ผู้จัดการรายวัน360-“บิ๊กตู่” เผยรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายยังไม่เข้า ครม. รอมหาดไทยถกฝ่ายเกี่ยวข้อง ยึดผลประโยชน์ประชาชนเป็นสำคัญ “ศักดิ์สยาม”ยันไม่มีประเด็นการเมือง ไม่ขวางใคร ปมความเห็น 4 ข้อ ต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นไปตามหน้าที่ มุ่งให้ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติครม.อย่างถูกต้องและครบถ้วน ไม่อยากปวดหัวทีหลัง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ว่า ได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ ซึ่งรัฐบาลยึดหลักผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ ใครที่วิพากษ์วิจารณ์ขอฝากให้ไปดูว่ารถไฟฟ้ามีกี่ช่วง มีช่วงที่ 1 ช่วงที่ 2 ช่วงที่ 3 และปัญหาอยู่ที่ว่าใครจะทำ จะจ้างใคร งบประมาณของกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีหรือไม่ ที่ผ่านมา ขาดทุนเพราะอะไร และระยะที่ 1 และ 2 ก็ไม่ได้เริ่มในสมัยตน วันนี้ก็ต้องพิจารณาตลอดสาย เพื่อให้ความเป็นธรรม เพื่อประชาชนได้ประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลง หากไปเปรียบเทียบกับสายอื่น ก็เป็นคนละแบบ มันจะต้องดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดูความเป็นมา หลักการ และเหตุผล เรื่องนี้ยังไม่มีการหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทย ไปทำข้อพิจารณาเพิ่มเติมขึ้นมา โดยการหารือร่วมกับหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงคมนาคม กทม. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีเขียว คือ หนี้ที่ค้างอยู่ จะทำอย่างไรในระยะที่ 1 เพราะวันนี้หากเดินต่อไป หนี้ก็จะครอบไปเรื่อยๆ แล้ววันข้างหน้าจะแก้ไขอย่างไร ให้ลองไปคิดดูแล้วกัน ก็ไปช่วยกัน ถ้าใครมีวิธีการอื่นที่ดีกว่า ให้เสนอเข้ามาเลย รัฐบาลจะนำไปพิจารณา แต่ถ้าไปพูดให้เสียหายก็แก้อะไรไม่ได้เหมือนเดิม รัฐบาลนี้ก็รับแก้ปัญหามาตลอด ก็ขอให้เห็นใจหน่อยก็แล้วกัน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอความเห็นกรณีการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวไปตั้งแต่แรกแล้วว่าให้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบกฎหมาย มติครม. และหลักธรรมาภิบาล โดยได้มีการทำรายละเอียดเพิ่มเติมจากความเห็นเดิมที่เคยให้ไว้ ซึ่งต้องถามว่า ตอนนี้ได้ทำถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือยัง และขณะนี้ ยังไม่เห็นรายละเอียดตามที่ได้ตั้ง 4 คำถามไป เช่น กรณีอัตราค่าโดยสาร 65 บาท เรื่องคำสั่งมาตรา 44 เป็นต้น ซึ่งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) มีฐานะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ส่วนกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็น Operator ดังนั้น กรมราง ต้องทำหน้าที่ ซึ่งมีข้อมูลจากค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งการคิดค่าโดยสาร มีสูตรในการคิดคำนวณ
ส่วนกรณีที่มองกันว่า เรื่องนี้เป็นเกมการเมือง อีกทั้งบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยังมีกรณีฟ้องร้องกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการปรับเงื่อนไขประมูลโครงการรถไฟฟ้าสีส้มนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้ขวางลำใคร และไม่เห็นจะประเด็นตรงไหน เพราะบีทีเอส ได้เข้าร่วมยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ และล่าสุดบีทีเอสได้เสนอเรื่องการต่อใบอนุญาตบริษัททางการบิน ซึ่งคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ก็ได้อนุมัติให้ไปตามขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของกระทรวงคมนาคม ทำไปตามหลักการ และความเห็นที่ส่งไปที่เลขาธิการ ครม. เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ก่อนประชุม ครม. วันที่ 17 พ.ย. เพียงวันเดียวนั้น เรื่องนี้ไม่ทราบว่าจะมีการเสนอวาระจร เรื่องสัญญาสายสีเขียวต่อ ครม. ในวันที่ 17 พ.ย. ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมทำตามขั้นตอน ดังนั้น คงต้องรอข้อมูลที่ทางกทม. และมหาดไทยชี้แจงรายละเอียด เชื่อว่าจะตอบโจทย์ได้ เพราะการทำงานร่วมกัน ไม่มีปัญหา ไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะจะเป็นกันพูดกันคนละที โดยยังไม่มีข้อมูลในมือ ทำให้บอกไม่ได้ว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ เรื่องนี้หากทำให้ชัดเจน จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ว่า ได้ดำเนินการสร้างการรับรู้ ซึ่งรัฐบาลยึดหลักผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ ใครที่วิพากษ์วิจารณ์ขอฝากให้ไปดูว่ารถไฟฟ้ามีกี่ช่วง มีช่วงที่ 1 ช่วงที่ 2 ช่วงที่ 3 และปัญหาอยู่ที่ว่าใครจะทำ จะจ้างใคร งบประมาณของกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีหรือไม่ ที่ผ่านมา ขาดทุนเพราะอะไร และระยะที่ 1 และ 2 ก็ไม่ได้เริ่มในสมัยตน วันนี้ก็ต้องพิจารณาตลอดสาย เพื่อให้ความเป็นธรรม เพื่อประชาชนได้ประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลง หากไปเปรียบเทียบกับสายอื่น ก็เป็นคนละแบบ มันจะต้องดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดูความเป็นมา หลักการ และเหตุผล เรื่องนี้ยังไม่มีการหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นเรื่องของกระทรวงมหาดไทย ไปทำข้อพิจารณาเพิ่มเติมขึ้นมา โดยการหารือร่วมกับหลายกระทรวง ทั้งกระทรวงคมนาคม กทม. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญของรถไฟฟ้าสายสีเขียว คือ หนี้ที่ค้างอยู่ จะทำอย่างไรในระยะที่ 1 เพราะวันนี้หากเดินต่อไป หนี้ก็จะครอบไปเรื่อยๆ แล้ววันข้างหน้าจะแก้ไขอย่างไร ให้ลองไปคิดดูแล้วกัน ก็ไปช่วยกัน ถ้าใครมีวิธีการอื่นที่ดีกว่า ให้เสนอเข้ามาเลย รัฐบาลจะนำไปพิจารณา แต่ถ้าไปพูดให้เสียหายก็แก้อะไรไม่ได้เหมือนเดิม รัฐบาลนี้ก็รับแก้ปัญหามาตลอด ก็ขอให้เห็นใจหน่อยก็แล้วกัน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอความเห็นกรณีการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวไปตั้งแต่แรกแล้วว่าให้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามระเบียบกฎหมาย มติครม. และหลักธรรมาภิบาล โดยได้มีการทำรายละเอียดเพิ่มเติมจากความเห็นเดิมที่เคยให้ไว้ ซึ่งต้องถามว่า ตอนนี้ได้ทำถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือยัง และขณะนี้ ยังไม่เห็นรายละเอียดตามที่ได้ตั้ง 4 คำถามไป เช่น กรณีอัตราค่าโดยสาร 65 บาท เรื่องคำสั่งมาตรา 44 เป็นต้น ซึ่งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) มีฐานะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ส่วนกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็น Operator ดังนั้น กรมราง ต้องทำหน้าที่ ซึ่งมีข้อมูลจากค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ซึ่งการคิดค่าโดยสาร มีสูตรในการคิดคำนวณ
ส่วนกรณีที่มองกันว่า เรื่องนี้เป็นเกมการเมือง อีกทั้งบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยังมีกรณีฟ้องร้องกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ในเรื่องการปรับเงื่อนไขประมูลโครงการรถไฟฟ้าสีส้มนั้น ยืนยันว่า ไม่ได้ขวางลำใคร และไม่เห็นจะประเด็นตรงไหน เพราะบีทีเอส ได้เข้าร่วมยื่นซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มได้ และล่าสุดบีทีเอสได้เสนอเรื่องการต่อใบอนุญาตบริษัททางการบิน ซึ่งคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ก็ได้อนุมัติให้ไปตามขั้นตอน
อย่างไรก็ตาม ความเห็นของกระทรวงคมนาคม ทำไปตามหลักการ และความเห็นที่ส่งไปที่เลขาธิการ ครม. เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ก่อนประชุม ครม. วันที่ 17 พ.ย. เพียงวันเดียวนั้น เรื่องนี้ไม่ทราบว่าจะมีการเสนอวาระจร เรื่องสัญญาสายสีเขียวต่อ ครม. ในวันที่ 17 พ.ย. ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมทำตามขั้นตอน ดังนั้น คงต้องรอข้อมูลที่ทางกทม. และมหาดไทยชี้แจงรายละเอียด เชื่อว่าจะตอบโจทย์ได้ เพราะการทำงานร่วมกัน ไม่มีปัญหา ไม่อยากพูดอะไรมาก เพราะจะเป็นกันพูดกันคนละที โดยยังไม่มีข้อมูลในมือ ทำให้บอกไม่ได้ว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ เรื่องนี้หากทำให้ชัดเจน จะได้ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง