ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
บันทึกหนังสือของ “นายอรรถพล ใหญ่สว่าง” ประธานคณะกรรรมการอัยการ (ก.อ.) ได้ทำหนังสือบันทึกข้อความถึง “นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์” อัยการสูงสุด (อสส.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เรื่องการแถลงข่าวผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดีนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 นั้นสรุปสาระสำคัญก็คือ...
“อัยการสูงสุดคนเก่า” ให้ยุติการร้องขอเป็นธรรมไปแล้วและเห็นชอบให้สั่งฟ้องตามเดิม “รองอัยการสูงสุดคนปัจจุบัน”ซึ่งอยู่ระดับต่ำกว่าจะ “รื้อฟื้น” ถึงขั้นกลับความเห็นของ “อัยการสูงสุด”นั้นกระทำไม่ได้ เพราะไม่มีระเบียบรองรับ หากจะมีโอกาส“กลับความเห็นเดิม”ได้ต้องเป็นความเห็นของ “อัยการสูงสุด”เท่านั้น”
เหตุนี้เกิดขึ้นก็เพราะ นายรวรยุทธ อยู่วิทยา ได้เคยมีการเรียกร้องขอความเป็นธรรมก่อนหน้านี้ถึง 6 ครั้งในสมัยร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภารเป็นอัยการสูงสุดแล้ว ในจำนวนการร้องเรียนขอความเห็นธรรมในสมัยนั้น ได้รวมถึงประเด็นคำให้การของรองศาสตราจารย์ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และรายงานพิจารณาของคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
ความหมายของข้อความข้างต้นนั้นย่อมหมายถึงว่าที่ว่าพยานใหม่ หรือหลักฐานใหม่นั้น แท้ที่จริงเป็น“พยานเดิม” และ“หลักฐานเดิม” ซึ่งได้มีข้อยุติไปแล้วโดยร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้น
และร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภาร เป็นอัยการสูงสุดในเวลานั้น“ได้สั่งให้ยุติการพิจารณาคำร้องขอ ความเป็นธรรมของนายวรยุทธ อยู่วิทยาแล้ว” จึงเห็นชอบให้มีการ“สั่งฟ้อง” นั่นหมายถึงว่ากระบวนการร้องขอความเป็นธรรมได้เป็นที่ยุติ และเห็นควรให้“สั่งฟ้อง”ไปแล้ว จึงได้มีการออกหมายจับตามมา
การสั่งฟ้องดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งได้ผ่านกระบวนการ “การร้องขอความเป็นธรรม”ไปแล้ว !!!
ในกระบวนการร้องขอความเป็นธรรมนั้น ได้มีระเบียบขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับการ“กลับความเห็นเดิม”หรือ“กลับความเห็นคำสั่งเดิม”ได้ซึ่งระเบียบที่ว่านั้น อยู่ในส่วนที่ 3“การร้องขอความเป็นธรรม”ที่ปรากฏใน ข้อ 48 ของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ความว่า :
“ข้อ 48 (การสั่งคดีกรณีร้องขอความเป็นธรรม)
คดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรม ในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหาหรือบางข้อหา ให้เสนอสำนวนพร้อมความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง
กรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นเพื่อฟ้องศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่งพร้อมทั้งสำเนารายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ
กรณีดังกล่าวในวรรคก่อน หากเป็นกรณีที่ต้องกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม หรือต้องถอนฟ้อง ให้นำความในข้อ 6 วรรคท้าย หรือข้อ 128 มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี”
และในกรณีที่จะมีการ“กลับความเห็นเดิม” หรือ“กลับคำสั่งเดิม” จะต้องนำระเบียบข้อ 6 วรรคท้าย นำมาใช้บังคับ ความว่า :
“ข้อ 6 วรรคท้าย
ผู้บังคับบัญชาอาจเรียกสำนวนคดีใดคดีหนึ่งที่อยู่ในเขตอำนาจมาตรวจสอบพิจารณาและหรือดำเนินคดีเสียเอง หรือจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดคนหนึ่งดำเนินคดีแทนก็ได้และในกรณีที่เห็นควรกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม ให้เสนอตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง เว้นแต่ความเห็นหรือคำสั่งเดิมนั้นเป็นของอธิบดี ให้เสนออัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่ง”
เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจโดยสรุปโดยรวมก็คือ“อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้”ทำความเห็นส่งฟ้องและส่งเรื่องให้“อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้”เห็นชอบให้สั่งฟ้องตามเสนอ โดยหนึ่งในข้อหาสำคัญที่เป็นประเด็น คือข้อหาขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถอื่นเสียหาย และมีผู้ถึงแก่ความตาย
แต่นายวรยุทธ อยู่วิทยา ได้ยื่นเรื่องพร้อมขอความเป็นธรรมถึง 6 ครั้ง ไปให้ ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้นแล้วด้วย ผลการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมทั้งหมดให้ยุติด้วยการสั่งฟ้องและยื่นคำร้องเพื่อขอศาลอาญากรุงเทพใต้เพื่อให้ “ออกหมายจับ” นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 แล้ว
โดยหนึ่งในประเด็นการร้องเรียนความเป็นธรรมของนายวรยุทธ อยู่วิทยา นั้นได้รวมถึง พยาน 2 ปาก คือพลอากาศโทจักรกฤช ถนอมกุลบุตร และนายจารุชาติ มาดทอง เคยเป็นพยานในคำให้การตั้งแต่ พ.ศ. 2555 แล้ว แต่อัยการไม่เห็นว่าพยานดังกล่าวมีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือด้วย
ข้อร้องเรียนพยาน 2 ปากข้างต้น ก็ได้มีการยื่นร้องขอความเป็นธรรมให้กับ ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดแล้ว ผลการพิจารณาคือให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม และให้สั่งฟ้องและยื่นคำร้องเพื่อขอศาลอาญากรุงเทพให้เพื่อให้ “ออกหมายจับ” นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
ส่วนประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือคำให้การของรองศาสตราจารย์ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรายงานพิจารณาของคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้มีการยื่นเรื่องเพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
โดยในขณะนั้นร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุด ก็เป็นรองประธานคนที่ 2 ของคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวด้วย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่จะเข้าข่ายการร้องขอความเป็นธรรมตามข้อ 48 ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ได้
และต่อให้คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะส่งไปเพียงแค่ “ผลรายงานการศึกษา” ถึงอัยการสูงสุด และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้
อัยการสูงสุดและอธิบดีอัยการ สำนักคดีอาญากรุงเทพใต้ ก็ไม่สามารถพิจารณา โดยอาศัย ข้อ 48ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ได้ เพราะ “ไม่ใช่การร้องขอความเป็นธรรม”
อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือรายงานของ คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
แต่ผลการพิจารณาคือ ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้น ก็ให้ยุติด้วยการร้อขอความเป็นธรรม และให้สั่งฟ้องและขอศาลอาญากรุงเทพให้เพื่อให้ “ออกหมายจับ” นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 เช่นกัน
กรณีดังกล่าวนี้จึง“ไม่เกิดการกลับความเห็น”และ“ไม่เกิดการกลับคำสั่ง” เพราะอัยการสูงสุด เห็นพ้องด้วย จึงเกิดคำสั่งฟ้องและการออกหมายจับได้ ตามวรรค 2 ของข้อ 48ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ความว่า:
“กรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นเพื่อฟ้องศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่งพร้อมทั้งสำเนารายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ”
นั่นหมายความว่ากรณีร้องขอความเป็นธรรมในประเด็นเหล่านี้ทั้งหมด ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการให้สั่งฟ้องและออกหมายจับ!!!!
ผลการร้องขอความเป็นธรรมยุติตรงที่ “ไม่มีการกลับความเห็น “ และ “ไม่เกิดการกลับคำสั่ง” ของ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ด้วย “อัยการสูงสุด”
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 141 บัญญัติในวรรค 4 บัญญัติว่า การจะออกหมายจับได้นั้น อัยการจะต้องมีความเห็นควรสั่งฟ้องก่อนเท่านั้น :
“มาตรา 141 วรรคสี่ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ก็ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศ ให้พนักงานอัยการจัดการเพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดนมา”
แต่เนื่องจากรณีมีการร้องขอความเป็นธรรมไปถึงร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดไปแล้ว
นายสุทธิ กิตติศุภพร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ จึงต้องส่งหนังสือของนายวรยุทธ อยู่วิทยา เรื่องการขอเลื่อนคำสั่งฟ้องของอัยการโดยอ้างว่าติดภารกิจต่างประเทศ ไปให้“อัยการสูงสุด”พิจารณาเพื่อขอศาลอาญากรุงเทพใต้“ออกหมายจับ” ต่อไป
ปรากฏเป็นหลักฐานด้วยคำสัมภาษณ์ของนายสุทธิ กิตติศุภพร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 ความว่า:
“อัยการยืนยันว่า จะไม่ยอมให้เลื่อนรับฟังคำสั่งฟ้องได้อีกแล้ว ทั้งนี้ได้ส่งหนังสือขอเลื่อนดังกล่าว ให้อัยการสูงสุดพิจารณา เพื่อออกหมายจับนายวรยุทธต่อไป คาดว่าจะมีความชัดเจนเรื่องการนำตัวนายวรยุทธดำเนิคดีช่วงบ่ายวันนี้”
สอดคล้องและยืนยันด้วยคำสัมภาษณ์ของร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 ความตอนหนึ่งว่า :
“ที่ผ่านมาอัยการได้พิจารณาให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหามาตลอดถึง 6 ครั้ง หากสั่งคดีล่าช้าอีก อาจเกิดความเสียหายต่อคดี เป็นที่เคลือบแคลงของสังคม และกระทบภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการสูงสุดได้”
ดังนั้น...
“อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้” เห็นควรมีคำสั่งฟ้อง
“อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้” เห็นควรมีคำสั่งฟ้อง
“อัยการสูงสุด” หลังรับฟัง การร้องขอความเป็นธรรม ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 แล้วมีคำสั่งตามวรรคสองคือให้“มีคำสั่งฟ้อง”จึงให้ดำเนินการขอศาลเพื่อออกหมายจับได้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
กรณีดังกล่าวนี้จึงเป็นเหตุการที่อัยการสูงสุด “ไม่เกิดการกลับความเห็น” และ“ไม่เกิดการกลับคำสั่ง” ของ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้
ดังนั้นการที่นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ไปดำเนิน “การสอบสวนเพิ่มเติม” ใน “ประเด็นเดิม” พยานเดิมและหลักฐานเดิม แล้วได้ลงนามในคำสั่ง “ไม่ฟ้อง”เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยอ้างว่าเป็นการกลับคำสั่งของ “อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้”เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 นั้น...
เป็นการกระทำความผิด ข้อ 48 และ ข้อ 6 วรรคท้ายของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547
เพราะกรณีนี้ได้มีการร้องขอความเป็นธรรมจนเสร็จสิ้นในระดับ“อัยการสูงสุด”ไปแล้ว
กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่การ“กลับความเห็น”หรือ“กลับคำสั่ง”ของ “อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้”
แต่เป็นการ “กลับความเห็น และ กลับคำสั่ง ของอัยการสูงสุดที่ได้ดำเนินการยุติในการร้องขอความเป็นธรรมไปแล้ว
อัยการสูงสุด“ไม่กลับความเห็น” คำสั่งฟ้องของอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้
อีกทั้ง“อัยการสูงสุด” ยังเห็นชอบให้เจ้าพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ดำเนินการเพื่อขอศาลให้ออกหมายจับต่อไปตามระเบียบข้อ 48 ของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปแล้ว
ยืนยันด้วยคำสัมภาษณ์ของ ร.ท.สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 ความตอนหนึ่งว่า
“ได้เคยมีการร้องขอความเป็นธรรมและได้พิจารณา “ยุติ” เรื่องร้องขอความเป็นธรรมแล้ว สำหรับความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานเดิม
จึงให้ยุติเรื่องร้องขอความเป็นธรรมและ “ให้” อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ แจ้งพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้ได้ตัวนายวรยุทธ มาฟ้องตามคำสั่งต่อไป”
ซึ่งตามระเบียบข้อ 48 และข้อ 6 วรรท้าย ของระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547ไม่มีข้อกำหนดให้ “รองอัยการสูงสุด” กลับความเห็น หรือ กลับคำสั่ง ของ “อัยการสูงสุด”ได้
โดยภายหลังจากได้ข้อยุติให้สั่งฟ้องและออกหมายจับแล้วนายนิวิษฐ์ ประสิทธิ์วิเศษ อธิบดีอัยการสำนักงานอาญากรุงเทพใต้ ได้มีหนังสือ เลขที่ อส 00017 (อก.)/86 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ซึ่งได้ตอบหนังสือขอทราบผลการพิจารณาการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ของ ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้สอบถามไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 โดยได้ตอบความในตอนท้ายว่า:
“ต่อมาได้พิจารณาผลการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วเห็นว่า ปรากฏตามข้อเท็จจรงใหม่เพิ่มเติมซึ่งมีเหตุรับฟังได้ และได้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อทั้งหมด“ให้อัยการสูงสุดพิจารณา”ซึ่งต่อมา“อัยการสูงสุด”ได้พิจารณาแล้ว“มีคำสั่งให้ยุติเรื่องขอความเป็นธรรม”
ด้วยเหตุผลนี้ “นายอรรถพล ใหญ่สว่าง”ประธานคณะกรรรมการอัยการ (ก.อ.) จึงได้ทำหนังสือถึงนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์”อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อทักท้วงว่า“รองอัยการสูงสุด”กลับความเห็น และกลับคำสั่งของ“อัยการสูงสุดคนเก่า”นั้นไม่ได้ อันเป็นผลทำให้คำสั่ง “ไม่ฟ้อง”นี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย...ซึ่งแนวทางความเห็นของ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง นั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว “เฉพาะในประเด็นแรก”
แต่หนังสือนายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรรมการอัยการ (ก.อ.) กลับเปิดช่องว่า หากจะมีพนักงานอัยการผู้มีอำนาจพิจารณาดำเนินการสั่งคดีดังกล่าวได้อีกก็มีแต่เฉพาะ “อัยการสูงสุด” เท่านั้น !!!
ซึ่งในประเด็นหลังนี้ที่ว่า อัยการสูงสุดคนปัจจุบันสามารถ “กลับความเห็น “ หรือ “กลับคำสั่ง” อัยการสูงสุดคนเก่าได้ ก็ไม่น่าจะกระทำได้เช่นกัน
เหตุผลก็เพราะว่า ข้อ 48 และ ข้อ 6 วรรคท้ายของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547ไม่มีข้อความใดให้ อัยการสูงสุด “กลับความเห็น” หรือ “กลับคำสั่ง”ของอัยการสูงสุดได้เช่นเดียวกัน !!!
