สมเด็จพระพุฒาจารย์ ยกย่อง “ในหลวง-ราชินี” ทรงเป็นต้นแบบพุทธศาสนิกชน
• กรุงเทพฯ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถา ในงาน ‘วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2551’ ท่ามกลางประมุขสงฆ์ ผู้นำศาสนา และนักวิชาการ จาก 26 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ประมาณ 1,500 คน ซึ่งมาเฉลิมฉลองร่วมกัน ณ หอประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ว่า รัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคม ต่างเห็น ความสำคัญของวันวิสาขบูชาและพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาทำให้เกิดความสงบสุข ร่มเย็น และขณะนี้ทั่วโลกต้องการความสงบสุขร่มเย็น และความเอื้อเฟื้อ ฉะนั้นเราชาวพุทธจะทำอย่างไรให้เกิดความร่มเย็นขึ้น โดยเฉพาะขณะนี้ 2 ประเทศ คือ พม่าและจีน ที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ซึ่งทั่วโลกต่างร่วมกันมีน้ำใจและเอื้อเฟื้อให้ความช่วยเหลือ
พร้อมกันนี้ยังได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า ทรงเป็นต้นแบบพุทธศาสนิกชนชาวไทย ที่ทรงสร้างความร่มเย็นให้เกิดกับชาวโลก ดังจะเห็นได้จากน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้กับทั้งสองประเทศ และรัฐบาลเองก็น้อมนำมาปฏิบัติ ซึ่ง ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่ทรงพระราชทานแนวทางไว้
โพลล์ชี้พิษข่าวฉาวดงขมิ้น ทำชาวพุทธ 40 % สิ้นศรัทธา
• กรุงเทพฯ : นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ คณะกรรรมการบริหารแผนเรียนรู้สู่สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่าจากการสำรวจโดยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ในหัวข้อ “ธรรมมะกับครอบครัวไทย ห่างไกลหรือใกล้กัน” เมื่อวันที่ 7-12 พ.ค. ที่ผ่านมา ในกลุ่มตัวอย่าง 466 คน เขตกทม. พบว่าครอบครัวไทยส่วนใหญ่ 51% เป็นครอบครัวเล็กมีสมาชิก 3-4 คน กิจกรรมทางศาสนาที่ทำร่วมกันมากที่สุดคือ ตักบาตร 57.5% มีโอกาสฟังธรรม/เทศน์ เพียง 8.2% เท่านั้น และนั่งวิปัสสนา 3.2% ส่วนความถี่ของการทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกันมากที่สุด 42.7% คือเดือนละครั้งเดียว รองลงมา 30.3% แล้วแต่โอกาส 11.2% ทำ 3 เดือนครั้ง 8.8% ทำ 6 เดือนครั้ง อีก 7.1% ทำปีละครั้ง เหตุผลที่อยากทำ 3 ข้อแรก คือ 1.ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 2.ให้จิตใจสงบฝึกสติ 3.อยากให้ลูกหลานศึกษาธรรมะ ส่วนเหตุผลที่ไม่อยากทำ 3 ข้อแรก คือ 1.ไม่สะดวก 2.เหตุผลอื่นๆ เช่น เห็นข่าวไม่ดีเกี่ยวกับพระ จึงทำให้ไม่เลื่อมใส ไม่มีความคิดจะทำ ว่างไม่ตรงกัน 3.หาสถานที่ลำบาก
และเมื่อถามว่าเห็นข่าวไม่ดีเกี่ยวกับพระ/ศาสนา รู้สึกอย่างไร เกือบ 40% บอกไม่ศรัทธาพระ แต่ยังเชื่อในพระธรรมคำสอน 38.6% ยังศรัทธาเหมือนเดิม 5.8%ตอบว่าไม่ศรัทธาแล้ว ส่วนหลักธรรมที่ใช้
มากที่สุดในครอบครัวคือ ศีลห้า พรหมวิหาร 4 และ อริยสัจ 4 ซึ่งผู้ที่นำให้ครอบครัวทำกิจกรรม ทางศาสนามากที่สุด คือ แม่ ตามด้วยพ่อ และปู่ย่าตายาย ส่วนกิจกรรมที่อยากให้มีในวัดหรือสถานที่เรียนรู้ทางศาสนา คือ 1.มีพระมาบรรยายธรรม 2.มีกิจกรรมสำหรับครอบครัว 3.มีห้องสมุดธรรมะให้คนทั่วไปมาศึกษา 4.มีสถานที่ให้นั่งวิปัสสนา
มส.มีมติยกวัดราษฎร์ 9 วัด เป็น‘พระอารามหลวง’
• นครปฐม : นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม(สถ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)เมื่อวันที่ 20 พ.ค.51 ว่า ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณายกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551ที่ประชุมได้พิจารณาการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แล้ว มีมติยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ จำนวน 9 วัด ได้แก่ 1.วัดราชสิงขร แขวงวัดพระยา-ไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 2.วัดบัวขวัญ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 3.วัดศรีโสดา ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 4.วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 5.วัดศรีสระแก้ว ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู 6.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 7.วัดราษฎร์บูรณาราม ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 8.วัดแก้วพิจิตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และ 9. วัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ทั่วปท.มีมติตั้ง ศปท.ดูแล-ส่งเสริม สำนักปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ
