ผู้จัดการรายวัน360- "วิชา"ยันหมายจับ "บอส วรยุทธ" ในไทยยังอยู่ เผย คกก.เรียกอัยการ ให้ข้อมูล วันที่ 6 และ 9 ส.ค. ขณะที่ผบ.ตร.มาชี้แจงสัปดาห์หน้า เล็งลิสต์รายชื่อผู้เกี่ยวข้อง ส่ง ปปง.ตรวจสอบเส้นทางการเงิน ลั่นเมื่อตั้งคณะกรรมการสอบแล้ว ต้องมีความเปลี่ยนแปลงเป็นมรรคเป็นผล ขอให้รอดูผลงาน ด้าน กมธ.กฎหมาย สภาฯถกคดี "บอส" อัยการ ยันไม่สั่งฟ้องเป็นไปตามพยาน -สำนวน "พีระพันธุ์" ข้องใจ อัยการ-ตำรวจ ไม่ส่งตัวผู้รับผิดชอบสำนวนคดีโดยตรงมาชี้แจง จวกอย่าทำให้สถาบันยุติธรรมเสียหายไปมากกว่านี้ หลัง"เนตร "ไม่มาชี้แจง "อรรถพล"ประธาน ก.อ. ทำหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ชี้คำสั่งไม่ฟ้อง"บอส" ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุอดีต อสส. เคยสั่งยุติขอความเป็นธรรมไปแล้ว
วานนี้ (5ส.ค.) นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกก. ครั้งที่ 2 ว่า เราได้ข้อมูลมากขึ้น โดยได้ประสานไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ เกี่ยวกับเรื่องหมายจับ ที่ตำรวจบอกว่า ขอถอนหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา เพื่อให้คดียุติไปนั้น ทราบว่าวันนั้นทางตำรวจไปขอถอนหมายจับจริง แต่มีกลุ่มมวลชน นำโดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว. ไปยื่นคำร้องขอศาลอย่าเพิ่งถอนหมายจับ ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นต้องไต่สวนก่อน จึงบอกพนักงานสอบสวนให้ถอนคำร้องไปดีกว่าหรือไม่ พนักงานสอบสวนจึงถอนคำร้องไปแล้ว จึงยืนยันว่า ขณะนี้หมายจับนายวรยุทธ ยังอยู่ และเหตุที่หมายจับยังอยู่ เนื่องจากคดียังไม่ยุติ ยังเป็นปัญหาอยู่ อัยการก็เพิ่งแถลงไปเมื่อ วันที่ 4 ส.ค.ว่า จะนำข้อมูลเข้าใหม่ และสั่งคดีใหม่ ซึ่งอาจจะมีการสั่งคดีใหม่หรือไม่ก็ไม่ทราบ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ถอนหมายจับยังไม่ได้ จึงขอแจ้งให้ประชาชนสบายใจว่า คดีนายวรยุทธ ยังไม่จบ
ส่วนเรื่องหมายจับขององค์การตำรวจสากล หรือ อินเตอร์โพล นั้นยังไม่ชัดเจน และเราไม่สามารถไปแทรกแซงได้ เพราะอยู่นอกอำนาจเรา แต่คงมีการขอรายละเอียดอีกที ยืนยันในส่วนของประเทศไทยแน่ใจว่า จะไม่มีการถอนหมายจับ
หลังจากนี้ คณะกรรมการฯ จะเรียกพยานมาสอบ เช่น ทีมงานของอัยการ ในวันที่ 6 ส.ค. โดยนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด จะนำสำนวนที่อัยการตรวจสอบ มาให้ถ้อยคำกับคณะทำงานตรวจสอบอัยการ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คงจะมาเล่ารายละเอียดต่างๆ ให้ฟัง
ส่วนสำนวนจากทุกฝ่าย ทั้งตำรวจ อัยการ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีการชี้มูลพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าว ว่ามีความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง เราจะทำหนังสือขอมาทั้งหมด เพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทั้งหมด พร้อมกันนี้ เราจะมีการเรียกอัยการที่รวบรวมสำนวนและมีข้อโต้แย้งต่างๆ มาให้ข้อมูล ในวันที่ 9 ส.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เราทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่ได้หยุดแม้วันอาทิตย์
หลังจากนี้ จะเปิดอีเมล รับข้อมูล เพื่อตรวจสอบในทุกด้าน แต่เบื้องต้นส่งมาที่อีเมลของตนก่อน คือ vichalibrary@ gmail.com ใครคับข้องใจสามารถส่งมาได้ ขณะที่ในส่วนคณะทำงานตรวจสอบบุคคลทั่วไป ที่มี นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน จะเชิญผู้ที่ตรวจสอบเรื่องความเร็วรถคือ นายสธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ มาให้ข้อมูล รวมถึงประเด็นสารโคเคน จะเชิญ พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เบี้ยวนิ่ม หัวหน้าสาขาวิชานิติเวชวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มาให้ข้อมูล
