ติดเชื้อเพิ่ม 2,310 ราย ในเรือนจำ 101 ราย เสียชีวิต 43 คน กทม.ยัวิกฤตติดเชื้อมากสุด เฝ้าระวัง 70 แห่ง “ละลายทรัพย์” ป่วน “บางรัก” ปัดข่าวติดเชื้อ 310 แจงแค่ 22 เริ่มคุมแคมป์ก่อสร้าง-ห้ามย้ายคนงาน “ซิโนแวค” ถึงไทยอีกล้านโดส “แอสตราฯ” เลื่อนส่ง 2 วัน จอง “ไฟเซอร์” 20 ล้านโดส เปิดจอง “ซิโนฟาร์ม” 14 มิ.ย. พร้อมนำเข้าเพิ่มอีก 5-6 ล้านโดส
วานนี้ (10 มิ.ย.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,310 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,170 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ตรวจพบระบบเฝ้าระวังและบริการ 1,467 ราย การค้นหาเชิงรุกในชุมชน 703 ราย เรือนจำ101 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 38 ราย ในส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 1,295 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 43 ราย รวมเสียชีวิตสะสม1,375 ราย
ส่วนตัวเลขการฉีดวัคซีนสะสมระหว่างวันที่ 28 ก.พ. - 9 มิ.ย.64 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งเข็ม 1 และเข็ม 2 ทั้งหมด 5,443,743 โดส โดยเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.64 มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด 336,674 โดส
กทม.เฝ้าระวัง 70 คลัสเตอร์
พญ.อภิสมัย กล่าวต่อถึงสถานการณ์ในพื้นที่ กทม.ว่า ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดในประเทศ จำนวน 788 ราย มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง 70 แห่ง ในเขตดอนเมือง, บางเขน, บางซื่อ, หลักสี่, ประเวศ, หนองจอก, บางคอแหลม, สาทร และบางแค ส่วนการเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ในชุมชนพบว่า 11 พื้นที่ เสี่ยงในชุมชน ได้แก่ ตลาดสถานีขนส่ง สถานบริการผับ บาร์ คาราโอเกะ และสถานที่ต่ออายุหรือบัตรแรงงานที่มีชุมชนแรงงานต่างด้าวแออัด หน่วยราชการด่านหน้า โรงงานห้างสรรพสินค้า รวมร้านอาหาร สถานที่ดูแลผู้สูงอายุโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือสถานดูแลเด็กเล็กศาสนสถานหรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและบริษัท สำนักงาน หรือธนาคาร
“ละลายทรัพย์” ติดแค่ 22 ราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้งวันได้มีกระแสข่าวว่า สำนักงานเขตบางรักสั่งให้ปิดตลาดละลายทรัพย์ สีลมซอย 5 จนถึงวันที่ 11 มิ.ย. เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 310 ราย ก่อนที่ สำนักงานเขตบางรัก จะออกประกาศว่า มีการพบผู้ติดเชื้อที่ตลาดละลายทรัพย์ และได้สั่งให้ปิดตลาดเพื่อทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบจนถึงวันที่ 12 มิ.ย.นี้ สำหรับจำนวนผู้ค้าติดเชื้อโควิด-19 มีเพียง 13 ราย และครอบครัวของผู้ค้าซึ่งเป็นผู้สัมผัสอีก 9 ราย รวมผู้ติดเชื้อจากกรณีตลาดแห่งนี้ 22 ราย ไม่ใช่ 310 รายตามข่าวที่ออกไป
คุมแคมป์ก่อสร้าง-ห้ามย้ายคนงาน
