ผู้จัดการรายวัน360- "จอน" แจงหลักการ ร่างไอลอว์ อ้างประเทศกำลังเปลี่ยนแปลง คนรุ่นใหม่รอไม่ได้ ต้องแก้ รธน.60 ที่ออกแบบให้ คสช.ครองอำนาจ ยอมรับรับเงินต่างชาติ แต่ไม่ถูกบงการ "ไพบูลย์" ซัดกลุ่มไอลอว์ รับเงินต่างชาติ ไม่ควรเสนอแก้ไขรธน. ตั้งข้อสังเกตมีการเปิดทางคนถูกตัดสิทธิ์การเมืองร่วมเป็น ส.ส.ร.ได้ ชี้เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันฯ สมรู้ร่วมคิดคณะราษฎร 63 ส.ว.อัดซ้ำ เนื้อหาร่างไอลอว์ ขัดแย้งกันเอง ข้องใจทำไมไม่ห้ามแตะ หมวด1 หมวด 2
วานนี้ (17พ.ย.) มีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยในช่วงเช้า เป็นการรายงาน และอภิปรายถึงผลการศึกษาของคณะกมธ.พิจารณาร่าง รธน.แก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ
กระทั่งช่วงบ่าย เวลา 15.30น. จึงเริ่มพิจารณาร่างแก้ไขรธน. ที่เสนอโดยภาคประชาชน หรือ ฉบับไอลอว์ โดยนายจอน อึ้งภากรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย ชี้แจงหลักการของร่างว่า ร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ ไม่ใช่ของไอลอว์ แต่เป็นของประชาชน ที่ร่วมลงชื่อภายในเวลา 1 เดือน ที่ได้รับรอง 98,824 ชื่อ สาเหตุที่ต้องแก้ไข เพราะรธน. ออกแบบให้คสช. มีอำนาจอยู่
ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่รอไม่ได้แล้ว เพราะต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย เราจึงตั้งโต๊ะให้ประชาชนมาลงชื่อ ซึ่งประชาชนกระตือรือร้นในการลงชื่อเป็นจำนวนมาก
ต่อมา นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอว์ ในฐานะผู้แทนริเริ่มเสนอกฎหมาย กล่าวว่า เรามีความฝัน 5 ข้อ ได้แก่ 1.ฝันว่าจะมีการปกครองที่ประชาชนเลือกนายกฯ และผู้นำประเทศได้ อย่างน้อยด้วยการเลือกทางอ้อมผ่านสมาชิกรัฐสภาที่มาจากประชาชน 2.ฝันว่าจะได้อยู่ในประเทศที่รัฐบาลโปร่งใส 3.ฝันว่าจะอยู่ในประเทศที่ประชาชนกำหนดอนาคตของตัวเอง ผู้สมัครเลือกตั้ง ต้องแถลงนโยบายว่าจะพาประเทศไปทางไหน และให้ประชาชนเลือก 4.ฝันว่าจะอยู่ในประเทศที่กระบวนการยุติธรรมเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการยกเว้นความผิดให้กับใคร และ 5.ฝันว่าจะอยู่ในกติกาสูงสุดที่รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขียนขึ้นโดยประชาชน
"ไพบูลย์"ชำแหละร่าง ไอลอว์
จากนั้น สมาชิกรัฐสภา ทยอยอภิปรายแสดงความเห็น โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปราย ร่างแก้ไขรธน.ของกลุ่มไอลอว์ โดยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นกลุ่มที่ได้รับทุนจากต่างชาติ ซึ่งนายสุชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา เคยกล่าวไว้ว่า ได้รับทุนจากนายจอร์จ โซรอส ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้คนไทยไม่สบายใจ เพราะองค์กรซึ่งต่างชาติสนับสนุน ไม่เหมาะทำงานด้านการเมือง โดยเฉพาะการเสนอร่างแก้ไขรธน. และที่หนักกว่านั้นคือ ประชาชนที่เข้าชื่อ มีแกนนำของคณะราษฎร 63 รวมอยู่ด้วย และเป็นร่างแก้ไขรธน. ที่มีหลักการปฏิรูปสถาบัน 10 ข้อ ที่คณะราษฎร 63 เสนอมาตลอด ซึ่งร่างแก้ไขรธน. ที่เสนอมาไม่ได้กำหนดห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2 ไว้ และเปิดทางให้มีการฟ้องร้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ซึ่งถือว่าขัดต่อรธน. มาตรา 255 และ มาตรา 6 ล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ยังมีการเตรียม ส.