นายณัฐพงษ์ เอียดเต็ม ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.โฉมศรี ชูช่วย คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และ
ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวหน้าโครงการสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Email: pongpiajun@gmail.com
ปัจจุบันวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particle Matter Smaller Than 2.5 Micron; PM2.5) ยังถือว่าเป็นสถานการณ์ที่มีความอันตรายอย่างต่อเนื่องสำหรับประเทศไทย ซึ่งฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่านั้น สามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศและฟุ้งกระจายได้เป็นวงกว้าง โดยแหล่งกำเนิดหลักๆมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงจากยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้ชีวมวล การเผาขยะ หรือแม้กระทั้งการเผาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อเตรียมสำหรับการเพาะปลูก เป็นต้น [1-3] กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ปลดปล่อยฝุ่นละอองออกสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับวัฏจักรของฝุ่นละอองที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศสามารถเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดได้จากการพัดพาของกระแสลม โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจะสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลจากแหล่งกำเนิดเนื่องจากมีน้ำหนักเบา ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศสามารถตกลงสู่พื้นผิวโลกและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ 2 วิธี คือ แรงโน้มถ่วงของโลกและการถูกชะล้างด้วยฝน ดังแสดงภาพที่ 1
ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชน เมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง แน่นหน้าอก หายใจถี่ หอบหืด มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและทำลายเนื้อเยื่อปอด หรือหากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานานจะสามารถอาจ ส่งผลให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เป็นต้น [4]
จากการติดตามตรวจสอบสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปีพ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปีดังแสดงภาพที่ 2 โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และ สระบุรี เป็นต้น (กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง, 2564) ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจากปัญหา PM2.5 รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นต่างๆ อีกด้วย [5]
จากข้อมูลการประมาณการณ์ความเสียหายจากฝุ่น PM2.5 เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด ในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล คิดเป็นเงินประมาณ 3,200-6,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านสุขภาพที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและกิจกรรมของประชาชนกว่า 1,000-2,400 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 75% ของค่าใช้จ่ายในการปกป้องและรักษาสุขภาพของประชากรรวมถึงการจัดหาหน้ากากอนามัยและเครื่องป้องกันที่จำเป็นอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจอื่นๆ ประมาณ 200-600 ล้านบาท เช่น ร้านอาหารข้างทาง สวนอาหาร ตลาดนัด โดยได้คำนึงถึงผลบวกที่อาจเกิดขึ้นต่อร้านค้าหรือร้านอาหารที่มีบริการจัดส่งถึงที่พักแล้ว รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอ้อยที่ต้องเปลี่ยนมาใช้แรงงานและรถตัดอ้อยแทนการเผา ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น การก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร มีปัญหาความล่าช้า เนื่องจากมีระเบียบงดก่อสร้างในชั่วโมงเร่งด่วน ต้องมีฉีดพ่นน้ำเป็นระยะ และค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติบางส่วนหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เนื่องจากการจัดอันดับมลภาวะทางอากาศในช่วงปีที่ผ่านมาของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆ ติดอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ [6,7]
จากงานเสวนา Chula Econ Forum คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อฝ่าวิกฤติฝุ่น PM2.5 : ปัญหาและทางออก ชี้ฝุ่นจากการจราจรยังเป็นปัญหาหลักของเมืองหลวง สร้างความสูญเสียที่มองไม่เห็นกว่า 450,000 ล้านบาท ขณะที่ทั้งประเทศปัญหาจากฝุ่นละอองสร้างความสูญเสียมากถึง 2.36 ล้านล้านบาท โดยผู้สัมมนายังได้ย้ำให้รัฐบาลเก็บข้อมูลจริงจัง เพื่อให้นักวิชาการเข้าถึงข้อมูลไว้ออกแบบนโยบายตรงจุด รวมไปถึงมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อลดผลกระทบ แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่าหลายๆ ปัญหานั้นก็แก้ได้ลำบาก
ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าแต่ละปีมีประชาชนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น โรคหัวใจ ปอดอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง บางโมเดลทะลุถึง 8 ล้านคน หากเทียบความเสียหายจากฝุ่น PM2.5 คงถือได้ว่าเป็นมัจจุราชเงียบบั่นทอนชีวิตคนไทยและคนทั่วโลกมาตลอด ในประเทศไทยบางโมเดลมีประชาชนกว่า 7 หมื่นคนต่อปีต้องเสียชีวิตจากฝุ่นพิษนี้ เพราะฝุ่นขนาดเล็กเมื่อเข้าสู่เม็ดเลือดแดงไปอวัยวะต่างๆรวมถึงไต ซึ่งทำหน้าที่กรองฟอกเลือดให้สะอาด เมื่อเลือดสกปรก ไตก็จะทำงานหนักขึ้น และมลพิษอากาศจะกระทบโดยตรงต่อกลุ่มเสี่ยง โดยผู้หญิงจะเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เด็กเล็กจะอ่อนไหวต่อมลพิษอากาศมากกว่ากลุ่มช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งก๊าซส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อการแอดมิทในโรงพยาบาล คือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยายามหาวิธีในการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกินกว่าค่ามาตรฐานกำหนดมาโดยตลอด แต่ดูเหมือนว่าอาจจะยังหาวิธีการแก้ไขปัญหาช้าเกินไป เพราะปัญหาดังกล่าวได้เริ่มส่งผลกระทบต่อหลายๆ ด้าน ซึ่งด้านหลักๆ คือ ด้านสุขภาพ ที่ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในขณะนี้เปลี่ยนไปจากเดิม และอีกด้านที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ ที่นับวันยิ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเบื้องต้นอาจเกิดการลังเลที่จะเดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานคร และกรณีเลวร้ายอาจจะปฏิเสธที่จะไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก็เป็นได้ ซึ่งปัญหาฝุ่น PM2.5 นี้ ได้เคยสร้างปัญหาให้แก่ประเทศจีนมาแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 0.7% ของจีดีพีจีน [8]
ปัจจุบันประเทศไทยได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้น เช่น การให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเส้นทางไฟฟ้าปรับเปลี่ยนเวลาก่อสร้างไม่ให้ตรงกับชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองสะสมหนาแน่นในพื้นที่ รณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถส่วนตัวหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าสาธารณะมากขึ้น ควบคุมการเผาในที่โล่ง ตรวจจับรถควันดำ การส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 เพื่อลดการปล่อย PM2.5 จากควันท่อไอเสียรถยนต์ นโยบายเพิ่มจำนวนรถตัดอ้อยเพื่อการเก็บเกี่ยว สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถตัดอ้อย นอกจากนี้ยังกำหนดราคาอ้อยไฟไหม้ให้มีราคารับซื้อต่ำกว่าอ้อยสด เพื่อจูงใจเกษตรกรให้ลดการเผาอ้อย การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การส่งออกรถยนต์ของไทย โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจะเพิ่มขึ้น เพื่อตอบรับกระแสความต้องการ EV จากทั่วโลก เป็นต้น [9] นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอนโยบายสำหรับกระทรวงพาณิชย์ เช่น การส่งเสริมผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของประเทศไทยให้ปรับตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่บรรเทาผลกระทบ เช่น สินค้าเครื่องฟอกอากาศ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ และหน้ากากอนามัย เนื่องจากกลายเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นและความต้องการอย่างมาก ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก การส่งเสริมร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่มีการดำเนินการลดฝุ่น PM2.5 เช่น ให้รางวัลหรือติดตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองว่าผู้ประกอบการมีการดำเนินการเพื่อลดฝุ่น PM2.5 การสนับสนุนการลดภาษีสินค้าจำพวกเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เพื่อให้ราคาไม่สูงเกินไป และผู้บริโภคทั้งภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรมสามารถซื้อหาได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหามลพิษอากาศจะต้องมีความจำเป็นในการออกนโยบายที่ตรงเป้า โดยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนจากแหล่งกำเนิดที่แท้จริงก่อน ซึ่งปัจจุบันข้อมูลคุณภาพอากาศเหล่านี้มีเพียงข้อมูลการเผาจากภาคเกษตรจากจุดความร้อนแค่บางพื้นที่ แต่ข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมแทบไม่มีข้อมูลเลยว่ามาจากภาคส่วนไหน ปริมาณการปลดปล่อยเท่าไหร่ จึงทำให้นักวิชาการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถหาปริมาณการปลดปล่อย ผลกระทบ และมาตรการได้ทันท่วงที แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันทุกภาคส่วนและประชาชนเริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 กันมากขึ้น เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศให้ทุเลาลง โดยสามารถเริ่มจากการแก้ปัญหาง่ายๆ จากภาคประชาชนและเกษตรกร เช่น การไม่เผาขยะ หญ้าแห้ง หรือพืชผลทางการเกษตรต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนมีการตรวจสอบสภาพรถยนต์ การบริหารจัดการงานก่อสร้าง และการควบคุมการปลดปล่อยมลพิษจากกิจการโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้านในการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศของประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง
[1] Willeke, K., Baron, P.A., Reinhold, V.N. 2011. Aerosol Measurement: Principles, Techniques, and Applications.
