• สมฺมาสมฺพุทฺโธ (ต่อจากฉบับที่แล้ว)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๓ ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้เป็น ไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคตเขาจึงกล่าวว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส อรรถาธิบาย สมฺมาสมฺพุทฺโธ ในพระธรรมเทศนาพระพุทธคุณ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไว้ดังนี้
“...บท สมฺมาสมฺพุทโธ นี้ ท่านหมายความว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ได้ตรัสรู้เองโดยชอบ ตามที่ว่า ตรัสรู้เอง คือตรัสรู้ธรรม ธรรมนั้นก็มีเป็นอันมาก คือ สังขารธรรมทั้งสิ้นก็ชื่อว่าธรรม หรือว่า วิสังขารธรรม ก็ชื่อว่าธรรม ตกลงย่นให้สั้นเข้าก็มี ๓ ประเภท คือ กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, อพฺยากต ธมฺมา ธรรมฝ่ายดีเรียก กุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วเรียก อกุศลธรรม ไม่ดีไม่ชั่วเรียก อพยากฤตธรรม ถึงแม้อพยากฤตธรรม ก็ต้องกล่าวว่าเป็นสังขารอีกเหมือนกัน แต่กล่าวว่าเป็นสังขาร เป็นกลางๆ คืออเนญฺชาภิสังขาร อยู่ในระหว่างสังขารนั้นเอง เพราะสัตว์บุคคลเขาบัญญัติ แต่ส่วน สภาพธรรมเป็นวิสังขารที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ท่านประสงค์วิสังขารธรรม เพิ่มเข้าด้วย
ในบท สมฺมาสมฺพุทฺโธ นี้ เมื่อกล่าวโดยย่อก็แปลว่า พระองค์รู้จักของจริง คือ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการ ที่พระองค์รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง สภาพความเป็นจริงอย่างไร คือรู้ว่าส่วนนี้เป็นทุกข์ก็กำหนดรู้ ส่วนนี้เป็นสมุทัย คือเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นของควรละเสีย พระองค์ก็ละเสียได้สิ้น ส่วนนี้เป็นนิโรธความดับทุกข์อันบุคคลควรทำให้แจ้งและทรงรู้มรรคว่า เป็นมรรคาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ อันบุคคลพึงกระทำให้เกิดมี พระองค์เป็นผู้รู้จริงเห็นแจ้งซึ่งอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ด้วยพระองค์เอง จึงเรียกสมฺมาสมฺพุทฺโธ
ก็ในอริยสัจทั้ง ๔ อย่างนี้ เมื่อผู้มาศึกษาทางศาสนาแล้ว เขาก็มาศึกษานี้แหละ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เอง โดยเหตุนี้ในพวกเราจะกำหนดอริยสัจอย่างไรจึงจะเข้าใจอริยสัจได้ การจำได้ตาม แบบแผน ไม่สู้แปลกประหลาดอะไรนัก ตามที่ท่านแสดงไว้ว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ สมุทัย ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นิโรธ ได้แก่ ความดับตัณหา มรรค ได้ แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
เมื่อแสดงว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างนี้ ย่อมจะรู้ได้ด้วยกัน ไม่ประหลาดอะไร ต่างคนต่างจำได้ ด้วยกัน เช่น สมุทัยเป็นเหตุที่เกิดทุกข์ การที่ทุกข์ นั้น ทุกข์อย่างไรกัน จะเป็นตัวของเราทุกข์เอง หรือทุกข์ของพระพุทธเจ้า ข้อนี้ก็วินิจฉัยยาก เพราะกาล ล่วงเลยมานาน แต่พระพุทธเจ้านิพพานมาได้ ๒,๔๖๐ ปีเศษ ผู้ที่นำอริยสัจต่อกันมายืดยาวนัก เพราะเหตุนั้น จะถือเป็นการแน่นอนก็เป็นการยาก
