ผู้จัดการรายวัน360-“บิ๊กตู่”ขอเลือดรักชาติ ปัญญา เสนอทางออกประเทศ หลังเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ห่วงไม่อยากให้เกิดจลาจล ชี้การเปลี่ยนแปลงต้องมีจุดสมดุล ฝ่ายค้านซัดนายกฯ ต้นตอวิกฤต แนะต้องลาออก ปล่อยแกนนำม็อบ แก้รัฐธรรมนูญ ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ “ก้าวไกล”ฉะเดือด “ประยุทธ์” หยุดเอาสถาบันฯ มารักษาอำนาจและปกปิดความล้มเหลวในการบริหารประเทศ “จุรินทร์” แนะตั้งกรรมการร่วมหาทางออกที่เป็นรูปธรรม “ไพบูลย์” ท้าทำประชามติเห็นด้วยกับการชุมนุมหรือไม่ “วิษณุ”ยันแก้รัฐธรรมนูญดำเนินการแล้ว ถามกลับสภาผิดอะไรถึงต้องยุบ ส่วนนายกฯ ลาออก ระวังเจอทางตัน
วานนี้ (26 ต.ค.) มีการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อหาทางออกประเทศจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นำทีมครม. เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวเปิดญัตติการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญว่า สถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นรัฐบาลพยายามดูแลสถานการณ์ให้ดีที่สุด ใช้กฎหมายอะลุ้มอล่วย ผ่อนผันมาตลอด แต่การชุมนุมยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้การชุมนุมจะมีเสรีภาพได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐต้องใช้อำนาจเข้าควบคุมการชุมนุมที่ผิดกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้น เรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพ
สำหรับข้อเรียกร้อง 3 ข้อของผู้ชุมนุมหลายเรื่องอยู่ในขั้นตอนดำเนินการอยู่แล้ว และเริ่มมีการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวหลายราย หลายครั้งที่การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่บางแห่งมีความรุนแรงเกิดขึ้น ปฏิบัติในสิ่งไม่สมควร รัฐบาลไม่อยากให้เกิดการปะทะ จลาจลในบ้านเมือง สิ่งที่มั่นใจ คือ คนไทยแม้จะมีมุมมองด้านการเมืองแบบใด แต่ทุกคนรักชาติ รักวัฒนธรรม รากเหง้า คุณค่าความเป็นไทย และรู้ว่าทุกคนต้องการอนาคตที่ดีแก่ประชาชน และประเทศ เราต้องหาหนทางพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น อย่างมีหลักการเหตุผล อยู่ใต้กรอบกฎหมาย ไม่ทำลายอดีตที่มีคุณค่าของประเทศที่หยั่งรากลึกเข้าไปในใจของคนไทย
“ในนามรัฐบาลรู้ว่าทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ต้องยอมรับคนไทยหลาย 10 ล้านคน ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่วุ่นวาย สับสนอลหม่าน ทุกคนมีความเชื่อของตัวเอง จึงต้องมีความสมดุลระหว่างความต้องการของตนเองกับคนอื่นด้วย หวังว่า ทุกคนจะใช้เวลา 2 วัน ในรัฐสภา รวบรวมสติปัญญา ความคิด เลือดรักชาติทุกหยดร่วมกันคิด ให้เดินหน้าไปสู่อนาคตที่ดี ปกป้องอดีตที่มีคุณค่าไว้ด้วย หากสมาชิกรัฐสภามีข้อเสนอที่ปฏิบัติได้ เป็นประโยชน์ ไม่เกิดปัญหาใหม่แทรกซ้อนมา รัฐบาลจะรับไปดำเนินการ ส่วนตัวเชื่อว่าพื้นฐานสังคมไทย คือ ความห่วงใยกัน แม้จะมีเรื่องไม่เห็นด้วยกันบ้าง แต่เราก็ยังรักกันตลอดไป”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พท.ซัดนายกฯ ต้นตอปัญหา
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายว่า การบริหารจัดการปัญหาภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จะยิ่งนำพาไปสู่สถานการณ์ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะมาจากถ้อยคำ การกระทำ และมาตรการต่างๆ ที่ออกมา ล้วนแล้วแต่เป็นการราดน้ำมันลงไปในกองเพลิง อีกทั้งประเด็นข้อเรียกร้อง ล้วนเกิดมาจากเงื่อนที่รัฐบาลชุดนี้ผูกไว้ ขาดความชอบธรรมตั้งแต่การเข้ามาสู่อำนาจ การสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจของตน
“ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลชุดนี้ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จนต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องโดยสันติอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการสั่งการภายใต้ความรับผิดชอบโดยตรงของนายกฯ ทำให้มีการกระทำรุนแรง สลายการชุมนุมของประชาชน อีกทั้งมีการจับกุมคุมขัง ตั้งข้อกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม จึงต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว ไม่ดึงเวลา ปล่อยตัวนักศึกษาและประชาชนที่ถูกคุมขัง ยุติการปิดกั้นสื่อ ยุติการใช้กฎหมายดำเนินคดีผู้เห็นต่าง และที่สำคัญนายกฯ ต้องลาออก”นายสมพงษ์กล่าว
บี้นายกฯ ต้องลาออกสถานเดียว
