ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม.เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณปี 65 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ภายใต้กรอบงบประมาณขาดดุล 7 แสนล้านบาท พร้อมรับทราบเศรษฐกิจไทยปี 63 ติดลบ 7.8% ก่อนพลิกกลับเป็นบวก 3.6% ขณะที่ส่งออกติดลบ 8.2% และขยับเป็นบวก 4.5% ในปีหน้า
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณปี 65 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 185,962.5 ล้านบาท หรือลดลง 5.66% แยกเป็น โดยขั้นตอนต่อจากนี้ ทุกหน่วยงานจะต้องกลับไปจัดทำคำของบประมาณ เพื่อเสนอให้กับสำนักงบประมาณพิจารณาภายในวันที่ 15 ม.ค.นี้ จากนั้นสำนักงบประมาณจะรวบรวมคำขอไปพิจารณาและจัดทำเป็นคำของบประมาณเบื้องต้นเสนอให้กับที่ประชุมครม. พิจารณาตามปฏิทินงบประมาณในวันที่ 16 มี.ค.64 ต่อไป
สำหรับกรอบบงประมาณครั้งนี้ แยกเป็น รายจ่ายประจำ 2,354,403.3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 183,249 ล้านบาท หรือลดลง 7.22% คิดเป็นสัดส่วน 75.95% ของวงเงินงบประมาณ ,รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจำนวน 596.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.02% ของวงเงินงบประมาณ ,รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย 25,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.81% ,รายจ่ายลงทุนจำนวน 620,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.01% คิดเป็นสัดส่วน 3.22%
ส่วนรายได้สุทธิ ประมาณการว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากการประมาณการจำนวน 277,000 ล้านบาท หรือลดลง 10.35% โดยในปีนี้ ยังเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุลจำนวน 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 91,037.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.95% คิดเป็น 4.04% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยมีสมมติฐานทางด้านเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% และมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.7 - 1.17%
พร้อมกันนี้ ครม. ได้รับทราบ รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ของกระทรวงการคลัง โดยรายงานระบุว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การบริโภคภาคเอกชนเริ่มทยอยฟื้นตัว แต่ยังอยู่ในระดับต่ำตามรายได้ครัวเรือนที่ลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอ และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนหดตัวตามความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ แต่การใช้จ่ายภาครัฐ ยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ในส่วนการบริโภคภาคเอกชน ยังมีปัจจัยฉุดรั้งจากหนี้ครัวเรือนสูง รายได้ครัวเรือนที่เปราะบางและไม่แน่นอนสูง
สำหรับเศรษฐกิจไทย ทั้งปี 2563 มีแนวโน้มหดตัว ร้อยละ 7.8 เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการควบคุมโควิด-19 ในส่วนของการส่งออกสินค้า มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 8.2 โดยการส่งออกไปอาเซียนและตะวันออกกลาง ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การส่งออกไปกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก และจีนเริ่มทยอยฟื้นตัว
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัว ร้อยละ 3.6 คาดว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ขณะที่เสถียรภาพระบบการเงินไทย ยังมีความเสี่ยงสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมากจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบาง และมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ถึงจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณปี 65 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 185,962.5 ล้านบาท หรือลดลง 5.66% แยกเป็น โดยขั้นตอนต่อจากนี้ ทุกหน่วยงานจะต้องกลับไปจัดทำคำของบประมาณ เพื่อเสนอให้กับสำนักงบประมาณพิจารณาภายในวันที่ 15 ม.ค.นี้ จากนั้นสำนักงบประมาณจะรวบรวมคำขอไปพิจารณาและจัดทำเป็นคำของบประมาณเบื้องต้นเสนอให้กับที่ประชุมครม. พิจารณาตามปฏิทินงบประมาณในวันที่ 16 มี.ค.64 ต่อไป
สำหรับกรอบบงประมาณครั้งนี้ แยกเป็น รายจ่ายประจำ 2,354,403.3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 183,249 ล้านบาท หรือลดลง 7.22% คิดเป็นสัดส่วน 75.95% ของวงเงินงบประมาณ ,รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังจำนวน 596.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.02% ของวงเงินงบประมาณ ,รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย 25,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.81% ,รายจ่ายลงทุนจำนวน 620,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.01% คิดเป็นสัดส่วน 3.22%
ส่วนรายได้สุทธิ ประมาณการว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท ลดลงจากการประมาณการจำนวน 277,000 ล้านบาท หรือลดลง 10.35% โดยในปีนี้ ยังเป็นการจัดทำงบประมาณขาดดุลจำนวน 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 91,037.5 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.95% คิดเป็น 4.04% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยมีสมมติฐานทางด้านเศรษฐกิจว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% และมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.7 - 1.17%
พร้อมกันนี้ ครม. ได้รับทราบ รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ของกระทรวงการคลัง โดยรายงานระบุว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การบริโภคภาคเอกชนเริ่มทยอยฟื้นตัว แต่ยังอยู่ในระดับต่ำตามรายได้ครัวเรือนที่ลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอ และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนหดตัวตามความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ แต่การใช้จ่ายภาครัฐ ยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ในส่วนการบริโภคภาคเอกชน ยังมีปัจจัยฉุดรั้งจากหนี้ครัวเรือนสูง รายได้ครัวเรือนที่เปราะบางและไม่แน่นอนสูง
สำหรับเศรษฐกิจไทย ทั้งปี 2563 มีแนวโน้มหดตัว ร้อยละ 7.8 เนื่องจากเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการควบคุมโควิด-19 ในส่วนของการส่งออกสินค้า มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 8.2 โดยการส่งออกไปอาเซียนและตะวันออกกลาง ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การส่งออกไปกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก และจีนเริ่มทยอยฟื้นตัว
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัว ร้อยละ 3.6 คาดว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 ขณะที่เสถียรภาพระบบการเงินไทย ยังมีความเสี่ยงสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมากจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบาง และมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ถึงจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง