รู้สังโยชน์
อันอายตนะทั้งหกนั้นย่อมเป็นประตูสำคัญที่นำทั้งกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทั้งธรรมที่เป็นส่วนดีส่วนชอบเข้าสู่จิตใจ ฉะนั้นจึงได้มีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการปฏิบัติทางอายตนะทั้งหกนี้อยู่เป็นอันมากในสติปัฎฐานทั้งสี่ได้แสดงอายตนะทั้งหกถัดจากขันธ์ห้า และในทางปฏิบัตินั้นก็อาจจะจับพิจารณาอายตนะทั้งหกโดยมีสติรู้จักตา รู้จักรูปที่มาประจวบกัน เป็นต้น ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอน ดั่งนี้ก็ได้ โดยที่หัดทำสติพร้อมทั้งสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่เสมอในขณะที่เห็นอะไร ได้ยินอะไร เป็นต้น
ดังเช่นเมื่อเดินไปก็ตั้งสติทำความรู้อยู่ว่าเห็นอะไรบ้าง ในขณะที่เดินไปนั้น ได้ยินอะไรบ้างในขณะที่เดินไปนั้น ตลอดจนถึงได้คิดถึงเรื่องอะไรบ้างในขณะที่เดินไปนั้น เป็นการหัดทำสติสัมปชัญญะเป็นไปในอายตนะทั้งหก และก็อาจจะหัดปฏิบัติกำหนดแต่เพียงอายตนะใดอายตนะหนึ่งก่อนก็ได้ ถ้าจะต้องการให้มีสติไปทั้งหมดในเบื้องต้นอาจจะยังทำยาก ก็เอาแต่เพียงว่าเมื่อเดินไปเห็น อะไรบ้างแต่เพียงอย่างเดียว และในบางคราวบางโอกาส ก็อาจที่จะตั้งสติกำหนดแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในเมื่อจะต้องใช้อายตนะอย่างนั้นมาก เช่นในขณะที่กำลังฟังธรรมบรรยายนี้ก็ตั้งสติกำหนดเสียงที่ฟังทางหู เพราะว่าโสตประสาทคือหูกับเสียงย่อมประจวบกันอยู่เสมอ ก็ตั้งจิตตั้งใจฟังเสียงที่กำลังแสดงนี้ ก็เป็นการหัดทำสติพร้อมทั้งสัมปชัญญะเป็นไปในโสตคือหูกับเสียงที่มาประจวบกัน เมื่อเป็นดังนี้ก็เป็นอันได้สติด้วย ได้สมาธิในการฟังด้วย ในบางคราวต้องการใช้สติกำหนดแต่เพียงทางใดทางหนึ่งก็ใช้ในทางนั้น ก็เป็นการหัดทำสติสัมปชัญญะเป็นไปในอายตนะอย่างหนึ่ง และยิ่งขึ้นไปกว่านี้กำหนดดูจิตใจ ให้รู้ จิตใจในขณะที่ตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น ประจวบกันว่าเป็นอย่างไร เมื่อเป็นสังโยชน์คือความผูกขึ้นมาก็ให้รู้ ถ้าไม่มีสังโยชน์คือความผูกก็ให้รู้
อันสังโยชน์คือความผูกนี้ บางแห่งท่านแสดงชี้เอาฉันทราคะ ราคะคือความติดใจยินดีด้วยฉันทะ คือ ด้วยความพอใจ เมื่อมีฉันทราคะขึ้นก็แสดงว่าเกิดสังโยชน์ขึ้น และแม้ว่าจะเกิดปฏิฆะที่ตรงกันข้ามคือความกระทบกระทั่งหงุดหงิด เพราะเหตุที่รูปเสียงที่มากระทบนั้นไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความพอใจเป็นปฏิฆะขึ้นมา เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ให้รู้ว่าเป็นสังโยชน์คือความผูกเหมือนกัน เพราะว่าจิตจะต้อง มีความผูกอยู่ในตากับรูป หูกับเสียงนั้น หรือว่าสิ่งเหล่านั้นมาผูกอยู่กับจิต มีตัวความผูกที่เป็นสังโยชน์อยู่ จึงเกิดอาการเป็นฉันทราคะหรือเป็นปฏิฆะขึ้น เมื่อจิตเป็นอย่างไรก็ให้มีความรู้ คราวนี้ก็ต้องกำหนดให้รู้ละเอียดยิ่ง ขึ้นว่า สังโยชน์คือความผูกดังกล่าวนั้นบังเกิดขึ้นก็เพราะไม่ได้เห็นความเกิดความดับ เมื่อเห็นความเกิดความดับ สังโยชน์ก็จะไม่บังเกิดขึ้น
สำรวมอินทรีย์หรืออินทรียสังวร