• นครปฐม : นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)เมื่อวันที่ 12 พ.ค.51 ว่า ที่ประชุมมส.รับทราบการจัดตั้งศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.) โดยในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทั่วประเทศ ณ วัดยานนาวา กทม. เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งศูนย์ฯดังกล่าว โดยมีผู้แทนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์หนกลาง หนตะวันออก หนเหนือ หนใต้ และคณะธรรมยุต เข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติคัดเลือกคณะกรรมการบริหารศูนย์ 13 รูป/คน ประกอบด้วยที่ปรึกษา 3 รูป ได้แก่พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา กทม. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กทม.และพระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ประธานศูนย์ ได้แก่ พระราชญาณวิสิฐ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี รองประธาน 4 รูป ได้แก่ พระราชรณังคมุนี วัดตโปทาราม จ.ระนอง พระราชธีราจารย์ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม พระครูภาวนาโสภิต วัดพระยืน จ.ลำพูน และพระครูสิริธรรมานุศาสน์ วัดศรีทวี จ.นครศรีธรรมราช ส่วนกรรมการและเลขานุการ ได้แก่ พระปลัดวีรภัทร์ ปริมุตฺโต วัดยานนาวา กทม. และมีกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการอีก 4 รูป/คน ได้แก่ พระครูอาทรวนกิจ วัดลุมพินีวันวราราม จ.อุดรธานี พระมหาชัยนิพจน์ อตฺตทนฺโต วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี นายวิศิษฏ์ พงศ์พัฒนจิต สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และนายแก้ว ชิดตะขบ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ 1.เพื่อให้สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติมหาเถรสมาคม ได้สนองงานมหาเถรสมาคม ให้บรรลุผล สำเร็จด้วยดี มีประสิทธิภาพสูง 2.เพื่อให้ความร่วมมือ ประสานงานระหว่างสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในการให้การศึกษาสัมมาปฏิบัติต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนของชาติ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม ประเทศชาติ และความเจริญมั่นคง แห่งสถาบันชาติ สถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 3.เพื่อร่วมกันดำเนิน การอบรมศึกษาให้เป็นไปในทางเดียวกันและการปฏิบัติธรรมอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการศูนย์พิจารณา เห็นสมควร โดยมุ่งส่งเสริมบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงสืบไป
ในเบื้องต้นนี้ได้ให้วัดยานนาวา เป็นสำนักงานของ ศปท.และกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ปีละ 3 ครั้ง โดยศูนย์ฯนี้จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด เป็นศูนย์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติกัมมัฏ-ฐานของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นศูนย์ประสานงานอนุเคราะห์และสงเคราะห์การศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติ ทางด้านวิชาการ บุคลากร และอื่นๆ ตามสมควร เป็นศูนย์กำหนดนโยบายระดมทุน เพื่อใช้บริหารจัดการในศูนย์ฯ และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด และเป็นศูนย์ประสานงานกับองค์กรทางพระพุทธ-ศาสนาและ/หรือสังคมสงเคราะห์ เพื่อปกป้องและพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา
พระสังฆราชประทานปัจจัย 1 ล้านบาท ช่วยพม่า มส.ร่วมบริจาคอีก 3 ล้านบาท พร้อมจีวร
