“ทนายนกเขา” รับมอบอำนาจ รฟท. ยื่นหลักฐานศาล ปค.เพิ่มเติม ยันการจดทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ไม่ถูกต้อง โมฆะตั้งแต่แรก จี้ ครม.เป็นเจ้าภาพสู้ แนะนายกฯตั้ง คกก.พิเศษ สอบรื้อใหม่หมด
วานนี้ (30 ก.ค.) นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ายื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในคดีที่ได้ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายนิติธร ระบุว่า เป็นการมายื่นหนังสือฐานเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งศาล คดีนี้ต้องแยกจากคดีที่ศาลปกครองยืนตามคำสั่งอนุญาโตตุลาการที่ให้ รฟท.ชดใช้ค่าเสียหาย เพราะกรณีนี้เป็นการร้องเพื่อเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งเอกสารที่ยื่นเป็นคำชี้แจงของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพฯ โดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ระบุเหตุผล 3 ข้อที่ไม่เพิกถอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ ซึ่งเราเห็นว่ามีการดำเนินการไม่ถูกต้อง ศาลก็จะได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีการฟ้องคดี และเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงมีการแจ้งเรื่องไปให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพิกถอนแล้วก่อนที่จะมีการฟ้อง
“ผมตรวจสอบเอกสารแล้วเห็นว่าการเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัทก่อนที่จะเข้ามารับสัมปทานในไทย เริ่มต้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อการจดทะเบียนไม่ถูกต้องก็เท่ากับเป็นโมฆะตั้งแต่แรก การมีอยู่ของบริษัทนั้นไม่ถูกต้องด้วยไม่สามารถเข้าทำสัญญากับรัฐบาลได้ ฝ่ายที่ทำสัญญาหรือฝ่ายที่เข้าทำสัญญาก็ถือว่าผิดทั้งคู่ ก็ต้องกลับไปดูตรงนี้กันก่อนเรื่องอื่นยังไม่ต้องว่ากัน เพราะข้อกำหนดของมติ ครม.ชัดเจนว่าอนุญาตให้แค่ไหน และต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนั้น” นายนิติธร ระบุ
นายนิติธร ยังกล่าวถึงกรณีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดก่อนหน้านี้ที่ระบุเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ ว่า แม้จะไม่ถูกต้องแต่ผู้เกี่ยวข้องก็กลับให้มีการลงนามสัญญา ว่า ไม่น่าจะมีผลกับคดีนี้ และการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาชี้ถึงรายละเอียดดังกล่าวก็เท่ากับว่าศาลเองก็เห็นว่าการจดทะเบียนนั้นไม่ชอบ แต่ยังไม่ได้มีการเพิกถอน ตนจึงต้องมาร้องเพิกถอน และจริงๆ แล้วเรื่องนี้จะให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ครม.จะต้องเป็นเจ้าภาพ ไม่ใช่ให้ รฟท. หรือกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ เพราะทั้งสองหน่วยงานมีฐานะเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจาก ครม.เท่านั้น
“ไม่ใช่ว่าพอเกิดเรื่องแล้ว ครม.ไปให้กระทรวงคมนาคม รฟท.ดำเนินการ มันก็ดำเนินการได้แต่มันไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ ไม่มีอำนาจเต็มเพียงพอ ถ้า ครม.ดำเนินการเองเรื่องนี้จบไปแล้ว และชนะคดีอย่างแน่นอน ก็คิดว่าเรื่องนี้นายกฯต้องไปทบทวน และคิดว่ามันควรต้องเสียเงินหรือไม่ เพราะมันชัดเจนอยู่ว่าเอกสารที่ให้ตรวจสอบในช่วงนั้นมันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถูกตามขั้นตอนอยู่หลายประเด็น นายกฯควรตั้งคณะกรรมการพิเศษคดีนี้ขึ้นมา ถ้าตั้งก็ง่าย ก็ชัดเจน ก็ดำเนินการใหม่ทั้งหมดได้” นายนิติธร กล่าว
