รฟท.เร่งเคลียร์ปมงานโยธารถไฟไทย-จีน 4 สัญญา ลุ้นบอร์ดรับราคา ยูนิคฯสร้างช่วงดอนเมือง-นวนคร เผยรับเหมาแบกต้นทุนเพิ่มหลังวัสดุทยอยปรับราคา จ่อสร้างช่วงทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบินเอง หนักใจช่วงผ่านเมืองอยุธยา หลังการปรับแบบสถานีไร้ข้อยุติ
แหล่งข่าวจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ในงานโยธาสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. ซึ่งเดิมกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTKประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และบจ.ทิพากร เป็นผู้ชนะประมูล วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 26.5% แต่เนื่องจากเอกชนไม่ยื่นราคาตามกำหนด ทำให้คณะกก.ประกวดราคาฯ พิจารณาผู้เสนอราคาต่ำในลำดับถัดไป คือ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ซึ่งเสนอต่ำกว่าราคากลาง แต่สูงกว่าผู้เสนอต่ำสุดรายแรก เกือบ 2,000 ล้านบาท โดยล่าสุด ทางยูนิคฯ ได้ปรับลดราคาจากที่เสนอลงอีกประมาณ 9 ล้านบาท ขณะที่ราคากลาง อยู่ที่10,917 ล้านบาท
สาเหตุที่ไม่สามารถลดราคาลงได้มาก เนื่องจากปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เช่น เหล็กปรับขึ้นถึง 100% และหากคำนวณราคาวัสดุ ณ ปัจจุบัน ราคากลางกรณีเปิดประมูลใหม่ จะปรับเพิ่มไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และต้องยอมรับว่าการประมูลผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาต่ำมากเกินไป จนส่งผลให้ไม่สามารถเข้ามาทำสัญญาจ้างก่อสร้าง
ทั้งนี้ ตามแผนงาน รฟท.เตรียมเสนอบอร์ดรฟท.ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน พิจารณาในการประชุมวันที่ 22 เม.ย.64 แต่เนื่องจากเอกสารที่เกี่ยวข้องยังดำเนินการไม่ครบถ้วน จึงถอนวาระออกไปก่อน และจะนำเสนอ บอร์ดรฟท.พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
รฟท.สร้างเองช่วงทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบิน
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งงานโยธาเป็น14 สัญญา โดยลงนามสัญญาแล้ว 10 สัญญา ก่อสร้างเสร็จแล้ว1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เหลืออีก 4 สัญญาที่ยังไม่ลงนาม ได้แก่ สัญญา 4-2 รอเสนอบอร์ดรฟท. , สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย–กลางดง และ ช่วงปางอโศก–บันไดม้า ระยะทาง 30 กม. ซึ่ง บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่ 11,386 ล้านบาท กว่า 2,037 ล้านบาท ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยการเจรจากับกลุ่มซีพีฯ ใกล้จะได้ข้อยุติ มีแนวโน้มว่า รฟท.จะดำเนินการก่อสร้างเอง เพื่อไม่ให้ล่าช้าโดยค่าก่อสร้างของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะนำไปหักออกจากค่างานไฮสปีด 3 สนามบินภายหลัง ซึ่งประเมินว่าจะก่อสร้างได้ภายในปี 65
สัญญา 4-5 ติดปรับแบบสถานีอยุธยา
สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างหารือกับกรมศิลปากรและผู้เกี่ยวข้องในการปรับแบบ ช่วงผ่านสถานีอยุธยา เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งกรณีที่จังหวัดต้องการให้ก่อสร้างเป็นทางระดับดินนั้น ตามหลักจะต้องออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำ 100 ปี ซึ่งยึดที่ปี 2554 พบว่า คันทางรถไฟจะมีความสูงประมาณ7 ม. เพื่อไม่ให้มีปัญหาน้ำท่วม ขณะที่หากต้องปรับแนวเส้นทางจะกระทบต่อโครงการโดยรวมที่ต้องล่าช้าออกไป 5-6 ปี
ขณะที่ อีก 3 สัญญา ที่มีการลงนากับผู้รับจ้าง เมื่อวันที่ 29 มี.ค.64 คือ สัญญา 4-3 งานโยธา ช่วง นวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. มีบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด รับงาน วงเงิน 11,525 ล้านบาท ,สัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย มี บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ รังาน วงเงิน 6,573 ล้านบาท ,สัญญา 4-6 งานโยธา สำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทางรวม 31.60 กม. มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง รับงาน วงเงิน9,428 ล้านบาท อยู่ระหว่างการลงพื้นที่และทำความเข้าใจถึงรายละเอียดการก่อสร้างร่วมกัน คาดว่าจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)ได้ช่วงกลางปี 64
