เมื่อพูดถึงคัมภีร์ทางการเมืองของตะวันตกแล้ว ทุกคนต่างพากันยกย่องหนังสือเจ้าผู้ครองนคร (The Prince) ว่า เป็นคู่มือฉบับคลาสสิกของผู้ปกครองที่ดีที่สุด แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะเขียนขึ้นมาเป็นเวลากว่า 600 ปีแล้ว
เนื้อหาของ The Prince หันหลังให้กับคุณธรรมหรือจริยธรรมโดยสิ้นเชิง แต่กลับสนับสนุนให้ใช้เล่ห์เหลี่ยม กลลวง การโกหกหลอกลวง การหักหลัง การลอบทำร้ายคู่แข่ง หรือแม้แต่การฆาตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษาอำนาจของผู้ปกครอง และปกป้องเสถียรภาพโดยรวมของของราชอาณาจักร หรือสาธารณรัฐ
บางคนมองว่า The Prince เป็นความจริงทางการเมือง บางคนมองว่าเป็นคู่มือของทรราช และมีบางคนมองว่า The Prince เป็นครูของความชั่วร้าย
(Machiavellian) มาเคียเวลเลียนกลายเป็นคำศัพท์ที่แสดงนัยถึงความฉลาดแกมโกง เจ้าเล่ห์เพทุบาย ความไร้ยางอาย
นิคโคโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli, ค.ศ. 1469-1527) เป็นชาวเมืองฟลอเรนซ์ของอิตาลีที่มีชีวิตในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเจ้าผู้ครองนคร The Prince ในปี 1513 โดยใช้ประสบการณ์ที่ช่ำชองจากการเป็นนักการทูต นักการทหาร และจากการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง
มาเคียเวลลีบอกว่าโลกแห่งความเป็นจริง กับโลกที่อยู่ในความคิดของคนส่วนมากมีความแตกต่างกันราวกับฟ้ากับดิน
จากการสังเกตประวัติศาสตร์การเมือง เขาพบว่าในโลกของการเมือง มันเป็นเรื่องของการหลอกลวง หักหลัง และการก่ออาชญากรรมทั้งนั้น
มาเคียเวลลีนำเสนอต่อไปว่า ประวัติศาสตร์สอนให้เราเห็นว่าผู้ปกครองที่เป็นคนดี ยึดมั่นในหลักการส่วนมากแล้วจะล้มเหลว หรือถูกทำลาย ในทางตรงข้าม ผู้ปกครองที่พร้อมที่จะละทิ้งคุณธรรม กระทำการทุกวิถีทางเพื่อบรรลุจุดประสงค์ และรักษาอำนาจ จะประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพมากกว่าในการบริหารความร่วมเย็นเป็นสุขให้กับนครรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สูงที่สุด
“จะทำอย่างไรก็ได้ ขอให้งานสำเร็จ”
The end justifies the means.
“อเล็กซานเดอร์ไม่เคยทำในสิ่งที่พระองค์พูด ซีซาเรไม่เคยพูดอะไรที่ตัวเองทำ”
“ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่ที่ได้มาโดยไม่มีอันตราย”
เนื้อหาของ The Prince ขัดกับหลักจริยธรรมของคริสเตียนในเรื่องของความดี การไม่ทำบาป ศรัทธาในพระเจ้า ความซื่อตรง การไม่เอาเปรียบ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทำให้องค์พระสันตะปาปาแห่งโรมมีคำสั่งห้ามพิมพ์ และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้เป็นเวลาหลายร้อยปี
อย่างไรก็ดี The Prince ของมาเคียเวลลีกลับเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วทั้งยุโรป และโลกในเวลาต่อมาจนนักการเมือง ผู้ปกครองแทบทุกคนถือว่าเป็นหนังสือคู่ใจในการเรียนรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ เพื่อที่จะรักษาอำนาจ และต้องย้อนกลับไปอ่านบางครั้งบางคราวเตือนสติไม่ให้ประมาท จึงไม่น่าแปลกใจที่มาเคียเวลลีได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาทางการเมือง และบิดาแห่งรัฐศาสตร์
มาเคียเวลลีได้รับการศึกษาอย่างดีตั้งแต่เยาว์วัย มีความเชี่ยวชาญในภาษาละตินเป็นพิเศษ เขาเติบโตท่ามกลางบรรยากาศของอิตาเลียนเรอเนซองส์ที่อยู่ช่วงระหว่างศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนาการ โดยมีการย้อนกลับไปหาอารยธรรมกรีกและโรมันโบราณที่ถูกทอดทิ้งหลังจากยุคมืดของสมัยกลาง (Middle Age)
ยุคเรอเนซองส์มีการแปลผลงานของนักคิด นักเขียน และนักปรัชญากรีกโบราณออกมาเป็นภาษาอิตาเลียน ทำให้มีการเรียนรู้ใหม่ ทำให้เกิดอุดมการณ์หรือแนวความคิดมนุษย์นิยมที่เอาเป็นศูนย์กลางของจักรวาลแทนพระเจ้า และมีการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสและเหตุผล ต่างจากกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด ศรัทธาในศาสนาที่จับต้องไม่ได้ และความคิดทุกอย่างถูกจำกัดภายใต้กรอบแคบๆ ของศาสนจักรที่ครอบงำยุโรปในเวลานั้น
โลกทัศน์ของมาเคียเวลลีได้อิทธิพลจากแนวความคิดมนุษย์นิยม ที่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ตามรูปร่างลักษณะของพระองค์ (God creates man in his own image) พระเจ้าอยู่บนสวรรค์ หรืออยู่เหนือโลกมนุษย์ จะมีตัวตนหรือไม่มิอาจจะทราบได้ แต่สิ่งที่แน่นอนกว่าคือมนุษย์ต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง ดำเนินชีวิตไปตามเหตุผล ความสามารถและศักยภาพของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจที่เหนือธรรมชาติ หรือพระเจ้า
