เมื่อได้มาอยู่ในประเทศอินเดีย อันเป็นแผ่นดินเกิดของพระพุทธเจ้า ทำให้คิดถึงเมืองไทย คิดถึงผู้อ่าน ต้องการให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ปัญญาอันยิ่ง ให้ท่านผู้อ่านได้กำไรชีวิต ให้ท่านทั้งหลายได้รู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยที่ได้นับถือศาสนาพุทธ พวกเราโชคดีที่สุดได้เรียนรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันลึกซึ้ง สอนให้รู้แจ้งจริง วิเศษที่สุดอันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ ศาสนาพุทธคือกฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติคือศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธจึงไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้คนเชื่ออย่างงมงาย สอนให้รู้จักคิด ค้น สอบสวน วิจัย ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงไม่มีวันตาย หรือเสื่อมสลายไปได้ เว้นแต่คนเท่านั้นที่เสื่อมถอยลง เพราะไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติ ไม่อดทน ต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ประเทศของเราเสื่อมถอยลงๆ ก็เพราะเรามีแต่เหล่าผู้ปกครองที่ไม่จริง มีนักการเมืองที่ไม่จริง เป็นนักการเมืองปลอมเข้ามาเพื่อหาประโยชน์ตนและพวกพ้อง ผู้รู้ทั้งหลายต้องร่วมมือ ต้องช่วยกันให้มีโครงการสร้างคน เปลี่ยนคนให้เป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อให้พระโพธิสัตว์ไปสร้างชาติ
การวิวัฒนาการเกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งทั้งมวล หรือสังขารทั้งปวงเป็นสังขตธรรม (สัง แปลว่า ปรุง, รวม, ร่วม, ประชุม, พร้อม, ผสม ส่วน ขต หรือ ขะตะ มาจากรากศัพท์ ขร หรือ ขะระ แปลว่า สิ้นไป รวมความว่า ธรรมที่มารวมกัน มาประชุมกันชั่วคราวแล้วสิ้นไป (ดับไป) เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) สมดัง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งมวลนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา” สิ่งทั้งมวลนั้น หรือสังขารทั้งปวง (ทั้งนามธรรม, จิตตสังขาร และรูปธรรม, กายสังขาร รวมทั้งรูปธรรมภายนอก หรือวัตถุทั้งหมด) สังขารทั้งปวงนี้ “เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด” ดังรูป
1 2 3
(1) ลักษณะความเป็นไปของกายและวัตถุอื่นทั้งปวง
ช่วงระยะเวลาของการเกิดและดับ (Space and time)
1. แสดงให้เห็นว่า กาย, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และวัตถุอื่นทั้งปวง เมื่อได้เกิดขึ้นในเบื้องต้น ความเจริญนั้นมีมาก ส่วนความเสื่อมนั้นมีน้อย
2. แสดงให้เห็นความแปรปรวนในท่ามกลาง ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
3. แสดงให้เห็นความเสื่อมนั้นมีมาก ส่วนความเจริญนั้นมีน้อย และในที่สุด เมื่อความความเสื่อมเต็มร้อย ขาดเหตุปัจจัยก็สิ้นไป ดับไปในที่สุด ขอเชิญชวนให้ผู้อ่านทั้งหลายนำไปพิสูจน์
ดังนี้แล้ว ย่อมมีปัญญา มีข้อคิด ขอพิจารณาจะเห็นได้ว่าอายุของมนุษย์เรานั้นน้อยนัก จุดหมาย หรือจุดจบของกายจะต้องตายแน่นอนหรือวัตถุทุกชนิดจะต้องสิ้นไป เราจึงไม่ควรประมาท เราเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ควรจะได้ทำความเข้าใจ รู้จักตัวของตนเองเสียให้แจ่มแจ้ง รู้จักใช้กายเป็นเครื่องมือให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ประเทศชาติ และมนุษยชาติให้มากสูงสุด เท่าที่จะทำได้
(2) ลักษณะความเป็นไปของจิตตสังขาร หรือนามธรรมอื่นทั้งปวง
1 2 3
ธรรมะ
กิเลส, มาร
ช่วงระยะเวลาของการเกิดและดับของจิตปรุงแต่ง (Space and time)
จิตเดิมแท้ (แสดงด้วยวงกลม) จิตว่างหรือจิตดังเดิมนั้นผุดผ่อง แต่ที่ต้องเศร้าหมองลงเพราะการปรุงแต่ง (เป็นความสัมพันธ์ (ผัสสะ) กันระหว่างเหตุปัจจัยภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับเหตุปัจจัยภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์หรือความคิดนึกที่เกิดขึ้นในใจ) และความเห็นผิด (อวิชชา) จึงเป็นเหตุให้เกิดตัณหา (ความอยากใคร่ได้มี) อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา)
จิตตสังขาร หรือจิตปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นกุศล เช่น ปีติ สุขเวทนา คิดดี ทำดี เป็นต้น และอกุศล เช่น การคิดและการกระทำที่ทำด้วยความกลัว โลภ โกรธ หลง ทั้งนี้เพราะมีอุปาทาน เรายึดมั่นว่าทั้งตัวเราเอง และวัตถุภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ว่าเป็นของจริง แต่ความจริงคือมันเกิดแล้วแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นลักษณะมายา เช่นเดียวกับการที่เราดูทีวี หรือภาพยนตร์ ภาพที่เห็นมันจะเปลี่ยนไปๆ อยู่ตลอดเวลา
อีกนัยหนึ่ง จิตตสังขาร นี้ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความบริสุทธิ์ดังเดิมของจิต กับ สิ่งปรุงแต่งเข้ามา แสดงด้วยหมายเลขดังนี้
1. แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการผัสสะ (สัมผัส) การปรุงแต่งเกิดแล้วในเบื้องต้นจะมีความกิเลสปริมาณมากและเข้มข้น ส่วนฝ่ายธรรมะหรือความบริสุทธิ์ดังเดิมถูกบิดให้มีน้อย ดุจเมฆมาบดบังพระจันทร์วันเพ็ญ
2. แสดงให้เห็นความแปรปรวนในท่ามกลาง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
3. แสดงให้เห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป กิเลส และอำนาจของการปรุงแต่งค่อยๆ ทุเลาลงๆ และถูกรุกไล่ด้วยสภาวะที่บริสุทธิ์ดังเดิมมีมากขึ้นๆ เมื่อความบริสุทธิ์เต็มร้อย ก็ทำให้บุคคลนั้นๆ หายกลัว โลภ โกรธ หลง ลงชั่วคราว แล้วก็ปรุงแต่งใหม่ ไม่มีวันหยุดสำหรับจิตของปุถุชน จะเกิดขึ้นเท่าใด ก็ดับไปเท่านั้น ไม่เป็นไปอย่างอื่น ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์นั่นเอง
อนิจจัง คือสภาวะความไม่เที่ยง แสดงด้วยลูกศร
ทุกขัง คือสภาวะความทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นความขัดกัน หรือขัดแย้งกันระหว่างสภาวะจิตที่บริสุทธิ์ดังเดิม กับสิ่งภายนอกที่เข้ามาปรุงแต่ง (โดยที่ยังไม่รู้เท่าทัน)
อนัตตา คือสภาวะ ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหา จึงหาความเป็นตัวตนไม่ได้ และจะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ใจเราปรารถนาไม่ได้ เช่น ไม่อยากเจ็บมันก็เจ็บ ไม่อยากแก่มันก็แก่ ไม่อยากตายมันก็ต้องตาย เป็นต้น
การปฏิบัติวิปัสสนา ดังนี้แล้วอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงได้มีปัญญาเห็นชัดตามความเป็นจริงของสังขารทั้งปวง หรือในสังขตธรรมทั้งปวง (Conditioned State) คือ (1) มีปัญญาเห็นความเกิด แปรปรวน และดับชัดเจน (2) มีปัญญาเห็นความสลายของของสังขารทั้งปวง (3) มีปัญญาเห็นสังขารทั้งปวงไร้แก่นสาร (4) มีปัญญาเห็นสังขารทั้งปวงเป็นของมีโทษหากยึดมั่นถือมั่น (5) มีปัญญาเกิดความหน่ายในสังขารทั้งปวง (6) มีปัญญาคิดหาทางที่จะพ้นอิสระจากสังขาร (7) มีปัญญาหาทางออกจากสังขาร (8) มีปัญญาเห็นจริงวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง มันเป็นเช่นนั้นเอง (9) อิสระจากสังขารทั้งปวง