ส.ร.ไว้ โดยไม่ห้ามบุคคลที่ติดยาเสพติด ล้มละลาย หรือทุจริต และบุคคลที่ไม่ให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หรืออยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งอดีตกรรมการบริหารพรรคหนึ่งที่ถูกยุบ ไปก็เตรียมมาเป็นส.ส.ร. ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเสนอให้แก้ไขเนื้อหารายมาตรา ซึ่งย้อนแย้งกับการให้ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างทั้งฉบับ จึงมองว่าการเสนอให้มี ส.ส.ร.ตามร่างของฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ครอบคลุมเจตนารมณ์การแก้ไขรธน.อยู่แล้ว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ยืนยันจะลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรธน. ร่างที่ 1 และ ร่างที่ 2 ส่วนบุคคลใดที่สนับสนุนร่างแก้ไขรธน.ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันฯ ก็ขอให้โหวตรับ ร่าง รธน. ของคณะราษฎร 63 หรือองค์กรที่รับเงินต่างชาติอย่าง กลุ่มไอลอว์ แต่หากรักสถาบันฯ ก็ขอให้โหวตเหมือนตนเอง ซึ่งตนเองยืนยัน โหวตคว่ำไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรธน. ฉบับที่ 7 เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย
ส.ว.อัดเนื้อหาร่างไอลอว์ขัดแย้งกันเอง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. อภิปรายว่า ร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ ได้ยกเลิกการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งอาจมีปัญหาที่ขัดแย้งกันเอง เพราะทั้งเรื่องการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ อยู่ในคำปรารภของรธน.60 การเสนอร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ เหมือนกับธรรมนูญการปกครองของคณะรัฐประหาร ที่มีการให้จัดทำกฎหมาย และร่างกฎหมายใหม่ไปในคราวเดียวกัน โดยเฉพาะการยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ที่ได้รับการประกาศใช้โดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่จะกระทำไม่ได้
ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีการจาบจ้วงไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งๆ ที่พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ จึงสงสัยว่า การไม่กำหนดห้ามแก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 มีเจตนาอย่างไร นอกจากนี้ การเลือกตั้งส.ส.ร.โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มการเมืองเข้ามาควบคุมการจัดทำร่างรธน. ผ่านการส่งบุคคลลงเลือกตั้ง ส.ส.ร.