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออก และเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นให้ยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ ถ้าเลือกยุบสภาฯ ตอนนี้ ผลก็คือแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ ความขัดแย้งยังอยู่ นายกฯ ต้องเสียสละ เพื่อประเทศชาติและประชาชน
หยุดเอาสถาบันฯ มารักษาอำนาจ
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า การกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมขวางขบวนเสด็จ ทั้งที่รัฐบาลเป็นผู้ถวายการอารักขาความเรียบร้อยในการเสด็จ และผู้ชุมนุมก็หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นแล้ว แสดงว่า รัฐบาลไม่ได้สำนึกถึงความผิดพลาดของตนเอง แต่ไปใส่ร้ายผู้ชุมนุม นำไปสู่คดีความที่มีโทษถึงประหารชีวิต เติมเชื้อไฟในสังคม นายกฯ ต้องหยุดเอาความจงรักภักดีมากอดตัวเอง หยุดผูกมัดเอาสถาบันฯ ไว้กับปัญหาที่ตัวเองเป็นคนก่อ เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจ และปกปิดความล้มเหลว หยุดสะกดจิตตัวเองว่าไม่ผิด และยอมลาออก เปิดทางให้คนที่เห็นคนเท่าเทียมกันเข้ามาทำงาน เพื่อหาทางออกและฉันทามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคืนอำนาจให้กับประชาชน
ซัด “บิ๊กตู่” เสพติดอำนาจ
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย อภิปรายว่า รัฐบาลควรให้แก้รัฐธรรมนูญ โดยนำร่างฉบับประชาชนเป็นหลักในการพิจารณา แก้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องหมวดสถาบันฯ แต่พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออก เพื่อเปิดทางให้การแก้รัฐธรรมนูญง่ายขึ้น ต้องรู้จักพอ อย่าเสพติดอำนาจ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ลาออก นักศึกษาต้องยุติชุมนุม ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ลาออก ขอให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายจุรินทร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถอนตัวจากรัฐบาลเพื่อให้ประเทศเดินต่อได้
ในช่วงท้าย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ อภิปรายว่า ขณะนี้ไปที่ไหน ได้ยินแต่เพลง I hear too ทำให้นายชวน ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม ตัดบท ขอให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถอนคำพูดทันที เพราะเป็นการคำพูดไม่สุภาพ แต่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยืนยันไม่ถอนคำพูด โดยยอมยุติการอภิปรายของตัวเองลงเพียงเท่านี้
แนะตั้งกรรมการร่วมหาทางออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ อภิปรายว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นต่อการแก้ไขรัธรรมนูญ โดยควรนำร่างแก้ไขเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 1 ทันที และไม่ควรมีเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติมจนสังคมเข้าใจว่าเป็นการยื้อเวลา เพราะรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่าให้ทำประชามติหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านรัฐสภา และก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เท่านั้น และอยากเห็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนรัฐบาล ส.ส.รัฐบาล ส.ส.ฝ่ายค้าน วุฒิสภา ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ฝ่ายที่เห็นต่างกับผู้ชุมนุม และฝ่ายอื่นๆ เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมาหาคำตอบที่เป็นทางออกที่เป็นรูปธรรม อาจจะต้องถอยคนละก้าวสองก้าว และต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว
ท้าทำประชามติ เอา-ไม่เอาม็อบ
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายว่า ขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่ง ทำหน้าที่ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ต่อไป อย่าไปลาออกตามฝ่ายที่เรียกร้อง ซึ่งมีคนเพียงไม่กี่หมื่นคน ท่านต้องคำนึงถึงเสียงประชาชน 8.4 ล้านคน ที่เลือกท่านมาเป็นนายกฯ จึงเสนอให้ใช้การออกเสียงประชามติว่าประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อการชุมนุมในปัจจุบัน โดยมั่นใจว่า 90% ไม่เห็นด้วยกับม็อบ
นักการเมืองนำความขัดแย้งส่งต่อลูกหลาน
นายสมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายว่า ตนได้ไปสังเกตการชุมนุม พบว่า มีมวลชนพรรคการเมืองไปร่วมด้วยพอสมควร ไม่ใช่มีแค่นักเรียน นักศึกษา สาเหตุปัญหา ไม่ใช่แค่ตัวนายกฯ รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันฯ แต่ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากนักการเมืองที่นำความขัดแย้งส่งต่อให้ลูกหลาน
ส.ว.แนะทางออกตั้งส.ส.ร. แก้รธน.
