60ส.ว.อิสระ ตั้งกลุ่มนัดหารือแก้รธน. 8 ก.ย.นี้ แสดงจุดยืนโละ มาตรา 272 เพราะหมดความจำเป็นในระยะเปลี่ยนผ่าน ที่จะให้ ส.ว.โหวตนายกฯ ด้าน"จตุพร" ชี้การเมืองถึงทางตัน ก.ย.นี้ สถานการณ์สุกงอม คาดไม่ได้แก้รธน. ส่อรธน.ถูกฉีก
ผู้สื่อข่าวรายงาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต่อการแก้รธน.60 หลังจากส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ได้ยื่นญัตติแก้ไข มาตรา 256 ให้ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับนั้น ปรากฏว่า ขณะนี้ส.ว. มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้ตั้่ง และไม่ให้ตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรธน.ใหม่
ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส.ว.มีการตั้งกลุ่มส.ว. 60 กว่าคน ใช้ชื่อว่า "กลุ่มส.ว.อิสระ" ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ไม่มีทหาร ตำรวจ โดยตั้งกลุ่มไลน์ ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการแก้รธน. ซึ่งแนวทางของกลุ่มเห็นตรงกันว่า ควรสนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน. แต่อยากให้มีการแก้เป็นรายมาตรา โดยพร้อมให้แก้ไข มาตรา 272 เรื่องการยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
นายกิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ ส.ว. กล่าวว่า ยอมรับอยู่ในกลุ่มส.ว.อิสระ ซึ่งแนวทางของกลุ่มสนับสนุนให้แก้รธน. แต่ควรแก้รายมาตรา ไม่ใช่การตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างรธน.ใหม่ เพราะมองว่าส.ส.ร.ที่มาจาการเลือกตั้ง ไม่ใช่เป็นตัวแทนประชาชนจริงๆ แต่เป็นเงาส.ส. ทำให้ร่าง รธน.ฉบับใหม่ จะยังคงมีปัญหาความขัดแย้งไม่จบ และไม่สบายใจว่า ส.ส.ร.จะยกร่างรธน. เลยเถิดไปขนาดไหน และหากจะมีการแก้ มาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.โหวตนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ขัดข้อง เพราะแต่ละคนเห็นตรงกันว่า หมดความจำเป็นที่จะให้ส.ว.มาโหวตเลือกนายกฯแล้ว ถ้าพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการจะเป็นนายกฯ ต่อ ต้องใช้ความสามารถตัวเอง ไปหาเสียงสนับสนุนจากส.ส. เพื่อพิสูจน์บารมี จะได้มีความสง่างาม ไม่ต้องใช้เสียง ส.ว.มาช่วย จะได้ไม่ถูกมองเรื่องการสืบทอดอำนาจ
นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ในวันที่ 8ก.ย.นี้ เวลา10.00 น. กลุ่ม ส.ว.อิสระ จะประชุมกันที่รัฐสภา เพื่อหารือกันและน่าจะมีข้อสรุปออกมาว่าจะแก้รธน. ในแนวทางใด ส่วนที่ ส.ว.คนอื่นๆ มีความคิดเห็นแตกแยกกันไปหลายทางนั้น ไม่ถือเป็นความแตกแยก แต่ละคนมีความคิดแนวทางของตัวเอง แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วส.ว. ทุกคน จะเห็นไปในแนวทางเดียวกันหมด
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.กล่าวว่า ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะพูดว่าส.ว.จะสนับสนุนให้ตั้ง ส.ส.ร. หรือไม่ เพราะต้องรอดู ร่างแก้ไขรธน. ฉบับอื่นๆ ว่ามีการเสนอเพิ่มเติมมาอีกหรือไม่ นอกเหนือจากร่างของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เท่าที่ดูเห็นว่าอาจจะมีร่างขอแก้ไขเป็นรายมาตราเข้าไป ต้องขอดูให้ครบทุกร่างก่อน เท่าที่คุยกับ ส.ว.ขณะนี้ ยังเสียงแตก มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้ตั้ง ส.ส.ร.และไม่ตั้ง ส.ส.ร. อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้ว เชื่อว่าวุฒิสภา คงให้เป็นเอกสิทธิของส.ว.แต่ละคน ในการลงมติ ในที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 24ก.ย.นี้ ว่า จะรับหลักการ ร่าง แก้ไขรธน. วาระแรกหรือไม่
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องการแก้ไข มาตรา272 เรื่องการตัดอำนาจ ส.ว.โหวตนายกฯ นั้น ส.ว.ไม่ขัดข้อง ทุกคนพร้อมลดอำนาจตัวเองลงมา เพราะสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมาเพิ่งส.ว.ลงมติเลือกนายกฯ เชื่อว่า ถ้าแก้ไขเพียงแค่ลดอำนาจเรื่องการโหวตนายกฯ ส.ว.ไม่ขัดข้อง แต่ถ้าจะไปถึงขั้นตัด ส.ว.ออกจากรธน.ฉบับนี้ หรือ ปิดสวิตช์ ส.ว.ทั้งระบบ คงเป็นไปไม่ได้ เพราะขัดต่อรธน.