เมื่ออยากรู้ว่าจะเป็นของจริงหรือไม่นั้น ต้องวินิจฉัยดูด้วยตนของตนเอง เมื่อเราได้กระทำเต็ม ที่บังเกิดผลขึ้นแล้ว เราจะเป็นผู้พยากรณ์ตัวของเราเองได้ทีเดียว อย่างนี้เป็นการถูกต้อง เพราะว่าบรรดาธรรมทั้งหลายที่เป็นของจริงแล้ว เป็นสนฺทิฏฐิโก คือว่า ข้อปฏิบัติข้อนั้นจะเห็นได้ด้วยตน ธรรมนั้นตัวของเรามีอยู่ทุกเมื่อ และเป็น อกาลิโก ไม่ต้องอ้างกาลอ้างเวลา และเป็น เอหิปสฺสิโก อาจอวดเขาได้ว่าธรรมนั้นมีอาการอย่างนี้ และเป็น โอปนยิโก อาจน้อมธรรมนั้นมาสู่กายสู่ใจเราได้ และเป็น ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ คือ วิญญูชนผู้ปฏิบัติจะรู้ตนของตนได้ คือเราจะตัดสินธรรมว่าถูกหรือผิด เราต้องวินิจฉัยด้วยบททั้ง ๕ นี้
ก็ในส่วนอริยสัจนี้ ถึงแม้เป็นของยากก็จริง พุทธบริษัทต้องสนใจ จะยากก็ตาม จะง่ายก็ตาม อย่างไรก็ดี ควรตรองจนให้ได้ความทีเดียว ตามที่มีในคัมภีร์ต่างๆ ท่านก็อ้างว่า ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นทุกข์แต่ละอย่างๆ ก็เหตุที่จะให้เกิดทุกข์นั้น ก็ด้วยกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อดับตัณหาเสียได้แล้ว ทุกข์ก็ดับด้วย ที่จะปฏิบัติได้ก็ต้องอาศัยมรรคทั้ง ๘ อย่างนี้เป็นมรรคาที่จะดำเนินไปสู่ความ ดับทุกข์ อันนี้เป็นของน่าเข้าใจ แต่ก็ไม่สู้เข้าใจกัน เพราะเป็นของลี้ลับสับสนอยู่ในที่อันเดียวกัน
ที่หมายความว่า ทุกข์นั้น อย่างนี้คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย เป็นทุกข์ ทุกข์จะเกิดก็เพราะเหตุตัณหาเป็นที่ตั้งอันเป็นเหตุ ว่าทำไมมี จะกล่าว ว่า ชาติ ชรา พยาธิ ธรรมเหล่านี้เมื่อไม่มีตัณหา เขาจะอยู่หรือเขาจะไป ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ พยาธิ ความไข้ มรณะ ความตาย อันนี้กล่าวถึงปัญญาความรู้ต่างหาก ก็เมื่อทุกข์ดับ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะก็ดับ ก็ถ้าทุกข์ดับก็ตายกันเท่านั้นซี แต่ในที่นี้ ไม่ได้กล่าวถึงตาย กล่าวถึงในเวลายังไม่ตายนี้แหละ เหตุนั้น จึงยากที่จะตรองให้เข้าอก เข้าใจได้ คือร่างกายอัตภาพของเรานี้ สมมติว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอาการของทุกข์ ก็ส่วนตัณหาต่างๆนี้ ก็คือตัวของเรานี้เอง มันไม่ใช่ว่ามีตนมีตัวมีหัวมีขาเมื่อไรเล่า ความยินดีในกามารมณ์ทั้ง ๕ เป็นกามตัณหา เมื่อยังยินดีอยู่ในอารมณ์ หรือยินดีอยู่ในอัตภาพร่างกายของตน ซึ่งเกิดมีขึ้นไม่อยากให้เสื่อมสูญไปเสียได้ชื่อว่า ภวตัณหา ถ้าสิ่งใดไม่ชอบอกชอบใจของตนก็อยากให้เสื่อมสูญไป เป็นลักษณะของวิภวตัณหา ถ้าตัณหาทั้ง ๓ อย่างนี้มีอยู่ในตัวของเรา ตัวของเราก็เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ส่วนชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ก็ตัวของเรานั่นแหละ ถ้าเรายินดีอยู่ในกามารมณ์ ก็กุมตัณหาอยู่ในตัวนี่เอง สิ่งใดที่ไม่ชอบใจก็ไม่อยากเห็น ไม่อยาก มี ก็ตัวตัณหานี่เอง ก็เมื่อเพิกตัณหาออกเสียจากตนของเรา คือไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ที่ควรยินดีและยินร้ายได้ เช่นนั้นก็ชื่อว่าเป็นนิโรธ คือความยินดีก็ดับ ความยินร้ายก็ดับ ถ้าว่านิโรธธรรมนั้นมาครอบงำน้ำใจของเราไม่ได้ เพราะเรายังเกาะเกี่ยวอยู่ด้วยอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ก็ต้องอาศัยเหตุที่จะเพิกถอนเสียด้วย คืออาศัยสมาธิ อาศัยปัญญา แต่ต้องรักษาตลอดไป จึงจะนำธรรม นั้นมาครอบน้ำใจของเราได้