• กรุงเทพฯ : เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานปัจจัย จำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่ พระ ดร.อชนิน ญาณิสระ ประธานสังฆสภาแห่งประเทศสหภาพพม่า เพื่อนำไปช่วยเหลือพระสงฆ์ และประชาชนชาวพม่า ส่วนสิ่งของจำเป็นแก่การยังชีพที่ได้รับบริจาคมาแล้วนั้น เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จะประสานกับกองทัพ อากาศ เพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินการขนส่งสิ่งของทั้งหมดไปส่งยังพม่าต่อไป
ทั้งนี้ พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกคำสั่งสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งกรรมการโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีเกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มประเทศพม่า เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช ทรงห่วงใยคณะสงฆ์และประชาชนในพม่าเป็นอย่างมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตนับแสนคน และอีกเป็นล้านคนกำลังขาดแคลนที่พักพิง น้ำดื่ม ซึ่งขณะนี้ประชาชนกำลังต้องการผ้าใบพลาสติก ยาฆ่าเชื้อโรค อุปกรณ์ประกอบอาหาร มุ้ง อุปกรณ์ด้านสาธารณสุข และอาหาร อย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกัน พระสงฆ์ของพม่าก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ โดยไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ อีกทั้งวัดยังต้องเป็นที่พักพิงชั่วคราวของผู้ประสบภัยด้วย โดยพุทธศาสนิกชนสามารถบริจาคได้ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.- 30 มิ.ย.นี้ ที่สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โทร.0-2281-2831-3
สำหรับในส่วนของมหาเถรสมาคมที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือประเทศพม่าที่ประสบอุบัติภัยจากพายุไซโคลนนาร์กีส พม่า จำนวน 3,000,000 บาท โดยใช้ปัจจัยจากเงินกองทุน “ทุนวัดช่วยวัด” จำนวน 2,000,000 บาท และกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้และอุบัติภัย จำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งได้มีพิธีมอบปัจจัยจำนวนดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 พ.ค.51 ณ ตำหนักสมเด็จฯ วัดสระเกศ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้มอบให้แก่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
ล่าสุด มส.มีมติให้จัดงบประมาณ 800,000 บาท เพื่อจัดซื้อจีวรถวายแก่พระพม่า และให้เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ประสานกับวัดใน กทม.เพื่อช่วยระดมปัจจัยในการจัดซื้อจีวรครั้งนี้
วัดยานนาวาจัดสมโภช สถาปนาพระอารามหลวงครบ 240 ปี
• กรุงเทพฯ : พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานอำนวยการจัดงานฝ่ายบรรพชิต กล่าวว่าปี 2551 เป็นปีแห่งการสถาปนาวัดยานนาวา เป็นพระอารามหลวง ครบ 240 ปี ทางวัดจึงได้จัดพิธีสมโภชขึ้น โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯพร้อม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกร รัศมีโชติ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภช เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดงานฝ่ายคฤหัสถ์ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน ในการนี้ สมเด็จพระมหาสังฆนายกะ ประมุขแห่งสงฆ์ประเทศศรีลังกา ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถวายเพื่อประดิษฐาน ณ วัดยานนาวา
เทศกาลสมโภชเพระอารามหลวงวัดยานนาวา ครบ 240 ปี เริ่มด้วยการบำเพ็ญมหากุศลพุทธมหามงคล เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป ด้วยการ
อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุครบองค์พระสรีระจาก 8 ประเทศ ให้สักการบูชาทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น.และมีการจัดแสดงแสง เสียง เล่าขานถึงวัด 3 กรุง แห่งนี้เป็นครั้งแรก และเปิดให้ประชาชนได้ชมทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ 19.00 น. และ 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม-15 มิถุนายน 2551 พร้อมทั้งมีกิจกรรมสวดมนต์เย็น ฟังธรรมเทศนามหาชาติ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งขันประกวดสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดาระดับประเทศด้วย
