คนเราทำไมจึงไม่ค่อยจะได้ควบคุมตัวเอง? การควบคุมตัวเองนั้นมันหนักเหนื่อยในชั้นต้น ความจริงสบายปลายมือ แต่ว่าคนเราขาดความอดทน จึงไม่สามารถจะควบคุมตัวเองไว้ได้ เรามีแต่เรื่องการตามใจตัวเอง การปล่อยไปตามอารมณ์ ปล่อยไปตามอำนาจของสิ่งแวดล้อม แต่ไม่เคยกำราบปราบปรามตัวเอง จึงยากแก่การที่จะควบคุมตัวเอง
แต่ถ้าหากว่าเราคุมบ่อยๆ ประพฤติจนเป็นนิสัย สิ่งใดที่ทำจนเป็นปกติ มันก็เป็นศีลสำหรับบุคคลนั้น เพราะศีลนั้นเขาแปลว่า ‘ปกติ’ ก็ได้ เช่นว่าเราตื่นเช้าเป็น ปกติ ก็เรียกว่ามีศีลของคนตื่นเช้า เราทำอะไรๆเป็นปกติ ก็เรียกว่ามีศีลในรูปนั้น เราสบาย ถ้าจะกลับไปทำอะไรที่ไม่เหมือนเช่นนั้นเสียอีกก็ลำบาก เช่นเราจะไปเกียจคร้านก็รู้สึกลำบาก สำหรับที่เราขยันจนเคยแล้ว เราบังคับตัวเองเสียจนชินแล้ว ถ้าเราจะไปทำอะไรตามแบบใจตัวเองมันก็ยากไม่สามารถจะกระทำได้ สภาพจิตใจอยู่ในสภาพสูงส่ง ไม่มีอะไรที่จะกระทำให้แปดเปื้อน เหมือนดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ น้ำไม่เปื้อน โคลนก็ไม่เปื้อน ดอกบัวสะอาดอยู่ตลอดเวลาฉันใด ใจที่สูงส่ง ก็ย่อมจะสะอาดอยู่ฉันนั้น
ความสุขความทุกข์ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ขอให้เราเชื่อมั่นไว้อย่างหนึ่งว่าขึ้นอยู่กับการคิดของเรา เอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรๆ ภายนอก คนที่ มีความเชื่อว่าความสุข ความทุกข์เนื่องจากสิ่งภายนอกนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ตรงกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เมื่อมีความเชื่อในรูปอย่างนั้นเราก็มักจะทำอะไรในรูปที่งมงาย ไม่ใช่เป็นการแก้ไขที่ถูกต้อง แต่เป็นการกระทำในรูปที่หลงใหลเข้าใจผิดตลอดไป ผู้กระทำก็ทำผิด ผู้ให้กระทำก็ผิดเหมือนกัน เรียกว่าสมรู้ร่วมคิดกันสร้างความ งมงายให้เกิดขึ้นในสังคม สมรู้ร่วมคิดกัน ทำความผิดพลาดให้เกิดขึ้น จนคนไม่มองภายใน แต่ไปมองจากสิ่ง ภายนอกตลอดเวลา การแก้ไขปัญหาก็ไม่ถูกเป้าหมาย แล้วจะพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้อย่างไร
พระพุทธศาสนาของเรานั้นบอกให้เราเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ว่าอะไรทั้งหลายที่เกิดขึ้น จะเป็นความสุขก็ดีความทุกข์ก็ดี ความเสื่อมความเจริญอะไรก็ตาม เป็นผล เนื่องมาจากความคิดของเราทั้งนั้น ถ้าเราสืบสาวเค้าเรื่อง ให้ดี จะพบสาเหตุของเรื่องนั้นๆ และสามารถที่จะขจัดเรื่องนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในหลักที่กล่าว กลับไป เชื่อสิ่งภายนอก เราก็ไปเที่ยววิ่งแก้ตามที่นั้นๆด้วยการกระทำพิธีบนบานศาลกล่าวซึ่งเป็นการที่น่าละอาย ไม่สม กับที่เป็นพุทธบริษัท ซึ่งเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยคุณงามความดี
เพราะฉะนั้นญาติโยมทั้งหลายเชื่อกันใหม่ให้ถูกทาง ให้เชื่อว่า อะไรทุกอย่างออกมาจากภายในของเรา มีใจเป็นฐานเป็นต้นของเรื่องนั้นๆ ด้วยประการทั้งปวง เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วก็เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องควบคุมจิตใจของเรา การควบคุมจิตใจหรือว่าการฝึกฝน จิตใจนี้ พูดด้วยภาษารวมเรียกว่า ‘การเจริญภาวนา’