โดยเฉพาะเรื่องนี้มีการร้องขอความเป็นธรรม อีกทั้งมีการพิจารณาขอความเป็นธรรมไปถึงขั้นอัยการสูงสุดเป็นที่ยุติแล้วตั้งแต่สมัย ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภาร เป็นอัยการสูงสุด และได้มีการยุติการร้องขอความเป็นธรรมด้วยการให้มีการสั่งฟ้องและขอหมายจับต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้
และศาลอาญากรุงเทพใต้ ก็ได้พิจารณาและใช้ดุลพินิจด้วยการออกหมายจับให้ตามที่ เจ้าพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ร้องขอ และการผู้พิพาษาพิจารณาแล้วออกหมายจับให้นั้นย่อมแสดงว่าผู้พิพากษา ศาลอาญากรุงเทพใต้ย่อมเห็น“เหตุ”ว่า“มีหลักฐานตามสมควรว่านายวรยุทธ อยู่วิทยา น่าจะได้กระทำความผิดอาญา”อันเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 66
ดังนั้นไม่เพียงแต่คดีนี้ได้ยุติในระดับ“อัยการสูงสุด”ว่าให้“สั่งฟ้อง” และ“ขอศาลเพื่ออกหมายจับ” เท่านั้น แต่คดีนี้ยังเห็นชอบโดยศาลในการออกหมายจับ เพราะมีเหตุว่า“มีหลักฐานตามสมควรว่านายวรยุทธ อยู่วิทยา น่าจะได้กระทำผิดอาญา”ด้วย อันเป็นไปตามการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่ใช่เรื่องที่อัยการคนใด ไม่ว่าจะเป็น อธิบดี รองอัยการสูงสุด หรืออัยการสูงสุด จะได้ดำเนินการ“กลับความเห็น” หรือ“กลับคำสั่ง”เอาเอง โดยใช้กฎหมายในระดับ“ระเบียบ”ภายในองค์กรอัยการมาหักล้าง“ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”ได้
จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างยิ่งเมื่อปรากฏต่อมาว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการทำเรื่องร้อง“ขอถอนหมายจับ”นายวรยุทธ อยู่วิทยา ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แล้วปรากฏว่า ผู้พิพากษา ศาลอาญากรุงเทพได้แจ้งว่าการขอถอนหมายจับครั้งนี้จะต้อง“มีการไต่สวน”เรื่องนี้ ตามคำร้องขอของนางสาวรสนา โตสิตระกูล ที่ได้ยื่นคำร้องเอาไว้ก่อนหน้านี้ต่ออธิบดี ศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นผลทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจถอนเรื่องดังกล่าวออกไปก่อน
เรื่องตลกร้ายคือ “ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง” ที่ลบบัญชีรายชื่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา ออกไปสารบบโดยปราศจากการเพิกถอนหมายจับของศาล ก็ต้องนำกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง เพราะเป็นการกระทำเกินอำนาจหมายศาล
แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามีใครไปประสานให้ถอนหมายจับองค์การตำรวจสากล หรืออินเตอร์โพล หรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็ต้องเอาผิดตำรวจเหล่านั้นด้วย
ทั้งนี้ปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522 ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับคำสั่ง“อธิบดีกรมอัยการ” ที่ได้เคยมีคำสั่งไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็คือ“อัยการสูงสุด”เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ความตอนหนึ่งว่า
“เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 33 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1พนักงานอัยการต้องฟ้องไปตามนั้น
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก”
นอกจากนี้ยังปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาอีกคดีหนึ่งที่ 2040/2523 ความตอนหนึ่งว่า
“คดีนี้ทั้งสามสำนวนนี้ นายโปร่ง เปล่งศรีงามอธิบดีกรมอัยการได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจไว้แล้ว
ครั้นนายโปร่ง เปล่งศรีงาม ลาออกจากราชการไปแล้ว แม้นายอรุณ อิศรภักดี จะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการ ก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งชี้ขาดใหม่เป็นไม่ฟ้อง คำสั่งของนายอรุณ อิศรภักดีที่สั่งไม่ฟ้องครั้งหลังนี้จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
ชัดที่สุด คำสั่ง “ไม่ฟ้อง” ของนายเนตร นาคสุข น่าจะผิดระเบียบ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำคัญกว่านี้คือมีอัยการและตำรวจ “เป็นโขยง” ที่ร่วมขบวนการแถจนหัวถลกเหล่านี้จะมีจุดจบอย่างไร?
เรื่องใหญ่ขนาดนี้ ควรให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และต้องหาตัวผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดมาลงโทษ เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศให้กลับคืนมาได้
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
บันทึกหนังสือของ “นายอรรถพล ใหญ่สว่าง” ประธานคณะกรรรมการอัยการ (ก.อ.) ได้ทำหนังสือบันทึกข้อความถึง “นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์” อัยการสูงสุด (อสส.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เรื่องการแถลงข่าวผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดีนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 นั้นสรุปสาระสำคัญก็คือ...