อนึ่ง วัดยานนาวา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในพ.ศ. 2311 บุรพกษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรีได้ทำนุบำรุงวัดนี้สืบมา นับเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งของประเทศที่ยังคงความสวยงามจนได้ชื่อว่าพระอารามหลวงเก่าแก่แห่งลุ่มเจ้าพระยา โดยมีสัญลักษณ์ที่โดดเด่นคือ สำเภาเจดีย์ ปัจจุบันวัดยานนาวา เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
โบราณสถานพันปีเมืองเชียงแสน ไม่ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
• เชียงราย : นายนิกรณ์ เหล่าวานิช ประธานกลุ่มรักษ์เชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน ทางกลุ่มได้ทำการลง พื้นที่ตรวจสอบแหล่งโบราณสถานเก่า ที่มีอายุร่วม 1,000 ปี ของเมือง โยนกนาคนคร รอบเขตกำแพงเมือง เดิม อำเภอเชียงแสน จำนวน 72 แห่ง และนอกเขตกำแพงเมือง 53 แห่ง ซึ่งไม่พบว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น โดยที่เจดีย์สูง กำแพงเมืองเดิม และองค์พระนวล้านตื้อขนาดใหญ่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง สามเหลี่ยมทองคำ ยังคงสภาพเดิมทุกอย่าง
นอกจากนี้ในจุดที่ตั้งวัดสำคัญ ทั้งวัดพระธาตุผาเงา วัดพระธาตุเจดีย์หลวง วัดพระธาตุป่าสัก และวัดพระธาตุจอมกิตติ ซึ่งเป็นวัดที่เคยได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 จนทำให้ยอดฉัตรหัก และองค์เจดีย์มีรอยร้าวนั้น จากการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่าเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในจีนครั้งนี้ ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่องค์พระธาตุคู่เมืองเชียงแสนทั้ง 4 แห่ง แต่อย่างใด
ด้านเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน เผยว่า ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับโบราณสถาน และพระธาตุคู่เมืองเชียงแสน จากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ แต่ได้มีการเฝ้ารับมือการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต เนื่อง จากจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตรอยเลื่อนแม่จัน 1 ใน 13 รอย เลื่อนทั่วประเทศ และพื้นที่อำเภอเชียงแสน เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่สามารถรับความรู้สึกจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว บริเวณศูนย์กลางสามเหลี่ยมทองคำ รอยต่อพรมแดนพม่า ลาว ไทย มาโดยตลอด
โพลล์ชี้เยาวชนไทยยังห่างไกลวัด แนะพ่อแม่ปลูกฝังเป็นแบบอย่าง
• กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “วัดและศาสนาในสายตาเยาวชน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชน อายุ 13-25 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,233 คน เมื่อวันที่ 2-5 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า การรับรู้ของเยาวชนต่อความสำคัญของวันวิสาขบูชา ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน พบว่า ทราบร้อยละ 44.4 ไม่ทราบ ร้อยละ 55.6 ทั้งนี้ เมื่อถาม ความรู้สึกที่มีต่อวัดว่าสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเยาวชนได้หรือไม่นั้น พบว่าร้อยละ 93.1 เห็นว่าเป็นที่พึ่งทางใจได้ ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.6 เห็นว่าในปัจจุบันนี้วัดกับเยาวชนไทยห่างไกลกันมากขึ้น โดยระบุสาเหตุเนื่องจากมีกิจกรรม อื่นที่น่าสนใจมากกว่า เช่น การเที่ยวกับเพื่อน เล่นเกมออนไลน์ เล่นอินเตอร์เน็ต และเข้าสถานบันเทิง รวมทั้งวัดไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน เป็นต้น ทั้งนี้ เห็นว่าวัดต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่สามารถดึงดูดเยาวชนได้ และปลูกฝังตั้งแต่เด็กโดยเริ่มที่พ่อแม่สอนและทำเป็นแบบอย่าง
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย มรรคา)
