ผู้จัดการรายวัน 360 - "หมอพรทิพย์" ตังข้อสังเกตทนาย "บอส" มีชื่อเป็นที่ปรึกษา กมธ. ยื่นขอความเป็นธรรมเอง เผยประวัติ "พล.อ.ท. จักรกฤช"พยานปากเอกช่วยให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง พบมีธุรกิจยานยนต์และเคยขายรถประจำตำแหน่งหุ้มเกราะให้หน่วยงานรัฐหลายแห่ง ขณะที่ ทนายความประจำตระกูล "สมัคร" เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาประธานที่ปรึกษาฝ่ายการยุติธรรมคณะกรรมมาธิการยุติธรรมและการตำรวจ ด้านคณะทำงานอัยการ ประชุมนัดแรก เป้าพิจารณา 3 ประเด็นหลัก ขีดเส้น 7 วันเสร็จ "ศรีสุวรรณ" ชี้พิรุธ 9 ข้อ คกก. ตรวจสอบของอัยการ-ตำรวจ “รสนา” ชี้ศาลเป็นผู้ไต่สวนว่าควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่ เป็นทางออกที่ดีที่สุด
แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Porntip Rojanasunan แสดงความคิดเห็นกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มกระทิงแดงในคดีขับรถชนตำรวจตาย ว่า “ในที่สุดสถานการณ์ก็เดินเข้าสู่เส้นทางกรรม แผนปฏิรูปประเทศถูกกำหนดกรอบไว้ว่าต้องสร้างระบบรวบรวมพยานหลักฐานใหม่ เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ มีอำนาจในการเก็บหลักฐาน ส่งตรวจ ทำรายงาน ไม่ใช่ปล่อยให้ใช้ดุลพินิจ เลือกเก็บ เลือกตรวจ เลือกทำสำนวนโดยพนักงานสอบสวน พยานหลักฐานจะเข้าสู่สำนวนทั้งหมด อัยการและศาลจะได้เห็นในสำนวน
“ผู้ตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ต้องมีระบบประกันคุณภาพ มีความรู้มีความสามารถมีคุณธรรม ความเร็วรถจะแตกต่างกันขนาดนี้ไม่ได้ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเดินหน้าไม่ได้เลยเพราะไม่มีเจ้าภาพและยังมีหน่วยต่อต้าน แต่กรณีนี้มีประเด็นเรื่องการสั่งของอัยการ และผู้บังคับบัญชาตำรวจที่ทำไมจึงดูเหมือนเป็นการตัดสินใจโดยลำพัง”
“ที่หนักสุดเห็นจะเป็นกรรมาธิการทางการเมืองทั้งระดับ ส.ส.และ ส.ว.ที่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ รายชื่อที่ปรากฎสะท้อนระบบพรรคพวก ไม่ได้เน้นที่ความยุติธรรม ที่สำคัญทนายความในคดีทำไมจึงมีชื่อเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการชุดนี้ และตัวเองยังยื่นเรื่องขอความเป็นธรรม อีกเรื่องที่พยายามผลักดันทุกทางคือสิทธิที่จะรับรู้ของเหยื่อ ระบบของไทยมักปกปิด อ้างว่าเป็นความลับในสำนวน จนทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ คราวนี้สื่อนอกเป็นผู้เสนอข้อมูลให้สังคมได้รู้จนร้อนเป็นไฟไปทั่ว เรื่องนี้เห็นทีจะเงียบหายง่ายๆ ไม่ได้แน่นอน”
เปิดตัว2พยานทำบอสหลุด
จากกรณีที่สื่อต่างประเทศ ระบุว่า อัยการของไทยสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มกระทิงแดง ในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 หลังมีการสอบปากคำพยานใหม่ 2 รายช่วงเดือน ธ.ค. 62 หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนาน 7 ปี ระบุว่า เป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่เกิดจากความประมาทปราศจากความระมัดระวังของนายวรยุทธ แต่เกิดจากความประมาท ปราศจากความระมัดระวังของผู้เสียชีวิต
จากการตรวจสอบพบว่า 1 ในพยานที่มาให้การเพิ่มเติม เป็นนายทหารยศพลอากาศโท มีชื่อว่า จักกฤช ถนอมกุลบุตร หรือ “บิ๊กต้อย” อายุ 66 ปี จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 13 นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 20 รับราชการทหารในเหล่าสารวัตรทหาร สังกัดกรมสารวัตรทหารอากาศ (สห.ทอ.) สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศ (ผบ.ดม.) ก่อนจะติดยศพลตรี ที่กระทรวงกลาโหม เมื่อครั้งที่ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม เส้นทางรับราชการไม่ได้ถือเป็นเหล่ากำลังรบหลัก หรือ สายนักบิน แต่มีชื่อเสียงในแวดวงผู้กว้างขวาง ให้บริการเช่ารถลีมูซีน รถหรู ในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ ดอนเมือง และ สุวรรณภูมิ
