นักการตลาดยุคใหม่มักจะมองหาและเจาะไปที่ตลาดใหม่ๆ เพื่อหลีกหนีคู่แข่งขันที่นับวันมี แต่จะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะ ‘ตลาดบุญ’ หรือตลาด ที่เกี่ยวโยงกับพุทธศาสนานั้นยังไม่เคยมีใครวิจัยว่ามูลค่าตลาดโดยรวมมากน้อยเพียงใด เพียงมองแค่อัตราการเติบโตของตลาดสังฆทานที่ยอดขายแต่ละปีไม่ต่ำกว่าหลายร้อยล้านบาท ก็ยั่วน้ำลายให้นักการตลาดหลายคนไม่กล้ามองข้าม
นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคที่จับรวมกันใส่ถังออกมาเป็นสังฆทานแล้ว หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าจะมีอะไรที่สามารถเจาะเข้าไปในตลาดบุญนี้ได้อีก ล่าสุดมีพ่อค้าหัวใสนำ ‘จีวรกันยุง’ อันเป็นผลิตภัณฑ์ไฮเทค ภายใต้แบรนด์ ‘เมตตาคุณ’ ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างสมุนไพรไทยแท้แต่โบราณ และ เทคโนโลยี มาไว้บนเส้นใยผ้า โดยมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ไฮเทคนี้ เล่าถึง วัตถุประสงค์ในการผลิตจีวรกันยุงสำหรับพระสงฆ์ ว่า มีจุดเริ่มต้นมาจากลูกค้าของบริษัทที่ไปนั่งวิปัสสนาในป่าในเขา แล้วถูกยุงกัด จึงอยากให้บริษัทผลิตเป็นเสื้อขาวกันยุงสำหรับประกอบกิจกรรมทำสมาธิและวิปัสสนา จากนั้นทางบริษัทจึงได้ริเริ่มคิดค้นผลิตเสื้อผ้ากันยุงขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ จนกระทั่งมาถึงการผลิตจีวรกันยุงสำหรับพระสงฆ์ โดยทีมงานได้ใช้ระยะเวลาในการค้นคว้าและวิจัยนานถึง 8 เดือนเพื่อคิดค้นให้สินค้ามีประสิทธิภาพและไม่เป็นพิษภัยต่อผู้สวมใส่และสิ่งแวดล้อม
“จีวรกันยุงในตลาด ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันกันน้อยมาก แต่เมื่อผลิตออกมาแล้วคาดว่าจะมีความต้องการใช้สูง เพราะจากผลการทำวิจัยเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีพระภิกษุและสามเณรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการศาสนาทั้งหมดประมาณ 400,000 รูปทั้งมหานิกาย และธรรมยุต โดยพระภิกษุ 1 รูป จะมีผ้าจีวรอย่างน้อยรูปละ 2 ชุด จึงทำให้มีมูลค่าตลาดสูง ถึง 2,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่ได้รวมกับวัดไทย ในต่างประเทศ”
ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้นักธุรกิจหนุ่มคนนี้หันมาผลิตจีวรกันยุงอย่างเป็นจริงเป็นจัง โดยได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงและสมุนไพรไทย คิดค้นผลิตภัณฑ์นี้ขึ้น มาภายใต้คอนเซ็ปต์ การนำสมุนไพรไทยมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลั่นออกมาเป็นสมุนไพรกันยุง นำมาเคลือบบนผ้าจีวร
“นวัตกรรมสิ่งทอชนิดใหม่นี้เป็นการนำภูมิปัญญาของคนไทยตั้งแต่ดั้งเดิมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย 100% ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดอัตราการกัดของยุงได้เป็นอย่างดี จึงสามารถช่วยลดอัตราการกัดของยุงได้ถึง 97% โดยน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรไทยนี้จะระเหยออกมาจากเส้นใย เพื่อมารบกวนประสาทการรับรู้ของยุง ทำให้ยุงไม่สามารถรับรู้ว่าภายใต้ผ้ากันยุงเป็นผิว หนังของมนุษย์ โดยมีอายุการใช้งานได้นานถึง 1 ปี หรือซักประมาณ 50 ครั้ง เพราะสมุนไพรจะค่อยๆแตกตัวและระเหยออกมา ที่สำคัญที่สุด ยังไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่เพราะเป็นสมุนไพรไทยแท้”