• กรุงเทพฯ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวสัมโมทนียกถา ในงาน ‘วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2551’ ท่ามกลางประมุขสงฆ์ ผู้นำศาสนา และนักวิชาการ จาก 26 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ประมาณ 1,500 คน ซึ่งมาเฉลิมฉลองร่วมกัน ณ หอประชุมองค์การสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ว่า รัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคม ต่างเห็น ความสำคัญของวันวิสาขบูชาและพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาทำให้เกิดความสงบสุข ร่มเย็น และขณะนี้ทั่วโลกต้องการความสงบสุขร่มเย็น และความเอื้อเฟื้อ ฉะนั้นเราชาวพุทธจะทำอย่างไรให้เกิดความร่มเย็นขึ้น โดยเฉพาะขณะนี้ 2 ประเทศ คือ พม่าและจีน ที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ซึ่งทั่วโลกต่างร่วมกันมีน้ำใจและเอื้อเฟื้อให้ความช่วยเหลือ
พร้อมกันนี้ยังได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า ทรงเป็นต้นแบบพุทธศาสนิกชนชาวไทย ที่ทรงสร้างความร่มเย็นให้เกิดกับชาวโลก ดังจะเห็นได้จากน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงพระราชทานสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้กับทั้งสองประเทศ และรัฐบาลเองก็น้อมนำมาปฏิบัติ ซึ่ง ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่ทรงพระราชทานแนวทางไว้
โพลล์ชี้พิษข่าวฉาวดงขมิ้น ทำชาวพุทธ 40 % สิ้นศรัทธา
• กรุงเทพฯ : นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ คณะกรรรมการบริหารแผนเรียนรู้สู่สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่าจากการสำรวจโดยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ในหัวข้อ “ธรรมมะกับครอบครัวไทย ห่างไกลหรือใกล้กัน” เมื่อวันที่ 7-12 พ.ค. ที่ผ่านมา ในกลุ่มตัวอย่าง 466 คน เขตกทม. พบว่าครอบครัวไทยส่วนใหญ่ 51% เป็นครอบครัวเล็กมีสมาชิก 3-4 คน กิจกรรมทางศาสนาที่ทำร่วมกันมากที่สุดคือ ตักบาตร 57.5% มีโอกาสฟังธรรม/เทศน์ เพียง 8.2% เท่านั้น และนั่งวิปัสสนา 3.2% ส่วนความถี่ของการทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกันมากที่สุด 42.7% คือเดือนละครั้งเดียว รองลงมา 30.3% แล้วแต่โอกาส 11.2% ทำ 3 เดือนครั้ง 8.8% ทำ 6 เดือนครั้ง อีก 7.1% ทำปีละครั้ง เหตุผลที่อยากทำ 3 ข้อแรก คือ 1.ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 2.ให้จิตใจสงบฝึกสติ 3.อยากให้ลูกหลานศึกษาธรรมะ ส่วนเหตุผลที่ไม่อยากทำ 3 ข้อแรก คือ 1.ไม่สะดวก 2.เหตุผลอื่นๆ เช่น เห็นข่าวไม่ดีเกี่ยวกับพระ จึงทำให้ไม่เลื่อมใส ไม่มีความคิดจะทำ ว่างไม่ตรงกัน 3.หาสถานที่ลำบาก
และเมื่อถามว่าเห็นข่าวไม่ดีเกี่ยวกับพระ/ศาสนา รู้สึกอย่างไร เกือบ 40% บอกไม่ศรัทธาพระ แต่ยังเชื่อในพระธรรมคำสอน 38.6% ยังศรัทธาเหมือนเดิม 5.8%ตอบว่าไม่ศรัทธาแล้ว ส่วนหลักธรรมที่ใช้
มากที่สุดในครอบครัวคือ ศีลห้า พรหมวิหาร 4 และ อริยสัจ 4 ซึ่งผู้ที่นำให้ครอบครัวทำกิจกรรม ทางศาสนามากที่สุด คือ แม่ ตามด้วยพ่อ และปู่ย่าตายาย ส่วนกิจกรรมที่อยากให้มีในวัดหรือสถานที่เรียนรู้ทางศาสนา คือ 1.มีพระมาบรรยายธรรม 2.มีกิจกรรมสำหรับครอบครัว 3.มีห้องสมุดธรรมะให้คนทั่วไปมาศึกษา 4.มีสถานที่ให้นั่งวิปัสสนา
มส.มีมติยกวัดราษฎร์ 9 วัด เป็น‘พระอารามหลวง’
• นครปฐม : นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม(สถ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)เมื่อวันที่ 20 พ.ค.51 ว่า ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณายกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2551ที่ประชุมได้พิจารณาการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แล้ว มีมติยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ จำนวน 9 วัด ได้แก่ 1.วัดราชสิงขร แขวงวัดพระยา-ไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร 2.วัดบัวขวัญ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 3.วัดศรีโสดา ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 4.วัดพายัพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 5.วัดศรีสระแก้ว ตำบลนามะเฟือง อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู 6.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 7.วัดราษฎร์บูรณาราม ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 8.วัดแก้วพิจิตร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และ 9. วัดประดู่ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ทั่วปท.มีมติตั้ง ศปท.ดูแล-ส่งเสริม สำนักปฏิบัติธรรมทั่วประเทศ