เมื่อทำศีลของตนให้บริบูรณ์ได้เรียบร้อยจนเป็นสมาธิ สมาธินั้นก็อบรมให้เกิดปัญญา ปัญญาแก่กล้าขึ้น ก็มารู้ในทุกข์ ในสมุทัย ก็ไม่พ้นไปจาก ตนนั่นเอง ส่วนนิโรธและมรรค ก็ตัวของเรานี่เอง ตกลงว่าอริยสัจ ๔ อย่าง เป็นของจริงทุกอย่าง ทุกข์ก็เป็นของจริง สมุทัย คือ ตัณหาก็เป็นของจริง นิโรธ ส่วนรู้ความที่ตัณหาดับไปก็เป็นของมีจริง มรรคปฏิบัติคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เป็นของมีจริงในตัวของเรา ตลอดไปจนถึง มรรคผล นิพพาน โสดาฯ สกิทาคาฯ อนาคาฯ และอรหันต์ ก็ไม่ได้ชี้ลง ณ ที่อื่น ชี้ลงที่ตัวของเรานี้เอง
อริยสัจ ๔ นี้เป็นของฟังยาก ยากที่จะเข้าใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดเฉียบแหลมนัก จึงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองได้ พวกเราปัญญาน้อย ยากที่จะรู้ตามเห็นตามได้ คือเป็นแต่ได้ฟังคำสั่งสอนเท่านั้น จึงเป็นของยากอยู่เป็นธรรมดา
ตนของเราเป็นทุกข์ซึ่งเกี่ยวอยู่ด้วยสมุทัย คือความไม่รู้ซึ่งเป็นตัวอวิชชา จึงเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตกลงคือความไม่รู้นั่นเอง ความไม่รู้นั่นแหละคือเหตุแห่งตัณหา ๓ ถ้าหากว่าเรารู้เสียแล้ว ตัณหา ๓ ก็ดับไปเท่านั้น ถ้าเรายินดีอยู่ ในความเกิดก็คือกามตัณหา ถ้าเราไม่ชอบก็คือวิภวตัณหานี่เอง ความเข้าใจว่าความเกิดเราก็เลยมาเสียแล้ว ความแก่ เจ็บ ตาย ก็ยังไม่มาถึง และตัวของเรานี้เป็นกลางว่างอยู่ คือไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีตาย อย่างนี้เป็นอาการแห่งภวตัณหา เป็นตัณหาเรื่อยๆอยู่อย่างนี้แหละ
เมื่อผู้ใดรู้ว่า ความเกิด ความแก่ ความตาย ก็ เป็นตัวของเรานี้ ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็ตัวของเรานี้ ให้เป็นปัจจุบันธรรม คือความเกิด ก็หมายตัวของเรานี้แหละ เกิดอยู่เสมอทุกขณะลมหายใจเข้าออก เหตุให้เกิดก็คืออาหารทั้ง ๔ คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร สัญเจนตาหาร วิญญาณาหาร เพราะเหตุนั้น รูปธรรมก็เกิดไปตามหน้าที่ของรูปธรรม นามธรรมก็เกิดไปตามหน้าที่ของนามธรรม
เมื่อเกิดแล้วก็แก่ ความแก่ก็มีประจำอยู่ในตัวของเราเสมอไม่มีว่าง ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องของมารดา ความแก่ก็ต้องแก่อยู่เสมอ จะว่าแก่ตั้งแต่เกิดมา ๒-๓ วัน ก็เรียกได้ ความแก่ก็เป็นปัจจุบัน ความเจ็บความไข้ก็เป็นปัจจุบันเหมือนกัน เพราะเราก็รักษาพยาบาลกันเรื่อยมา
เมื่อโรคคือความหิวเกิดขึ้น ก็หาอาหารมา รับประทานเสียก็หายไปอย่างนี้แหละ ร่างกายก็เจ็บปวดต่างๆเหล่านี้ก็แก้อยู่เสมอ โรคจึงไม่กำเริบ เพราะโรคประจำ ยาก็ประจำ จึงไม่รู้สึกว่าเป็นโรค ถ้าโรคจรมาก็ต้องวิ่งหาโรงพยาบาล เมื่อเห็นชัดว่าตัวของเรานี้เจ็บไข้อยู่ ทุกเมื่อเป็นความจริง ด้วยอาการอย่างนี้