คำนูณหนุนตั้งส.ส.ร.- ตัดส.ว.โหวตนายกฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.โพสต์เฟซบุ๊กแสดงจุดยืนเรื่องแก้รธน.ว่า จะโหวตเห็นชอบกับการแก้ไขรธน. ทั้งการตั้ง ส.ส.ร. และตัดอำนาจ ส.ว.ในการร่วมเลือกนายกฯ ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าบทเฉพาะกาล ในรธน.มาตรา 269 ประกอบมาตรา 272 ที่ให้ คสช.คัดเลือกส.ว.250 คน แล้วให้ส.ว.ร่วมเลือกอดีตหัวหน้าคสช.เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยตามปกติ แต่เป็นระบอบการเมือง"เฉพาะกิจ"และ "เฉพาะกาล" ในช่วงเปลี่ยนผ่านของความขัดแย้ง เพื่อให้บรรลุ 2 เป้าหมายคือ ความสงบสุขในบ้านเมือง และให้การปฏิรูปประเทศตามแผนงานเดินหน้าได้ดีในช่วง 5 ปีแรก แต่แล้วประเด็นเรื่องความสงบสุขของบ้านเมืองนั้นปรากฏชัดเจนขณะนี้ว่า ไม่มีอยู่อย่างแน่นอนแล้ว เพราะเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขนาดหนักชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน การชุมนุมมวลชนกลับมาอีกในรูปแบบใหม่ ถ้าไม่มีการแก้รธน.เลย ไม่ว่าจะในประเด็นไหน อย่างไรก็จะยิ่งซ้ำเติมให้ความไม่สงบยกระดับสูงขึ้น
ส่วนการปฏิรูปประเทศนั้น ต้องยอมรับว่าคืบหน้าช้ามาก และจะไม่เป็นไปตามที่รธน. กำหนดไว้ให้สัมฤทธิผลในปี 2565 อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ ที่ทุกคนรอคอยอย่างเช่น การปฏิรูปตำรวจ จำเป็นที่จะต้องกล่าวด้วยความเจ็บปวดว่า รัฐบาลชุดนี้"สอบไม่ผ่าน"ในเรื่องนี้ เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ขณะนี้ "ไม่คุ้มค่า" ที่จะคงมาตรการพิเศษเฉพาะกิจ และเฉพาะกาลช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะที่อ้างว่าเพื่อให้การปฏิรูปประเทศเดินหน้าไว้อีกต่อไป
"จตุพร" จุดพลุยึดอำนาจ ฉีกรธน.