[2] Brook, R.D., Franklin, B., Cascio, W., Hong, Y., Howard, G., Lipsett, M., Luepker, R., Mittleman, M. 2004. Air Pollution and Cardiovascular Disease: A Statement for Healthcare Professionals From the Expert Panel on Population and Prevention Science of the American Heart Association. Circulation, 109: 2655-2671.
[3] กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2547. ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ. กระทรวงอุตสาหกรรม. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. คุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดในประเทศไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.iqair.com/th/thailand/bangkok.
[4] Venter, Z.S., Barton, D.N., Gundersen, V., Figari, H., Nowell, M. (2020). Urban nature in a time of crisis: recreational use of green space increases during the COVID-19 outbreak in Oslo, Norway. Environ. Res. Lett, 15, 104075.
[5] เชียงใหม่นิวส์. รับมือฝุ่น PM2.5 ด้วยวิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/888217.
[6] ประชาชาติธุรกิจ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ “ฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงขึ้น” ส่อกระทบเศรษฐกิจสูงถึง 6 พันล้านบาท[ออนไลน์] เข้าถึงได้ https://www.prachachat.net/finance/news-413478
[7] ไทยโพสต์. PM 2.5 กระทบเศรษฐกิจ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/29577.
[8] Businessinsider, ‘China Is Finally Updating Its Air Pollution Laws’, Stian Reklev- Reuters, 23 December 2014, http://www.businessinsider.com/r-china-drafts-new-law-to-fight-air-pollution-xinhua-2014-12.
[9] ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน. แนวทางของจีนในการส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างรอบด้าน รวมทั้งการขจัดมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และดิน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.vijaichina.com/articles/1030.
ดร.โฉมศรี ชูช่วย คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และ
ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวหน้าโครงการสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Email: pongpiajun@gmail.com
ปัจจุบันวิกฤตการณ์มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particle Matter Smaller Than 2.5 Micron; PM2.5) ยังถือว่าเป็นสถานการณ์ที่มีความอันตรายอย่างต่อเนื่องสำหรับประเทศไทย ซึ่งฝุ่นละอองที่มีอนุภาคเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมถึง 25 เท่านั้น สามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศและฟุ้งกระจายได้เป็นวงกว้าง โดยแหล่งกำเนิดหลักๆมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงจากยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้ชีวมวล การเผาขยะ หรือแม้กระทั้งการเผาพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อเตรียมสำหรับการเพาะปลูก เป็นต้น [1-3] กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ปลดปล่อยฝุ่นละอองออกสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับวัฏจักรของฝุ่นละอองที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศสามารถเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดได้จากการพัดพาของกระแสลม โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจะสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลจากแหล่งกำเนิดเนื่องจากมีน้ำหนักเบา ฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศสามารถตกลงสู่พื้นผิวโลกและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ 2 วิธี คือ แรงโน้มถ่วงของโลกและการถูกชะล้างด้วยฝน ดังแสดงภาพที่ 1
ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชน เมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดการระคายเคือง แน่นหน้าอก หายใจถี่ หอบหืด มีผลต่อระบบทางเดินหายใจและทำลายเนื้อเยื่อปอด หรือหากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานานจะสามารถอาจ ส่งผลให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เป็นต้น [4]
จากการติดตามตรวจสอบสถานการณ์ PM2.5 โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ จํานวน 64 สถานี ใน 34 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ในช่วงปีพ.ศ. 2562-2564 สถานการณ์ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงต้นปีและปลายปีดังแสดงภาพที่ 2 โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่ที่มีการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม พื้นที่ก่อสร้าง และพื้นที่มีการเผาในที่โล่ง เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แม่ฮองสอน เชียงราย น่าน ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ และ สระบุรี เป็นต้น (กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง, 2564) ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพจากปัญหา PM2.5 รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจในมิติของค่าเสียโอกาสจากประเด็นต่างๆ อีกด้วย [5]