มนุษยนิยมสายกลางเชื่อว่า ยิ่งรู้จักความเป็นมนุษย์เท่าใด ยิ่งจะรู้จักพระเจ้ามากขึ้น แต่มนุษย์นิยมสายฮาร์ดคอร์ไม่เชื่อพระเจ้า หรืออำนาจที่เหนือธรรมชาติ ไม่เชื่อว่ามีชีวิตหลังความตาย มองว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความรู้ในวิทยาศาสตร์เท่านั้นเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะว่าพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล และประสาทสัมผัส มนุษย์มีสิทธิ์แสวงหาความสุขในชีวิตนี้ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่มีวิญญาณที่เป็นอมตะ แต่อยู่ที่ความสามารถในการแสดงออกของเสรีภาพ และความเป็นเลิศ ความรู้มีค่ามากกว่าศรัทธาทางศาสนา
เรอเนซองส์แปลว่าเกิดใหม่ มีจุดศูนย์กลางที่เมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐในคาบสมุทรอิตาลี เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงิน เจ้าผู้ครองนครของฟลอเรนซ์ให้เงินกู้กับกษัตริย์ของยุโรปเพื่อการใช้จ่าย และการทำสงคราม ระบบทุนนิยม และระบบธนาคารที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมีรากฐานจากฟลอเรนซ์และเวนิส ที่เป็นจุดกำเนิดของลัทธิมนุษยนิยมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของมนุษย์โลกในปัจจุบัน
บุคคลที่มีความโดดเด่นที่สุดในยุคเรอเนซองส์คือ ลอเรนโซ เดอ เมดิซี (1449-1492), เลนาร์โด ดา วินซี (1452-1519), ไมเคิล แองเจลโล (1475–1564), นิโคลัส โคเปอร์นิกัส (1473-1543), ฟรานเชสโก เปตรากา (1304-1374), ราฟาเอล (1483-1520), กาลิเลโอ (1564–1642), เชกสเปียร์ (1564-1616), นิโคโล มาเคียเวลลี (1469-1527)
ยุคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางการวาดภาพ สถาปัตยกรรม งานแกะสลัก วรรณคดี ดนตรี ปรัชญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และมีการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ของโลกผ่านการล่าอาณานิคม
มาเคียเวลลีทำงานให้ฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นสาธารณรัฐในเวลานั้นในฐานะนักการทูต โดยดูแลกิจการด้านการทูตและการทหาร นอกจากนี้ เขายังเขียนบทละคร บทเพลง และบทกวีนิพนธ์ เขาทำงานให้ฟลอเรนซ์ระหว่างปี 1498-1512 ในช่วงที่ตระกูลเมดิซีถูกถอดออกจากอำนาจ ทำให้มีโอกาสได้พบผู้นำที่สำคัญ รวมทั้งสันตะปาปา และเดินทางไปที่ต่างๆ
เมื่อพวกเมดิซีกลับมามีอำนาจ เขาถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกจับขังติดคุก และถูกทรมานให้รับสารภาพว่าเป็นพวกขบถ ต่อมาเขาถูกปล่อยตัว และใช้ชีวิตในชนบทนอกเมืองฟลอเรนซ์ หนังสือ The Prince เขียนขึ้นในช่วงชีวิตที่ตกต่ำของมาเคียเวลลี และเขาตายโดยที่ไม่มีใครเหลียวแล
เมื่อนิโคโล มาเคียเวลลีเขียนหนังสือ เจ้าผู้ครองนคร (The Prince) ในปี 1513 เขามีเป้าหมายสองประการ ประการแรกคือเขาต้องการได้งานจากตระกูลเมดิซี เพราะว่าเขาเคยมีตำแหน่งในระดับสูงในฟลอเรนซ์ แต่ถูกปลดออกจากงานหลังจากตระกูลเมดิซีได้กลับมามีอำนาจในฟลอเรนซ์อีกครั้งในปี 1512
เขาเขียนหนังสือ The Prince และอุทิศให้ Lorenzo de' Medici (ค.ศ. 1492-1519) เพื่อแสดงว่าเขาเป็นคนมีความรู้ในศาสตร์ของการปกครอง และต้องการให้ผู้ปกครองสาธารณรัฐเห็นความสำคัญของเขา หรือให้งานเขาทำ
อีกประการหนึ่ง มาเคียเวลลีต้องการเห็นผู้ปกครองที่มีความสามารถในการรักษาความเป็นปึกแผ่น และเสถียรภาพของอิตาลี ในยุคที่อิตาลีถูกแบ่งแยกเป็นแว่นแคว้น ไม่ว่าจะเป็นเวนิส ฟลอเรนซ์ โรม มิลาน เนเปิลส์ต่างตั้งตัวเป็นเป็นอิสระต่อกัน มีความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจกันเพื่อความเป็นใหญ่ ในขณะเดียวกัน เพื่อนบ้านอย่างสเปน และฝรั่งเศสต้องการส่งทหารเข้ามาในอิตาลีเพื่อสร้างอิทธิพล เพราะฉะนั้นอิตาลีจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีความสามารถในการรักษาความมั่นคง และเสถียรภาพ รวบรวมอิตาลีเป็นปึกแผ่น และสามารถปกป้องจากภัยจากภายนอกได้ ถ้าหากฟังคำแนะนำของเขา
หนังสือ The Prince แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือบทที่ 1-14 มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของดินแดนที่เจ้าผู้ครองนครปกครอง รวมทั้งความท้าทายในการครองอำนาจ และการจัดสรรกองกำลังทหารเพื่อปกป้องตัวเอง
มาเคียเวลลีเล่าถึงเรื่องราวของ Cesare Borgia นักการทหารที่ช่ำชอง และเป็นลูกของโป๊ป Alexander VI เขาส่งลูกน้อง Remirro de Orco ไปที่เมืองโรมาคนาเพื่อปราบจลาจลด้วยวิธีการที่เหี้ยมโหด เมื่องานเสร็จแล้ว บอร์เจียสั่งฆ่าออร์โก แล้วเอาศพไปประจานกลางเมืองในลักษณะเสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล บอร์เจียโบ้ยความผิดทุกอย่างไปให้ออร์โกว่าเป็นต้นเหตุของความโหดร้าย และในขณะเดียวกันเขาแสดงให้เห็นว่าอำนาจของเขาต้องไม่ถูกท้าทาย เกือบจะทุกคนไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่โหดเหี้ยมนี้ของบอร์เจีย แต่มาเคียเวลลีมองว่า บอร์เจียทำความดีและมีเมตตาต่างหาก เพราะว่าเขาสามารถนำความสงบสุขกลับคืนสู่ชาวเมืองโรมาคนา
ความเห็นของมาเคียเวลลีทำลายระบบคุณธรรม และความดี ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ เพราะว่าเขาสนับสนุนความรุนแรง และการฆ่าเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ใหญ่กว่าทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม มาเคียเวลลีแนะนำว่า ความโหดร้ายของผู้ปกครองควรใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น มิเช่นนั้นประชาชนจะเกลียด ผู้ปกครองต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ประชาชนเกลียดชัง แค่รู้สึกเกรงขามก็พอ
บทที่ 15-26 มีความสำคัญกว่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางตัวหรือการปฏิบัติตนของผู้ปกครองต่อประชาชน ผู้ถูกปกครอง และพันธมิตร
มาเคียเวลลีย้ำว่า สิ่งที่เขาพูดเป็นความจริงของชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่เราอยากจะเห็นหรือจินตนาการไปเอง
เราควรมีชีวิตอย่างไร และเรามีชีวิตอย่างไรจริงๆ มีความแตกต่างกันมาก ถ้าเจ้าผู้ครองนครไม่เข้าใจความจริงข้อนี้ เขาจะประสบความล้มเหลวในการปกครอง และจะไม่สามารถรักษาอำนาจเอาไว้ได้
ผู้ปกครองที่ต้องการทำความดีในทุกวิถีทาง ท้ายที่สุดแล้วต้องมาเสียใจภายหลัง เพราะว่าคนโดยทั่วไป หรือผู้ถูกปกครองไม่ใช่เป็นคนดี แต่มีนิสัยโลเล เอาแน่ไม่ได้ โลภมาก เวลามีภัยจะหนีเอาตัวรอด
ความดีในจริยธรรมของคริสเตียนกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่าไม่สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริง
“ข้าขอไปนรก ดีกว่าไปสวรรค์ ในนรก ผมจะมีเพื่อนเป็นโป๊ป กษัตริย์ และเจ้าผู้ครองนคร ส่วนในสวรรค์มีแต่ขอทาน บาทหลวง และสาวกของพระเจ้า”
มาเคียเวลลีตั้งคำถามว่า อะไรดีกว่ากัน ระหว่างความใจกว้างเอื้ออาทรกับความตระหนี่ เราอาจจะคิดว่าความใจกว้างเป็นสิ่งที่ดี แต่มาเคียเวลลีบอกว่า ถ้าผู้ครองนครเป็นคนใจกว้าง เขาจะต้องทุกข์ใจในภายหลัง
ถ้าผู้ปกครองใจกว้างพอประมาณ คนทั่วไปจะไม่เห็น ถ้าใจกว้างมาก จะต้องมีการใช้จ่ายมาก ผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนมากจะเป็นคนกลุ่มน้อย และในท้ายที่สุดต้องเรียกเก็บภาษี ทำให้ประชาชนส่วนมากลำบาก และจะหันมาเกลียดชังเจ้าผู้ครองนคร
เจ้าผู้ครองนครที่ดีต้องตระหนี่ในการใช้จ่าย คนอาจจะวิจารณ์หรือนินทาไปต่างๆนานา แต่ท้ายที่สุด คนจะมองว่าผู้ปกครองเป็นคนใจกว้าง เพราะว่าเขาประหยัดงบประมาณ และไม่เรียกเก็บภาษีจากประชาชน
การที่ผู้ปกครองจะมีคนรัก หรือกลัว อย่างไหนจะดีกว่ากัน?
ในประเด็นนี้ มาเคียเวลลียกจริยธรรมให้กลับหัวกลับหาง ผู้ปกครองทุกคนต้องการให้คนรัก แต่ต้องให้คนกลัวด้วยถึงจะปกครองได้ ในความจริงแล้วความรักกับความกลัวไปด้วยกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ครองนครควรเลือกที่จะให้คนกลัวมากกว่าคนรัก
ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของคนโดยทั่วไปจะไม่สำนึกบุญคุณ เอาแน่ไม่ได้ โกหก หลอกลวง หนีภัยเอาตัวรอด และมีความโลภ
คนทั่วไปจะสนับสนุนผู้ครองนครเมื่อไม่มีภัยอันตราย แต่เมื่ออันตรายมาถึงจะทอดทิ้งทุกอย่าง
แต่ไม่ใช่ว่าเจ้าผู้ครองนครจะทำให้คนกลัวตลอดเวลา ที่สำคัญต้องเลี่ยงไม่ให้คนเกลียด ด้วยการไม่ไปเบียดเบียนหรือยึดเอาทรัพย์สินของประชาชน เพราะว่าคนทุกคนกังวลใจกับทรัพย์สินของตัวเองมากกว่าครอบครัว
ผู้ครองนครที่ไม่ได้รักษาคำพูดจะประสบความสำเร็จมากกว่าผู้ที่รักษาสัญญา “สัญญาเป็นความจำเป็นของอดีต การไม่รักษาสัญญาเป็นความจำเป็นของภาวะปัจจุบัน”
เจ้าผู้ครองนครใช้วิธีการปกครองผ่านสองขบวนการ คือผ่านทางกฎหมาย และการใช้กำลัง
