ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
น้อง Jack from Thailand ผู้จัดทำคลิปวีดิโอเป็นภาษาอังกฤษ อธิบายเรื่องของประเทศไทยที่ถูกชาวต่างชาติเข้าใจผิดไว้อย่างน่าสนใจ เขาเป็นผู้ดูแลทั้ง Facebook และ Youtube ทั้งสองช่องทางด้านล่างนี้ https://www.facebook.com/jackfromthailand https://www.youtube.com/channel/UCn6OfDiy1Zwp48cXzg7QqMA
ได้มาตั้งคำถามขอสัมภาษณ์ผม น้องอธิบายว่ามีคนหลายคนบอกว่าอยากฟังเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มาขอปรึกษาผมให้ช่วยอธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ที่ถูกโกหกบิดเบือนไปมาก ผมเองสอน How to lie with statistics หรือวิธีการโกหกด้วยสถิติให้นักศึกษาที่นิด้ามาโดยตลอด ผมสอนเพราะต้องการให้นักศึกษามีความคิดวิจารณญาณ (Critical thinking) เมื่อเห็นสถิติ ตัวเลข กราฟ ข้อมูล ใด ๆ จะได้ฉุกคิด มีสติและใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนจะหลงเชื่อไปในทันที นอกจากนี้ยังเป็นการสอนให้นักศึกษารู้และอย่าทำเช่นนี้ คือการโกหกด้วยสถิติ เพราะเป็นสิ่งที่ผิดจริยธรรมและไม่ถูกต้อง
บทสัมภาษณ์ด้านล่างที่เป็นคลิปวีดิโอนี้ที่น้องแจ็ค เป็นคนถ่ายและตัดต่อ หาภาพ insert ต่าง ๆ อย่างลงตัว ผมได้พูดเกี่ยวกับการใช้สถิติบิดเบือนในการรายงานข่าวเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ทำให้คนคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายของสำนักข่าวประชาไท และอื่น ๆ ที่เป็นที่มาของความคิดในเรื่องภาษีกู ที่คณะราษฎร (2563) และม็อบปลดแอก หรือล่าสุดเปลี่ยนชื่อมาเรื่อย ๆ จนมาเป็น Redem
การถ่ายวีดิโอและการสัมภาษณ์ของน้องแจ็คทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง น้องถ่ายวีดิโอไปสัมภาษณ์ไปและถามแทรกให้อธิบายตลอดเวลา ทำให้การถ่ายวีดิโอนานมาก เพราะน้องแจ็คอธิบายว่า ผมต้องถามจนเข้าใจจริงๆ ถ่องแท้ แล้วผมค่อยไปหาทางตัดต่อ ปรากฏว่าถ่ายกันไป 70-80 นาที ถามแทรกเยอะมาก เพราะผมอธิบายไม่ชัดเจนในหลายจุด แต่พอตัดต่อวีดิโอแล้วเหลือสัก 15 นาที ได้พอถามคนทำหนังกับคนทำสารคดี ได้คำตอบว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องแล้ว ผู้กำกับหนังห้ามตัดต่อเอง ต้องมีคนตัดต่ออีกคน การตัดต่อสำคัญมากเหลือเกิน มาลองชมผลงานการตัดต่อและถ่ายทำของน้องแจ็คได้กันนะครับที่ https://www.youtube.com/watch?v=WlV9hNlol1I&t=39s และ
https://www.facebook.com/jackfromthailand/posts/243935050735125
ต้นเรื่องของการโกหกด้วยสถิติที่ชัดเจนที่สุดมาจากสอง Web site คือ ประชาไท และขณะนี้มีอีกเว็บไซต์คือ เวลาย่ำรุ่ง และ iLaw ซึ่งจะมานำเสนอให้ฟังในสัปดาห์หน้า ขอให้ลองเข้าไปอ่าน เฉพาะของประชาไทก่อนดังนี้
• เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท https://prachatai.com/journal/2020/03/86761
• เปิดงบเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ปี 2564 รายละเอียดตามเอกสาร ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ
https://prachatai.com/journal/2020/08/89306
• iLaw เปิดงบฯ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (บางส่วน) 10 ปีงบประมาณ ระบุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
https://prachatai.com/journal/2021/01/91106
วิธีการโกหกด้วยสถิติในเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มีดังนี้
วิธีที่หนึ่ง การตีขลุมและจัดประเภทผิด (Misclassification)
การตีขลุมรวมและจัดประเภทผิด เป็นสิ่งที่คนที่ไม่หวังดีต่อสถาบันกระทำเพื่อใส่ร้ายป้ายสีสถาบันและรวมงบให้มากขึ้น เช่น ส.ส.เบญจาในการอภิปรายงบประมาณได้ทำ แผนภูมิแผนภูมิวงกลมหรือ Pie chart โดยรวมงบประมาณอื่น ๆ ที่ตีขลุมและจัดประเภทผิดว่าเป็นงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆที่ ในความเป็นจริงนั้น เป็นงบประมาณซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการในพระองค์อันมีอยู่ 3 หน่วยงานคือสำนักพระราชวัง สำนักองคมนตรี และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ได้รับงบประมาณเพียง 8,700 ล้านซึ่งลดลงจากปีก่อนประมาณ 200 ล้าน และงบเหล่านี้เป็นงบค่าจ้างเงินเดือนกว่าร้อยละ 90 เพราะพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดให้หน่วยงานในพระองค์ของบลงทุนจากสำนักงบประมาณแต่ประการใด แต่ให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ส่วนที่เหลือใน Pie chart หรือแผนภูมิวงกลมนั้นเป็นงบประมาณของหน่วยราชการอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นงบโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการนั้นเป็นโครงการพระราชดำริซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 9 และเป็นโครงการที่ทำสำเร็จไปแล้วเป็นส่วนใหญ่แทบทั้งหมด มีเพียงบางโครงการซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานรักษาและต่อยอด
