ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นหนึ่งในเครือข่ายและชบวนการของการกระทำผิดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 49 ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ปิยบุตรผู้ยึดถือเรื่องปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นลมหายใจเข้าออก ได้ออกมาบรรยายว่าพระมหากษัตริย์ไทยต้องปฏิญาณตนในสภาผู้แทนราษฎร และถึงกับไปยกร่างรัฐธรรมนูญหมวด 2 พระมหากษัตริย์ทั้งหมวดใหม่ทั้งหมด โดยกำหนดไว้ว่า
พระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องปฏิญาณตน โดยมีข้อความปฏิญาณตนโดยยกร่างพระราชดำรัสที่ให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญาณตนไว้ตายตัวดังนี้ว่า
“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศด้วยความซื่อสัตย์ เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่ตราขึ้นโดยสภาผู้แทนราษฎรทุกประการ”
ปิยบุตรอธิบายว่าการปฏิญาณในสภาผู้แทนราษฎรของพระมหากษัตริย์ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งเพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ว่าพระมหากษัตริย์จะเคารพรัฐธรรมนูญ แสดงตนว่าพระมหากษัตริย์จะอยู่ได้รัฐธรรมนูญจริง ๆ ซึ่งหลายประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เขียนเอาไว้เช่นนี้หมด ให้มีการปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง
ปิยบุตรยังไปยกตัวอย่างจากประเทศที่เป็นสาธารณรัฐ และประเทศที่มีระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกหลากหลายรูปแบบในประเทศตะวันตกเป็นหลัก
ส่วนตัวผมมีความเห็นว่าปิยบุตรขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในฐานะนักกฎหมายที่ว่ากฎหมายย่อมมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามในแต่ละชาติ ยิ่งกฎหมายปกครอง/มหาชนแล้วด้วยนั้น ย่อมต้องอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการเมืองการปกครองของแต่ละชาติที่ย่อมแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ธรรมเนียมประเพณีในการปกครองในทุกๆ ประเทศ มีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณี (Common law) เพื่ออุดรอยรั่วของกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Code law) ดังนั้นการไปอ้างอิงเฉพาะประเทศตะวันตก โดยละเลยความเข้าใจพื้นฐานในวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการเมืองการปกครองของชาติไทย จึงเป็นการแสดงทัศนะและการวิเคราะห์ที่ไม่รอบคอบ ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง และเต็มไปด้วยอคติ
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองต่อเนื่องยาวนานมาหลายร้อยปี ก็มีธรรมเนียมประเพณีเป็นการเฉพาะและย่อมเป็นที่มาและเกี่ยวเนื่องโยงสัมพันธ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของไทยเช่นเดียวกัน พระมหากษัตริย์ไทยทรงเข้าร่วมพระราชพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์หลายพระราชประเพณีและมีความสำคัญยิ่งกว่าการปฏิญาณตนในสภาผู้แทนราษฎร
ปิยบุตรคงไม่เคยศึกษาราชประเพณีการปกครองของไทยอันเป็นรากฐานของกฎหมายปกครอง/มหาชนของไทยรวมไปถึงรัฐธรรมนูญของไทยด้วย เพราะว่าพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงปฏิญาณตนตามราชประเพณีการปกครองของไทยมาอยู่แล้วโดยเสมอ ทั้งยังเป็นการปฏิญาณตนก่อนการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้ปิยบุตรได้เปิดกระโหลกและตาสว่างได้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ปฏิญาณตนอย่างไรตามราชประเพณีการปกครองของไทย
ประการแรก พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคือการปฏิญาณตนของพระมหากษัตริย์ก่อนการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี
ตามราชประเพณีไทยพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (Coronation) จะยังคงใช้พระนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ต่อเมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วจึงเรียกพระนาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีราชประเพณีสำคัญสองราชประเพณี คือ
หนึ่งราชประเพณีการสรงพระมุรธาภิเษก คำว่ามุรธา แปลว่าหัวหรือยอด สรงน้ำมุรธาภิเษก มาจาก มุรธา+อภิเษก คือน้ำสรงพระเศียรพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งต้องนำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทั่วราชอาณาจักรมาประกอบพระราชพิธี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสรงพระมุรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน บริเวณชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน น้ำสรงพระมุรธาภิเษกเป็นน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 9 แหล่ง น้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ของสุพรรณบุรี คือ สระเกศ สระแก้ว สระคา สระยมนา และจากแม่น้ำอีก 5 สาย “เบญจสุทธิคงคา” คือ แม่น้ำเพชรบุรี, แม่น้ำราชบุรี, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำป่าสัก, และแม่น้ำบางปะกง
สอง พระเจ้าแผ่นดินทรงรับน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนต์ตามลำดับ ทรงรับน้ำอภิเษกซึ่งเป็นน้ำจากทั่วราชอาณาจักรที่ประกอบพิธีแล้ว ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ (คำว่าอุทุมพร แปลว่าไม้มะเดื่อ และอัฐทิศ แปลว่าแปดทิศ)
โดยที่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 มีผู้ถวายน้ำอภิเษกทั้ง 8 ทิศ ดังนี้
พันโท สมชาย กาญจนมณี ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ ๑ สำหรับทรงรับน้ำอภิเษกประจำทิศโดยทักษิณาวรรต ดังนี้
ทิศบูรพา (ตะวันออก) พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ถวายน้ำอภิเษกด้วยถ้วยศิลาจารึกพุทธคาถาเป็นทิศแรก
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบเฟือง (สัมฤทธิ์) เสร็จแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ตามลำดับทิศดังนี้
ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล
ทิศทักษิณ (ใต้) พลโท หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
ทิศประจิม (ตะวันตก) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทิศอุดร (เหนือ) นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา
ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) นายจรัส สุวรรณเวลา ราชบัณฑิต
หลังจากนั้นประทับณ พระที่นั่งภัทรบิฐเพื่อทรงรับการถวายพระนพปฎลมหาเศวตรฉัตร พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี วาลวิชนี/พระแส้หางจามรี ฉลองพระบาทเชิงงอน และธารพระกรชัยพฤกษ์ หลังจากนั้นถวายเครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงศาสตราวุธ
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีดังกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตลอดไป”
ทั้งนี้พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงเป็นการกล่าวปฏิญาณตนโดยพระมหากษัตริย์ก่อนเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอเนกนิกรสโมสรสมมติทั้งปวงมาแต่โบราณกาล คำว่าอเนกนิกรสโมสรสมมติ จะเห็นได้ว่าในการถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ มีตัวแทนพระบรมวงศานุวงศ์ สมุหราชพิธีเป็นตัวแทนข้าราชบริพาร ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา อันเป็นตัวแทนของสามอำนาจอธิปไตยของไทย ทั้งยังมีสมณชีพราหมณ์และราชบัณฑิตเข้าร่วมในพระราชพิธีดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ถ้อยคำในพระปฐมบรมราชโองการของบูรพมหากษัตริยธิราชเจ้าในพระบรมมหาจักรีราชวงศ์ในอดีต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นไปในแนวทางนี้ และมีพระปฐมบรมราชโองการเป็นภาษามคธ อันเป็นภาษาในพระพุทธศาสนาด้วย เช่น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 25 ก.พ. 2468 ดังนี้
“อิทานาหํ พฺราหฺมณา ราชภารํ วหนฺโต พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรมิ ตุมฺหากํ สปริคฺคหิตานํ อุปริ ราชกํ อาณํ ปสาเรตฺวา นาโถ หุตฺวา ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตี สํวิทหามิ วิสฺสฏฺฐา หุตฺวา ยถาสุขํ วิหรถ ฯ”
“ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเปนธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญฯ”
เมื่อพระเจ้าแผ่นดินมีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ประธานพระครูพราหมณ์ จะรับพระปฐมบรมราชโองการ เช่น เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ได้รับพระปฐมบรมราชโองการว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบรมราชโองการสุรสิงหนาท ประถมธรรมิกราชวาจา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ” แล้วถวายบังคม 3 ครั้ง
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา
เราคงเห็นได้ว่าการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงหลั่งทักษิโณทกหลังจากมีพระปฐมบรมราชโองการ โดยการตั้งพระราชสัตยาธิษฐานนั้นเป็นการปฏิญาณตนของพระมหากษัตริย์ก่อนการปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ ต่ออเนกนิกรสโมสรสมมติที่เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ไทยทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระ พิพัฒน์สัตยา โดยเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพระองค์แรกร่วมกับข้าราชการและทหาร
ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระราชครูพราหมณ์ประกอบพระราชพิธีแช่งน้ำ ด้วยการร่ายพระเวท อ่านโองการแช่งน้ำ เชิญพระแสงศร พระแสงราชศัตราวุธโบราณสำคัญอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงของ้าว พระแสงประจำรัชกาล แทงน้ำในขันพระสาคร พระราชพิธีดังกล่าวกระทำขึ้นในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามต่อหน้าองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และหน้าพระพักตร์พระมหากษัตริย์ จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