จากข้อมูลการประมาณการณ์ความเสียหายจากฝุ่น PM2.5 เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด ในปี 2563 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล คิดเป็นเงินประมาณ 3,200-6,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นค่าเสียโอกาสทางด้านสุขภาพที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและกิจกรรมของประชาชนกว่า 1,000-2,400 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 75% ของค่าใช้จ่ายในการปกป้องและรักษาสุขภาพของประชากรรวมถึงการจัดหาหน้ากากอนามัยและเครื่องป้องกันที่จำเป็นอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจอื่นๆ ประมาณ 200-600 ล้านบาท เช่น ร้านอาหารข้างทาง สวนอาหาร ตลาดนัด โดยได้คำนึงถึงผลบวกที่อาจเกิดขึ้นต่อร้านค้าหรือร้านอาหารที่มีบริการจัดส่งถึงที่พักแล้ว รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอ้อยที่ต้องเปลี่ยนมาใช้แรงงานและรถตัดอ้อยแทนการเผา ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น การก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร มีปัญหาความล่าช้า เนื่องจากมีระเบียบงดก่อสร้างในชั่วโมงเร่งด่วน ต้องมีฉีดพ่นน้ำเป็นระยะ และค่าเสียโอกาสด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติบางส่วนหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เนื่องจากการจัดอันดับมลภาวะทางอากาศในช่วงปีที่ผ่านมาของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอื่นๆ ติดอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ [6,7]
จากงานเสวนา Chula Econ Forum คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อฝ่าวิกฤติฝุ่น PM2.5 : ปัญหาและทางออก ชี้ฝุ่นจากการจราจรยังเป็นปัญหาหลักของเมืองหลวง สร้างความสูญเสียที่มองไม่เห็นกว่า 450,000 ล้านบาท ขณะที่ทั้งประเทศปัญหาจากฝุ่นละอองสร้างความสูญเสียมากถึง 2.36 ล้านล้านบาท โดยผู้สัมมนายังได้ย้ำให้รัฐบาลเก็บข้อมูลจริงจัง เพื่อให้นักวิชาการเข้าถึงข้อมูลไว้ออกแบบนโยบายตรงจุด รวมไปถึงมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อลดผลกระทบ แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่าหลายๆ ปัญหานั้นก็แก้ได้ลำบาก
ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าแต่ละปีมีประชาชนกว่า 7 ล้านคนต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น โรคหัวใจ ปอดอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง บางโมเดลทะลุถึง 8 ล้านคน หากเทียบความเสียหายจากฝุ่น PM2.5 คงถือได้ว่าเป็นมัจจุราชเงียบบั่นทอนชีวิตคนไทยและคนทั่วโลกมาตลอด ในประเทศไทยบางโมเดลมีประชาชนกว่า 7 หมื่นคนต่อปีต้องเสียชีวิตจากฝุ่นพิษนี้ เพราะฝุ่นขนาดเล็กเมื่อเข้าสู่เม็ดเลือดแดงไปอวัยวะต่างๆรวมถึงไต ซึ่งทำหน้าที่กรองฟอกเลือดให้สะอาด เมื่อเลือดสกปรก ไตก็จะทำงานหนักขึ้น และมลพิษอากาศจะกระทบโดยตรงต่อกลุ่มเสี่ยง โดยผู้หญิงจะเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย เด็กเล็กจะอ่อนไหวต่อมลพิษอากาศมากกว่ากลุ่มช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งก๊าซส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อการแอดมิทในโรงพยาบาล คือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พยายามหาวิธีในการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกินกว่าค่ามาตรฐานกำหนดมาโดยตลอด แต่ดูเหมือนว่าอาจจะยังหาวิธีการแก้ไขปัญหาช้าเกินไป เพราะปัญหาดังกล่าวได้เริ่มส่งผลกระทบต่อหลายๆ ด้าน ซึ่งด้านหลักๆ คือ ด้านสุขภาพ ที่ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในขณะนี้เปลี่ยนไปจากเดิม และอีกด้านที่สำคัญ คือ ด้านเศรษฐกิจ ที่นับวันยิ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเบื้องต้นอาจเกิดการลังเลที่จะเดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานคร และกรณีเลวร้ายอาจจะปฏิเสธที่จะไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยก็เป็นได้ ซึ่งปัญหาฝุ่น PM2.5 นี้ ได้เคยสร้างปัญหาให้แก่ประเทศจีนมาแล้ว ซึ่งปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 0.7% ของจีดีพีจีน [8]
ปัจจุบันประเทศไทยได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้น เช่น การให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเส้นทางไฟฟ้าปรับเปลี่ยนเวลาก่อสร้างไม่ให้ตรงกับชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองสะสมหนาแน่นในพื้นที่ รณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถส่วนตัวหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าสาธารณะมากขึ้น ควบคุมการเผาในที่โล่ง ตรวจจับรถควันดำ การส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 เพื่อลดการปล่อย PM2.5 จากควันท่อไอเสียรถยนต์ นโยบายเพิ่มจำนวนรถตัดอ้อยเพื่อการเก็บเกี่ยว สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถตัดอ้อย นอกจากนี้ยังกำหนดราคาอ้อยไฟไหม้ให้มีราคารับซื้อต่ำกว่าอ้อยสด