ถือเป็นนายทหารธุรกิจ ที่คนใน “ทัพฟ้า” รู้จัก เพราะพื้นเพเป็น “เด็กดอน” ซึ่งก็คือลูกทหารอากาศที่ เติบโตในเรือนไม้เก่าย่านดอนเมือง ซึ่งเป็นที่พักให้ทหารชั้นยศต่ำกว่านายพล
ลูกทหารอากาศ ที่มีบิดารับราชการอยู่ในหน่วยย่านดอนเมืองก็จะสนิทสนม ใกล้ชิด เป็น “เด็กดอน” เหมือนกัน เพราะทุกเช้ารถยนต์ของ กรมการขนส่งทหารอากาศ (ขส.ทอ.) จะรับส่งกำลังพล และ บุตร ธิดาของกำลังพล ที่มารอหน้าเรือนไม้ และขึ้นรถไปพร้อมกันเพื่อไปส่งโรงเรียนหลวง ย่านนั้น และไปรับกลับบ้านทุกวัน ทำให้ลูกทหารอากาศในย่านนั้นมีความใกล้ชิด สนิทสนมคุ้นเคยกัน จนมีการนำไปผูกโยงกันระหว่าง “บิ๊กต้อย” กับครอบครัวฝั่ง “มารดา บอส กระทิงแดง” ที่เป็นทหารอากาศ จากคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คดี “บอส” กลับมาฮือฮาเป็นข่าวอีกครั้ง เป็นวันเดียวกับที่ “บิ๊กต้อย” สูญเสียบิดาซึ่งเป็นทหารอากาศเกษียณ ไปเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา ในระหว่างนี้ “บิ๊กต้อย” จึงอยู่ในช่วงพิธีที่สูญเสียของคนในครอบครัว
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้เผยว่า พลอากาศโท จักกฤช เป็นเจ้าของธุรกิจรถลีมูซีนตรายักษ์พระพิราพ ในสนามบิน จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท พระพิราพ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2527 ทุนจดทะเบียน 80 ล้านบาท มี นายธนิตศักดิ์ นิยมรัตน์ภูวัติ นายวิชิต แมลงภู่ นางสาวณัฐธยาน์ โยธาประเสริฐ และ นายพิธสมพล นีติวัฒนพงษ์ โดยในปีงบการเงิน 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 114,820,053.20 บาท กำไรสุทธิ 3,057,101.03 บาท แต่พบว่าในปี 2560 ไม่ส่งงบการเงิน
นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิจารณ์ว่า พลอากาศโท จักกฤช มีความสนิมสนมกับ ว่าที่เรืออากาศโท อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร อดีตผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในยุคที่ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี เป็นกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตระกูลอยู่วิทยาและ ตระกูลภิรมย์ภักดี มีความสนิทสนมถึงขั้นร่วมตั้งบริษัทขายเฟอร์รารี ให้นายวรยุทธ อยู่วิทยา เป็นผู้บริหาร นอกจากนี้ ยังพบว่า บริษัท พระพิราพ ของ พลอากาศโท จักกฤช เคยขายรถยนต์ประจำตำแหน่งหุ้มเกราะให้กับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ส่วนอีก 1 บุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ บอส ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มกระทิงแดง รอดพ้นจากการถูกอัยการและตำรวจสั่งไม่ฟ้องในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 คือ นายสมัคร เชาวภานันท์ ทนายความของนายวรยุทธ อยู่วิทยา โดยนายสมัคร เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2492 ปัจจุบันอายุ 71 ปี จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง ม.สุโขทัยธรรมาธิราช วุฒิบัตรนักบริหารกระบวนการยุติธรรม (ระดับสูง) รุ่นที่ 1 วิทยาลัยการยุติธรรม ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ.) รุ่นที่ 4212 และประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า
ด้านประสบการณ์การทำงาน ดำรงตำแหน่งอุปนายกฝ่ายบริหารและโฆษก สภาทนายความ, กรรมการเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์, กรรมการอำนวยการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัยที่ 1-2, คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, ที่ปรึกษากฎหมายให้กับ บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด, วิทยากรและอาจารย์ สภาทนายความ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สมาชิกวุฒิสภาประธานที่ปรึกษาฝ่ายการยุติธรรมคณะกรรมมาธิการยุติธรรม และการตำรวจ, ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท บูรพากอล์ฟ จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2561, อาจารย์สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ที่ปรึกษากรรมการสำนักงานคณะกรรมการกจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.), เคยเป็น สมาชิกวุฒิสภา ประเภทสรรหา สายวิชาชีพ ในปี 2551-2554 และ 2554-2557, ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด และ บริษัท สยามไวเนอรี่ จำกัด, ประธานที่ปรึกษา บริษัท AIA จำกัด (ประเทศไทย) รวมถึงมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท บูรพากอล์ฟ จำกัด ธุรกิจสนามกอล์ฟของตระกูลอยู่วิทยา ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีด้วย
ในปี 2555 ที่มีการเลือกรองประธาน ส.ว.คนที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่างลง นายสมัคร ถือเป็นแคนดิเดตคนหนึ่ง เนื่องจากการเป็นทนายความของตระกูลอยู่วิทยาทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ผลการลงมติปรากฏว่านายบุญชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นผู้ได้รับเลือก
หลังจากการรัฐประหารปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ขึ้นมาทำหน้าที่แทนรัฐสภา นายสมัคร ได้เข้าเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ ของ สนช. ซึ่งมี พล.ร.อ.ศิษฐวัชร์ วงษ์สุวรรณ น้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน โดยในช่วงเวลานี้เอง มีกระแสข่าวว่านายสมัครได้ยื่นเรื่องของคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ เพื่อขอความเป็นธรรมในคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หลังจากนั้นกรรมาธิการฯ ได้ประสานไปยังอัยการ จนนำไปสู่การสอบพยานเพิ่มเติมและนายวรยุทธหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาในที่สุด
พุ่งเป้าสอบ 3 ประเด็น 7 วันต้องเสร็จ
นายประยุทธ เพชรคุณ ผู้ช่วยเลขานุการ คณะทำงานตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา เปิดเผยว่า จะมีการพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักตามที่อัยการสูงสุดได้สั่งการ ประเด็นแรกคือ คำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นที่ 2 การพิจารณาสั่งคดีของอัยการเป็นไปตามระเบียบกระบวนการหรือไม่ และประเด็นสุดท้ายคณะทำงาน จะพิจารณาว่ามีเหตุและผลการพิจารณาอย่างไรที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ โดยอัยการสูงสุดมีกรอบให้ทำงาน 7 วัน ในการสรุปประเด็นดังกล่าว
“พี่ศรี” ชี้พิรุธ 9 ข้อ คดี“บอส”
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า กรณีที่เกิดขึ้นมีข้อพิรุธและข้อสงสัยที่สังคมไทยต้องการคำตอบจากอัยการและตำรวจ ถึง 9 ประเด็น ดังนี้
1. ตามระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุด การสั่งคดีอาญาที่จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดเท่านั้น เหตุใดรองอัยการสูงสุด จึงสั่งแทนได้
2. การระบุมีพยานใหม่ 2 ราย ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่เพิ่งมาโผล่เป็นพลเมืองดีเมื่อเวลาผ่านไป 7 ปีแล้ว แต่ทำไมอัยการจึงให้น้ำหนักกับพยาน 2 รายดังกล่าว
3. การที่ผู้ตรวจสอบความเร็วให้การในครั้งแรกว่า บอส ขับรถด้วยความเร็ว 177 กม./ชม.เมื่อมีการร้องขอความเป็นธรรม ความเร็วของรถลดลงเหลือเพียง 76 กม./ชม. ซึ่งอัยการก็เชื่อตามนั้นได้อย่างไร
4. ข้อมูลการพบสารแปลกปลอมในร่างกายของ นายบอส ทำไมจึงไม่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ที่ส่งไปยังอัยการเลย
5. การร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ สนช. ซึ่งมิได้มีหน้าที่ใดๆ ในทางคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเลยนั้น อัยการให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือได้อย่างไร
6. การปล่อยให้บอสหลบหนีไปต่างประเทศหลังจากประกันตัวออกไป จนนำไปสู่การขอเลื่อนคดีถึง 7 ครั้ง การกระทำเช่นนี้ในทางคดีเรียกว่าเป็นการประวิงคดี อัยการไม่รู้เชียวหรือ