พระราชพิธีแช่งน้ำ เป็นพระราชประเพณีสืบเนื่องมาแต่กรุงศรีอยุธยาดังมีหลักฐานในวรรณคดีไทย ลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นวรรณคดีเก่าแก่มาแต่ครั้งต้นกรุงศรีอยุธยา อันมีถ้อยคำสาปแช่งรุนแรงให้มีอันเป็นไป เช่น บ่ซื่อน้ำตัดคอ หรือ ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีสุขสวัสดีเมื่อใด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกอธิบายเรื่องพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาไว้อย่างละเอียดในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนเอาไว้ว่า นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ทรงร่วมดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพระองค์แรกเสมอก่อนทหารและข้าราชการ อันเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ สาบานว่าจะทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยามาแล้วในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
การที่พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพระองค์แรก ย่อมถือได้ว่าเป็นการปฏิญาณของพระมหากษัตริย์ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากล และการที่ทรงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาอันผ่านพระราชพิธีการแช่งน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเป็นเครื่องแสดงการปฏิญาณและตั้งสัตยาธิษฐานอันหนักแน่นในการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์เพื่อทรงปกป้องรักษาชาติบ้านเมือง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันหนักแน่น
ดังนั้นสิ่งที่ปิยบุตรเสนอข้อเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ปฏิญาณพระองค์ในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นข้อเสนอที่แสดงอวิชชาและอคติ ตลอดจนความไร้สติปัญญาของผู้เสนอที่ปราศจากความรู้ความเข้าใจในราชประเพณีการปกครองของไทยที่มีความหมาย มีรากเหง้าอันยาวนาน มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความเชื่อและความศรัทธาในคุณงามความดีที่จะปกป้องรักษาบ้านเมืองให้มั่งคงสุขสงบร่มเย็น
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นหนึ่งในเครือข่ายและชบวนการของการกระทำผิดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 49 ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ปิยบุตรผู้ยึดถือเรื่องปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นลมหายใจเข้าออก ได้ออกมาบรรยายว่าพระมหากษัตริย์ไทยต้องปฏิญาณตนในสภาผู้แทนราษฎร และถึงกับไปยกร่างรัฐธรรมนูญหมวด 2 พระมหากษัตริย์ทั้งหมวดใหม่ทั้งหมด โดยกำหนดไว้ว่า
พระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องปฏิญาณตน โดยมีข้อความปฏิญาณตนโดยยกร่างพระราชดำรัสที่ให้พระมหากษัตริย์ต้องปฏิญาณตนไว้ตายตัวดังนี้ว่า
“ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศด้วยความซื่อสัตย์ เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายที่ตราขึ้นโดยสภาผู้แทนราษฎรทุกประการ”
ปิยบุตรอธิบายว่าการปฏิญาณในสภาผู้แทนราษฎรของพระมหากษัตริย์ก่อนเข้าดำรงตำแหน่งเพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ว่าพระมหากษัตริย์จะเคารพรัฐธรรมนูญ แสดงตนว่าพระมหากษัตริย์จะอยู่ได้รัฐธรรมนูญจริง ๆ ซึ่งหลายประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เขียนเอาไว้เช่นนี้หมด ให้มีการปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่ง
ปิยบุตรยังไปยกตัวอย่างจากประเทศที่เป็นสาธารณรัฐ และประเทศที่มีระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกหลากหลายรูปแบบในประเทศตะวันตกเป็นหลัก
ส่วนตัวผมมีความเห็นว่าปิยบุตรขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในฐานะนักกฎหมายที่ว่ากฎหมายย่อมมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามในแต่ละชาติ ยิ่งกฎหมายปกครอง/มหาชนแล้วด้วยนั้น ย่อมต้องอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการเมืองการปกครองของแต่ละชาติที่ย่อมแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ธรรมเนียมประเพณีในการปกครองในทุกๆ ประเทศ มีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณี (Common law) เพื่ออุดรอยรั่วของกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Code law) ดังนั้นการไปอ้างอิงเฉพาะประเทศตะวันตก โดยละเลยความเข้าใจพื้นฐานในวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการเมืองการปกครองของชาติไทย จึงเป็นการแสดงทัศนะและการวิเคราะห์ที่ไม่รอบคอบ ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง และเต็มไปด้วยอคติ
