xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

พายุใหญ่กำลังจะมา! สารพัดโครงการเร่งจัดซื้อจัดจ้าง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รายงานสุดสัปดาห์

สัปดาห์นี้ถึงสัปดาห์หน้า กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัยว่า"พายุโนอึล"จ่อถล่มไทย 18-20 ก.ย. หลายจังหวัดต้องเตรียมรับมือฝนตกหนัก เช่นเดียวกับที่รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณรวมทั้งสิ้น 5,082.7605 ล้านบาท รายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพื่อเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี2563

ให้ "สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ" (สทนช.) เป็นเจ้าภาพ เพื่อดำเนินโครงการเพื่อเตรียมการรับมือ ให้งบกับจังหวัด 30 แห่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ เร่งรัดการดำเนินการเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในเดือนก.ย.63 โดยมีพื้นที่ที่จะต้องเฝ้าระวังในพื้นที่ 54 จังหวัด 317 อำเภอ 1,566 ตำบล

ขณะที่ สทนช.ได้สรุปโครงการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมรวม 1,825 โครงการ ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ทั้งสิ้น 9 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และครุภัณฑ์เครื่องจักรเครื่องมือเพิ่มเติม เพื่อสร้างความพร้อมในระดับพื้นที่และช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที แบ่งเป็น

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ คือการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อเกษตรแปลงใหญ่ 66 แห่ง การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำและปรับปรุงแหล่งน้ำ 142 แห่ง และจัดหาเครื่องจักรกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล 1 โครงการ 706.5962 ล้านบาท กรมทรัพยากรน้ำ 2 โครงการ 1,796.1018 ล้านบาท
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3 โครงการ คือโครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำชลประทาน 36 แห่ง การจัดหาเรือขุดใช้งานชลประทานและรถขุดแบบโป๊ะเหล็กแบบติดตั้งปั๊มขุด-ดูดเลน ของกรมชลประทาน 3 โครงการ 1,482.1930 ล้านบาท
กระทรวงมหาดไทย 3 โครงการ คือโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน 65 แห่ง การจัดหาเครื่องดูดตะกอนดินและเครื่องแยกตะกอนดินเลนพร้อมอุปกรณ์ โดยกรุงเทพมหานครและการบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม จะดำเนินงานในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมทั่วประเทศ 1,498 แห่ง ของกรุงเทพมหานคร 1 โครงการ 340 ล้านบาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 1 โครงการ 23.6007 ล้านบาท และพื้นที่จังหวัด 30 แห่ง 1 โครงการ 734.2688 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน "คณะทำงานด้านประเมินสถานการณ์กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)" ได้ประเมินแนวโน้มผลกระทบของพายุลูกล่าสุดที่อาจจะมีผลระทบต่อประเทศไทยช่วงวันที่ 18–20ก.ย.นี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนเผชิญเหตุ เครื่องจักรเครื่องมือ บุคคลากรพร้อมรับมือป้องกันผลกระทบในพื้นที่เสี่ยง และเร่งแผนการกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อสำรองไว้ใช้หน้าแล้งที่จะถึงนี้ให้มากที่สุด

ครม.ในคราวเดียวกัน ยังมีมติเห็นชอบ"แผนหลักการพัฒนาหนองหาร จังหวัดสกลนคร" ระยะ 10 ปี (ปี 2563 - 2572) โดยแผนหลัก 5 ด้าน รวม 62 โครงการ วงเงิน 7,445.22 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามแผนหลักและแผนระยะเร่งด่วน ปรกอบด้วย

แผนด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 7 โครงการ 293.32 ล้านบาท เช่น โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค
แผนด้านการสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 2 โครงการ 1,064.62 ล้านบาท เช่น โครงการศึกษาสำรวจออกแบบรายการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำรอบหนองหาร

แผนด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 15 โครงการ 1,591.24 ล้านบาท เช่น โครงการศึกษาบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งลุ่มน้ำหนองหาร ลุ่มน้ำพุง และลุ่มน้ำก่ำ

แผนด้านการจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ 23 โครงการ 4,328.89 ล้านบาท เช่น โครงการสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสีย

แผนด้านการบริหารจัดการ 15 โครงการ 167.15 ล้านบาท เช่น แผนงานวิจัยผลกระทบของการขุดลอกต่อระบบนิเวศในหนองหาร

นอกจากแผนและงบประมาณขั้นต้น ยังพบว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ได้ รับจัดสรรงบประมาณ ปี 63 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

