มีสติสังวร
อันความยินดีความยินร้ายที่เข้าครอบงำจิตใจนี้เรียกว่าเป็นอาสวะอย่างหนึ่ง คือไหลเข้ามาสู่จิตใจ ถ้าจะเปรียบ อย่างวัตถุเช่นน้ำไหล จะเปรียบเหมือนอย่างว่า ตา หู เป็นต้นเป็นทางไหล ก็คือไหลเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางกาย ทางใจนี้เอง ไหลเข้ามาท่วมใจเป็นโอฆะ คือห้วงน้ำที่ท่วมใจ หรือเป็นอรรณพ คือเป็นทะเลลึกที่ท่วมใจ อันน้ำคือกิเลสที่ไหลเข้ามาท่วมใจเหล่านี้ก็ไหลเข้ามาทางอายตนะทั้งหกดังกล่าวนี้
ฉะนั้นเมื่อมีอินทรียสังวรอยู่ ก็จะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ไหลเข้ามา สติเป็นตัวสังวร ก็คือสติที่ระลึกได้ ระลึกได้ว่า กำลังเห็นอะไร กำลังได้ยินอะไร และระลึกได้ว่า ความยึดถือหรือความไม่ยึดถือบังเกิดขึ้นหรือไม่ และระลึกได้ว่า จิตใจมีภาวะเป็นอย่างไร ยินดียินร้ายหรือไม่ พร้อมกับ ระลึกได้ว่า การที่ปล่อยจิตให้มีความยึดถือ และยินดียินร้าย เป็นโทษก่อให้เกิดความเดือดร้อน ส่วนการที่ไม่ปล่อย จิตใจให้ยึดถือ ไม่ก่อให้เกิดความยินดียินร้าย ก่อให้เกิดความรู้สึกสงบและก็มีสติระลึกได้ด้วยว่า อันกิเลสกองราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกุศลมูลคือมูลของอกุศลทั้งหลาย กับทั้งอกุศลกรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นโดยอกุศลมูลเหล่า นี้ เป็นกายกรรมที่เป็นทุจริต เป็นอกุศล มีฆ่าเขาบ้าง ลักของเขาบ้าง ประพฤติผิดในกามทั้งหลายบ้าง เป็นวจีกรรม ที่เป็นอกุศลทุจริต เป็นต้นว่า พูดเท็จบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูดคำหยาบบ้าง พูดเพ้อเจ้อบ้าง เหลวไหลบ้าง เป็นมโนกรรมที่เป็นอกุศลทุจริต เป็นต้นว่า คิดโลภอยากได้ทรัพย์ สมบัติของเขามาเป็นของตนบ้าง พยาบาทปองร้ายเขาบ้าง เห็นผิดจากคลองธรรมบ้าง เหล่านี้ก็บังเกิดขึ้นจากการที่ขาดอินทรียสังวร ขาดสติสำรวมระวัง ขาดสติรักษา จึงบังเกิดความยึดถือว่านี่ฉันชอบ นี่ข้าพเจ้าชอบ นี่ฉันไม่ชอบ นี่ข้าพเจ้าไม่ชอบ ไม่มีสติห้ามกัน ไม่มีสติรักษา
เมื่อความยึดถือดังกล่าวนี้แรง ก็จะเป็นชนวนให้เกิดอกุศลมูล เป็นกิเลสกองราคะหรือโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง จึงเป็นเหตุให้ประกอบอกุศลกรรมทุจริตต่างๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ดังกล่าวนั้น แต่ถ้าหากว่ามีอินทรียสังวรอยู่ คือมีสติที่ระลึกได้อยู่ว่า นี่ควร นี่ไม่ควร นี่เป็นบาป นี่เป็นอกุศล นี่เป็นโทษ นี่ไม่เป็นโทษ ความที่ระลึกได้นี้ก็จะห้ามกัน ป้องกันมิให้เกิดความยึดถือดังนั้น หรือจะมีบ้างก็น้อย แล้วก็จะหายไป จึงไม่ก่อความยินดีความยินร้ายหรือก่ออกุศลมูลดังกล่าวมานั้นให้บังเกิดขึ้น ฉะนั้น จึงงดเว้นได้ ไม่ก่ออกุศลกรรมทุจริตทั้งหลายทางกาย ทางวาจา ทางใจ และทั้งถ้ามีอินทรียสังวรดังกล่าวนี้อยู่มาก ก็จะห้ามกันความยินดี ความยินร้าย หรือโลภ โกรธ หลง หรือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้อย่างน้อยมิให้บังเกิดขึ้น ก็เป็นทางเจริญของกุศลทั้งหลายอันเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะฉะนั้นอินทรียสังวรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