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการ ศปก.ศบค. เปิดเผยว่าวันที่ 10 มิ.ย.64 เป็นวันแรกที่จะเริ่มมาตรการควบคุมคนงานก่อสร้างในแคมป์ก่อสร้าง เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด โดย กทม. และกระทรวงสาธารณสุข ได้ขอกำลังฝ่ายความมั่นคงทั้งตำรวจ และทหาร เข้าไปช่วยควบคุมพื้นที่ เนื่องจากตามไซต์งานต่างๆ เมื่อมีผู้ติดเชื้อแล้วยังมีการเคลื่อนย้ายคนงานไปยังไซต์งานอื่นๆ ดังนั้นตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จะคุมเข้มมากขึ้น โดยใช้กำลังฝ่ายความมั่นคงเข้าไปควบคุม แต่ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้สั่งปิดไซต์งานก่อสร้าง เพียงแต่ต้องใช้มาตรการเข้มงวด แต่หากสถานการณ์ดีขึ้นจึงค่อยผ่อนคลายมาตรการ เบื้องต้นจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ 4-5 คน ในการดูแลพื้นที่แต่ละแคมป์ ซึ่งมีมากถึง 409 แคมป์ก่อสร้าง
ซิโนแวคถึงไทยอีก 1 ล้านโดส
เฟซบุ๊ก Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เผยแพร่คลิปวีดิโอ และการขนส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด ที่ผลิตโดย บ.ซิโนแวก ไบโอเทค (Sinovac Biotech) จำนวน 1 ล้านโดส มาถึงประเทศไทย โดยสายการบินแอร์ไชน่า ทั้งนี้จีนได้ส่งออกและบริจาควัคซีนซิโนแวคให้แก่ไทยทั้งหมด 10 ล็อต รวม 7.5 ล้านโดสแล้ว และในปลายเดือน มิ.ย. จะรับวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มอีก 2 ล้านโดส
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ภายหลัง องค์การเภสัชกรรม ได้รับวัคซีนโควิด 19 ของ ซิโนแวค จากประเทศจีน จำนวน 1 ล้านโดส จะส่งต่อให้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจรับรองรุ่นการผลิต และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะตรวจใบรับรองการผลิตจากจีน เมื่อเรียบร้อยจะกระจายจัดส่งตามแผนต่อไป
“แอสตราฯ” ขอเลื่อนส่ง 2 วัน
นพ.เกียรติภูมิ เปิดเผยอีกว่า ได้รับรายงานจากกรมควบคุมโรคว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ล็อตที่ผลิตในไทย โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ขอเลื่อนเวลาการส่งออกจาก 14 มิ.ย. ไปประมาณ 2 วัน ซึ่งตนไม่ทราบเหตุผลของบริษัทฯ แต่คาดว่าจะมีวัคซีนทยอยเข้ามาต่อเนื่องตามกำหนด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุถึงการเลื่อนส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าว่า ยังเป็นไปตามแผนการจัดส่งของทางบริษัทฯ
มิ.ย.นี้ฉีดเกิน 10 ล้านคน
อีกด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มเติมว่า สำหรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ได้ตกลงกับบริษัทว่าจะจัดส่งรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นจุดที่ทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจร่วมกัน ส่วนจะส่งในวันใดนั้น ตราบใดที่อยู่ในสัปดาห์ที่เรายังรับวัคซีนต่อเนื่อง ก็จะไม่เป็นปัญหาอะไร ขณะเดียวกัน การเจรจาจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมด้วย โดยเชื่อมั่นว่าภายหลังเดือน มิ.ย.นี้ เราจะสามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้มากกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ และจะฉีดต่อไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสิ้นปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนช่วงต้นปี ควรจะต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิ เพราะเราคาดว่าจะต้องมีการฉีดวัคซีนซ้ำในช่วง 9-12 เดือน ดังนั้น เราต้องเจรจาจัดหาวัคซีนเพิ่ม
“ไม่ใช่ว่าได้มาเท่านี้แล้วจะพอใจ แล้วจะไม่จัดหาเพิ่มเติม รัฐบาลยืนยันว่า จะดูแลประชาชนด้วยการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนจนกว่าโรคโควิด-19 จะกลายมาเป็นโรคประจำถิ่น ไม่ใช่โรคระบาดทั่วโลกเช่นนี้ พร้อมเจรจากับผู้ผลิตหลายๆ เจ้า จัดหาวัคซีนรูปแบบใหม่เรื่อยๆ” นายอนุทิน กล่าว
จอง “ไฟเซอร์” 20 ล้านโดส
ผู้สื่อข่าวถามถึงการเจรจากับบริษัท ไฟเซอร์ ในการจัดซื้อวัคซีน นายอนุทิน กล่าวว่า วันนี้ได้รับรายงานว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้มีการลงนามในสัญญาเทอมชีท (Term Sheet) กับวัคซีนไฟเซอร์แล้ว หลังจากนั้นก็จะทำบันทึกความตกลงจะซื้อจะขาย ทั้งนี้ เรามีเวลา 1 เดือน ในการตกลงเงื่อนไขและราคา เบื้องต้น จำนวน 20 ล้านโดส ส่งมอบภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม จากนี้บริษัท ไฟเซอร์ จะต้องมีการส่งเอกสารเพื่อขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมกาอาหารและยา (อย.) ต่อไป
นายอนุทิน กล่าวว่า ส่วนการเจรจราซื้อวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เบื้องต้น ผ่านการพิจารณาเอกสารสัญญาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว แต่ยังไมได้มีการเซ็นต์สัญญา ในส่วนของของประเทศไทยไม่ได้มีปัญหา แต่รอการตอบกลับจากบริษัทผู้ผลิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ย้ำจอง “ซิโนฟาร์ม” 14 มิ.ย.
ขณะที่ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดเผยถึงการเปิดจองวัคซีนซิโนฟาร์ม จะเปิดระบบจองออนไลน์ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ คนที่ส่งจดหมายมาก่อนหน้านี้ ก็เพียงรับฟังจะได้รับรู้ความต้องการคร่าวๆ แต่ต้องเป็นไปตามระบบ เมื่อจองเข้ามามีคณะกรรมการบริหารวัคซีน มีกติกาพิจารณาประมาณ 4 นโยบายหลักๆ เช่น บริษัทขนาดเล็กขนาดใหญ่ สำคัญอย่างไรในความมั่นคงของสังคมและเศรษฐกิจ มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อมากน้อยแค่ไหน และจะสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมหรือไม่ จะมีคะแนนว่าจะพิจารณาให้คนไหนก่อน แบ่งเป็นกลุ่มๆ หากบริษัทใหญ่มากเราก็ไม่ได้ให้เยอะที่เดียว ไม่เช่นนั้นหมด ครั้งแรกจะพยายามกระจายให้ได้มากที่สุด
“ส่วนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่บอกจองไว้แรกๆ 5 แสนโดสนั้น เขาก็ต้องแบ่งบริษัทมา เราจะพิจารณาลักษณะของธุรกิจกิจกรรม ช่วงแรกขอย้ำเราจะกระจาย การนำไปที่บริษัทเดียวใหญ่ๆ คงไม่ถูกต้อง” ศ.นพ.นิธิ กล่าว
เล็งนำเข้าอีก 5-6 ล้านโดส
ศ.นพ.นิธิ กล่าวต่อว่า คาดว่าวัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกจะเข้ามาถึง 20-21 มิ.ย.ประมาณ 1 ล้านโดส และส่งให้กรมวิทยาศาตร์การแพทย์ตรวจล็อตรีลีสต์ใช้เวลา 2-3 วัน ก่อนจะกระจาย โดยย้ำว่าการฉีดให้บุคคลต้องไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ให้หน่วยงานที่ซื้อวัคซีนไปเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ รวมถึงค่าฉีดด้วย อย่างไรก็ตามในจำนวน 1 ล้านโดสระยะแรก จะเก็บไว้ 3-4 พันโดส เพื่อตรวจและดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
