ผู้จัดการรายวัน360- ศาลปกครองสูงสุดไม่รับพิจารณาคำฟ้องรื้อคดี“ค่าโงโฮปเวลล์” ยืนคำสั่งเดิม รัฐจ่ายชดเชย 2.4 หมื่นล้าน เหตุไม่มีหลักฐานใหม่ ชี้อ้างบริษัทต่างด้าวจดทะเบียนไม่ถูกต้อง แต่ปล่อยจนลงนามอ้างไม่รู้ไม่ได้ แถมคมนาคมไม่เคยยกขึ้นมาสู้ “ศักดิ์สยาม”สั่งทีมกฎหมายตรวจสอบรายละเอียดหาช่องทางสู้ต่อไป ลุ้นประเด็นเพิกถอนนายทะเบียนสัญญาโมฆะ รัฐไม่ต้องจ่ายค่าโง่
วานนี้ (22 ก.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ 107/2552 ,2038/2551, 1379/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 366-368/2557 ระหว่าง กระทรวงคมนาคม ที่ 1 การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ 2ผู้ร้อง บริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้าน. โดยมีคำสั่ง ไม่รับคำร้องของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอให้พิจารณาคดี โฮปเวลล์ใหม่ โดยอ้างเหตุว่า มีการรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดและมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป
จากคำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 หมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 ก.ย.25551 ที่ให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ คืนเงินค่าตอบแทนที่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ชำระและใช้เงินในการก่อสร้างโครงการ พร้อมดอกเบี้ย ราว 2.4 หมื่นล้านบาท. ให้แก่บริษัท โฮปเวลล์
ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุด พิจารณากรณีที่กระทรวงคมนาคมและรฟท.โต้แย้งเรื่องงความสามารถของ บ.โฮปเวลล์ ขณะเข้าทำสัญญาว่าเป็นการดำเนินการของคนต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย. 2515 ทั้งที่เอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นเอกสารที่ส่วนราชการสามารถตรวจสอบได้เองในขณะที่เข้าทำสัญญาพิพาท แต่ทั้งกระทรวงคมนาคมและรฟท.มิเคยโต้แย้งมาก่อนทั้งในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าไม่ทราบถึงเหตุนั้น ในการพิจารณาครั้งที่แล้วมา โดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง ถือว่าเอกสารมีอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นหลักฐานที่ปราฎขึ้นใหม่
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าเบื้องต้น ได้รับทราบ ว่าศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาแล้วแต่เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างมากถึง23 หน้า จึงให้ฝ่ายกฎหมาย ของกระทรวงคมนาคมและรฟท. ตรวจสอบรายละเอียดก่อน จากนั้นจะพิจารณาแนวทางการดำเนินการต่อไป ตอนนี้ตนจึงยังให้ความเห็นอะไรไม่ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า จากที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ ชำระค่าเสียหายให้โฮปเวลล์ วงเงินประมาณ 24,798 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 11,888 ล้านบาท ดอกเบี้ย 12,910 ล้านบาทเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการคู่ขนาน โดยตั้งคณะทำงานชุดที่มี นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อเจรจาเงื่อนไขการชำระค่าเสียหาย เช่น ทยอยผ่านชำระ ลดดอกเบี้ย. ซึ่งบ.โฮปเวลล์ได้ยื่นข้อเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม และรฟท. ชำระเงินรวมดอกเบี้ยที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท พร้อมเงื่อนไขที่ ต้องอำนวยความสะดวกในการนำเงินออกนอกประเทศ และดำเนินการพถอนเรื่องการฟ้องร้อง อุทธรณ์คดีความต่างๆ ให้ยุติทั้งหมด
โดยกระทรวงคมนาคมและรฟท.ได้นำประเด็นเงื่อนไขของโฮปเวลล์หารือทางอัยการสูงสุด ซึ่งเห็นว่า เป็นเงื่อนไขที่รัฐเสียเปรียบ ไม่สามารถยอมรับได้ ทำให้ในส่วนของการเจรจา กับโฮปเวลล์ ยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม
ลุ้น ศาลปกครองประเด็นเพิกถอนนายทะเบียน - สัญญาโมฆะ
ขณะที่เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2563 นายนิติธร ลํ้าเหลือ ทนายความ ผู้ได้รับมอบอำนาจจาก รฟท. และกระทรวงคมนาคม ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ตรวจสอบการจดทะเบียนของบริษัทโฮปเวลล์ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนย้อนหลังของโฮปเวลล์ ตรวจสอบพบว่าบ.โฮปเวลล์ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนมีนิติบุคคลต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการขัดกฎหมายของไทยขณะนั้น ซึ่งตามกระบวนการศาล คาดว่านัดวันไต่สวนภายใน 30 วัน หรือภายในเดือน ก.ค.นี้ ว่าจะรับหรือไม่รับคำร้อง
โดย หากศาลมีคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์เพิกถอนการจดทะเบียน ทำให้ บ.โฮปเวลล์ไม่มีตัวตน และ สัญญาระหว่าง กระทรวงคมนาคม รฟท. และโฮปเวลล์ เป็นโมฆะ และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจะไม่เป็นผล
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมยืนยันจะต้องนำทุกประเด็น ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาและสู้ในทุกช่องทางที่จะทำได้ โดยเห็นว่า แนวทางหนึ่งที่จะต้องนำมาต่อสู้คือแนวทางเดียวกับการต่อสู้คดีโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่มีการทุจริตทำให้การลงนามสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลผูกพัน
ทั้งนี้ สำหรับคดีโฮปเวลล์นั้น ยังมีความต่างกับคดีคลองด่านอยู่บ้างในการต่อสู้ที่ผ่านมา ซึ่งคดีคลองด่าน กระทรวงการคลังและกรมควบคุมมลพิษได้ตรวจสอบ ประเด็นทุจริตคู่ขนานกับการต่อสู้คดีมาตลอด ขณะที่ คมนาคมและรฟท. เพิ่งนำประเด็นการทุจริตมาตรวจสอบ หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้จ่ายชดใช้ค่าเสียหายกับบ.โฮปเวลล์ แล้ว
โดยที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการ ต่อสู้ในประเด็นเรื่องการนับอายุความ ซึ่งศาลปกครองชั้นต้น เห็นว่าหมดอายุความจริง แต่ศาลปกครองสูงสุดกลับเห็นต่างจากศาลปกครองกลาง ทำให้ต้องยืนตามอนุญาโตตุลาการ
วานนี้ (22 ก.ค.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ 107/2552 ,2038/2551, 1379/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 366-368/2557 ระหว่าง กระทรวงคมนาคม ที่ 1 การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ 2ผู้ร้อง บริษัท โฮปเวลล์(ประเทศไทย) จำกัด ผู้คัดค้าน. โดยมีคำสั่ง ไม่รับคำร้องของกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอให้พิจารณาคดี โฮปเวลล์ใหม่ โดยอ้างเหตุว่า มีการรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดและมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป
จากคำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 119/2547 หมายเลขแดงที่ 64/2551 ลงวันที่ 30 ก.ย.25551 ที่ให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ คืนเงินค่าตอบแทนที่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ชำระและใช้เงินในการก่อสร้างโครงการ พร้อมดอกเบี้ย ราว 2.4 หมื่นล้านบาท. ให้แก่บริษัท โฮปเวลล์
ทั้งนี้ ศาลปกครองสูงสุด พิจารณากรณีที่กระทรวงคมนาคมและรฟท.โต้แย้งเรื่องงความสามารถของ บ.โฮปเวลล์ ขณะเข้าทำสัญญาว่าเป็นการดำเนินการของคนต่างด้าวที่ฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พ.ย. 2515 ทั้งที่เอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นเอกสารที่ส่วนราชการสามารถตรวจสอบได้เองในขณะที่เข้าทำสัญญาพิพาท แต่ทั้งกระทรวงคมนาคมและรฟท.มิเคยโต้แย้งมาก่อนทั้งในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าไม่ทราบถึงเหตุนั้น ในการพิจารณาครั้งที่แล้วมา โดยมิใช่ความผิดของผู้ร้อง ถือว่าเอกสารมีอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นหลักฐานที่ปราฎขึ้นใหม่
