ผู้จัดการรายวัน 360 - ตลาดหุ้นส่งท้ายปี 63 ปิดที่ 1,449 จุด ลดลง 7.32% ต่างชาติทิ้งรวมทั้งปีกว่า 2.6 แสนล้านบาท ธปท.จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยง การระบาดรอบใหม่ของโควิด-19-มาตรการปิดเมืองต่างประเทศ-ตลาดแรงงานยังมีจุดเปราะบาง รับเป็นความเสี่ยงกดดันเศรษฐกิจไทยระยะข้างหน้า ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ พ.ย.63 ทยอยฟื้นตัวดีขึ้น แต่ยังไม่ทั่วถึง ภาคการผลิตอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเป็นบวกในรอบ 19 เดือนอยู่ที่ 0.4% การส่งออกหดตัวน้อยลงเหลือ 3.1%
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (30 ธ.ค.) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี 2563 ดัชนีตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนรุนแรง โดยเปิดซื้อขายช่วงเช้าในแดนบวก และไต่ระดับขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 1,479.04 จุด ก่อนจะมีแรงเทขายออกมาก่อนปิดการซื้อขายช่วงเช้าทำให้ดัชนีลงมาอยู่ในแดนลบ หลังจากนั้นเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แตะระดับต่ำสุดที่ 1,445.36 จุด และปิดการซื้อขายประจำวันที่ 1,449.35 จุด ลดลง 12.60 จุด หรือ 0.86% มูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 87,544.52 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 510.53 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 911.30 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 917.27 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 516.50 ล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปี (1 ม.ค.-30 ธ.ค. 63) นักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทยสุทธิรวมกว่า 264,385.79 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม อยู่ที่ 16.11 ล้านล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ราคาปิดที่ 486.00 บาท เพิ่มขึ้น 48.00 บาท หรือ 10.96% มูลค่าการซื้อขาย 11,205.69 ล้านบาท บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ปิดที่ 73.75 บาท ลดลง 2.00 บาท หรือ 2.64% มูลค่า 3,367.54 ล้านบาท และบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ปิดที่ 76.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 บาท หรือ 4.11% มูลค่า 3,036.62 ล้านบาท
ธปท.เกาะติด 3 ปัจจัยผลพวงโควิดรอบใหม่
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเศรษฐกิจและการเงินในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง และหลายเครื่องชี้เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยธปท.ต้องติดตามสัญญาณการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าผ่าน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1.การระบาดรอบใหม่ของไวรัสโควิด-19 จะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ เพราะมีคนติดเชื้อค่อนข้างสูง จึงต้องดูการกระจายติดเชื้อและความรุนแรงและการจำกัดการแพร่ระบาด แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะปรับลดลง แต่ไม่ลึกเท่าช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ในแง่การประเมินผลกระทบ จะเห็นว่าธปท.มีการประเมินอยู่ตลอดเวลา และมีการใส่เรื่องของโควิด-19 ไว้ในประมาณการระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่จบจึงต้องติดตามต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
2.การใช้มาตรการปิดเมืองของต่างประเทศจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งสะท้อนผ่านมาตรการดูแลแพร่ระบาด ซึ่งจะเห็นว่านับตั้งแต่เดือนธันวาคมหลายประเทศมีมาตรการเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะติดตามดูว่ามีผลต่อกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งหากรุนแรงมากขึ้นจะกระทบเศรษฐกิจคู่ค้าและภาคการส่งออกของไทยที่กำลังขยายตัวได้ดีขึ้น