"จอน"อ้างรธน.40 ก็ไม่ห้ามแตะหมวด1-2
ด้านนายจอน ชี้แจงว่า ในประเด็นที่ว่า ทำไมภาคประชาชนไม่ห้าม ส.ส.ร.แก้ไขหมวด1 และ หมวด2 เพราะไม่ว่าจะเป็นรธน. ปี40 หรือปี 50 ไม่เคยมีข้อห้ามไม่ให้แตะ เรามีความเชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หากห้ามตัดตรงนั้น ตรงนี้ มันขัดแย้งกัน เราต้องเชื่อมั่นประชาธิปไตย ตนเชื่อว่าส.ส.ร.ที่ได้รับเลือก จะมีความหลากหลายไม่ต่างจากรัฐสภาแห่งนี้ และจะมีหลายทัศนะความคิด ซึ่งหน้าที่ของ ส.ส.ร. คือไกล่เกลี่ยหาทางออกที่ดีที่สุด โดยดูว่าเสียงส่วนใหญ่ไปทางไหน
นายจอน กล่าวด้วยว่า ตนเชื่อว่าในส่วนของ1 แสนรายชื่อ ที่ลงชื่อรับรองเสนอร่างนี้ ก็จะมีความเห็นที่หลากหลาย สมาชิกหลายคนอาจจะวาดภาพเกินไป เราเชื่อเรื่องสิทธิเสรีภาพ จึงเป็นเหตุที่เราไม่กำหนดว่าห้ามแก้ไขหมวด1 หมวด 2 เรามองว่าต้องไว้ใจประชาชนที่จะนำประเทศไปข้างหน้า เราไม่คิดว่าหมวด1 หมวด 2 แก้ไขไม่ได้เลย อาจต้องมีแก้บางจุด ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขอยู่บ้าง
ส่วนประเด็นที่ว่าเรารับเงินจากต่างประเทศนั้น มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่องค์การพัฒนาเอกชนในไทย รวมถึงสถาบันที่มีชื่อหลายแห่ง จะมีทุนจากหน่วยงานจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้แปลว่ามีการชี้นำ หรือบงการ ตนรับรองได้ในฐานะผู้แทนไอลอว์ว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครสามารถมาบ่งการการทำงานของไอลอว์ได้
ด้าน น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ฐานะผู้ร่วมเสนอร่างของ กลุ่มไอลอว์ กล่าวว่า ตนในฐานะที่อยู่ในวงการองค์กรพัฒนาเอกชนกว่า 30 ปี หลายองค์กรเกิดขึ้นเพราะเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาสังคม หลายๆ องค์กรคงไม่อยากจะไปรับเงินต่างชาติ หากองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐมีความเป็นอิสระ และใจกว้างเพียงพอ ที่จะอนุมัติงบประมาณให้องค์กรที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐ แต่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องแสวงหาแหล่งที่พร้อมสนับสนุนงบประมาณ แต่ไม่ได้เป็นการรับจ้างทำงาน เป็นการเสนอสิ่งที่อยากทำหากแหล่งทุนเห็นชอบร่วมกัน พร้อมยืนยันว่า การรับทุนเป็นไปอย่างโปร่งใส การระบุว่ารับเงินต่างชาติเพื่อให้ต่างชาติแทรกแซง เป็นข้อกล่าวหาที่เกินจริง และข้อกล่าวหานี้ควรจะจบไปแล้ว
วานนี้ (17พ.ย.) มีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยในช่วงเช้า เป็นการรายงาน และอภิปรายถึงผลการศึกษาของคณะกมธ.พิจารณาร่าง รธน.แก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ
กระทั่งช่วงบ่าย เวลา 15.30น. จึงเริ่มพิจารณาร่างแก้ไขรธน. ที่เสนอโดยภาคประชาชน หรือ ฉบับไอลอว์ โดยนายจอน อึ้งภากรณ์ ในฐานะผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย ชี้แจงหลักการของร่างว่า ร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ ไม่ใช่ของไอลอว์ แต่เป็นของประชาชน ที่ร่วมลงชื่อภายในเวลา 1 เดือน ที่ได้รับรอง 98,824 ชื่อ สาเหตุที่ต้องแก้ไข เพราะรธน. ออกแบบให้คสช. มีอำนาจอยู่
ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่รอไม่ได้แล้ว เพราะต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย เราจึงตั้งโต๊ะให้ประชาชนมาลงชื่อ ซึ่งประชาชนกระตือรือร้นในการลงชื่อเป็นจำนวนมาก
ต่อมา นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอว์ ในฐานะผู้แทนริเริ่มเสนอกฎหมาย กล่าวว่า เรามีความฝัน 5 ข้อ ได้แก่ 1.ฝันว่าจะมีการปกครองที่ประชาชนเลือกนายกฯ และผู้นำประเทศได้ อย่างน้อยด้วยการเลือกทางอ้อมผ่านสมาชิกรัฐสภาที่มาจากประชาชน 2.ฝันว่าจะได้อยู่ในประเทศที่รัฐบาลโปร่งใส 3.ฝันว่าจะอยู่ในประเทศที่ประชาชนกำหนดอนาคตของตัวเอง ผู้สมัครเลือกตั้ง ต้องแถลงนโยบายว่าจะพาประเทศไปทางไหน และให้ประชาชนเลือก 4.ฝันว่าจะอยู่ในประเทศที่กระบวนการยุติธรรมเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการยกเว้นความผิดให้กับใคร และ 5.ฝันว่าจะอยู่ในกติกาสูงสุดที่รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขียนขึ้นโดยประชาชน