ความตายที่เป็นปัจจุบันธรรม นั้น คือเกิดวันใดก็ตายวันนั้น คือต้องตายอยู่เสมอ ทำไมเราจึง จะรู้ว่าเราตายอยู่เสมอ ต้องมอง ดูว่า แต่ก่อนนี้เราเป็นเด็กๆหาย ไปไหน สวยๆงามๆของเราหาย ไปอยู่ที่ไหนหมด นั่นเป็นพยาน เมื่อรู้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีอยู่เสมออย่างนี้แล้ว ตัวภวตัณหาก็ดับเท่านั้นเอง เมื่อตัวภวตัณหาดับแล้ว กามตัณหา วิภวตัณหาจะอยู่อย่างไรได้ ก็ดับไปด้วยกันหมด อยู่ไม่ได้
เมื่อรู้ว่าความเกิดมีอยู่ ความแก่มีอยู่ ความตาย มีอยู่ในตัวของเราเป็นมรรคเสียแล้ว มรรคให้ผลจึงเป็นนิโรธ เมื่อตัณหาดับได้แล้ว จึงเกิดความรู้จริง เห็นแจ้งขึ้น ปัญญาอันนี้เป็นลักษณะที่พุทธบริษัทจะควรตรองให้มากทีเดียว เพราะเป็นของลึกล้ำคัมภีรภาพมาก
ผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ใครจะรู้จริงเห็นแจ้งเองได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้รู้เองเห็นเอง และทรงสั่งสอนให้กลับทุกข์คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นมรรค คือกลับให้เป็นตัวสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นมรรคแล้ว ผลก็เป็นนิโรธทีเดียว โดยตรองให้ เข้าใจก็จะถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในบทว่า สมฺมาสมฺพุทโธ เมื่อเช่นนั้น จงพากันอุตสาหะปฏิบัติตาม เมื่อทำให้เห็นได้จริงก็จะมีคุณวุฒิเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา โดยนัยที่ได้พรรณนามาด้วยประการฉะนี้
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๓ ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้เป็น ไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคตเขาจึงกล่าวว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส อรรถาธิบาย สมฺมาสมฺพุทฺโธ ในพระธรรมเทศนาพระพุทธคุณ เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไว้ดังนี้
“...บท สมฺมาสมฺพุทโธ นี้ ท่านหมายความว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ได้ตรัสรู้เองโดยชอบ ตามที่ว่า ตรัสรู้เอง คือตรัสรู้ธรรม ธรรมนั้นก็มีเป็นอันมาก คือ สังขารธรรมทั้งสิ้นก็ชื่อว่าธรรม หรือว่า วิสังขารธรรม ก็ชื่อว่าธรรม ตกลงย่นให้สั้นเข้าก็มี ๓ ประเภท คือ กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, อพฺยากต ธมฺมา ธรรมฝ่ายดีเรียก กุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วเรียก อกุศลธรรม ไม่ดีไม่ชั่วเรียก อพยากฤตธรรม ถึงแม้อพยากฤตธรรม ก็ต้องกล่าวว่าเป็นสังขารอีกเหมือนกัน แต่กล่าวว่าเป็นสังขาร เป็นกลางๆ คืออเนญฺชาภิสังขาร อยู่ในระหว่างสังขารนั้นเอง เพราะสัตว์บุคคลเขาบัญญัติ แต่ส่วน สภาพธรรมเป็นวิสังขารที่พระผู้มีพระภาคตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ท่านประสงค์วิสังขารธรรม เพิ่มเข้าด้วย