วิศัลย์อธิบายต่อว่าจีวรกันยุงนี้ได้ผ่านการรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะจากการทดสอบ หลายครั้งในห้องทดลอง เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกันยุงที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่แก่ผู้รักสุขภาพ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงจากโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ ที่สำคัญนวัตกรรมนี้ยังถือเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง เพราะการที่เราไม่เบียดเบียนชีวิตของยุงด้วยการฆ่ามันก็ถือว่าเป็นกุศลอันประเสริฐที่สุด
“เราได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของจีวรกันยุง ด้วยการนำยุงลาย ยุงเสือ และยุงรำคาญ ไปปล่อยไว้ในห้องทดลอง แล้วให้ผู้ทดลองสวมใส่จีวรกันยุง กับผู้ ที่ไม่ได้สวมใส่จีวรกันยุง เข้าไปอยู่ในห้องเดียวกัน ผลปรากฏว่าจำนวนยุงที่กัดผู้สวมใส่จีวรกันยุงแทบจะไม่มีเลย ถ้าเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สวมใส่ และการทดลองอีกประการหนึ่งก็คือการทดสอบในกล่องขนาด 1x1 เมตร ที่มียุงอยู่ โดยนำผ้ากันยุงมาเย็บเป็นถุงมือให้คนสวมใส่แล้วยื่นเข้าไปในห้องที่มียุงอยู่ มาเปรียบเทียบ กับผู้ที่ไม่ได้ใส่ถุงมือ ปรากฏว่าคนที่ใส่ถุงมือกันยุงสามารถกันยุงได้ประมาณ 90 %”
ผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างจุดขายของสินค้าให้มีความแตกต่างนั้น วิศัลย์เผยว่า หลังจากที่บริษัทได้คิด ค้นผลิตภัณฑ์จีวรกันยุง ผลปรากฏว่าสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และสร้างกำไรให้กับบริษัทได้เป็น กอบเป็นกำ จากเดิมผ้าไตรจีวร 1 ชุดสนนราคาจะอยู่ 1,000 บาทต้นๆ แต่หลังจากที่ได้พัฒนาสินค้าขึ้นมาแล้ว ทำให้ราคาผ้าไตรจีวรมีราคาสูงถึง 1,800-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของผ้าไตรจีวร 1 ผืน โดยแบ่งออกเป็น 3 สีด้วยกัน คือ สีราชนิยม สีเหลืองทอง และสีกรักหรือสีแก่นขนุน
“ปกติผลิตภัณฑ์จีวรกันยุงมีการแข่งขันกันในเรื่องของราคาสูงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่เราใส่ใจในวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ผลิต รวมทั้งการคิดค้นนวัตกรรมและฟังก์ชั่นใหม่ให้กับสินค้า ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ไม่น้อย เราต้องยอมรับว่าจีวรกันยุงของเรา มีราคาแพงกว่าจีวรทั่วไปประมาณ 10-20% แต่นั่นถือ ว่าเป็นจุดขายที่สำคัญของเรา เพราะเราเน้นที่คุณภาพและความปลอดภัยของผู้สวมใส่”
กระแสความฮิตของจีวรกันยุงนี้ ล่าสุดวิศัลย์เปิดเผย ว่า ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่า และ อินเดีย ได้มีการติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปวางจำหน่ายแล้ว รวมทั้งในอนาคตอันใกล้นี้จะทำการตลาดบุกไปยังประเทศกัมพูชาอีกด้วย
“ลูกค้าเป้าหมายของเราส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตลาดบนคือกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากสินค้ามีราคาค่อนข้างแพง เพื่อซื้อไปถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ออกไปธุดงค์ตามป่าเขา รวมทั้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสังฆภัณฑ์ และห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป และเรากำลังวางแผนการตลาดไปวางจำหน่ายที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัดไทยอยู่ในประเทศนั้นด้วย” วิศัลย์ อธิบาย