การเจริญภาวนาก็ คือ การทำ จิตให้เป็นสมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้บริสุทธิ์ ให้อ่อนโยนเพื่อให้เหมาะแก่งาน จุดหมายของการฝึกฝนนั้น เพื่อตั้งมั่น เพื่อสงบ แล้วก็เพื่อให้อ่อนโยนเหมาะที่จะใช้งาน ปกติจิตใจเราไม่ตั้งมั่น มันคิดได้ร้อยแปด เราจะให้คิดตรงนี้ มันไปตรงอื่นเสียแล้ว ไม่ได้อยู่กับลมหายใจเสียเลย คล้ายๆกับจับปูใส่กระด้ง มันออกไปจาก ขอบเขตตลอดเวลา ออกจากตัวไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่หยุด ไม่ยั้ง อันนี้เรียกว่าฟุ้งซ่าน ไม่มีกำลัง ไม่มีอำนาจ ไม่มีปัญญาที่จะคิดค้นอะไรได้ เพราะมันยังกวัดแกว่งไม่มีระเบียบ
ให้จำพระพุทธภาษิตไว้ว่า “สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ไม่มีเหตุ ผลจะปรากฏขึ้นไม่ได้” แล้วเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นไม่ได้มาจากที่อื่น แต่มาจากความคิดของเรามา ในระยะต้นๆ มากมายก่ายกอง ตั้งแต่เมื่อวาน วานซืน อาทิตย์ก่อน เดือนก่อน ปีก่อน เราไปสร้างอะไรไว้ก็ไม่รู้ แล้วไปเก็บอะไรมาใส่ไว้ในใจก็ไม่รู้ จึงเกิดความฟุ้งซ่าน ไม่อยู่กับร่องกับรอย จิตใจไม่มีความสงบ ต้องศึกษาให้รู้จักตัวเองแจ่มแจ้ง แก้ไขสิ่งที่เรียกว่าความบกพร่อง...
คนเราถ้าบังคับตัวเองได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นผู้ประเสริฐมากเท่านั้น คนที่ประเสริฐคือคนที่บังคับตัวเอง ได้ ถ้าบังคับตัวเองไม่ได้ก็ไม่ประเสริฐอะไร ความใหญ่ของคนมันอยู่ที่การบังคับตัวเอง ถ้าไม่รู้จักบังคับตัวเอง เขาตั้งให้ใหญ่เท่าใด มันก็ใหญ่ไม่ได้เรื่องนั่นแหละสำคัญมันอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น เราจะต้องฝึกบังคับตัวเองไว้ เหนี่ยวรั้งไว้
คนเราที่ควบคุมตัวด้วยเรื่องใด ต้องรู้ว่าอะไรมันทำ ให้เรายุ่ง ให้รู้เรื่องมันก่อน รู้ว่าตัวไหนทำให้ยุ่ง ตัวโลภ ตัวโกรธ ตัวหลง ตัวริษยา ตัวอะไรที่ทำให้ยุ่ง มันยุ่ง เพราะอะไร ทำไมมันจึงยุ่ง ต้องคิด ต้องตรอง เมื่อคิดไป ตรองไป ก็จะมองเห็นภาพของมันตามมาเป็นแนว ต้องตัดเส้นทาง ตัดขบวน อย่าไปตัดปลายแถว ตัดต้นแถว พอตัดปุ๊บ มันก็ล้มลงไปเลย เรื่องนั้นหายไป แล้วเราก็เอาไปศึกษาบ่อยๆ ของเก่ามาคิดค้น ไม่ได้เสียหาย ถ้าเราเอามาพิจารณาด้วยปัญญา ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า“อย่าไปคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว” นั่นหมายความว่า อย่าไปคิดด้วยความโง่ อย่าไปคิดด้วยความยึดถืองมงาย แต่ถ้าเรานำเรื่องเก่าขึ้นมาพิจารณา ศึกษาค้นคว้าเพื่อ ปัญญา อย่างนี้ใช้ได้
ก็เรื่องในชีวิตของเราแต่ละคนมันเยอะ มันผ่านมาแล้วก็เอามาดูเสียมั่ง ดูด้วยปัญญา ดูว่ามันมาอย่างไร มันไปอย่างไร มันอยู่อย่างไร มันเกิดทุกข์เกิดโทษอย่างไร ในชีวิตของเรา เอามาดูบ้างเถอะ ถ้าดูแล้วก็จะฉลาดขึ้น รู้เท่าทันเหตุการณ์มากขึ้น บังคับจิตใจของตัวเองได้มาก ขึ้น อันจะเป็นทางช่วยให้เกิดความสงบใจ อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติเบื้องต้นในการที่จะรักษาใจของเราให้สงบขึ้น ตามสมควรแก่ฐานะ...