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ส.ว. อภิปรายว่า ทางออกจากวิกฤตครั้งนี้ ต้องหันมาแก้ที่รัฐธรรมนูญ และไม่แปลกถ้าจะมีการตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างใหม่ โดยส.ว.ส่วนหนึ่งคุยกันแล้ว เห็นว่าควรโหวตรับหลักการแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 1 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริง เรื่องนี้ ส.ว.คิดมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาคิดวันนี้ รัฐสภาควรเห็นชอบการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลาย
“วิษณุ”แจงไทม์ไลน์แก้รัฐธรรมนูญ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อตั้งกมธ. อาจตั้งเต็มสภา เพื่อเป็นทางออกหนึ่ง ซึ่งกมธ.พิจารณาไม่เกิน 45 คน ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. เสร็จแล้วต้องทิ้งไว้ 15 วัน ก็คงจะช่วงเดือนธ.ค. เชื่อว่า 3 วาระ น่าจะเสร็จสิ้นได้ แต่ยังประกาศใช้ไม่ได้ เพราะต้องมีการออกเสียงประชามติ จากนั้นนำร่างกฎหมายที่สภาฯ เห็นชอบขึ้นทูลเกล้าฯ ทรงมีเวลาพิจารณา 90 วัน แล้วแต่พระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ลงมาเมื่อไร จากนั้นจึงเอาร่างรัฐธรรมนูญไปสู่การทำประชามติ แต่หากมีการตั้งส.ส.ร. ก็ต้องดำเนินการคัดเลือกแล้ว รูปแบบจะอย่างไรก็แล้วแต่กมธ. จะพิจารณาในวาระ 2
ชี้นายกฯ ลาออก ระวังเจอทางตัน
นายวิษณุกล่าวอีกว่า การลาออกของนายกฯ ฝ่ายกฎหมายได้ทำข้อเสนอมาว่า หากลาออกแล้วจะหานายกฯ คนใหม่จากขั้นตอนใด ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 มีเงื่อนไขว่า นายกฯ คนใหม่ต้องมาจากรายชื่อที่เสนอเอาไว้ตั้งแต่ครั้งเลือกตั้ง ขณะนี้มีอยู่ 5 คน จากเดิม 7 คน ตัดนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพล.อ.ประยุทธ์ ออกไป แต่คนที่จะมาเป็นนายกฯ ต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาที่มีอยู่ในขณะนี้ ซึ่งที่ประชุมมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 732 คน กึ่งหนึ่ง คือ 366 เสียง ต่อให้ ส.ว. งดออกเสียงทั้งหมดตามที่หลายคนเรียกร้อง ก็ต้องหากันมาให้ได้ 366 เสียง หากไม่ได้ ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ก็จะเป็นข้อกฎหมายว่า หากถึงทางตันแล้วจะทำอย่างไร
ส่วนการปฏิรูปสถาบันฯ ไม่ทราบ และไม่เข้าใจจริงๆ ว่า หมายถึงอะไร จึงอยากฟังการอภิปรายของสมาชิกให้ชัดเจน และการยุบสภาฯ มีการพิจารณาเหมือนกัน แต่สภาฯ มีความผิดอะไรถึงจะยุบ เพราะจะต้องเกิดจากความขัดแย้งอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ถึงจะยุบสภาฯ ได้ แต่ถ้าเป็นความประสงค์ และเจตนาร่วมจากหลายฝ่าย นายกฯ คงต้องหารือผู้เกี่ยวข้องต่อไป
วานนี้ (26 ต.ค.) มีการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อหาทางออกประเทศจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง โดยมี นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นำทีมครม. เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยพล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวเปิดญัตติการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญว่า สถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นรัฐบาลพยายามดูแลสถานการณ์ให้ดีที่สุด ใช้กฎหมายอะลุ้มอล่วย ผ่อนผันมาตลอด แต่การชุมนุมยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้การชุมนุมจะมีเสรีภาพได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แต่รัฐต้องใช้อำนาจเข้าควบคุมการชุมนุมที่ผิดกฎหมายที่เป็นข้อยกเว้น เรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพ
สำหรับข้อเรียกร้อง 3 ข้อของผู้ชุมนุมหลายเรื่องอยู่ในขั้นตอนดำเนินการอยู่แล้ว และเริ่มมีการปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวหลายราย หลายครั้งที่การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย แต่บางแห่งมีความรุนแรงเกิดขึ้น ปฏิบัติในสิ่งไม่สมควร รัฐบาลไม่อยากให้เกิดการปะทะ จลาจลในบ้านเมือง สิ่งที่มั่นใจ คือ คนไทยแม้จะมีมุมมองด้านการเมืองแบบใด แต่ทุกคนรักชาติ รักวัฒนธรรม รากเหง้า คุณค่าความเป็นไทย และรู้ว่าทุกคนต้องการอนาคตที่ดีแก่ประชาชน และประเทศ เราต้องหาหนทางพาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น อย่างมีหลักการเหตุผล อยู่ใต้กรอบกฎหมาย ไม่ทำลายอดีตที่มีคุณค่าของประเทศที่หยั่งรากลึกเข้าไปในใจของคนไทย
“ในนามรัฐบาลรู้ว่าทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ต้องยอมรับคนไทยหลาย 10 ล้านคน ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่วุ่นวาย สับสนอลหม่าน ทุกคนมีความเชื่อของตัวเอง จึงต้องมีความสมดุลระหว่างความต้องการของตนเองกับคนอื่นด้วย หวังว่า ทุกคนจะใช้เวลา 2 วัน ในรัฐสภา รวบรวมสติปัญญา ความคิด เลือดรักชาติทุกหยดร่วมกันคิด ให้เดินหน้าไปสู่อนาคตที่ดี ปกป้องอดีตที่มีคุณค่าไว้ด้วย หากสมาชิกรัฐสภามีข้อเสนอที่ปฏิบัติได้ เป็นประโยชน์ ไม่เกิดปัญหาใหม่แทรกซ้อนมา รัฐบาลจะรับไปดำเนินการ ส่วนตัวเชื่อว่าพื้นฐานสังคมไทย คือ ความห่วงใยกัน แม้จะมีเรื่องไม่เห็นด้วยกันบ้าง แต่เราก็ยังรักกันตลอดไป”พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
พท.ซัดนายกฯ ต้นตอปัญหา
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายว่า การบริหารจัดการปัญหาภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จะยิ่งนำพาไปสู่สถานการณ์ที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะมาจากถ้อยคำ การกระทำ และมาตรการต่างๆ ที่ออกมา ล้วนแล้วแต่เป็นการราดน้ำมันลงไปในกองเพลิง อีกทั้งประเด็นข้อเรียกร้อง ล้วนเกิดมาจากเงื่อนที่รัฐบาลชุดนี้ผูกไว้ ขาดความชอบธรรมตั้งแต่การเข้ามาสู่อำนาจ การสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อคงไว้ซึ่งอำนาจของตน
“ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลชุดนี้ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จนต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องโดยสันติอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการสั่งการภายใต้ความรับผิดชอบโดยตรงของนายกฯ ทำให้มีการกระทำรุนแรง สลายการชุมนุมของประชาชน อีกทั้งมีการจับกุมคุมขัง ตั้งข้อกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม จึงต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว ไม่ดึงเวลา ปล่อยตัวนักศึกษาและประชาชนที่ถูกคุมขัง ยุติการปิดกั้นสื่อ ยุติการใช้กฎหมายดำเนินคดีผู้เห็นต่าง และที่สำคัญนายกฯ ต้องลาออก”นายสมพงษ์กล่าว
บี้นายกฯ ต้องลาออกสถานเดียว
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออก และเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นให้ยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ ถ้าเลือกยุบสภาฯ ตอนนี้ ผลก็คือแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ ความขัดแย้งยังอยู่ นายกฯ ต้องเสียสละ เพื่อประเทศชาติและประชาชน
หยุดเอาสถาบันฯ มารักษาอำนาจ
