ผู้จัดการรายวัน360-ม็อบปลดแอกบุกสถานทูตเยอรมัน อ่านแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลเยอรมันตรวจสอบสถาบันฯ ด้านทนายนกเขานำคนเสื้อเหลือง ยื่นหนังสือขอให้รับฟังข้อมูลรอบด้าน “สมศักดิ์”แจงภาพเข้าเรือนจำ นั่งคุย “เพนกวิน-ไมค์-รุ้ง” ทำตามหน้าที่ ปัดต่อรองยุติชุมนุม คณาจารย์และนักศึกษา มธ. หอบหนังสือเรียนเยี่ยม “รุ้ง-เพนกวิน” ศาลอาญายกคำร้องขอปล่อยตัว ชี้ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่ง รวมถึง “สุรนาท” ก็แห้ว อาจารย์ มช. นำนักศึกษาเข้ามอบตัว ศาลเชียงใหม่ให้ประกัน “อานนท์” แต่ถูกอายัดตัวดำเนินคดีต่อทันที “บิณฑ์”ร่ำไห้ลาออกร่วมกตัญญู ยันไม่คิดตบเด็ก แต่ไม่ทนคนจาบจ้วง
วานนี้ (26 ต.ค.) การชุมนุมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎร” ได้นัดรวมตัวกันที่แยกสามย่าน เพื่อเดินขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี โดยทยอยมารวมตัวตั้งแต่เวลา 16.30 น. และเตรียมเคลื่อนขบวนตามเวลานัดหมาย 17.00 น. ไปยังที่ตั้งของสถานทูตเยอรมนี
ต่อมาเวลาประมาณ 17.00 น. พ.ต.อ.พาติกรณ์ ศรชัย ผกก.สน.ปทุมวัน ได้แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การชุมนุมครั้งนี้ ผู้จัดไม่ได้แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะก่อนจัดชุมนุม จึงถือเป็นการฝ่าฝืน ม.10 จึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายสั่งยุติการชุมนุมภายในเวลา 17.30 น. จากนั้นตำรวจจะบันทึกหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุม ยังคงรวมตัวกัน และเริ่มขบวนในเวลา 18.00 น. ไปถึงหน้าสถานทูตเยอรมันเวลา 18.50 น. พร้อมกับตั้งเวที ชูป้ายไวนิลพื้นสีดำพร้อมข้อความ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และเข้ามอบเอกสารให้กับสถานทูต จนเวลา 19.52 น. ได้อ่านแถลงการณ์ เป็นภาษาไทย ตามด้วยภาษาอังกฤษ และเยอรมัน โดยเนื้อหาในแถลงการณ์เป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตรวจสอบสถาบันฯ
วันเดียวกันนี้ กลุ่มประชาชนคนไทย นำโดยนายนิติธร ล้ำเหลือ หรือทนายนกเขา และนายพิชิต ไชยมงคล พร้อมมวลชนที่สวมเสื้อเหลือง ได้เดินทางไปยื่นหนังสือชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทย กรณีที่มีผู้ชุมนุมบางกลุ่มดึงประเทศเยอรมันเข้าสู่เวทีความขัดแย้ง รวมถึงการดึงเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการทำลายร้างระบอบสังคมแบบเดิม จึงขอให้รัฐบาลเยอรมันรับฟังและพิจารณาข้อมูลอย่างถ่องแท้
นายนิติธร กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นักศึกษายุติการชุมนุม และขอให้คนที่อยู่เบื้องหลังผู้ชุมนุมเปิดเผยตัว ส่วนการจะปฏิรูปสถาบันฯ ต้องถามคนไทย 70 ล้านคนด้วย แต่ถ้าอยากเห็นคนที่ต้องการดำรงสถาบันฯ เดี๋ยวจะจัดให้ดู
ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม กล่าวชี้แจงถึงเรื่องภาพนั่งพูดคุยกับนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน, นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ และน.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ว่า เป็นการไปติดตามผลจากการชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่ามีความเสียหาย หรือต้องซ่อมแซมอะไร และได้ใช้โอกาสนี้เข้าไปเยี่ยมในเรือนจำ และได้สอบถามความเป็นอยู่ของแกนนำทั้ง 3 คน ว่าได้รับความสะดวกสบายหรือไม่ โดยได้รับการร้องขอกึ่งเล่าให้ฟังว่าอยากได้หนังสือและเป็นห่วงเรื่องของการสอบ ตนจึงแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และประสานงานกับทางมหาวิทยาลัยให้ส่งหนังสือมาให้ ส่วนการตัดผมของรุ้ง เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นเรื่องความปลอดภัยและการเป็นอยู่ในเรือนจำ โดยยืนยันว่า แกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกคุมขังทั้ง 8 คน อยู่ดีทั้งหมด และไม่ได้มีการเจรจาให้ยุติชุมนุม เป็นการไปดูความเรียบร้อย เป็นห่วงเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ และไม่ได้ถูกขอให้ปล่อยตัว เพราะตนไม่ได้มีอำนาจตรงนี้