ถึงที่สุดแล้ว จะเป็นเหตุให้อิสระพบสภาวะใหม่ อันเป็นความบริสุทธิ์ เป็นสภาวะที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ เข้าถึงสภาวะอมตธรรม หรือนิพพาน หรืออสังขตธรรม (The Unconditioned State) หรือ ธรรมาธิปไตย (The Supremacy of the Dharma) และเป็นปัจจัยให้ผู้ศึกษาปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นองค์ประกอบ คือภาพรวมทั้งหมด และเห็นความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติ (Nature Law) บนความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรม อันเป็นปฐมเหตุของความไม่ตาย ไม่เปลี่ยนแปลง อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ กับสังขตธรรม อันเป็นผล นี่คือจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการของสรรพสิ่งนั้นเอง
อีกนัยหนึ่งเป็นปัจจัยให้เราได้รู้ ได้เห็นการวิวัฒนาการทั้งทางนามธรรม (ธาตุรู้) หรือการสั่งสมกุศลธรรม และการสั่งสมอกุศลธรรมของสรรพสัตว์ และในกรณีของมนุษย์ ดังรูป
5 วิปัสสนาเต็มร้อย พ้นทุกข์ทั้งปวง พบนิพพาน, ธรรมาธิปไตย
4 วิปัสสนาปัญญามาก กิเลสน้อย
3
1 2 ปัญญาน้อยกิเลสมาก
1. กรรมชั่ว หรือการทำอกุศลกรรมทั้งปวงด้วยเจตนา ย่อมเป็นการสั่งสมบาป โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
2. เมื่อมีการสั่งสมบาป เพราะปัญญาน้อย กิเลสจึงมีมาก (ภูมิจิตต่ำมีจำนวนมาก)
3. กรรมดี หรือการทำกุศลกรรมทั้งปวงด้วยเจตนา ย่อมเป็นการสั่งสมบุญกุศล เป็นปัจจัยให้มีวิวัฒนาการไปในทิศทางที่เจริญก้าวหน้าทางจิตใจ
4. แสดงสภาวะผลจากการวิปัสสนา ทำให้มีกุศลกรรมและมีปัญญามาก กิเลสจึงลดน้อยลง (ภูมิจิตสูงมีจำนวนน้อย)
5. แสดงให้เห็นผู้ปฏิบัติวิปัสสนา มีปัญญาเต็มร้อย พบสภาวะนิพพาน, ธรรมาธิปไตย อันเป็นสภาวะสูงสุดของกฎธรรมชาติอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และสามารถอิสระจากสังขารทั้งปวงได้ คืออยู่ร่วมกับสังขารแต่ไม่ติดในสังขาร เช่น ได้เห็น ได้ยิน คิด พูด ทำ ฯลฯ แต่ไม่ติดยึดในสิ่งที่ทำนั้นๆ มีแต่กริยาที่เป็นไปเท่านั้น จิตใจจึงอยู่เหนือความชั่วและความดีที่ตนทำ (อ่านตอนที่ 2 ต่อไป)
การวิวัฒนาการเกิดขึ้นจากการปรุงแต่ง สิ่งปรุงแต่งทั้งมวล หรือสังขารทั้งปวงเป็นสังขตธรรม (สัง แปลว่า ปรุง, รวม, ร่วม, ประชุม, พร้อม, ผสม ส่วน ขต หรือ ขะตะ มาจากรากศัพท์ ขร หรือ ขะระ แปลว่า สิ้นไป รวมความว่า ธรรมที่มารวมกัน มาประชุมกันชั่วคราวแล้วสิ้นไป (ดับไป) เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) สมดัง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งมวลนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา” สิ่งทั้งมวลนั้น หรือสังขารทั้งปวง (ทั้งนามธรรม, จิตตสังขาร และรูปธรรม, กายสังขาร รวมทั้งรูปธรรมภายนอก หรือวัตถุทั้งหมด) สังขารทั้งปวงนี้ “เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และดับไปในที่สุด” ดังรูป
1 2 3
(1) ลักษณะความเป็นไปของกายและวัตถุอื่นทั้งปวง
ช่วงระยะเวลาของการเกิดและดับ (Space and time)