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า การกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมขวางขบวนเสด็จ ทั้งที่รัฐบาลเป็นผู้ถวายการอารักขาความเรียบร้อยในการเสด็จ และผู้ชุมนุมก็หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นแล้ว แสดงว่า รัฐบาลไม่ได้สำนึกถึงความผิดพลาดของตนเอง แต่ไปใส่ร้ายผู้ชุมนุม นำไปสู่คดีความที่มีโทษถึงประหารชีวิต เติมเชื้อไฟในสังคม นายกฯ ต้องหยุดเอาความจงรักภักดีมากอดตัวเอง หยุดผูกมัดเอาสถาบันฯ ไว้กับปัญหาที่ตัวเองเป็นคนก่อ เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจ และปกปิดความล้มเหลว หยุดสะกดจิตตัวเองว่าไม่ผิด และยอมลาออก เปิดทางให้คนที่เห็นคนเท่าเทียมกันเข้ามาทำงาน เพื่อหาทางออกและฉันทามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคืนอำนาจให้กับประชาชน
ซัด “บิ๊กตู่” เสพติดอำนาจ
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย อภิปรายว่า รัฐบาลควรให้แก้รัฐธรรมนูญ โดยนำร่างฉบับประชาชนเป็นหลักในการพิจารณา แก้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องหมวดสถาบันฯ แต่พล.อ.ประยุทธ์ ต้องลาออก เพื่อเปิดทางให้การแก้รัฐธรรมนูญง่ายขึ้น ต้องรู้จักพอ อย่าเสพติดอำนาจ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ลาออก นักศึกษาต้องยุติชุมนุม ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ลาออก ขอให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายจุรินทร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถอนตัวจากรัฐบาลเพื่อให้ประเทศเดินต่อได้
ในช่วงท้าย พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ อภิปรายว่า ขณะนี้ไปที่ไหน ได้ยินแต่เพลง I hear too ทำให้นายชวน ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม ตัดบท ขอให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ถอนคำพูดทันที เพราะเป็นการคำพูดไม่สุภาพ แต่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยืนยันไม่ถอนคำพูด โดยยอมยุติการอภิปรายของตัวเองลงเพียงเท่านี้
แนะตั้งกรรมการร่วมหาทางออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ อภิปรายว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นต่อการแก้ไขรัธรรมนูญ โดยควรนำร่างแก้ไขเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 1 ทันที และไม่ควรมีเงื่อนไขใดๆ เพิ่มเติมจนสังคมเข้าใจว่าเป็นการยื้อเวลา เพราะรัฐธรรมนูญระบุไว้ชัดเจนว่าให้ทำประชามติหลังจากรัฐธรรมนูญผ่านรัฐสภา และก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เท่านั้น และอยากเห็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนรัฐบาล ส.ส.รัฐบาล ส.ส.ฝ่ายค้าน วุฒิสภา ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ฝ่ายที่เห็นต่างกับผู้ชุมนุม และฝ่ายอื่นๆ เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อมาหาคำตอบที่เป็นทางออกที่เป็นรูปธรรม อาจจะต้องถอยคนละก้าวสองก้าว และต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว
ท้าทำประชามติ เอา-ไม่เอาม็อบ
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายว่า ขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่ง ทำหน้าที่ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ต่อไป อย่าไปลาออกตามฝ่ายที่เรียกร้อง ซึ่งมีคนเพียงไม่กี่หมื่นคน ท่านต้องคำนึงถึงเสียงประชาชน 8.4 ล้านคน ที่เลือกท่านมาเป็นนายกฯ จึงเสนอให้ใช้การออกเสียงประชามติว่าประชาชนทั้งประเทศเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อการชุมนุมในปัจจุบัน โดยมั่นใจว่า 90% ไม่เห็นด้วยกับม็อบ
นักการเมืองนำความขัดแย้งส่งต่อลูกหลาน
นายสมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายว่า ตนได้ไปสังเกตการชุมนุม พบว่า มีมวลชนพรรคการเมืองไปร่วมด้วยพอสมควร ไม่ใช่มีแค่นักเรียน นักศึกษา สาเหตุปัญหา ไม่ใช่แค่ตัวนายกฯ รัฐธรรมนูญ หรือสถาบันฯ แต่ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากนักการเมืองที่นำความขัดแย้งส่งต่อให้ลูกหลาน
ส.ว.แนะทางออกตั้งส.ส.ร. แก้รธน.