นี่จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของพุทธศาสนิกชนทุกคนในการทำบุญ เพราะนอกจากจะได้อิ่มบุญกันแล้ว ยังอิ่มใจที่ไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ ก็ตาม เพราะถือเป็นอีกหนึ่งชีวิต เช่นเดียวกับมนุษย์ทุกคน
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดย ศศิวิมล แถวเพชร)
นอกจากสินค้าอุปโภคบริโภคที่จับรวมกันใส่ถังออกมาเป็นสังฆทานแล้ว หลายคนอาจจะนึกไม่ออกว่าจะมีอะไรที่สามารถเจาะเข้าไปในตลาดบุญนี้ได้อีก ล่าสุดมีพ่อค้าหัวใสนำ ‘จีวรกันยุง’ อันเป็นผลิตภัณฑ์ไฮเทค ภายใต้แบรนด์ ‘เมตตาคุณ’ ที่เป็นการผสมผสานกันระหว่างสมุนไพรไทยแท้แต่โบราณ และ เทคโนโลยี มาไว้บนเส้นใยผ้า โดยมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
วิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ไฮเทคนี้ เล่าถึง วัตถุประสงค์ในการผลิตจีวรกันยุงสำหรับพระสงฆ์ ว่า มีจุดเริ่มต้นมาจากลูกค้าของบริษัทที่ไปนั่งวิปัสสนาในป่าในเขา แล้วถูกยุงกัด จึงอยากให้บริษัทผลิตเป็นเสื้อขาวกันยุงสำหรับประกอบกิจกรรมทำสมาธิและวิปัสสนา จากนั้นทางบริษัทจึงได้ริเริ่มคิดค้นผลิตเสื้อผ้ากันยุงขึ้นมาในรูปแบบต่างๆ จนกระทั่งมาถึงการผลิตจีวรกันยุงสำหรับพระสงฆ์ โดยทีมงานได้ใช้ระยะเวลาในการค้นคว้าและวิจัยนานถึง 8 เดือนเพื่อคิดค้นให้สินค้ามีประสิทธิภาพและไม่เป็นพิษภัยต่อผู้สวมใส่และสิ่งแวดล้อม
“จีวรกันยุงในตลาด ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการแข่งขันกันน้อยมาก แต่เมื่อผลิตออกมาแล้วคาดว่าจะมีความต้องการใช้สูง เพราะจากผลการทำวิจัยเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีพระภิกษุและสามเณรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการศาสนาทั้งหมดประมาณ 400,000 รูปทั้งมหานิกาย และธรรมยุต โดยพระภิกษุ 1 รูป จะมีผ้าจีวรอย่างน้อยรูปละ 2 ชุด จึงทำให้มีมูลค่าตลาดสูง ถึง 2,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่ได้รวมกับวัดไทย ในต่างประเทศ”
ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้นักธุรกิจหนุ่มคนนี้หันมาผลิตจีวรกันยุงอย่างเป็นจริงเป็นจัง โดยได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงและสมุนไพรไทย คิดค้นผลิตภัณฑ์นี้ขึ้น มาภายใต้คอนเซ็ปต์ การนำสมุนไพรไทยมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลั่นออกมาเป็นสมุนไพรกันยุง นำมาเคลือบบนผ้าจีวร
“นวัตกรรมสิ่งทอชนิดใหม่นี้เป็นการนำภูมิปัญญาของคนไทยตั้งแต่ดั้งเดิมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทย 100% ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดอัตราการกัดของยุงได้เป็นอย่างดี จึงสามารถช่วยลดอัตราการกัดของยุงได้ถึง 97% โดยน้ำมันที่สกัดจากสมุนไพรไทยนี้จะระเหยออกมาจากเส้นใย เพื่อมารบกวนประสาทการรับรู้ของยุง ทำให้ยุงไม่สามารถรับรู้ว่าภายใต้ผ้ากันยุงเป็นผิว หนังของมนุษย์ โดยมีอายุการใช้งานได้นานถึง 1 ปี หรือซักประมาณ 50 ครั้ง เพราะสมุนไพรจะค่อยๆแตกตัวและระเหยออกมา ที่สำคัญที่สุด ยังไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่เพราะเป็นสมุนไพรไทยแท้”
วิศัลย์อธิบายต่อว่าจีวรกันยุงนี้ได้ผ่านการรับรองคุณภาพจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะจากการทดสอบ หลายครั้งในห้องทดลอง เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกันยุงที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่แก่ผู้รักสุขภาพ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงจากโรคไข้เลือดออก มาลาเรีย ไข้สมองอักเสบ ที่สำคัญนวัตกรรมนี้ยังถือเป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่ง เพราะการที่เราไม่เบียดเบียนชีวิตของยุงด้วยการฆ่ามันก็ถือว่าเป็นกุศลอันประเสริฐที่สุด
