ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชา Citizen data science
และ Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กัมพูชาหรือ Cambodia หรือ เคลมโบเดีย ในช่วงนี้อาจจะเคลมตั้งแต่มวยไทย โขนไทย ไปจนถึงห่อหมกของไทย อาจจะถูกเคลมว่าเป็นของกัมพูชา แต่คนไทยจำนวนมากอาจจะไม่เคยทราบว่ากัมพูชาเคยเป็นประเทศราชของไทย อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์พระมหากษัตริย์ไทยมายาวนาน และกษัตริย์ของคนกัมพูชาเองก็เคยพลัดบ้านพลัดเมืองพลัดถิ่นฐานบ้านเกิดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย เหมือนที่ประชาชนชาวกัมพูชานับล้านนับแสนคนเคยหนีร้อนมาพึ่งเย็นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเมื่อคราวเขมรแตกเช่นเดียวกัน
นักองค์เองหรือสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 105 แห่งกัมพูชา แต่ทรงเป็นพระราชโอรสบุญธรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 ของไทย เมื่อคราวเกิดความวุ่นวายในกัมพูชา นักองค์เองพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษาก็ต้องหนีราชภัยเข้ามาอาศัยในกรุงเทพมหานคร รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างวังเจ้าเขมรพระราชทานให้อยู่อาศัย พระราชทานให้ทรงพระผนวช หลังจากรัชกาลที่ 1 ทรงสังคายนาเหตุการณ์ความวุ่นวายในกัมพูชาได้สำเร็จ ทรงให้นักองค์เองกลับไปครองราชย์สมบัติที่กัมพูชา แต่นักองค์เองครองราชย์ได้ไม่นานก็ประชวรสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2339 รวมพระชนมายุเพียง 23 พรรษาเท่านั้น
ต่อมานักองค์จันทร์พระราชโอรสของนักองค์เองได้ทรงครองราชย์ต่อจากนักองค์เอง แม้นักองค์จันทร์จะได้รับการสนับสนุนจากสยาม แต่ทรงฝักใฝ่และถูกแรงบีบคั้นจากเวียดนามอีกด้วย ทำให้กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม
โอรสอีกองค์หนึ่งของนักองค์เองคือนักองค์ด้วงได้หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ของไทย นักองค์ด้วงเติบโตมาในวังเจ้าเขมรของนักองค์เองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างพระราชทานไว้
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปตีเขมรและปราบปรามความวุ่นวายในกัมพูชาจนราบคาบสงบลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นักองค์ด้วงไปทรงครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาหลังจากเสด็จมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในกรุงเทพกว่า 27 ปี ได้รับการสถาปนาโปรดเกล้าให้ทรงครองราชย์ที่สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี พระมหากษัตริย์องค์ที่ 108 ของกัมพูชา
นักองค์ด้วงนั้นทรงเป็นพระราชบิดาของทวดของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ หรือ เจ้าสีหนุ กษัตริย์องค์ที่ 112 ของกัมพูชา และสมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันของกัมพูชา
ทั้งนี้กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย
ยกตัวอย่างเช่น โขนละครและนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า
"สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล
เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน
กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน
คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป
อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้
ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด
เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด
สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี
ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่
คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน
หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น?
ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา?
เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า
ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง
ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง
เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา
ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา
ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา เพราะทรงพระกรุณาประทานไป
มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้
สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย...
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
18 ตุลาคม 2502
สำหรับคนเขมรแล้ว เมื่อคราวเขมรแตกจากเขมรแดง โดยพลพต มีชาวเขมรหนีตายเข้ามาที่เขาล้านจังหวัดตราด นับแสนคน มาในสภาพโครงกระดูกเดินได้ อดอยาก เจ็บป่วย ปางตาย อุจจาระ ปัสสาวะกลาดเกลื่อนเหม็นคลุ้งไปทั้งเขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ให้การช่วยเหลือ ทรงประทับแรมท่ามกลางผู้อพยพชาวเขมรนับแสนคน ในฐานะองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้ทรงให้สภากาชาดไทยจัดตั้งค่ายช่วยเหลือผู้อพยพหนีตายนับแสนคน ทรงงานหนักอย่างไม่ทรงรังเกียจด้วยพระเมตตาสูงสุดต่อชาวกัมพูชาพลัดบ้านพลัดถิ่นที่หนีตายมาพึ่งพระบารมี ทรงมีพระราชเสาวนีย์พระราชทานว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี”
ในเหตุการณ์นั้นมีนายทหารหนุ่มคนหนึ่งโดยเสด็จและถวายงานในการช่วยเหลือชาวกัมพูชาอย่างใกล้ชิดคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงลาดตระเวนถวายอารักขา ดูแลความปลอดภัยของพระราชมารดาผู้ทรงมุ่งมั่นทรงงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ และทรงได้ถวายงานในการช่วยเหลือพี่น้องชาวกัมพูชาที่บ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเช่นกัน
ใครทำดีกับเราให้จำ เราทำดีกับใครให้ลืม
พี่น้องชาวไทยที่รัก โปรดอย่าได้ถือสาโกรธเคืองที่เขมรพยายามเคลมสิ่งต่างๆ ของไทยไปเป็นของชาติเขาเลย เราต้องทำใจของเราให้ใหญ่กว้าง เหมือนดังที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในอดีตและปัจจุบันได้ทรงพระเมตตากรุณาให้องค์พระมหากษัตริย์ในอดีตของกัมพูชาและพี่น้องประชาชนกัมพูชาได้เคยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมาแล้วหลายครั้งหลายครา
