ผู้จัดการรายวัน360 - “บีทีเอส”จ่อ ฟ้องศาลปกครองขอความเป็นธรรม. ยันรฟม.ปรับเกณฑ์คัดเลือกประมูล รถไฟฟ้าสีส้ม ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ พร้อมปรับแผนเลื่อนเปิด สายสีทอง จากต.ค. ไปปลายปี 63 เหตุติดตั้งระบบล่าช้า
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ได้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน) แล้วซึ่งบริษัทฯ ยืนยันไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนหลังจากขายเอกสารประมูลแล้ว และเป็นการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ยื่นประมูล
โดยก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความเป็นธรรมไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาในการยื่นต่อศาลปกครองต่อไป หากมีความจำเป็น เนื่องจากการนำคะแนนด้านเทคนิคมารวมกับคะแนนด้านราคานั้น ที่ผ่านมาไม่เคยใช้รูปแบบนี้ ดังนั้นจะมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบกันแน่นอนและยอมรับว่า มีความกังวล เพราะเกี่ยวกับความถนัดของแต่ละราย ขณะที่ ไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนมาเพิ่มได้เพราะผู้ร่วมยื่นประมูลจะต้องเป็นผู้ซื้อซอง ซึ่งขณะนี้ รฟม.ปิดขายซองไปแล้ว โดยมีผู้ซื้อเอกสารไปจำนวน10 ราย
สายสีทอง เลื่อนเปิดปลายปี 63 เหตุทดสอบระบบล่าช้า
นายสุรพงษ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีกรุงธนบุรี - สถานีคลองสาน ว่า จะมีการเลื่อนกำหนดเปิดเดินรถ จากเดิมเดือนต.ค. 63 ออกไปเป็นช่วงปลายปี 63 เนื่องจากการติดตั้งระบบล่าช้าจากแผนประมาณ 3 สัปดาห์ โดยขณะนี้บริษัทฯ ได้เริ่มทำการทดสอบระบบรถไฟฟ้าแล้ว อย่างไรก็ตาบริษัทฯ อยู่ระหว่างพิจารณาเร่งรัดการเปิดเดินรถให้เร็วที่สุด.
ทั้งนี้ ในการทดสอบระบบรถไฟฟ้า มีหลายขั้นตอนเร่ิมจากการทดสอบตัวรถ ระบบการเดินรถและระบบควบคุมทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลา 1-2เดือน นอกจากนี้ สถานีคลองสาน มีปัญหาบันไดทางลงสถานี ก่อสร้างล้าช้าเพราะติดเรื่องพื้นที่ ล่าสุดเคลียร์เรียบร้อย จะเร่งดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จ โดยจะพยายามเปิดให้บริการครบทั้ง3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธน สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสานโดย ทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด(เคที) จะเป็นผู้กำหนดการจัดเก็บค่าโดยสาร
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง รุ่น Bombardier Innovia APM 300 เป็นรถไฟฟ้าระบบไร้คนขับ และวิ่งโดยใช้รางนำทาง ความเร็วสูงสุดอยู่ที่80 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ความจุผู้โดยสาร 138คน/ตู้ และ 1 ขบวนสามารถจุผู้โดยสารได้ 276 คน ซึ่งในอนาคตรถจะออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารคราวละ 2 ขบวน ที่ความถี่ 6-12 นาที โดยมีรถสำรองไว้ในระบบ 1 ขบวน
เร่งเปิดส่วนต่อขยายสีเขียวถึงคูคต ธ.ค.นี้
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตนั้น. คาดว่าจะเปิดเดินรถส่วนที่เหลือ จากสถานี วัดพระศรีมหาธาตุฯ -คูคต ได้ประมาณกลางเดือนธ.ค. 63
โดยปัจจุบัน ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-วัดพระศรีมหาธาตุฯ มีจำนวนผู้โดยสาร เพิ่มขึ้น เป็น กว่า 1 แสนเที่ยว-คน/วัน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคโควิด-19 ที่มีผู้โดยสาร 2 แสนเที่ยว-คน/วัน
ส่วนความคืบหน้าการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทาง 66.4 กิโลเมตร 30 ปี โดยกำหนด ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาทนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายที่รอความเห็นของรมว.คลัง เพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งหาก หากได้รับอนุมัติจากครม. จะสามารถลงนามสัญญา และดำเนินการเดินรถภายใต้สัญญาสัมปทานใหม่ ต่อไป