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
แต่ถ้าหากว่าเราคุมบ่อยๆ ประพฤติจนเป็นนิสัย สิ่งใดที่ทำจนเป็นปกติ มันก็เป็นศีลสำหรับบุคคลนั้น เพราะศีลนั้นเขาแปลว่า ‘ปกติ’ ก็ได้ เช่นว่าเราตื่นเช้าเป็น ปกติ ก็เรียกว่ามีศีลของคนตื่นเช้า เราทำอะไรๆเป็นปกติ ก็เรียกว่ามีศีลในรูปนั้น เราสบาย ถ้าจะกลับไปทำอะไรที่ไม่เหมือนเช่นนั้นเสียอีกก็ลำบาก เช่นเราจะไปเกียจคร้านก็รู้สึกลำบาก สำหรับที่เราขยันจนเคยแล้ว เราบังคับตัวเองเสียจนชินแล้ว ถ้าเราจะไปทำอะไรตามแบบใจตัวเองมันก็ยากไม่สามารถจะกระทำได้ สภาพจิตใจอยู่ในสภาพสูงส่ง ไม่มีอะไรที่จะกระทำให้แปดเปื้อน เหมือนดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ น้ำไม่เปื้อน โคลนก็ไม่เปื้อน ดอกบัวสะอาดอยู่ตลอดเวลาฉันใด ใจที่สูงส่ง ก็ย่อมจะสะอาดอยู่ฉันนั้น
ความสุขความทุกข์ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ขอให้เราเชื่อมั่นไว้อย่างหนึ่งว่าขึ้นอยู่กับการคิดของเรา เอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอะไรๆ ภายนอก คนที่ มีความเชื่อว่าความสุข ความทุกข์เนื่องจากสิ่งภายนอกนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ตรงกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เมื่อมีความเชื่อในรูปอย่างนั้นเราก็มักจะทำอะไรในรูปที่งมงาย ไม่ใช่เป็นการแก้ไขที่ถูกต้อง แต่เป็นการกระทำในรูปที่หลงใหลเข้าใจผิดตลอดไป ผู้กระทำก็ทำผิด ผู้ให้กระทำก็ผิดเหมือนกัน เรียกว่าสมรู้ร่วมคิดกันสร้างความ งมงายให้เกิดขึ้นในสังคม สมรู้ร่วมคิดกัน ทำความผิดพลาดให้เกิดขึ้น จนคนไม่มองภายใน แต่ไปมองจากสิ่ง ภายนอกตลอดเวลา การแก้ไขปัญหาก็ไม่ถูกเป้าหมาย แล้วจะพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้อย่างไร
พระพุทธศาสนาของเรานั้นบอกให้เราเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ว่าอะไรทั้งหลายที่เกิดขึ้น จะเป็นความสุขก็ดีความทุกข์ก็ดี ความเสื่อมความเจริญอะไรก็ตาม เป็นผล เนื่องมาจากความคิดของเราทั้งนั้น ถ้าเราสืบสาวเค้าเรื่อง ให้ดี จะพบสาเหตุของเรื่องนั้นๆ และสามารถที่จะขจัดเรื่องนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในหลักที่กล่าว กลับไป เชื่อสิ่งภายนอก เราก็ไปเที่ยววิ่งแก้ตามที่นั้นๆด้วยการกระทำพิธีบนบานศาลกล่าวซึ่งเป็นการที่น่าละอาย ไม่สม กับที่เป็นพุทธบริษัท ซึ่งเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยคุณงามความดี
เพราะฉะนั้นญาติโยมทั้งหลายเชื่อกันใหม่ให้ถูกทาง ให้เชื่อว่า อะไรทุกอย่างออกมาจากภายในของเรา มีใจเป็นฐานเป็นต้นของเรื่องนั้นๆ ด้วยประการทั้งปวง เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วก็เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องควบคุมจิตใจของเรา การควบคุมจิตใจหรือว่าการฝึกฝน จิตใจนี้ พูดด้วยภาษารวมเรียกว่า ‘การเจริญภาวนา’