ในบท สมฺมาสมฺพุทฺโธ นี้ เมื่อกล่าวโดยย่อก็แปลว่า พระองค์รู้จักของจริง คือ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการ ที่พระองค์รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง สภาพความเป็นจริงอย่างไร คือรู้ว่าส่วนนี้เป็นทุกข์ก็กำหนดรู้ ส่วนนี้เป็นสมุทัย คือเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นของควรละเสีย พระองค์ก็ละเสียได้สิ้น ส่วนนี้เป็นนิโรธความดับทุกข์อันบุคคลควรทำให้แจ้งและทรงรู้มรรคว่า เป็นมรรคาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ อันบุคคลพึงกระทำให้เกิดมี พระองค์เป็นผู้รู้จริงเห็นแจ้งซึ่งอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ด้วยพระองค์เอง จึงเรียกสมฺมาสมฺพุทฺโธ
ก็ในอริยสัจทั้ง ๔ อย่างนี้ เมื่อผู้มาศึกษาทางศาสนาแล้ว เขาก็มาศึกษานี้แหละ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เอง โดยเหตุนี้ในพวกเราจะกำหนดอริยสัจอย่างไรจึงจะเข้าใจอริยสัจได้ การจำได้ตาม แบบแผน ไม่สู้แปลกประหลาดอะไรนัก ตามที่ท่านแสดงไว้ว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ สมุทัย ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นิโรธ ได้แก่ ความดับตัณหา มรรค ได้ แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
เมื่อแสดงว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างนี้ ย่อมจะรู้ได้ด้วยกัน ไม่ประหลาดอะไร ต่างคนต่างจำได้ ด้วยกัน เช่น สมุทัยเป็นเหตุที่เกิดทุกข์ การที่ทุกข์ นั้น ทุกข์อย่างไรกัน จะเป็นตัวของเราทุกข์เอง หรือทุกข์ของพระพุทธเจ้า ข้อนี้ก็วินิจฉัยยาก เพราะกาล ล่วงเลยมานาน แต่พระพุทธเจ้านิพพานมาได้ ๒,๔๖๐ ปีเศษ ผู้ที่นำอริยสัจต่อกันมายืดยาวนัก เพราะเหตุนั้น จะถือเป็นการแน่นอนก็เป็นการยาก
เมื่ออยากรู้ว่าจะเป็นของจริงหรือไม่นั้น ต้องวินิจฉัยดูด้วยตนของตนเอง เมื่อเราได้กระทำเต็ม ที่บังเกิดผลขึ้นแล้ว เราจะเป็นผู้พยากรณ์ตัวของเราเองได้ทีเดียว อย่างนี้เป็นการถูกต้อง เพราะว่าบรรดาธรรมทั้งหลายที่เป็นของจริงแล้ว เป็นสนฺทิฏฐิโก คือว่า ข้อปฏิบัติข้อนั้นจะเห็นได้ด้วยตน ธรรมนั้นตัวของเรามีอยู่ทุกเมื่อ และเป็น อกาลิโก ไม่ต้องอ้างกาลอ้างเวลา และเป็น เอหิปสฺสิโก อาจอวดเขาได้ว่าธรรมนั้นมีอาการอย่างนี้ และเป็น โอปนยิโก อาจน้อมธรรมนั้นมาสู่กายสู่ใจเราได้ และเป็น ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ คือ วิญญูชนผู้ปฏิบัติจะรู้ตนของตนได้ คือเราจะตัดสินธรรมว่าถูกหรือผิด เราต้องวินิจฉัยด้วยบททั้ง ๕ นี้
ก็ในส่วนอริยสัจนี้ ถึงแม้เป็นของยากก็จริง พุทธบริษัทต้องสนใจ จะยากก็ตาม จะง่ายก็ตาม อย่างไรก็ดี ควรตรองจนให้ได้ความทีเดียว ตามที่มีในคัมภีร์ต่างๆ ท่านก็อ้างว่า ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นทุกข์แต่ละอย่างๆ ก็เหตุที่จะให้เกิดทุกข์นั้น ก็ด้วยกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อดับตัณหาเสียได้แล้ว ทุกข์ก็ดับด้วย ที่จะปฏิบัติได้ก็ต้องอาศัยมรรคทั้ง ๘ อย่างนี้เป็นมรรคาที่จะดำเนินไปสู่ความ ดับทุกข์ อันนี้เป็นของน่าเข้าใจ แต่ก็ไม่สู้เข้าใจกัน เพราะเป็นของลี้ลับสับสนอยู่ในที่อันเดียวกัน