7. การตั้งข้อหาให้นายดาบตำรวจที่เสียชีวิตว่าเป็นจำเลยร่วมในคดี ทั้งๆ ที่เป็นผู้เสียหายในคดีซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงที่สังคมรับรู้ร่วมกัน เป็นเทคนิคทางคดีที่เด็กอมมือก็รู้ แต่อัยการไม่รู้เชียวหรือ
8. กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติว่ามีมูลความผิดตำรวจ 7 นาย ฐานเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในข้อกล่าวหาหลายๆ ข้อ ซึ่งล้วนมีน้ำหนักในทางคดีมาก เหตุใดอัยการจึงไม่ให้น้ำหนักต่อรายงานของ ป.ป.ช.ดังกล่าว
9. คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจกันของสาธารณชน เป็นคดีใหญ่ ในการสั่งคดีนั้นต้องคำนึงถึงระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของอัยการ 2547 โดยเคร่งครัดให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ตามข้อ 5 ณ เวลานี้ ท่านอัยการได้ปฏิบัติครบถ้วนแล้วหรือ
"ศตวรรษ" มั่นใจแล้วเสร็จทันเวลา
พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.เปิดเผยกรณี พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.มีคำสั่งแต่งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการทำคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ว่า เบื้องต้นได้นัดหมายให้คณะกรรมการที่มีรายชื่อทั้งหมด ไปประชุมเรื่องนี้ ในวันที่ 29 กรกรฎาคม เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)และจะเร่งพิจารณาข้อเท็จจริงทันที เพื่อหาข้อสรุปให้ได้โดยเร็วที่สุด อีกทั้งผบ.ตร.ได้กำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง" ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.ระบุ
รสนา ชี้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่
นางรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก มีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า ในกรณีที่ตำรวจจะขออนุมัติให้ศาลถอนหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา ศาลย่อมสามารถเปิดการไต่สวนก่อนที่จะพิจารณาว่าจะเพิกถอนหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 เช่นเดียวกัน
ในคดีนี้ศาลก็สามารถใช้มาตราทั้งสองนี้สั่งไต่สวนได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลว่าควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่ ซึ่งการไต่สวนถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ศาลใช้ดุลพินิจในการมีคำสั่งได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม
หากศาลมีคำสั่งไต่สวนก่อนเพิกถอนหมายจับ ศาลสามารถเรียกสำนวนสอบสวนเดิมและที่สอบสวนเพิ่มเติม และสำนวนของพนักงานอัยการทั้งของเดิมและของใหม่มาพิจารณาตรวจสอบ ซึ่งจะเห็นข้อพิรุธที่น่าสงสัยหลายประการ
การให้ศาลซึ่งเป็นสดมภ์ฝ่ายตุลาการเป็นผู้ไต่สวนว่าควรเพิกถอนหมายจับผู้ต้องหาหรือไม่ ย่อมดีกว่าการให้พนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นสดมภ์ฝ่ายบริหารตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกันเอง เพราะขาดความน่าเชื่อถือในความเป็นกลาง “การให้คนกลางคือศาลเป็นผู้ตรวจสอบหาความถูกต้องโดยการไต่สวนว่าควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด”
แพทย์หญิง คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Porntip Rojanasunan แสดงความคิดเห็นกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มกระทิงแดงในคดีขับรถชนตำรวจตาย ว่า “ในที่สุดสถานการณ์ก็เดินเข้าสู่เส้นทางกรรม แผนปฏิรูปประเทศถูกกำหนดกรอบไว้ว่าต้องสร้างระบบรวบรวมพยานหลักฐานใหม่ เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ มีอำนาจในการเก็บหลักฐาน ส่งตรวจ ทำรายงาน ไม่ใช่ปล่อยให้ใช้ดุลพินิจ เลือกเก็บ เลือกตรวจ เลือกทำสำนวนโดยพนักงานสอบสวน พยานหลักฐานจะเข้าสู่สำนวนทั้งหมด อัยการและศาลจะได้เห็นในสำนวน
“ผู้ตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ต้องมีระบบประกันคุณภาพ มีความรู้มีความสามารถมีคุณธรรม ความเร็วรถจะแตกต่างกันขนาดนี้ไม่ได้ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเดินหน้าไม่ได้เลยเพราะไม่มีเจ้าภาพและยังมีหน่วยต่อต้าน แต่กรณีนี้มีประเด็นเรื่องการสั่งของอัยการ และผู้บังคับบัญชาตำรวจที่ทำไมจึงดูเหมือนเป็นการตัดสินใจโดยลำพัง”
“ที่หนักสุดเห็นจะเป็นกรรมาธิการทางการเมืองทั้งระดับ ส.ส.และ ส.ว.ที่ต้องโปร่งใสตรวจสอบได้ รายชื่อที่ปรากฎสะท้อนระบบพรรคพวก ไม่ได้เน้นที่ความยุติธรรม ที่สำคัญทนายความในคดีทำไมจึงมีชื่อเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการชุดนี้ และตัวเองยังยื่นเรื่องขอความเป็นธรรม อีกเรื่องที่พยายามผลักดันทุกทางคือสิทธิที่จะรับรู้ของเหยื่อ ระบบของไทยมักปกปิด อ้างว่าเป็นความลับในสำนวน จนทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ คราวนี้สื่อนอกเป็นผู้เสนอข้อมูลให้สังคมได้รู้จนร้อนเป็นไฟไปทั่ว เรื่องนี้เห็นทีจะเงียบหายง่ายๆ ไม่ได้แน่นอน”
เปิดตัว2พยานทำบอสหลุด
จากกรณีที่สื่อต่างประเทศ ระบุว่า อัยการของไทยสั่งไม่ฟ้อง นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มกระทิงแดง ในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 หลังมีการสอบปากคำพยานใหม่ 2 รายช่วงเดือน ธ.ค. 62 หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนาน 7 ปี ระบุว่า เป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่เกิดจากความประมาทปราศจากความระมัดระวังของนายวรยุทธ แต่เกิดจากความประมาท ปราศจากความระมัดระวังของผู้เสียชีวิต
จากการตรวจสอบพบว่า 1 ในพยานที่มาให้การเพิ่มเติม เป็นนายทหารยศพลอากาศโท มีชื่อว่า จักกฤช ถนอมกุลบุตร หรือ “บิ๊กต้อย” อายุ 66 ปี จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 13 นักเรียนนายเรืออากาศรุ่น 20 รับราชการทหารในเหล่าสารวัตรทหาร สังกัดกรมสารวัตรทหารอากาศ (สห.ทอ.) สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศ (ผบ.ดม.) ก่อนจะติดยศพลตรี ที่กระทรวงกลาโหม เมื่อครั้งที่ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม เส้นทางรับราชการไม่ได้ถือเป็นเหล่ากำลังรบหลัก หรือ สายนักบิน แต่มีชื่อเสียงในแวดวงผู้กว้างขวาง ให้บริการเช่ารถลีมูซีน รถหรู ในพื้นที่ท่าอากาศยานฯ ดอนเมือง และ สุวรรณภูมิ
ถือเป็นนายทหารธุรกิจ ที่คนใน “ทัพฟ้า” รู้จัก เพราะพื้นเพเป็น “เด็กดอน” ซึ่งก็คือลูกทหารอากาศที่ เติบโตในเรือนไม้เก่าย่านดอนเมือง ซึ่งเป็นที่พักให้ทหารชั้นยศต่ำกว่านายพล
ลูกทหารอากาศ ที่มีบิดารับราชการอยู่ในหน่วยย่านดอนเมืองก็จะสนิทสนม ใกล้ชิด เป็น “เด็กดอน” เหมือนกัน เพราะทุกเช้ารถยนต์ของ กรมการขนส่งทหารอากาศ (ขส.ทอ.) จะรับส่งกำลังพล และ บุตร ธิดาของกำลังพล ที่มารอหน้าเรือนไม้ และขึ้นรถไปพร้อมกันเพื่อไปส่งโรงเรียนหลวง ย่านนั้น และไปรับกลับบ้านทุกวัน ทำให้ลูกทหารอากาศในย่านนั้นมีความใกล้ชิด สนิทสนมคุ้นเคยกัน จนมีการนำไปผูกโยงกันระหว่าง “บิ๊กต้อย” กับครอบครัวฝั่ง “มารดา บอส กระทิงแดง” ที่เป็นทหารอากาศ จากคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่คดี “บอส” กลับมาฮือฮาเป็นข่าวอีกครั้ง เป็นวันเดียวกับที่ “บิ๊กต้อย” สูญเสียบิดาซึ่งเป็นทหารอากาศเกษียณ ไปเมื่อวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา ในระหว่างนี้ “บิ๊กต้อย” จึงอยู่ในช่วงพิธีที่สูญเสียของคนในครอบครัว
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้เผยว่า พลอากาศโท จักกฤช เป็นเจ้าของธุรกิจรถลีมูซีนตรายักษ์พระพิราพ ในสนามบิน จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท พระพิราพ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2527 ทุนจดทะเบียน 80 ล้านบาท มี นายธนิตศักดิ์ นิยมรัตน์ภูวัติ นายวิชิต แมลงภู่ นางสาวณัฐธยาน์ โยธาประเสริฐ และ นายพิธสมพล นีติวัฒนพงษ์ โดยในปีงบการเงิน 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวม 114,820,053.20 บาท กำไรสุทธิ 3,057,101.03 บาท แต่พบว่าในปี 2560 ไม่ส่งงบการเงิน
นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิจารณ์ว่า พลอากาศโท จักกฤช มีความสนิมสนมกับ ว่าที่เรืออากาศโท อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร อดีตผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในยุคที่ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี เป็นกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตระกูลอยู่วิทยาและ ตระกูลภิรมย์ภักดี มีความสนิทสนมถึงขั้นร่วมตั้งบริษัทขายเฟอร์รารี ให้นายวรยุทธ อยู่วิทยา เป็นผู้บริหาร นอกจากนี้ ยังพบว่า บริษัท พระพิราพ ของ พลอากาศโท จักกฤช เคยขายรถยนต์ประจำตำแหน่งหุ้มเกราะให้กับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ส่วนอีก 1 บุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ บอส ทายาทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มกระทิงแดง รอดพ้นจากการถูกอัยการและตำรวจสั่งไม่ฟ้องในคดีขับรถชนเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 คือ นายสมัคร เชาวภานันท์ ทนายความของนายวรยุทธ อยู่วิทยา โดยนายสมัคร เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2492 ปัจจุบันอายุ 71 ปี จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา) รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง ม.สุโขทัยธรรมาธิราช วุฒิบัตรนักบริหารกระบวนการยุติธรรม (ระดับสูง) รุ่นที่ 1 วิทยาลัยการยุติธรรม ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ.) รุ่นที่ 4212 และประกาศนียบัตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 6 สถาบันพระปกเกล้า
ด้านประสบการณ์การทำงาน ดำรงตำแหน่งอุปนายกฝ่ายบริหารและโฆษก สภาทนายความ, กรรมการเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์, กรรมการอำนวยการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สมัยที่ 1-2, คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย, ที่ปรึกษากฎหมายให้กับ บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด, วิทยากรและอาจารย์ สภาทนายความ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สมาชิกวุฒิสภาประธานที่ปรึกษาฝ่ายการยุติธรรมคณะกรรมมาธิการยุติธรรม และการตำรวจ, ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท บูรพากอล์ฟ จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2561, อาจารย์สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ที่ปรึกษากรรมการสำนักงานคณะกรรมการกจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.), เคยเป็น สมาชิกวุฒิสภา ประเภทสรรหา สายวิชาชีพ ในปี 2551-2554 และ 2554-2557, ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส จำกัด และ บริษัท สยามไวเนอรี่ จำกัด, ประธานที่ปรึกษา บริษัท AIA จำกัด (ประเทศไทย) รวมถึงมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท บูรพากอล์ฟ จำกัด ธุรกิจสนามกอล์ฟของตระกูลอยู่วิทยา ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีด้วย
ในปี 2555 ที่มีการเลือกรองประธาน ส.ว.คนที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่างลง นายสมัคร ถือเป็นแคนดิเดตคนหนึ่ง เนื่องจากการเป็นทนายความของตระกูลอยู่วิทยาทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ผลการลงมติปรากฏว่านายบุญชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นผู้ได้รับเลือก
หลังจากการรัฐประหารปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ขึ้นมาทำหน้าที่แทนรัฐสภา นายสมัคร ได้เข้าเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ ของ สนช. ซึ่งมี พล.ร.อ.ศิษฐวัชร์ วงษ์สุวรรณ น้องชายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธาน โดยในช่วงเวลานี้เอง มีกระแสข่าวว่านายสมัครได้ยื่นเรื่องของคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ เพื่อขอความเป็นธรรมในคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หลังจากนั้นกรรมาธิการฯ ได้ประสานไปยังอัยการ จนนำไปสู่การสอบพยานเพิ่มเติมและนายวรยุทธหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาในที่สุด