การเจริญภาวนาก็ คือ การทำ จิตให้เป็นสมาธิ ให้ตั้งมั่น ให้บริสุทธิ์ ให้อ่อนโยนเพื่อให้เหมาะแก่งาน จุดหมายของการฝึกฝนนั้น เพื่อตั้งมั่น เพื่อสงบ แล้วก็เพื่อให้อ่อนโยนเหมาะที่จะใช้งาน ปกติจิตใจเราไม่ตั้งมั่น มันคิดได้ร้อยแปด เราจะให้คิดตรงนี้ มันไปตรงอื่นเสียแล้ว ไม่ได้อยู่กับลมหายใจเสียเลย คล้ายๆกับจับปูใส่กระด้ง มันออกไปจาก ขอบเขตตลอดเวลา ออกจากตัวไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่หยุด ไม่ยั้ง อันนี้เรียกว่าฟุ้งซ่าน ไม่มีกำลัง ไม่มีอำนาจ ไม่มีปัญญาที่จะคิดค้นอะไรได้ เพราะมันยังกวัดแกว่งไม่มีระเบียบ
ให้จำพระพุทธภาษิตไว้ว่า “สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ไม่มีเหตุ ผลจะปรากฏขึ้นไม่ได้” แล้วเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้นไม่ได้มาจากที่อื่น แต่มาจากความคิดของเรามา ในระยะต้นๆ มากมายก่ายกอง ตั้งแต่เมื่อวาน วานซืน อาทิตย์ก่อน เดือนก่อน ปีก่อน เราไปสร้างอะไรไว้ก็ไม่รู้ แล้วไปเก็บอะไรมาใส่ไว้ในใจก็ไม่รู้ จึงเกิดความฟุ้งซ่าน ไม่อยู่กับร่องกับรอย จิตใจไม่มีความสงบ ต้องศึกษาให้รู้จักตัวเองแจ่มแจ้ง แก้ไขสิ่งที่เรียกว่าความบกพร่อง...
คนเราถ้าบังคับตัวเองได้มากเท่าใด ยิ่งเป็นผู้ประเสริฐมากเท่านั้น คนที่ประเสริฐคือคนที่บังคับตัวเอง ได้ ถ้าบังคับตัวเองไม่ได้ก็ไม่ประเสริฐอะไร ความใหญ่ของคนมันอยู่ที่การบังคับตัวเอง ถ้าไม่รู้จักบังคับตัวเอง เขาตั้งให้ใหญ่เท่าใด มันก็ใหญ่ไม่ได้เรื่องนั่นแหละสำคัญมันอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น เราจะต้องฝึกบังคับตัวเองไว้ เหนี่ยวรั้งไว้
คนเราที่ควบคุมตัวด้วยเรื่องใด ต้องรู้ว่าอะไรมันทำ ให้เรายุ่ง ให้รู้เรื่องมันก่อน รู้ว่าตัวไหนทำให้ยุ่ง ตัวโลภ ตัวโกรธ ตัวหลง ตัวริษยา ตัวอะไรที่ทำให้ยุ่ง มันยุ่ง เพราะอะไร ทำไมมันจึงยุ่ง ต้องคิด ต้องตรอง เมื่อคิดไป ตรองไป ก็จะมองเห็นภาพของมันตามมาเป็นแนว ต้องตัดเส้นทาง ตัดขบวน อย่าไปตัดปลายแถว ตัดต้นแถว พอตัดปุ๊บ มันก็ล้มลงไปเลย เรื่องนั้นหายไป แล้วเราก็เอาไปศึกษาบ่อยๆ ของเก่ามาคิดค้น ไม่ได้เสียหาย ถ้าเราเอามาพิจารณาด้วยปัญญา ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า“อย่าไปคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว” นั่นหมายความว่า อย่าไปคิดด้วยความโง่ อย่าไปคิดด้วยความยึดถืองมงาย แต่ถ้าเรานำเรื่องเก่าขึ้นมาพิจารณา ศึกษาค้นคว้าเพื่อ ปัญญา อย่างนี้ใช้ได้
ก็เรื่องในชีวิตของเราแต่ละคนมันเยอะ มันผ่านมาแล้วก็เอามาดูเสียมั่ง ดูด้วยปัญญา ดูว่ามันมาอย่างไร มันไปอย่างไร มันอยู่อย่างไร มันเกิดทุกข์เกิดโทษอย่างไร ในชีวิตของเรา เอามาดูบ้างเถอะ ถ้าดูแล้วก็จะฉลาดขึ้น รู้เท่าทันเหตุการณ์มากขึ้น บังคับจิตใจของตัวเองได้มาก ขึ้น อันจะเป็นทางช่วยให้เกิดความสงบใจ อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติเบื้องต้นในการที่จะรักษาใจของเราให้สงบขึ้น ตามสมควรแก่ฐานะ...
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 88 มี.ค. 51 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)