3.ความต่อเนื่องการฟื้นตัวตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แม้ว่าจะมีสัญญาณปรับดีขึ้น แต่ยังมีบางจุดที่มีความเปราะบางบางจุด และมีความไม่ทั่วถึง โดยตัวเลขอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 7.8 แสนคน ลดลดจากเดือนตุลาคมอยู่ที่ 8.1 แสนคน และหากดูตัวเลขสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานอยู่ที่ 4.7 แสนคน จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 4.9 แสนคน ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงที่ผ่านมาจะมีแรงงานนอกระบบเข้ามาหางานทำ และสามารถหางานทำได้บ้างส่วน และหากดูตัวเลขผู้เสมือนการว่างงานที่ทำงานต่ำกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน จะพบว่าปรับลดลงจากเดือนตุลาคมอยู่ที่ 2.5 ล้านคน มาอยู่ที่ 2.2 ล้านคนในเดือนพฤศจิกายน
“หากดูผลกระทบของเศรษฐกิจต่อโควิด-19 รอบใหม่ถือว่ามีผลกระทบท้านระดับหนึ่ง เพราะเดิมเศรษฐกิจอยู่กับภาคการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วน 11% ของจีดีพี และนักท่องเที่ยวหายไปค่อนข้างเยอะ แต่จะเห็นว่าเศรษฐกิจที่คาดการณ์อยู่ที่ -6.6% และตลาดแรงงานก็มีความยืดหยุ่นไม่ได้เปลี่ยนไป และภาครัฐก็ดูแลไม่ให้มีผลกระทบและสามารถผ่านไปได้ไม่ได้รุนแรงเหมือนรอบแรก อย่างไรก็ดี การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อน หรือ Dobble-Dip recession นั้นอาจจะต้องรอรายงานนโยบายการเงิน เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 อาจจะยังไม่เห็นอะไรมาก และทั้งหมดถือว่าทำได้ค่อนข้างดี”
ภาคการผลิตฟื้นตัวเป็นบวกในรอบ 19 เดือน
นางสาวชญาวดี กล่าวเพิ่มเติมถึงตัวเศรษฐกิจและการเงินในเดือนพ.ย. 63 ว่า เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจหลายตัวทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง และยังไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ดี หากดูการผลิตภาคอุตสาหกรรม จะพบว่า กลับมาขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อยในรอบ 19 เดือนอยู่ที่ 0.4% โดยกลุ่มที่ขยายตัวได้ดี จะเป็นภาคยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวจากโปรโมชั่นและฐานที่ต่ำในปีก่อนจากปัจจัยสงครามการค้าช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมที่ยังเป็นตัวฉุดรั้งจะเป็นเครื่องดื่มจากกิจกรรมที่ลดลง และการเร่งผลิตไปก่อนหน้านี้
ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยตัวเลขมูลค่าการส่งออกหดตัวลดลงเหลือ -3.1% จาก -5.6% เมื่อเทียบก่อนหน้า ซึ่งหมวดที่ส่งออกได้ดีจะเป็นรถยนต์ เกษตรที่ส่งสินค้ายางพาราไปจีนและอาเซียน รวมถึงปิโตรเลียมหลังจากไตรมาสที่ 4 ปีก่อนมีเรื่องปิดโรงกลั่น แต่ตัวที่ยังหดตัวจะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการส่งออกไปก่อนหน้า
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (30 ธ.ค.) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี 2563 ดัชนีตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวนรุนแรง โดยเปิดซื้อขายช่วงเช้าในแดนบวก และไต่ระดับขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่ 1,479.04 จุด ก่อนจะมีแรงเทขายออกมาก่อนปิดการซื้อขายช่วงเช้าทำให้ดัชนีลงมาอยู่ในแดนลบ หลังจากนั้นเคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แตะระดับต่ำสุดที่ 1,445.36 จุด และปิดการซื้อขายประจำวันที่ 1,449.35 จุด ลดลง 12.60 จุด หรือ 0.86% มูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 87,544.52 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 510.53 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 911.30 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 917.27 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 516.50 ล้านบาท ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปี (1 ม.ค.-30 ธ.ค. 63) นักลงทุนต่างชาติ ขายหุ้นไทยสุทธิรวมกว่า 264,385.79 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม อยู่ที่ 16.11 ล้านล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ราคาปิดที่ 486.00 บาท เพิ่มขึ้น 48.00 บาท หรือ 10.96% มูลค่าการซื้อขาย 11,205.69 ล้านบาท บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ปิดที่ 73.75 บาท ลดลง 2.00 บาท หรือ 2.64% มูลค่า 3,367.54 ล้านบาท และบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ STGT ปิดที่ 76.00 บาท เพิ่มขึ้น 3.00 บาท หรือ 4.11% มูลค่า 3,036.62 ล้านบาท
