xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

จับตาภารกิจถ่ายโอน"แหล่งน้ำ"ให้อปท. เน้นโปรเจกต์ "ก่อสร้าง"ความจุ1 แสนลบ.ม.

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ถือเป็นเรื่องใหม่ เกี่ยวกับ "การถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำ ตามแผนการกระจายอำนาจฯ ให้กับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีศักยภาพ ตามมติการประชุมคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อ วันที่ 6 ส.ค.63 มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ เห็นชอบ (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ...และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) หลังจากเสนอไปยัง "สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ"หรือ สภาพัฒน์ พิจารณากลั่นกรองก่อนเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณา รวมถึงเวที"คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ทั้งระบบ" สภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญ นายเลอพงศ์ ลิ้มรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิในก.ก.ถ. และผู้อำนวยการ สำนักงาน ก.ก.ถ. ไปร่วมชี้แจง

โดยประเด็น "การถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำ ตามแผนการกระจายอำนาจฯ" รวมถึง ร่างแผนการกระจายอำนาจทั้ง 2 ฉบับ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. การถ่ายโอนภารกิจก่อสร้าง ดูแล และบำรุงรักษาแหล่งน้ำให้กับ อปท. นั้น ควรมีการพิจารณาสนับสนุนเงินงบประมาณให้กับ อปท. เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอ เพื่อรองรับภารกิจที่ เพิ่มขึ้นด้วย

2. กำหนดให้ อบต. รับการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำในการก่อสร้าง ดูแล และบำรุงรักษาแหลงน้ำปริมาตรการเก็บกักน้ำขนาดไม่เกิน 1แสนลูกบาศก์เมตร หาก อบจ. กำหนดให้ รับการถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำในการก่อสร้าง ดูแล และบำรุงรักษาแหล่งน้ำปริมาตรการเก็บกักน้ำขนาด ตั้งแต่ 1 แสนลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ หาก อบต. ใดที่มีศักยภาพในการก่อสร้าง ดูแล และบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ปริมาตรการเก็บกักน้ำขนาดเกินกว่า 1 แสนลูกบาศก์เมตรได้

3. การกำหนดให้ อบจ. สามารถดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำในเขตพื้นที่ อปท. เดียวได้ ในกรณี อปท. นั้นไม่มีศักยภาพและร้องขอให้ อบจ. ช่วยเหลือ และเมื่อ อบจ. ดำเนินการแล้ว เสร็จให้ถ่ายโอนให้ อปท. นั้น บริหารจัดการและบำรุงรักษาต่อไป เช่น อ่างเก็บน้ำที่มีการ "ใช้"ประโยชน์และ ตั้งอยู่ในพื้นที่ อปท. เดียว คลอส่งน้ำ ที่มีการใช้ประโยชน์และครอบคลุมพื้นที่ อปท. เดียว ฝายน้ำล้นที่กั้นลำ น้ำไหลผ่าน อปท. เดียว และบ่อน้ำบาดาล เป็นต้น ในกรณีนี้จะต้องมีการจัดสรรเงินงบประมาณและบุคลากร ให้อย่างเพียงพอ

4. ควรมีการพิจารณาทบทวนว่า การถ่ายโอนภารกิจด้านแหล่งน้ำใน การก่อสร้าง ดูแล และบำรุงรักษาแหล่งน้ำให้กับ อปท. ที่ผ่านมามีปัญหา อุปสรรค อย่างไรบ้าง และมีภารกิจ ใดที่ไม่ควรดำเนินการถ่ายโอนไปหรือไม่ เช่น ฝาย ประตูระบายน้ำ เป็นต้น

5. ควรมีการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านความรู้ความสามารถ ของบุคลากร ซึ่งการอบรมหรือการจัดคู่มือนั้น ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาด้านความรู้ความสามารถของ บุคลากร ซึ่งการอบรมหรือการจัดทำคู่มือนั้นไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะการก่อสร้างดูแล บำรุงรักษาแหล่งน้ำเป็นเทคนิควิชาการทางวิศวกรรมค่อนข้างสูง

6. การกำหนดให้ อปท. มีอำนาจออกข้อบัญญัติในการเก็บค่าใช้น้ำ และมีหน้าที่ดูแลรักษา บริหารจัดการแหล่งน้ำนั้น ในทางปฏิบัติมีความเป็นไปได้ยาก

7. ควรกำหนดให้การโอนภารกิจ ก่อสร้าง ดูแล และบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ให้กับอปท.ใด ที่เกินศักยภาพของอปท.นั้น ให้อปท.ดังกล่าวสามารถโอนภารกิจ ก่อสร้าง ดูแล และ บำรุงรักษาแหล่งน้ำคืนกลับมาที่ส่วนราชการหรือกรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านทรัพยากรน้ำได้ โดยความสมัคร ใจของ อปท. เอง และควรกำหนดขั้นตอนการโอนภารกิจกลับคืนมาให้สามารถดำเนินการได้โดยง่าย