วันเดียวกันนี้ นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมน.ส.ปนัสยา และนายพริษฐ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาของธรรมศาสตร์ โดยได้นำตำราเอกสารประกอบการเรียน และหนังสือมามอบให้ พร้อมกับอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาและประชาชนที่ถูกคุมขัง และเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ ขอให้ปฏิบัติต่อนักศึกษาอย่างเป็นธรรม ดูแลสวัสดิภาพ , ขอให้ศาลพิจารณาให้นักศึกษาได้รับการประกันตัว และขอให้สังคมเคารพการแสดงออกของนักศึกษา หยุดวาทกรรมเกลียดชัง ยุยง ปลุกปั่น
ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราว นายภาณุพงศ์ , นายพริษฐ์ และ น.ส.ปนัสยา ผู้ต้องหา ในฐานะเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มราษฎร 2563 ในคดีชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย.2563 โดยศาลพิเคราะห์คำร้องปล่อยชั่วคราวแล้ว เห็นว่า กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ยังได้ยกคำร้อง ไม่ไห้ประกันตัวนายสุรนาถ แป้นประเสริฐ หรือตัน ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เพราะคดีพยายามประทุษร้ายต่อเสรีภาพพระราชินี มีความร้ายแรง
ที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณาจารย์และทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้พากลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เข้าข่ายถูกออกหมายจับ กรณีร่วมชุมนุมบนลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2563 มาแสดงตัวขอดูหมายจับ ประกอบด้วยนายวัชรภัทร ธรรมจักร , นายธนาธร วิทยเบญจางค์ , นายวิทยา คลังนิล , น.ส.สุปรียา ใจแก้ว นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , นายสุริยา แสงแก้วฝั้น ศิษย์เก่าอดีตนักศึกษาปริญญาโท , นายณัฐวุฒิ คติเวชกุล และ ดร.เพ็ญสุภา สุขคะตะ นักวิชาการอิสระ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำบันทึกจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหา ก่อนอาจารย์ได้ใช้ตำแหน่งประกันตัว ซึ่งได้รับการประกัน โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์
สำหรับนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ที่ถูกออกหมายจับไปก่อนหน้านี้ ศาล จ.เชียงใหม่ ได้อนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เงินสด 2 แสนบาท หลังพนักงานสอบสวนทำเรื่องฝากขังผัด 2 แต่หลังจากออกจากเรือนจำ ได้ถูกอายัดตัวดำเนินคดีต่อที่ สน.ชนะสงคราม
ทางด้านนายบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ชี้แจงกรณีออกมาเตือนม็อบราษฎรอย่าท้าทายพลังเงียบ 60 ล้านคน ด้วยการจาบจ้างล่วงเกินสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมลั่นถ้าเจอมากระทำต่อหน้า เข้าไปตบแน่นอน ว่า ตนเองไม่สามารถทนต่อการจาบจ้วงได้ เพราะตนเองรักสถาบันฯ ยิ่งชีวิต ตนไม่เคยคิดจะตบเด็ก แต่พูดถึงเรื่องการชูนิ้วกลางให้ขบวน วันนี้ถือว่าอัดอั้นมาก ต้องขอโทษมูลนิธิอาสาสมัครทุกคน ที่เคยร่วมทำงานมาหลายสิบปี วันนี้ขอลาออก ต้องมีจุดยืนกับตัวเอง เพราะต้องการต่อสู้กับคนที่จาบจ้วง ขออย่าให้ไปว่ามูลนิธิเลย โดยจะขอช่วยเหลือประชาชนเหมือนเดิม แต่คงไม่ได้ไปในนามมูลนิธิแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราต้องชัดเจน อย่าให้มันฮึกเหิม ไม่ใช่ใครออกมารักสถาบันฯ ก็ไปตามราวีเขา เชื่อว่า เด็ก 80% ไม่รู้เรื่องราว แต่ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสู้