• นครปฐม : นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.)เมื่อวันที่ 12 พ.ค.51 ว่า ที่ประชุมมส.รับทราบการจัดตั้งศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.) โดยในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทั่วประเทศ ณ วัดยานนาวา กทม. เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งศูนย์ฯดังกล่าว โดยมีผู้แทนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์หนกลาง หนตะวันออก หนเหนือ หนใต้ และคณะธรรมยุต เข้าร่วม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติคัดเลือกคณะกรรมการบริหารศูนย์ 13 รูป/คน ประกอบด้วยที่ปรึกษา 3 รูป ได้แก่พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา กทม. พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม กทม.และพระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ประธานศูนย์ ได้แก่ พระราชญาณวิสิฐ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี รองประธาน 4 รูป ได้แก่ พระราชรณังคมุนี วัดตโปทาราม จ.ระนอง พระราชธีราจารย์ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม พระครูภาวนาโสภิต วัดพระยืน จ.ลำพูน และพระครูสิริธรรมานุศาสน์ วัดศรีทวี จ.นครศรีธรรมราช ส่วนกรรมการและเลขานุการ ได้แก่ พระปลัดวีรภัทร์ ปริมุตฺโต วัดยานนาวา กทม. และมีกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการอีก 4 รูป/คน ได้แก่ พระครูอาทรวนกิจ วัดลุมพินีวันวราราม จ.อุดรธานี พระมหาชัยนิพจน์ อตฺตทนฺโต วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี นายวิศิษฏ์ พงศ์พัฒนจิต สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และนายแก้ว ชิดตะขบ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ 1.เพื่อให้สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติมหาเถรสมาคม ได้สนองงานมหาเถรสมาคม ให้บรรลุผล สำเร็จด้วยดี มีประสิทธิภาพสูง 2.เพื่อให้ความร่วมมือ ประสานงานระหว่างสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ในการให้การศึกษาสัมมาปฏิบัติต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนของชาติ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม ประเทศชาติ และความเจริญมั่นคง แห่งสถาบันชาติ สถาบันพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 3.เพื่อร่วมกันดำเนิน การอบรมศึกษาให้เป็นไปในทางเดียวกันและการปฏิบัติธรรมอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการศูนย์พิจารณา เห็นสมควร โดยมุ่งส่งเสริมบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงสืบไป
ในเบื้องต้นนี้ได้ให้วัดยานนาวา เป็นสำนักงานของ ศปท.และกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ปีละ 3 ครั้ง โดยศูนย์ฯนี้จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด เป็นศูนย์กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติกัมมัฏ-ฐานของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นศูนย์ประสานงานอนุเคราะห์และสงเคราะห์การศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติ ทางด้านวิชาการ บุคลากร และอื่นๆ ตามสมควร เป็นศูนย์กำหนดนโยบายระดมทุน เพื่อใช้บริหารจัดการในศูนย์ฯ และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด และเป็นศูนย์ประสานงานกับองค์กรทางพระพุทธ-ศาสนาและ/หรือสังคมสงเคราะห์ เพื่อปกป้องและพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา
พระสังฆราชประทานปัจจัย 1 ล้านบาท ช่วยพม่า มส.ร่วมบริจาคอีก 3 ล้านบาท พร้อมจีวร