การใช้กฎหมายคือวิธีการที่มนุษย์ที่ศิวิไลซ์ใช้กัน การใช้กำลังเปรียบเหมือนสัตว์ป่า
แต่กฎหมายใช้ไม่ได้ตลอดไป ถ้าเจ้าผู้ครองนครถูกโจมตี เพราะว่าคนทั่วไปไม่ได้คิดว่าจะทำตามกฎหมายทุกอย่าง ผู้ปกครอง จำเป็นต้องมีพร้อมที่จะใช้กำลังเพื่อปกป้องอำนาจของตัวเอง
มาเคียเวลลียกลักษณะของสุนัขจิ้งจอก กับสิงโตเป็นอุปมาอุปไมย
จิ้งจอกใช้สติปัญญาเพื่อเอาตัวรอด ในขณะที่สิงโตใช้พละกำลังในการจัดการกับศัตรูหรือเหยื่อ
เจ้าผู้ครอง ต้องพร้อมที่จะใช้คุณลักษณะทั้งสองนี้
“เราต้องวางตัวเป็นหมาจิ้งจอกเพื่อที่จะเห็นกับดัก และวางตัวเป็นสิงโตเพื่อที่จะสู้กับหมาป่า ผู้ที่ทำตัวเหมือนสิงโตอย่างเดียวเป็นคนโง่”
ถ้าประชาชนทั่วไปเป็นคนดี เจ้าผู้ครองนครก็ไม่จำเป็นต้องเป็นหมาจิ้งจอก แต่คนทั่วไปไม่ได้เป็นคนดี แต่เป็นคนเห็นแก่ตัว มีความโลภ เอาแต่ได้
ในเมื่อประชาชนก็ไม่ใช่เป็นคนดี และจะไม่รักษาสัญญาว่าจะทำดีให้กับผู้ครองนคร เพราะฉะนั้นผู้ครองนครไม่จำเป็นต้องรักษาสัญญากับประชาชนเหมือนกัน
ผู้ปกครองต้องรู้วิธีการอำพรางการกระทำ และต้องเป็นคนโกหก และผู้หลอกลวงเป็น
“มันเป็นความสะใจที่สามารถหลอกผู้ที่หลอกลวงได้”
“ผู้ที่หลอกลวงจะหาผู้ที่จะเปิดโอกาสตัวเองให้ถูกหลอกได้”
“คนทั่วไปมีความคิดง่ายๆ และถูกครอบงำโดยความต้องการที่ปัจจุบันทันด่วน ทำให้ผู้ที่หลอกลวงหาคนที่พร้อมที่จะถูกหลอกได้จำนวนมาก”
ผู้ครองนครต้องไม่ออกจากสิ่งที่ดี ถ้าเป็นไปได้ แต่เขาต้องรู้การทำความชั่วร้าย ถ้าหากว่ามันจำเป็น
แต่ผู้ปกครองต้องสร้างภาพไม่ให้ประชาชนรู้ว่าตัวเองโกหก โดยต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีเมตตา ใจดี มีความซื่อสัตย์ และเคร่งศาสนา
“คนทั่วไปใช้ตามอง แต่ไม่ใช้มือ หรือความรู้สึกที่สัมผัสได้”
“คนเห็นว่าเจ้าผู้ครองนครว่าดูเหมือนจะเป็นคนเช่นไร แต่น้อยคนรู้ว่าเป็นอย่างไรจริงๆ”
“คนทั่วไปรู้สึกประทับใจกับภาพที่ปรากฏและผลลัพธ์เสมอ”
มาเคียเวลลีรู้จักธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างดี เพราะว่าถ้าคนทั่วไปเป็นคนดี ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ ผู้ครองนครไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการอย่างนี้
แม้ว่าเจ้าผู้ครองนครโกหกได้ ไม่รักษาสัญญา ทำให้คนย่ำเกรง ตระหนี่ หรือกระทำการฆาตกรรม มีสองสิ่งที่เจ้าผู้ครองนครต้องหลีกเลี่ยง คือต้องไม่ให้คนดูถูก และต้องไม่ให้คนเกลียดชัง
คนจะเกลียดถ้าหากว่าไปริบทรัพย์สมบัติของเขาไป คนจะถูกดูถูก ถ้าผู้ปกครองเป็นคนโลเล เอาแน่ไม่ได้ ไม่มีความเด็ดเดี่ยว ขี้ขลาด
ผู้ปกครองต้องมีวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างเป็นธรรม ในระหว่างสามกลุ่ม คือผู้ดีขุนนาง ประชาชน และทหาร ย้อนกลับมาที่อุปมาอุปไมยของสุนัขจิ้งจอกกับสิงโต
ผู้ปกครองต้องวางตัวให้คนเห็นว่ามีเมตตา และมีคุณธรรม แต่ต้องสร้างความย่ำเกรงในทุกกลุ่มนี้ ถ้าทำได้ทุกคนจะให้ความเคารพ
ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะรับฟังความจริง ใครๆ ก็ชอบการยกยอ ต้องมีแต่คนเก่งๆ อยู่รอบข้าง และให้เขากล้าที่จะพูดความจริงในสิ่งที่ถูกถาม
“เมื่อสถานการณ์มาถึงให้กระทำทันที โดยไม่รีรอ”
“ระหว่างการกระทำ กับการไม่กระทำ การกระทำย่อมดีกว่า”
สุดท้ายแล้ว ต้องมีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา ความล้มเหลวส่วนมากมาจากการไม่คาดว่าจะมีพายุร้ายมาเพื่อทะเลสงบ เมื่อกำลังไปดี คนทั่วไปคิดว่ามันจะดีอย่างนี้ตลอดไป ไม่เคยคิดว่าร้ายจะตามมา
ผู้ครองนครที่ดีต้องเตรียมความพร้อมยามสงบ ซึ่งจะทำให้โอกาสที่จะรอดมากที่สุดยามเมื่อมีภัยมาถึง
“รัฐบาลที่ไม่ไว้ใจประชาชนให้ติดอาวุธ เป็นรัฐบาลที่ไม่น่าไว้วางใจ”
“ศาสดาที่ติดอาวุธทุกคนมีชัยชนะ ส่วนศาสดาที่ไม่ติดอาวุธถูกทำลาย”
แต่ถ้าหากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงเลยจะทำอย่างไร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับโชคลาภวาสนา และความสามารถของคน
มีคนส่วนมากเชื่อว่าสถานการณ์ถูกกำหนดหรือควบคุมโดยโชค (Fortune) เรื่องของดวง หรือพระเจ้า ที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์
มาเคียเวลลีไม่เชื่อในโชคชะตาทั้งหมด เขาเชื่อใจเจตจำนงที่เสรีของมนุษย์ (Free will)
เขายอมรับว่า มันอาจจะจริงที่โชคเป็นเครื่องตัดสินครึ่งหนึ่ง แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ ด้วยการกระทำของเรา
“กระทำการอย่างเร่งด่วน ดีกว่าการใช้รอบคอบแล้วไม่ทำอะไรเลย”
แต่โดยภาพรวมมาเคียเวลลีมองว่า การกระทำอย่างทันท่วงทีจะดีกว่า เพราะว่าโชคเปรียบเหมือนผู้หญิง ถ้าหากเราต้องการควบคุมเธอ มันจำเป็นที่ต้องตบตี หรือบีบบังคับเธอ
เนื้อหาของ The Prince หันหลังให้กับคุณธรรมหรือจริยธรรมโดยสิ้นเชิง แต่กลับสนับสนุนให้ใช้เล่ห์เหลี่ยม กลลวง การโกหกหลอกลวง การหักหลัง การลอบทำร้ายคู่แข่ง หรือแม้แต่การฆาตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษาอำนาจของผู้ปกครอง และปกป้องเสถียรภาพโดยรวมของของราชอาณาจักร หรือสาธารณรัฐ
บางคนมองว่า The Prince เป็นความจริงทางการเมือง บางคนมองว่าเป็นคู่มือของทรราช และมีบางคนมองว่า The Prince เป็นครูของความชั่วร้าย
(Machiavellian) มาเคียเวลเลียนกลายเป็นคำศัพท์ที่แสดงนัยถึงความฉลาดแกมโกง เจ้าเล่ห์เพทุบาย ความไร้ยางอาย
นิคโคโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli, ค.ศ. 1469-1527) เป็นชาวเมืองฟลอเรนซ์ของอิตาลีที่มีชีวิตในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (Renaissance) เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเจ้าผู้ครองนคร The Prince ในปี 1513 โดยใช้ประสบการณ์ที่ช่ำชองจากการเป็นนักการทูต นักการทหาร และจากการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง
มาเคียเวลลีบอกว่าโลกแห่งความเป็นจริง กับโลกที่อยู่ในความคิดของคนส่วนมากมีความแตกต่างกันราวกับฟ้ากับดิน
จากการสังเกตประวัติศาสตร์การเมือง เขาพบว่าในโลกของการเมือง มันเป็นเรื่องของการหลอกลวง หักหลัง และการก่ออาชญากรรมทั้งนั้น
มาเคียเวลลีนำเสนอต่อไปว่า ประวัติศาสตร์สอนให้เราเห็นว่าผู้ปกครองที่เป็นคนดี ยึดมั่นในหลักการส่วนมากแล้วจะล้มเหลว หรือถูกทำลาย ในทางตรงข้าม ผู้ปกครองที่พร้อมที่จะละทิ้งคุณธรรม กระทำการทุกวิถีทางเพื่อบรรลุจุดประสงค์ และรักษาอำนาจ จะประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพมากกว่าในการบริหารความร่วมเย็นเป็นสุขให้กับนครรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สูงที่สุด
“จะทำอย่างไรก็ได้ ขอให้งานสำเร็จ”
The end justifies the means.
“อเล็กซานเดอร์ไม่เคยทำในสิ่งที่พระองค์พูด ซีซาเรไม่เคยพูดอะไรที่ตัวเองทำ”
“ไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่ที่ได้มาโดยไม่มีอันตราย”
เนื้อหาของ The Prince ขัดกับหลักจริยธรรมของคริสเตียนในเรื่องของความดี การไม่ทำบาป ศรัทธาในพระเจ้า ความซื่อตรง การไม่เอาเปรียบ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทำให้องค์พระสันตะปาปาแห่งโรมมีคำสั่งห้ามพิมพ์ และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้เป็นเวลาหลายร้อยปี
อย่างไรก็ดี The Prince ของมาเคียเวลลีกลับเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วทั้งยุโรป และโลกในเวลาต่อมาจนนักการเมือง ผู้ปกครองแทบทุกคนถือว่าเป็นหนังสือคู่ใจในการเรียนรู้ธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ เพื่อที่จะรักษาอำนาจ และต้องย้อนกลับไปอ่านบางครั้งบางคราวเตือนสติไม่ให้ประมาท จึงไม่น่าแปลกใจที่มาเคียเวลลีได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของปรัชญาทางการเมือง และบิดาแห่งรัฐศาสตร์
มาเคียเวลลีได้รับการศึกษาอย่างดีตั้งแต่เยาว์วัย มีความเชี่ยวชาญในภาษาละตินเป็นพิเศษ เขาเติบโตท่ามกลางบรรยากาศของอิตาเลียนเรอเนซองส์ที่อยู่ช่วงระหว่างศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งเป็นยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนาการ โดยมีการย้อนกลับไปหาอารยธรรมกรีกและโรมันโบราณที่ถูกทอดทิ้งหลังจากยุคมืดของสมัยกลาง (Middle Age)
ยุคเรอเนซองส์มีการแปลผลงานของนักคิด นักเขียน และนักปรัชญากรีกโบราณออกมาเป็นภาษาอิตาเลียน ทำให้มีการเรียนรู้ใหม่ ทำให้เกิดอุดมการณ์หรือแนวความคิดมนุษย์นิยมที่เอาเป็นศูนย์กลางของจักรวาลแทนพระเจ้า และมีการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัสและเหตุผล ต่างจากกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด ศรัทธาในศาสนาที่จับต้องไม่ได้ และความคิดทุกอย่างถูกจำกัดภายใต้กรอบแคบๆ ของศาสนจักรที่ครอบงำยุโรปในเวลานั้น
โลกทัศน์ของมาเคียเวลลีได้อิทธิพลจากแนวความคิดมนุษย์นิยม ที่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์ตามรูปร่างลักษณะของพระองค์ (God creates man in his own image) พระเจ้าอยู่บนสวรรค์ หรืออยู่เหนือโลกมนุษย์ จะมีตัวตนหรือไม่มิอาจจะทราบได้ แต่สิ่งที่แน่นอนกว่าคือมนุษย์ต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง ดำเนินชีวิตไปตามเหตุผล ความสามารถและศักยภาพของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจที่เหนือธรรมชาติ หรือพระเจ้า
มนุษยนิยมสายกลางเชื่อว่า ยิ่งรู้จักความเป็นมนุษย์เท่าใด ยิ่งจะรู้จักพระเจ้ามากขึ้น แต่มนุษย์นิยมสายฮาร์ดคอร์ไม่เชื่อพระเจ้า หรืออำนาจที่เหนือธรรมชาติ ไม่เชื่อว่ามีชีวิตหลังความตาย มองว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ความรู้ในวิทยาศาสตร์เท่านั้นเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะว่าพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล และประสาทสัมผัส มนุษย์มีสิทธิ์แสวงหาความสุขในชีวิตนี้ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่มีวิญญาณที่เป็นอมตะ แต่อยู่ที่ความสามารถในการแสดงออกของเสรีภาพ และความเป็นเลิศ ความรู้มีค่ามากกว่าศรัทธาทางศาสนา
เรอเนซองส์แปลว่าเกิดใหม่ มีจุดศูนย์กลางที่เมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาธารณรัฐในคาบสมุทรอิตาลี เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงิน เจ้าผู้ครองนครของฟลอเรนซ์ให้เงินกู้กับกษัตริย์ของยุโรปเพื่อการใช้จ่าย และการทำสงคราม ระบบทุนนิยม และระบบธนาคารที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมีรากฐานจากฟลอเรนซ์และเวนิส ที่เป็นจุดกำเนิดของลัทธิมนุษยนิยมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของมนุษย์โลกในปัจจุบัน
บุคคลที่มีความโดดเด่นที่สุดในยุคเรอเนซองส์คือ ลอเรนโซ เดอ เมดิซี (1449-1492), เลนาร์โด ดา วินซี (1452-1519), ไมเคิล แองเจลโล (1475–1564), นิโคลัส โคเปอร์นิกัส (1473-1543), ฟรานเชสโก เปตรากา (1304-1374), ราฟาเอล (1483-1520), กาลิเลโอ (1564–1642), เชกสเปียร์ (1564-1616), นิโคโล มาเคียเวลลี (1469-1527)
ยุคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางการวาดภาพ สถาปัตยกรรม งานแกะสลัก วรรณคดี ดนตรี ปรัชญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และมีการสำรวจพื้นที่ต่างๆ ของโลกผ่านการล่าอาณานิคม
มาเคียเวลลีทำงานให้ฟลอเรนซ์ ซึ่งเป็นสาธารณรัฐในเวลานั้นในฐานะนักการทูต โดยดูแลกิจการด้านการทูตและการทหาร นอกจากนี้ เขายังเขียนบทละคร บทเพลง และบทกวีนิพนธ์ เขาทำงานให้ฟลอเรนซ์ระหว่างปี 1498-1512 ในช่วงที่ตระกูลเมดิซีถูกถอดออกจากอำนาจ ทำให้มีโอกาสได้พบผู้นำที่สำคัญ รวมทั้งสันตะปาปา และเดินทางไปที่ต่างๆ
เมื่อพวกเมดิซีกลับมามีอำนาจ เขาถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกจับขังติดคุก และถูกทรมานให้รับสารภาพว่าเป็นพวกขบถ ต่อมาเขาถูกปล่อยตัว และใช้ชีวิตในชนบทนอกเมืองฟลอเรนซ์ หนังสือ The Prince เขียนขึ้นในช่วงชีวิตที่ตกต่ำของมาเคียเวลลี และเขาตายโดยที่ไม่มีใครเหลียวแล
เมื่อนิโคโล มาเคียเวลลีเขียนหนังสือ เจ้าผู้ครองนคร (The Prince) ในปี 1513 เขามีเป้าหมายสองประการ ประการแรกคือเขาต้องการได้งานจากตระกูลเมดิซี เพราะว่าเขาเคยมีตำแหน่งในระดับสูงในฟลอเรนซ์ แต่ถูกปลดออกจากงานหลังจากตระกูลเมดิซีได้กลับมามีอำนาจในฟลอเรนซ์อีกครั้งในปี 1512
เขาเขียนหนังสือ The Prince และอุทิศให้ Lorenzo de' Medici (ค.ศ. 1492-1519) เพื่อแสดงว่าเขาเป็นคนมีความรู้ในศาสตร์ของการปกครอง และต้องการให้ผู้ปกครองสาธารณรัฐเห็นความสำคัญของเขา หรือให้งานเขาทำ
อีกประการหนึ่ง มาเคียเวลลีต้องการเห็นผู้ปกครองที่มีความสามารถในการรักษาความเป็นปึกแผ่น และเสถียรภาพของอิตาลี ในยุคที่อิตาลีถูกแบ่งแยกเป็นแว่นแคว้น ไม่ว่าจะเป็นเวนิส ฟลอเรนซ์ โรม มิลาน เนเปิลส์ต่างตั้งตัวเป็นเป็นอิสระต่อกัน มีความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจกันเพื่อความเป็นใหญ่ ในขณะเดียวกัน เพื่อนบ้านอย่างสเปน และฝรั่งเศสต้องการส่งทหารเข้ามาในอิตาลีเพื่อสร้างอิทธิพล เพราะฉะนั้นอิตาลีจำเป็นต้องมีผู้นำที่มีความสามารถในการรักษาความมั่นคง และเสถียรภาพ รวบรวมอิตาลีเป็นปึกแผ่น และสามารถปกป้องจากภัยจากภายนอกได้ ถ้าหากฟังคำแนะนำของเขา
หนังสือ The Prince แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือบทที่ 1-14 มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของดินแดนที่เจ้าผู้ครองนครปกครอง รวมทั้งความท้าทายในการครองอำนาจ และการจัดสรรกองกำลังทหารเพื่อปกป้องตัวเอง
มาเคียเวลลีเล่าถึงเรื่องราวของ Cesare Borgia นักการทหารที่ช่ำชอง และเป็นลูกของโป๊ป Alexander VI เขาส่งลูกน้อง Remirro de Orco ไปที่เมืองโรมาคนาเพื่อปราบจลาจลด้วยวิธีการที่เหี้ยมโหด เมื่องานเสร็จแล้ว บอร์เจียสั่งฆ่าออร์โก แล้วเอาศพไปประจานกลางเมืองในลักษณะเสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล บอร์เจียโบ้ยความผิดทุกอย่างไปให้ออร์โกว่าเป็นต้นเหตุของความโหดร้าย และในขณะเดียวกันเขาแสดงให้เห็นว่าอำนาจของเขาต้องไม่ถูกท้าทาย เกือบจะทุกคนไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่โหดเหี้ยมนี้ของบอร์เจีย แต่มาเคียเวลลีมองว่า บอร์เจียทำความดีและมีเมตตาต่างหาก เพราะว่าเขาสามารถนำความสงบสุขกลับคืนสู่ชาวเมืองโรมาคนา
ความเห็นของมาเคียเวลลีทำลายระบบคุณธรรม และความดี ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ เพราะว่าเขาสนับสนุนความรุนแรง และการฆ่าเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ใหญ่กว่าทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม มาเคียเวลลีแนะนำว่า ความโหดร้ายของผู้ปกครองควรใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น มิเช่นนั้นประชาชนจะเกลียด ผู้ปกครองต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ประชาชนเกลียดชัง แค่รู้สึกเกรงขามก็พอ
บทที่ 15-26 มีความสำคัญกว่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางตัวหรือการปฏิบัติตนของผู้ปกครองต่อประชาชน ผู้ถูกปกครอง และพันธมิตร
มาเคียเวลลีย้ำว่า สิ่งที่เขาพูดเป็นความจริงของชีวิต ไม่ใช่ชีวิตที่เราอยากจะเห็นหรือจินตนาการไปเอง
เราควรมีชีวิตอย่างไร และเรามีชีวิตอย่างไรจริงๆ มีความแตกต่างกันมาก ถ้าเจ้าผู้ครองนครไม่เข้าใจความจริงข้อนี้ เขาจะประสบความล้มเหลวในการปกครอง และจะไม่สามารถรักษาอำนาจเอาไว้ได้
ผู้ปกครองที่ต้องการทำความดีในทุกวิถีทาง ท้ายที่สุดแล้วต้องมาเสียใจภายหลัง เพราะว่าคนโดยทั่วไป หรือผู้ถูกปกครองไม่ใช่เป็นคนดี แต่มีนิสัยโลเล เอาแน่ไม่ได้ โลภมาก เวลามีภัยจะหนีเอาตัวรอด
ความดีในจริยธรรมของคริสเตียนกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่าไม่สอดคล้องกับโลกของความเป็นจริง
“ข้าขอไปนรก ดีกว่าไปสวรรค์ ในนรก ผมจะมีเพื่อนเป็นโป๊ป กษัตริย์ และเจ้าผู้ครองนคร ส่วนในสวรรค์มีแต่ขอทาน บาทหลวง และสาวกของพระเจ้า”
มาเคียเวลลีตั้งคำถามว่า อะไรดีกว่ากัน ระหว่างความใจกว้างเอื้ออาทรกับความตระหนี่ เราอาจจะคิดว่าความใจกว้างเป็นสิ่งที่ดี แต่มาเคียเวลลีบอกว่า ถ้าผู้ครองนครเป็นคนใจกว้าง เขาจะต้องทุกข์ใจในภายหลัง
ถ้าผู้ปกครองใจกว้างพอประมาณ คนทั่วไปจะไม่เห็น ถ้าใจกว้างมาก จะต้องมีการใช้จ่ายมาก ผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนมากจะเป็นคนกลุ่มน้อย และในท้ายที่สุดต้องเรียกเก็บภาษี ทำให้ประชาชนส่วนมากลำบาก และจะหันมาเกลียดชังเจ้าผู้ครองนคร
เจ้าผู้ครองนครที่ดีต้องตระหนี่ในการใช้จ่าย คนอาจจะวิจารณ์หรือนินทาไปต่างๆนานา แต่ท้ายที่สุด คนจะมองว่าผู้ปกครองเป็นคนใจกว้าง เพราะว่าเขาประหยัดงบประมาณ และไม่เรียกเก็บภาษีจากประชาชน
การที่ผู้ปกครองจะมีคนรัก หรือกลัว อย่างไหนจะดีกว่ากัน?
ในประเด็นนี้ มาเคียเวลลียกจริยธรรมให้กลับหัวกลับหาง ผู้ปกครองทุกคนต้องการให้คนรัก แต่ต้องให้คนกลัวด้วยถึงจะปกครองได้ ในความจริงแล้วความรักกับความกลัวไปด้วยกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้ครองนครควรเลือกที่จะให้คนกลัวมากกว่าคนรัก
ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของคนโดยทั่วไปจะไม่สำนึกบุญคุณ เอาแน่ไม่ได้ โกหก หลอกลวง หนีภัยเอาตัวรอด และมีความโลภ
คนทั่วไปจะสนับสนุนผู้ครองนครเมื่อไม่มีภัยอันตราย แต่เมื่ออันตรายมาถึงจะทอดทิ้งทุกอย่าง
แต่ไม่ใช่ว่าเจ้าผู้ครองนครจะทำให้คนกลัวตลอดเวลา ที่สำคัญต้องเลี่ยงไม่ให้คนเกลียด ด้วยการไม่ไปเบียดเบียนหรือยึดเอาทรัพย์สินของประชาชน เพราะว่าคนทุกคนกังวลใจกับทรัพย์สินของตัวเองมากกว่าครอบครัว
ผู้ครองนครที่ไม่ได้รักษาคำพูดจะประสบความสำเร็จมากกว่าผู้ที่รักษาสัญญา “สัญญาเป็นความจำเป็นของอดีต การไม่รักษาสัญญาเป็นความจำเป็นของภาวะปัจจุบัน”
เจ้าผู้ครองนครใช้วิธีการปกครองผ่านสองขบวนการ คือผ่านทางกฎหมาย และการใช้กำลัง
การใช้กฎหมายคือวิธีการที่มนุษย์ที่ศิวิไลซ์ใช้กัน การใช้กำลังเปรียบเหมือนสัตว์ป่า
