วันที่ ๑๙ พฤษภาคมนี้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ เป็นวันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ชาวพุทธทั้งหลาย ได้มีการบูชาสักการะที่ยิ่งใหญ่แด่พระพุทธองค์ด้วยอามิสบูชา ได้แก่ การบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน และปฏิบัติบูชา คือ การปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ดีแล้ว ตามกำลังความสามารถแห่งตน
เพราะฉะนั้น การที่ชีวิตได้ดำเนินมาจนถึงวันวิสาขบูชาอีกครั้งหนึ่งนั้น จึงนับว่าเป็นบุญลาภสำหรับเราชาวพุทธทั้งหลายที่จะได้ใช้โอกาสนี้บำเพ็ญบุญกุศลให้เต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ปล่อยให้โอกาสอันสำคัญนี้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ก็จะทำให้ชีวิตประสบกับสาระแห่งธรรมและความสงบสุข บังเกิดขึ้นในจิตใจ
เมื่อมองย้อนกลับไปเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หลังจากพระองค์ทรงพากเพียรอย่างหนักในการที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสในการแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้ธรรมนานถึง ๖ ปี และเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว สิ่งที่ยากและลำบากไม่แพ้กันก็คือ การแสดงธรรมแก่เหล่าชนทั้งหลายทั้งปวงให้ได้เข้าถึงธรรมของพระองค์ ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี นับแต่วันที่ตรัสรู้นั้น แทบจะไม่มีเวลาได้ทรงพักผ่อนเลย ทั้งนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสรรพสัตว์หาที่สุดมิได้ นั่นเอง
การแสดงธรรม หรือการประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น มิได้ราบรื่นเสมอไป บางครั้งพระองค์ก็ถูกปองร้ายถึงขั้นปลงพระชนม์ บางครั้งก็ถูกใส่ไคล้ ถูกกล่าว ร้ายป้ายสีจากคนที่มีความอิจฉาริษยา เพื่อให้ผู้คนเสื่อมศรัทธา แต่พระองค์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พระองค์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง และไม่ได้มีพระทัยเคียดแค้นชิงชังแก่คนเหล่านั้น ตรงกันข้ามพระองค์ทรงเมตตาปราณีแก่พวกเขาตลอดเวลา เพราะพระองค์ตรัสสอนว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” “ชนะความชั่วด้วยความดี” “การชนะคนเป็นหมื่นเป็นแสนไม่ประเสริฐเท่ากับชนะตนเอง” เป็นต้น
หลักธรรมคำสอนของพระองค์ก็คือ อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ นิโรธ คือความดับทุกข์ และมรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โดยกล่าวว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความตั้งใจชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ สติชอบ ความตั้งใจชอบ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมะสำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี ที่มนุษย์ประสบอยู่นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ หรือไม่ใช่โชคดีโชคร้าย บันดาลให้เป็นไป แต่ทุกอย่างล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์นั่นเอง โดยใช้หลักของอริยสัจเข้าไปจับก็จะมองปัญหาได้ชัดเจนแน่นอน
แต่ว่าในสังคมปัจจุบัน มนุษย์สับสนด้วยปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและค่านิยมทางวัตถุที่มากเกินไป ทำให้หลายคนมองปัญหาไม่ชัดเจน ก็เลยแก้ปัญหาไม่ได้ หรือหาทางออกของปัญหาไม่เจอ เช่น ความผิดพลาดอยู่ที่การกระทำของคน แต่เราไม่ลงโทษคน กลับจะไปแก้กฎหมาย ให้การกระทำของคนผิดเป็นเรื่องถูกต้อง อย่างนี้ก็เท่ากับเราหันหลังให้แก่ความถูกต้อง คือธรรมนั่นเอง และการแก้กฎหมายนั้นก็ต้องให้เกิดประโยชน์แก่คนทั้งประเทศ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพวกพ้องหรือพรรคพวกของตนเองเท่านั้น ถ้าเป็นพวกอื่นฝ่ายอื่นก็เหยียบให้จมดินไป อย่างนี้แล้วบ้านเมืองจะอยู่ได้อย่างไรเล่า
