ถกแก้ รธน.วันที่ 2 ตึงเครียด-ม็อบล้อมสภา ตร.เข้มรับมือ เตรียมทางหนีทางบก-น้ำ ส.ว.ประสานเสียงไม่รับทั้ง 6 ญัตติ ปัดสืบทอดอำนาจอีก 3 ปีก็ไปแล้ว สับ ส.ส.ร.ไร้ประโยชน์ “วิรัช” เชื่อ ส.ว.ไม่เอาด้วยชงตั้ง กมธ.ศึกษาก่อน ค่อยว่ากันใหม่
วานนี้ (24 ก.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมเพื่อพิจารณาญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้ง 6 ญัตติเป็นวันที่ 2 โดยบรรยากาศการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา ทั้งในส่วน ส.ส.รัฐบาล, ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยังเป็นไปอย่างตรึงเครียด ท่ามกลางการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอกที่บริเวณ ถ.สามเสน หน้าอาคารรัฐสภา เพื่อกดดันให้มีการเร่งรัดกระบวนการแก้ไขและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งมีการจัดเตรียมรถฉีดน้ำแรงดันสูงมาเตรียมไว้ในบริเวณรัฐสภาด้วย
โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เนื้อหาของการอภิปรายของฝ่ายต่างๆยังคงดำเนินไปในลักษณะเดียวกับเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่าย ส.ส.รัฐบาล พยายามอภิปรายสนับสนุนญัตติแก้ไขมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล และพยายามโน้มน้าวให้ ส.ว.คล้อยตามกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล ก็พยายามชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ตลอดจนความจำเป็นในการแก้ไขรายมาตราใน 4 ญัตติที่เสนอเข้ามาภายหลัง โดยเน้นย้ำไปที่ที่มาและทำหน้าที่ของ ส.ว. ตลอดจนการไม่เห็นด้วยที่ ส.ว.ร่วมลงมติเลือกนายกฯตามมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาล
ส.ว.ส่งสัญญาณคว่ำทั้ง 6 ญัตติ
ในขณะที่ท่าทีของฝ่าย ส.ว.ส่วนใหญ่ยังคงไม่เห็นควรให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น นายอนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว. ที่ระบุว่า วุฒิสภามีหน้าที่ติดตามยุทธศาสตร์ชาติละแผนปฏิรูปประเทศ 12 ด้าน ซึ่งเป็นปัญหาของประชาชน และปัญหาบางอย่างแก้ด้วยการเมืองไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาในเชิงระบบ ควบคุมการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ส.ว. ชุดนี้ อีก 3 ปีกว่า ส.ว. ชุดนี้ก็จะหมดวาระและ ก็จะมี ส.ว. ที่มาจากการเลือกกันเองของคนที่สมัครและตัวแทนองค์กร ดังนั้นจึงอย่าเข้าใจผิดว่า ส.ว. ชุดนี้เป็นการไปสืบทอดอำนาจให้ใคร
ด้าน นายถวิล เปลี่ยนสี ส.ว.อภิปรายว่า ไม่สามารถเห็นด้วยกับร่างแก้ไขฯทั้ง 6 ฉบับ โดยเฉพาะแก้มาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ นั้นไม่มีประโยชน์ และไม่สอดคล้องในเจตนารมณ์ในหมวดนี้ และยังอาจจะขัดแนววินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 55 ที่ชี้ว่าอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของ 750 คนในนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญนี้ผ่านการทำประชามติ 16.8 ล้านคนแล้ว การจะรื้อให้มีสสร.เพื่อร่างขึ้นมาใหม่ต้องกลับไปถามประชาชนอีกครั้งหนึ่ง โดยต้องทำประชามติถึง3 ครั้งด้วยกัน ใช้เงินสูงถึง1.6 หมื่นล้านบาท จึงไม่ควรเสียเวลา ส่วนร่างที่แก้ไขเป็นรายมาตราหลักการพอรับได้ แต่รายละเอียดที่แจ้งมาก็ยังทำใจให้รับไม่ได้
“วิรัช” ชงตั้ง กมธ.ศึกษาก่อน