1. แสดงให้เห็นว่า กาย, รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และวัตถุอื่นทั้งปวง เมื่อได้เกิดขึ้นในเบื้องต้น ความเจริญนั้นมีมาก ส่วนความเสื่อมนั้นมีน้อย
2. แสดงให้เห็นความแปรปรวนในท่ามกลาง ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
3. แสดงให้เห็นความเสื่อมนั้นมีมาก ส่วนความเจริญนั้นมีน้อย และในที่สุด เมื่อความความเสื่อมเต็มร้อย ขาดเหตุปัจจัยก็สิ้นไป ดับไปในที่สุด ขอเชิญชวนให้ผู้อ่านทั้งหลายนำไปพิสูจน์
ดังนี้แล้ว ย่อมมีปัญญา มีข้อคิด ขอพิจารณาจะเห็นได้ว่าอายุของมนุษย์เรานั้นน้อยนัก จุดหมาย หรือจุดจบของกายจะต้องตายแน่นอนหรือวัตถุทุกชนิดจะต้องสิ้นไป เราจึงไม่ควรประมาท เราเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ควรจะได้ทำความเข้าใจ รู้จักตัวของตนเองเสียให้แจ่มแจ้ง รู้จักใช้กายเป็นเครื่องมือให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ประเทศชาติ และมนุษยชาติให้มากสูงสุด เท่าที่จะทำได้
(2) ลักษณะความเป็นไปของจิตตสังขาร หรือนามธรรมอื่นทั้งปวง
1 2 3
ธรรมะ
กิเลส, มาร
ช่วงระยะเวลาของการเกิดและดับของจิตปรุงแต่ง (Space and time)
จิตเดิมแท้ (แสดงด้วยวงกลม) จิตว่างหรือจิตดังเดิมนั้นผุดผ่อง แต่ที่ต้องเศร้าหมองลงเพราะการปรุงแต่ง (เป็นความสัมพันธ์ (ผัสสะ) กันระหว่างเหตุปัจจัยภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับเหตุปัจจัยภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์หรือความคิดนึกที่เกิดขึ้นในใจ) และความเห็นผิด (อวิชชา) จึงเป็นเหตุให้เกิดตัณหา (ความอยากใคร่ได้มี) อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา)
จิตตสังขาร หรือจิตปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นกุศล เช่น ปีติ สุขเวทนา คิดดี ทำดี เป็นต้น และอกุศล เช่น การคิดและการกระทำที่ทำด้วยความกลัว โลภ โกรธ หลง ทั้งนี้เพราะมีอุปาทาน เรายึดมั่นว่าทั้งตัวเราเอง และวัตถุภายนอก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ว่าเป็นของจริง แต่ความจริงคือมันเกิดแล้วแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นลักษณะมายา เช่นเดียวกับการที่เราดูทีวี หรือภาพยนตร์ ภาพที่เห็นมันจะเปลี่ยนไปๆ อยู่ตลอดเวลา
อีกนัยหนึ่ง จิตตสังขาร นี้ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความบริสุทธิ์ดังเดิมของจิต กับ สิ่งปรุงแต่งเข้ามา แสดงด้วยหมายเลขดังนี้
1. แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการผัสสะ (สัมผัส) การปรุงแต่งเกิดแล้วในเบื้องต้นจะมีความกิเลสปริมาณมากและเข้มข้น ส่วนฝ่ายธรรมะหรือความบริสุทธิ์ดังเดิมถูกบิดให้มีน้อย ดุจเมฆมาบดบังพระจันทร์วันเพ็ญ
2. แสดงให้เห็นความแปรปรวนในท่ามกลาง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
3. แสดงให้เห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป กิเลส และอำนาจของการปรุงแต่งค่อยๆ ทุเลาลงๆ และถูกรุกไล่ด้วยสภาวะที่บริสุทธิ์ดังเดิมมีมากขึ้นๆ เมื่อความบริสุทธิ์เต็มร้อย ก็ทำให้บุคคลนั้นๆ หายกลัว โลภ โกรธ หลง ลงชั่วคราว แล้วก็ปรุงแต่งใหม่ ไม่มีวันหยุดสำหรับจิตของปุถุชน จะเกิดขึ้นเท่าใด ก็ดับไปเท่านั้น ไม่เป็นไปอย่างอื่น ทั้งนี้ย่อมเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์นั่นเอง
อนิจจัง คือสภาวะความไม่เที่ยง แสดงด้วยลูกศร
ทุกขัง คือสภาวะความทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นความขัดกัน หรือขัดแย้งกันระหว่างสภาวะจิตที่บริสุทธิ์ดังเดิม กับสิ่งภายนอกที่เข้ามาปรุงแต่ง (โดยที่ยังไม่รู้เท่าทัน)
อนัตตา คือสภาวะ ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เพราะมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาหา จึงหาความเป็นตัวตนไม่ได้ และจะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ใจเราปรารถนาไม่ได้ เช่น ไม่อยากเจ็บมันก็เจ็บ ไม่อยากแก่มันก็แก่ ไม่อยากตายมันก็ต้องตาย เป็นต้น
การปฏิบัติวิปัสสนา ดังนี้แล้วอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงได้มีปัญญาเห็นชัดตามความเป็นจริงของสังขารทั้งปวง หรือในสังขตธรรมทั้งปวง (Conditioned State) คือ (1) มีปัญญาเห็นความเกิด แปรปรวน และดับชัดเจน (2) มีปัญญาเห็นความสลายของของสังขารทั้งปวง (3) มีปัญญาเห็นสังขารทั้งปวงไร้แก่นสาร (4) มีปัญญาเห็นสังขารทั้งปวงเป็นของมีโทษหากยึดมั่นถือมั่น (5) มีปัญญาเกิดความหน่ายในสังขารทั้งปวง (6) มีปัญญาคิดหาทางที่จะพ้นอิสระจากสังขาร (7) มีปัญญาหาทางออกจากสังขาร (8) มีปัญญาเห็นจริงวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งปวง มันเป็นเช่นนั้นเอง (9) อิสระจากสังขารทั้งปวง
ถึงที่สุดแล้ว จะเป็นเหตุให้อิสระพบสภาวะใหม่ อันเป็นความบริสุทธิ์ เป็นสภาวะที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ เข้าถึงสภาวะอมตธรรม หรือนิพพาน หรืออสังขตธรรม (The Unconditioned State) หรือ ธรรมาธิปไตย (The Supremacy of the Dharma) และเป็นปัจจัยให้ผู้ศึกษาปฏิบัติได้รู้แจ้งเห็นองค์ประกอบ คือภาพรวมทั้งหมด และเห็นความสัมพันธ์ของกฎธรรมชาติ (Nature Law) บนความสัมพันธ์ระหว่างอสังขตธรรม อันเป็นปฐมเหตุของความไม่ตาย ไม่เปลี่ยนแปลง อยู่เหนือกฎไตรลักษณ์ กับสังขตธรรม อันเป็นผล นี่คือจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการของสรรพสิ่งนั้นเอง
อีกนัยหนึ่งเป็นปัจจัยให้เราได้รู้ ได้เห็นการวิวัฒนาการทั้งทางนามธรรม (ธาตุรู้) หรือการสั่งสมกุศลธรรม และการสั่งสมอกุศลธรรมของสรรพสัตว์ และในกรณีของมนุษย์ ดังรูป
5 วิปัสสนาเต็มร้อย พ้นทุกข์ทั้งปวง พบนิพพาน, ธรรมาธิปไตย
4 วิปัสสนาปัญญามาก กิเลสน้อย
3
1 2 ปัญญาน้อยกิเลสมาก
1. กรรมชั่ว หรือการทำอกุศลกรรมทั้งปวงด้วยเจตนา ย่อมเป็นการสั่งสมบาป โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
2. เมื่อมีการสั่งสมบาป เพราะปัญญาน้อย กิเลสจึงมีมาก (ภูมิจิตต่ำมีจำนวนมาก)
3. กรรมดี หรือการทำกุศลกรรมทั้งปวงด้วยเจตนา ย่อมเป็นการสั่งสมบุญกุศล เป็นปัจจัยให้มีวิวัฒนาการไปในทิศทางที่เจริญก้าวหน้าทางจิตใจ
4. แสดงสภาวะผลจากการวิปัสสนา ทำให้มีกุศลกรรมและมีปัญญามาก กิเลสจึงลดน้อยลง (ภูมิจิตสูงมีจำนวนน้อย)
5. แสดงให้เห็นผู้ปฏิบัติวิปัสสนา มีปัญญาเต็มร้อย พบสภาวะนิพพาน, ธรรมาธิปไตย อันเป็นสภาวะสูงสุดของกฎธรรมชาติอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และสามารถอิสระจากสังขารทั้งปวงได้ คืออยู่ร่วมกับสังขารแต่ไม่ติดในสังขาร เช่น ได้เห็น ได้ยิน คิด พูด ทำ ฯลฯ แต่ไม่ติดยึดในสิ่งที่ทำนั้นๆ มีแต่กริยาที่เป็นไปเท่านั้น จิตใจจึงอยู่เหนือความชั่วและความดีที่ตนทำ (อ่านตอนที่ 2 ต่อไป)