บอร์ดรฟม. สั่งเจรจา EBM ขยาย"สีเหลือง"เชื่อมสีเขียว สัญญาต้องเปิดให้เจรจาชดเชยผลกระทบ MRTชี้เป็นความเสี่ยง ให้เวลาถึงเปิดเดินรถ ก.ค.65 และเห็นชอบตั้งเผื่อหนี้สูญ 97 ล้าน ปมคดีทางเชื่อม "คอนโด แอชตัน"
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้รายงานต่อที่ประชุมบอร์ดรฟม. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมาร ถึงผลการเจรจาเงื่อนไข การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน กับบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรลจำกัด(EBM)ผู้รับสัมปทาน กรณีผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งทาง EBMยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีมีการชดเชยให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า MRTสายสีน้ำเงิน กรณีที่การต่อขยายสายสีเหลือง ส่งผลกระทบต่อรายได้ และผู้โดยสารของ MRTสายสีน้ำเงิน
ทั้งนี้ บอร์ดเห็นว่า เรื่องนี้ เป็นประเด็นสำคัญที่จะปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงมีมติให้ รฟม.เจรจาต่อไป ซึ่งรฟม. ต้องการให้สัญญาเปิดให้มีการเจรจากันได้ในอนาคตเท่านั้น จึงให้ทาง EBM ยอมรับในการเจรจากับภายหลัง กรณีที่เกิดผลกระทบกับสายสีน้ำเงิน และการขาดรายได้ โดย ส่วนของBEMมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ ว่า ผลกระทบเกิดขึ้นจากการต่อขยายสายสีเหลือง เป็นเท่าไร
"รฟม.ได้สอบถามอัยการแล้ว ซึ่งอัยการระบุว่า หลักของการเยียวยา ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจริงก่อน ถึงจะนำตัวเลขนั้นมาพิจารณามูลค่าความเสียหาย วันนี้เราเห็นว่า มีโอกาสที่เกิดความเสียหายสูง จึงต้องการให้เปิดสัญญาไว้เพื่อให้เจรจากันได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ มีเวลาเจรจาไปจนกว่าจะเปิดเดินรถสายสีเหลืองส่วนหลัก ครบตลอดสายในเดือนก.ค.65”
รายงานข่าวแจ้งว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตามแผนแม่บทกำหนดเส้นทางช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ที่สถานีลาดพร้าวอยู่แล้ว แต่เมื่อเปิดประมูล ทางEBMเสนอขอต่อขยายสายสีเหลืองไปอีก 2.6 กม. จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 โดยรับผิดชอบออกค่าก่อสร้าง ค่าเวนคืนราว 3,000-4,000 ล้านบาทเอง และยืนยันว่าไม่มีหน้าที่ชดเชยกรณีผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRTลดลง
นอกจากนี้ บอร์ดรฟม.ยังอนุมัติตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กรณีทางเชื่อมคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศกของ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์กับสถานีสุขุมวิท ประมาณ 97 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าต่อเชื่อมและค่าเสียโอกาส ที่ทำให้ลานจอดรถ รฟม.เปิดให้บริการไม่ได้ประมาณ 4 ปี เนื่องจากทางเอกชน มีปัญหาฟ้องร้องกับกทม. เรื่องการขออนุญาตเปิดใช้อาคาร ปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุด ขณะนี้เดียวกัน สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบเรื่องการอนุญาตทำทางเชื่อม อาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งทาง อนันดามีการวางแบงก์การันตีไว้ แต่ทางหลักบัญชี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่เรียกเก็บ ต้องตั้งเป็นหนี้เผื่อสงสัยจะสูญไว้ก่อน
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.ได้รายงานต่อที่ประชุมบอร์ดรฟม. ที่มี นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมาร ถึงผลการเจรจาเงื่อนไข การต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน กับบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรลจำกัด(EBM)ผู้รับสัมปทาน กรณีผลกระทบต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งทาง EBMยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีมีการชดเชยให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้า MRTสายสีน้ำเงิน กรณีที่การต่อขยายสายสีเหลือง ส่งผลกระทบต่อรายได้ และผู้โดยสารของ MRTสายสีน้ำเงิน
ทั้งนี้ บอร์ดเห็นว่า เรื่องนี้ เป็นประเด็นสำคัญที่จะปิดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงมีมติให้ รฟม.เจรจาต่อไป ซึ่งรฟม. ต้องการให้สัญญาเปิดให้มีการเจรจากันได้ในอนาคตเท่านั้น จึงให้ทาง EBM ยอมรับในการเจรจากับภายหลัง กรณีที่เกิดผลกระทบกับสายสีน้ำเงิน และการขาดรายได้ โดย ส่วนของBEMมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ ว่า ผลกระทบเกิดขึ้นจากการต่อขยายสายสีเหลือง เป็นเท่าไร
"รฟม.ได้สอบถามอัยการแล้ว ซึ่งอัยการระบุว่า หลักของการเยียวยา ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจริงก่อน ถึงจะนำตัวเลขนั้นมาพิจารณามูลค่าความเสียหาย วันนี้เราเห็นว่า มีโอกาสที่เกิดความเสียหายสูง จึงต้องการให้เปิดสัญญาไว้เพื่อให้เจรจากันได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ มีเวลาเจรจาไปจนกว่าจะเปิดเดินรถสายสีเหลืองส่วนหลัก ครบตลอดสายในเดือนก.ค.65”
รายงานข่าวแจ้งว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตามแผนแม่บทกำหนดเส้นทางช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ที่สถานีลาดพร้าวอยู่แล้ว แต่เมื่อเปิดประมูล ทางEBMเสนอขอต่อขยายสายสีเหลืองไปอีก 2.6 กม. จากสถานีแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สถานีพหลโยธิน 24 โดยรับผิดชอบออกค่าก่อสร้าง ค่าเวนคืนราว 3,000-4,000 ล้านบาทเอง และยืนยันว่าไม่มีหน้าที่ชดเชยกรณีผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRTลดลง
นอกจากนี้ บอร์ดรฟม.ยังอนุมัติตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ กรณีทางเชื่อมคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศกของ บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์กับสถานีสุขุมวิท ประมาณ 97 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าต่อเชื่อมและค่าเสียโอกาส ที่ทำให้ลานจอดรถ รฟม.เปิดให้บริการไม่ได้ประมาณ 4 ปี เนื่องจากทางเอกชน มีปัญหาฟ้องร้องกับกทม. เรื่องการขออนุญาตเปิดใช้อาคาร ปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุด ขณะนี้เดียวกัน สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบเรื่องการอนุญาตทำทางเชื่อม อาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งทาง อนันดามีการวางแบงก์การันตีไว้ แต่ทางหลักบัญชี หากครบ 1 ปีแล้วยังไม่เรียกเก็บ ต้องตั้งเป็นหนี้เผื่อสงสัยจะสูญไว้ก่อน