เมื่อเรียกอัยการมาแล้ว จะเรียกในส่วนของตำรวจมาด้วยหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า คณะทำงานตรวจสอบตำรวจที่มี นายเข็มชัย ชุติวงศ์ เป็นประธาน ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบ อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเชิญใครบ้าง แต่อย่างน้อยสัปดาห์หน้า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คงต้องมาให้ข้อมูลกับคณะกรรมการชุดใหญ่ ส่วนจะเป็นวันอังคาร หรือวันศุกร์ จะแจ้งให้ทราบอีกที
ส่วนการให้ป.ป.ง. ตรวจสอบเส้นทางการเงินนั้น นายวิชา กล่าวว่า เป็นเรื่องของ สำนักงานปปง. ที่จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจน แต่ขณะนี้ยังเริ่มตรวจสอบไม่ได้ เนื่องจากติดขัดว่า ยังไม่ได้เป็นคดีที่ประพฤติมิชอบ หรือคดีที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบทางการเงิน เมื่อถามว่า จะต้องตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้ต้องสงสัยทั้งหมด เลยหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ก็ต้องลิสต์รายชื่อไป เพราะต้องมีความแน่นอน
เมื่อถามว่าคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นผู้สรุปสุดท้ายว่าจะรื้อหรือไม่รื้ิอคดีนี้ ใช่หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า สุดท้ายอย่าไปคาดเดาว่าจะเสนอ หรือไม่เสนอ แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้ว ถ้าคดีไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะตั้งหาประโยชน์อะไร มันไม่มีประโยชน์ ก็ต้องทำให้เป็นมรรคเป็นผล
"เนตร นาคสุข" ไม่โผล่แจงกมธ.
ในเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา มีการประชุม กมธ.กฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ร่วมกับ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการรัฐ วิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร โดยเชิญ นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ที่สั่งไม่ฟ้องคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา และคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำคดีนี้ของฝ่ายอัยการ นำโดย นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญาธนบุรี นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา และ นายฤชา ไกรฤกษ์ อธิบดีอัยการ เจ้าของสำนวน พร้อมเชิญ นายสายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่ตรวจวัดความเร็วรถของนายวรยุทธ ว่ามีความเร็วแค่ 76 กม./ชม. มาชี้แจงข้อเท็จจริงการทำคดีต่อกมธ. โดยนายเนตร ไม่ได้มาชี้แจงแต่อย่างใด
นายประยุทธ กล่าวว่า การสั่งไม่ฟ้องของนายเนตรครั้งนี้ มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งเหตุผลที่สั่งไม่ฟ้องเป็นไปตามพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งนายวรยุทธ มีการร้องขอความเป็นธรรมอยู่หลายครั้ง รวมถึงการร้องต่อ สนช. ทำให้มีพยานยืนยันสอดคล้องตรงกันว่า ความเร็วรถของนายวรยุทธ ไม่ถึง 80 กม./ชม.
ส่วนนายสายประสิทธิ์ ยืนยันว่า เป็นการคำนวณตามหลักการ ทางวิชาการ โดยวิเคราะห์จากภาพที่เกิดขึ้น ตรวจสอบความเร็วจากหน้าปัทม์นาฬิกา ที่โชว์บนคลิป และใช้สูตรปกติ คือ ระยะทางหาด้วยเวลา ซึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ เวลาคำนวณการใช้ถุงลมนิรภัย จะใช้กล้องความเร็วสูง ประมาณ 500 เฟรมต่อวินาที ดังนั้น สมมติฐานที่เกิดขึ้น เป็นการทำตามหลักวิชาการ ส่วนจะใช้หรือไม่ ขึ้นอยู่ดุลพินิจของ กมธ.กฎหมายฯ สนช.