“แผนระยะต่อไปคือช่วง 2-3 เดือนนี้ ที่วัคซีนหลักมาได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซิโนฟาร์มจะมาอีกประมาณ 5-6 ล้านโดส ทยอยมาทุก 10 วัน ขณะเดียวกัน ราชวิทยาลัยฯ ยังพิจารณาไปถึงการศึกษาวัคซีนที่จะฉีดกระตุ้นภูมิเข็ม 3 ด้วยในปลายปีหรือต้นปีหน้า ว่าจะใช้ตัวเดิมหรือตัวใหม่ รวมถึงวัคซีนเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ด้วย” ศ.นพ.นิธิ กล่าว
สภาอุตฯได้ก่อน 3 แสนโดส
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. เปิดเผยว่า เบื้องต้นทราบว่าหลังวัคซีนซิโนฟาร์มเข้ามาวันที่ 21 มิ.ย.แล้ว จะมีการฉีดเข็มแรกวันที่ 25 มิ.ย. โดยจะมีการจัดแถลงข่าว ซึ่ง ส.อ.ท.จะร่วมงานแถลงดังกล่าวด้วย โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนดราคาขายโดสละ 888 บาท ซึ่ง ส.อ.ท.สั่งซื้อไว้ 1 ล้านโดสเมื่อครั้งที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เริ่มจัดหาและมีการลงนามบันทึกความตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกัน หาก ส.อ.ท.ได้รับวัคซีนอย่างเป็นทางการแล้ว จะเร่งนำไปกระจายให้สมาชิกโรงงานอุตสาหกรรมที่ยื่นเรื่องแสดงความสนใจและชำระเงินตามเกณฑ์ที่ ส.อ.ท.กำหนด เพราะวัคซีนเป็นความสมัครใจของภาคอุตสาหกรรมที่พร้อมจ่ายเงินซื้อเพื่อฉีดให้แรงงาน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นที่โรงงาน
“วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกที่เข้ามา ส.อ.ท.คาดว่าจะได้รับจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 3 แสนโดส เพื่อกระจายส่วนที่เหลือให้ภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องการวัคซีนเช่นกัน” นายสุพันธุ์ ระบุ.
วานนี้ (10 มิ.ย.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,310 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,170 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ตรวจพบระบบเฝ้าระวังและบริการ 1,467 ราย การค้นหาเชิงรุกในชุมชน 703 ราย เรือนจำ101 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 38 ราย ในส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 1,295 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 43 ราย รวมเสียชีวิตสะสม1,375 ราย
ส่วนตัวเลขการฉีดวัคซีนสะสมระหว่างวันที่ 28 ก.พ. - 9 มิ.ย.64 มีผู้รับวัคซีนสะสมทั้งเข็ม 1 และเข็ม 2 ทั้งหมด 5,443,743 โดส โดยเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.64 มีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด 336,674 โดส
กทม.เฝ้าระวัง 70 คลัสเตอร์
