป็นธรรมชาติธรรมดา คือเป็นตัวสภาวะที่เป็นธรรมดา เป็นไปตามเหตุและผลของขันธ์ อายตนะ ไม่ว่าจะเป็นของใคร ตัวสภาพเป็นอยู่ดังนี้ และอันสภาพที่เป็นเหตุเป็นผลเป็นสภาพธรรมดาดังกล่าวนี้ ก็มีแก่ทุกๆอย่างในโลก และเรื่องของขันธ์ อายตนะดังกล่าวนี้ ก็เป็นเรื่องของโลก อายตนะโลกก็เป็นไปดั่งนี้
แม้เรื่องของโลกธาตุอย่างอื่นก็มีเหตุมีผลเป็นไปอยู่ดั่งนี้ เป็นสภาพธรรมดา เช่นฝนตก แดดออก ร้อนหนาว เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมดาของโลก ซึ่งเป็นโลกธาตุ ก็เป็นไปอยู่ตามเหตุตามผล เป็นสภาพเป็นธรรมดาดั่งนี้ตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่เป็นของของใคร ไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา ไม่ใช่เป็นตัวเขาของเขาที่ไหน เหมือนอย่างธรรมชาติธรรมดาที่เป็นสภาพของโลกธาตุ ฝนตก แดด ออก ร้อน หนาว กลางวัน กลางคืน เป็นต้น ก็เป็นสภาพธรรมดาของโลกธาตุ ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นของเรา ก็เป็นไปอยู่ดั่งนี้ แม้สภาพที่เป็นธรรมชาติธรรมดาของอายตนะขันธ์ที่เป็นขันธโลก อายตนะโลกอีกส่วนหนึ่ง อันแยกมาจากโลกธาตุส่วนใหญ่ ทั้งแถมมีจิตใจครองเป็นพิเศษก็มีสภาพที่เป็นธรรมชาติธรรมดาเป็นไปเอง ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นของเราที่ไหน ก็ต้องรู้จักคิดให้รู้จักสภาพที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นธรรมชาติธรรมดาดั่งนี้ส่วนหนึ่ง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก))
ฉะนั้น เมื่อดูเข้ามาตามที่ศาสนธรรมส่องด้วยดวงตาก็ย่อมจะมองเห็นตากับรูป มองเห็นหูกับเสียง มองเห็นจมูกกับกลิ่นเป็นต้น และจะมองเห็นสังโยชน์คือความผูก จะมองเห็นทางที่สังโยชน์อันยังไม่เกิดจะบังเกิดขึ้น และเมื่อปฏิบัติละสังโยชน์ตามที่ทรงสั่งสอนนี้ก็จะมองเห็นทางละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว พร้อมกับจะทราบทางตามที่ทรงสั่งสอนในการที่สังโยชน์ที่ละได้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วย แต่ว่าจักษุคือดวงตาที่มองเห็นนี้ก็จะต้องเป็นดวงตาปัญญาอันประกอบด้วยสติ และดวงตาปัญญานั้นก็จะต้องประกอบด้วยโยนิโสมนสิการ คือการพิจารณาทำไว้ในใจโดยแยบคาย ซึ่งเป็นปัญญาพื้นฐานสำหรับ ใช้พิจารณาโดยแยบคาย คือตามทางเหตุผล ก็จะได้ปัญญาที่เป็นตัวผลยิ่งขึ้นไป และเมื่ออาศัยปัญญาดังนี้จึงจะรู้จักสิ่งเหล่านี้ คือ จะรู้จักตา รู้จักรูป รู้จักหู รู้จักเสียง รู้จักจมูก รู้จักกลิ่น และจะรู้จักสังโยชน์ที่เกิดขึ้น จะรู้จักละสังโยชน์ที่บังเกิดขึ้น ตลอดจนถึงรู้วิธีที่จะป้องกันแก้มิให้สังโยชน์บังเกิดขึ้นอีก จนถึงละได้เด็ดขาดในที่สุด
และความที่จะต้องอาศัยดวงตาปัญญามองให้รู้จักโดยอาศัยแสงไฟฉายอันเป็นดวงประทีปคือศาสนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนี้ อันเรียกว่าเป็นโยนิโสมนสิการนั้น ก็คือจะต้องรู้จักคิด เพราะอันที่จริงนั้นทุกคนก็รู้จัก ตา รู้จักรูป รู้จักหู รู้จักเสียง รู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ตลอดจนรู้จักลิ้น รู้จักรส รู้จักกาย รู้จักสิ่งที่กายถูกต้อง รู้จักมโนคือใจที่รู้ที่คิด และรู้จักธรรมคือเรื่องในใจที่คิด ที่รู้กันอยู่ด้วยกัน และก็ย่อมมีความรู้สึกในตัวสังโยชน์คือความผูกที่เกิดขึ้นอยู่ด้วยกัน ดังที่ท่านชี้สังโยชน์ว่า ฉันทราคะ คือความพอใจ หรือความติดใจด้วยอำนาจของความพอใจ คือเมื่อชอบขึ้นมาและผูกความชอบไว้ในใจก็รู้ว่าเราชอบ ตรงกันข้ามคือว่าไม่ชอบก็รู้ว่าเราไม่ชอบ และที่ผูกอยู่เป็นความชอบความไม่ชอบดั่งนี้ก็รู้ ก็รู้อยู่ด้วยกันดั่งนี้เป็นธรรมดา แต่ว่าความรู้ดั่งนี้ยังไม่ใช่โยนิโสมนสิการที่เป็นตัวปัญญาในที่นี้