คณะกก.ของตำรวจสรุปสัปดาห์หน้า
พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่มีคำสั่งฟ้อง นายวรยุทธ กล่าวว่า โดยคำสั่งของ ผบ.ตร. กำหนดกรอบเวลาทำงาน 15 วัน ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าจะครบ ทางคณะกรรมการฯ จะรวบรวมข้อเท็จจริงในส่วนของตำรวจ โดยมีการวางกรอบ การทำงานเอาไว้แล้ว รวมถึงขั้นตอนที่ไม่เห็นแย้งของผู้ช่วย ผบ.ตร. กรณีอัยการไม่ฟ้องคดีนี้ด้วย ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการตรวจสอบ และอยู่ระหว่างการสอบสวน ดังนั้นภายในสัปดาห์หน้า น่าจะสามารถชี้แจงให้ประชาชนผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษา กมธ.ฯ กล่าวว่า คดีนี้มีสิ่งผิดปกติไปจากแบบแผนของการทำคดี การสอบสวน และการติดตามตัวผู้ต้องหาหลายอย่าง ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ ก็ถือเป็นคดีที่ธรรมดามาก โดยเฉพาะความผิดปกติของพยานหลักฐาน และพยานบุคคล โดยพยานบุคคลนั้นไม่เคยมีใครออกมาพูดว่า แต่ละคนมีที่มาที่ไปอย่างไร หรือรู้เห็นในเหตุการณ์ตรงนั้น จริงหรือไม่ มีแต่พูดคำบอกเล่าของพยาน ซึ่งในวิชาชีพกฎหมายนั้น ฟังไม่ได้
ทั้งนี้ ประเด็นหลักอยู่ที่พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการที่ใช้ดุลยพินิจในการสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้อง ไม่มีใครตอบได้นอกจากคนทำ ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องออกมาชี้แจงเองว่า เหตุผลที่สั่งเพราะอะไร หากผิดต้องรับผิดส่วนตัว แต่กลับเอาองค์กรของตัวเองผ่านคนอื่นมาชี้แจง สรุปแล้วขณะนี้ สังคมกำลังถูกคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจ มาอธิบายสิ่งที่คนอื่นทำ ส่วนคนที่ทำไม่ต้องพูด ตนถามว่ามันปกติหรือไม่
"ผมสงสัยว่าเพราะอะไรทั้ง 2 องค์กร ถึงพร้อมใจกัน เอาชื่อเสียงเกียรติยศกระบวนการยุติธรรมของประเทศ มาเสี่ยงกับคนเพียงแค่ 2 คน แทนที่จะให้คน 2 สองคนนั้นมาชี้แจงกับสังคมเอง แต่กลับทำในสิ่งที่ท่านบอกว่า ทำไม่ได้ ความเห็นส่วนตัวฟังไม่ได้ ในฐานะคนในวิชาชีพกฏหมาย ผมขอเถอะ อย่าทำให้สถาบันยุติธรรมของเราเสียหายไปมากกว่านี้ เอาเกียรติยศของผู้รักษากระบวนการยุติธรรมออกมา ใครผิดให้เขาผิดไป ใครถูกให้เขาชี้แจงเองไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะเอาความเห็นส่วนตัวมาชี้แจงแทนคนอื่น" นายพีระพันธุ์ กล่าว
ส่วนนายฤชา ไกรฤกษ์ อธิบดีอัยการ เจ้าของสำนวน ชี้แจงว่า ในฐานะส่วนตัวความจริงพยานนิติวิทยาศาสตร์กรณีนี้บางครั้งอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในกรณีนี้เลย เพราะขับรถด้วยความเร็วสูง ก็เป็นการประมาทแล้ว อย่างไรก็ตาม นายฤชา ปฏิเสธที่จะชี้แจงในประเด็นที่ก้าวล่วงดุลพินิจของพนักงานอัยการท่านอื่น หลังจากรับสำนวนต่อ เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำลายชื่อเสียงองค์กร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมกมธ. มีมติร่วมกันว่าจะส่งหนังสือเชิญบุคลเข้าชี้แจงต่อ กมธ.อีกครั้ง อาทิ นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผบ.ตร. นายธานี อ่อนละเอียด ส.ว. และอดีตเลขานุการ กมธ.กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สนช. และ นายวรยุทธ อยู่วิทยา เป็นต้น
นายสิระ เจนจาคะ ประธาน กมธ.กฎหมาย กล่าวถึงกรณี นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ไม่มาชี้แจงว่า จะขอมติที่ประชุม ออก พ.ร.บ.คำสั่งเรียกเพื่อให้เป็นรายแรกของรธน. เพราะต้องการให้ความสำคัญของสภาฯ ส่วนที่อัยการแถลงเรื่องของกระบวนการไม่ฟ้อง นายวรยุทธไปแล้วนั้น ตนดูแล้วความเห็นของอัยการ มีคนผิด ซึ่งต้องดูว่าใครผิด ผิดแล้วต้องทำอย่างไร และต้องดำเนินคดีหรือไม่ ส่วนคนที่สงสัยว่าขับรถชนคนตายแล้วไม่ผิด เกิดจากมีผลประโยขน์ไปตกที่ใครหรือไม่ ซึ่งกมธ.ต้องสอบไปถึงตรงนั้น
ประธาน ก.อ. ชี้คำสั่งไม่ฟ้อง "บอส" ไม่ชอบด้วยกม.