• กรุงเทพฯ : เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานปัจจัย จำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่ พระ ดร.อชนิน ญาณิสระ ประธานสังฆสภาแห่งประเทศสหภาพพม่า เพื่อนำไปช่วยเหลือพระสงฆ์ และประชาชนชาวพม่า ส่วนสิ่งของจำเป็นแก่การยังชีพที่ได้รับบริจาคมาแล้วนั้น เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จะประสานกับกองทัพ อากาศ เพื่อเป็นตัวแทนในการดำเนินการขนส่งสิ่งของทั้งหมดไปส่งยังพม่าต่อไป
ทั้งนี้ พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวว่า สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกคำสั่งสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งกรรมการโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีเกิดเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มประเทศพม่า เนื่องจากสมเด็จพระสังฆราช ทรงห่วงใยคณะสงฆ์และประชาชนในพม่าเป็นอย่างมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตนับแสนคน และอีกเป็นล้านคนกำลังขาดแคลนที่พักพิง น้ำดื่ม ซึ่งขณะนี้ประชาชนกำลังต้องการผ้าใบพลาสติก ยาฆ่าเชื้อโรค อุปกรณ์ประกอบอาหาร มุ้ง อุปกรณ์ด้านสาธารณสุข และอาหาร อย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกัน พระสงฆ์ของพม่าก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ โดยไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ อีกทั้งวัดยังต้องเป็นที่พักพิงชั่วคราวของผู้ประสบภัยด้วย โดยพุทธศาสนิกชนสามารถบริจาคได้ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค.- 30 มิ.ย.นี้ ที่สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โทร.0-2281-2831-3
สำหรับในส่วนของมหาเถรสมาคมที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือประเทศพม่าที่ประสบอุบัติภัยจากพายุไซโคลนนาร์กีส พม่า จำนวน 3,000,000 บาท โดยใช้ปัจจัยจากเงินกองทุน “ทุนวัดช่วยวัด” จำนวน 2,000,000 บาท และกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้และอุบัติภัย จำนวน 1,000,000 บาท ซึ่งได้มีพิธีมอบปัจจัยจำนวนดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 พ.ค.51 ณ ตำหนักสมเด็จฯ วัดสระเกศ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้มอบให้แก่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
ล่าสุด มส.มีมติให้จัดงบประมาณ 800,000 บาท เพื่อจัดซื้อจีวรถวายแก่พระพม่า และให้เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ประสานกับวัดใน กทม.เพื่อช่วยระดมปัจจัยในการจัดซื้อจีวรครั้งนี้
วัดยานนาวาจัดสมโภช สถาปนาพระอารามหลวงครบ 240 ปี
• กรุงเทพฯ : พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานอำนวยการจัดงานฝ่ายบรรพชิต กล่าวว่าปี 2551 เป็นปีแห่งการสถาปนาวัดยานนาวา เป็นพระอารามหลวง ครบ 240 ปี ทางวัดจึงได้จัดพิธีสมโภชขึ้น โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯพร้อม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกร รัศมีโชติ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภช เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการจัดงานฝ่ายคฤหัสถ์ และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน ในการนี้ สมเด็จพระมหาสังฆนายกะ ประมุขแห่งสงฆ์ประเทศศรีลังกา ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาถวายเพื่อประดิษฐาน ณ วัดยานนาวา
เทศกาลสมโภชเพระอารามหลวงวัดยานนาวา ครบ 240 ปี เริ่มด้วยการบำเพ็ญมหากุศลพุทธมหามงคล เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2551 เป็นต้นไป ด้วยการ
อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุครบองค์พระสรีระจาก 8 ประเทศ ให้สักการบูชาทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-21.00 น.และมีการจัดแสดงแสง เสียง เล่าขานถึงวัด 3 กรุง แห่งนี้เป็นครั้งแรก และเปิดให้ประชาชนได้ชมทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ 19.00 น. และ 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม-15 มิถุนายน 2551 พร้อมทั้งมีกิจกรรมสวดมนต์เย็น ฟังธรรมเทศนามหาชาติ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งขันประกวดสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยและคุณบิดามารดาระดับประเทศด้วย
