สภาองค์การนายจ้างมองโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ต่างจากรอบแรก โอกาสกระทบศก.และการจ้างงาน จะมีความเปราะบางมากกว่ารอบแรก หลังเลยจุดเชื่อมั่นตกต่ำ กลายเป็นความกลัวฉุดกำลังซื้อ ล็อกดาวน์แต่ละพื้นที่ แนะรัฐเร่งควบคุมการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุด
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดโควิด-19 รอบนี้ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะมากกว่ารอบที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นการติดกันเองภายในประเทศ และเริ่มลุกลามไปยังธุรกิจและโรงงานต่างๆ ที่เป็นฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบางแห่งแล้ว จากในช่วงก่อนการระบาดจะมีลักษณะไม่กระจายตัวเช่นปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจและการจ้างานเปราะบางมากยิ่งขึ้น
"ปลายปีสัญญาณต่างๆ ก็ดีขึ้นมาก ทำให้หลายคนคิดว่าในปี 64 เศรษฐกิจจะพลิกเป็นบวกขึ้นจากที่ติดลบ แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดรอบใหม่ทำให้ปัจจัยที่มองว่าจะสดใส ก็คงจะไม่ดีอย่างที่คาดไว้ แต่จะแย่ไปมากน้อยแค่ไหนยังตอบยาก สิ่งที่ห่วงคือการระบาดครั้งนี้มีการแพร่กระจายไปทั่ว ดังนั้นมาตรการสำคัญที่รัฐต้องเร่งแก้ไขอันดับแรกคือ การหยุดการลุกลามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วสุด จากนั้นต้องมีเม็ดเงินอัดฉีดเศรษฐกิจเข้าไปอย่างเร่งด่วน และตรงเป้า"
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการเองต้องปรับแผนรองรับกับการกลับมาของโควิด-19 อย่างรัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะการลดต้นทุนรอบด้าน ดังนั้นโอกาสการจ้างงานใหม่จะมีต่ำมาก ยกเว้นธุรกิจที่มีการเติบโตได้ดีในช่วงโควิด-19 เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ที่มีโอกาสจะฟื้นตัวเล็กน้อยจากปีก่อนหลังแนวโน้มโลกเริ่มมีวัคซีน เป็นต้น โดยเด็กจบใหม่ที่จะเข้ามาในระบบ 5 แสนคน จึงนับเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเพราะการหางานจะยากยิ่งขึ้น
" ปี 2563 เด็กจบใหม่ราว 5 แสนคน มีการดูดซับแรงงานไปกว่าแสนคนเท่านั้น เมื่อมีเด็กจบใหม่ที่จะเข้ามาอีกในปี 64 อีกราว 5 แสนคน ก็จะยิ่งสมทบให้อัตราการว่างงานของไทยเรามีมากขึ้น โดยในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับท่องเที่ยว ยังคงลำบากเพราะต่างชาติคงจะไม่ได้เข้ามาและคงนิ่งไปจนถึงกลางปี 64 จากนั้นจึงต้องไปดูสถานการณ์อีกครั้ง ส่วนส่งออกแม้จะดีขึ้นตามทิศทางของโลก แต่ก็จะเปราะบาง ปัญหาแรงงานของไทยจึงยังคงเปราะบางมากขึ้น โดยปัจจัยเอื้อน้อยมากเพราะกำลังการผลิตส่วนใหญ่ก็ยังเหลืออยู่ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องประคองตัวเองไว้ให้ดีสุด"
ทั้งนี้ ผลกระทบการแพร่ระบาดในรอบแรกนั้นมีการล็อกดาวน์ ประมาณ 3 เดือน มองในแง่ของเม็ดเงินเฉพาะเอกชนที่หายไป มีมูลค่าราว 5 ล้านล้านบาท อาทิ มาจากการท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 2 ล้านล้านบาท การท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่งออกหดตัวประมาณ 6.7% เม็ดเงินหายไปอีกราว 5.1 แสนล้านบาท คนตกงานทำให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น 7 แสนกว่าล้านบาท เป็นต้น แต่ครั้งนี้ผลกระทบยังประเมินได้ยากเพราะสถานการณ์เพิ่งเริ่มต้น จะมากน้อยอยู่ที่การควบคุมการแพร่ระบาดได้ช้าเพียงใด