คนเราที่สามารถละความชั่วได้ ทำความดีได้ ชำระจิต ของตนให้ผ่องใสได้ ตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ขั้นหยาบที่สุดจนถึงขั้นละเอียดที่สุด ก็เพราะมีอินทรียสังวรนี้แหละน้อยหรือมาก ถ้ามีน้อยก็ละความชั่วได้น้อย ละความชั่วได้ไม่มากคือน้อย ทำความดีได้น้อย และชำระจิตของตนให้ผ่องใสได้น้อย ถ้ามีอินทรียสังวรมาก ก็สามารถละความชั่วได้มาก ทำความดีได้มาก และชำระจิตของตนให้ผ่องใสได้มาก และเมื่อปฏิบัติในสติปัฏฐานก็จะปฏิบัติให้ได้ผลดีเจริญขึ้นมาในธรรมปฏิบัติ มีสติระลึกได้ตามรู้ตามเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม นำให้ได้ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาปัญญา หรือวิปัสสนาญาณ เห็นปัญจขันธ์โดยเป็นทุกขสัจจะ พร้อมทั้งเหตุปัจจัยของปัญจขันธ์คืออายตนะ พร้อมทั้งกำหนดรู้ถึงตัวสังโยชน์คือความผูก สามารถที่จะปฏิบัติดับสังโยชน์ได้ตามลำดับ
ปัญญาในธรรม
อันธรรมนั้นก็เป็นศาสนธรรมและเป็นสัจจธรรม ที่เป็นศาสนธรรมนั้นก็คือ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นั่นเอง ซึ่งทรงแสดงสั่งสอนเป็นต้นเดิม และก็แสดงสั่งสอนกันสืบต่อมา สัจธรรมนั้นคือความจริง เป็นความจริง ที่มีอยู่ในทุกๆคนนี้เอง ฉะนั้น ปัญญาในธรรมทีแรกก็เป็น ความรู้ในคำสั่งสอน และต่อมาก็เป็นความรู้ในความจริงอันมีอยู่ที่ตน คำสั่งสอนนั้นชี้แจงแสดงชี้ให้มองเห็น ถ้าจะเปรียบกับคำสั่งสอนเหมือนอย่างไฟฉายที่ฉายตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไฟฉายก็เทียบกับศาสนธรรม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไฟฉายส่องก็เทียบกับเป็นสัจธรรม บุคคลผู้มีดวงตาเห็นแสงไฟซึ่งเป็นความสว่างส่องไปก็ย่อมเห็นสิ่งที่ไฟส่องนั้นว่าเป็นอะไร เป็นวัตถุสิ่งนั้น เป็นวัตถุสิ่งนี้ ก็สุด แต่ไฟจะส่องไปให้เห็น แต่ว่าไฟฉายนั้นไม่ใช่สัจธรรม เป็นศาสนธรรม แต่เพราะเหตุที่ส่องตรงไปยังสิ่งที่มีอยู่จริงจึงเรียกว่าเป็นสัจจะด้วย
แต่ว่าที่เป็นสัจจะจริงนั้นก็คือสิ่งที่ไฟส่องนั้นเองอันเป็นที่ต้องการให้เห็น ดังเช่นในอายตนะปัพพะนี้ ศาสนธรรมได้ตรัสแสดงสั่งสอนว่า ให้รู้จักจักษุคือตาให้รู้จักรูป และอาศัยจักษุและรูปทั้งสอง เกิดสังโยชน์คือความผูก ก็ให้รู้จักสังโยชน์นั้น สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น
ตรัสสอนให้รู้จักโสต คือหู ให้รู้จักเสียง และอาศัยหูกับเสียงเกิดสังโยชน์คือความผูก ก็ให้รู้จักสังโยชน์นั้น สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ ประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น
ตรัสสอนให้รู้จักฆานคือจมูก ให้รู้จักกลิ่น และอาศัยจมูกกับกลิ่นทั้งสองเกิดสังโยชน์คือความผูก ก็ให้รู้จัก สังโยชน์นั้น สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นได้ด้วยประการ ใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น และต่อไป อีก ๓ ข้อ ก็เช่นเดียวกัน นี้เป็นศาสนธรรม และศาสนธรรม ดังกล่าวนี้ก็เป็นไฟฉายส่องเข้ามาที่สิ่งที่มีอยู่เป็นไปอยู่อันเรียกว่าสัจจะในทุกๆคนนี้เอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 100 มี.ค. 52 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