ต่อมาในช่วงเวลาประมาณ 17.00 น. ในช่วงอภิปรายสรุปญัตติ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล อภิปรายสรุปว่า ตนเห็นว่าเสียง ส.ว. มีความจำเป็นในการแก้ไขมาตรา 256 ตนคิดว่าถ้าใช้เวลาพูดคุยกันบ้างไม่เกิน 30 วัน ร่างที่ตนเสนอเข้ามาก็จะกลับมาใหม่ในการประชุมรัฐสภาสมัยหน้า ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมาตนได้รู้ว่าตนยังทำไม่ครบในร่างอีกหลายอย่าง อยากถาม ส.ว. ว่ายังขาดหรือต้องเติมในส่วนไหน ขอย้ำว่าไม่ได้ประวิงเวลา ถ้าเดินไปข้างหน้าก็ตัน แต่ถ้าตั้งคณะกรรมาธิการตามข้อบังคับ 121 วรรค 3 ตนคิดว่าเดือน พ.ย.นี้ จะได้ผ่านร่างทั้ง 6 ร่างและมีการโหวต ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ ตนเห็นว่า ส.ส. และ ส.ว. มีวุฒิภาวะและตั้งใจทำงานเต็มที่
“ขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการก่อนรับหลักการ และเลื่อนการพิจารณาเข้ามาเป็นสมัยหน้า และบอกฝ่ายค้านว่าทำไมเราไม่มาร่วมมือกันแก้ปัญหา ถ้าวันนี้ได้เลยผมก็ไม่ขัด แต่วันนี้ถ้าทำแล้วเป็นทางตัน จะหยุดรออีก 1 เดือน แล้วกลับมาใหม่ไม่ดีกว่าหรือ” หลังนายวิรัชกล่าวจบ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ จึงได้เสนอญัตริให้ตั้งคณกรรมธิการตามข้อบังคับ 121 วรรค 3
ส่งผลให้ นายสุทิน ลุกขึ้นแสดงความไม่เห็นด้วย ซึ่งวันที่มีการหารือกันไม่มีใครบอกว่าควรหารือกันก่อน หรือตั้ง กมธ.กันก่อน เชื่อว่าถ้านำเรื่องนี้ไปศึกษา 1 เดือน ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่าน
โต้กันวุ่นต้องพักประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ส.ฝ่ายค้านได้ลุกขึ้นอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง โดยนายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า มีการรอใบสั่ง เพราะมีการรอสัญญาณว่าจะลงมติอย่างไร แต่ 2 วันที่ตนได้อดนอน พร้อมเพื่อนสมาชิกรัฐสภา แล้วยังเปลืองงบประมาณ ทั้งค่าไฟ ค่าอาหาร ด้วย
"สงสารวิปฝ่ายค้าน เสมือนโดนต้มในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สัปปายะสภาสถาน" นายครูมานิตย์ ระบุ
ทำให้ นายวิรัช ได้เสนอให้พักการประชุม 10 นาที ซึ่งบรรยากาศในห้องประชุมมีการจับกลุ่มหารือกัน โดยนายวิรัช ได้พูดคุยกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์อย่างเคร่งเครียด ขณะเดียวกันก็มีเสียง ส.ส.เปิดไมโครโฟนกล่าวว่าสภาหลอกประชาชน เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 20 นาที ทำให้ ส.ส.พรรคก้าวไกลประท้วงนายชวนว่าเกรงจะทำให้เลยกรอบเวลาที่จะต้องลงมติ ที่ต้องลงมติก่อน 24.00 น. แต่นายชวนกล่าวว่า ตนก็นั่งรออยู่ แต่เขายังหารือกันไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพักประชุมไปกว่า 30 นาที ได้มีการเริ่มประชุมอีกครั้ง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ กล่าวว่าหลังจากหารือแล้ววิปรัฐบาลมีมติให้เดินตามญัตติที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เสนอไว้ ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้านหลายคน จึงได้ลุกขึ้นอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยอีก
ข้างมากโหวตตั้ง กมธ.ฉลุย
อย่างไรก็ดี นายชวน ได้ขอมติญัตติของ นายไพบูลย์ เรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาร่างญัตติทั้ง6 ผลปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่ 432 เสียง ไม่เห็นด้วย 255 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง ไม่ลงคะแนน1 เสียง จากนั้นมีการตั้งคณะกรรมาธิการจำนวน 45 คน ประกอบด้วย ส.ว.15 คน, ส.ส. 30 คน แต่ ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวหน้า, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคประชาชาติ และพรรคเศรษฐกิจใหม่ ไม่ร่วมเป็นกรรมาธิการในคณะนี้ด้วย
นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ว่ามีรัฐมนตรีบางคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.ร่วมลงคะแนนด้วย ไม่ทราบว่าการลงคะแนนครั้งนี้ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ แต่นายชวนกล่าวว่าหากผิดกฎหมายก็ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และสั่งปิดประชุมทันที
ฝ่ายค้านจวก รบ.ไร้ความจริงใจ
จากนั้น 6 พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ แถลงภายหลังการปิดประชุมสภาใสนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า เราพยายามทุกวิถีทาง ทุกอย่าง แต่รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พี่น้องประชาชนต้องการ
ม็อบโห่เกรียว ส.ส.รัฐบาล-ส.ว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากปิดประชุมเวลา ส.ส.ฝั่งรัฐบาล โดยเฉพาะ ส.ส.พลังประชารัฐได้รีบลงจากห้องประชุมและเดินทางขึ้นรถหน้าอาคาร ด้วยความเร่งรีบ โดยไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่สภา ได้เปิดทางออกพิเศษบริเวณวัดแก้วฟ้า ที่ยังเปิดสถานที่ก่อสร้าง เพื่อให้เดินทางออกจากรัฐสภา โดยต้องผ่านทางแยกเกียกกาย ทั้งนี้มีมวลชนจำนวนมากยืนตั้งด่านสกัด ตะโกนคำหยาบ โห่ร้องแสดงความไม่พอใจ แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนตั้งแถวเป็นรั้วกันมวลชน เพื่อให้รถของ ส.ส.รัฐบาล และ ส.ว.ผ่านไปได้ ขณที่ ส.ส.ฝ่ายค้านจะลดกระจกลงเพื่อแสดงตัว พร้อมชูสามนิ้วและกล่าวให้กำลังใจกับผู้ชุมนุมด้วย.
วานนี้ (24 ก.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมเพื่อพิจารณาญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ทั้ง 6 ญัตติเป็นวันที่ 2 โดยบรรยากาศการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา ทั้งในส่วน ส.ส.รัฐบาล, ฝ่ายค้าน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยังเป็นไปอย่างตรึงเครียด ท่ามกลางการชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอกที่บริเวณ ถ.สามเสน หน้าอาคารรัฐสภา เพื่อกดดันให้มีการเร่งรัดกระบวนการแก้ไขและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้งมีการจัดเตรียมรถฉีดน้ำแรงดันสูงมาเตรียมไว้ในบริเวณรัฐสภาด้วย
โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมที่มี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เนื้อหาของการอภิปรายของฝ่ายต่างๆยังคงดำเนินไปในลักษณะเดียวกับเมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยฝ่าย ส.ส.รัฐบาล พยายามอภิปรายสนับสนุนญัตติแก้ไขมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล และพยายามโน้มน้าวให้ ส.ว.คล้อยตามกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ขณะที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล ก็พยายามชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ตลอดจนความจำเป็นในการแก้ไขรายมาตราใน 4 ญัตติที่เสนอเข้ามาภายหลัง โดยเน้นย้ำไปที่ที่มาและทำหน้าที่ของ ส.ว. ตลอดจนการไม่เห็นด้วยที่ ส.ว.ร่วมลงมติเลือกนายกฯตามมาตรา 272 ในบทเฉพาะกาล
ส.ว.ส่งสัญญาณคว่ำทั้ง 6 ญัตติ
