จับตาส.ว.โหวต ร่าง พ.ร.บ.กสทช. วันนี้ หลังกมธ.ปลดล็อก ให้ข้าราชการชั้นยศ "พ.อ." เข้ารับการสรรหาได้ "เพื่อไทย" ปูดดันคนสนิทผู้นำ นั่งกก.ใหม่ยกชุดทันทีที่ร่าง กม.ผ่าน 15 วัน
วานนี้ (14ก.พ.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตนได้รับข้อมูลความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการสรรหา กสทช. ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของส.ว. มีสัญญาณถูกแทรกแซงการสรรหา เนื่องจากผู้นำรัฐบาล พยายามผลักดันคนสนิทของตัวเองเข้าไปใน คณะกรรมการ กสทช. ทั้งที่คุณสมบัติไม่เหมาะสม ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกก.สรรหา
ล่าสุด เพื่อนสนิทผู้นำรัฐบาลที่เคยเป็นถึง อดีตรองนายกฯ ออกโรงรวบรวมคะแนนเสียงส.ว. เพื่อให้ส.ว. ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ที่มีเนื้อหาระบุว่า ถ้าพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ต้องสรรหากรรมการ กสทช.ชุดใหม่ มาทำหน้าที่ทันที ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้คณะกก.กสทช. ที่กำลังอยู่ระหว่างการสรรหาในขณะนี้ ได้ทำหน้าที่เพียงไม่นาน "หากเรื่องนี้เป็นจริง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เนื่องจากการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของส.ว.เพียงเพื่อต้องการผลักดันคนของตัวเอง ถือเป็นการไม่ให้เกียรติส.ว. ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำรัฐบาลไม่ควรกระทำ ดังนั้น จึงต้องติดตามการประชุมของ ส.ว.วันที่ 15 ก.พ.นี้ ว่าสิ่งที่ได้ข้อมูลมานั้น จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ " น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (15ก.พ. ) ที่ประชุมวุฒิสภา จะมีวาระสำคัญคือพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .. ซึ่งเป็นฉบับที่ กมธ.วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธาน โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีสาระสำคัญที่น่าสนใจ อยู่ที่ มาตรา 5 ว่าด้วยการให้ผู้มีสิทธิ์สมัครรับการสรรหาเพื่อเป็น กรรมการ กสทช. มีคุณลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ทางคณะกมธ. แก้ไข (3) จากเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ มานั้น กำหนดไว้ว่าเป็นหรือเคยเป็นนายทหาร หรือนายตำรวจ ที่มียศตั้งแต่ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือ พลตำรวจตรี แก้ไขเป็นข้อความว่า “เป็นหรือเคยเป็นนายทหารหรือนายตำรวจที่มียศตั้งแต่ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือ พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือ พันตำรวจเอกพิเศษขึ้นไป”
นอกจากนี้ ยังมี มาตรา 10 ว่าด้วย วาระเริ่มแรกของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ จากเดิมที่ผ่านการพิจารณาของสภาฯ กำหนดไว้ให้มีการสรรหากรรมการกสทช. ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่มีการประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ต่อมาทาง กมธ. ฝั่งวุฒิสภา แก้ไขใหม่ กำหนด ดังนี้ (1) กรรมการ กสทช.ชุดปัจจุบัน ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฎิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะกก. กสทช. ตามร่างกม.ฉบับนี้ และ (2) ในกรณีที่ได้ดำรงตำแหน่งยังไม่ครบวาระ ตาม พ.ร.บ.กสทช. ในวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แต่ถ้าในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ ได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาเกิน 3 ปี ให้ถือว่าได้ดำรงตำแหน่งครบวาระแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ตั้งคณะคณะกมธ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ กสทช. ตามที่คณะกรรมการสรรหาฯ นำเสนอรายชื่อบุคคลที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 14 คน ซึ่งในการประชุมวุฒิสภาขณะนั้น มี ส.ว.อภิปรายไม่เห็นด้วย ที่วิปวุฒิสภา กำหนดระยะเวลาการทำงานของคณะกมธ. ตรวจสอบประวัติฯ เพียง 15 วัน และได้เสนอให้ กมธ.ทำงาน 25 วันแทน แต่สุดท้าย ที่ประชุมได้ลงมติด้วยเสียงข้างมาก 126 ต่อ 68 เสียง ให้ยืนตามที่ วิปวุฒิสภาเสนอมา กล่าวคือ ให้คณะกมธ.พิจารณาตรวจสอบประวัติฯ 15 วัน