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ส.ว. อภิปรายว่า ทางออกจากวิกฤตครั้งนี้ ต้องหันมาแก้ที่รัฐธรรมนูญ และไม่แปลกถ้าจะมีการตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างใหม่ โดยส.ว.ส่วนหนึ่งคุยกันแล้ว เห็นว่าควรโหวตรับหลักการแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 1 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สอดคล้องกับโลกความจริง เรื่องนี้ ส.ว.คิดมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาคิดวันนี้ รัฐสภาควรเห็นชอบการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลาย
“วิษณุ”แจงไทม์ไลน์แก้รัฐธรรมนูญ
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อตั้งกมธ. อาจตั้งเต็มสภา เพื่อเป็นทางออกหนึ่ง ซึ่งกมธ.พิจารณาไม่เกิน 45 คน ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. เสร็จแล้วต้องทิ้งไว้ 15 วัน ก็คงจะช่วงเดือนธ.ค. เชื่อว่า 3 วาระ น่าจะเสร็จสิ้นได้ แต่ยังประกาศใช้ไม่ได้ เพราะต้องมีการออกเสียงประชามติ จากนั้นนำร่างกฎหมายที่สภาฯ เห็นชอบขึ้นทูลเกล้าฯ ทรงมีเวลาพิจารณา 90 วัน แล้วแต่พระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ลงมาเมื่อไร จากนั้นจึงเอาร่างรัฐธรรมนูญไปสู่การทำประชามติ แต่หากมีการตั้งส.ส.ร. ก็ต้องดำเนินการคัดเลือกแล้ว รูปแบบจะอย่างไรก็แล้วแต่กมธ. จะพิจารณาในวาระ 2
ชี้นายกฯ ลาออก ระวังเจอทางตัน
นายวิษณุกล่าวอีกว่า การลาออกของนายกฯ ฝ่ายกฎหมายได้ทำข้อเสนอมาว่า หากลาออกแล้วจะหานายกฯ คนใหม่จากขั้นตอนใด ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 มีเงื่อนไขว่า นายกฯ คนใหม่ต้องมาจากรายชื่อที่เสนอเอาไว้ตั้งแต่ครั้งเลือกตั้ง ขณะนี้มีอยู่ 5 คน จากเดิม 7 คน ตัดนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพล.อ.ประยุทธ์ ออกไป แต่คนที่จะมาเป็นนายกฯ ต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้ง 2 สภาที่มีอยู่ในขณะนี้ ซึ่งที่ประชุมมีสิทธิ์ออกเสียงได้ 732 คน กึ่งหนึ่ง คือ 366 เสียง ต่อให้ ส.ว. งดออกเสียงทั้งหมดตามที่หลายคนเรียกร้อง ก็ต้องหากันมาให้ได้ 366 เสียง หากไม่ได้ ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ก็จะเป็นข้อกฎหมายว่า หากถึงทางตันแล้วจะทำอย่างไร
ส่วนการปฏิรูปสถาบันฯ ไม่ทราบ และไม่เข้าใจจริงๆ ว่า หมายถึงอะไร จึงอยากฟังการอภิปรายของสมาชิกให้ชัดเจน และการยุบสภาฯ มีการพิจารณาเหมือนกัน แต่สภาฯ มีความผิดอะไรถึงจะยุบ เพราะจะต้องเกิดจากความขัดแย้งอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ถึงจะยุบสภาฯ ได้ แต่ถ้าเป็นความประสงค์ และเจตนาร่วมจากหลายฝ่าย นายกฯ คงต้องหารือผู้เกี่ยวข้องต่อไป