สำหรับประเทศไทยซึ่งมีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองต่อเนื่องยาวนานมาหลายร้อยปี ก็มีธรรมเนียมประเพณีเป็นการเฉพาะและย่อมเป็นที่มาและเกี่ยวเนื่องโยงสัมพันธ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของไทยเช่นเดียวกัน พระมหากษัตริย์ไทยทรงเข้าร่วมพระราชพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์หลายพระราชประเพณีและมีความสำคัญยิ่งกว่าการปฏิญาณตนในสภาผู้แทนราษฎร
ปิยบุตรคงไม่เคยศึกษาราชประเพณีการปกครองของไทยอันเป็นรากฐานของกฎหมายปกครอง/มหาชนของไทยรวมไปถึงรัฐธรรมนูญของไทยด้วย เพราะว่าพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงปฏิญาณตนตามราชประเพณีการปกครองของไทยมาอยู่แล้วโดยเสมอ ทั้งยังเป็นการปฏิญาณตนก่อนการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้ปิยบุตรได้เปิดกระโหลกและตาสว่างได้เข้าใจว่าพระมหากษัตริย์ปฏิญาณตนอย่างไรตามราชประเพณีการปกครองของไทย
ประการแรก พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกคือการปฏิญาณตนของพระมหากษัตริย์ก่อนการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี
ตามราชประเพณีไทยพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (Coronation) จะยังคงใช้พระนาม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ต่อเมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วจึงเรียกพระนาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีราชประเพณีสำคัญสองราชประเพณี คือ
หนึ่งราชประเพณีการสรงพระมุรธาภิเษก คำว่ามุรธา แปลว่าหัวหรือยอด สรงน้ำมุรธาภิเษก มาจาก มุรธา+อภิเษก คือน้ำสรงพระเศียรพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งต้องนำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากทั่วราชอาณาจักรมาประกอบพระราชพิธี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสรงพระมุรธาภิเษก ณ มณฑปพระกระยาสนาน บริเวณชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน น้ำสรงพระมุรธาภิเษกเป็นน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ 9 แหล่ง น้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 4 ของสุพรรณบุรี คือ สระเกศ สระแก้ว สระคา สระยมนา และจากแม่น้ำอีก 5 สาย “เบญจสุทธิคงคา” คือ แม่น้ำเพชรบุรี, แม่น้ำราชบุรี, แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำป่าสัก, และแม่น้ำบางปะกง
สอง พระเจ้าแผ่นดินทรงรับน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนต์ตามลำดับ ทรงรับน้ำอภิเษกซึ่งเป็นน้ำจากทั่วราชอาณาจักรที่ประกอบพิธีแล้ว ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ (คำว่าอุทุมพร แปลว่าไม้มะเดื่อ และอัฐทิศ แปลว่าแปดทิศ)
โดยที่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 มีผู้ถวายน้ำอภิเษกทั้ง 8 ทิศ ดังนี้
พันโท สมชาย กาญจนมณี ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ ๑ สำหรับทรงรับน้ำอภิเษกประจำทิศโดยทักษิณาวรรต ดังนี้
ทิศบูรพา (ตะวันออก) พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ถวายน้ำอภิเษกด้วยถ้วยศิลาจารึกพุทธคาถาเป็นทิศแรก
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบเฟือง (สัมฤทธิ์) เสร็จแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ตามลำดับทิศดังนี้
ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล
ทิศทักษิณ (ใต้) พลโท หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล
ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
ทิศประจิม (ตะวันตก) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทิศอุดร (เหนือ) นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา
ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) นายจรัส สุวรรณเวลา ราชบัณฑิต
หลังจากนั้นประทับณ พระที่นั่งภัทรบิฐเพื่อทรงรับการถวายพระนพปฎลมหาเศวตรฉัตร พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องหมายแห่งพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี วาลวิชนี/พระแส้หางจามรี ฉลองพระบาทเชิงงอน และธารพระกรชัยพฤกษ์ หลังจากนั้นถวายเครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงศาสตราวุธ
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีดังกล่าว
ยกตัวอย่างเช่น พระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร มีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามตลอดไป”
ทั้งนี้พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงเป็นการกล่าวปฏิญาณตนโดยพระมหากษัตริย์ก่อนเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อหน้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอเนกนิกรสโมสรสมมติทั้งปวงมาแต่โบราณกาล คำว่าอเนกนิกรสโมสรสมมติ จะเห็นได้ว่าในการถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ มีตัวแทนพระบรมวงศานุวงศ์ สมุหราชพิธีเป็นตัวแทนข้าราชบริพาร ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา อันเป็นตัวแทนของสามอำนาจอธิปไตยของไทย ทั้งยังมีสมณชีพราหมณ์และราชบัณฑิตเข้าร่วมในพระราชพิธีดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ถ้อยคำในพระปฐมบรมราชโองการของบูรพมหากษัตริยธิราชเจ้าในพระบรมมหาจักรีราชวงศ์ในอดีต ก็ล้วนแล้วแต่เป็นไปในแนวทางนี้ และมีพระปฐมบรมราชโองการเป็นภาษามคธ อันเป็นภาษาในพระพุทธศาสนาด้วย เช่น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 25 ก.พ. 2468 ดังนี้