“อัยการสูงสุดคนเก่า” ให้ยุติการร้องขอเป็นธรรมไปแล้วและเห็นชอบให้สั่งฟ้องตามเดิม “รองอัยการสูงสุดคนปัจจุบัน”ซึ่งอยู่ระดับต่ำกว่าจะ “รื้อฟื้น” ถึงขั้นกลับความเห็นของ “อัยการสูงสุด”นั้นกระทำไม่ได้ เพราะไม่มีระเบียบรองรับ หากจะมีโอกาส“กลับความเห็นเดิม”ได้ต้องเป็นความเห็นของ “อัยการสูงสุด”เท่านั้น”
เหตุนี้เกิดขึ้นก็เพราะ นายรวรยุทธ อยู่วิทยา ได้เคยมีการเรียกร้องขอความเป็นธรรมก่อนหน้านี้ถึง 6 ครั้งในสมัยร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภารเป็นอัยการสูงสุดแล้ว ในจำนวนการร้องเรียนขอความเห็นธรรมในสมัยนั้น ได้รวมถึงประเด็นคำให้การของรองศาสตราจารย์ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และรายงานพิจารณาของคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย
ความหมายของข้อความข้างต้นนั้นย่อมหมายถึงว่าที่ว่าพยานใหม่ หรือหลักฐานใหม่นั้น แท้ที่จริงเป็น“พยานเดิม” และ“หลักฐานเดิม” ซึ่งได้มีข้อยุติไปแล้วโดยร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้น
และร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภาร เป็นอัยการสูงสุดในเวลานั้น“ได้สั่งให้ยุติการพิจารณาคำร้องขอ ความเป็นธรรมของนายวรยุทธ อยู่วิทยาแล้ว” จึงเห็นชอบให้มีการ“สั่งฟ้อง” นั่นหมายถึงว่ากระบวนการร้องขอความเป็นธรรมได้เป็นที่ยุติ และเห็นควรให้“สั่งฟ้อง”ไปแล้ว จึงได้มีการออกหมายจับตามมา
การสั่งฟ้องดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งได้ผ่านกระบวนการ “การร้องขอความเป็นธรรม”ไปแล้ว !!!
ในกระบวนการร้องขอความเป็นธรรมนั้น ได้มีระเบียบขึ้นมาเป็นการเฉพาะสำหรับการ“กลับความเห็นเดิม”หรือ“กลับความเห็นคำสั่งเดิม”ได้ซึ่งระเบียบที่ว่านั้น อยู่ในส่วนที่ 3“การร้องขอความเป็นธรรม”ที่ปรากฏใน ข้อ 48 ของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ความว่า :
“ข้อ 48 (การสั่งคดีกรณีร้องขอความเป็นธรรม)
คดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรม ในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหาหรือบางข้อหา ให้เสนอสำนวนพร้อมความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง
กรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นเพื่อฟ้องศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่งพร้อมทั้งสำเนารายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ
กรณีดังกล่าวในวรรคก่อน หากเป็นกรณีที่ต้องกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม หรือต้องถอนฟ้อง ให้นำความในข้อ 6 วรรคท้าย หรือข้อ 128 มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี”
และในกรณีที่จะมีการ“กลับความเห็นเดิม” หรือ“กลับคำสั่งเดิม” จะต้องนำระเบียบข้อ 6 วรรคท้าย นำมาใช้บังคับ ความว่า :
“ข้อ 6 วรรคท้าย
ผู้บังคับบัญชาอาจเรียกสำนวนคดีใดคดีหนึ่งที่อยู่ในเขตอำนาจมาตรวจสอบพิจารณาและหรือดำเนินคดีเสียเอง หรือจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดคนหนึ่งดำเนินคดีแทนก็ได้และในกรณีที่เห็นควรกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม ให้เสนอตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง เว้นแต่ความเห็นหรือคำสั่งเดิมนั้นเป็นของอธิบดี ให้เสนออัยการสูงสุดหรือรองอัยการสูงสุดผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่ง”
เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจโดยสรุปโดยรวมก็คือ“อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้”ทำความเห็นส่งฟ้องและส่งเรื่องให้“อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้”เห็นชอบให้สั่งฟ้องตามเสนอ โดยหนึ่งในข้อหาสำคัญที่เป็นประเด็น คือข้อหาขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้เฉี่ยวชนรถอื่นเสียหาย และมีผู้ถึงแก่ความตาย
แต่นายวรยุทธ อยู่วิทยา ได้ยื่นเรื่องพร้อมขอความเป็นธรรมถึง 6 ครั้ง ไปให้ ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้นแล้วด้วย ผลการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมทั้งหมดให้ยุติด้วยการสั่งฟ้องและยื่นคำร้องเพื่อขอศาลอาญากรุงเทพใต้เพื่อให้ “ออกหมายจับ” นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 แล้ว
โดยหนึ่งในประเด็นการร้องเรียนความเป็นธรรมของนายวรยุทธ อยู่วิทยา นั้นได้รวมถึง พยาน 2 ปาก คือพลอากาศโทจักรกฤช ถนอมกุลบุตร และนายจารุชาติ มาดทอง เคยเป็นพยานในคำให้การตั้งแต่ พ.ศ. 2555 แล้ว แต่อัยการไม่เห็นว่าพยานดังกล่าวมีน้ำหนักที่น่าเชื่อถือด้วย
ข้อร้องเรียนพยาน 2 ปากข้างต้น ก็ได้มีการยื่นร้องขอความเป็นธรรมให้กับ ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดแล้ว ผลการพิจารณาคือให้ยุติการร้องขอความเป็นธรรม และให้สั่งฟ้องและยื่นคำร้องเพื่อขอศาลอาญากรุงเทพให้เพื่อให้ “ออกหมายจับ” นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
ส่วนประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือคำให้การของรองศาสตราจารย์ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรายงานพิจารณาของคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้มีการยื่นเรื่องเพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
โดยในขณะนั้นร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุด ก็เป็นรองประธานคนที่ 2 ของคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวด้วย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่จะเข้าข่ายการร้องขอความเป็นธรรมตามข้อ 48 ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ได้
และต่อให้คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะส่งไปเพียงแค่ “ผลรายงานการศึกษา” ถึงอัยการสูงสุด และอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้
อัยการสูงสุดและอธิบดีอัยการ สำนักคดีอาญากรุงเทพใต้ ก็ไม่สามารถพิจารณา โดยอาศัย ข้อ 48ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ได้ เพราะ “ไม่ใช่การร้องขอความเป็นธรรม”
อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือรายงานของ คณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559
แต่ผลการพิจารณาคือ ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดในเวลานั้น ก็ให้ยุติด้วยการร้อขอความเป็นธรรม และให้สั่งฟ้องและขอศาลอาญากรุงเทพให้เพื่อให้ “ออกหมายจับ” นายวรยุทธ อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 เช่นกัน
กรณีดังกล่าวนี้จึง“ไม่เกิดการกลับความเห็น”และ“ไม่เกิดการกลับคำสั่ง” เพราะอัยการสูงสุด เห็นพ้องด้วย จึงเกิดคำสั่งฟ้องและการออกหมายจับได้ ตามวรรค 2 ของข้อ 48ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ความว่า:
“กรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นเพื่อฟ้องศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่งพร้อมทั้งสำเนารายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ”
นั่นหมายความว่ากรณีร้องขอความเป็นธรรมในประเด็นเหล่านี้ทั้งหมด ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ด้วยการให้สั่งฟ้องและออกหมายจับ!!!!
ผลการร้องขอความเป็นธรรมยุติตรงที่ “ไม่มีการกลับความเห็น “ และ “ไม่เกิดการกลับคำสั่ง” ของ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ด้วย “อัยการสูงสุด”
ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 141 บัญญัติในวรรค 4 บัญญัติว่า การจะออกหมายจับได้นั้น อัยการจะต้องมีความเห็นควรสั่งฟ้องก่อนเท่านั้น :
“มาตรา 141 วรรคสี่ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ก็ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศ ให้พนักงานอัยการจัดการเพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดนมา”
แต่เนื่องจากรณีมีการร้องขอความเป็นธรรมไปถึงร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์ อัยการสูงสุดไปแล้ว
นายสุทธิ กิตติศุภพร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ จึงต้องส่งหนังสือของนายวรยุทธ อยู่วิทยา เรื่องการขอเลื่อนคำสั่งฟ้องของอัยการโดยอ้างว่าติดภารกิจต่างประเทศ ไปให้“อัยการสูงสุด”พิจารณาเพื่อขอศาลอาญากรุงเทพใต้“ออกหมายจับ” ต่อไป
ปรากฏเป็นหลักฐานด้วยคำสัมภาษณ์ของนายสุทธิ กิตติศุภพร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 ความว่า:
“อัยการยืนยันว่า จะไม่ยอมให้เลื่อนรับฟังคำสั่งฟ้องได้อีกแล้ว ทั้งนี้ได้ส่งหนังสือขอเลื่อนดังกล่าว ให้อัยการสูงสุดพิจารณา เพื่อออกหมายจับนายวรยุทธต่อไป คาดว่าจะมีความชัดเจนเรื่องการนำตัวนายวรยุทธดำเนิคดีช่วงบ่ายวันนี้”
สอดคล้องและยืนยันด้วยคำสัมภาษณ์ของร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 ความตอนหนึ่งว่า :
“ที่ผ่านมาอัยการได้พิจารณาให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหามาตลอดถึง 6 ครั้ง หากสั่งคดีล่าช้าอีก อาจเกิดความเสียหายต่อคดี เป็นที่เคลือบแคลงของสังคม และกระทบภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการสูงสุดได้”
ดังนั้น...
“อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้” เห็นควรมีคำสั่งฟ้อง
“อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้” เห็นควรมีคำสั่งฟ้อง
“อัยการสูงสุด” หลังรับฟัง การร้องขอความเป็นธรรม ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 แล้วมีคำสั่งตามวรรคสองคือให้“มีคำสั่งฟ้อง”จึงให้ดำเนินการขอศาลเพื่อออกหมายจับได้ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560
กรณีดังกล่าวนี้จึงเป็นเหตุการที่อัยการสูงสุด “ไม่เกิดการกลับความเห็น” และ“ไม่เกิดการกลับคำสั่ง” ของ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้
ดังนั้นการที่นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ไปดำเนิน “การสอบสวนเพิ่มเติม” ใน “ประเด็นเดิม” พยานเดิมและหลักฐานเดิม แล้วได้ลงนามในคำสั่ง “ไม่ฟ้อง”เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยอ้างว่าเป็นการกลับคำสั่งของ “อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้”เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 นั้น...
เป็นการกระทำความผิด ข้อ 48 และ ข้อ 6 วรรคท้ายของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547
เพราะกรณีนี้ได้มีการร้องขอความเป็นธรรมจนเสร็จสิ้นในระดับ“อัยการสูงสุด”ไปแล้ว
กรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่การ“กลับความเห็น”หรือ“กลับคำสั่ง”ของ “อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้”
แต่เป็นการ “กลับความเห็น และ กลับคำสั่ง ของอัยการสูงสุดที่ได้ดำเนินการยุติในการร้องขอความเป็นธรรมไปแล้ว
อัยการสูงสุด“ไม่กลับความเห็น” คำสั่งฟ้องของอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้
อีกทั้ง“อัยการสูงสุด” ยังเห็นชอบให้เจ้าพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ดำเนินการเพื่อขอศาลให้ออกหมายจับต่อไปตามระเบียบข้อ 48 ของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ไปแล้ว
ยืนยันด้วยคำสัมภาษณ์ของ ร.ท.สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560 ความตอนหนึ่งว่า
“ได้เคยมีการร้องขอความเป็นธรรมและได้พิจารณา “ยุติ” เรื่องร้องขอความเป็นธรรมแล้ว สำหรับความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานเดิม
จึงให้ยุติเรื่องร้องขอความเป็นธรรมและ “ให้” อธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ แจ้งพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อให้ได้ตัวนายวรยุทธ มาฟ้องตามคำสั่งต่อไป”
ซึ่งตามระเบียบข้อ 48 และข้อ 6 วรรท้าย ของระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547ไม่มีข้อกำหนดให้ “รองอัยการสูงสุด” กลับความเห็น หรือ กลับคำสั่ง ของ “อัยการสูงสุด”ได้
โดยภายหลังจากได้ข้อยุติให้สั่งฟ้องและออกหมายจับแล้วนายนิวิษฐ์ ประสิทธิ์วิเศษ อธิบดีอัยการสำนักงานอาญากรุงเทพใต้ ได้มีหนังสือ เลขที่ อส 00017 (อก.)/86 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ซึ่งได้ตอบหนังสือขอทราบผลการพิจารณาการดำเนินการเกี่ยวกับกรณีการร้องเรียนขอความเป็นธรรมของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ของ ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้สอบถามไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 โดยได้ตอบความในตอนท้ายว่า:
“ต่อมาได้พิจารณาผลการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วเห็นว่า ปรากฏตามข้อเท็จจรงใหม่เพิ่มเติมซึ่งมีเหตุรับฟังได้ และได้เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อทั้งหมด“ให้อัยการสูงสุดพิจารณา”ซึ่งต่อมา“อัยการสูงสุด”ได้พิจารณาแล้ว“มีคำสั่งให้ยุติเรื่องขอความเป็นธรรม”
ด้วยเหตุผลนี้ “นายอรรถพล ใหญ่สว่าง”ประธานคณะกรรรมการอัยการ (ก.อ.) จึงได้ทำหนังสือถึงนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์”อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อทักท้วงว่า“รองอัยการสูงสุด”กลับความเห็น และกลับคำสั่งของ“อัยการสูงสุดคนเก่า”นั้นไม่ได้ อันเป็นผลทำให้คำสั่ง “ไม่ฟ้อง”นี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย...ซึ่งแนวทางความเห็นของ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง นั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว “เฉพาะในประเด็นแรก”
แต่หนังสือนายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรรมการอัยการ (ก.อ.) กลับเปิดช่องว่า หากจะมีพนักงานอัยการผู้มีอำนาจพิจารณาดำเนินการสั่งคดีดังกล่าวได้อีกก็มีแต่เฉพาะ “อัยการสูงสุด” เท่านั้น !!!
ซึ่งในประเด็นหลังนี้ที่ว่า อัยการสูงสุดคนปัจจุบันสามารถ “กลับความเห็น “ หรือ “กลับคำสั่ง” อัยการสูงสุดคนเก่าได้ ก็ไม่น่าจะกระทำได้เช่นกัน
เหตุผลก็เพราะว่า ข้อ 48 และ ข้อ 6 วรรคท้ายของ ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547ไม่มีข้อความใดให้ อัยการสูงสุด “กลับความเห็น” หรือ “กลับคำสั่ง”ของอัยการสูงสุดได้เช่นเดียวกัน !!!