งานโครงการพระราชดำริเหล่านี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดทำแบบโง่ NGO ซึ่งเป็นคำที่พระองค์ท่านทรงใช้ด้วยพระอารมณ์ขันอย่างแท้จริง เพราะทรงรู้ดีว่าหากทำงานแบบราชการจะทำให้การทำงานล่าช้ามากแล้วไม่ทันกับความเร่งด่วนหรือความต้องการของประชาชนในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน
โครงการเหล่านี้เริ่มต้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และภายหลังหน่วยงานราชการจึงได้เริ่มมาทำงานโครงการพระราชดำริถวาย โปรดอย่าลืมว่าเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ 9 นั้น มีขบวนการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นคือ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลย ดังจะเห็นได้จากตราประจำตัวจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นตราไก่ เนื่องจากจอมพล ป. เกิดในปีระกา ตราไก่เอาตีนเหยียบคฑา พระครุฑพ่าห์ หรือ คฑาจอมพลอันเป็นสัญลักษณ์แห่งองค์พระมหากษัตริย์
จนกระทั่งเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงครามทำให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้รับการถวายงานจากจอมพลสฤษดิ์ในการทรงงานในพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือประชาชนแล้วทำให้สามารถเสด็จเยือนต่างประเทศได้เพื่อเจริญพระราชไมตรีเป็นประโยชน์เอนกอนันต์กับประชาชนและประเทศชาติ
โครงการพระราชดำริกล่าวนี้ในภายหลังยุคที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประสานงานโครงการพระราชดำริ หรือ กปร. ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยราชการในการทำโครงการพระราชดำริถวาย
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริที่สำคัญมากประการหนึ่งคือโครงการพระราชดำริใดก็ตาม เมื่อหน่วยงานราชการใดทำสำเร็จแล้วให้นำโครงการเหล่านั้นกลับไปเป็นงานประจำหรืองาน Routine ของหน่วยราชการนั้น และเงินงบประมาณต่าง ๆ ก็เป็นของหน่วยงานราชการเหล่านั้นจะดำเนินการขอเพื่อสืบสานต่อยอดโครงการเหล่านั้นเอง เพราะโครงการเหล่านี้เป็นโครงการของทางราชการไม่ควรเป็นงานของพระองค์ แต่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วขึ้นหรือเกิดการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงทรงลงมาทำโครงการเหล่านี้ด้วยพระองค์เองแต่มีหน่วยราชการเป็นผู้รับสนองพระราชดำริในการจัดทำโครงการถวายเท่านั้น
ขอยกตัวอย่างเขื่อนขุนด่านปราการชลซึ่งเป็นโครงการพระราชดําริ รับสนองพระราชดำริก่อสร้างถวายโดยกรมชลประทาน เป็นประโยชน์กับประชาชนในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ปทุมธานีและแม้กระทั่งกรุงเทพฯ ในการป้องกันน้ำท่วมและเพิ่มพื้นที่เขตชลประทาน ตลอดจนแก้ปัญหาภัยแล้ง ไล่น้ำเค็มออกไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง
คำถามคือโครงการนี้เป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติหรือไม่ คำตอบก็คือใช่
เป็นหน้าที่ของกรมชลประทานในการทำงานถวายใช่หรือไม่ คำตอบก็คือใช่
แต่งบบำรุงรักษาเขื่อนจำเป็นต้องมีไม่เช่นนั้นเขื่อนก็จะไม่มีผู้ดูแลเกิดปัญหาน้ำท่วมแล้วเกิดการชำรุดทรุดโทรมเกิดการเสียหายได้ ปีหนึ่งอาจจะมีงบประมาณในการดูแลรักษาเครื่องซัก 50 ล้าน ถามว่างบเหล่านี้พระเจ้าอยู่หัว สำนักพระราชวัง หรือแม้แต่สำนักงานกปร. ได้แตะต้องเงินเหล่านี้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่
คนที่ทำหน้าที่ดูแลเงินงบประมาณเหล่านี้คือกรมชลประทาน ถึงเป็นโครงการพระราชดำริก็จริง แต่ก็เป็นงบของราชการโดยปกติและควรจัดอยู่ในงบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องไม่มานับรวมเป็นงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์การนับรวมเช่นนี้เป็นการตีกลุ่มและต้องการจะใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าใช้เงินงบประมาณสิ้นเปลืองทั้ง ๆ ที่เป็นงานที่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศ
กลเม็ดหรือทริคง่าย ๆ เหล่านี้ กลุ่มนักการเมืองหรือสื่อกลุ่มเดียวกัน จะไม่ใช้หรือจะไม่นับรวมก็ไม่นับรวมเอาเสียดื้อ ๆ เช่นในปีนี้มีการอภิปราย และมีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์ว่างบประมาณวัคซีน covid-19 เหลืออยู่แค่ 22 ล้าน โดยเอามารวมเฉพาะงบของสถาบันวัคซีนแห่งชาติซึ่งเป็นงบของการบริหารงานภายในสำนักงานสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
แต่ไม่ได้รวมงบซื้อวัคซีนซึ่งอยู่ในงบกลางนับหมื่นล้านบาทและยังมีงบดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วยจาก covid-19 ซึ่งอยู่ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขอีกนับแสนล้านเพียงไม่กี่หน่วยงานก็ไม่เอามารวมเพียงเพื่อที่จะใส่ร้าย
แต่สำหรับงบสถาบันพระมหากษัตริย์กลับรวมของหน่วยงานนับพันหน่วยงานจากเงินที่มียอดเพียงแค่ 8 พันกว่าล้านกลับเพิ่มขึ้นเป็น 30000 ล้านเพราะเต็มไปด้วยอคติ
- งบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และงบพระราชทานเพลิงจัดอยู่ในหมวดงบอื่น ๆ คนที่ขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์และขอพระราชทานเพลิงศพก็คือนักการเมืองและข้าราชการ ขอให้ตัวเองทั้งนั้น ดังเช่นที่ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่จำนวนหนึ่งขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ตนเองและภรรยา ทั้งหมดนี้ที่ขอมาเป็นงานของกองปกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนการขอพระราชทานเพลิงศพนั้นหน่วยราชการต้นสังกัดก็เป็นผู้ขอพระราชทานมายังสำนักพระราชวัง ที่พระราชทานสิ่งเหล่านี้ให้ ก็หาได้เป็นเกียรติยศของสถาบันไม่ เป็นเป็นเกียรติยศของผู้ขอหรือทายาท ถ้าเช่นนั้นก็ให้เลิกขอเสียทั้งหมด จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน
การเอางบต่าง ๆ มาตีขลุม นับรวม จัดประเภทผิดเช่นนี้ เป็นการโกหกด้วยสถิติ (How to tell a lie with statistics) อย่างหนึ่ง ประชาไท ก็ทำเช่นนี้ ดังรูปด้านล่างนี้
วิธีที่สอง การบิดเบือนโดยใช้ ความหมายหลากเลื่อนของนิยาม (Différance)
พวกหลังนวยุคสมัย (Post-modernism) เช่น Jacques Derrida ใช้วิธีการหลากเลื่อนของความหมาย ได้อย่างน่าสนใจ มีประโยชน์ยิ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำให้การแปลความเพื่อรื้อสร้างทำได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนขาดเจตนาสุจริตอาศัยความหมายหลากเลื่อนของนิยามในการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ถ้าจะทำ เช่น ไปรวมงบโครงการพระราชดำริทั้งหมดมาเป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเช่นที่ประชาไท iLaw และ สส. เบญจา แห่งพรรคก้าวไกล ได้ทำแล้ว
ผมขอแสดงวิธีการหลากเลื่อนนิยามเหล่านี้เพื่อตีฟูงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดูดังนี้
การใช้คำว่างบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หากจะตีความเพื่อให้งบประมาณในส่วนนี้ก็สามารถเลื่อนขยายนิยามออกไป ไปไกลจนถึงรัชกาลก่อน ๆ เช่น ขยายคำว่าโครงการพระราชดำริให้นิยามรวมไปจนถึงรัชกาลที่ห้า ถ้าเป็นเช่นนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย่อมต้องรวมงบประมาณแผ่นดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าเป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันด้วย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ก็ด้วยเช่นกัน
หากตีความเลื่อนขยายนิยามออกไปอีก ว่ามหาวิทยาลัยใดใช้พระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระนามเจ้านายราชสกุลให้ถือว่าเป็นงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ต้องรวมงบประมาณแผ่นดินของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เข้าไปด้วย และต้องรวมเขื่อนที่มีชื่อเป็นพระนามาภิไธยเช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนสิรินธร เข้าไปด้วยหรือไม่
หากตีความขยายนิยามว่างบที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้รวมงบที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ เพราะถือว่าบูรพมหากษัตริย์ทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจากจตุสดมภ์ 4 เป็น 12 กระทรวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ย่อมเป็นพระราชกรณียกิจ และต้องรวมงบประมาณมหาศาลของ 12 กระทรวงเหล่านั้นเข้าไปในงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
จะเห็นได้ว่าเมื่อหลากเลื่อนขยายนิยามไปมากก็จะโกหกด้วยตัวเลขได้มากขึ้น แต่ความชอบธรรมและความสมเหตุสมผลอาจจะลดลงได้
วิธีที่สาม การเลือกนำเสนอข้อมูลอย่างมีอคติ (Biased selection of data)
ประชาไท มีเจตนาจะแสดงให้เห็นว่างบสถาบันพระมหากษัตริย์มีสูงมาก เลยเลือกเฉพาะกระทรวงที่มีงบประมาณน้อย ๆ เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงานมาแสดงในกราฟแท่ง แต่ละเลยกระทรวงใหญ่ที่มีงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เอาออกไปจนหมด เลือกเฉพาะที่มีงบประมาณน้อย ๆ เพื่อที่จะให้งบสถาบันดูสูงมาก การกระทำเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นสื่อมวลชนที่ไร้จริยธรรมในวิชาชีพ
วิธีที่สี่ การเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรม (Unfair comparison)
การเอางบของหน่วยงานที่ไม่เท่าแม้จะระดับกระทรวงมาใส่รวมในกราฟด้านบน คือสภากาชาดไทย รัฐสภา ศาล มาเทียบเคียงกับหน่วยงานระดับกระทรวง ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรมเลย และเป็นทริคที่ใช้กันทั่วไปในการโกหกด้วยสถิติ ที่ฝรั่งบอกว่า Don’t compare apple and banana. อย่าเอากล้วยมาเปรียบเทียบกับแอปเปิลก็ด้วยเหตุนี้ สื่อมวลชนที่ดีย่อมไม่ทำเช่นนี้