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าเบื้องต้น ได้รับทราบ ว่าศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาแล้วแต่เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างมากถึง23 หน้า จึงให้ฝ่ายกฎหมาย ของกระทรวงคมนาคมและรฟท. ตรวจสอบรายละเอียดก่อน จากนั้นจะพิจารณาแนวทางการดำเนินการต่อไป ตอนนี้ตนจึงยังให้ความเห็นอะไรไม่ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า จากที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้ ชำระค่าเสียหายให้โฮปเวลล์ วงเงินประมาณ 24,798 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 11,888 ล้านบาท ดอกเบี้ย 12,910 ล้านบาทเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการคู่ขนาน โดยตั้งคณะทำงานชุดที่มี นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน เพื่อเจรจาเงื่อนไขการชำระค่าเสียหาย เช่น ทยอยผ่านชำระ ลดดอกเบี้ย. ซึ่งบ.โฮปเวลล์ได้ยื่นข้อเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม และรฟท. ชำระเงินรวมดอกเบี้ยที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท พร้อมเงื่อนไขที่ ต้องอำนวยความสะดวกในการนำเงินออกนอกประเทศ และดำเนินการพถอนเรื่องการฟ้องร้อง อุทธรณ์คดีความต่างๆ ให้ยุติทั้งหมด
โดยกระทรวงคมนาคมและรฟท.ได้นำประเด็นเงื่อนไขของโฮปเวลล์หารือทางอัยการสูงสุด ซึ่งเห็นว่า เป็นเงื่อนไขที่รัฐเสียเปรียบ ไม่สามารถยอมรับได้ ทำให้ในส่วนของการเจรจา กับโฮปเวลล์ ยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม
ลุ้น ศาลปกครองประเด็นเพิกถอนนายทะเบียน - สัญญาโมฆะ
ขณะที่เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2563 นายนิติธร ลํ้าเหลือ ทนายความ ผู้ได้รับมอบอำนาจจาก รฟท. และกระทรวงคมนาคม ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ตรวจสอบการจดทะเบียนของบริษัทโฮปเวลล์ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยยื่นฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนย้อนหลังของโฮปเวลล์ ตรวจสอบพบว่าบ.โฮปเวลล์ขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนมีนิติบุคคลต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการขัดกฎหมายของไทยขณะนั้น ซึ่งตามกระบวนการศาล คาดว่านัดวันไต่สวนภายใน 30 วัน หรือภายในเดือน ก.ค.นี้ ว่าจะรับหรือไม่รับคำร้อง
โดย หากศาลมีคำสั่งให้กระทรวงพาณิชย์เพิกถอนการจดทะเบียน ทำให้ บ.โฮปเวลล์ไม่มีตัวตน และ สัญญาระหว่าง กระทรวงคมนาคม รฟท. และโฮปเวลล์ เป็นโมฆะ และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจะไม่เป็นผล
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมยืนยันจะต้องนำทุกประเด็น ที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาและสู้ในทุกช่องทางที่จะทำได้ โดยเห็นว่า แนวทางหนึ่งที่จะต้องนำมาต่อสู้คือแนวทางเดียวกับการต่อสู้คดีโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ที่มีการทุจริตทำให้การลงนามสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลผูกพัน
ทั้งนี้ สำหรับคดีโฮปเวลล์นั้น ยังมีความต่างกับคดีคลองด่านอยู่บ้างในการต่อสู้ที่ผ่านมา ซึ่งคดีคลองด่าน กระทรวงการคลังและกรมควบคุมมลพิษได้ตรวจสอบ ประเด็นทุจริตคู่ขนานกับการต่อสู้คดีมาตลอด ขณะที่ คมนาคมและรฟท. เพิ่งนำประเด็นการทุจริตมาตรวจสอบ หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้จ่ายชดใช้ค่าเสียหายกับบ.โฮปเวลล์ แล้ว
โดยที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการ ต่อสู้ในประเด็นเรื่องการนับอายุความ ซึ่งศาลปกครองชั้นต้น เห็นว่าหมดอายุความจริง แต่ศาลปกครองสูงสุดกลับเห็นต่างจากศาลปกครองกลาง ทำให้ต้องยืนตามอนุญาโตตุลาการ