“เราได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของจีวรกันยุง ด้วยการนำยุงลาย ยุงเสือ และยุงรำคาญ ไปปล่อยไว้ในห้องทดลอง แล้วให้ผู้ทดลองสวมใส่จีวรกันยุง กับผู้ ที่ไม่ได้สวมใส่จีวรกันยุง เข้าไปอยู่ในห้องเดียวกัน ผลปรากฏว่าจำนวนยุงที่กัดผู้สวมใส่จีวรกันยุงแทบจะไม่มีเลย ถ้าเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สวมใส่ และการทดลองอีกประการหนึ่งก็คือการทดสอบในกล่องขนาด 1x1 เมตร ที่มียุงอยู่ โดยนำผ้ากันยุงมาเย็บเป็นถุงมือให้คนสวมใส่แล้วยื่นเข้าไปในห้องที่มียุงอยู่ มาเปรียบเทียบ กับผู้ที่ไม่ได้ใส่ถุงมือ ปรากฏว่าคนที่ใส่ถุงมือกันยุงสามารถกันยุงได้ประมาณ 90 %”
ผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างจุดขายของสินค้าให้มีความแตกต่างนั้น วิศัลย์เผยว่า หลังจากที่บริษัทได้คิด ค้นผลิตภัณฑ์จีวรกันยุง ผลปรากฏว่าสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และสร้างกำไรให้กับบริษัทได้เป็น กอบเป็นกำ จากเดิมผ้าไตรจีวร 1 ชุดสนนราคาจะอยู่ 1,000 บาทต้นๆ แต่หลังจากที่ได้พัฒนาสินค้าขึ้นมาแล้ว ทำให้ราคาผ้าไตรจีวรมีราคาสูงถึง 1,800-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของผ้าไตรจีวร 1 ผืน โดยแบ่งออกเป็น 3 สีด้วยกัน คือ สีราชนิยม สีเหลืองทอง และสีกรักหรือสีแก่นขนุน
“ปกติผลิตภัณฑ์จีวรกันยุงมีการแข่งขันกันในเรื่องของราคาสูงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่เราใส่ใจในวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ผลิต รวมทั้งการคิดค้นนวัตกรรมและฟังก์ชั่นใหม่ให้กับสินค้า ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ไม่น้อย เราต้องยอมรับว่าจีวรกันยุงของเรา มีราคาแพงกว่าจีวรทั่วไปประมาณ 10-20% แต่นั่นถือ ว่าเป็นจุดขายที่สำคัญของเรา เพราะเราเน้นที่คุณภาพและความปลอดภัยของผู้สวมใส่”
กระแสความฮิตของจีวรกันยุงนี้ ล่าสุดวิศัลย์เปิดเผย ว่า ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพม่า และ อินเดีย ได้มีการติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปวางจำหน่ายแล้ว รวมทั้งในอนาคตอันใกล้นี้จะทำการตลาดบุกไปยังประเทศกัมพูชาอีกด้วย
“ลูกค้าเป้าหมายของเราส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตลาดบนคือกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากสินค้ามีราคาค่อนข้างแพง เพื่อซื้อไปถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ออกไปธุดงค์ตามป่าเขา รวมทั้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสังฆภัณฑ์ และห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป และเรากำลังวางแผนการตลาดไปวางจำหน่ายที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัดไทยอยู่ในประเทศนั้นด้วย” วิศัลย์ อธิบาย
นี่จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของพุทธศาสนิกชนทุกคนในการทำบุญ เพราะนอกจากจะได้อิ่มบุญกันแล้ว ยังอิ่มใจที่ไม่ต้องเบียดเบียนชีวิตของผู้อื่น ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ ก็ตาม เพราะถือเป็นอีกหนึ่งชีวิต เช่นเดียวกับมนุษย์ทุกคน
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดย ศศิวิมล แถวเพชร)