วิธีที่ห้า การบิดเบือนสเกลสำหรับภาพนิทัศน์จากข้อมูล (Scale distortion for data visualization)
รูปนี้เป็นรูปที่วาดได้แย่มาก เป็น Double axes graph หรือกราฟสองแกน ซึ่งในทางสถิติไม่สนับสนุนให้ใช้เลย ด้านขวาหน่วยเป็นล้านเหรียญสหรัฐ ด้านซ้ายเป็นร้อยละ สเกลกราฟด้านซ้ายจาก 0 ถึง 1% เดี๋ยวก่อนนะทำไมไม่เป็นร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ 100 คำตอบคือมันก็จะทำให้กราฟสีฟ้าไม่ได้แตกต่างกันเลยอย่างไรเล่า เพราะจะแบนราบเท่ากันหมดคือไม่ถึงหนึ่ง% ต่างกันนิดเดียวแต่เอามาถ่างขยายให้ต่างกันมากๆ เป็นการบิดเบือนสเกลของกราฟเพื่อใส่ร้าย
วิธีที่หก ไม่แสดงรายละเอียดบางส่วน หรือพูดความจริงครึ่งเดียว (Half-truth)
จากตารางด้านล่างนี้ ดูเหมือนว่างบหน่วยราชการในพระองค์จะเพิ่มขึ้นมากจาก เจ็ดพันหกร้อยล้านบาทมาเป็นแปดพันเก้าร้อยล้านบาท เพิ่มขึ้นมากเหลือเกิน
แต่สิ่งที่ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนคือมีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ.2562 ในมาตรา 3 ระบุว่า ให้โอนบรรดาอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประกาศกำหนด ไปเป็นของ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ โปรดอ่านรายละเอียดได้จากบทความอนาคตของอนาคตใหม่ผู้หาญท้าทายพระราชอำนาจ? https://mgronline.com/daily/detail/9620000101896
เมื่อโอนอัตรากำลังพลมาก็ต้องโอนอัตราเงินเดือนมาด้วย ดังนั้นงบประมาณที่ได้รับเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้มากมายผิดปกติแต่อย่างใด ทั้งโดยปกติเงินเดือนค่าจ้างก็ต้องมีการขึ้นอยู่แล้วทุกปีเป็นปกติอย่างน้อยก็เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ แต่ในความเป็นจริงต้องมากกว่าไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าข้าราชการได้รับเงินเดือนลดลง
วิธีที่เจ็ด การบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อใส่ร้ายป้ายสี
ในโลกออนไลน์มีการเอางบโครงการสุนัขทรงเลี้ยงมาโจมตี ทั้งหมดทรงเลี้ยงสุนัขพิการ สุนัขจรจัดข้างถนน เพื่อแก้ปัญหาสังคม มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ลดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ช่วยให้สุนัขไม่ต้องทุกข์ทรมาน ได้รับการเลี้ยงดู เป็นคนดีๆ ไม่ชอบ อยากจะอิจฉาริษยากระทั่งหมา
ฟูฟู สุนัขทรงเลี้ยง จากไปดาวหมามาหลายปีแล้ว โครงการสุนัขทรงเลี้ยงนั้นคือการทรงรับเลี้ยงสุนัขพิการและสุนัขจรจัด โดยมีหลายหน่วยงานรับสนองพระราชดำริ
งบ สุนัขทรงเลี้ยง จำนวน 109 ล้านบาท มี 26 โครงการ ใน 11 หน่วยงาน
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- กองทัพเรือ จังหวัด ชลบุรี
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง จังหวัดระยอง
- กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัด นครปฐม
- กรมศิลปากร จังหวัด กรุงเทพมหานคร
- องค์การบริหารส่วนตำบลตานิม จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
- กรมชลประทาน จังหวัด นนทบุรี
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
- เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง จังหวัด ร้อยเอ็ด
- ศูนย์การสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
โดยเป็นงบศูนย์ดูแล ศูนย์ฝึกฝนสุนัข ค่าอาหารสัตว์ ทั้งสุนัขที่ในหลวงทรงรับอุปการะ สุนัขจรจัด และ สุนัขเจ็บป่วย รวมไปถึงค่าสาธารณูปโภค ค่าปรับปรุงห้อง อุปกรณ์ฝึก กรง ก่อสร้างอาคาร ฯลฯ ส่วนคุณฟูฟู กลับดาวหมาตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 แล้ว #แต่ยังโดนบูลลี่มาจนทุกวันนี้่
คนที่คิดร้ายใส่ร้ายป้ายสีก็ยังลากสุนัขทรงเลี้ยงที่ไม่อยู่แล้วมาบูลลี่ ใส่ร้ายป้ายสี เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าทรงใช้ภาษีประชาชนอย่างสุรุ่ยสุร่ายบำเรอเปรอปรนสุนัขทรงเลี้ยงส่วนพระองค์ ทั้ง ๆ ที่ทรงให้รับสุนัขพิการและจรจัดมาสงเคราะห์
ผมขอวินิจฉัยว่า นี่เป็นการนำเข้าข้อความอันเป็นเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ อันถือว่าเป็นภัยความมั่นคง เพราะใส่ร้ายป้ายสีองค์รัฏฐาธิปัตย์ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 และเป็นการกระทำผิดมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
ผมเอามาโพสต์ซ้ำ เพื่อเป็นการชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจให้ถูกต้อง จับเท็จคนใส่ร้ายป้ายสี เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ขอให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจงดำเนินคดีด้วยเถิดครับ
บทสรุปคือ มีนักการเมืองชั่วร้าย มีนักรบไซเบอร์ เกรียนคีย์บอร์ด สื่อมวลชนที่ไร้จริยธรรม ใช้เจ็ดหลักการในการโกหกด้วยสถิติเพื่อใส่ร้ายป้ายสีสถาบัน โดยการตีฟูงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองควรต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