อันความยินดีความยินร้ายที่เข้าครอบงำจิตใจนี้เรียกว่าเป็นอาสวะอย่างหนึ่ง คือไหลเข้ามาสู่จิตใจ ถ้าจะเปรียบ อย่างวัตถุเช่นน้ำไหล จะเปรียบเหมือนอย่างว่า ตา หู เป็นต้นเป็นทางไหล ก็คือไหลเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางกาย ทางใจนี้เอง ไหลเข้ามาท่วมใจเป็นโอฆะ คือห้วงน้ำที่ท่วมใจ หรือเป็นอรรณพ คือเป็นทะเลลึกที่ท่วมใจ อันน้ำคือกิเลสที่ไหลเข้ามาท่วมใจเหล่านี้ก็ไหลเข้ามาทางอายตนะทั้งหกดังกล่าวนี้
ฉะนั้นเมื่อมีอินทรียสังวรอยู่ ก็จะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ไหลเข้ามา สติเป็นตัวสังวร ก็คือสติที่ระลึกได้ ระลึกได้ว่า กำลังเห็นอะไร กำลังได้ยินอะไร และระลึกได้ว่า ความยึดถือหรือความไม่ยึดถือบังเกิดขึ้นหรือไม่ และระลึกได้ว่า จิตใจมีภาวะเป็นอย่างไร ยินดียินร้ายหรือไม่ พร้อมกับ ระลึกได้ว่า การที่ปล่อยจิตให้มีความยึดถือ และยินดียินร้าย เป็นโทษก่อให้เกิดความเดือดร้อน ส่วนการที่ไม่ปล่อย จิตใจให้ยึดถือ ไม่ก่อให้เกิดความยินดียินร้าย ก่อให้เกิดความรู้สึกสงบและก็มีสติระลึกได้ด้วยว่า อันกิเลสกองราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกุศลมูลคือมูลของอกุศลทั้งหลาย กับทั้งอกุศลกรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นโดยอกุศลมูลเหล่า นี้ เป็นกายกรรมที่เป็นทุจริต เป็นอกุศล มีฆ่าเขาบ้าง ลักของเขาบ้าง ประพฤติผิดในกามทั้งหลายบ้าง เป็นวจีกรรม ที่เป็นอกุศลทุจริต เป็นต้นว่า พูดเท็จบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูดคำหยาบบ้าง พูดเพ้อเจ้อบ้าง เหลวไหลบ้าง เป็นมโนกรรมที่เป็นอกุศลทุจริต เป็นต้นว่า คิดโลภอยากได้ทรัพย์ สมบัติของเขามาเป็นของตนบ้าง พยาบาทปองร้ายเขาบ้าง เห็นผิดจากคลองธรรมบ้าง เหล่านี้ก็บังเกิดขึ้นจากการที่ขาดอินทรียสังวร ขาดสติสำรวมระวัง ขาดสติรักษา จึงบังเกิดความยึดถือว่านี่ฉันชอบ นี่ข้าพเจ้าชอบ นี่ฉันไม่ชอบ นี่ข้าพเจ้าไม่ชอบ ไม่มีสติห้ามกัน ไม่มีสติรักษา
เมื่อความยึดถือดังกล่าวนี้แรง ก็จะเป็นชนวนให้เกิดอกุศลมูล เป็นกิเลสกองราคะหรือโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง จึงเป็นเหตุให้ประกอบอกุศลกรรมทุจริตต่างๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ดังกล่าวนั้น แต่ถ้าหากว่ามีอินทรียสังวรอยู่ คือมีสติที่ระลึกได้อยู่ว่า นี่ควร นี่ไม่ควร นี่เป็นบาป นี่เป็นอกุศล นี่เป็นโทษ นี่ไม่เป็นโทษ ความที่ระลึกได้นี้ก็จะห้ามกัน ป้องกันมิให้เกิดความยึดถือดังนั้น หรือจะมีบ้างก็น้อย แล้วก็จะหายไป จึงไม่ก่อความยินดีความยินร้ายหรือก่ออกุศลมูลดังกล่าวมานั้นให้บังเกิดขึ้น ฉะนั้น จึงงดเว้นได้ ไม่ก่ออกุศลกรรมทุจริตทั้งหลายทางกาย ทางวาจา ทางใจ และทั้งถ้ามีอินทรียสังวรดังกล่าวนี้อยู่มาก ก็จะห้ามกันความยินดี ความยินร้าย หรือโลภ โกรธ หลง หรือ โลภะ โทสะ โมหะ แม้อย่างน้อยมิให้บังเกิดขึ้น ก็เป็นทางเจริญของกุศลทั้งหลายอันเป็นไปในทางตรงกันข้าม เพราะฉะนั้นอินทรียสังวรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