ธปท.เกาะติด 3 ปัจจัยผลพวงโควิดรอบใหม่
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตัวเศรษฐกิจและการเงินในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง และหลายเครื่องชี้เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยธปท.ต้องติดตามสัญญาณการฟื้นตัวในระยะข้างหน้าผ่าน 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1.การระบาดรอบใหม่ของไวรัสโควิด-19 จะมีผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ เพราะมีคนติดเชื้อค่อนข้างสูง จึงต้องดูการกระจายติดเชื้อและความรุนแรงและการจำกัดการแพร่ระบาด แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะปรับลดลง แต่ไม่ลึกเท่าช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ในแง่การประเมินผลกระทบ จะเห็นว่าธปท.มีการประเมินอยู่ตลอดเวลา และมีการใส่เรื่องของโควิด-19 ไว้ในประมาณการระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่จบจึงต้องติดตามต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น
2.การใช้มาตรการปิดเมืองของต่างประเทศจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งสะท้อนผ่านมาตรการดูแลแพร่ระบาด ซึ่งจะเห็นว่านับตั้งแต่เดือนธันวาคมหลายประเทศมีมาตรการเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะติดตามดูว่ามีผลต่อกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งหากรุนแรงมากขึ้นจะกระทบเศรษฐกิจคู่ค้าและภาคการส่งออกของไทยที่กำลังขยายตัวได้ดีขึ้น
3.ความต่อเนื่องการฟื้นตัวตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แม้ว่าจะมีสัญญาณปรับดีขึ้น แต่ยังมีบางจุดที่มีความเปราะบางบางจุด และมีความไม่ทั่วถึง โดยตัวเลขอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 7.8 แสนคน ลดลดจากเดือนตุลาคมอยู่ที่ 8.1 แสนคน และหากดูตัวเลขสัดส่วนผู้ขอรับสิทธิว่างงานอยู่ที่ 4.7 แสนคน จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 4.9 แสนคน ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงที่ผ่านมาจะมีแรงงานนอกระบบเข้ามาหางานทำ และสามารถหางานทำได้บ้างส่วน และหากดูตัวเลขผู้เสมือนการว่างงานที่ทำงานต่ำกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน จะพบว่าปรับลดลงจากเดือนตุลาคมอยู่ที่ 2.5 ล้านคน มาอยู่ที่ 2.2 ล้านคนในเดือนพฤศจิกายน
“หากดูผลกระทบของเศรษฐกิจต่อโควิด-19 รอบใหม่ถือว่ามีผลกระทบท้านระดับหนึ่ง เพราะเดิมเศรษฐกิจอยู่กับภาคการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วน 11% ของจีดีพี และนักท่องเที่ยวหายไปค่อนข้างเยอะ แต่จะเห็นว่าเศรษฐกิจที่คาดการณ์อยู่ที่ -6.6% และตลาดแรงงานก็มีความยืดหยุ่นไม่ได้เปลี่ยนไป และภาครัฐก็ดูแลไม่ให้มีผลกระทบและสามารถผ่านไปได้ไม่ได้รุนแรงเหมือนรอบแรก อย่างไรก็ดี การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อน หรือ Dobble-Dip recession นั้นอาจจะต้องรอรายงานนโยบายการเงิน เนื่องจากในไตรมาสที่ 4 อาจจะยังไม่เห็นอะไรมาก และทั้งหมดถือว่าทำได้ค่อนข้างดี”
ภาคการผลิตฟื้นตัวเป็นบวกในรอบ 19 เดือน
นางสาวชญาวดี กล่าวเพิ่มเติมถึงตัวเศรษฐกิจและการเงินในเดือนพ.ย. 63 ว่า เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจหลายตัวทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง และยังไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ดี หากดูการผลิตภาคอุตสาหกรรม จะพบว่า กลับมาขยายตัวเป็นบวกเล็กน้อยในรอบ 19 เดือนอยู่ที่ 0.4% โดยกลุ่มที่ขยายตัวได้ดี จะเป็นภาคยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวจากโปรโมชั่นและฐานที่ต่ำในปีก่อนจากปัจจัยสงครามการค้าช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ภาคอุตสาหกรรมที่ยังเป็นตัวฉุดรั้งจะเป็นเครื่องดื่มจากกิจกรรมที่ลดลง และการเร่งผลิตไปก่อนหน้านี้
ขณะที่ภาคการส่งออกยังคงเห็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยตัวเลขมูลค่าการส่งออกหดตัวลดลงเหลือ -3.1% จาก -5.6% เมื่อเทียบก่อนหน้า ซึ่งหมวดที่ส่งออกได้ดีจะเป็นรถยนต์ เกษตรที่ส่งสินค้ายางพาราไปจีนและอาเซียน รวมถึงปิโตรเลียมหลังจากไตรมาสที่ 4 ปีก่อนมีเรื่องปิดโรงกลั่น แต่ตัวที่ยังหดตัวจะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการส่งออกไปก่อนหน้า