แหล่งข่าวจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ในงานโยธาสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. ซึ่งเดิมกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTKประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และบจ.ทิพากร เป็นผู้ชนะประมูล วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 26.5% แต่เนื่องจากเอกชนไม่ยื่นราคาตามกำหนด ทำให้คณะกก.ประกวดราคาฯ พิจารณาผู้เสนอราคาต่ำในลำดับถัดไป คือ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ซึ่งเสนอต่ำกว่าราคากลาง แต่สูงกว่าผู้เสนอต่ำสุดรายแรก เกือบ 2,000 ล้านบาท โดยล่าสุด ทางยูนิคฯ ได้ปรับลดราคาจากที่เสนอลงอีกประมาณ 9 ล้านบาท ขณะที่ราคากลาง อยู่ที่10,917 ล้านบาท
สาเหตุที่ไม่สามารถลดราคาลงได้มาก เนื่องจากปัจจุบันราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก เช่น เหล็กปรับขึ้นถึง 100% และหากคำนวณราคาวัสดุ ณ ปัจจุบัน ราคากลางกรณีเปิดประมูลใหม่ จะปรับเพิ่มไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท และต้องยอมรับว่าการประมูลผู้เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาต่ำมากเกินไป จนส่งผลให้ไม่สามารถเข้ามาทำสัญญาจ้างก่อสร้าง
ทั้งนี้ ตามแผนงาน รฟท.เตรียมเสนอบอร์ดรฟท.ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน พิจารณาในการประชุมวันที่ 22 เม.ย.64 แต่เนื่องจากเอกสารที่เกี่ยวข้องยังดำเนินการไม่ครบถ้วน จึงถอนวาระออกไปก่อน และจะนำเสนอ บอร์ดรฟท.พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
รฟท.สร้างเองช่วงทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบิน
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แบ่งงานโยธาเป็น14 สัญญา โดยลงนามสัญญาแล้ว 10 สัญญา ก่อสร้างเสร็จแล้ว1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เหลืออีก 4 สัญญาที่ยังไม่ลงนาม ได้แก่ สัญญา 4-2 รอเสนอบอร์ดรฟท. , สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย–กลางดง และ ช่วงปางอโศก–บันไดม้า ระยะทาง 30 กม. ซึ่ง บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่ 11,386 ล้านบาท กว่า 2,037 ล้านบาท ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยการเจรจากับกลุ่มซีพีฯ ใกล้จะได้ข้อยุติ มีแนวโน้มว่า รฟท.จะดำเนินการก่อสร้างเอง เพื่อไม่ให้ล่าช้าโดยค่าก่อสร้างของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะนำไปหักออกจากค่างานไฮสปีด 3 สนามบินภายหลัง ซึ่งประเมินว่าจะก่อสร้างได้ภายในปี 65
สัญญา 4-5 ติดปรับแบบสถานีอยุธยา
สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างหารือกับกรมศิลปากรและผู้เกี่ยวข้องในการปรับแบบ ช่วงผ่านสถานีอยุธยา เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งกรณีที่จังหวัดต้องการให้ก่อสร้างเป็นทางระดับดินนั้น ตามหลักจะต้องออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำ 100 ปี ซึ่งยึดที่ปี 2554 พบว่า คันทางรถไฟจะมีความสูงประมาณ7 ม. เพื่อไม่ให้มีปัญหาน้ำท่วม ขณะที่หากต้องปรับแนวเส้นทางจะกระทบต่อโครงการโดยรวมที่ต้องล่าช้าออกไป 5-6 ปี
ขณะที่ อีก 3 สัญญา ที่มีการลงนากับผู้รับจ้าง เมื่อวันที่ 29 มี.ค.64 คือ สัญญา 4-3 งานโยธา ช่วง นวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. มีบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัทเนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด รับงาน วงเงิน 11,525 ล้านบาท ,สัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย มี บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ รังาน วงเงิน 6,573 ล้านบาท ,สัญญา 4-6 งานโยธา สำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทางรวม 31.60 กม. มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง รับงาน วงเงิน9,428 ล้านบาท อยู่ระหว่างการลงพื้นที่และทำความเข้าใจถึงรายละเอียดการก่อสร้างร่วมกัน คาดว่าจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP)ได้ช่วงกลางปี 64