คลังปัดกู้เงินฉุกเฉินเพิ่มอีก 1 ล้านล้าน เยียวยาโควิด ระบุงบฯเก่ายังพอเหลือใช้ได้ถึง 30 ก.ย.นี้ หลังกู้เยียวยาไปแล้ว 6.6 แสนล้านบาท จากวงเงินอนุมัติแล้วกว่า 7 แสนล้าน ด้าน ส.ส.เพื่อไทย ดักคอ "บิ๊กตู่" บริหาร 7 ปี หนี้ใกล้เต็มเพดาน
นางแพรติเซีย มงคลวณิช ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงกระแสข่าว กระทรวงการคลังเตรียมกู้ฉุกเฉินเยียวยาโควิดอีก 1 ล้านล้านบาท ว่า สบน. ยังไม่ทราบเกี่ยวกับนโยบายการกู้เงินดังกล่าว แต่ปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ก็ยังเหลืออยู่ และสามารถใช้ได้จนถึง 30 ก.ย.นี้ โดยขณะนี้ สบน. ได้กู้เงินแล้ว 6.6 แสนล้านบาท จากที่ครม. อนุมัติวงเงินแล้วกว่า 7 แสนล้านบาท และในกระเป๋ายังมีวงเงินจากการกู้มาเหลืออยู่ 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับการจ่ายเงินในโครงการเราชนะ ซึ่งภายในเดือนนี้ สบน. ก็มีแผนจะกู้เงินอีก 3 หมื่นล้านบาท จะเป็นรูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ตามมติครม. ด้วย
อย่างไรก็ตาม หากจะจัดทำแผนกู้เงินเพิ่ม จะต้องทำในกรณีมีความจำเป็น ไม่มีงบประมาณเหลือใช้แล้ว รวมถึงต้องรู้ว่าจะกู้เงินนำไปใช้ทำอะไร มีวัตถุประสงค์ในการกู้ที่ชัดเจน
นอกจากนี้ จะต้องมีการหารือในคณะกรรมการวินัยการเงินการคลัง ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อขยายกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะ ตามกรอบวินัยการเงินการคลังด้วย เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะในสิ้นปีงบประมาณนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 57-58% ต่อ จีดีพี แต่หากจะกู้เพิ่มขึ้น หนี้สาธารณะก็อาจสูงเกินกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี
อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะของไทยที่ทยอยปรับสูงขึ้นนั้น เป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศได้ก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายดูแลแก้ปัญหาโควิด-19
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ในเดือน พ.ค.-ก.ค.นี้ มีข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ทางกระทรวงการคลัง จะมาขอรัฐสภา เพื่อขยายวงเงินกู้ของประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางการคลังของประเทศไม่สู้ดีนัก ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ บริหารประเทศมา 7 ปี กู้เป็นหนี้จนวงเงินของประเทศไทยใกล้เต็ม กู้เพิ่มได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ก็จะเต็มเพดานแล้ว ที่สำคัญหนี้เก่านี้ประชาชนต้องร่วมกันรับผิดชอบ เพราะเป็น “หนี้สาธารณะ” และ งบประมาณ 2565นี้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย เพื่อชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งก็มาจาก “ภาษี” ที่พวกเราทุกคนจ่ายไป
“อยากถามว่า ปีที่แล้ว กู้ไป 1.9ล้านล้าน บาท บอกจะเอาไป แก้โควิด ประมาณ 1.0 ล้านล้านบาท เป็นเงินที่ใช้ด้านสาธารณสุขถึง 6 แสนล้าน และ แจกกระจาย อีก 4 แสน ล้านบาท ตกลงแล้ว เอาไปทำอะไรบ้าง ไปซื้อวัคซีนแค่ไหน ทั่วโลกก็ประกาศเตือนทุกวันว่า จะมี โควิดละลอก 2ละลอก 3 และใช้เงินเป็นล้านล้านบาท ทำได้แค่นี้ หรือเอาไปตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หรืออย่างไร ทำไม ประเทศไทยถึงตกไปอยู่ในประเทศที่ล้าหลัง แพ้เพื่อนบ้านที่เขาไม่ได้กู้เงินมาแก้ปัญหาโควิด แต่เพื่อนบ้านกลับมีวัคซีนฉีดให้ประชาชน มีเตียงให้ประชาชน มีการดูแลทางการแพทย์ได้มากกว่าประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ ปล่อยให้ประเทศไทย และคนไทยรับกรรมเช่นนี้ได้อย่างไร ต้องให้ ประชาชน ด่าลงโซเชียลฯ รัฐถึงจะเข้าไปดูแล”นายจิรายุ กล่าว