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ได้ทำหนังสือบันทึกข้อความถึง นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด (อสส.) เรื่องการแถลงข่าวผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ระบุว่า ตามที่คณะทำงานฯ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น สรุปความได้ว่า คณะทำงานฯ เห็นว่าในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นเสียหาย และมีผู้ถึงแก่ความตาย น่าจะมีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีตาม ป.วิอาญา ม. 147 อันจะทำให้พนักงานสอบสวน สามารถดำเนินคดีอีกครั้งได้ ภายในกำหนดอายุความ และควรมีการแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพิ่มเติมด้วย
ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการผู้ที่เกี่ยวข้องในการสั่งคดี ควรพิจารณาดำเนินการตามนัย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ต่อไป และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องขอความเป็นธรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นนั้น
"ข้าพเจ้าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีประเด็นอันควรพิจารณาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ในการสั่งสำนวนของพนักงานอัยการ กรณีมีคำสั่งไม่ฟ้อง และผลของการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องเพิ่มเติมอีก ดังนี้
1. กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งที่ไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด เมื่อผบ.ตร. รองผบ.ตร. หรือผู้ช่วยผบ.ตร. ไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง จึงเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง หากมีการแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด เมื่ออัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้อง จึงเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง
ในกรณีที่เดิมพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องไว้แล้ว แต่มีการกลับคำสั่ง เป็นคำสั่งไม่ฟ้อง ตามระเบียบฯ ข้อ 6 กำหนดว่า "ในกรณีที่เห็นควรกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม ให้เสนอตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง เว้นแต่ความเห็น หรือคำสั่งเดิมนั้นเป็นของอธิบดีให้เสนออัยการสูงสุด หรือรองอัยการสูงสุดผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาสั่ง"
2. กรณีคดีมีการร้องขอความเป็นธรรม ระเบียบฯ ข้อ 48 (การสั่งคดีกรณีร้องขอความเป็นธรรม) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 กำหนดว่า "คดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรมในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหา หรือบางข้อหา ให้เสนอสำนวนพร้อมความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดี เพื่อพิจารณาสั่งกรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่ง พร้อมทั้งสำเนารายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ กรณีดังกล่าวในวรรคก่อน หากเป็นกรณีที่ต้องกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม หรือต้องถอนฟ้อง ให้นำความในข้อ 6 วรรคท้าย หรือข้อ 128 มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี
3. กรณีตามคดีนี้ ได้ความว่าในการร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ผู้ต้องหา การร้องขอความเป็นธรรมในชั้นหลังที่มีประเด็นพิจารณาถึงคำให้การของ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และ รายงานพิจารณาศึกษาของคณะกมธ.กฎหมายฯ สนช. ด้วย อัยการสูงสุด (ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภาร) ได้สั่งให้ยุติการพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรม ของนายวรยุทธแล้ว ดังนั้นต้องถือว่า คำสั่งฟ้องที่สั่งไว้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
4. หลังจากนั้น หากมีกรณีร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาสู่การพิจารณาของพนักงานอัยการอีก การที่พนักงานอัยการคนใดจะหยิบยกเพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และมีคำสั่งใดๆใหม่ ต้องมีคำสั่งจากอัยการสูงสุดก่อนจึงจะดำเนินการได้ เพราะอัยการสูงสุด ได้วินิจฉัยไว้แล้วให้ยุติการพิจารณากรณีร้องขอความเป็นธรรม หากพนักงานอัยการผู้ใดมีการหยิบยกการร้องขอความเป็นธรรมขึ้นพิจารณาอีก และมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม โดยมิได้ขอความเห็นชอบจากอัยการสูงสุด ก่อนไม่น่าจะกระทำได้ และจะมีผลการดำเนินการในขั้นตอนต่อๆ มาทั้งหลายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบฯ ทำให้คำสั่งต่างๆที่มีตามมา รวมทั้งคำสั่งไม่ฟ้องไม่อาจมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้
5. กรณีที่รองอัยการสูงสุด หยิบยกการร้องขอความเป็นธรรมขึ้นพิจารณาอีกครั้ง ทั้งที่อัยการสูงสุด มีคำสั่งให้ยุติไปแล้ว จึงมีนัยสำคัญที่ควรพิจารณาว่า เกิดผลตามที่กล่าวมาตาม ข้อ 4 หรือไม่ หากเป็นผลต้องถือว่าคำสั่งไม่ฟ้องยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฃและระเบียบฯ การส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปให้ ผบ.ตร. รองผบ.ตร. หรือผู้ช่วยผบ.ตร. พิจารณาแล้วไม่แย้งคำสั่ง ก็หาเป็นผลให้เกิดเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ และคำสั่งฟ้องเดิมของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ต้องถือว่ายังมิได้ถูกกลับ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่