พญ.อภิสมัย กล่าวต่อถึงสถานการณ์ในพื้นที่ กทม.ว่า ยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงสุดในประเทศ จำนวน 788 ราย มีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวัง 70 แห่ง ในเขตดอนเมือง, บางเขน, บางซื่อ, หลักสี่, ประเวศ, หนองจอก, บางคอแหลม, สาทร และบางแค ส่วนการเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ในชุมชนพบว่า 11 พื้นที่ เสี่ยงในชุมชน ได้แก่ ตลาดสถานีขนส่ง สถานบริการผับ บาร์ คาราโอเกะ และสถานที่ต่ออายุหรือบัตรแรงงานที่มีชุมชนแรงงานต่างด้าวแออัด หน่วยราชการด่านหน้า โรงงานห้างสรรพสินค้า รวมร้านอาหาร สถานที่ดูแลผู้สูงอายุโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือสถานดูแลเด็กเล็กศาสนสถานหรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและบริษัท สำนักงาน หรือธนาคาร
“ละลายทรัพย์” ติดแค่ 22 ราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดทั้งวันได้มีกระแสข่าวว่า สำนักงานเขตบางรักสั่งให้ปิดตลาดละลายทรัพย์ สีลมซอย 5 จนถึงวันที่ 11 มิ.ย. เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 310 ราย ก่อนที่ สำนักงานเขตบางรัก จะออกประกาศว่า มีการพบผู้ติดเชื้อที่ตลาดละลายทรัพย์ และได้สั่งให้ปิดตลาดเพื่อทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบจนถึงวันที่ 12 มิ.ย.นี้ สำหรับจำนวนผู้ค้าติดเชื้อโควิด-19 มีเพียง 13 ราย และครอบครัวของผู้ค้าซึ่งเป็นผู้สัมผัสอีก 9 ราย รวมผู้ติดเชื้อจากกรณีตลาดแห่งนี้ 22 ราย ไม่ใช่ 310 รายตามข่าวที่ออกไป
คุมแคมป์ก่อสร้าง-ห้ามย้ายคนงาน
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการ ศปก.ศบค. เปิดเผยว่าวันที่ 10 มิ.ย.64 เป็นวันแรกที่จะเริ่มมาตรการควบคุมคนงานก่อสร้างในแคมป์ก่อสร้าง เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด โดย กทม. และกระทรวงสาธารณสุข ได้ขอกำลังฝ่ายความมั่นคงทั้งตำรวจ และทหาร เข้าไปช่วยควบคุมพื้นที่ เนื่องจากตามไซต์งานต่างๆ เมื่อมีผู้ติดเชื้อแล้วยังมีการเคลื่อนย้ายคนงานไปยังไซต์งานอื่นๆ ดังนั้นตั้งแต่นี้เป็นต้นไป จะคุมเข้มมากขึ้น โดยใช้กำลังฝ่ายความมั่นคงเข้าไปควบคุม แต่ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้สั่งปิดไซต์งานก่อสร้าง เพียงแต่ต้องใช้มาตรการเข้มงวด แต่หากสถานการณ์ดีขึ้นจึงค่อยผ่อนคลายมาตรการ เบื้องต้นจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ 4-5 คน ในการดูแลพื้นที่แต่ละแคมป์ ซึ่งมีมากถึง 409 แคมป์ก่อสร้าง
ซิโนแวคถึงไทยอีก 1 ล้านโดส
เฟซบุ๊ก Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เผยแพร่คลิปวีดิโอ และการขนส่งวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด ที่ผลิตโดย บ.ซิโนแวก ไบโอเทค (Sinovac Biotech) จำนวน 1 ล้านโดส มาถึงประเทศไทย โดยสายการบินแอร์ไชน่า ทั้งนี้จีนได้ส่งออกและบริจาควัคซีนซิโนแวคให้แก่ไทยทั้งหมด 10 ล็อต รวม 7.5 ล้านโดสแล้ว และในปลายเดือน มิ.ย. จะรับวัคซีนซิโนแวคเข้ามาเพิ่มอีก 2 ล้านโดส
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ภายหลัง องค์การเภสัชกรรม ได้รับวัคซีนโควิด 19 ของ ซิโนแวค จากประเทศจีน จำนวน 1 ล้านโดส จะส่งต่อให้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจรับรองรุ่นการผลิต และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะตรวจใบรับรองการผลิตจากจีน เมื่อเรียบร้อยจะกระจายจัดส่งตามแผนต่อไป