“อิทานาหํ พฺราหฺมณา ราชภารํ วหนฺโต พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย ธมฺเมน สเมน รชฺชํ กาเรมิ ตุมฺหากํ สปริคฺคหิตานํ อุปริ ราชกํ อาณํ ปสาเรตฺวา นาโถ หุตฺวา ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตี สํวิทหามิ วิสฺสฏฺฐา หุตฺวา ยถาสุขํ วิหรถ ฯ”
“ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่ราชอาณาเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติ เปนที่พึ่ง จัดการปกครองรักษาป้องกัน อันเปนธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบาย เทอญฯ”
เมื่อพระเจ้าแผ่นดินมีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ประธานพระครูพราหมณ์ จะรับพระปฐมบรมราชโองการ เช่น เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ ประธานพระครูพราหมณ์ได้รับพระปฐมบรมราชโองการว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบรมราชโองการสุรสิงหนาท ประถมธรรมิกราชวาจา ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ” แล้วถวายบังคม 3 ครั้ง
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐานจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา
เราคงเห็นได้ว่าการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงหลั่งทักษิโณทกหลังจากมีพระปฐมบรมราชโองการ โดยการตั้งพระราชสัตยาธิษฐานนั้นเป็นการปฏิญาณตนของพระมหากษัตริย์ก่อนการปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์ ต่ออเนกนิกรสโมสรสมมติที่เข้าร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ประการที่สอง พระมหากษัตริย์ไทยทรงเข้าร่วมพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระ พิพัฒน์สัตยา โดยเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพระองค์แรกร่วมกับข้าราชการและทหาร
ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระราชครูพราหมณ์ประกอบพระราชพิธีแช่งน้ำ ด้วยการร่ายพระเวท อ่านโองการแช่งน้ำ เชิญพระแสงศร พระแสงราชศัตราวุธโบราณสำคัญอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงของ้าว พระแสงประจำรัชกาล แทงน้ำในขันพระสาคร พระราชพิธีดังกล่าวกระทำขึ้นในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามต่อหน้าองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และหน้าพระพักตร์พระมหากษัตริย์ จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง
พระราชพิธีแช่งน้ำ เป็นพระราชประเพณีสืบเนื่องมาแต่กรุงศรีอยุธยาดังมีหลักฐานในวรรณคดีไทย ลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นวรรณคดีเก่าแก่มาแต่ครั้งต้นกรุงศรีอยุธยา อันมีถ้อยคำสาปแช่งรุนแรงให้มีอันเป็นไป เช่น บ่ซื่อน้ำตัดคอ หรือ ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีสุขสวัสดีเมื่อใด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกอธิบายเรื่องพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาไว้อย่างละเอียดในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนเอาไว้ว่า นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ทรงร่วมดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพระองค์แรกเสมอก่อนทหารและข้าราชการ อันเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ สาบานว่าจะทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยามาแล้วในพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
การที่พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเป็นพระองค์แรก ย่อมถือได้ว่าเป็นการปฏิญาณของพระมหากษัตริย์ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากล และการที่ทรงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาอันผ่านพระราชพิธีการแช่งน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ย่อมเป็นเครื่องแสดงการปฏิญาณและตั้งสัตยาธิษฐานอันหนักแน่นในการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์เพื่อทรงปกป้องรักษาชาติบ้านเมือง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันหนักแน่น
ดังนั้นสิ่งที่ปิยบุตรเสนอข้อเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ปฏิญาณพระองค์ในสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นข้อเสนอที่แสดงอวิชชาและอคติ ตลอดจนความไร้สติปัญญาของผู้เสนอที่ปราศจากความรู้ความเข้าใจในราชประเพณีการปกครองของไทยที่มีความหมาย มีรากเหง้าอันยาวนาน มีความศักดิ์สิทธิ์ มีความเชื่อและความศรัทธาในคุณงามความดีที่จะปกป้องรักษาบ้านเมืองให้มั่งคงสุขสงบร่มเย็น