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งในด้านความเห็น และการกระทำบางประการ อันอาจจะนำไปสู่ความรุนแรง ก็จะมีคำทำนายทายทักออกมาในทางที่ไม่ดีเสียจำนวนมาก ทำให้คนฟังคนอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ เกิดความตระหนกตกใจกลัวไปต่างๆ นานา และผู้ที่ต้องรับบาปในเรื่องนี้ ก็คือ “ดวงเมือง” กี่คำทำนาย ก็ล้วนโยนให้เป็นเรื่องของดวงเมือง อยากจะถามว่าดวงเมืองไปทำอะไรให้ ดวงเมืองท่าน ก็อยู่ของท่านเฉยๆ แต่ว่ามนุษย์นั่นแหละวุ่นวายกันไปเอง และเรื่องที่ไม่ดีทั้งหลายก็มนุษย์นั่นแหละทำขึ้นมา ดวงเมืองท่านจะไปทำอะไรได้ แต่ที่ท่านมีแผ่นดินให้เราอาศัยอยู่จนทุกวันนี้ก็เป็นบุญตัวแล้ว อย่าไปรุกรานท่านเลย
การที่เราเป็นชาวพุทธ ย่อมต้องมีความเชื่อในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ควรไปเชื่ออะไรที่ไร้สาระหาแก่นสารไม่ได้ ดังที่เราจะได้ยินได้ฟัง และได้เห็นเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนถึงความเชื่อที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่า มนุษย์ในยุคปัจจุบันยังมีความเชื่อที่ถอยหลังไปหลายพันปี เช่น สัตว์ออกลูกมาพิการไม่ประสมประกอบ คนก็พากันเชื่อว่าเป็นความมหัศจรรย์ แล้วก็พากันไปกราบไหว้ บนบานขอให้ได้ลาภและสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา เป็นต้น ล้วนเป็นเรื่องที่งมงายเสียเหลือเกิน เพราะฉะนั้น คำสอนของพระพุทธศาสนาที่พูดถึงศรัทธาความเชื่อไว้ในหมวดธรรมใด หมวดธรรมนั้นต้องมีปัญญากำกับไว้เป็นธรรมคู่กัน เป็นการบอกเตือนให้รู้ว่า ความเชื่อที่ถูก ต้องมีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ไม่ใช่เชื่อตามกันไปโดยไร้เหตุผล
เพราะฉะนั้น เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงอีกวาระหนึ่ง จึงควรพิจารณาและทบทวนว่า เรามีความเชื่อตรงตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือไม่ และได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือยัง การที่เราทั้งหลายได้ปฏิบัติธรรม นอกจากจะได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว ยังเป็นการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบไป เป็นการดำเนินชีวิตไปโดยความไม่ประมาท ที่พระพุทธองค์ตรัสเตือนว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมโดยความไม่ประมาทเถิด”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)
เพราะฉะนั้น การที่ชีวิตได้ดำเนินมาจนถึงวันวิสาขบูชาอีกครั้งหนึ่งนั้น จึงนับว่าเป็นบุญลาภสำหรับเราชาวพุทธทั้งหลายที่จะได้ใช้โอกาสนี้บำเพ็ญบุญกุศลให้เต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ปล่อยให้โอกาสอันสำคัญนี้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ก็จะทำให้ชีวิตประสบกับสาระแห่งธรรมและความสงบสุข บังเกิดขึ้นในจิตใจ
เมื่อมองย้อนกลับไปเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีที่ผ่านมา หลังจากพระองค์ทรงพากเพียรอย่างหนักในการที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสในการแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้ธรรมนานถึง ๖ ปี และเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว สิ่งที่ยากและลำบากไม่แพ้กันก็คือ การแสดงธรรมแก่เหล่าชนทั้งหลายทั้งปวงให้ได้เข้าถึงธรรมของพระองค์ ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี นับแต่วันที่ตรัสรู้นั้น แทบจะไม่มีเวลาได้ทรงพักผ่อนเลย ทั้งนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อสรรพสัตว์หาที่สุดมิได้ นั่นเอง
การแสดงธรรม หรือการประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น มิได้ราบรื่นเสมอไป บางครั้งพระองค์ก็ถูกปองร้ายถึงขั้นปลงพระชนม์ บางครั้งก็ถูกใส่ไคล้ ถูกกล่าว ร้ายป้ายสีจากคนที่มีความอิจฉาริษยา เพื่อให้ผู้คนเสื่อมศรัทธา แต่พระองค์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พระองค์นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริง และไม่ได้มีพระทัยเคียดแค้นชิงชังแก่คนเหล่านั้น ตรงกันข้ามพระองค์ทรงเมตตาปราณีแก่พวกเขาตลอดเวลา เพราะพระองค์ตรัสสอนว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” “ชนะความชั่วด้วยความดี” “การชนะคนเป็นหมื่นเป็นแสนไม่ประเสริฐเท่ากับชนะตนเอง” เป็นต้น