ในขณะที่ท่าทีของฝ่าย ส.ว.ส่วนใหญ่ยังคงไม่เห็นควรให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เช่น นายอนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว. ที่ระบุว่า วุฒิสภามีหน้าที่ติดตามยุทธศาสตร์ชาติละแผนปฏิรูปประเทศ 12 ด้าน ซึ่งเป็นปัญหาของประชาชน และปัญหาบางอย่างแก้ด้วยการเมืองไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาในเชิงระบบ ควบคุมการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ส.ว. ชุดนี้ อีก 3 ปีกว่า ส.ว. ชุดนี้ก็จะหมดวาระและ ก็จะมี ส.ว. ที่มาจากการเลือกกันเองของคนที่สมัครและตัวแทนองค์กร ดังนั้นจึงอย่าเข้าใจผิดว่า ส.ว. ชุดนี้เป็นการไปสืบทอดอำนาจให้ใคร
ด้าน นายถวิล เปลี่ยนสี ส.ว.อภิปรายว่า ไม่สามารถเห็นด้วยกับร่างแก้ไขฯทั้ง 6 ฉบับ โดยเฉพาะแก้มาตรา 256 ให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ นั้นไม่มีประโยชน์ และไม่สอดคล้องในเจตนารมณ์ในหมวดนี้ และยังอาจจะขัดแนววินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 55 ที่ชี้ว่าอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของ 750 คนในนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญนี้ผ่านการทำประชามติ 16.8 ล้านคนแล้ว การจะรื้อให้มีสสร.เพื่อร่างขึ้นมาใหม่ต้องกลับไปถามประชาชนอีกครั้งหนึ่ง โดยต้องทำประชามติถึง3 ครั้งด้วยกัน ใช้เงินสูงถึง1.6 หมื่นล้านบาท จึงไม่ควรเสียเวลา ส่วนร่างที่แก้ไขเป็นรายมาตราหลักการพอรับได้ แต่รายละเอียดที่แจ้งมาก็ยังทำใจให้รับไม่ได้
“วิรัช” ชงตั้ง กมธ.ศึกษาก่อน
ต่อมาในช่วงเวลาประมาณ 17.00 น. ในช่วงอภิปรายสรุปญัตติ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล อภิปรายสรุปว่า ตนเห็นว่าเสียง ส.ว. มีความจำเป็นในการแก้ไขมาตรา 256 ตนคิดว่าถ้าใช้เวลาพูดคุยกันบ้างไม่เกิน 30 วัน ร่างที่ตนเสนอเข้ามาก็จะกลับมาใหม่ในการประชุมรัฐสภาสมัยหน้า ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมาตนได้รู้ว่าตนยังทำไม่ครบในร่างอีกหลายอย่าง อยากถาม ส.ว. ว่ายังขาดหรือต้องเติมในส่วนไหน ขอย้ำว่าไม่ได้ประวิงเวลา ถ้าเดินไปข้างหน้าก็ตัน แต่ถ้าตั้งคณะกรรมาธิการตามข้อบังคับ 121 วรรค 3 ตนคิดว่าเดือน พ.ย.นี้ จะได้ผ่านร่างทั้ง 6 ร่างและมีการโหวต ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ ตนเห็นว่า ส.ส. และ ส.ว. มีวุฒิภาวะและตั้งใจทำงานเต็มที่
“ขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการก่อนรับหลักการ และเลื่อนการพิจารณาเข้ามาเป็นสมัยหน้า และบอกฝ่ายค้านว่าทำไมเราไม่มาร่วมมือกันแก้ปัญหา ถ้าวันนี้ได้เลยผมก็ไม่ขัด แต่วันนี้ถ้าทำแล้วเป็นทางตัน จะหยุดรออีก 1 เดือน แล้วกลับมาใหม่ไม่ดีกว่าหรือ” หลังนายวิรัชกล่าวจบ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ จึงได้เสนอญัตริให้ตั้งคณกรรมธิการตามข้อบังคับ 121 วรรค 3
ส่งผลให้ นายสุทิน ลุกขึ้นแสดงความไม่เห็นด้วย ซึ่งวันที่มีการหารือกันไม่มีใครบอกว่าควรหารือกันก่อน หรือตั้ง กมธ.กันก่อน เชื่อว่าถ้านำเรื่องนี้ไปศึกษา 1 เดือน ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่าน
โต้กันวุ่นต้องพักประชุม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ส.ฝ่ายค้านได้ลุกขึ้นอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง โดยนายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า มีการรอใบสั่ง เพราะมีการรอสัญญาณว่าจะลงมติอย่างไร แต่ 2 วันที่ตนได้อดนอน พร้อมเพื่อนสมาชิกรัฐสภา แล้วยังเปลืองงบประมาณ ทั้งค่าไฟ ค่าอาหาร ด้วย
"สงสารวิปฝ่ายค้าน เสมือนโดนต้มในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สัปปายะสภาสถาน" นายครูมานิตย์ ระบุ
ทำให้ นายวิรัช ได้เสนอให้พักการประชุม 10 นาที ซึ่งบรรยากาศในห้องประชุมมีการจับกลุ่มหารือกัน โดยนายวิรัช ได้พูดคุยกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์อย่างเคร่งเครียด ขณะเดียวกันก็มีเสียง ส.ส.เปิดไมโครโฟนกล่าวว่าสภาหลอกประชาชน เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 20 นาที ทำให้ ส.ส.พรรคก้าวไกลประท้วงนายชวนว่าเกรงจะทำให้เลยกรอบเวลาที่จะต้องลงมติ ที่ต้องลงมติก่อน 24.00 น. แต่นายชวนกล่าวว่า ตนก็นั่งรออยู่ แต่เขายังหารือกันไม่จบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพักประชุมไปกว่า 30 นาที ได้มีการเริ่มประชุมอีกครั้ง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ กล่าวว่าหลังจากหารือแล้ววิปรัฐบาลมีมติให้เดินตามญัตติที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เสนอไว้ ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้านหลายคน จึงได้ลุกขึ้นอภิปรายแสดงความไม่เห็นด้วยอีก
ข้างมากโหวตตั้ง กมธ.ฉลุย
อย่างไรก็ดี นายชวน ได้ขอมติญัตติของ นายไพบูลย์ เรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาร่างญัตติทั้ง6 ผลปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่ 432 เสียง ไม่เห็นด้วย 255 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง ไม่ลงคะแนน1 เสียง จากนั้นมีการตั้งคณะกรรมาธิการจำนวน 45 คน ประกอบด้วย ส.ว.15 คน, ส.ส. 30 คน แต่ ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวหน้า, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคประชาชาติ และพรรคเศรษฐกิจใหม่ ไม่ร่วมเป็นกรรมาธิการในคณะนี้ด้วย
นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ว่ามีรัฐมนตรีบางคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.ร่วมลงคะแนนด้วย ไม่ทราบว่าการลงคะแนนครั้งนี้ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ แต่นายชวนกล่าวว่าหากผิดกฎหมายก็ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และสั่งปิดประชุมทันที
ฝ่ายค้านจวก รบ.ไร้ความจริงใจ
จากนั้น 6 พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้ แถลงภายหลังการปิดประชุมสภาใสนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า เราพยายามทุกวิถีทาง ทุกอย่าง แต่รัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พี่น้องประชาชนต้องการ
ม็อบโห่เกรียว ส.ส.รัฐบาล-ส.ว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากปิดประชุมเวลา ส.ส.ฝั่งรัฐบาล โดยเฉพาะ ส.ส.พลังประชารัฐได้รีบลงจากห้องประชุมและเดินทางขึ้นรถหน้าอาคาร ด้วยความเร่งรีบ โดยไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่สภา ได้เปิดทางออกพิเศษบริเวณวัดแก้วฟ้า ที่ยังเปิดสถานที่ก่อสร้าง เพื่อให้เดินทางออกจากรัฐสภา โดยต้องผ่านทางแยกเกียกกาย ทั้งนี้มีมวลชนจำนวนมากยืนตั้งด่านสกัด ตะโกนคำหยาบ โห่ร้องแสดงความไม่พอใจ แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนตั้งแถวเป็นรั้วกันมวลชน เพื่อให้รถของ ส.ส.รัฐบาล และ ส.ว.ผ่านไปได้ ขณที่ ส.ส.ฝ่ายค้านจะลดกระจกลงเพื่อแสดงตัว พร้อมชูสามนิ้วและกล่าวให้กำลังใจกับผู้ชุมนุมด้วย.