“แอสตราฯ” ขอเลื่อนส่ง 2 วัน
นพ.เกียรติภูมิ เปิดเผยอีกว่า ได้รับรายงานจากกรมควบคุมโรคว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ล็อตที่ผลิตในไทย โดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ขอเลื่อนเวลาการส่งออกจาก 14 มิ.ย. ไปประมาณ 2 วัน ซึ่งตนไม่ทราบเหตุผลของบริษัทฯ แต่คาดว่าจะมีวัคซีนทยอยเข้ามาต่อเนื่องตามกำหนด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุถึงการเลื่อนส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าว่า ยังเป็นไปตามแผนการจัดส่งของทางบริษัทฯ
มิ.ย.นี้ฉีดเกิน 10 ล้านคน
อีกด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มเติมว่า สำหรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ได้ตกลงกับบริษัทว่าจะจัดส่งรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นจุดที่ทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจร่วมกัน ส่วนจะส่งในวันใดนั้น ตราบใดที่อยู่ในสัปดาห์ที่เรายังรับวัคซีนต่อเนื่อง ก็จะไม่เป็นปัญหาอะไร ขณะเดียวกัน การเจรจาจัดซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่มเติมด้วย โดยเชื่อมั่นว่าภายหลังเดือน มิ.ย.นี้ เราจะสามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้มากกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ และจะฉีดต่อไปเรื่อยๆ เมื่อถึงสิ้นปี ผู้ที่ได้รับวัคซีนช่วงต้นปี ควรจะต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิ เพราะเราคาดว่าจะต้องมีการฉีดวัคซีนซ้ำในช่วง 9-12 เดือน ดังนั้น เราต้องเจรจาจัดหาวัคซีนเพิ่ม
“ไม่ใช่ว่าได้มาเท่านี้แล้วจะพอใจ แล้วจะไม่จัดหาเพิ่มเติม รัฐบาลยืนยันว่า จะดูแลประชาชนด้วยการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนจนกว่าโรคโควิด-19 จะกลายมาเป็นโรคประจำถิ่น ไม่ใช่โรคระบาดทั่วโลกเช่นนี้ พร้อมเจรจากับผู้ผลิตหลายๆ เจ้า จัดหาวัคซีนรูปแบบใหม่เรื่อยๆ” นายอนุทิน กล่าว
จอง “ไฟเซอร์” 20 ล้านโดส
ผู้สื่อข่าวถามถึงการเจรจากับบริษัท ไฟเซอร์ ในการจัดซื้อวัคซีน นายอนุทิน กล่าวว่า วันนี้ได้รับรายงานว่า นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้มีการลงนามในสัญญาเทอมชีท (Term Sheet) กับวัคซีนไฟเซอร์แล้ว หลังจากนั้นก็จะทำบันทึกความตกลงจะซื้อจะขาย ทั้งนี้ เรามีเวลา 1 เดือน ในการตกลงเงื่อนไขและราคา เบื้องต้น จำนวน 20 ล้านโดส ส่งมอบภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม จากนี้บริษัท ไฟเซอร์ จะต้องมีการส่งเอกสารเพื่อขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมกาอาหารและยา (อย.) ต่อไป
นายอนุทิน กล่าวว่า ส่วนการเจรจราซื้อวัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เบื้องต้น ผ่านการพิจารณาเอกสารสัญญาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว แต่ยังไมได้มีการเซ็นต์สัญญา ในส่วนของของประเทศไทยไม่ได้มีปัญหา แต่รอการตอบกลับจากบริษัทผู้ผลิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ย้ำจอง “ซิโนฟาร์ม” 14 มิ.ย.
ขณะที่ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดเผยถึงการเปิดจองวัคซีนซิโนฟาร์ม จะเปิดระบบจองออนไลน์ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ คนที่ส่งจดหมายมาก่อนหน้านี้ ก็เพียงรับฟังจะได้รับรู้ความต้องการคร่าวๆ แต่ต้องเป็นไปตามระบบ เมื่อจองเข้ามามีคณะกรรมการบริหารวัคซีน มีกติกาพิจารณาประมาณ 4 นโยบายหลักๆ เช่น บริษัทขนาดเล็กขนาดใหญ่ สำคัญอย่างไรในความมั่นคงของสังคมและเศรษฐกิจ มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อมากน้อยแค่ไหน และจะสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมหรือไม่ จะมีคะแนนว่าจะพิจารณาให้คนไหนก่อน แบ่งเป็นกลุ่มๆ หากบริษัทใหญ่มากเราก็ไม่ได้ให้เยอะที่เดียว ไม่เช่นนั้นหมด ครั้งแรกจะพยายามกระจายให้ได้มากที่สุด
“ส่วนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่บอกจองไว้แรกๆ 5 แสนโดสนั้น เขาก็ต้องแบ่งบริษัทมา เราจะพิจารณาลักษณะของธุรกิจกิจกรรม ช่วงแรกขอย้ำเราจะกระจาย การนำไปที่บริษัทเดียวใหญ่ๆ คงไม่ถูกต้อง” ศ.นพ.นิธิ กล่าว
เล็งนำเข้าอีก 5-6 ล้านโดส
ศ.นพ.นิธิ กล่าวต่อว่า คาดว่าวัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกจะเข้ามาถึง 20-21 มิ.ย.ประมาณ 1 ล้านโดส และส่งให้กรมวิทยาศาตร์การแพทย์ตรวจล็อตรีลีสต์ใช้เวลา 2-3 วัน ก่อนจะกระจาย โดยย้ำว่าการฉีดให้บุคคลต้องไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ให้หน่วยงานที่ซื้อวัคซีนไปเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้ รวมถึงค่าฉีดด้วย อย่างไรก็ตามในจำนวน 1 ล้านโดสระยะแรก จะเก็บไว้ 3-4 พันโดส เพื่อตรวจและดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
“แผนระยะต่อไปคือช่วง 2-3 เดือนนี้ ที่วัคซีนหลักมาได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซิโนฟาร์มจะมาอีกประมาณ 5-6 ล้านโดส ทยอยมาทุก 10 วัน ขณะเดียวกัน ราชวิทยาลัยฯ ยังพิจารณาไปถึงการศึกษาวัคซีนที่จะฉีดกระตุ้นภูมิเข็ม 3 ด้วยในปลายปีหรือต้นปีหน้า ว่าจะใช้ตัวเดิมหรือตัวใหม่ รวมถึงวัคซีนเพื่อรองรับการกลายพันธุ์ด้วย” ศ.นพ.นิธิ กล่าว
สภาอุตฯได้ก่อน 3 แสนโดส
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. เปิดเผยว่า เบื้องต้นทราบว่าหลังวัคซีนซิโนฟาร์มเข้ามาวันที่ 21 มิ.ย.แล้ว จะมีการฉีดเข็มแรกวันที่ 25 มิ.ย. โดยจะมีการจัดแถลงข่าว ซึ่ง ส.อ.ท.จะร่วมงานแถลงดังกล่าวด้วย โดยทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กำหนดราคาขายโดสละ 888 บาท ซึ่ง ส.อ.ท.สั่งซื้อไว้ 1 ล้านโดสเมื่อครั้งที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เริ่มจัดหาและมีการลงนามบันทึกความตกลงเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกัน หาก ส.อ.ท.ได้รับวัคซีนอย่างเป็นทางการแล้ว จะเร่งนำไปกระจายให้สมาชิกโรงงานอุตสาหกรรมที่ยื่นเรื่องแสดงความสนใจและชำระเงินตามเกณฑ์ที่ ส.อ.ท.กำหนด เพราะวัคซีนเป็นความสมัครใจของภาคอุตสาหกรรมที่พร้อมจ่ายเงินซื้อเพื่อฉีดให้แรงงาน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นที่โรงงาน
“วัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรกที่เข้ามา ส.อ.ท.คาดว่าจะได้รับจัดสรรจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 3 แสนโดส เพื่อกระจายส่วนที่เหลือให้ภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องการวัคซีนเช่นกัน” นายสุพันธุ์ ระบุ.