"ไพบูลย์"ชำแหละร่าง ไอลอว์
จากนั้น สมาชิกรัฐสภา ทยอยอภิปรายแสดงความเห็น โดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปราย ร่างแก้ไขรธน.ของกลุ่มไอลอว์ โดยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นกลุ่มที่ได้รับทุนจากต่างชาติ ซึ่งนายสุชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา เคยกล่าวไว้ว่า ได้รับทุนจากนายจอร์จ โซรอส ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้คนไทยไม่สบายใจ เพราะองค์กรซึ่งต่างชาติสนับสนุน ไม่เหมาะทำงานด้านการเมือง โดยเฉพาะการเสนอร่างแก้ไขรธน. และที่หนักกว่านั้นคือ ประชาชนที่เข้าชื่อ มีแกนนำของคณะราษฎร 63 รวมอยู่ด้วย และเป็นร่างแก้ไขรธน. ที่มีหลักการปฏิรูปสถาบัน 10 ข้อ ที่คณะราษฎร 63 เสนอมาตลอด ซึ่งร่างแก้ไขรธน. ที่เสนอมาไม่ได้กำหนดห้ามแก้ไขหมวด 1 และ 2 ไว้ และเปิดทางให้มีการฟ้องร้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ซึ่งถือว่าขัดต่อรธน. มาตรา 255 และ มาตรา 6 ล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์
นอกจากนี้ยังมีการเตรียม ส.ส.ร.ไว้ โดยไม่ห้ามบุคคลที่ติดยาเสพติด ล้มละลาย หรือทุจริต และบุคคลที่ไม่ให้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หรืออยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งอดีตกรรมการบริหารพรรคหนึ่งที่ถูกยุบ ไปก็เตรียมมาเป็นส.ส.ร. ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเสนอให้แก้ไขเนื้อหารายมาตรา ซึ่งย้อนแย้งกับการให้ส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างทั้งฉบับ จึงมองว่าการเสนอให้มี ส.ส.ร.ตามร่างของฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ครอบคลุมเจตนารมณ์การแก้ไขรธน.อยู่แล้ว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ยืนยันจะลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรธน. ร่างที่ 1 และ ร่างที่ 2 ส่วนบุคคลใดที่สนับสนุนร่างแก้ไขรธน.ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันฯ ก็ขอให้โหวตรับ ร่าง รธน. ของคณะราษฎร 63 หรือองค์กรที่รับเงินต่างชาติอย่าง กลุ่มไอลอว์ แต่หากรักสถาบันฯ ก็ขอให้โหวตเหมือนตนเอง ซึ่งตนเองยืนยัน โหวตคว่ำไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรธน. ฉบับที่ 7 เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย
ส.ว.อัดเนื้อหาร่างไอลอว์ขัดแย้งกันเอง
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. อภิปรายว่า ร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ ได้ยกเลิกการปฏิรูปประเทศ และยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งอาจมีปัญหาที่ขัดแย้งกันเอง เพราะทั้งเรื่องการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ อยู่ในคำปรารภของรธน.60 การเสนอร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ เหมือนกับธรรมนูญการปกครองของคณะรัฐประหาร ที่มีการให้จัดทำกฎหมาย และร่างกฎหมายใหม่ไปในคราวเดียวกัน โดยเฉพาะการยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ที่ได้รับการประกาศใช้โดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่จะกระทำไม่ได้
ในสถานการณ์ปัจจุบัน มีการจาบจ้วงไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งๆ ที่พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้ จึงสงสัยว่า การไม่กำหนดห้ามแก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 มีเจตนาอย่างไร นอกจากนี้ การเลือกตั้งส.ส.ร.โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มการเมืองเข้ามาควบคุมการจัดทำร่างรธน. ผ่านการส่งบุคคลลงเลือกตั้ง ส.ส.ร.