"วันนี้มันเลยจุดในเรื่องของความเชื่อมั่น แต่มันกลายเป็นความกลัวไปแล้ว การล็อกดาวน์แต่ละจังหวัด ให้อำนาจไปออกมาตรการซึ่งส่วนตัวเห็นว่าบางเรื่องดี แต่ที่กังวลคือ มาตรการบางอย่างเมื่อต่างคนต่างคิด มันอาจจะไปกันใหญ่หรือไม่เช่น กักตัว 14 วัน สภาพมันจะยิ่งแย่ในการทำธุรกิจ ติดต่อค้าขายหรือไม่ แล้วสิ่งที่น่ากลัวคือ วันนี้ดีมานด์หดตัวเมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะกระทบอุปสงค์ และที่สุดก็นำไปสู่การผลิตและก็นำไปสู่การลดคนอีกปัญหา จะวนกลับไปที่เดิม" นายธนิต กล่าว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้าง ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดโควิด-19 รอบนี้ เป็นสิ่งที่ต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะมากกว่ารอบที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งนี้เป็นการติดกันเองภายในประเทศ และเริ่มลุกลามไปยังธุรกิจและโรงงานต่างๆ ที่เป็นฐานการผลิตในภาคอุตสาหกรรมบางแห่งแล้ว จากในช่วงก่อนการระบาดจะมีลักษณะไม่กระจายตัวเช่นปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจและการจ้างานเปราะบางมากยิ่งขึ้น
"ปลายปีสัญญาณต่างๆ ก็ดีขึ้นมาก ทำให้หลายคนคิดว่าในปี 64 เศรษฐกิจจะพลิกเป็นบวกขึ้นจากที่ติดลบ แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดรอบใหม่ทำให้ปัจจัยที่มองว่าจะสดใส ก็คงจะไม่ดีอย่างที่คาดไว้ แต่จะแย่ไปมากน้อยแค่ไหนยังตอบยาก สิ่งที่ห่วงคือการระบาดครั้งนี้มีการแพร่กระจายไปทั่ว ดังนั้นมาตรการสำคัญที่รัฐต้องเร่งแก้ไขอันดับแรกคือ การหยุดการลุกลามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ได้โดยเร็วสุด จากนั้นต้องมีเม็ดเงินอัดฉีดเศรษฐกิจเข้าไปอย่างเร่งด่วน และตรงเป้า"
ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการเองต้องปรับแผนรองรับกับการกลับมาของโควิด-19 อย่างรัดกุมมากขึ้น โดยเฉพาะการลดต้นทุนรอบด้าน ดังนั้นโอกาสการจ้างงานใหม่จะมีต่ำมาก ยกเว้นธุรกิจที่มีการเติบโตได้ดีในช่วงโควิด-19 เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ที่มีโอกาสจะฟื้นตัวเล็กน้อยจากปีก่อนหลังแนวโน้มโลกเริ่มมีวัคซีน เป็นต้น โดยเด็กจบใหม่ที่จะเข้ามาในระบบ 5 แสนคน จึงนับเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเพราะการหางานจะยากยิ่งขึ้น
" ปี 2563 เด็กจบใหม่ราว 5 แสนคน มีการดูดซับแรงงานไปกว่าแสนคนเท่านั้น เมื่อมีเด็กจบใหม่ที่จะเข้ามาอีกในปี 64 อีกราว 5 แสนคน ก็จะยิ่งสมทบให้อัตราการว่างงานของไทยเรามีมากขึ้น โดยในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับท่องเที่ยว ยังคงลำบากเพราะต่างชาติคงจะไม่ได้เข้ามาและคงนิ่งไปจนถึงกลางปี 64 จากนั้นจึงต้องไปดูสถานการณ์อีกครั้ง ส่วนส่งออกแม้จะดีขึ้นตามทิศทางของโลก แต่ก็จะเปราะบาง ปัญหาแรงงานของไทยจึงยังคงเปราะบางมากขึ้น โดยปัจจัยเอื้อน้อยมากเพราะกำลังการผลิตส่วนใหญ่ก็ยังเหลืออยู่ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องประคองตัวเองไว้ให้ดีสุด"
ทั้งนี้ ผลกระทบการแพร่ระบาดในรอบแรกนั้นมีการล็อกดาวน์ ประมาณ 3 เดือน มองในแง่ของเม็ดเงินเฉพาะเอกชนที่หายไป มีมูลค่าราว 5 ล้านล้านบาท อาทิ มาจากการท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 2 ล้านล้านบาท การท่องเที่ยวในประเทศ ประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่งออกหดตัวประมาณ 6.7% เม็ดเงินหายไปอีกราว 5.1 แสนล้านบาท คนตกงานทำให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น 7 แสนกว่าล้านบาท เป็นต้น แต่ครั้งนี้ผลกระทบยังประเมินได้ยากเพราะสถานการณ์เพิ่งเริ่มต้น จะมากน้อยอยู่ที่การควบคุมการแพร่ระบาดได้ช้าเพียงใด
"วันนี้มันเลยจุดในเรื่องของความเชื่อมั่น แต่มันกลายเป็นความกลัวไปแล้ว การล็อกดาวน์แต่ละจังหวัด ให้อำนาจไปออกมาตรการซึ่งส่วนตัวเห็นว่าบางเรื่องดี แต่ที่กังวลคือ มาตรการบางอย่างเมื่อต่างคนต่างคิด มันอาจจะไปกันใหญ่หรือไม่เช่น กักตัว 14 วัน สภาพมันจะยิ่งแย่ในการทำธุรกิจ ติดต่อค้าขายหรือไม่ แล้วสิ่งที่น่ากลัวคือ วันนี้ดีมานด์หดตัวเมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะกระทบอุปสงค์ และที่สุดก็นำไปสู่การผลิตและก็นำไปสู่การลดคนอีกปัญหา จะวนกลับไปที่เดิม" นายธนิต กล่าว