ที่หมายความว่า ทุกข์นั้น อย่างนี้คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย เป็นทุกข์ ทุกข์จะเกิดก็เพราะเหตุตัณหาเป็นที่ตั้งอันเป็นเหตุ ว่าทำไมมี จะกล่าว ว่า ชาติ ชรา พยาธิ ธรรมเหล่านี้เมื่อไม่มีตัณหา เขาจะอยู่หรือเขาจะไป ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ พยาธิ ความไข้ มรณะ ความตาย อันนี้กล่าวถึงปัญญาความรู้ต่างหาก ก็เมื่อทุกข์ดับ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะก็ดับ ก็ถ้าทุกข์ดับก็ตายกันเท่านั้นซี แต่ในที่นี้ ไม่ได้กล่าวถึงตาย กล่าวถึงในเวลายังไม่ตายนี้แหละ เหตุนั้น จึงยากที่จะตรองให้เข้าอก เข้าใจได้ คือร่างกายอัตภาพของเรานี้ สมมติว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอาการของทุกข์ ก็ส่วนตัณหาต่างๆนี้ ก็คือตัวของเรานี้เอง มันไม่ใช่ว่ามีตนมีตัวมีหัวมีขาเมื่อไรเล่า ความยินดีในกามารมณ์ทั้ง ๕ เป็นกามตัณหา เมื่อยังยินดีอยู่ในอารมณ์ หรือยินดีอยู่ในอัตภาพร่างกายของตน ซึ่งเกิดมีขึ้นไม่อยากให้เสื่อมสูญไปเสียได้ชื่อว่า ภวตัณหา ถ้าสิ่งใดไม่ชอบอกชอบใจของตนก็อยากให้เสื่อมสูญไป เป็นลักษณะของวิภวตัณหา ถ้าตัณหาทั้ง ๓ อย่างนี้มีอยู่ในตัวของเรา ตัวของเราก็เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ส่วนชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ก็ตัวของเรานั่นแหละ ถ้าเรายินดีอยู่ในกามารมณ์ ก็กุมตัณหาอยู่ในตัวนี่เอง สิ่งใดที่ไม่ชอบใจก็ไม่อยากเห็น ไม่อยาก มี ก็ตัวตัณหานี่เอง ก็เมื่อเพิกตัณหาออกเสียจากตนของเรา คือไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่ออารมณ์ที่ควรยินดีและยินร้ายได้ เช่นนั้นก็ชื่อว่าเป็นนิโรธ คือความยินดีก็ดับ ความยินร้ายก็ดับ ถ้าว่านิโรธธรรมนั้นมาครอบงำน้ำใจของเราไม่ได้ เพราะเรายังเกาะเกี่ยวอยู่ด้วยอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ก็ต้องอาศัยเหตุที่จะเพิกถอนเสียด้วย คืออาศัยสมาธิ อาศัยปัญญา แต่ต้องรักษาตลอดไป จึงจะนำธรรม นั้นมาครอบน้ำใจของเราได้
เมื่อทำศีลของตนให้บริบูรณ์ได้เรียบร้อยจนเป็นสมาธิ สมาธินั้นก็อบรมให้เกิดปัญญา ปัญญาแก่กล้าขึ้น ก็มารู้ในทุกข์ ในสมุทัย ก็ไม่พ้นไปจาก ตนนั่นเอง ส่วนนิโรธและมรรค ก็ตัวของเรานี่เอง ตกลงว่าอริยสัจ ๔ อย่าง เป็นของจริงทุกอย่าง ทุกข์ก็เป็นของจริง สมุทัย คือ ตัณหาก็เป็นของจริง นิโรธ ส่วนรู้ความที่ตัณหาดับไปก็เป็นของมีจริง มรรคปฏิบัติคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เป็นของมีจริงในตัวของเรา ตลอดไปจนถึง มรรคผล นิพพาน โสดาฯ สกิทาคาฯ อนาคาฯ และอรหันต์ ก็ไม่ได้ชี้ลง ณ ที่อื่น ชี้ลงที่ตัวของเรานี้เอง
อริยสัจ ๔ นี้เป็นของฟังยาก ยากที่จะเข้าใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดเฉียบแหลมนัก จึงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองได้ พวกเราปัญญาน้อย ยากที่จะรู้ตามเห็นตามได้ คือเป็นแต่ได้ฟังคำสั่งสอนเท่านั้น จึงเป็นของยากอยู่เป็นธรรมดา
ตนของเราเป็นทุกข์ซึ่งเกี่ยวอยู่ด้วยสมุทัย คือความไม่รู้ซึ่งเป็นตัวอวิชชา จึงเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตกลงคือความไม่รู้นั่นเอง ความไม่รู้นั่นแหละคือเหตุแห่งตัณหา ๓ ถ้าหากว่าเรารู้เสียแล้ว ตัณหา ๓ ก็ดับไปเท่านั้น ถ้าเรายินดีอยู่ ในความเกิดก็คือกามตัณหา ถ้าเราไม่ชอบก็คือวิภวตัณหานี่เอง ความเข้าใจว่าความเกิดเราก็เลยมาเสียแล้ว ความแก่ เจ็บ ตาย ก็ยังไม่มาถึง และตัวของเรานี้เป็นกลางว่างอยู่ คือไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีตาย อย่างนี้เป็นอาการแห่งภวตัณหา เป็นตัณหาเรื่อยๆอยู่อย่างนี้แหละ