"โครงการจัดหารถสูบส่งน้ำ" ไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกล ไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อมอุปกรณ์ (เพิ่มเติม) จำนวน 810,000,000 บาทอีกจำนวน 18 คัน ตกคันละ 45,000,000 บาท ประจำ ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์เขต เขตละ1 คัน

ปภ. บอกว่า รถที่ได้รับจัดสรรที่ผ่านมา 18 คันแรก ยังไม่เพียงพอและครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤต เพื่อสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการบูรณาการการจัดการภัยแล้งในภาพรวมของประเทศให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและเกิดวิกฤตการณ์ขาดน้ำต้นทุนอย่างรุนแรง รวมทั้งหากเกิดอุทกภัยก็สามารถช่วยระบายน้ำไปยังพื้นที่กักเก็บน้ำระยะไกลได้อย่างทันท่วงที

เนื่องจาก"เขื่อนขนาดใหญ่" ที่ตั้งอยู่ใน 25 ลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ ประกอบกับสถิติการประกาศภัยแล้ง ตั้งแต่ ปี2555-2561 พบว่า 39 จังหวัด มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

ขณะเดียวกัน ตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตลอดปีงบประมาณ 2564 ปภ.ยังมีแผนจัดซื้อจัดจ้างโครงการที่เกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมน้ำแล้ง เช่น จ้างที่ปรึกษาการจัดการอุทกภัยโดยอาศัยชุมนนเป็นฐาน จำนวน 20 แห่ง วงเงิน 32,468,000 บาท แผนจัดซื้อรถสูบส่งนํ้า ไม่น้อยกว่า 34,000 ลิตร/นาที และ ส่งนํ้าระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร พร้อม อุปกรณ์ จำนวน 11 คัน วงเงิน 495,000,000 บาท แผนจัดซื้อรถบรรทุกนํ้าอเนกประสงค์ ขนาด 12,000 ลิตร จำนวน 17 คัน วงเงิน 85,000,000 บาท เป็นต้น

ขณะที่ เดือนหน้าคาดว่าสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานกลั่นกรองโครงการขนาดใหญ่และโครงการที่สำคัญ เตรียมเสนอที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในเร็วๆ นี้
หลังจากคณะอนุกรรมการฯ ชุดที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบในหลักการไปแล้ว กับ 11โครงการ ใน 6 หน่วยงาน (ข้อมูลโครงการ ณ วันที่ 14ส.ค.63) ที่ผ่านความเห็นชอบจาก 557โครงการ ที่ผ่าน กนช. ประกอบด้วย เทศบาลนครนครราชสีมา , กทม. ,จ.ปัตตานี ,เมืองพัทยา ,เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC (กรมชลประทานและการประปาส่วนภูมิภาค) และกรมชลประทาน วงเงินรวมโครงการ 44,431 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. เทศบาลนครนครราชสีมา "โครงการจัดหานํ้าดิบเพื่อผลิตน้ำประปา ที่โรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่าจากแหล่งน้ำลำตะคองมายังโรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า" เพื่อปรับปรุงระบบส่งท่อน้ำดิบ ได้ไม่น้อกยว่า 1 แสน ลบ.ม./วัน ประกอบด้วย ก่อสร้างอาคารรับน้ำดิบจากลำตะคอง บริเวณหน้าเขื่อนระบายน้ำมะเกลือใหม่ และวางท่อ 1,200มม. จากอาคารวางมาตามแนวคลองชลประทาน ความยาว 34.23 กม. วางท่อ 1,200มม.จากอาคารรับน้ำมาเชื่อมประสานกับท่อขนาด 900มม. เดิมบนถนนมิตรภาพ ความยาว 1.63 กม. รวมถึงงานจ้างที่ปรึกษา ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี พ.ศ. 2564 ระยะเวลาก่อสร้าง 365 วัน งบระมาณดำเนินงาน 1,344,814,000 บาท (ค่าก่อสร้างและจ้างที่ปรึกษา) จากเงินอุดหนุนรัฐบาล 80% และงบประมาณเงินเทศบาลฯ 20%
2. กรุงเทพมหานคร "โครงการเขื่อน ค.ศ.ล.คลองพระยาราชมนตรี (บางบอน - คลองหนองใหญ่ คลองภาษีเจริญ - คลองบางเชือกหนัง) " เพื่อสนับสนุนโครงการแก้มลิงคลองมหาชัย - คลองสนามชัย และช่วยแก้ไขปัญหานํ้าท่วมขังในพื้นที่ฝังธนบุรี ตลอดจนรองรับการเจริญเติบโตของเมืองและชุมชนในอนาคต ค่าก่อสร้าง 1,950ล้านบาท เงินอุดหนุนรัฐบาล 50% และงบประมาณกรุงเทพมหานคร 50%