6.ในการพิจารณากรณีการร้องความเป็นธรรมครั้งหลังจากที่อัยการสูงสุดท่านเดิม (ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร) มีคำสั่งให้ยุติการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมก่อนหน้านั้นไปแล้ว ดังนั้นพนักงานอัยการผู้มีอำนาจพิจารณาดำเนินการสั่งคดีดังกล่าวได้อีกก็แต่เฉพาะอัยการสูงสุดเท่านั้น รองอัยการสูงสุด ที่ได้รับมอบหมายหรือปฏิบัติราชการแทน ไม่มีอำนาจสั่งคดีดังกล่าว หากอัยการสูงสุดไม่ได้มีคำสั่งใด คำสั่งฟ้องของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ก็ยังคงใช้บังคับอยู่เช่นเดิม แต่ถ้าอัยการสูงสุดสั่งให้พิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมอีกครั้งหนึ่ง อัยการสูงสุดก็มีอำนาจสั่งยุติการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมหรือสั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือกลับคำสั่งฟ้องตามความเห็นเดิมเป็นสั่งไม่ฟ้องก็ได้ตามดุลพินิจที่เห็นว่าถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับพยานหลักฐานในสำนวน
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา อนึ่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และมีผลต่อความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนมีต่อองค์กรอัยการ จึงใคร่ขอนำความเห็นของข้าพเจ้าตามบันทึกนี้เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบด้วย"
วานนี้ (5ส.ค.) นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกก. ครั้งที่ 2 ว่า เราได้ข้อมูลมากขึ้น โดยได้ประสานไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้ เกี่ยวกับเรื่องหมายจับ ที่ตำรวจบอกว่า ขอถอนหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา เพื่อให้คดียุติไปนั้น ทราบว่าวันนั้นทางตำรวจไปขอถอนหมายจับจริง แต่มีกลุ่มมวลชน นำโดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว. ไปยื่นคำร้องขอศาลอย่าเพิ่งถอนหมายจับ ศาลเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นต้องไต่สวนก่อน จึงบอกพนักงานสอบสวนให้ถอนคำร้องไปดีกว่าหรือไม่ พนักงานสอบสวนจึงถอนคำร้องไปแล้ว จึงยืนยันว่า ขณะนี้หมายจับนายวรยุทธ ยังอยู่ และเหตุที่หมายจับยังอยู่ เนื่องจากคดียังไม่ยุติ ยังเป็นปัญหาอยู่ อัยการก็เพิ่งแถลงไปเมื่อ วันที่ 4 ส.ค.ว่า จะนำข้อมูลเข้าใหม่ และสั่งคดีใหม่ ซึ่งอาจจะมีการสั่งคดีใหม่หรือไม่ก็ไม่ทราบ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ถอนหมายจับยังไม่ได้ จึงขอแจ้งให้ประชาชนสบายใจว่า คดีนายวรยุทธ ยังไม่จบ
ส่วนเรื่องหมายจับขององค์การตำรวจสากล หรือ อินเตอร์โพล นั้นยังไม่ชัดเจน และเราไม่สามารถไปแทรกแซงได้ เพราะอยู่นอกอำนาจเรา แต่คงมีการขอรายละเอียดอีกที ยืนยันในส่วนของประเทศไทยแน่ใจว่า จะไม่มีการถอนหมายจับ
หลังจากนี้ คณะกรรมการฯ จะเรียกพยานมาสอบ เช่น ทีมงานของอัยการ ในวันที่ 6 ส.ค. โดยนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด จะนำสำนวนที่อัยการตรวจสอบ มาให้ถ้อยคำกับคณะทำงานตรวจสอบอัยการ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คงจะมาเล่ารายละเอียดต่างๆ ให้ฟัง
ส่วนสำนวนจากทุกฝ่าย ทั้งตำรวจ อัยการ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีการชี้มูลพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าว ว่ามีความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง เราจะทำหนังสือขอมาทั้งหมด เพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทั้งหมด พร้อมกันนี้ เราจะมีการเรียกอัยการที่รวบรวมสำนวนและมีข้อโต้แย้งต่างๆ มาให้ข้อมูล ในวันที่ 9 ส.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เราทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่ได้หยุดแม้วันอาทิตย์
หลังจากนี้ จะเปิดอีเมล รับข้อมูล เพื่อตรวจสอบในทุกด้าน แต่เบื้องต้นส่งมาที่อีเมลของตนก่อน คือ vichalibrary@ gmail.com ใครคับข้องใจสามารถส่งมาได้ ขณะที่ในส่วนคณะทำงานตรวจสอบบุคคลทั่วไป ที่มี นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน จะเชิญผู้ที่ตรวจสอบเรื่องความเร็วรถคือ นายสธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ มาให้ข้อมูล รวมถึงประเด็นสารโคเคน จะเชิญ พล.อ.ต.นพ.วิชาญ เบี้ยวนิ่ม หัวหน้าสาขาวิชานิติเวชวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มาให้ข้อมูล
เมื่อเรียกอัยการมาแล้ว จะเรียกในส่วนของตำรวจมาด้วยหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า คณะทำงานตรวจสอบตำรวจที่มี นายเข็มชัย ชุติวงศ์ เป็นประธาน ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบ อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเชิญใครบ้าง แต่อย่างน้อยสัปดาห์หน้า ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คงต้องมาให้ข้อมูลกับคณะกรรมการชุดใหญ่ ส่วนจะเป็นวันอังคาร หรือวันศุกร์ จะแจ้งให้ทราบอีกที
ส่วนการให้ป.ป.ง. ตรวจสอบเส้นทางการเงินนั้น นายวิชา กล่าวว่า เป็นเรื่องของ สำนักงานปปง. ที่จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจน แต่ขณะนี้ยังเริ่มตรวจสอบไม่ได้ เนื่องจากติดขัดว่า ยังไม่ได้เป็นคดีที่ประพฤติมิชอบ หรือคดีที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบทางการเงิน เมื่อถามว่า จะต้องตรวจสอบเส้นทางการเงินของผู้ต้องสงสัยทั้งหมด เลยหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ก็ต้องลิสต์รายชื่อไป เพราะต้องมีความแน่นอน
เมื่อถามว่าคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นผู้สรุปสุดท้ายว่าจะรื้อหรือไม่รื้ิอคดีนี้ ใช่หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า สุดท้ายอย่าไปคาดเดาว่าจะเสนอ หรือไม่เสนอ แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้ว ถ้าคดีไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะตั้งหาประโยชน์อะไร มันไม่มีประโยชน์ ก็ต้องทำให้เป็นมรรคเป็นผล
"เนตร นาคสุข" ไม่โผล่แจงกมธ.
ในเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา มีการประชุม กมธ.กฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ร่วมกับ กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการรัฐ วิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน สภาผู้แทนราษฎร โดยเชิญ นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ที่สั่งไม่ฟ้องคดี นายวรยุทธ อยู่วิทยา และคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงการทำคดีนี้ของฝ่ายอัยการ นำโดย นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญาธนบุรี นายประยุทธ เพชรคุณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา และ นายฤชา ไกรฤกษ์ อธิบดีอัยการ เจ้าของสำนวน พร้อมเชิญ นายสายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ที่ตรวจวัดความเร็วรถของนายวรยุทธ ว่ามีความเร็วแค่ 76 กม./ชม. มาชี้แจงข้อเท็จจริงการทำคดีต่อกมธ. โดยนายเนตร ไม่ได้มาชี้แจงแต่อย่างใด
นายประยุทธ กล่าวว่า การสั่งไม่ฟ้องของนายเนตรครั้งนี้ มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งเหตุผลที่สั่งไม่ฟ้องเป็นไปตามพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งนายวรยุทธ มีการร้องขอความเป็นธรรมอยู่หลายครั้ง รวมถึงการร้องต่อ สนช. ทำให้มีพยานยืนยันสอดคล้องตรงกันว่า ความเร็วรถของนายวรยุทธ ไม่ถึง 80 กม./ชม.
ส่วนนายสายประสิทธิ์ ยืนยันว่า เป็นการคำนวณตามหลักการ ทางวิชาการ โดยวิเคราะห์จากภาพที่เกิดขึ้น ตรวจสอบความเร็วจากหน้าปัทม์นาฬิกา ที่โชว์บนคลิป และใช้สูตรปกติ คือ ระยะทางหาด้วยเวลา ซึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ เวลาคำนวณการใช้ถุงลมนิรภัย จะใช้กล้องความเร็วสูง ประมาณ 500 เฟรมต่อวินาที ดังนั้น สมมติฐานที่เกิดขึ้น เป็นการทำตามหลักวิชาการ ส่วนจะใช้หรือไม่ ขึ้นอยู่ดุลพินิจของ กมธ.กฎหมายฯ สนช.
คณะกก.ของตำรวจสรุปสัปดาห์หน้า
พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ตช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่มีคำสั่งฟ้อง นายวรยุทธ กล่าวว่า โดยคำสั่งของ ผบ.ตร. กำหนดกรอบเวลาทำงาน 15 วัน ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าจะครบ ทางคณะกรรมการฯ จะรวบรวมข้อเท็จจริงในส่วนของตำรวจ โดยมีการวางกรอบ การทำงานเอาไว้แล้ว รวมถึงขั้นตอนที่ไม่เห็นแย้งของผู้ช่วย ผบ.ตร. กรณีอัยการไม่ฟ้องคดีนี้ด้วย ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการตรวจสอบ และอยู่ระหว่างการสอบสวน ดังนั้นภายในสัปดาห์หน้า น่าจะสามารถชี้แจงให้ประชาชนผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษา กมธ.ฯ กล่าวว่า คดีนี้มีสิ่งผิดปกติไปจากแบบแผนของการทำคดี การสอบสวน และการติดตามตัวผู้ต้องหาหลายอย่าง ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ ก็ถือเป็นคดีที่ธรรมดามาก โดยเฉพาะความผิดปกติของพยานหลักฐาน และพยานบุคคล โดยพยานบุคคลนั้นไม่เคยมีใครออกมาพูดว่า แต่ละคนมีที่มาที่ไปอย่างไร หรือรู้เห็นในเหตุการณ์ตรงนั้น จริงหรือไม่ มีแต่พูดคำบอกเล่าของพยาน ซึ่งในวิชาชีพกฎหมายนั้น ฟังไม่ได้
ทั้งนี้ ประเด็นหลักอยู่ที่พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการที่ใช้ดุลยพินิจในการสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้อง ไม่มีใครตอบได้นอกจากคนทำ ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องออกมาชี้แจงเองว่า เหตุผลที่สั่งเพราะอะไร หากผิดต้องรับผิดส่วนตัว แต่กลับเอาองค์กรของตัวเองผ่านคนอื่นมาชี้แจง สรุปแล้วขณะนี้ สังคมกำลังถูกคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลยพินิจ มาอธิบายสิ่งที่คนอื่นทำ ส่วนคนที่ทำไม่ต้องพูด ตนถามว่ามันปกติหรือไม่
"ผมสงสัยว่าเพราะอะไรทั้ง 2 องค์กร ถึงพร้อมใจกัน เอาชื่อเสียงเกียรติยศกระบวนการยุติธรรมของประเทศ มาเสี่ยงกับคนเพียงแค่ 2 คน แทนที่จะให้คน 2 สองคนนั้นมาชี้แจงกับสังคมเอง แต่กลับทำในสิ่งที่ท่านบอกว่า ทำไม่ได้ ความเห็นส่วนตัวฟังไม่ได้ ในฐานะคนในวิชาชีพกฏหมาย ผมขอเถอะ อย่าทำให้สถาบันยุติธรรมของเราเสียหายไปมากกว่านี้ เอาเกียรติยศของผู้รักษากระบวนการยุติธรรมออกมา ใครผิดให้เขาผิดไป ใครถูกให้เขาชี้แจงเองไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะเอาความเห็นส่วนตัวมาชี้แจงแทนคนอื่น" นายพีระพันธุ์ กล่าว