วานนี้ (14ก.พ.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตนได้รับข้อมูลความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการสรรหา กสทช. ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของส.ว. มีสัญญาณถูกแทรกแซงการสรรหา เนื่องจากผู้นำรัฐบาล พยายามผลักดันคนสนิทของตัวเองเข้าไปใน คณะกรรมการ กสทช. ทั้งที่คุณสมบัติไม่เหมาะสม ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกก.สรรหา
ล่าสุด เพื่อนสนิทผู้นำรัฐบาลที่เคยเป็นถึง อดีตรองนายกฯ ออกโรงรวบรวมคะแนนเสียงส.ว. เพื่อให้ส.ว. ผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.กสทช. ที่มีเนื้อหาระบุว่า ถ้าพ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ต้องสรรหากรรมการ กสทช.ชุดใหม่ มาทำหน้าที่ทันที ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้คณะกก.กสทช. ที่กำลังอยู่ระหว่างการสรรหาในขณะนี้ ได้ทำหน้าที่เพียงไม่นาน "หากเรื่องนี้เป็นจริง ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เนื่องจากการเข้าไปแทรกแซงการทำงานของส.ว.เพียงเพื่อต้องการผลักดันคนของตัวเอง ถือเป็นการไม่ให้เกียรติส.ว. ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำรัฐบาลไม่ควรกระทำ ดังนั้น จึงต้องติดตามการประชุมของ ส.ว.วันที่ 15 ก.พ.นี้ ว่าสิ่งที่ได้ข้อมูลมานั้น จะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ " น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (15ก.พ. ) ที่ประชุมวุฒิสภา จะมีวาระสำคัญคือพิจารณาร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .. ซึ่งเป็นฉบับที่ กมธ.วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นประธาน โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีสาระสำคัญที่น่าสนใจ อยู่ที่ มาตรา 5 ว่าด้วยการให้ผู้มีสิทธิ์สมัครรับการสรรหาเพื่อเป็น กรรมการ กสทช. มีคุณลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ทางคณะกมธ. แก้ไข (3) จากเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ มานั้น กำหนดไว้ว่าเป็นหรือเคยเป็นนายทหาร หรือนายตำรวจ ที่มียศตั้งแต่ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี หรือ พลตำรวจตรี แก้ไขเป็นข้อความว่า “เป็นหรือเคยเป็นนายทหารหรือนายตำรวจที่มียศตั้งแต่ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือ พันตำรวจเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือ พันตำรวจเอกพิเศษขึ้นไป”
นอกจากนี้ ยังมี มาตรา 10 ว่าด้วย วาระเริ่มแรกของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ จากเดิมที่ผ่านการพิจารณาของสภาฯ กำหนดไว้ให้มีการสรรหากรรมการกสทช. ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ที่มีการประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ต่อมาทาง กมธ. ฝั่งวุฒิสภา แก้ไขใหม่ กำหนด ดังนี้ (1) กรรมการ กสทช.ชุดปัจจุบัน ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฎิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะกก. กสทช. ตามร่างกม.ฉบับนี้ และ (2) ในกรณีที่ได้ดำรงตำแหน่งยังไม่ครบวาระ ตาม พ.ร.บ.กสทช. ในวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แต่ถ้าในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับ ได้ดำรงตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาเกิน 3 ปี ให้ถือว่าได้ดำรงตำแหน่งครบวาระแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ตั้งคณะคณะกมธ. วิสามัญเพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ กสทช. ตามที่คณะกรรมการสรรหาฯ นำเสนอรายชื่อบุคคลที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 14 คน ซึ่งในการประชุมวุฒิสภาขณะนั้น มี ส.ว.อภิปรายไม่เห็นด้วย ที่วิปวุฒิสภา กำหนดระยะเวลาการทำงานของคณะกมธ. ตรวจสอบประวัติฯ เพียง 15 วัน และได้เสนอให้ กมธ.ทำงาน 25 วันแทน แต่สุดท้าย ที่ประชุมได้ลงมติด้วยเสียงข้างมาก 126 ต่อ 68 เสียง ให้ยืนตามที่ วิปวุฒิสภาเสนอมา กล่าวคือ ให้คณะกมธ.พิจารณาตรวจสอบประวัติฯ 15 วัน