ความเห็นเกิดดับเป็นตัวญาณหรือปัญญาที่อาศัยสตินั้นเอง แต่ก็ต้องเป็นสติที่ว่องไว แจ่มใสสงบนิวรณ์ จึงจะ เป็นสติที่ว่องไว แจ่มใส ตั้งมั่น ปัญญาหรือญาณที่เห็นเกิด ดับจึงจะบังเกิด และเมื่อบังเกิดสังโยชน์คือความผูกก็ไม่ บังเกิด ก็จะเห็นอะไรๆ ได้อย่างสบาย ได้ยินอะไรๆ ได้อย่าง สบาย แต่ว่าทั้งนี้ก็ต้องอาศัยธรรมอีกข้อหนึ่งเป็นอุปการะในการปฏิบัติ คืออินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์
อินทรีย์นั้นก็เป็นชื่อของอายตนะภายในทั้งหกนั่นแหละ ได้ชื่อว่า “อินทรีย์” ที่แปลว่าเป็นใหญ่ ก็เพราะตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป หูเป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูกเป็นใหญ่ในการทราบกลิ่นสูดกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการทราบรสลิ้มรส กายเป็นใหญ่ในการทราบในการถูกต้องโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้อง มโนเป็นใหญ่ในห้าข้อข้างต้นนั้นด้วย และในธรรมซึ่งในที่นี้หมายถึงเรื่องราว ก็คือเรื่อง ของรูป เสียง เป็นต้น ทั้งห้านั้นแหละที่ประสบพบผ่านมาแล้ว แต่ยังทรงอยู่ในใจโดยเป็นสัญญาคือความจำหมายอยู่ จึงเป็นธรรมที่เรียกว่ายังทรงอยู่โดยเป็นสัญญาคือความจำหมาย เพราะฉะนั้นจึงได้โผล่ขึ้นมา มโนก็รู้หรือคิดถึงสิ่งที่ประสบพบผ่านมาแล้วเหล่านี้อีกด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าอินทรีย์ อินทรีย์นี้นอกจากเป็นใหญ่ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นใหญ่ในฐานะที่ครอบงำจิตใจของทุกๆคนอีกด้วย โดยเหตุนี้จึงได้ตรัสสอนให้มีอินทรียสังวร คือความสำรวมระวังอินทรีย์
คำว่า “สังวร” นั้น แปลว่าความสำรวม ความระวัง ซึ่งมีลักษณะเป็นการป้องกัน เหมือนอย่างคำว่า ความสำรวมจากความดื่มน้ำเมา ก็หมายถึงการป้องกันจากการดื่มน้ำเมา คือความงดเว้นหรือไม่ดื่มนั้นเอง ความสำรวมอินทรีย์ก็คือการป้องกัน ป้องกันอะไร ก็ป้องกันความยึด ถือสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ทราบทางจมูก รสที่ทราบทางลิ้น สิ่งถูกต้องที่ทราบทางกาย และเรื่องที่ผุดขึ้นมาคิดในใจ ไม่ยึดถือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ว่าสิ่งเหล่านี้น่าชอบ หรือว่าสิ่งเหล่านี้น่าชังน่าเกลียด เพราะเมื่อมีความยึดถือว่าน่าชอบก็จะเกิดอภิชฌาคือความยินดี เมื่อยึดถือว่าน่าชัง ก็จะเกิดโทมนัสคือความยินร้าย ความยินดีความยินร้ายนี้ก็เข้าครอบงำจิตใจ เพราะฉะนั้นจึงปฏิบัติเพื่อสำรวมคือระวังป้องกันจิตใจ โดยที่มีสตินี้แหละเป็นผู้รักษาโดยตรง ก็คือรักษาจิตใจ แต่เมื่อกล่าวโดยโวหารก็มีสติรักษาตารักษาหู เป็นต้น ในขณะที่อายตนะเหล่านี้ประจวบกับสิ่งที่เข้ามา หรือพูดรวมๆว่าในขณะที่อายตนะภายในและอายตนะภายนอกเหล่านี้ประกอบกัน เมื่อมีสติรักษา เมื่อมีสติสำรวมระวังอยู่ ก็จะไม่ยึดถือ และเมื่อไม่ยึดถือดัง กล่าว ความยินดีความยินร้ายก็จะไม่เข้าครอบงำจิตใจ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 99 ก.พ. 52 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