หลักธรรมคำสอนของพระองค์ก็คือ อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สมุทัย คือเหตุเกิดแห่งทุกข์ นิโรธ คือความดับทุกข์ และมรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โดยกล่าวว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความตั้งใจชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ สติชอบ ความตั้งใจชอบ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมะสำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี ที่มนุษย์ประสบอยู่นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ หรือไม่ใช่โชคดีโชคร้าย บันดาลให้เป็นไป แต่ทุกอย่างล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์นั่นเอง โดยใช้หลักของอริยสัจเข้าไปจับก็จะมองปัญหาได้ชัดเจนแน่นอน
แต่ว่าในสังคมปัจจุบัน มนุษย์สับสนด้วยปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและค่านิยมทางวัตถุที่มากเกินไป ทำให้หลายคนมองปัญหาไม่ชัดเจน ก็เลยแก้ปัญหาไม่ได้ หรือหาทางออกของปัญหาไม่เจอ เช่น ความผิดพลาดอยู่ที่การกระทำของคน แต่เราไม่ลงโทษคน กลับจะไปแก้กฎหมาย ให้การกระทำของคนผิดเป็นเรื่องถูกต้อง อย่างนี้ก็เท่ากับเราหันหลังให้แก่ความถูกต้อง คือธรรมนั่นเอง และการแก้กฎหมายนั้นก็ต้องให้เกิดประโยชน์แก่คนทั้งประเทศ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของพวกพ้องหรือพรรคพวกของตนเองเท่านั้น ถ้าเป็นพวกอื่นฝ่ายอื่นก็เหยียบให้จมดินไป อย่างนี้แล้วบ้านเมืองจะอยู่ได้อย่างไรเล่า
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งในด้านความเห็น และการกระทำบางประการ อันอาจจะนำไปสู่ความรุนแรง ก็จะมีคำทำนายทายทักออกมาในทางที่ไม่ดีเสียจำนวนมาก ทำให้คนฟังคนอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ เกิดความตระหนกตกใจกลัวไปต่างๆ นานา และผู้ที่ต้องรับบาปในเรื่องนี้ ก็คือ “ดวงเมือง” กี่คำทำนาย ก็ล้วนโยนให้เป็นเรื่องของดวงเมือง อยากจะถามว่าดวงเมืองไปทำอะไรให้ ดวงเมืองท่าน ก็อยู่ของท่านเฉยๆ แต่ว่ามนุษย์นั่นแหละวุ่นวายกันไปเอง และเรื่องที่ไม่ดีทั้งหลายก็มนุษย์นั่นแหละทำขึ้นมา ดวงเมืองท่านจะไปทำอะไรได้ แต่ที่ท่านมีแผ่นดินให้เราอาศัยอยู่จนทุกวันนี้ก็เป็นบุญตัวแล้ว อย่าไปรุกรานท่านเลย
การที่เราเป็นชาวพุทธ ย่อมต้องมีความเชื่อในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ควรไปเชื่ออะไรที่ไร้สาระหาแก่นสารไม่ได้ ดังที่เราจะได้ยินได้ฟัง และได้เห็นเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนถึงความเชื่อที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่า มนุษย์ในยุคปัจจุบันยังมีความเชื่อที่ถอยหลังไปหลายพันปี เช่น สัตว์ออกลูกมาพิการไม่ประสมประกอบ คนก็พากันเชื่อว่าเป็นความมหัศจรรย์ แล้วก็พากันไปกราบไหว้ บนบานขอให้ได้ลาภและสมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา เป็นต้น ล้วนเป็นเรื่องที่งมงายเสียเหลือเกิน เพราะฉะนั้น คำสอนของพระพุทธศาสนาที่พูดถึงศรัทธาความเชื่อไว้ในหมวดธรรมใด หมวดธรรมนั้นต้องมีปัญญากำกับไว้เป็นธรรมคู่กัน เป็นการบอกเตือนให้รู้ว่า ความเชื่อที่ถูก ต้องมีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ไม่ใช่เชื่อตามกันไปโดยไร้เหตุผล
เพราะฉะนั้น เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงอีกวาระหนึ่ง จึงควรพิจารณาและทบทวนว่า เรามีความเชื่อตรงตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือไม่ และได้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนาหรือยัง การที่เราทั้งหลายได้ปฏิบัติธรรม นอกจากจะได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว ยังเป็นการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวสืบไป เป็นการดำเนินชีวิตไปโดยความไม่ประมาท ที่พระพุทธองค์ตรัสเตือนว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมโดยความไม่ประมาทเถิด”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย ธมฺมจรถ)