แต่กฎหมายใช้ไม่ได้ตลอดไป ถ้าเจ้าผู้ครองนครถูกโจมตี เพราะว่าคนทั่วไปไม่ได้คิดว่าจะทำตามกฎหมายทุกอย่าง ผู้ปกครอง จำเป็นต้องมีพร้อมที่จะใช้กำลังเพื่อปกป้องอำนาจของตัวเอง
มาเคียเวลลียกลักษณะของสุนัขจิ้งจอก กับสิงโตเป็นอุปมาอุปไมย
จิ้งจอกใช้สติปัญญาเพื่อเอาตัวรอด ในขณะที่สิงโตใช้พละกำลังในการจัดการกับศัตรูหรือเหยื่อ
เจ้าผู้ครอง ต้องพร้อมที่จะใช้คุณลักษณะทั้งสองนี้
“เราต้องวางตัวเป็นหมาจิ้งจอกเพื่อที่จะเห็นกับดัก และวางตัวเป็นสิงโตเพื่อที่จะสู้กับหมาป่า ผู้ที่ทำตัวเหมือนสิงโตอย่างเดียวเป็นคนโง่”
ถ้าประชาชนทั่วไปเป็นคนดี เจ้าผู้ครองนครก็ไม่จำเป็นต้องเป็นหมาจิ้งจอก แต่คนทั่วไปไม่ได้เป็นคนดี แต่เป็นคนเห็นแก่ตัว มีความโลภ เอาแต่ได้
ในเมื่อประชาชนก็ไม่ใช่เป็นคนดี และจะไม่รักษาสัญญาว่าจะทำดีให้กับผู้ครองนคร เพราะฉะนั้นผู้ครองนครไม่จำเป็นต้องรักษาสัญญากับประชาชนเหมือนกัน
ผู้ปกครองต้องรู้วิธีการอำพรางการกระทำ และต้องเป็นคนโกหก และผู้หลอกลวงเป็น
“มันเป็นความสะใจที่สามารถหลอกผู้ที่หลอกลวงได้”
“ผู้ที่หลอกลวงจะหาผู้ที่จะเปิดโอกาสตัวเองให้ถูกหลอกได้”
“คนทั่วไปมีความคิดง่ายๆ และถูกครอบงำโดยความต้องการที่ปัจจุบันทันด่วน ทำให้ผู้ที่หลอกลวงหาคนที่พร้อมที่จะถูกหลอกได้จำนวนมาก”
ผู้ครองนครต้องไม่ออกจากสิ่งที่ดี ถ้าเป็นไปได้ แต่เขาต้องรู้การทำความชั่วร้าย ถ้าหากว่ามันจำเป็น
แต่ผู้ปกครองต้องสร้างภาพไม่ให้ประชาชนรู้ว่าตัวเองโกหก โดยต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีเมตตา ใจดี มีความซื่อสัตย์ และเคร่งศาสนา
“คนทั่วไปใช้ตามอง แต่ไม่ใช้มือ หรือความรู้สึกที่สัมผัสได้”
“คนเห็นว่าเจ้าผู้ครองนครว่าดูเหมือนจะเป็นคนเช่นไร แต่น้อยคนรู้ว่าเป็นอย่างไรจริงๆ”
“คนทั่วไปรู้สึกประทับใจกับภาพที่ปรากฏและผลลัพธ์เสมอ”
มาเคียเวลลีรู้จักธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างดี เพราะว่าถ้าคนทั่วไปเป็นคนดี ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ ผู้ครองนครไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการอย่างนี้
แม้ว่าเจ้าผู้ครองนครโกหกได้ ไม่รักษาสัญญา ทำให้คนย่ำเกรง ตระหนี่ หรือกระทำการฆาตกรรม มีสองสิ่งที่เจ้าผู้ครองนครต้องหลีกเลี่ยง คือต้องไม่ให้คนดูถูก และต้องไม่ให้คนเกลียดชัง
คนจะเกลียดถ้าหากว่าไปริบทรัพย์สมบัติของเขาไป คนจะถูกดูถูก ถ้าผู้ปกครองเป็นคนโลเล เอาแน่ไม่ได้ ไม่มีความเด็ดเดี่ยว ขี้ขลาด
ผู้ปกครองต้องมีวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างเป็นธรรม ในระหว่างสามกลุ่ม คือผู้ดีขุนนาง ประชาชน และทหาร ย้อนกลับมาที่อุปมาอุปไมยของสุนัขจิ้งจอกกับสิงโต
ผู้ปกครองต้องวางตัวให้คนเห็นว่ามีเมตตา และมีคุณธรรม แต่ต้องสร้างความย่ำเกรงในทุกกลุ่มนี้ ถ้าทำได้ทุกคนจะให้ความเคารพ
ผู้ปกครองต้องพร้อมที่จะรับฟังความจริง ใครๆ ก็ชอบการยกยอ ต้องมีแต่คนเก่งๆ อยู่รอบข้าง และให้เขากล้าที่จะพูดความจริงในสิ่งที่ถูกถาม
“เมื่อสถานการณ์มาถึงให้กระทำทันที โดยไม่รีรอ”
“ระหว่างการกระทำ กับการไม่กระทำ การกระทำย่อมดีกว่า”
สุดท้ายแล้ว ต้องมีการเตรียมความพร้อมตลอดเวลา ความล้มเหลวส่วนมากมาจากการไม่คาดว่าจะมีพายุร้ายมาเพื่อทะเลสงบ เมื่อกำลังไปดี คนทั่วไปคิดว่ามันจะดีอย่างนี้ตลอดไป ไม่เคยคิดว่าร้ายจะตามมา
ผู้ครองนครที่ดีต้องเตรียมความพร้อมยามสงบ ซึ่งจะทำให้โอกาสที่จะรอดมากที่สุดยามเมื่อมีภัยมาถึง
“รัฐบาลที่ไม่ไว้ใจประชาชนให้ติดอาวุธ เป็นรัฐบาลที่ไม่น่าไว้วางใจ”
“ศาสดาที่ติดอาวุธทุกคนมีชัยชนะ ส่วนศาสดาที่ไม่ติดอาวุธถูกทำลาย”
แต่ถ้าหากสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงเลยจะทำอย่างไร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับโชคลาภวาสนา และความสามารถของคน
มีคนส่วนมากเชื่อว่าสถานการณ์ถูกกำหนดหรือควบคุมโดยโชค (Fortune) เรื่องของดวง หรือพระเจ้า ที่อยู่เหนือการควบคุมของมนุษย์
มาเคียเวลลีไม่เชื่อในโชคชะตาทั้งหมด เขาเชื่อใจเจตจำนงที่เสรีของมนุษย์ (Free will)
เขายอมรับว่า มันอาจจะจริงที่โชคเป็นเครื่องตัดสินครึ่งหนึ่ง แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ ด้วยการกระทำของเรา
“กระทำการอย่างเร่งด่วน ดีกว่าการใช้รอบคอบแล้วไม่ทำอะไรเลย”
แต่โดยภาพรวมมาเคียเวลลีมองว่า การกระทำอย่างทันท่วงทีจะดีกว่า เพราะว่าโชคเปรียบเหมือนผู้หญิง ถ้าหากเราต้องการควบคุมเธอ มันจำเป็นที่ต้องตบตี หรือบีบบังคับเธอ