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. กล่าวถึงการแก้ไขรธน.ว่า มีประเด็นออกไป 2 แนวทาง คือ แก้ไขมาตรา 256 ยกเว้นหมวด 1 และ 2 หรือ จะแก้ไข มาตรา 272 ปิดสวิตช์ส.ว. โดยมาตรา 256 นั้นเป็นมาตราเพื่อการแก้ไขรธน. ส่วนมาตรา 255 เป็นข้อห้ามที่เกี่ยวข้องจะเปลี่ยนแปลงประเทศ หรือระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะกระทำไม่ได้ แต่ที่เหลือนั้นต้องยึดอำนาจคืนมาจากสมาชิกรัฐสภา จึงหมายความว่า มาตรา 256 ให้อำนาจ ส.ส.และ ส.ว.เกินครึ่ง และถูกออกแบบให้ยากขึ้น เพราะว่า ที่เกินครึ่งนั้น จะต้องมีเสียง ส.ว.1 ใน 3 คือ 84 คน ด้วย
ส่วนมาตรา 272 นั้น เพื่อเป็นการตัดสวิตช์ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ซึ่งคนที่เสนอแนวทางนี้ ประเมินว่า จะมีสถานการณ์ขึ้นมาใหม่ก่อนที่จะแก้ไขรธน.เสร็จ โดยตนได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาว่า ตามสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ทั้ง มาตรา 256 และ มาตรา 272 จะไม่ได้แก้ไขแม้แต่มาตราเดียว
"สุดท้ายรธน.60 จะถูกฉีกตามเจตนา เนื่องจากมีการเขียนเงื่อนไขมากมายอยู่ในรธน.เกี่ยวกับการแก้ไข เพื่อให้แก้ไขได้ยาก ทั้งนี้ตนได้พูดมาตั้งแต่ตอนต้นว่ารธน.ฉบับนี้ ไม่ได้เขียนไว้เพื่อให้แก้ไขได้ แต่เป็นการเขียนไว้เพื่อส่งไม้ให้กับคณะรัฐประหารชุดใหม่"
นายจตุพร กล่าวว่า หากสถานการณ์สุกงอม ในวันที่ 19 ก.ย.นี้ ก็เชื่อว่าทั้งสองมาตรา จะไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งจริงๆไม่ได้ห่วง มาตรา 272 เรื่องปิดสวิตช์ ส.ว.เพราะหากแก้ไข มาตรา 256 ก็เท่ากับทุบคัทเอาท์ทิ้ง แต่หมายความว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะไปทุกคัทเอาท์ทิ้ง หรือจะปิดสวิตช์ ท้ายที่สุดคนจะมาพังหม้อแปลงขนาดใหญ่เสียก่อน ก็คือการยึดอำนาจ และสถานการณ์ขณะนี้ ถือว่าเปราะบาง เนื่องจากทุกอย่างเริ่มถึงทางตัน
“วันนี้จะมีการขับเคลื่อนอะไรก็ตาม ซึ่งแต่ละฝ่ายก็คิด และรอวันที่ 19 ก.ย.นี้ว่าจะลงมือก่อนวันที่ 19 หรือ วันที่ 19 หรืออาจจะหลังวันที่ 19 แต่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญจะไม่ได้แก้แม้แต่เพียงมาตราเดียว และลงท้ายด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญเช่นเดิม” นายจตุพร กล่าว
สนท.จี้ปล่อยตัว"อานนท์-ไมค์"
เมื่อเวลา 16.00 น. (6ก.ย.) กลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ได้ทะยอยมารวมตัวกันที่บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ถนนงามวงศ์วาน เรียกร้องให้ปล่อยตัว นายอานนท์ นำภา และ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ ระยอง แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก โดยไม่มีเงื่อนไข เพื่อยืนยันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 200 คน และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง ร่วมดูแลความปลอดภัย
ระหว่างการชุมนุม น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ แกนนำกลุ่มประชาชนปลดแอก ขึ้นเวทีปราศรัยเพื่อแสดงจุดยืนทวงความยุติธรรมให้ นายอานนท์ และ นายภาณุพงศ์ หลังถูกจับกุมขังในเรือนจำ ด้วยกฎหมายอาญามาตรา 116 จากนั้น ได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการนำศาลพระภูมิไม้ จำลอง 3 หลัง มาตั้งหน้าเวที และให้แกนนำที่ถูกดำเนินคดีอาญา มาตรา 116 จำนวน 3 คน นำโดย น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ อั๋ว ประธานสนท. , น.ส.สุวรรณา ตาลเหล็ก แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย และนายกรกช แสงเย็นพันธ์ หรือ ปอ ใช้ค้อนทุบศาลพระภูมิ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ว่าไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และเปิดเพลง เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ใช้อำนาจรังแกประชาชนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต่อการแก้รธน.60 หลังจากส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ได้ยื่นญัตติแก้ไข มาตรา 256 ให้ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มายกร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับนั้น ปรากฏว่า ขณะนี้ส.ว. มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้ตั้่ง และไม่ให้ตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรธน.ใหม่
ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ส.ว.มีการตั้งกลุ่มส.ว. 60 กว่าคน ใช้ชื่อว่า "กลุ่มส.ว.อิสระ" ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ไม่มีทหาร ตำรวจ โดยตั้งกลุ่มไลน์ ขึ้นมาเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องการแก้รธน. ซึ่งแนวทางของกลุ่มเห็นตรงกันว่า ควรสนับสนุนให้มีการแก้ไขรธน. แต่อยากให้มีการแก้เป็นรายมาตรา โดยพร้อมให้แก้ไข มาตรา 272 เรื่องการยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
นายกิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ ส.ว. กล่าวว่า ยอมรับอยู่ในกลุ่มส.ว.อิสระ ซึ่งแนวทางของกลุ่มสนับสนุนให้แก้รธน. แต่ควรแก้รายมาตรา ไม่ใช่การตั้ง ส.ส.ร.มายกร่างรธน.ใหม่ เพราะมองว่าส.ส.ร.ที่มาจาการเลือกตั้ง ไม่ใช่เป็นตัวแทนประชาชนจริงๆ แต่เป็นเงาส.ส. ทำให้ร่าง รธน.ฉบับใหม่ จะยังคงมีปัญหาความขัดแย้งไม่จบ และไม่สบายใจว่า ส.ส.ร.จะยกร่างรธน. เลยเถิดไปขนาดไหน และหากจะมีการแก้ มาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.โหวตนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ขัดข้อง เพราะแต่ละคนเห็นตรงกันว่า หมดความจำเป็นที่จะให้ส.ว.มาโหวตเลือกนายกฯแล้ว ถ้าพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการจะเป็นนายกฯ ต่อ ต้องใช้ความสามารถตัวเอง ไปหาเสียงสนับสนุนจากส.ส. เพื่อพิสูจน์บารมี จะได้มีความสง่างาม ไม่ต้องใช้เสียง ส.ว.มาช่วย จะได้ไม่ถูกมองเรื่องการสืบทอดอำนาจ
นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า ในวันที่ 8ก.ย.นี้ เวลา10.00 น. กลุ่ม ส.ว.อิสระ จะประชุมกันที่รัฐสภา เพื่อหารือกันและน่าจะมีข้อสรุปออกมาว่าจะแก้รธน. ในแนวทางใด ส่วนที่ ส.ว.คนอื่นๆ มีความคิดเห็นแตกแยกกันไปหลายทางนั้น ไม่ถือเป็นความแตกแยก แต่ละคนมีความคิดแนวทางของตัวเอง แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วส.ว. ทุกคน จะเห็นไปในแนวทางเดียวกันหมด
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.กล่าวว่า ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะพูดว่าส.ว.จะสนับสนุนให้ตั้ง ส.ส.ร. หรือไม่ เพราะต้องรอดู ร่างแก้ไขรธน. ฉบับอื่นๆ ว่ามีการเสนอเพิ่มเติมมาอีกหรือไม่ นอกเหนือจากร่างของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เท่าที่ดูเห็นว่าอาจจะมีร่างขอแก้ไขเป็นรายมาตราเข้าไป ต้องขอดูให้ครบทุกร่างก่อน เท่าที่คุยกับ ส.ว.ขณะนี้ ยังเสียงแตก มีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนให้ตั้ง ส.ส.ร.และไม่ตั้ง ส.ส.ร. อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้ว เชื่อว่าวุฒิสภา คงให้เป็นเอกสิทธิของส.ว.แต่ละคน ในการลงมติ ในที่ประชุมรัฐสภา วันที่ 24ก.ย.นี้ ว่า จะรับหลักการ ร่าง แก้ไขรธน. วาระแรกหรือไม่
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องการแก้ไข มาตรา272 เรื่องการตัดอำนาจ ส.ว.โหวตนายกฯ นั้น ส.ว.ไม่ขัดข้อง ทุกคนพร้อมลดอำนาจตัวเองลงมา เพราะสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมาเพิ่งส.ว.ลงมติเลือกนายกฯ เชื่อว่า ถ้าแก้ไขเพียงแค่ลดอำนาจเรื่องการโหวตนายกฯ ส.ว.ไม่ขัดข้อง แต่ถ้าจะไปถึงขั้นตัด ส.ว.ออกจากรธน.ฉบับนี้ หรือ ปิดสวิตช์ ส.ว.ทั้งระบบ คงเป็นไปไม่ได้ เพราะขัดต่อรธน.