อันอายตนะทั้งหกนั้นย่อมเป็นประตูสำคัญที่นำทั้งกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทั้งธรรมที่เป็นส่วนดีส่วนชอบเข้าสู่จิตใจ ฉะนั้นจึงได้มีคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการปฏิบัติทางอายตนะทั้งหกนี้อยู่เป็นอันมากในสติปัฎฐานทั้งสี่ได้แสดงอายตนะทั้งหกถัดจากขันธ์ห้า และในทางปฏิบัตินั้นก็อาจจะจับพิจารณาอายตนะทั้งหกโดยมีสติรู้จักตา รู้จักรูปที่มาประจวบกัน เป็นต้น ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอน ดั่งนี้ก็ได้ โดยที่หัดทำสติพร้อมทั้งสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอยู่เสมอในขณะที่เห็นอะไร ได้ยินอะไร เป็นต้น
ดังเช่นเมื่อเดินไปก็ตั้งสติทำความรู้อยู่ว่าเห็นอะไรบ้าง ในขณะที่เดินไปนั้น ได้ยินอะไรบ้างในขณะที่เดินไปนั้น ตลอดจนถึงได้คิดถึงเรื่องอะไรบ้างในขณะที่เดินไปนั้น เป็นการหัดทำสติสัมปชัญญะเป็นไปในอายตนะทั้งหก และก็อาจจะหัดปฏิบัติกำหนดแต่เพียงอายตนะใดอายตนะหนึ่งก่อนก็ได้ ถ้าจะต้องการให้มีสติไปทั้งหมดในเบื้องต้นอาจจะยังทำยาก ก็เอาแต่เพียงว่าเมื่อเดินไปเห็น อะไรบ้างแต่เพียงอย่างเดียว และในบางคราวบางโอกาส ก็อาจที่จะตั้งสติกำหนดแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งในเมื่อจะต้องใช้อายตนะอย่างนั้นมาก เช่นในขณะที่กำลังฟังธรรมบรรยายนี้ก็ตั้งสติกำหนดเสียงที่ฟังทางหู เพราะว่าโสตประสาทคือหูกับเสียงย่อมประจวบกันอยู่เสมอ ก็ตั้งจิตตั้งใจฟังเสียงที่กำลังแสดงนี้ ก็เป็นการหัดทำสติพร้อมทั้งสัมปชัญญะเป็นไปในโสตคือหูกับเสียงที่มาประจวบกัน เมื่อเป็นดังนี้ก็เป็นอันได้สติด้วย ได้สมาธิในการฟังด้วย ในบางคราวต้องการใช้สติกำหนดแต่เพียงทางใดทางหนึ่งก็ใช้ในทางนั้น ก็เป็นการหัดทำสติสัมปชัญญะเป็นไปในอายตนะอย่างหนึ่ง และยิ่งขึ้นไปกว่านี้กำหนดดูจิตใจ ให้รู้ จิตใจในขณะที่ตากับรูป หูกับเสียง เป็นต้น ประจวบกันว่าเป็นอย่างไร เมื่อเป็นสังโยชน์คือความผูกขึ้นมาก็ให้รู้ ถ้าไม่มีสังโยชน์คือความผูกก็ให้รู้
อันสังโยชน์คือความผูกนี้ บางแห่งท่านแสดงชี้เอาฉันทราคะ ราคะคือความติดใจยินดีด้วยฉันทะ คือ ด้วยความพอใจ เมื่อมีฉันทราคะขึ้นก็แสดงว่าเกิดสังโยชน์ขึ้น และแม้ว่าจะเกิดปฏิฆะที่ตรงกันข้ามคือความกระทบกระทั่งหงุดหงิด เพราะเหตุที่รูปเสียงที่มากระทบนั้นไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความพอใจเป็นปฏิฆะขึ้นมา เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ให้รู้ว่าเป็นสังโยชน์คือความผูกเหมือนกัน เพราะว่าจิตจะต้อง มีความผูกอยู่ในตากับรูป หูกับเสียงนั้น หรือว่าสิ่งเหล่านั้นมาผูกอยู่กับจิต มีตัวความผูกที่เป็นสังโยชน์อยู่ จึงเกิดอาการเป็นฉันทราคะหรือเป็นปฏิฆะขึ้น เมื่อจิตเป็นอย่างไรก็ให้มีความรู้ คราวนี้ก็ต้องกำหนดให้รู้ละเอียดยิ่ง ขึ้นว่า สังโยชน์คือความผูกดังกล่าวนั้นบังเกิดขึ้นก็เพราะไม่ได้เห็นความเกิดความดับ เมื่อเห็นความเกิดความดับ สังโยชน์ก็จะไม่บังเกิดขึ้น
สำรวมอินทรีย์หรืออินทรียสังวร