3. จังหวัดปัตตานี "โครงการสถานีสูบนํ้าดิบพร้อมระบบท่อส่งนํ้าเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้ ให้พื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นเมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าเพื่อสนอง ตามนโยบาย จ.ปัตตานี โครงการนี้ กรมชลระทานเตรียมความพร้อมศึกษา สำรวจ ออกแบบ ก่อสร้างสถานีพร้อมระบบท่อส่งนํ้า โดยออกแบบและดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ วงเงิน 1,230ล้านบาท พร้อมดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2565โดยโครงการถูกเสนอเป็นโครงการสำคัญ จากการประชุมคณะการลุ่มนํ้าปัตตานี

4. เมืองพัทยา "ระบบป้องกันน่าท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี" ตามแผนดำเนินการ ออกแบบให้รองรับน้ำฝนได้ 128มม. ต่อวัน แบ่งพื้นที่ย่อยเป็น 3 กลุ่มพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย ,ออกแบบโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายนํ้าของระบบเดิม ก่อสร้างท่อระบายนํ้าขนาดใหญ่เพิ่ม และระบายผ่านคลองธรรมชาติ ดำเนินการก่อนระยะ 10 ปี วงเงิน 17,885 ล้านบาท แบ่งเป็น 5กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ปรับปรุงระบบระบายน้ำ ความยาวรวม 31.37กม. วงเงิน 3,721 ล้านบาท กลุ่มที่ 2 ความยาวรวม 9.94 กม. วงเงิน 1,735ล้านบาท กลุ่มที่ 3 ความยาวรวม 15.08 กม. วงเงิน 5,383 ล้านบาท กลุ่มที่ 4 ความยาวรวม 9.43 กม. วงเงิน 4,126ล้านบาท กลุ่มที่ 5 ความยาวรวม 10.82กม. วงเงิน 2,918 ล้านบาท

5. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC จำนวน 6 โครงการ (ชลประทาน และ การประปาส่วนภูมิภาค) ได้แก่ ผันนํ้าอ่างเก็บน้ำประแสร์ - หนองค้อ - บางพระ จ.ชลบุรี วงเงิน 9,500 ล้านบาท เร่งรัดให้เสร็จปี 2570, โครงการอ่างเก็บน้ำคลองกะพง จ.ฉะเชิงเทรา ความจุ 27.5 ล้าน ลบ.ม. วงเงิน 2,770 ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 770 ล้านบาท ค่าที่ดิน 2,000ล้านบาท) ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 4 ปี (ปี 2565 -2568) ออกแบบและ ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว

โครงการอ่างเก็บนํ้าหนองกระทิง จ.ฉะเชิงเทรา ความจุ 15 ล้าน ลบ.ม. วงเงิน 1,350ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 550 ล้านบาท ค่าที่ดิน 800ล้านบาท) ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 4 ปี (ปี 2565 - 2568) ออกแบบและดำเนินการ ด้านสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ ,โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองโพล้ จ.ระยอง ความจุ 40 ล้าน ลบ.ม. วงเงิน 3,250ล้านบาท (ค่าก่อสร้าง 950 ล้านบาท ค่าที่ดิน 2,300ล้านบาท)ปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาพัทยา - แหลมฉบัง - ศรีราชา (รองรับ EEC) จ.ชลบุรี วงเงิน 1,849ล้านบาท และปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาชลบุรี - พนัสนิคม - (พานทอง) - (ท่าบุญมี) ระยะที่ 2 (รองรับ EEC) จ.ชลบุรี วงเงิน 2,126 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างประมาณ 3ปี โครงการบริหารจัดการลดนํ้าสูญเสีย มีระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างประมาณ 4 ปี สัดส่วนการลงทุน เงินอุดหนุนรัฐบาล 6.% : เงินกู้ภายในประเทศ 20 %: เงินรายได้ กปภ. 20%

6. กรมชลประทาน "โครงการอ่างเก็บนํ้าแม่ตาช้าง จ.เชียงราย" ความจุ 32 ล้าน ลบ.ม. วงเงินงบประมาณ 1,177 ล้านบาท (ค่าสิ่งก่อสร้าง 847 ล้านบาท ค่าชดเชยที่ดิน 330 ล้านบาท) แผนงานโครงการ 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 -2568) อยู่ระหว่าง ออกแบบทำนบดินหัวงานและอาคารประกอบ (90%) เป็นสารพัดโครงการขนาดใหญ่และโครงการที่สำคัญ เกี่ยวกับ การเตรียมการรับมือ บรรเทาปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนในอนาคต.


กำลังโหลดความคิดเห็น