รู้สภาพธรรมดา
โยนิโสมนสิการที่เป็นตัวปัญญาในที่นี้นั้นก็คือต้องรู้ จักคิด คิดให้รู้จักสภาพของสิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ ที่เป็นไปอยู่ ตามเหตุและผลที่เป็นตัวสภาพ คือที่เป็นไปตามกระบวนของตนเอง คือตามกระบวนของสิ่งเหล่านี้ที่เป็นเหตุเป็น ผล เป็นไปในตัวเอง ซึ่งเป็นสภาพธรรมดา อันสภาพ ธรรมดาที่ควรจะใช้วิธีคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการให้รู้จักนี้ ก็เป็นสภาพธรรมดาที่เห็นเหตุปัจจัยของกันและกันเป็นไปนั้นอย่างหนึ่ง สภาพธรรมดาที่เป็นสามัญลักษณะอีกอย่างหนึ่ง
สภาพธรรมดาที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นไปตามสภาพของตนเองนั้น ก็คือตาก็เป็นตา ซึ่งมีสภาพมองเห็น รูปก็เป็นรูป คือเป็นสิ่งที่ตามองเห็น หูก็เป็นสิ่งที่ได้ยิน สภาพธรรมดาของหูก็ได้ยิน และเสียงก็เป็นสิ่งที่หูได้ยิน จมูกก็มีสภาพธรรมดาที่ได้กลิ่น กลิ่นก็เป็นสิ่งที่จมูกจะพึงได้ และเมื่อตากับรูปประจวบกัน มีมโนคือใจเข้าประกอบ ก็สำเร็จ เป็นการเห็น หูกับเสียงประจวบกัน เมื่อมีมโนคือใจเข้าประกอบก็สำเร็จเป็นการได้ยิน จมูกกับกลิ่นประจวบกัน เมื่อมีมโนคือใจ เข้าประกอบ ก็ให้สำเร็จเป็นการทราบกลิ่น ลิ้นกับรสประจวบกัน เมื่อมีมโนคือใจเข้าประกอบ ก็ให้สำเร็จเป็นการทราบรส กาย และสิ่งที่กายถูกต้องประจวบกัน ก็ให้สำเร็จเป็นการทราบสิ่งถูกต้องทางกาย มโนคือใจกับธรรมคือเรื่องราวประจวบกัน ก็ให้สำเร็จเป็นความรู้เรื่อง
อันการเห็น การได้ยิน คือการเห็นรูปทางตา การได้ยินทางหู การทราบกลิ่น ทราบรส ทราบสิ่งถูกต้อง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และการที่รู้เรื่องทางมโนคือใจ เหล่านี้เป็นวิญญาณดังที่ได้เคยกล่าวแล้ว นี้เป็นธรรมชาติธรรมดา คือเป็นตัวสภาวะที่เป็นธรรมดา เป็นไปตามเหตุและผลของขันธ์ อายตนะ ไม่ว่าจะเป็นของใคร ตัวสภาพเป็นอยู่ดังนี้ และอันสภาพที่เป็นเหตุเป็นผลเป็นสภาพธรรมดาดังกล่าวนี้ ก็มีแก่ทุกๆอย่างในโลก และเรื่องของขันธ์ อายตนะดังกล่าวนี้ ก็เป็นเรื่องของโลก อายตนะโลกก็เป็นไปดั่งนี้
แม้เรื่องของโลกธาตุอย่างอื่นก็มีเหตุมีผลเป็นไปอยู่ดั่งนี้ เป็นสภาพธรรมดา เช่นฝนตก แดดออก ร้อนหนาว เป็นต้น ซึ่งเป็นสภาพธรรมดาของโลก ซึ่งเป็นโลกธาตุ ก็เป็นไปอยู่ตามเหตุตามผล เป็นสภาพเป็นธรรมดาดั่งนี้ตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่เป็นของของใคร ไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา ไม่ใช่เป็นตัวเขาของเขาที่ไหน เหมือนอย่างธรรมชาติธรรมดาที่เป็นสภาพของโลกธาตุ ฝนตก แดด ออก ร้อน หนาว กลางวัน กลางคืน เป็นต้น ก็เป็นสภาพธรรมดาของโลกธาตุ ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นของเรา ก็เป็นไปอยู่ดั่งนี้ แม้สภาพที่เป็นธรรมชาติธรรมดาของอายตนะขันธ์ที่เป็นขันธโลก อายตนะโลกอีกส่วนหนึ่ง อันแยกมาจากโลกธาตุส่วนใหญ่ ทั้งแถมมีจิตใจครองเป็นพิเศษก็มีสภาพที่เป็นธรรมชาติธรรมดาเป็นไปเอง ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นของเราที่ไหน ก็ต้องรู้จักคิดให้รู้จักสภาพที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นธรรมชาติธรรมดาดั่งนี้ส่วนหนึ่ง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยพระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก))