ได้อธิบาย ปรมธรรม ๒ อย่าง คือ ความหิวเป็นปรมโรค ๑ สังขารเป็นปรมทุกข์ ๑ แล้วก็แยกแยะโรคกาย โรคใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และการทำให้หายจากความหิว ทำให้พ้นทุกข์ ได้ละเอียดถี่ถ้วนพอควร มาตอนนี้ เกือบจะไม่มีอะไรอธิบายอีกแล้ว แต่เป็นโอกาสที่พวกเราจะทำกัมมัฏฐานภาวนากัน ฉะนั้น จึงจะอธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อทวนความจำ แท้จริงการฟังธรรม ถ้าเราฟังเป็น หยั่งถึงรสของพระสัทธรรมแล้ว ไม่มีการเบื่อ ยิ่งฟังก็ยิ่งซาบซึ้งดึงดูดให้ชวนฟังอยู่เสมอ สมกับพระพุทธพจน์ว่า สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ รสของพระธรรมชนะเสียซึ่งรสทั้งปวง ดังนี้
จริงอยู่ การฟังธรรมที่ไม่มีรสชาติ อาจเป็นเพราะหัวข้อธรรมที่ไม่ตรงกับอารมณ์ของเรา หรือความบกพร่องของ ผู้แสดงบางอย่างบางประการก็ได้ แต่นั่นก็ไม่สำคัญนัก ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ตัวผู้ที่รับฟัง ถ้าผู้ฟังยังเป็นโรคหิวอยู่แล้ว จะฟังเท่าไรๆ ก็ไม่ซึมซาบเข้าถึงใจ เหมือนกับคนเป็นไข้ ไข้ยังไม่สร่างตราบใด รับประทานอาหารก็ยังไม่มีรสชาติอยู่ตราบนั้น เมื่อเขาหายจากไข้ สุขภาพสมบูรณ์ดีแล้ว อาหารทุกชนิด แม้แต่น้ำพริกผักต้มก็จะเป็นที่โปรดของเขา...
ฉะนั้น ก่อนจะฟังธรรมไม่ว่า ณ ที่ใดๆ จงได้รักษาโรคหิวให้หายก่อนด้วยการทำความสงบอบรมสมถะให้ถูกต้องตามวิถีแห่งสมณะ แล้วพึงทำความพอใจในหัวข้อธรรมที่ฟังอยู่นั้น จึงจะซาบซึ้งดึงดูดเข้าถึงจิตใจ เพราะธรรมเป็นของสงบ ถ้าจิตของเราไม่สงบแล้ว ธรรมอันสงบก็จะไม่ปรากฏขึ้นที่ใจ เมื่อใจของเราสงบอย่างเดียวเท่านั้น ธรรมอันสงบที่แท้จริงก็จะเป็นของเราไปด้วย เหมือนกระจกหรือน้ำที่ใสสะอาด หากยังไม่นิ่งเป็นปกติแล้ว เงาหน้าจะไม่ปรากฏ หรือปรากฏก็จะไม่ชัดเลย เมื่อใจของเราสงบเป็นรากฐานที่ตั้งของธรรมแล้ว สิ่งทั้งหมดในโลกที่เราสมมติว่าโลก ก็จะกลายเป็นธรรมให้เราเห็นแจ้งด้วยตนเอง...
ความหิวเป็นอาการกลวงของจิต จึงเป็นโรคไม่รู้จักอิ่ม ตาเห็นรูปก็ไม่มีฟิล์มติดภาพไว้ หูฟังเสียงก็ไม่มีเทปอัดไว้ ดูแล้วหายไป ฟังแล้วสูญไป จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เช่น เดียวกัน ไม่มีเครื่องเก็บและที่จะเก็บไว้ เรียกว่า อายตนะแปลว่า บ่อเกิด คือบ่อเกิดแห่งรูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์อยู่เป็นนิตย์ เหมือนบ่อน้ำไม่รู้แห้งฉะนั้น แต่อายตนะเหล่านั้นไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย เหมือนกับน้ำบ่อ คนทั้งบ้านทั้งเมืองไปตักไปขนเอาน้ำมาบริโภคใช้สอย แต่บ่อก็มิได้ผลอะไรตอบแทน แม้บางครั้งบ่อแห้งไม่มีน้ำ หาผู้จะไปรื้อไปขุดก็ทั้งยาก มิหนำซ้ำยังโทษว่าบ่ออดน้ำ อีกด้วย
ความหิวความไม่พอเป็นบ่อของโรคอีกมากมาย โรคโลภ โรคโกรธ โรคหลง เกิดจากหิวนี้ทั้งนั้น เพราะตาเป็นของกลวง หิวอยากดูรูป เห็นรูปสวยรูปงาม เห็นแล้วก็หายไป ไม่มีที่เก็บ ไว้จึงไม่รู้จักอิ่มจักพอ จึงหิวในการดูอยู่เสมอ ความหิวทำ ให้เกิดโรคโลภอยากดูอยู่ไม่รู้สิ้นรู้สุด ดูรูปนี้ซึ่งเป็นของไม่ รู้จักอิ่มอยู่แล้ว ความอยากดูรูปอื่นก็ประดังมา ได้รูปนี้แล้ว ซึ่งรูปนั้นก็มิใช่เข้าไปตั้งอยู่ในหัวใจ แต่มันก็เป็นของภายนอก ตั้งแสดงให้ดูอยู่ดีๆ นี่แหละ แล้วก็อยากได้รูปอื่นเช่นเดียว กันนั่นแหละอีก ตาของแต่ละคนก็มีความหิว กลวงอยู่ด้วยกันไม่รู้จักอิ่มเหมือนกัน มีความอยากไม่รู้จักพอเหมือนกัน หากหิวต่อหิว กลวงต่อกลวงมากๆ ไปพบกันเข้าแล้วทีนี้ผล จะเป็นอย่างไร แน่นอน นั่นมันก็หมายถึงศึกกลางเมืองจะต้องเกิดขึ้นแล้ว หนุ่มๆ สาวๆ เกิดสงคราม รักก็เพราะความ หิวพรรค์นี้เป็นมูลเหตุทั้งนั้น คนมีคนรวยผู้มีเกียรติมีหน้าพาให้สมบัติล่มจมบ้านเมืองเดือดร้อน ประชาราษฎรนอนตาไม่หลับก็เพราะความหิวพรรค์นี้เป็นมูลเหตุ สมณะ ชี พราหมณ์ ละเพศ รื้อปราสาทลงอยู่ในกระต๊อบมุงจากเพียงชั่วตับเดียว ก็เรื่องนี้ทั้งนั้น
โลกอันนี้ทั้งโลกที่เดือดร้อนอยู่ตลอดเป็นนิตย์ เหมือนกับไฟสุมแกลบไม่หมดเชื้อ ดับไม่เป็น ก็เพราะโรคหิวนี้เป็นต้นเหตุ โรคหิวกลวงใน มีความอยากไม่รู้จักอิ่ม มิใช่ทำ ทุกข์ให้เกิดขึ้นแต่เฉพาะตัวเองเท่านั้น แต่ยังแพร่โรคนั้นกระจายกว้างขวางออกไปทั่วขอบโลกอีกด้วย
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา ข้อที่สอง ซึ่งแปลว่า สังขารเป็นปรมทุกข์อย่างยิ่ง สังขารได้อธิบายแล้วว่ามี ๒ อย่าง คือรูปสังขาร ได้แก่ ตัวเรานี้ ๑ นามสังขาร ได้แก่ อาการของจิต ๑ นามสังขารจัดเข้าในประเภทของความหิว ดังอธิบายมาแล้วนั้น
แต่นี้จะได้อธิบาย รูปสังขาร ซึ่งอุปมาเหมือนกับบ่อน้ำ หรือสนามกีฬา อันสนามกีฬานั้น ไม่ว่านักกีฬาชุดไหนประเภทไหน เมื่อต้องการความสนุกหรือชิงชนะกันแล้วจะต้องมาลงที่สนามทั้งนั้น สนามคือก้อนกายนี้ก็เช่นเดียวกัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นประตูชัยชนะของนักกีฬา แต่ตา หู จมูก เป็นต้น ถึงเขาจะได้ชัยชนะกี่ครั้งกี่ที พวกเหล่านั้นก็ไม่ได้รับรู้อะไรกับเขาเลย
ตา ดูรูปสวยๆ ดูไปเถิด ดูจนตาเจ็บตามัว เขาก็ไม่ยอมให้หยุด มันเป็นฝ้าดูไม่ถนัดเขาก็หาแว่นมาสวม บางทีมืดไปเขาก็ไปลอก เจ็บเขาก็ใช้บังคับไม่ยอมให้หยุด เขาจะแต่งเอาใช้จนได้
หู ก็เช่นเดียวกัน เขาจะต้องใช้ฟังเสียงเรื่อยไป พอฟังไม่ถนัดชัดเจน เขาชักไม่พอใจแล้ว นั่ง นอน ยืน เดิน รับประทานอาหารอยู่ แม้ทำอุจจาระกิจอยู่ซึ่งไม่น่าจะใช้กันเลย เขาก็ไม่ยอมพักฟัง
จมูก ยิ่งรับภาระหนักมาก ชีวิตเป็นตายอยู่ที่เขาคนเดียว พร้อมกันนั้นกลิ่นเหม็นและหอมไม่ยอมให้ผ่านหน้าที่ไปได้เลย ต้องรายงานเขาเสียก่อน มีเวลาสบายนิดหน่อยตอนที่นอนหลับ ทำงานหน้าที่เดียวคือหายใจเข้าและหายใจออก เท่านั้น
ลิ้น เป็นอวัยวะที่อ่อนละเอียด และทำงานสมบุกสมบันตรากตรำต่อสู้แดดฝนไม่ไหว ถึงแม้จะทำงานอยู่ในปาก แต่ก็ไม่พ้นหมู่คู่ยาก คือฟัน รังแกเป็นบางคราว รสเปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรๆ ก็พอสู้ได้ อ้ายเผ็ดนี่มันเหลือทน บางทีทำเอาเจ้าลิ้นล่อน้ำตาร่วงเลยก็มี
กาย ก็รับภาระหนักไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจมูกเลย จมูกยังทำงานประเภทลมๆแล้งๆไม่เป็นตนเป็นตัวอะไร แต่กายนี้รับภาระหนักมาก หู ตา แขน ขา จมูก และลิ้น แม้ที่สุดแต่ผมเส้นเล็กๆ ยังเอามาฝากกับกาย กายถ้าจะเปรียบแล้ว ก็เหมือนรถเสบียงเลย ถ้ารถชำรุดหักพังเสีย ของที่บรรทุกไปนั้นจะต้องเสียหายด้วยกันทั้งหมด จึงจัดได้ว่าเป็นปรมทุกข์อย่างยิ่ง
ส่วน นามสังขาร ก็มีส่วนสัมพันธ์กับ รูปสังขาร อย่างยิ่ง ทั้งสองเป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ใกล้ชิดสนิทสนมกันมาตั้งแต่ปฏิสนธิ เพื่อนชนิดนี้หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในโลกนี้ เกือบจะว่าเป็นคนคนเ?ดียวกันเสียเลยก็ว่าได้ เมื่อกายเจ็บเป็นทุกข์เดือดร้อนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ใจเขาก็พลอยเป็นทุกข์ตรอมใจไปด้วย เมื่อกายมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ใจก็พลอยร่าเริงบันเทิงสุขไปด้วย เมื่อเป็นทุกข์เศร้าโศกกลุ้มใจ กายก็ซูบซีดผอมเหลืองตามกันไป เมื่อใจสนุกร่าเริงบันเทิงดี กายก็แสดงอาการหัวเราะยิ้มแย้มแถมน้ำหูน้ำตาเป็นของขวัญอีกด้วย ตกลงทั้งสองเป็นคู่ครองสุขทุกข์กันมาแต่แรกปฏิสนธิ
สรุปแล้ว ความหิวอันเกิดจากความต้องการของรูปกาย ก็เป็นเพียงอาการของโรคชนิดหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะเมื่อรูปกายอันนี้ตั้งอยู่ เมื่อรูปกายอันนี้แตกดับลงไปแล้ว โรคคือความหิวนั้นก็ดับดิ้นสุดลงเพียงแค่นั้น ไม่มีใครได้ใครเสีย
ความหิวของใจซึ่งใช้อายตนะทั้ง ๖ เป็นสื่อ ก็ไม่รู้จักอิ่มจักพอ เพราะไม่มีที่เก็บรักษา รับมาแล้วสูญหายไป เมื่ออายตนะทั้ง ๖ ยังมีอยู่ ก็มีอาการอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป เหมือนกับลูกน้ำเต้าเปล่า ลมพัดมาก็ดังขึ้น เมื่อลมไม่มีมันก็เปล่าอยู่อย่างนั้น
ผลที่สุดอาการดังว่านั้น มารวมอยู่ที่สังขาร สังขารทั้งสองเป็นผู้รับภาระโดยสิ้นเชิง แต่สังขารก็เหมือนกับสนามกีฬาอีกล่ะ เมื่อนักกีฬาลงสู่สนามกำชัยชนะได้แล้ว เขาเลิกกันไป นักกีฬาก็เป็นนักกีฬาอยู่ตามเดิม สนามก็เป็นสนามอยู่เช่นเคย
กิเลสกองทุกข์เกิดขึ้นเพราะอุปาทานเข้าไปยึดขันธ์เอามาเป็นตัว เมื่อมาพิจารณาให้รู้เท่าเข้าใจตามสภาพความเป็น จริงของมันแล้วปล่อยวางเสีย กองทุกข์และกิเลสทั้งหลายก็ดับสูญไป ไม่มีที่ตั้ง ความหิวและทุกข์แห่งสังขารก็ไม่มี เรื่องทั้งหลายก็สักแต่ว่าแสดงอาการขึ้นมาในเมื่อของสิ่งนั้นๆ ยังมีอยู่ พอเหตุแห่งนั้นๆ ดับไปด้วยปัญญาอันชอบแล้ว เรื่องทั้งหมดสิ้นไปด้วยกัน แม้แต่ปัญญาผู้ทำหน้าที่ดับเหตุนั้นก็ไม่ต้องใช้ต่อไป
ฉะนั้น หวังว่าทุกๆ คนคงจะพากันหยิบยกเอาหัวข้อธรรมที่แสดงมานี้ขึ้นมาพิจารณาให้เกิดปัญญารู้เฉพาะตนของตนเพื่อผลดีแก่การปฏิบัติ
(แสดงธรรม ณ วัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต วันที่ ๑๓สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
จริงอยู่ การฟังธรรมที่ไม่มีรสชาติ อาจเป็นเพราะหัวข้อธรรมที่ไม่ตรงกับอารมณ์ของเรา หรือความบกพร่องของ ผู้แสดงบางอย่างบางประการก็ได้ แต่นั่นก็ไม่สำคัญนัก ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ตัวผู้ที่รับฟัง ถ้าผู้ฟังยังเป็นโรคหิวอยู่แล้ว จะฟังเท่าไรๆ ก็ไม่ซึมซาบเข้าถึงใจ เหมือนกับคนเป็นไข้ ไข้ยังไม่สร่างตราบใด รับประทานอาหารก็ยังไม่มีรสชาติอยู่ตราบนั้น เมื่อเขาหายจากไข้ สุขภาพสมบูรณ์ดีแล้ว อาหารทุกชนิด แม้แต่น้ำพริกผักต้มก็จะเป็นที่โปรดของเขา...
ฉะนั้น ก่อนจะฟังธรรมไม่ว่า ณ ที่ใดๆ จงได้รักษาโรคหิวให้หายก่อนด้วยการทำความสงบอบรมสมถะให้ถูกต้องตามวิถีแห่งสมณะ แล้วพึงทำความพอใจในหัวข้อธรรมที่ฟังอยู่นั้น จึงจะซาบซึ้งดึงดูดเข้าถึงจิตใจ เพราะธรรมเป็นของสงบ ถ้าจิตของเราไม่สงบแล้ว ธรรมอันสงบก็จะไม่ปรากฏขึ้นที่ใจ เมื่อใจของเราสงบอย่างเดียวเท่านั้น ธรรมอันสงบที่แท้จริงก็จะเป็นของเราไปด้วย เหมือนกระจกหรือน้ำที่ใสสะอาด หากยังไม่นิ่งเป็นปกติแล้ว เงาหน้าจะไม่ปรากฏ หรือปรากฏก็จะไม่ชัดเลย เมื่อใจของเราสงบเป็นรากฐานที่ตั้งของธรรมแล้ว สิ่งทั้งหมดในโลกที่เราสมมติว่าโลก ก็จะกลายเป็นธรรมให้เราเห็นแจ้งด้วยตนเอง...
ความหิวเป็นอาการกลวงของจิต จึงเป็นโรคไม่รู้จักอิ่ม ตาเห็นรูปก็ไม่มีฟิล์มติดภาพไว้ หูฟังเสียงก็ไม่มีเทปอัดไว้ ดูแล้วหายไป ฟังแล้วสูญไป จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เช่น เดียวกัน ไม่มีเครื่องเก็บและที่จะเก็บไว้ เรียกว่า อายตนะแปลว่า บ่อเกิด คือบ่อเกิดแห่งรูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์อยู่เป็นนิตย์ เหมือนบ่อน้ำไม่รู้แห้งฉะนั้น แต่อายตนะเหล่านั้นไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย เหมือนกับน้ำบ่อ คนทั้งบ้านทั้งเมืองไปตักไปขนเอาน้ำมาบริโภคใช้สอย แต่บ่อก็มิได้ผลอะไรตอบแทน แม้บางครั้งบ่อแห้งไม่มีน้ำ หาผู้จะไปรื้อไปขุดก็ทั้งยาก มิหนำซ้ำยังโทษว่าบ่ออดน้ำ อีกด้วย
ความหิวความไม่พอเป็นบ่อของโรคอีกมากมาย โรคโลภ โรคโกรธ โรคหลง เกิดจากหิวนี้ทั้งนั้น เพราะตาเป็นของกลวง หิวอยากดูรูป เห็นรูปสวยรูปงาม เห็นแล้วก็หายไป ไม่มีที่เก็บ ไว้จึงไม่รู้จักอิ่มจักพอ จึงหิวในการดูอยู่เสมอ ความหิวทำ ให้เกิดโรคโลภอยากดูอยู่ไม่รู้สิ้นรู้สุด ดูรูปนี้ซึ่งเป็นของไม่ รู้จักอิ่มอยู่แล้ว ความอยากดูรูปอื่นก็ประดังมา ได้รูปนี้แล้ว ซึ่งรูปนั้นก็มิใช่เข้าไปตั้งอยู่ในหัวใจ แต่มันก็เป็นของภายนอก ตั้งแสดงให้ดูอยู่ดีๆ นี่แหละ แล้วก็อยากได้รูปอื่นเช่นเดียว กันนั่นแหละอีก ตาของแต่ละคนก็มีความหิว กลวงอยู่ด้วยกันไม่รู้จักอิ่มเหมือนกัน มีความอยากไม่รู้จักพอเหมือนกัน หากหิวต่อหิว กลวงต่อกลวงมากๆ ไปพบกันเข้าแล้วทีนี้ผล จะเป็นอย่างไร แน่นอน นั่นมันก็หมายถึงศึกกลางเมืองจะต้องเกิดขึ้นแล้ว หนุ่มๆ สาวๆ เกิดสงคราม รักก็เพราะความ หิวพรรค์นี้เป็นมูลเหตุทั้งนั้น คนมีคนรวยผู้มีเกียรติมีหน้าพาให้สมบัติล่มจมบ้านเมืองเดือดร้อน ประชาราษฎรนอนตาไม่หลับก็เพราะความหิวพรรค์นี้เป็นมูลเหตุ สมณะ ชี พราหมณ์ ละเพศ รื้อปราสาทลงอยู่ในกระต๊อบมุงจากเพียงชั่วตับเดียว ก็เรื่องนี้ทั้งนั้น
โลกอันนี้ทั้งโลกที่เดือดร้อนอยู่ตลอดเป็นนิตย์ เหมือนกับไฟสุมแกลบไม่หมดเชื้อ ดับไม่เป็น ก็เพราะโรคหิวนี้เป็นต้นเหตุ โรคหิวกลวงใน มีความอยากไม่รู้จักอิ่ม มิใช่ทำ ทุกข์ให้เกิดขึ้นแต่เฉพาะตัวเองเท่านั้น แต่ยังแพร่โรคนั้นกระจายกว้างขวางออกไปทั่วขอบโลกอีกด้วย
สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา ข้อที่สอง ซึ่งแปลว่า สังขารเป็นปรมทุกข์อย่างยิ่ง สังขารได้อธิบายแล้วว่ามี ๒ อย่าง คือรูปสังขาร ได้แก่ ตัวเรานี้ ๑ นามสังขาร ได้แก่ อาการของจิต ๑ นามสังขารจัดเข้าในประเภทของความหิว ดังอธิบายมาแล้วนั้น
แต่นี้จะได้อธิบาย รูปสังขาร ซึ่งอุปมาเหมือนกับบ่อน้ำ หรือสนามกีฬา อันสนามกีฬานั้น ไม่ว่านักกีฬาชุดไหนประเภทไหน เมื่อต้องการความสนุกหรือชิงชนะกันแล้วจะต้องมาลงที่สนามทั้งนั้น สนามคือก้อนกายนี้ก็เช่นเดียวกัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นประตูชัยชนะของนักกีฬา แต่ตา หู จมูก เป็นต้น ถึงเขาจะได้ชัยชนะกี่ครั้งกี่ที พวกเหล่านั้นก็ไม่ได้รับรู้อะไรกับเขาเลย
ตา ดูรูปสวยๆ ดูไปเถิด ดูจนตาเจ็บตามัว เขาก็ไม่ยอมให้หยุด มันเป็นฝ้าดูไม่ถนัดเขาก็หาแว่นมาสวม บางทีมืดไปเขาก็ไปลอก เจ็บเขาก็ใช้บังคับไม่ยอมให้หยุด เขาจะแต่งเอาใช้จนได้
หู ก็เช่นเดียวกัน เขาจะต้องใช้ฟังเสียงเรื่อยไป พอฟังไม่ถนัดชัดเจน เขาชักไม่พอใจแล้ว นั่ง นอน ยืน เดิน รับประทานอาหารอยู่ แม้ทำอุจจาระกิจอยู่ซึ่งไม่น่าจะใช้กันเลย เขาก็ไม่ยอมพักฟัง
จมูก ยิ่งรับภาระหนักมาก ชีวิตเป็นตายอยู่ที่เขาคนเดียว พร้อมกันนั้นกลิ่นเหม็นและหอมไม่ยอมให้ผ่านหน้าที่ไปได้เลย ต้องรายงานเขาเสียก่อน มีเวลาสบายนิดหน่อยตอนที่นอนหลับ ทำงานหน้าที่เดียวคือหายใจเข้าและหายใจออก เท่านั้น
ลิ้น เป็นอวัยวะที่อ่อนละเอียด และทำงานสมบุกสมบันตรากตรำต่อสู้แดดฝนไม่ไหว ถึงแม้จะทำงานอยู่ในปาก แต่ก็ไม่พ้นหมู่คู่ยาก คือฟัน รังแกเป็นบางคราว รสเปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรๆ ก็พอสู้ได้ อ้ายเผ็ดนี่มันเหลือทน บางทีทำเอาเจ้าลิ้นล่อน้ำตาร่วงเลยก็มี
กาย ก็รับภาระหนักไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจมูกเลย จมูกยังทำงานประเภทลมๆแล้งๆไม่เป็นตนเป็นตัวอะไร แต่กายนี้รับภาระหนักมาก หู ตา แขน ขา จมูก และลิ้น แม้ที่สุดแต่ผมเส้นเล็กๆ ยังเอามาฝากกับกาย กายถ้าจะเปรียบแล้ว ก็เหมือนรถเสบียงเลย ถ้ารถชำรุดหักพังเสีย ของที่บรรทุกไปนั้นจะต้องเสียหายด้วยกันทั้งหมด จึงจัดได้ว่าเป็นปรมทุกข์อย่างยิ่ง
ส่วน นามสังขาร ก็มีส่วนสัมพันธ์กับ รูปสังขาร อย่างยิ่ง ทั้งสองเป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ใกล้ชิดสนิทสนมกันมาตั้งแต่ปฏิสนธิ เพื่อนชนิดนี้หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในโลกนี้ เกือบจะว่าเป็นคนคนเ?ดียวกันเสียเลยก็ว่าได้ เมื่อกายเจ็บเป็นทุกข์เดือดร้อนกินไม่ได้นอนไม่หลับ ใจเขาก็พลอยเป็นทุกข์ตรอมใจไปด้วย เมื่อกายมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ ใจก็พลอยร่าเริงบันเทิงสุขไปด้วย เมื่อเป็นทุกข์เศร้าโศกกลุ้มใจ กายก็ซูบซีดผอมเหลืองตามกันไป เมื่อใจสนุกร่าเริงบันเทิงดี กายก็แสดงอาการหัวเราะยิ้มแย้มแถมน้ำหูน้ำตาเป็นของขวัญอีกด้วย ตกลงทั้งสองเป็นคู่ครองสุขทุกข์กันมาแต่แรกปฏิสนธิ
สรุปแล้ว ความหิวอันเกิดจากความต้องการของรูปกาย ก็เป็นเพียงอาการของโรคชนิดหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะเมื่อรูปกายอันนี้ตั้งอยู่ เมื่อรูปกายอันนี้แตกดับลงไปแล้ว โรคคือความหิวนั้นก็ดับดิ้นสุดลงเพียงแค่นั้น ไม่มีใครได้ใครเสีย
ความหิวของใจซึ่งใช้อายตนะทั้ง ๖ เป็นสื่อ ก็ไม่รู้จักอิ่มจักพอ เพราะไม่มีที่เก็บรักษา รับมาแล้วสูญหายไป เมื่ออายตนะทั้ง ๖ ยังมีอยู่ ก็มีอาการอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป เหมือนกับลูกน้ำเต้าเปล่า ลมพัดมาก็ดังขึ้น เมื่อลมไม่มีมันก็เปล่าอยู่อย่างนั้น
ผลที่สุดอาการดังว่านั้น มารวมอยู่ที่สังขาร สังขารทั้งสองเป็นผู้รับภาระโดยสิ้นเชิง แต่สังขารก็เหมือนกับสนามกีฬาอีกล่ะ เมื่อนักกีฬาลงสู่สนามกำชัยชนะได้แล้ว เขาเลิกกันไป นักกีฬาก็เป็นนักกีฬาอยู่ตามเดิม สนามก็เป็นสนามอยู่เช่นเคย
กิเลสกองทุกข์เกิดขึ้นเพราะอุปาทานเข้าไปยึดขันธ์เอามาเป็นตัว เมื่อมาพิจารณาให้รู้เท่าเข้าใจตามสภาพความเป็น จริงของมันแล้วปล่อยวางเสีย กองทุกข์และกิเลสทั้งหลายก็ดับสูญไป ไม่มีที่ตั้ง ความหิวและทุกข์แห่งสังขารก็ไม่มี เรื่องทั้งหลายก็สักแต่ว่าแสดงอาการขึ้นมาในเมื่อของสิ่งนั้นๆ ยังมีอยู่ พอเหตุแห่งนั้นๆ ดับไปด้วยปัญญาอันชอบแล้ว เรื่องทั้งหมดสิ้นไปด้วยกัน แม้แต่ปัญญาผู้ทำหน้าที่ดับเหตุนั้นก็ไม่ต้องใช้ต่อไป
ฉะนั้น หวังว่าทุกๆ คนคงจะพากันหยิบยกเอาหัวข้อธรรมที่แสดงมานี้ขึ้นมาพิจารณาให้เกิดปัญญารู้เฉพาะตนของตนเพื่อผลดีแก่การปฏิบัติ
(แสดงธรรม ณ วัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต วันที่ ๑๓สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)