โดยเฉพาะเรื่องนี้มีการร้องขอความเป็นธรรม อีกทั้งมีการพิจารณาขอความเป็นธรรมไปถึงขั้นอัยการสูงสุดเป็นที่ยุติแล้วตั้งแต่สมัย ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภาร เป็นอัยการสูงสุด และได้มีการยุติการร้องขอความเป็นธรรมด้วยการให้มีการสั่งฟ้องและขอหมายจับต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้
และศาลอาญากรุงเทพใต้ ก็ได้พิจารณาและใช้ดุลพินิจด้วยการออกหมายจับให้ตามที่ เจ้าพนักงานอัยการ สำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ร้องขอ และการผู้พิพาษาพิจารณาแล้วออกหมายจับให้นั้นย่อมแสดงว่าผู้พิพากษา ศาลอาญากรุงเทพใต้ย่อมเห็น“เหตุ”ว่า“มีหลักฐานตามสมควรว่านายวรยุทธ อยู่วิทยา น่าจะได้กระทำความผิดอาญา”อันเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความอาญามาตรา 66
ดังนั้นไม่เพียงแต่คดีนี้ได้ยุติในระดับ“อัยการสูงสุด”ว่าให้“สั่งฟ้อง” และ“ขอศาลเพื่ออกหมายจับ” เท่านั้น แต่คดีนี้ยังเห็นชอบโดยศาลในการออกหมายจับ เพราะมีเหตุว่า“มีหลักฐานตามสมควรว่านายวรยุทธ อยู่วิทยา น่าจะได้กระทำผิดอาญา”ด้วย อันเป็นไปตามการดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่ใช่เรื่องที่อัยการคนใด ไม่ว่าจะเป็น อธิบดี รองอัยการสูงสุด หรืออัยการสูงสุด จะได้ดำเนินการ“กลับความเห็น” หรือ“กลับคำสั่ง”เอาเอง โดยใช้กฎหมายในระดับ“ระเบียบ”ภายในองค์กรอัยการมาหักล้าง“ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”ได้
จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามอย่างยิ่งเมื่อปรากฏต่อมาว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการทำเรื่องร้อง“ขอถอนหมายจับ”นายวรยุทธ อยู่วิทยา ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แล้วปรากฏว่า ผู้พิพากษา ศาลอาญากรุงเทพได้แจ้งว่าการขอถอนหมายจับครั้งนี้จะต้อง“มีการไต่สวน”เรื่องนี้ ตามคำร้องขอของนางสาวรสนา โตสิตระกูล ที่ได้ยื่นคำร้องเอาไว้ก่อนหน้านี้ต่ออธิบดี ศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นผลทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจถอนเรื่องดังกล่าวออกไปก่อน
เรื่องตลกร้ายคือ “ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง” ที่ลบบัญชีรายชื่อนายวรยุทธ อยู่วิทยา ออกไปสารบบโดยปราศจากการเพิกถอนหมายจับของศาล ก็ต้องนำกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง เพราะเป็นการกระทำเกินอำนาจหมายศาล
แต่ก็ยังไม่ทราบว่ามีใครไปประสานให้ถอนหมายจับองค์การตำรวจสากล หรืออินเตอร์โพล หรือไม่ ซึ่งถ้ามี ก็ต้องเอาผิดตำรวจเหล่านั้นด้วย
ทั้งนี้ปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522 ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับคำสั่ง“อธิบดีกรมอัยการ” ที่ได้เคยมีคำสั่งไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันก็คือ“อัยการสูงสุด”เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ความตอนหนึ่งว่า
“เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 33 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1พนักงานอัยการต้องฟ้องไปตามนั้น
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก”
นอกจากนี้ยังปรากฏคำพิพากษาศาลฎีกาอีกคดีหนึ่งที่ 2040/2523 ความตอนหนึ่งว่า
“คดีนี้ทั้งสามสำนวนนี้ นายโปร่ง เปล่งศรีงามอธิบดีกรมอัยการได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจไว้แล้ว
ครั้นนายโปร่ง เปล่งศรีงาม ลาออกจากราชการไปแล้ว แม้นายอรุณ อิศรภักดี จะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการ ก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งชี้ขาดใหม่เป็นไม่ฟ้อง คำสั่งของนายอรุณ อิศรภักดีที่สั่งไม่ฟ้องครั้งหลังนี้จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”
ชัดที่สุด คำสั่ง “ไม่ฟ้อง” ของนายเนตร นาคสุข น่าจะผิดระเบียบ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำคัญกว่านี้คือมีอัยการและตำรวจ “เป็นโขยง” ที่ร่วมขบวนการแถจนหัวถลกเหล่านี้จะมีจุดจบอย่างไร?
เรื่องใหญ่ขนาดนี้ ควรให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และต้องหาตัวผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดมาลงโทษ เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศให้กลับคืนมาได้
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์