เมื่อผู้ใดรู้ว่า ความเกิด ความแก่ ความตาย ก็ เป็นตัวของเรานี้ ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็ตัวของเรานี้ ให้เป็นปัจจุบันธรรม คือความเกิด ก็หมายตัวของเรานี้แหละ เกิดอยู่เสมอทุกขณะลมหายใจเข้าออก เหตุให้เกิดก็คืออาหารทั้ง ๔ คือ กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร สัญเจนตาหาร วิญญาณาหาร เพราะเหตุนั้น รูปธรรมก็เกิดไปตามหน้าที่ของรูปธรรม นามธรรมก็เกิดไปตามหน้าที่ของนามธรรม
เมื่อเกิดแล้วก็แก่ ความแก่ก็มีประจำอยู่ในตัวของเราเสมอไม่มีว่าง ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องของมารดา ความแก่ก็ต้องแก่อยู่เสมอ จะว่าแก่ตั้งแต่เกิดมา ๒-๓ วัน ก็เรียกได้ ความแก่ก็เป็นปัจจุบัน ความเจ็บความไข้ก็เป็นปัจจุบันเหมือนกัน เพราะเราก็รักษาพยาบาลกันเรื่อยมา
เมื่อโรคคือความหิวเกิดขึ้น ก็หาอาหารมา รับประทานเสียก็หายไปอย่างนี้แหละ ร่างกายก็เจ็บปวดต่างๆเหล่านี้ก็แก้อยู่เสมอ โรคจึงไม่กำเริบ เพราะโรคประจำ ยาก็ประจำ จึงไม่รู้สึกว่าเป็นโรค ถ้าโรคจรมาก็ต้องวิ่งหาโรงพยาบาล เมื่อเห็นชัดว่าตัวของเรานี้เจ็บไข้อยู่ ทุกเมื่อเป็นความจริง ด้วยอาการอย่างนี้
ความตายที่เป็นปัจจุบันธรรม นั้น คือเกิดวันใดก็ตายวันนั้น คือต้องตายอยู่เสมอ ทำไมเราจึง จะรู้ว่าเราตายอยู่เสมอ ต้องมอง ดูว่า แต่ก่อนนี้เราเป็นเด็กๆหาย ไปไหน สวยๆงามๆของเราหาย ไปอยู่ที่ไหนหมด นั่นเป็นพยาน เมื่อรู้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีอยู่เสมออย่างนี้แล้ว ตัวภวตัณหาก็ดับเท่านั้นเอง เมื่อตัวภวตัณหาดับแล้ว กามตัณหา วิภวตัณหาจะอยู่อย่างไรได้ ก็ดับไปด้วยกันหมด อยู่ไม่ได้
เมื่อรู้ว่าความเกิดมีอยู่ ความแก่มีอยู่ ความตาย มีอยู่ในตัวของเราเป็นมรรคเสียแล้ว มรรคให้ผลจึงเป็นนิโรธ เมื่อตัณหาดับได้แล้ว จึงเกิดความรู้จริง เห็นแจ้งขึ้น ปัญญาอันนี้เป็นลักษณะที่พุทธบริษัทจะควรตรองให้มากทีเดียว เพราะเป็นของลึกล้ำคัมภีรภาพมาก
ผู้ที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ใครจะรู้จริงเห็นแจ้งเองได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้รู้เองเห็นเอง และทรงสั่งสอนให้กลับทุกข์คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ เป็นมรรค คือกลับให้เป็นตัวสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นมรรคแล้ว ผลก็เป็นนิโรธทีเดียว โดยตรองให้ เข้าใจก็จะถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในบทว่า สมฺมาสมฺพุทโธ เมื่อเช่นนั้น จงพากันอุตสาหะปฏิบัติตาม เมื่อทำให้เห็นได้จริงก็จะมีคุณวุฒิเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา โดยนัยที่ได้พรรณนามาด้วยประการฉะนี้
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 86 ม.ค. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)