นางแพรติเซีย มงคลวณิช ผอ.สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยถึงกระแสข่าว กระทรวงการคลังเตรียมกู้ฉุกเฉินเยียวยาโควิดอีก 1 ล้านล้านบาท ว่า สบน. ยังไม่ทราบเกี่ยวกับนโยบายการกู้เงินดังกล่าว แต่ปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ก็ยังเหลืออยู่ และสามารถใช้ได้จนถึง 30 ก.ย.นี้ โดยขณะนี้ สบน. ได้กู้เงินแล้ว 6.6 แสนล้านบาท จากที่ครม. อนุมัติวงเงินแล้วกว่า 7 แสนล้านบาท และในกระเป๋ายังมีวงเงินจากการกู้มาเหลืออยู่ 2.5 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับการจ่ายเงินในโครงการเราชนะ ซึ่งภายในเดือนนี้ สบน. ก็มีแผนจะกู้เงินอีก 3 หมื่นล้านบาท จะเป็นรูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) เพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ ตามมติครม. ด้วย
อย่างไรก็ตาม หากจะจัดทำแผนกู้เงินเพิ่ม จะต้องทำในกรณีมีความจำเป็น ไม่มีงบประมาณเหลือใช้แล้ว รวมถึงต้องรู้ว่าจะกู้เงินนำไปใช้ทำอะไร มีวัตถุประสงค์ในการกู้ที่ชัดเจน
นอกจากนี้ จะต้องมีการหารือในคณะกรรมการวินัยการเงินการคลัง ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อขยายกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะ ตามกรอบวินัยการเงินการคลังด้วย เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะในสิ้นปีงบประมาณนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 57-58% ต่อ จีดีพี แต่หากจะกู้เพิ่มขึ้น หนี้สาธารณะก็อาจสูงเกินกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี
อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะของไทยที่ทยอยปรับสูงขึ้นนั้น เป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศได้ก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายดูแลแก้ปัญหาโควิด-19
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ในเดือน พ.ค.-ก.ค.นี้ มีข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ทางกระทรวงการคลัง จะมาขอรัฐสภา เพื่อขยายวงเงินกู้ของประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางการคลังของประเทศไม่สู้ดีนัก ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ บริหารประเทศมา 7 ปี กู้เป็นหนี้จนวงเงินของประเทศไทยใกล้เต็ม กู้เพิ่มได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ก็จะเต็มเพดานแล้ว ที่สำคัญหนี้เก่านี้ประชาชนต้องร่วมกันรับผิดชอบ เพราะเป็น “หนี้สาธารณะ” และ งบประมาณ 2565นี้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย เพื่อชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งก็มาจาก “ภาษี” ที่พวกเราทุกคนจ่ายไป
“อยากถามว่า ปีที่แล้ว กู้ไป 1.9ล้านล้าน บาท บอกจะเอาไป แก้โควิด ประมาณ 1.0 ล้านล้านบาท เป็นเงินที่ใช้ด้านสาธารณสุขถึง 6 แสนล้าน และ แจกกระจาย อีก 4 แสน ล้านบาท ตกลงแล้ว เอาไปทำอะไรบ้าง ไปซื้อวัคซีนแค่ไหน ทั่วโลกก็ประกาศเตือนทุกวันว่า จะมี โควิดละลอก 2ละลอก 3 และใช้เงินเป็นล้านล้านบาท ทำได้แค่นี้ หรือเอาไปตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หรืออย่างไร ทำไม ประเทศไทยถึงตกไปอยู่ในประเทศที่ล้าหลัง แพ้เพื่อนบ้านที่เขาไม่ได้กู้เงินมาแก้ปัญหาโควิด แต่เพื่อนบ้านกลับมีวัคซีนฉีดให้ประชาชน มีเตียงให้ประชาชน มีการดูแลทางการแพทย์ได้มากกว่าประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ ปล่อยให้ประเทศไทย และคนไทยรับกรรมเช่นนี้ได้อย่างไร ต้องให้ ประชาชน ด่าลงโซเชียลฯ รัฐถึงจะเข้าไปดูแล”นายจิรายุ กล่าว