วานนี้ (30 ก.ค.) นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เข้ายื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในคดีที่ได้ยื่นฟ้องนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายนิติธร ระบุว่า เป็นการมายื่นหนังสือฐานเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งศาล คดีนี้ต้องแยกจากคดีที่ศาลปกครองยืนตามคำสั่งอนุญาโตตุลาการที่ให้ รฟท.ชดใช้ค่าเสียหาย เพราะกรณีนี้เป็นการร้องเพื่อเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งเอกสารที่ยื่นเป็นคำชี้แจงของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพฯ โดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ระบุเหตุผล 3 ข้อที่ไม่เพิกถอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โฮปเวลล์ ซึ่งเราเห็นว่ามีการดำเนินการไม่ถูกต้อง ศาลก็จะได้ทราบถึงเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีการฟ้องคดี และเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงมีการแจ้งเรื่องไปให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพิกถอนแล้วก่อนที่จะมีการฟ้อง
“ผมตรวจสอบเอกสารแล้วเห็นว่าการเริ่มต้นจดทะเบียนบริษัทก่อนที่จะเข้ามารับสัมปทานในไทย เริ่มต้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อการจดทะเบียนไม่ถูกต้องก็เท่ากับเป็นโมฆะตั้งแต่แรก การมีอยู่ของบริษัทนั้นไม่ถูกต้องด้วยไม่สามารถเข้าทำสัญญากับรัฐบาลได้ ฝ่ายที่ทำสัญญาหรือฝ่ายที่เข้าทำสัญญาก็ถือว่าผิดทั้งคู่ ก็ต้องกลับไปดูตรงนี้กันก่อนเรื่องอื่นยังไม่ต้องว่ากัน เพราะข้อกำหนดของมติ ครม.ชัดเจนว่าอนุญาตให้แค่ไหน และต้องปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนั้น” นายนิติธร ระบุ
นายนิติธร ยังกล่าวถึงกรณีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดก่อนหน้านี้ที่ระบุเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท โฮปเวลล์ ว่า แม้จะไม่ถูกต้องแต่ผู้เกี่ยวข้องก็กลับให้มีการลงนามสัญญา ว่า ไม่น่าจะมีผลกับคดีนี้ และการที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาชี้ถึงรายละเอียดดังกล่าวก็เท่ากับว่าศาลเองก็เห็นว่าการจดทะเบียนนั้นไม่ชอบ แต่ยังไม่ได้มีการเพิกถอน ตนจึงต้องมาร้องเพิกถอน และจริงๆ แล้วเรื่องนี้จะให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ครม.จะต้องเป็นเจ้าภาพ ไม่ใช่ให้ รฟท. หรือกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพ เพราะทั้งสองหน่วยงานมีฐานะเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจาก ครม.เท่านั้น
“ไม่ใช่ว่าพอเกิดเรื่องแล้ว ครม.ไปให้กระทรวงคมนาคม รฟท.ดำเนินการ มันก็ดำเนินการได้แต่มันไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ ไม่มีอำนาจเต็มเพียงพอ ถ้า ครม.ดำเนินการเองเรื่องนี้จบไปแล้ว และชนะคดีอย่างแน่นอน ก็คิดว่าเรื่องนี้นายกฯต้องไปทบทวน และคิดว่ามันควรต้องเสียเงินหรือไม่ เพราะมันชัดเจนอยู่ว่าเอกสารที่ให้ตรวจสอบในช่วงนั้นมันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถูกตามขั้นตอนอยู่หลายประเด็น นายกฯควรตั้งคณะกรรมการพิเศษคดีนี้ขึ้นมา ถ้าตั้งก็ง่าย ก็ชัดเจน ก็ดำเนินการใหม่ทั้งหมดได้” นายนิติธร กล่าว