อาจารย์ประจำสาขาวิชา Citizen data science
และ Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กัมพูชาหรือ Cambodia หรือ เคลมโบเดีย ในช่วงนี้อาจจะเคลมตั้งแต่มวยไทย โขนไทย ไปจนถึงห่อหมกของไทย อาจจะถูกเคลมว่าเป็นของกัมพูชา แต่คนไทยจำนวนมากอาจจะไม่เคยทราบว่ากัมพูชาเคยเป็นประเทศราชของไทย อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารขององค์พระมหากษัตริย์ไทยมายาวนาน และกษัตริย์ของคนกัมพูชาเองก็เคยพลัดบ้านพลัดเมืองพลัดถิ่นฐานบ้านเกิดเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย เหมือนที่ประชาชนชาวกัมพูชานับล้านนับแสนคนเคยหนีร้อนมาพึ่งเย็นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเมื่อคราวเขมรแตกเช่นเดียวกัน
นักองค์เองหรือสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 105 แห่งกัมพูชา แต่ทรงเป็นพระราชโอรสบุญธรรมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 ของไทย เมื่อคราวเกิดความวุ่นวายในกัมพูชา นักองค์เองพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษาก็ต้องหนีราชภัยเข้ามาอาศัยในกรุงเทพมหานคร รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างวังเจ้าเขมรพระราชทานให้อยู่อาศัย พระราชทานให้ทรงพระผนวช หลังจากรัชกาลที่ 1 ทรงสังคายนาเหตุการณ์ความวุ่นวายในกัมพูชาได้สำเร็จ ทรงให้นักองค์เองกลับไปครองราชย์สมบัติที่กัมพูชา แต่นักองค์เองครองราชย์ได้ไม่นานก็ประชวรสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2339 รวมพระชนมายุเพียง 23 พรรษาเท่านั้น
ต่อมานักองค์จันทร์พระราชโอรสของนักองค์เองได้ทรงครองราชย์ต่อจากนักองค์เอง แม้นักองค์จันทร์จะได้รับการสนับสนุนจากสยาม แต่ทรงฝักใฝ่และถูกแรงบีบคั้นจากเวียดนามอีกด้วย ทำให้กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของเวียดนาม
โอรสอีกองค์หนึ่งของนักองค์เองคือนักองค์ด้วงได้หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ของไทย นักองค์ด้วงเติบโตมาในวังเจ้าเขมรของนักองค์เองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างพระราชทานไว้
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปตีเขมรและปราบปรามความวุ่นวายในกัมพูชาจนราบคาบสงบลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นักองค์ด้วงไปทรงครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาหลังจากเสด็จมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในกรุงเทพกว่า 27 ปี ได้รับการสถาปนาโปรดเกล้าให้ทรงครองราชย์ที่สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี พระมหากษัตริย์องค์ที่ 108 ของกัมพูชา
นักองค์ด้วงนั้นทรงเป็นพระราชบิดาของทวดของสมเด็จพระนโรดมสีหนุ หรือ เจ้าสีหนุ กษัตริย์องค์ที่ 112 ของกัมพูชา และสมเด็จพระนโรดมสีหนุทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันของกัมพูชา
ทั้งนี้กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย
ยกตัวอย่างเช่น โขนละครและนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า
"สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล
เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน
กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน
คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป
อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้
ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด
เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด
สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี
ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่
คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน
หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น?
ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา?
เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า
ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง
ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง
เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา
ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา
ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา เพราะทรงพระกรุณาประทานไป
มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้
สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย...
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
18 ตุลาคม 2502
สำหรับคนเขมรแล้ว เมื่อคราวเขมรแตกจากเขมรแดง โดยพลพต มีชาวเขมรหนีตายเข้ามาที่เขาล้านจังหวัดตราด นับแสนคน มาในสภาพโครงกระดูกเดินได้ อดอยาก เจ็บป่วย ปางตาย อุจจาระ ปัสสาวะกลาดเกลื่อนเหม็นคลุ้งไปทั้งเขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ให้การช่วยเหลือ ทรงประทับแรมท่ามกลางผู้อพยพชาวเขมรนับแสนคน ในฐานะองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้ทรงให้สภากาชาดไทยจัดตั้งค่ายช่วยเหลือผู้อพยพหนีตายนับแสนคน ทรงงานหนักอย่างไม่ทรงรังเกียจด้วยพระเมตตาสูงสุดต่อชาวกัมพูชาพลัดบ้านพลัดถิ่นที่หนีตายมาพึ่งพระบารมี ทรงมีพระราชเสาวนีย์พระราชทานว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี”
ในเหตุการณ์นั้นมีนายทหารหนุ่มคนหนึ่งโดยเสด็จและถวายงานในการช่วยเหลือชาวกัมพูชาอย่างใกล้ชิดคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงลาดตระเวนถวายอารักขา ดูแลความปลอดภัยของพระราชมารดาผู้ทรงมุ่งมั่นทรงงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ และทรงได้ถวายงานในการช่วยเหลือพี่น้องชาวกัมพูชาที่บ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเช่นกัน
ใครทำดีกับเราให้จำ เราทำดีกับใครให้ลืม
พี่น้องชาวไทยที่รัก โปรดอย่าได้ถือสาโกรธเคืองที่เขมรพยายามเคลมสิ่งต่างๆ ของไทยไปเป็นของชาติเขาเลย เราต้องทำใจของเราให้ใหญ่กว้าง เหมือนดังที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในอดีตและปัจจุบันได้ทรงพระเมตตากรุณาให้องค์พระมหากษัตริย์ในอดีตของกัมพูชาและพี่น้องประชาชนกัมพูชาได้เคยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีตมาแล้วหลายครั้งหลายครา