คำนูณหนุนตั้งส.ส.ร.- ตัดส.ว.โหวตนายกฯ
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.โพสต์เฟซบุ๊กแสดงจุดยืนเรื่องแก้รธน.ว่า จะโหวตเห็นชอบกับการแก้ไขรธน. ทั้งการตั้ง ส.ส.ร. และตัดอำนาจ ส.ว.ในการร่วมเลือกนายกฯ ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าบทเฉพาะกาล ในรธน.มาตรา 269 ประกอบมาตรา 272 ที่ให้ คสช.คัดเลือกส.ว.250 คน แล้วให้ส.ว.ร่วมเลือกอดีตหัวหน้าคสช.เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยตามปกติ แต่เป็นระบอบการเมือง"เฉพาะกิจ"และ "เฉพาะกาล" ในช่วงเปลี่ยนผ่านของความขัดแย้ง เพื่อให้บรรลุ 2 เป้าหมายคือ ความสงบสุขในบ้านเมือง และให้การปฏิรูปประเทศตามแผนงานเดินหน้าได้ดีในช่วง 5 ปีแรก แต่แล้วประเด็นเรื่องความสงบสุขของบ้านเมืองนั้นปรากฏชัดเจนขณะนี้ว่า ไม่มีอยู่อย่างแน่นอนแล้ว เพราะเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขนาดหนักชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน การชุมนุมมวลชนกลับมาอีกในรูปแบบใหม่ ถ้าไม่มีการแก้รธน.เลย ไม่ว่าจะในประเด็นไหน อย่างไรก็จะยิ่งซ้ำเติมให้ความไม่สงบยกระดับสูงขึ้น
ส่วนการปฏิรูปประเทศนั้น ต้องยอมรับว่าคืบหน้าช้ามาก และจะไม่เป็นไปตามที่รธน. กำหนดไว้ให้สัมฤทธิผลในปี 2565 อย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ ที่ทุกคนรอคอยอย่างเช่น การปฏิรูปตำรวจ จำเป็นที่จะต้องกล่าวด้วยความเจ็บปวดว่า รัฐบาลชุดนี้"สอบไม่ผ่าน"ในเรื่องนี้ เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ขณะนี้ "ไม่คุ้มค่า" ที่จะคงมาตรการพิเศษเฉพาะกิจ และเฉพาะกาลช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะที่อ้างว่าเพื่อให้การปฏิรูปประเทศเดินหน้าไว้อีกต่อไป
"จตุพร" จุดพลุยึดอำนาจ ฉีกรธน.