วานนี้ (26 ต.ค.) การชุมนุมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎร” ได้นัดรวมตัวกันที่แยกสามย่าน เพื่อเดินขบวนไปยังสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี โดยทยอยมารวมตัวตั้งแต่เวลา 16.30 น. และเตรียมเคลื่อนขบวนตามเวลานัดหมาย 17.00 น. ไปยังที่ตั้งของสถานทูตเยอรมนี
ต่อมาเวลาประมาณ 17.00 น. พ.ต.อ.พาติกรณ์ ศรชัย ผกก.สน.ปทุมวัน ได้แจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบว่า การชุมนุมครั้งนี้ ผู้จัดไม่ได้แจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะก่อนจัดชุมนุม จึงถือเป็นการฝ่าฝืน ม.10 จึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายสั่งยุติการชุมนุมภายในเวลา 17.30 น. จากนั้นตำรวจจะบันทึกหลักฐานต่างๆ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุม ยังคงรวมตัวกัน และเริ่มขบวนในเวลา 18.00 น. ไปถึงหน้าสถานทูตเยอรมันเวลา 18.50 น. พร้อมกับตั้งเวที ชูป้ายไวนิลพื้นสีดำพร้อมข้อความ “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” และเข้ามอบเอกสารให้กับสถานทูต จนเวลา 19.52 น. ได้อ่านแถลงการณ์ เป็นภาษาไทย ตามด้วยภาษาอังกฤษ และเยอรมัน โดยเนื้อหาในแถลงการณ์เป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตรวจสอบสถาบันฯ
วันเดียวกันนี้ กลุ่มประชาชนคนไทย นำโดยนายนิติธร ล้ำเหลือ หรือทนายนกเขา และนายพิชิต ไชยมงคล พร้อมมวลชนที่สวมเสื้อเหลือง ได้เดินทางไปยื่นหนังสือชี้แจงสถานการณ์การเมืองไทย กรณีที่มีผู้ชุมนุมบางกลุ่มดึงประเทศเยอรมันเข้าสู่เวทีความขัดแย้ง รวมถึงการดึงเอาสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือในการทำลายร้างระบอบสังคมแบบเดิม จึงขอให้รัฐบาลเยอรมันรับฟังและพิจารณาข้อมูลอย่างถ่องแท้
นายนิติธร กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้นักศึกษายุติการชุมนุม และขอให้คนที่อยู่เบื้องหลังผู้ชุมนุมเปิดเผยตัว ส่วนการจะปฏิรูปสถาบันฯ ต้องถามคนไทย 70 ล้านคนด้วย แต่ถ้าอยากเห็นคนที่ต้องการดำรงสถาบันฯ เดี๋ยวจะจัดให้ดู
ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม กล่าวชี้แจงถึงเรื่องภาพนั่งพูดคุยกับนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน, นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ และน.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ว่า เป็นการไปติดตามผลจากการชุมนุมหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ว่ามีความเสียหาย หรือต้องซ่อมแซมอะไร และได้ใช้โอกาสนี้เข้าไปเยี่ยมในเรือนจำ และได้สอบถามความเป็นอยู่ของแกนนำทั้ง 3 คน ว่าได้รับความสะดวกสบายหรือไม่ โดยได้รับการร้องขอกึ่งเล่าให้ฟังว่าอยากได้หนังสือและเป็นห่วงเรื่องของการสอบ ตนจึงแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และประสานงานกับทางมหาวิทยาลัยให้ส่งหนังสือมาให้ ส่วนการตัดผมของรุ้ง เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นเรื่องความปลอดภัยและการเป็นอยู่ในเรือนจำ โดยยืนยันว่า แกนนำผู้ชุมนุมที่ถูกคุมขังทั้ง 8 คน อยู่ดีทั้งหมด และไม่ได้มีการเจรจาให้ยุติชุมนุม เป็นการไปดูความเรียบร้อย เป็นห่วงเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ และไม่ได้ถูกขอให้ปล่อยตัว เพราะตนไม่ได้มีอำนาจตรงนี้