น้อง Jack from Thailand ผู้จัดทำคลิปวีดิโอเป็นภาษาอังกฤษ อธิบายเรื่องของประเทศไทยที่ถูกชาวต่างชาติเข้าใจผิดไว้อย่างน่าสนใจ เขาเป็นผู้ดูแลทั้ง Facebook และ Youtube ทั้งสองช่องทางด้านล่างนี้ https://www.facebook.com/jackfromthailand https://www.youtube.com/channel/UCn6OfDiy1Zwp48cXzg7QqMA
ได้มาตั้งคำถามขอสัมภาษณ์ผม น้องอธิบายว่ามีคนหลายคนบอกว่าอยากฟังเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มาขอปรึกษาผมให้ช่วยอธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ที่ถูกโกหกบิดเบือนไปมาก ผมเองสอน How to lie with statistics หรือวิธีการโกหกด้วยสถิติให้นักศึกษาที่นิด้ามาโดยตลอด ผมสอนเพราะต้องการให้นักศึกษามีความคิดวิจารณญาณ (Critical thinking) เมื่อเห็นสถิติ ตัวเลข กราฟ ข้อมูล ใด ๆ จะได้ฉุกคิด มีสติและใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนจะหลงเชื่อไปในทันที นอกจากนี้ยังเป็นการสอนให้นักศึกษารู้และอย่าทำเช่นนี้ คือการโกหกด้วยสถิติ เพราะเป็นสิ่งที่ผิดจริยธรรมและไม่ถูกต้อง
บทสัมภาษณ์ด้านล่างที่เป็นคลิปวีดิโอนี้ที่น้องแจ็ค เป็นคนถ่ายและตัดต่อ หาภาพ insert ต่าง ๆ อย่างลงตัว ผมได้พูดเกี่ยวกับการใช้สถิติบิดเบือนในการรายงานข่าวเรื่องงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ทำให้คนคิดว่าพระเจ้าแผ่นดินใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายของสำนักข่าวประชาไท และอื่น ๆ ที่เป็นที่มาของความคิดในเรื่องภาษีกู ที่คณะราษฎร (2563) และม็อบปลดแอก หรือล่าสุดเปลี่ยนชื่อมาเรื่อย ๆ จนมาเป็น Redem
การถ่ายวีดิโอและการสัมภาษณ์ของน้องแจ็คทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง น้องถ่ายวีดิโอไปสัมภาษณ์ไปและถามแทรกให้อธิบายตลอดเวลา ทำให้การถ่ายวีดิโอนานมาก เพราะน้องแจ็คอธิบายว่า ผมต้องถามจนเข้าใจจริงๆ ถ่องแท้ แล้วผมค่อยไปหาทางตัดต่อ ปรากฏว่าถ่ายกันไป 70-80 นาที ถามแทรกเยอะมาก เพราะผมอธิบายไม่ชัดเจนในหลายจุด แต่พอตัดต่อวีดิโอแล้วเหลือสัก 15 นาที ได้พอถามคนทำหนังกับคนทำสารคดี ได้คำตอบว่าเป็นวิธีการที่ถูกต้องแล้ว ผู้กำกับหนังห้ามตัดต่อเอง ต้องมีคนตัดต่ออีกคน การตัดต่อสำคัญมากเหลือเกิน มาลองชมผลงานการตัดต่อและถ่ายทำของน้องแจ็คได้กันนะครับที่ https://www.youtube.com/watch?v=WlV9hNlol1I&t=39s และ
https://www.facebook.com/jackfromthailand/posts/243935050735125
ต้นเรื่องของการโกหกด้วยสถิติที่ชัดเจนที่สุดมาจากสอง Web site คือ ประชาไท และขณะนี้มีอีกเว็บไซต์คือ เวลาย่ำรุ่ง และ iLaw ซึ่งจะมานำเสนอให้ฟังในสัปดาห์หน้า ขอให้ลองเข้าไปอ่าน เฉพาะของประชาไทก่อนดังนี้
• เปิดงบประมาณปี 2563 ส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 2.9 หมื่นล้านบาท https://prachatai.com/journal/2020/03/86761
• เปิดงบเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ปี 2564 รายละเอียดตามเอกสาร ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ
https://prachatai.com/journal/2020/08/89306
• iLaw เปิดงบฯ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ (บางส่วน) 10 ปีงบประมาณ ระบุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
https://prachatai.com/journal/2021/01/91106
วิธีการโกหกด้วยสถิติในเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มีดังนี้
วิธีที่หนึ่ง การตีขลุมและจัดประเภทผิด (Misclassification)
การตีขลุมรวมและจัดประเภทผิด เป็นสิ่งที่คนที่ไม่หวังดีต่อสถาบันกระทำเพื่อใส่ร้ายป้ายสีสถาบันและรวมงบให้มากขึ้น เช่น ส.ส.เบญจาในการอภิปรายงบประมาณได้ทำ แผนภูมิแผนภูมิวงกลมหรือ Pie chart โดยรวมงบประมาณอื่น ๆ ที่ตีขลุมและจัดประเภทผิดว่าเป็นงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๆที่ ในความเป็นจริงนั้น เป็นงบประมาณซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยราชการในพระองค์อันมีอยู่ 3 หน่วยงานคือสำนักพระราชวัง สำนักองคมนตรี และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ได้รับงบประมาณเพียง 8,700 ล้านซึ่งลดลงจากปีก่อนประมาณ 200 ล้าน และงบเหล่านี้เป็นงบค่าจ้างเงินเดือนกว่าร้อยละ 90 เพราะพระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดให้หน่วยงานในพระองค์ของบลงทุนจากสำนักงบประมาณแต่ประการใด แต่ให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
ส่วนที่เหลือใน Pie chart หรือแผนภูมิวงกลมนั้นเป็นงบประมาณของหน่วยราชการอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นงบโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 โครงการนั้นเป็นโครงการพระราชดำริซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 9 และเป็นโครงการที่ทำสำเร็จไปแล้วเป็นส่วนใหญ่แทบทั้งหมด มีเพียงบางโครงการซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบสานรักษาและต่อยอด
งานโครงการพระราชดำริเหล่านี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดทำแบบโง่ NGO ซึ่งเป็นคำที่พระองค์ท่านทรงใช้ด้วยพระอารมณ์ขันอย่างแท้จริง เพราะทรงรู้ดีว่าหากทำงานแบบราชการจะทำให้การทำงานล่าช้ามากแล้วไม่ทันกับความเร่งด่วนหรือความต้องการของประชาชนในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน
โครงการเหล่านี้เริ่มต้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และภายหลังหน่วยงานราชการจึงได้เริ่มมาทำงานโครงการพระราชดำริถวาย โปรดอย่าลืมว่าเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ 9 นั้น มีขบวนการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นคือ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลย ดังจะเห็นได้จากตราประจำตัวจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นตราไก่ เนื่องจากจอมพล ป. เกิดในปีระกา ตราไก่เอาตีนเหยียบคฑา พระครุฑพ่าห์ หรือ คฑาจอมพลอันเป็นสัญลักษณ์แห่งองค์พระมหากษัตริย์
จนกระทั่งเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากจอมพล ป. พิบูลสงครามทำให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้รับการถวายงานจากจอมพลสฤษดิ์ในการทรงงานในพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือประชาชนแล้วทำให้สามารถเสด็จเยือนต่างประเทศได้เพื่อเจริญพระราชไมตรีเป็นประโยชน์เอนกอนันต์กับประชาชนและประเทศชาติ
โครงการพระราชดำริกล่าวนี้ในภายหลังยุคที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการประสานงานโครงการพระราชดำริ หรือ กปร. ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยราชการในการทำโครงการพระราชดำริถวาย
แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริที่สำคัญมากประการหนึ่งคือโครงการพระราชดำริใดก็ตาม เมื่อหน่วยงานราชการใดทำสำเร็จแล้วให้นำโครงการเหล่านั้นกลับไปเป็นงานประจำหรืองาน Routine ของหน่วยราชการนั้น และเงินงบประมาณต่าง ๆ ก็เป็นของหน่วยงานราชการเหล่านั้นจะดำเนินการขอเพื่อสืบสานต่อยอดโครงการเหล่านั้นเอง เพราะโครงการเหล่านี้เป็นโครงการของทางราชการไม่ควรเป็นงานของพระองค์ แต่เพื่อให้เกิดความรวดเร็วขึ้นหรือเกิดการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงทรงลงมาทำโครงการเหล่านี้ด้วยพระองค์เองแต่มีหน่วยราชการเป็นผู้รับสนองพระราชดำริในการจัดทำโครงการถวายเท่านั้น
ขอยกตัวอย่างเขื่อนขุนด่านปราการชลซึ่งเป็นโครงการพระราชดําริ รับสนองพระราชดำริก่อสร้างถวายโดยกรมชลประทาน เป็นประโยชน์กับประชาชนในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ปทุมธานีและแม้กระทั่งกรุงเทพฯ ในการป้องกันน้ำท่วมและเพิ่มพื้นที่เขตชลประทาน ตลอดจนแก้ปัญหาภัยแล้ง ไล่น้ำเค็มออกไปจากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง
คำถามคือโครงการนี้เป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติหรือไม่ คำตอบก็คือใช่
เป็นหน้าที่ของกรมชลประทานในการทำงานถวายใช่หรือไม่ คำตอบก็คือใช่
แต่งบบำรุงรักษาเขื่อนจำเป็นต้องมีไม่เช่นนั้นเขื่อนก็จะไม่มีผู้ดูแลเกิดปัญหาน้ำท่วมแล้วเกิดการชำรุดทรุดโทรมเกิดการเสียหายได้ ปีหนึ่งอาจจะมีงบประมาณในการดูแลรักษาเครื่องซัก 50 ล้าน ถามว่างบเหล่านี้พระเจ้าอยู่หัว สำนักพระราชวัง หรือแม้แต่สำนักงานกปร. ได้แตะต้องเงินเหล่านี้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่
คนที่ทำหน้าที่ดูแลเงินงบประมาณเหล่านี้คือกรมชลประทาน ถึงเป็นโครงการพระราชดำริก็จริง แต่ก็เป็นงบของราชการโดยปกติและควรจัดอยู่ในงบของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องไม่มานับรวมเป็นงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์การนับรวมเช่นนี้เป็นการตีกลุ่มและต้องการจะใส่ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าใช้เงินงบประมาณสิ้นเปลืองทั้ง ๆ ที่เป็นงานที่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศ
กลเม็ดหรือทริคง่าย ๆ เหล่านี้ กลุ่มนักการเมืองหรือสื่อกลุ่มเดียวกัน จะไม่ใช้หรือจะไม่นับรวมก็ไม่นับรวมเอาเสียดื้อ ๆ เช่นในปีนี้มีการอภิปราย และมีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์ว่างบประมาณวัคซีน covid-19 เหลืออยู่แค่ 22 ล้าน โดยเอามารวมเฉพาะงบของสถาบันวัคซีนแห่งชาติซึ่งเป็นงบของการบริหารงานภายในสำนักงานสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
แต่ไม่ได้รวมงบซื้อวัคซีนซึ่งอยู่ในงบกลางนับหมื่นล้านบาทและยังมีงบดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วยจาก covid-19 ซึ่งอยู่ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขอีกนับแสนล้านเพียงไม่กี่หน่วยงานก็ไม่เอามารวมเพียงเพื่อที่จะใส่ร้าย
แต่สำหรับงบสถาบันพระมหากษัตริย์กลับรวมของหน่วยงานนับพันหน่วยงานจากเงินที่มียอดเพียงแค่ 8 พันกว่าล้านกลับเพิ่มขึ้นเป็น 30000 ล้านเพราะเต็มไปด้วยอคติ
- งบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และงบพระราชทานเพลิงจัดอยู่ในหมวดงบอื่น ๆ คนที่ขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์และขอพระราชทานเพลิงศพก็คือนักการเมืองและข้าราชการ ขอให้ตัวเองทั้งนั้น ดังเช่นที่ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่จำนวนหนึ่งขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ตนเองและภรรยา ทั้งหมดนี้ที่ขอมาเป็นงานของกองปกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนการขอพระราชทานเพลิงศพนั้นหน่วยราชการต้นสังกัดก็เป็นผู้ขอพระราชทานมายังสำนักพระราชวัง ที่พระราชทานสิ่งเหล่านี้ให้ ก็หาได้เป็นเกียรติยศของสถาบันไม่ เป็นเป็นเกียรติยศของผู้ขอหรือทายาท ถ้าเช่นนั้นก็ให้เลิกขอเสียทั้งหมด จะได้ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน
การเอางบต่าง ๆ มาตีขลุม นับรวม จัดประเภทผิดเช่นนี้ เป็นการโกหกด้วยสถิติ (How to tell a lie with statistics) อย่างหนึ่ง ประชาไท ก็ทำเช่นนี้ ดังรูปด้านล่างนี้
วิธีที่สอง การบิดเบือนโดยใช้ ความหมายหลากเลื่อนของนิยาม (Différance)
พวกหลังนวยุคสมัย (Post-modernism) เช่น Jacques Derrida ใช้วิธีการหลากเลื่อนของความหมาย ได้อย่างน่าสนใจ มีประโยชน์ยิ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำให้การแปลความเพื่อรื้อสร้างทำได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนขาดเจตนาสุจริตอาศัยความหมายหลากเลื่อนของนิยามในการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ถ้าจะทำ เช่น ไปรวมงบโครงการพระราชดำริทั้งหมดมาเป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเช่นที่ประชาไท iLaw และ สส. เบญจา แห่งพรรคก้าวไกล ได้ทำแล้ว
ผมขอแสดงวิธีการหลากเลื่อนนิยามเหล่านี้เพื่อตีฟูงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ดูดังนี้
การใช้คำว่างบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หากจะตีความเพื่อให้งบประมาณในส่วนนี้ก็สามารถเลื่อนขยายนิยามออกไป ไปไกลจนถึงรัชกาลก่อน ๆ เช่น ขยายคำว่าโครงการพระราชดำริให้นิยามรวมไปจนถึงรัชกาลที่ห้า ถ้าเป็นเช่นนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวทุกรัชกาลทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย่อมต้องรวมงบประมาณแผ่นดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าเป็นงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันด้วย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ก็ด้วยเช่นกัน
หากตีความเลื่อนขยายนิยามออกไปอีก ว่ามหาวิทยาลัยใดใช้พระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระนามเจ้านายราชสกุลให้ถือว่าเป็นงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ต้องรวมงบประมาณแผ่นดินของมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เข้าไปด้วย และต้องรวมเขื่อนที่มีชื่อเป็นพระนามาภิไธยเช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนสิรินธร เข้าไปด้วยหรือไม่
หากตีความขยายนิยามว่างบที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้รวมงบที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ เพราะถือว่าบูรพมหากษัตริย์ทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจากจตุสดมภ์ 4 เป็น 12 กระทรวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ย่อมเป็นพระราชกรณียกิจ และต้องรวมงบประมาณมหาศาลของ 12 กระทรวงเหล่านั้นเข้าไปในงบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย
จะเห็นได้ว่าเมื่อหลากเลื่อนขยายนิยามไปมากก็จะโกหกด้วยตัวเลขได้มากขึ้น แต่ความชอบธรรมและความสมเหตุสมผลอาจจะลดลงได้
วิธีที่สาม การเลือกนำเสนอข้อมูลอย่างมีอคติ (Biased selection of data)
ประชาไท มีเจตนาจะแสดงให้เห็นว่างบสถาบันพระมหากษัตริย์มีสูงมาก เลยเลือกเฉพาะกระทรวงที่มีงบประมาณน้อย ๆ เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงานมาแสดงในกราฟแท่ง แต่ละเลยกระทรวงใหญ่ที่มีงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข เอาออกไปจนหมด เลือกเฉพาะที่มีงบประมาณน้อย ๆ เพื่อที่จะให้งบสถาบันดูสูงมาก การกระทำเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นสื่อมวลชนที่ไร้จริยธรรมในวิชาชีพ
วิธีที่สี่ การเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรม (Unfair comparison)
การเอางบของหน่วยงานที่ไม่เท่าแม้จะระดับกระทรวงมาใส่รวมในกราฟด้านบน คือสภากาชาดไทย รัฐสภา ศาล มาเทียบเคียงกับหน่วยงานระดับกระทรวง ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ยุติธรรมเลย และเป็นทริคที่ใช้กันทั่วไปในการโกหกด้วยสถิติ ที่ฝรั่งบอกว่า Don’t compare apple and banana. อย่าเอากล้วยมาเปรียบเทียบกับแอปเปิลก็ด้วยเหตุนี้ สื่อมวลชนที่ดีย่อมไม่ทำเช่นนี้