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (BTSC) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯได้รับหนังสือแจ้งจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์และเดินรถไฟฟ้าสายสีส้มตลอดเส้นทาง บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท ได้ปรับเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกใหม่ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาโดยรวมคะแนนข้อเสนอซองที่ 2 ด้านเทคนิค (สัดส่วน 30 คะแนน) และข้อเสนอซองที่ 3 ด้านการเงิน (สัดส่วน 70 คะแนน) แล้วซึ่งบริษัทฯ ยืนยันไม่เห็นด้วยเนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนหลังจากขายเอกสารประมูลแล้ว และเป็นการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินซึ่งทำให้มีความได้เปรียบเสียเปรียบ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ยื่นประมูล
โดยก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้ยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความเป็นธรรมไปแล้ว และอยู่ระหว่างพิจารณาในการยื่นต่อศาลปกครองต่อไป หากมีความจำเป็น เนื่องจากการนำคะแนนด้านเทคนิคมารวมกับคะแนนด้านราคานั้น ที่ผ่านมาไม่เคยใช้รูปแบบนี้ ดังนั้นจะมีผลทำให้เกิดความได้เปรียบกันแน่นอนและยอมรับว่า มีความกังวล เพราะเกี่ยวกับความถนัดของแต่ละราย ขณะที่ ไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนมาเพิ่มได้เพราะผู้ร่วมยื่นประมูลจะต้องเป็นผู้ซื้อซอง ซึ่งขณะนี้ รฟม.ปิดขายซองไปแล้ว โดยมีผู้ซื้อเอกสารไปจำนวน10 ราย
สายสีทอง เลื่อนเปิดปลายปี 63 เหตุทดสอบระบบล่าช้า
นายสุรพงษ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 สถานีกรุงธนบุรี - สถานีคลองสาน ว่า จะมีการเลื่อนกำหนดเปิดเดินรถ จากเดิมเดือนต.ค. 63 ออกไปเป็นช่วงปลายปี 63 เนื่องจากการติดตั้งระบบล่าช้าจากแผนประมาณ 3 สัปดาห์ โดยขณะนี้บริษัทฯ ได้เริ่มทำการทดสอบระบบรถไฟฟ้าแล้ว อย่างไรก็ตาบริษัทฯ อยู่ระหว่างพิจารณาเร่งรัดการเปิดเดินรถให้เร็วที่สุด.
ทั้งนี้ ในการทดสอบระบบรถไฟฟ้า มีหลายขั้นตอนเร่ิมจากการทดสอบตัวรถ ระบบการเดินรถและระบบควบคุมทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลา 1-2เดือน นอกจากนี้ สถานีคลองสาน มีปัญหาบันไดทางลงสถานี ก่อสร้างล้าช้าเพราะติดเรื่องพื้นที่ ล่าสุดเคลียร์เรียบร้อย จะเร่งดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จ โดยจะพยายามเปิดให้บริการครบทั้ง3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธน สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสานโดย ทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด(เคที) จะเป็นผู้กำหนดการจัดเก็บค่าโดยสาร
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง รุ่น Bombardier Innovia APM 300 เป็นรถไฟฟ้าระบบไร้คนขับ และวิ่งโดยใช้รางนำทาง ความเร็วสูงสุดอยู่ที่80 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ ความจุผู้โดยสาร 138คน/ตู้ และ 1 ขบวนสามารถจุผู้โดยสารได้ 276 คน ซึ่งในอนาคตรถจะออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารคราวละ 2 ขบวน ที่ความถี่ 6-12 นาที โดยมีรถสำรองไว้ในระบบ 1 ขบวน
เร่งเปิดส่วนต่อขยายสีเขียวถึงคูคต ธ.ค.นี้
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตนั้น. คาดว่าจะเปิดเดินรถส่วนที่เหลือ จากสถานี วัดพระศรีมหาธาตุฯ -คูคต ได้ประมาณกลางเดือนธ.ค. 63
โดยปัจจุบัน ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-วัดพระศรีมหาธาตุฯ มีจำนวนผู้โดยสาร เพิ่มขึ้น เป็น กว่า 1 แสนเที่ยว-คน/วัน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคโควิด-19 ที่มีผู้โดยสาร 2 แสนเที่ยว-คน/วัน
ส่วนความคืบหน้าการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ระยะทาง 66.4 กิโลเมตร 30 ปี โดยกำหนด ค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาทนั้น นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายที่รอความเห็นของรมว.คลัง เพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป ซึ่งหาก หากได้รับอนุมัติจากครม. จะสามารถลงนามสัญญา และดำเนินการเดินรถภายใต้สัญญาสัมปทานใหม่ ต่อไป