ส่วนนายฤชา ไกรฤกษ์ อธิบดีอัยการ เจ้าของสำนวน ชี้แจงว่า ในฐานะส่วนตัวความจริงพยานนิติวิทยาศาสตร์กรณีนี้บางครั้งอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในกรณีนี้เลย เพราะขับรถด้วยความเร็วสูง ก็เป็นการประมาทแล้ว อย่างไรก็ตาม นายฤชา ปฏิเสธที่จะชี้แจงในประเด็นที่ก้าวล่วงดุลพินิจของพนักงานอัยการท่านอื่น หลังจากรับสำนวนต่อ เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำลายชื่อเสียงองค์กร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมกมธ. มีมติร่วมกันว่าจะส่งหนังสือเชิญบุคลเข้าชี้แจงต่อ กมธ.อีกครั้ง อาทิ นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วย ผบ.ตร. นายธานี อ่อนละเอียด ส.ว. และอดีตเลขานุการ กมธ.กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สนช. และ นายวรยุทธ อยู่วิทยา เป็นต้น
นายสิระ เจนจาคะ ประธาน กมธ.กฎหมาย กล่าวถึงกรณี นายเนตร นาคสุข รองอัยการสูงสุด ไม่มาชี้แจงว่า จะขอมติที่ประชุม ออก พ.ร.บ.คำสั่งเรียกเพื่อให้เป็นรายแรกของรธน. เพราะต้องการให้ความสำคัญของสภาฯ ส่วนที่อัยการแถลงเรื่องของกระบวนการไม่ฟ้อง นายวรยุทธไปแล้วนั้น ตนดูแล้วความเห็นของอัยการ มีคนผิด ซึ่งต้องดูว่าใครผิด ผิดแล้วต้องทำอย่างไร และต้องดำเนินคดีหรือไม่ ส่วนคนที่สงสัยว่าขับรถชนคนตายแล้วไม่ผิด เกิดจากมีผลประโยขน์ไปตกที่ใครหรือไม่ ซึ่งกมธ.ต้องสอบไปถึงตรงนั้น
ประธาน ก.อ. ชี้คำสั่งไม่ฟ้อง "บอส" ไม่ชอบด้วยกม.
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ได้ทำหนังสือบันทึกข้อความถึง นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด (อสส.) เรื่องการแถลงข่าวผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานตรวจสอบการพิจารณาสั่งคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ระบุว่า ตามที่คณะทำงานฯ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น สรุปความได้ว่า คณะทำงานฯ เห็นว่าในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่นเสียหาย และมีผู้ถึงแก่ความตาย น่าจะมีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีตาม ป.วิอาญา ม. 147 อันจะทำให้พนักงานสอบสวน สามารถดำเนินคดีอีกครั้งได้ ภายในกำหนดอายุความ และควรมีการแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (โคเคน) ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพิ่มเติมด้วย
ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการผู้ที่เกี่ยวข้องในการสั่งคดี ควรพิจารณาดำเนินการตามนัย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ต่อไป และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวกับการร้องขอความเป็นธรรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นนั้น
"ข้าพเจ้าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีประเด็นอันควรพิจารณาเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ในการสั่งสำนวนของพนักงานอัยการ กรณีมีคำสั่งไม่ฟ้อง และผลของการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องเพิ่มเติมอีก ดังนี้
1. กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งที่ไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด เมื่อผบ.ตร. รองผบ.ตร. หรือผู้ช่วยผบ.ตร. ไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง จึงเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง หากมีการแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด เมื่ออัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้อง จึงเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง
ในกรณีที่เดิมพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องไว้แล้ว แต่มีการกลับคำสั่ง เป็นคำสั่งไม่ฟ้อง ตามระเบียบฯ ข้อ 6 กำหนดว่า "ในกรณีที่เห็นควรกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม ให้เสนอตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีเพื่อพิจารณาสั่ง เว้นแต่ความเห็น หรือคำสั่งเดิมนั้นเป็นของอธิบดีให้เสนออัยการสูงสุด หรือรองอัยการสูงสุดผู้ได้รับมอบหมาย เพื่อพิจารณาสั่ง"
2. กรณีคดีมีการร้องขอความเป็นธรรม ระเบียบฯ ข้อ 48 (การสั่งคดีกรณีร้องขอความเป็นธรรม) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 กำหนดว่า "คดีที่มีการร้องขอความเป็นธรรมในกรณีที่จะมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกข้อหา หรือบางข้อหา ให้เสนอสำนวนพร้อมความเห็นตามลำดับชั้นถึงอธิบดี เพื่อพิจารณาสั่งกรณีที่มีคำสั่งฟ้อง ให้ดำเนินการให้ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาล และให้รีบทำบันทึกส่งคำร้องขอความเป็นธรรม สำเนาความเห็นและคำสั่ง พร้อมทั้งสำเนารายงานการสอบสวนเสนออธิบดีเพื่อทราบ กรณีดังกล่าวในวรรคก่อน หากเป็นกรณีที่ต้องกลับความเห็นหรือกลับคำสั่งเดิม หรือต้องถอนฟ้อง ให้นำความในข้อ 6 วรรคท้าย หรือข้อ 128 มาใช้บังคับแล้วแต่กรณี
3. กรณีตามคดีนี้ ได้ความว่าในการร้องขอความเป็นธรรมหลายครั้งของ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ผู้ต้องหา การร้องขอความเป็นธรรมในชั้นหลังที่มีประเด็นพิจารณาถึงคำให้การของ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม และ รายงานพิจารณาศึกษาของคณะกมธ.กฎหมายฯ สนช. ด้วย อัยการสูงสุด (ร.ต.ต.พงษ์นิวัติ ยุทธภัณฑ์บริภาร) ได้สั่งให้ยุติการพิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรม ของนายวรยุทธแล้ว ดังนั้นต้องถือว่า คำสั่งฟ้องที่สั่งไว้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
4. หลังจากนั้น หากมีกรณีร้องขอความเป็นธรรมเข้ามาสู่การพิจารณาของพนักงานอัยการอีก การที่พนักงานอัยการคนใดจะหยิบยกเพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรม โดยสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม และมีคำสั่งใดๆใหม่ ต้องมีคำสั่งจากอัยการสูงสุดก่อนจึงจะดำเนินการได้ เพราะอัยการสูงสุด ได้วินิจฉัยไว้แล้วให้ยุติการพิจารณากรณีร้องขอความเป็นธรรม หากพนักงานอัยการผู้ใดมีการหยิบยกการร้องขอความเป็นธรรมขึ้นพิจารณาอีก และมีคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม โดยมิได้ขอความเห็นชอบจากอัยการสูงสุด ก่อนไม่น่าจะกระทำได้ และจะมีผลการดำเนินการในขั้นตอนต่อๆ มาทั้งหลายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบฯ ทำให้คำสั่งต่างๆที่มีตามมา รวมทั้งคำสั่งไม่ฟ้องไม่อาจมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้
5. กรณีที่รองอัยการสูงสุด หยิบยกการร้องขอความเป็นธรรมขึ้นพิจารณาอีกครั้ง ทั้งที่อัยการสูงสุด มีคำสั่งให้ยุติไปแล้ว จึงมีนัยสำคัญที่ควรพิจารณาว่า เกิดผลตามที่กล่าวมาตาม ข้อ 4 หรือไม่ หากเป็นผลต้องถือว่าคำสั่งไม่ฟ้องยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฃและระเบียบฯ การส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปให้ ผบ.ตร. รองผบ.ตร. หรือผู้ช่วยผบ.ตร. พิจารณาแล้วไม่แย้งคำสั่ง ก็หาเป็นผลให้เกิดเป็นคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ และคำสั่งฟ้องเดิมของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ต้องถือว่ายังมิได้ถูกกลับ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่
6.ในการพิจารณากรณีการร้องความเป็นธรรมครั้งหลังจากที่อัยการสูงสุดท่านเดิม (ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร) มีคำสั่งให้ยุติการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมก่อนหน้านั้นไปแล้ว ดังนั้นพนักงานอัยการผู้มีอำนาจพิจารณาดำเนินการสั่งคดีดังกล่าวได้อีกก็แต่เฉพาะอัยการสูงสุดเท่านั้น รองอัยการสูงสุด ที่ได้รับมอบหมายหรือปฏิบัติราชการแทน ไม่มีอำนาจสั่งคดีดังกล่าว หากอัยการสูงสุดไม่ได้มีคำสั่งใด คำสั่งฟ้องของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ก็ยังคงใช้บังคับอยู่เช่นเดิม แต่ถ้าอัยการสูงสุดสั่งให้พิจารณาคำร้องขอความเป็นธรรมอีกครั้งหนึ่ง อัยการสูงสุดก็มีอำนาจสั่งยุติการพิจารณาการร้องขอความเป็นธรรมหรือสั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือกลับคำสั่งฟ้องตามความเห็นเดิมเป็นสั่งไม่ฟ้องก็ได้ตามดุลพินิจที่เห็นว่าถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับพยานหลักฐานในสำนวน
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา อนึ่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และมีผลต่อความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนมีต่อองค์กรอัยการ จึงใคร่ขอนำความเห็นของข้าพเจ้าตามบันทึกนี้เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ให้ประชาชนได้รับทราบด้วย"