เพื่อจูงใจเกษตรกรให้ลดการเผาอ้อย การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ การส่งออกรถยนต์ของไทย โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่จะช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจะเพิ่มขึ้น เพื่อตอบรับกระแสความต้องการ EV จากทั่วโลก เป็นต้น [9] นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอนโยบายสำหรับกระทรวงพาณิชย์ เช่น การส่งเสริมผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของประเทศไทยให้ปรับตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า การสนับสนุนผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่บรรเทาผลกระทบ เช่น สินค้าเครื่องฟอกอากาศ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ และหน้ากากอนามัย เนื่องจากกลายเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นและความต้องการอย่างมาก ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก การส่งเสริมร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่มีการดำเนินการลดฝุ่น PM2.5 เช่น ให้รางวัลหรือติดตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองว่าผู้ประกอบการมีการดำเนินการเพื่อลดฝุ่น PM2.5 การสนับสนุนการลดภาษีสินค้าจำพวกเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ เครื่องฟอกอากาศ เพื่อให้ราคาไม่สูงเกินไป และผู้บริโภคทั้งภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรมสามารถซื้อหาได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหามลพิษอากาศจะต้องมีความจำเป็นในการออกนโยบายที่ตรงเป้า โดยต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนจากแหล่งกำเนิดที่แท้จริงก่อน ซึ่งปัจจุบันข้อมูลคุณภาพอากาศเหล่านี้มีเพียงข้อมูลการเผาจากภาคเกษตรจากจุดความร้อนแค่บางพื้นที่ แต่ข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมแทบไม่มีข้อมูลเลยว่ามาจากภาคส่วนไหน ปริมาณการปลดปล่อยเท่าไหร่ จึงทำให้นักวิชาการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่สามารถหาปริมาณการปลดปล่อย ผลกระทบ และมาตรการได้ทันท่วงที แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันทุกภาคส่วนและประชาชนเริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 กันมากขึ้น เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามลพิษอากาศให้ทุเลาลง โดยสามารถเริ่มจากการแก้ปัญหาง่ายๆ จากภาคประชาชนและเกษตรกร เช่น การไม่เผาขยะ หญ้าแห้ง หรือพืชผลทางการเกษตรต่างๆ รวมถึงภาคเอกชนมีการตรวจสอบสภาพรถยนต์ การบริหารจัดการงานก่อสร้าง และการควบคุมการปลดปล่อยมลพิษจากกิจการโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้านในการลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศของประเทศไทย
เอกสารอ้างอิง
[1] Willeke, K., Baron, P.A., Reinhold, V.N. 2011. Aerosol Measurement: Principles, Techniques, and Applications.
[2] Brook, R.D., Franklin, B., Cascio, W., Hong, Y., Howard, G., Lipsett, M., Luepker, R., Mittleman, M. 2004. Air Pollution and Cardiovascular Disease: A Statement for Healthcare Professionals From the Expert Panel on Population and Prevention Science of the American Heart Association. Circulation, 109: 2655-2671.
[3] กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2547. ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ. กระทรวงอุตสาหกรรม. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. คุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดในประเทศไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.iqair.com/th/thailand/bangkok.
[4] Venter, Z.S., Barton, D.N., Gundersen, V., Figari, H., Nowell, M. (2020). Urban nature in a time of crisis: recreational use of green space increases during the COVID-19 outbreak in Oslo, Norway. Environ. Res. Lett, 15, 104075.
[5] เชียงใหม่นิวส์. รับมือฝุ่น PM2.5 ด้วยวิธีการแก้ปัญหาของต่างประเทศ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/888217.
[6] ประชาชาติธุรกิจ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ “ฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงขึ้น” ส่อกระทบเศรษฐกิจสูงถึง 6 พันล้านบาท[ออนไลน์] เข้าถึงได้ https://www.prachachat.net/finance/news-413478
[7] ไทยโพสต์. PM 2.5 กระทบเศรษฐกิจ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/29577.
[8] Businessinsider, ‘China Is Finally Updating Its Air Pollution Laws’, Stian Reklev- Reuters, 23 December 2014, http://www.businessinsider.com/r-china-drafts-new-law-to-fight-air-pollution-xinhua-2014-12.
[9] ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน. แนวทางของจีนในการส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างรอบด้าน รวมทั้งการขจัดมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และดิน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.vijaichina.com/articles/1030.