สำหรับ ร่างทั้ง 2 ฉบับ ก.ก.ถ. เคยมีมติ ให้ สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี (สปน.) ฝ่ายเลขานุการ ไปดำเนินการพิจารณา "ถ่ายโอน" ให้สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ ในประเด็นการ "จัดสรรค่าภาคหลวงแร่ปีโตรเลียม" และ "การก่อสร้างแหล่งน้ำและระบบส่งน้ำ"

ที่ผ่านมา มีการประเมินความสำเร็จการถ่ายโอนตามแผนการกระจาย อำนาจฯ และแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ และฉบับที่ ควบคู่ไปกับการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนเป็นประจำทุกปี เพื่อถอดบทเรียนการถ่ายโอนและรับการถ่ายโอนภารกิจ ปัญหาอุปสรรคและเงื่อนไข เพื่อที่จะทำให้การถ่ายโอนประสบความสำเร็จและมีความต่อเนื่อง มีการประเมินศักยภาพ ความพร้อม และเงื่อนไขของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ละประเภท ในแต่ละจังหวัด เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและ จัดลำดับความสำคัญของภารกิจถ่ายโอนที่สอดคล้องกับบริบทและความพร้อมของแต่ละพื้นที่

กำหนดตัวชี้วัดผลการถ่ายโอนที่แสดงผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน เพื่อให้ สามารถวิเคราะห์ผลการดำเนินการและวัดระดับความสำเร็จ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับแผนดำเนินงานและ สามารถติดตามประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มเติมปรับปรุงมาตรฐานของ อปท.ในเรื่องระบบบัญชีและ การทำรายงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานส่วนกลาง รวมทั้งแผนแหล่งที่มาของรายได้ที่ชัดเจน ให้ สำนักงาน ก.ก.ถ. กำหนดแนวทางที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้ อปท. ริเริ่มภารกิจใหม่ตามอำนาจหน้าที่ และภารกิจโดยตรงอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่และสอดคล้องกับศักยภาพของ อปท. แต่ละประเภทต่อไป

ประเด็นนี้ ต่อมาคณะอนุกรรมการทบทวนและจัดทำแผนการกระจายอำนาจให้แก่อปท.และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ฉบับที่ 3 เห็นชอบ แผนการกระจายอำนาจฯ "เพิ่มเติม" โดยให้หลักการถ่ายโอนภารกิจ เรื่องความพร้อมของ อปท. ควรให้มี การประเมินศักยภาพ ความพร้อมและเงื่อนไขของ อปท. แต่ละประเภทในแต่ละจังหวัด เพื่อนำไปสู่การ กำหนดเป๋าหมาย การจัดลำดับความสำคัญของภารกิจถ่ายโอนที่สอดคล้องกับบริบทและความพร้อมของ อปท. ในแต่ระดับ

ส่วนการถ่ายโอนภารกิจแก้ไข "ขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจแหล่งน้ำ อุปโภค/บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระหว่างรัฐกับ อปท. และ อปท. ด้วยกันเอง ให้ปรับปรุงแหล่งน้ำที่ส่วนราชการรับผิดชอบเป็น “แหล่งน้ำขนาดใหญ่”ที่มีปริมาตรกักเก็บตั้งแต่ 1ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไปและระบบส่งน้ำที่มีพื้นที่และประโยชน์ตั้งแต่ 400ไร่ขึ้นไป

การติดตามของส่วนราชการหลังการถ่ายโอนภารกิจให้ เพิ่มข้อความ และในกรณีโครงสร้างแหล่งน้ำ ประเภทเขื่อน อ่าง ฝายทดน้ำ ประตูระบายน้ำ เป็น “โครงสร้าง เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแกร่ง”ต้องใช้เทคนิควิชาการเฉพาะด้านวิศวกรรมระดับสูงให้หน่วยงานเจ้าของทรัพย์สินสามารถรับโอนทรัพย์สินที่ถ่ายโอนแล้ว แต่เกินศักยภาพของ อปท. หรือภารกิจนอกเหนือขอบเขตที่ กำหนด หรือโครงการที่ต้องใช้เทคนิคเฉพาะ หรือโครงการที่จำเป็นต้องบริหารจัดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

รวมทั้งให้สามารถตั้งงบประมาณซ่อมแซมทรัพย์สินที่ถ่ายโอนแล้ว เกิดความเสียหายเร่งด่วน เกินขีดความสามารถของ อปท. ที่จะซ่อมแซมได้และเมื่อส่วนราชการดำเนินการซ่อมแซมแล้วให้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการโดยเสนอให้ ก.ก.ถ. พิจารณาให้ความเห็นขอบเป็น รายกรณีไป เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น