วิธีที่ห้า การบิดเบือนสเกลสำหรับภาพนิทัศน์จากข้อมูล (Scale distortion for data visualization)
รูปนี้เป็นรูปที่วาดได้แย่มาก เป็น Double axes graph หรือกราฟสองแกน ซึ่งในทางสถิติไม่สนับสนุนให้ใช้เลย ด้านขวาหน่วยเป็นล้านเหรียญสหรัฐ ด้านซ้ายเป็นร้อยละ สเกลกราฟด้านซ้ายจาก 0 ถึง 1% เดี๋ยวก่อนนะทำไมไม่เป็นร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ 100 คำตอบคือมันก็จะทำให้กราฟสีฟ้าไม่ได้แตกต่างกันเลยอย่างไรเล่า เพราะจะแบนราบเท่ากันหมดคือไม่ถึงหนึ่ง% ต่างกันนิดเดียวแต่เอามาถ่างขยายให้ต่างกันมากๆ เป็นการบิดเบือนสเกลของกราฟเพื่อใส่ร้าย
วิธีที่หก ไม่แสดงรายละเอียดบางส่วน หรือพูดความจริงครึ่งเดียว (Half-truth)
จากตารางด้านล่างนี้ ดูเหมือนว่างบหน่วยราชการในพระองค์จะเพิ่มขึ้นมากจาก เจ็ดพันหกร้อยล้านบาทมาเป็นแปดพันเก้าร้อยล้านบาท เพิ่มขึ้นมากเหลือเกิน
แต่สิ่งที่ตารางนี้ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนคือมีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ.2562 ในมาตรา 3 ระบุว่า ให้โอนบรรดาอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประกาศกำหนด ไปเป็นของ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ โปรดอ่านรายละเอียดได้จากบทความอนาคตของอนาคตใหม่ผู้หาญท้าทายพระราชอำนาจ? https://mgronline.com/daily/detail/9620000101896
เมื่อโอนอัตรากำลังพลมาก็ต้องโอนอัตราเงินเดือนมาด้วย ดังนั้นงบประมาณที่ได้รับเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้มากมายผิดปกติแต่อย่างใด ทั้งโดยปกติเงินเดือนค่าจ้างก็ต้องมีการขึ้นอยู่แล้วทุกปีเป็นปกติอย่างน้อยก็เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ แต่ในความเป็นจริงต้องมากกว่าไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าข้าราชการได้รับเงินเดือนลดลง
วิธีที่เจ็ด การบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อใส่ร้ายป้ายสี
ในโลกออนไลน์มีการเอางบโครงการสุนัขทรงเลี้ยงมาโจมตี ทั้งหมดทรงเลี้ยงสุนัขพิการ สุนัขจรจัดข้างถนน เพื่อแก้ปัญหาสังคม มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ลดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ช่วยให้สุนัขไม่ต้องทุกข์ทรมาน ได้รับการเลี้ยงดู เป็นคนดีๆ ไม่ชอบ อยากจะอิจฉาริษยากระทั่งหมา
ฟูฟู สุนัขทรงเลี้ยง จากไปดาวหมามาหลายปีแล้ว โครงการสุนัขทรงเลี้ยงนั้นคือการทรงรับเลี้ยงสุนัขพิการและสุนัขจรจัด โดยมีหลายหน่วยงานรับสนองพระราชดำริ
งบ สุนัขทรงเลี้ยง จำนวน 109 ล้านบาท มี 26 โครงการ ใน 11 หน่วยงาน
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- กองทัพเรือ จังหวัด ชลบุรี
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง จังหวัดระยอง
- กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัด นครปฐม
- กรมศิลปากร จังหวัด กรุงเทพมหานคร
- องค์การบริหารส่วนตำบลตานิม จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
- กรมชลประทาน จังหวัด นนทบุรี
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
- เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง จังหวัด ร้อยเอ็ด
- ศูนย์การสุนัขทหาร กรมการสัตว์ทหารบก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
โดยเป็นงบศูนย์ดูแล ศูนย์ฝึกฝนสุนัข ค่าอาหารสัตว์ ทั้งสุนัขที่ในหลวงทรงรับอุปการะ สุนัขจรจัด และ สุนัขเจ็บป่วย รวมไปถึงค่าสาธารณูปโภค ค่าปรับปรุงห้อง อุปกรณ์ฝึก กรง ก่อสร้างอาคาร ฯลฯ ส่วนคุณฟูฟู กลับดาวหมาตั้งแต่ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 แล้ว #แต่ยังโดนบูลลี่มาจนทุกวันนี้่
คนที่คิดร้ายใส่ร้ายป้ายสีก็ยังลากสุนัขทรงเลี้ยงที่ไม่อยู่แล้วมาบูลลี่ ใส่ร้ายป้ายสี เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าทรงใช้ภาษีประชาชนอย่างสุรุ่ยสุร่ายบำเรอเปรอปรนสุนัขทรงเลี้ยงส่วนพระองค์ ทั้ง ๆ ที่ทรงให้รับสุนัขพิการและจรจัดมาสงเคราะห์
ผมขอวินิจฉัยว่า นี่เป็นการนำเข้าข้อความอันเป็นเท็จในระบบคอมพิวเตอร์ อันถือว่าเป็นภัยความมั่นคง เพราะใส่ร้ายป้ายสีองค์รัฏฐาธิปัตย์ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 และเป็นการกระทำผิดมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
ผมเอามาโพสต์ซ้ำ เพื่อเป็นการชี้แจงให้ประชาชนได้เข้าใจให้ถูกต้อง จับเท็จคนใส่ร้ายป้ายสี เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ขอให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจงดำเนินคดีด้วยเถิดครับ
บทสรุปคือ มีนักการเมืองชั่วร้าย มีนักรบไซเบอร์ เกรียนคีย์บอร์ด สื่อมวลชนที่ไร้จริยธรรม ใช้เจ็ดหลักการในการโกหกด้วยสถิติเพื่อใส่ร้ายป้ายสีสถาบัน โดยการตีฟูงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองควรต้องดำเนินการอย่างจริงจัง