"จอน"อ้างรธน.40 ก็ไม่ห้ามแตะหมวด1-2
ด้านนายจอน ชี้แจงว่า ในประเด็นที่ว่า ทำไมภาคประชาชนไม่ห้าม ส.ส.ร.แก้ไขหมวด1 และ หมวด2 เพราะไม่ว่าจะเป็นรธน. ปี40 หรือปี 50 ไม่เคยมีข้อห้ามไม่ให้แตะ เรามีความเชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หากห้ามตัดตรงนั้น ตรงนี้ มันขัดแย้งกัน เราต้องเชื่อมั่นประชาธิปไตย ตนเชื่อว่าส.ส.ร.ที่ได้รับเลือก จะมีความหลากหลายไม่ต่างจากรัฐสภาแห่งนี้ และจะมีหลายทัศนะความคิด ซึ่งหน้าที่ของ ส.ส.ร. คือไกล่เกลี่ยหาทางออกที่ดีที่สุด โดยดูว่าเสียงส่วนใหญ่ไปทางไหน
นายจอน กล่าวด้วยว่า ตนเชื่อว่าในส่วนของ1 แสนรายชื่อ ที่ลงชื่อรับรองเสนอร่างนี้ ก็จะมีความเห็นที่หลากหลาย สมาชิกหลายคนอาจจะวาดภาพเกินไป เราเชื่อเรื่องสิทธิเสรีภาพ จึงเป็นเหตุที่เราไม่กำหนดว่าห้ามแก้ไขหมวด1 หมวด 2 เรามองว่าต้องไว้ใจประชาชนที่จะนำประเทศไปข้างหน้า เราไม่คิดว่าหมวด1 หมวด 2 แก้ไขไม่ได้เลย อาจต้องมีแก้บางจุด ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขอยู่บ้าง
ส่วนประเด็นที่ว่าเรารับเงินจากต่างประเทศนั้น มันเป็นเรื่องธรรมดา ที่องค์การพัฒนาเอกชนในไทย รวมถึงสถาบันที่มีชื่อหลายแห่ง จะมีทุนจากหน่วยงานจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้แปลว่ามีการชี้นำ หรือบงการ ตนรับรองได้ในฐานะผู้แทนไอลอว์ว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครสามารถมาบ่งการการทำงานของไอลอว์ได้
ด้าน น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ฐานะผู้ร่วมเสนอร่างของ กลุ่มไอลอว์ กล่าวว่า ตนในฐานะที่อยู่ในวงการองค์กรพัฒนาเอกชนกว่า 30 ปี หลายองค์กรเกิดขึ้นเพราะเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาสังคม หลายๆ องค์กรคงไม่อยากจะไปรับเงินต่างชาติ หากองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐมีความเป็นอิสระ และใจกว้างเพียงพอ ที่จะอนุมัติงบประมาณให้องค์กรที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐ แต่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องแสวงหาแหล่งที่พร้อมสนับสนุนงบประมาณ แต่ไม่ได้เป็นการรับจ้างทำงาน เป็นการเสนอสิ่งที่อยากทำหากแหล่งทุนเห็นชอบร่วมกัน พร้อมยืนยันว่า การรับทุนเป็นไปอย่างโปร่งใส การระบุว่ารับเงินต่างชาติเพื่อให้ต่างชาติแทรกแซง เป็นข้อกล่าวหาที่เกินจริง และข้อกล่าวหานี้ควรจะจบไปแล้ว