ด้านนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. กล่าวถึงการแก้ไขรธน.ว่า มีประเด็นออกไป 2 แนวทาง คือ แก้ไขมาตรา 256 ยกเว้นหมวด 1 และ 2 หรือ จะแก้ไข มาตรา 272 ปิดสวิตช์ส.ว. โดยมาตรา 256 นั้นเป็นมาตราเพื่อการแก้ไขรธน. ส่วนมาตรา 255 เป็นข้อห้ามที่เกี่ยวข้องจะเปลี่ยนแปลงประเทศ หรือระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะกระทำไม่ได้ แต่ที่เหลือนั้นต้องยึดอำนาจคืนมาจากสมาชิกรัฐสภา จึงหมายความว่า มาตรา 256 ให้อำนาจ ส.ส.และ ส.ว.เกินครึ่ง และถูกออกแบบให้ยากขึ้น เพราะว่า ที่เกินครึ่งนั้น จะต้องมีเสียง ส.ว.1 ใน 3 คือ 84 คน ด้วย
ส่วนมาตรา 272 นั้น เพื่อเป็นการตัดสวิตช์ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ซึ่งคนที่เสนอแนวทางนี้ ประเมินว่า จะมีสถานการณ์ขึ้นมาใหม่ก่อนที่จะแก้ไขรธน.เสร็จ โดยตนได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาว่า ตามสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ทั้ง มาตรา 256 และ มาตรา 272 จะไม่ได้แก้ไขแม้แต่มาตราเดียว
"สุดท้ายรธน.60 จะถูกฉีกตามเจตนา เนื่องจากมีการเขียนเงื่อนไขมากมายอยู่ในรธน.เกี่ยวกับการแก้ไข เพื่อให้แก้ไขได้ยาก ทั้งนี้ตนได้พูดมาตั้งแต่ตอนต้นว่ารธน.ฉบับนี้ ไม่ได้เขียนไว้เพื่อให้แก้ไขได้ แต่เป็นการเขียนไว้เพื่อส่งไม้ให้กับคณะรัฐประหารชุดใหม่"
นายจตุพร กล่าวว่า หากสถานการณ์สุกงอม ในวันที่ 19 ก.ย.นี้ ก็เชื่อว่าทั้งสองมาตรา จะไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งจริงๆไม่ได้ห่วง มาตรา 272 เรื่องปิดสวิตช์ ส.ว.เพราะหากแก้ไข มาตรา 256 ก็เท่ากับทุบคัทเอาท์ทิ้ง แต่หมายความว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะไปทุกคัทเอาท์ทิ้ง หรือจะปิดสวิตช์ ท้ายที่สุดคนจะมาพังหม้อแปลงขนาดใหญ่เสียก่อน ก็คือการยึดอำนาจ และสถานการณ์ขณะนี้ ถือว่าเปราะบาง เนื่องจากทุกอย่างเริ่มถึงทางตัน
“วันนี้จะมีการขับเคลื่อนอะไรก็ตาม ซึ่งแต่ละฝ่ายก็คิด และรอวันที่ 19 ก.ย.นี้ว่าจะลงมือก่อนวันที่ 19 หรือ วันที่ 19 หรืออาจจะหลังวันที่ 19 แต่เชื่อว่า รัฐธรรมนูญจะไม่ได้แก้แม้แต่เพียงมาตราเดียว และลงท้ายด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญเช่นเดิม” นายจตุพร กล่าว
สนท.จี้ปล่อยตัว"อานนท์-ไมค์"
เมื่อเวลา 16.00 น. (6ก.ย.) กลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ได้ทะยอยมารวมตัวกันที่บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ถนนงามวงศ์วาน เรียกร้องให้ปล่อยตัว นายอานนท์ นำภา และ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือ ไมค์ ระยอง แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก โดยไม่มีเงื่อนไข เพื่อยืนยันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงา มีผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 200 คน และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้อง ร่วมดูแลความปลอดภัย
ระหว่างการชุมนุม น.ส.ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล หรือ มายด์ แกนนำกลุ่มประชาชนปลดแอก ขึ้นเวทีปราศรัยเพื่อแสดงจุดยืนทวงความยุติธรรมให้ นายอานนท์ และ นายภาณุพงศ์ หลังถูกจับกุมขังในเรือนจำ ด้วยกฎหมายอาญามาตรา 116 จากนั้น ได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการนำศาลพระภูมิไม้ จำลอง 3 หลัง มาตั้งหน้าเวที และให้แกนนำที่ถูกดำเนินคดีอาญา มาตรา 116 จำนวน 3 คน นำโดย น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ อั๋ว ประธานสนท. , น.ส.สุวรรณา ตาลเหล็ก แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย และนายกรกช แสงเย็นพันธ์ หรือ ปอ ใช้ค้อนทุบศาลพระภูมิ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ว่าไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม และเปิดเพลง เพื่อขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ใช้อำนาจรังแกประชาชนที่เคลื่อนไหวทางการเมือง