อนึ่ง วัดยานนาวา สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในพ.ศ. 2311 บุรพกษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรีได้ทำนุบำรุงวัดนี้สืบมา นับเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งของประเทศที่ยังคงความสวยงามจนได้ชื่อว่าพระอารามหลวงเก่าแก่แห่งลุ่มเจ้าพระยา โดยมีสัญลักษณ์ที่โดดเด่นคือ สำเภาเจดีย์ ปัจจุบันวัดยานนาวา เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
โบราณสถานพันปีเมืองเชียงแสน ไม่ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
• เชียงราย : นายนิกรณ์ เหล่าวานิช ประธานกลุ่มรักษ์เชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เปิดเผยว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน ทางกลุ่มได้ทำการลง พื้นที่ตรวจสอบแหล่งโบราณสถานเก่า ที่มีอายุร่วม 1,000 ปี ของเมือง โยนกนาคนคร รอบเขตกำแพงเมือง เดิม อำเภอเชียงแสน จำนวน 72 แห่ง และนอกเขตกำแพงเมือง 53 แห่ง ซึ่งไม่พบว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น โดยที่เจดีย์สูง กำแพงเมืองเดิม และองค์พระนวล้านตื้อขนาดใหญ่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง สามเหลี่ยมทองคำ ยังคงสภาพเดิมทุกอย่าง
นอกจากนี้ในจุดที่ตั้งวัดสำคัญ ทั้งวัดพระธาตุผาเงา วัดพระธาตุเจดีย์หลวง วัดพระธาตุป่าสัก และวัดพระธาตุจอมกิตติ ซึ่งเป็นวัดที่เคยได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 จนทำให้ยอดฉัตรหัก และองค์เจดีย์มีรอยร้าวนั้น จากการตรวจสอบโดยละเอียดพบว่าเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในจีนครั้งนี้ ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่องค์พระธาตุคู่เมืองเชียงแสนทั้ง 4 แห่ง แต่อย่างใด
ด้านเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน เผยว่า ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับโบราณสถาน และพระธาตุคู่เมืองเชียงแสน จากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ แต่ได้มีการเฝ้ารับมือการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต เนื่อง จากจังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตรอยเลื่อนแม่จัน 1 ใน 13 รอย เลื่อนทั่วประเทศ และพื้นที่อำเภอเชียงแสน เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่สามารถรับความรู้สึกจากแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว บริเวณศูนย์กลางสามเหลี่ยมทองคำ รอยต่อพรมแดนพม่า ลาว ไทย มาโดยตลอด
โพลล์ชี้เยาวชนไทยยังห่างไกลวัด แนะพ่อแม่ปลูกฝังเป็นแบบอย่าง
• กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “วัดและศาสนาในสายตาเยาวชน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชน อายุ 13-25 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,233 คน เมื่อวันที่ 2-5 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า การรับรู้ของเยาวชนต่อความสำคัญของวันวิสาขบูชา ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน พบว่า ทราบร้อยละ 44.4 ไม่ทราบ ร้อยละ 55.6 ทั้งนี้ เมื่อถาม ความรู้สึกที่มีต่อวัดว่าสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเยาวชนได้หรือไม่นั้น พบว่าร้อยละ 93.1 เห็นว่าเป็นที่พึ่งทางใจได้ ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.6 เห็นว่าในปัจจุบันนี้วัดกับเยาวชนไทยห่างไกลกันมากขึ้น โดยระบุสาเหตุเนื่องจากมีกิจกรรม อื่นที่น่าสนใจมากกว่า เช่น การเที่ยวกับเพื่อน เล่นเกมออนไลน์ เล่นอินเตอร์เน็ต และเข้าสถานบันเทิง รวมทั้งวัดไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับเยาวชน เป็นต้น ทั้งนี้ เห็นว่าวัดต้องมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ที่สามารถดึงดูดเยาวชนได้ และปลูกฝังตั้งแต่เด็กโดยเริ่มที่พ่อแม่สอนและทำเป็นแบบอย่าง
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย มรรคา)