วันเดียวกันนี้ นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมน.ส.ปนัสยา และนายพริษฐ์ ซึ่งเป็นนักศึกษาของธรรมศาสตร์ โดยได้นำตำราเอกสารประกอบการเรียน และหนังสือมามอบให้ พร้อมกับอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาและประชาชนที่ถูกคุมขัง และเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ ขอให้ปฏิบัติต่อนักศึกษาอย่างเป็นธรรม ดูแลสวัสดิภาพ , ขอให้ศาลพิจารณาให้นักศึกษาได้รับการประกันตัว และขอให้สังคมเคารพการแสดงออกของนักศึกษา หยุดวาทกรรมเกลียดชัง ยุยง ปลุกปั่น
ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราว นายภาณุพงศ์ , นายพริษฐ์ และ น.ส.ปนัสยา ผู้ต้องหา ในฐานะเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มราษฎร 2563 ในคดีชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย.2563 โดยศาลพิเคราะห์คำร้องปล่อยชั่วคราวแล้ว เห็นว่า กรณียังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์ยังได้ยกคำร้อง ไม่ไห้ประกันตัวนายสุรนาถ แป้นประเสริฐ หรือตัน ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เพราะคดีพยายามประทุษร้ายต่อเสรีภาพพระราชินี มีความร้ายแรง
ที่ สภ.เมืองเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณาจารย์และทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้พากลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เข้าข่ายถูกออกหมายจับ กรณีร่วมชุมนุมบนลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2563 มาแสดงตัวขอดูหมายจับ ประกอบด้วยนายวัชรภัทร ธรรมจักร , นายธนาธร วิทยเบญจางค์ , นายวิทยา คลังนิล , น.ส.สุปรียา ใจแก้ว นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , นายสุริยา แสงแก้วฝั้น ศิษย์เก่าอดีตนักศึกษาปริญญาโท , นายณัฐวุฒิ คติเวชกุล และ ดร.เพ็ญสุภา สุขคะตะ นักวิชาการอิสระ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำบันทึกจับกุมและแจ้งข้อกล่าวหา ก่อนอาจารย์ได้ใช้ตำแหน่งประกันตัว ซึ่งได้รับการประกัน โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์
สำหรับนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ที่ถูกออกหมายจับไปก่อนหน้านี้ ศาล จ.เชียงใหม่ ได้อนุญาตให้ประกันตัว โดยใช้หลักทรัพย์เงินสด 2 แสนบาท หลังพนักงานสอบสวนทำเรื่องฝากขังผัด 2 แต่หลังจากออกจากเรือนจำ ได้ถูกอายัดตัวดำเนินคดีต่อที่ สน.ชนะสงคราม
ทางด้านนายบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ชี้แจงกรณีออกมาเตือนม็อบราษฎรอย่าท้าทายพลังเงียบ 60 ล้านคน ด้วยการจาบจ้างล่วงเกินสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมลั่นถ้าเจอมากระทำต่อหน้า เข้าไปตบแน่นอน ว่า ตนเองไม่สามารถทนต่อการจาบจ้วงได้ เพราะตนเองรักสถาบันฯ ยิ่งชีวิต ตนไม่เคยคิดจะตบเด็ก แต่พูดถึงเรื่องการชูนิ้วกลางให้ขบวน วันนี้ถือว่าอัดอั้นมาก ต้องขอโทษมูลนิธิอาสาสมัครทุกคน ที่เคยร่วมทำงานมาหลายสิบปี วันนี้ขอลาออก ต้องมีจุดยืนกับตัวเอง เพราะต้องการต่อสู้กับคนที่จาบจ้วง ขออย่าให้ไปว่ามูลนิธิเลย โดยจะขอช่วยเหลือประชาชนเหมือนเดิม แต่คงไม่ได้ไปในนามมูลนิธิแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราต้องชัดเจน อย่าให้มันฮึกเหิม ไม่ใช่ใครออกมารักสถาบันฯ ก็ไปตามราวีเขา เชื่อว่า เด็ก 80% ไม่รู้เรื่องราว แต่ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องสู้