ความเห็นเกิดดับเป็นตัวญาณหรือปัญญาที่อาศัยสตินั้นเอง แต่ก็ต้องเป็นสติที่ว่องไว แจ่มใสสงบนิวรณ์ จึงจะ เป็นสติที่ว่องไว แจ่มใส ตั้งมั่น ปัญญาหรือญาณที่เห็นเกิด ดับจึงจะบังเกิด และเมื่อบังเกิดสังโยชน์คือความผูกก็ไม่ บังเกิด ก็จะเห็นอะไรๆ ได้อย่างสบาย ได้ยินอะไรๆ ได้อย่าง สบาย แต่ว่าทั้งนี้ก็ต้องอาศัยธรรมอีกข้อหนึ่งเป็นอุปการะในการปฏิบัติ คืออินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์
อินทรีย์นั้นก็เป็นชื่อของอายตนะภายในทั้งหกนั่นแหละ ได้ชื่อว่า “อินทรีย์” ที่แปลว่าเป็นใหญ่ ก็เพราะตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป หูเป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูกเป็นใหญ่ในการทราบกลิ่นสูดกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการทราบรสลิ้มรส กายเป็นใหญ่ในการทราบในการถูกต้องโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้อง มโนเป็นใหญ่ในห้าข้อข้างต้นนั้นด้วย และในธรรมซึ่งในที่นี้หมายถึงเรื่องราว ก็คือเรื่อง ของรูป เสียง เป็นต้น ทั้งห้านั้นแหละที่ประสบพบผ่านมาแล้ว แต่ยังทรงอยู่ในใจโดยเป็นสัญญาคือความจำหมายอยู่ จึงเป็นธรรมที่เรียกว่ายังทรงอยู่โดยเป็นสัญญาคือความจำหมาย เพราะฉะนั้นจึงได้โผล่ขึ้นมา มโนก็รู้หรือคิดถึงสิ่งที่ประสบพบผ่านมาแล้วเหล่านี้อีกด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่าอินทรีย์ อินทรีย์นี้นอกจากเป็นใหญ่ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นใหญ่ในฐานะที่ครอบงำจิตใจของทุกๆคนอีกด้วย โดยเหตุนี้จึงได้ตรัสสอนให้มีอินทรียสังวร คือความสำรวมระวังอินทรีย์
คำว่า “สังวร” นั้น แปลว่าความสำรวม ความระวัง ซึ่งมีลักษณะเป็นการป้องกัน เหมือนอย่างคำว่า ความสำรวมจากความดื่มน้ำเมา ก็หมายถึงการป้องกันจากการดื่มน้ำเมา คือความงดเว้นหรือไม่ดื่มนั้นเอง ความสำรวมอินทรีย์ก็คือการป้องกัน ป้องกันอะไร ก็ป้องกันความยึด ถือสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ทราบทางจมูก รสที่ทราบทางลิ้น สิ่งถูกต้องที่ทราบทางกาย และเรื่องที่ผุดขึ้นมาคิดในใจ ไม่ยึดถือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดหรือบางส่วน ว่าสิ่งเหล่านี้น่าชอบ หรือว่าสิ่งเหล่านี้น่าชังน่าเกลียด เพราะเมื่อมีความยึดถือว่าน่าชอบก็จะเกิดอภิชฌาคือความยินดี เมื่อยึดถือว่าน่าชัง ก็จะเกิดโทมนัสคือความยินร้าย ความยินดีความยินร้ายนี้ก็เข้าครอบงำจิตใจ เพราะฉะนั้นจึงปฏิบัติเพื่อสำรวมคือระวังป้องกันจิตใจ โดยที่มีสตินี้แหละเป็นผู้รักษาโดยตรง ก็คือรักษาจิตใจ แต่เมื่อกล่าวโดยโวหารก็มีสติรักษาตารักษาหู เป็นต้น ในขณะที่อายตนะเหล่านี้ประจวบกับสิ่งที่เข้ามา หรือพูดรวมๆว่าในขณะที่อายตนะภายในและอายตนะภายนอกเหล่านี้ประกอบกัน เมื่อมีสติรักษา เมื่อมีสติสำรวมระวังอยู่ ก็จะไม่ยึดถือ และเมื่อไม่ยึดถือดัง กล่าว ความยินดีความยินร้ายก็จะไม่เข้าครอบงำจิตใจ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 99 ก.พ. 52 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)