คนเราที่สามารถละความชั่วได้ ทำความดีได้ ชำระจิต ของตนให้ผ่องใสได้ ตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ขั้นหยาบที่สุดจนถึงขั้นละเอียดที่สุด ก็เพราะมีอินทรียสังวรนี้แหละน้อยหรือมาก ถ้ามีน้อยก็ละความชั่วได้น้อย ละความชั่วได้ไม่มากคือน้อย ทำความดีได้น้อย และชำระจิตของตนให้ผ่องใสได้น้อย ถ้ามีอินทรียสังวรมาก ก็สามารถละความชั่วได้มาก ทำความดีได้มาก และชำระจิตของตนให้ผ่องใสได้มาก และเมื่อปฏิบัติในสติปัฏฐานก็จะปฏิบัติให้ได้ผลดีเจริญขึ้นมาในธรรมปฏิบัติ มีสติระลึกได้ตามรู้ตามเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม นำให้ได้ปัญญาที่เป็นวิปัสสนาปัญญา หรือวิปัสสนาญาณ เห็นปัญจขันธ์โดยเป็นทุกขสัจจะ พร้อมทั้งเหตุปัจจัยของปัญจขันธ์คืออายตนะ พร้อมทั้งกำหนดรู้ถึงตัวสังโยชน์คือความผูก สามารถที่จะปฏิบัติดับสังโยชน์ได้ตามลำดับ
ปัญญาในธรรม
อันธรรมนั้นก็เป็นศาสนธรรมและเป็นสัจจธรรม ที่เป็นศาสนธรรมนั้นก็คือ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นั่นเอง ซึ่งทรงแสดงสั่งสอนเป็นต้นเดิม และก็แสดงสั่งสอนกันสืบต่อมา สัจธรรมนั้นคือความจริง เป็นความจริง ที่มีอยู่ในทุกๆคนนี้เอง ฉะนั้น ปัญญาในธรรมทีแรกก็เป็น ความรู้ในคำสั่งสอน และต่อมาก็เป็นความรู้ในความจริงอันมีอยู่ที่ตน คำสั่งสอนนั้นชี้แจงแสดงชี้ให้มองเห็น ถ้าจะเปรียบกับคำสั่งสอนเหมือนอย่างไฟฉายที่ฉายตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไฟฉายก็เทียบกับศาสนธรรม สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ไฟฉายส่องก็เทียบกับเป็นสัจธรรม บุคคลผู้มีดวงตาเห็นแสงไฟซึ่งเป็นความสว่างส่องไปก็ย่อมเห็นสิ่งที่ไฟส่องนั้นว่าเป็นอะไร เป็นวัตถุสิ่งนั้น เป็นวัตถุสิ่งนี้ ก็สุด แต่ไฟจะส่องไปให้เห็น แต่ว่าไฟฉายนั้นไม่ใช่สัจธรรม เป็นศาสนธรรม แต่เพราะเหตุที่ส่องตรงไปยังสิ่งที่มีอยู่จริงจึงเรียกว่าเป็นสัจจะด้วย
แต่ว่าที่เป็นสัจจะจริงนั้นก็คือสิ่งที่ไฟส่องนั้นเองอันเป็นที่ต้องการให้เห็น ดังเช่นในอายตนะปัพพะนี้ ศาสนธรรมได้ตรัสแสดงสั่งสอนว่า ให้รู้จักจักษุคือตาให้รู้จักรูป และอาศัยจักษุและรูปทั้งสอง เกิดสังโยชน์คือความผูก ก็ให้รู้จักสังโยชน์นั้น สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น
ตรัสสอนให้รู้จักโสต คือหู ให้รู้จักเสียง และอาศัยหูกับเสียงเกิดสังโยชน์คือความผูก ก็ให้รู้จักสังโยชน์นั้น สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ ประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น
ตรัสสอนให้รู้จักฆานคือจมูก ให้รู้จักกลิ่น และอาศัยจมูกกับกลิ่นทั้งสองเกิดสังโยชน์คือความผูก ก็ให้รู้จัก สังโยชน์นั้น สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นได้ด้วยประการ ใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยประการใดก็ให้รู้ประการนั้น และต่อไป อีก ๓ ข้อ ก็เช่นเดียวกัน นี้เป็นศาสนธรรม และศาสนธรรม ดังกล่าวนี้ก็เป็นไฟฉายส่องเข้ามาที่สิ่งที่มีอยู่เป็นไปอยู่อันเรียกว่าสัจจะในทุกๆคนนี้เอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 100 มี.ค. 52 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)