พุ่งเป้าสอบ 3 ประเด็น 7 วันต้องเสร็จ
นายประยุทธ เพชรคุณ ผู้ช่วยเลขานุการ คณะทำงานตรวจสอบการสั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา เปิดเผยว่า จะมีการพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักตามที่อัยการสูงสุดได้สั่งการ ประเด็นแรกคือ คำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นที่ 2 การพิจารณาสั่งคดีของอัยการเป็นไปตามระเบียบกระบวนการหรือไม่ และประเด็นสุดท้ายคณะทำงาน จะพิจารณาว่ามีเหตุและผลการพิจารณาอย่างไรที่อัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ โดยอัยการสูงสุดมีกรอบให้ทำงาน 7 วัน ในการสรุปประเด็นดังกล่าว
“พี่ศรี” ชี้พิรุธ 9 ข้อ คดี“บอส”
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า กรณีที่เกิดขึ้นมีข้อพิรุธและข้อสงสัยที่สังคมไทยต้องการคำตอบจากอัยการและตำรวจ ถึง 9 ประเด็น ดังนี้
1. ตามระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุด การสั่งคดีอาญาที่จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์อันสําคัญของประเทศ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดเท่านั้น เหตุใดรองอัยการสูงสุด จึงสั่งแทนได้
2. การระบุมีพยานใหม่ 2 ราย ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่เพิ่งมาโผล่เป็นพลเมืองดีเมื่อเวลาผ่านไป 7 ปีแล้ว แต่ทำไมอัยการจึงให้น้ำหนักกับพยาน 2 รายดังกล่าว
3. การที่ผู้ตรวจสอบความเร็วให้การในครั้งแรกว่า บอส ขับรถด้วยความเร็ว 177 กม./ชม.เมื่อมีการร้องขอความเป็นธรรม ความเร็วของรถลดลงเหลือเพียง 76 กม./ชม. ซึ่งอัยการก็เชื่อตามนั้นได้อย่างไร
4. ข้อมูลการพบสารแปลกปลอมในร่างกายของ นายบอส ทำไมจึงไม่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน สน.ทองหล่อ ที่ส่งไปยังอัยการเลย
5. การร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ สนช. ซึ่งมิได้มีหน้าที่ใดๆ ในทางคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเลยนั้น อัยการให้น้ำหนักความน่าเชื่อถือได้อย่างไร
6. การปล่อยให้บอสหลบหนีไปต่างประเทศหลังจากประกันตัวออกไป จนนำไปสู่การขอเลื่อนคดีถึง 7 ครั้ง การกระทำเช่นนี้ในทางคดีเรียกว่าเป็นการประวิงคดี อัยการไม่รู้เชียวหรือ
7. การตั้งข้อหาให้นายดาบตำรวจที่เสียชีวิตว่าเป็นจำเลยร่วมในคดี ทั้งๆ ที่เป็นผู้เสียหายในคดีซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงที่สังคมรับรู้ร่วมกัน เป็นเทคนิคทางคดีที่เด็กอมมือก็รู้ แต่อัยการไม่รู้เชียวหรือ
8. กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติว่ามีมูลความผิดตำรวจ 7 นาย ฐานเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในข้อกล่าวหาหลายๆ ข้อ ซึ่งล้วนมีน้ำหนักในทางคดีมาก เหตุใดอัยการจึงไม่ให้น้ำหนักต่อรายงานของ ป.ป.ช.ดังกล่าว
9. คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจกันของสาธารณชน เป็นคดีใหญ่ ในการสั่งคดีนั้นต้องคำนึงถึงระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของอัยการ 2547 โดยเคร่งครัดให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน ตามข้อ 5 ณ เวลานี้ ท่านอัยการได้ปฏิบัติครบถ้วนแล้วหรือ
"ศตวรรษ" มั่นใจแล้วเสร็จทันเวลา
พล.ต.อ.ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.เปิดเผยกรณี พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.มีคำสั่งแต่งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการทำคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา ว่า เบื้องต้นได้นัดหมายให้คณะกรรมการที่มีรายชื่อทั้งหมด ไปประชุมเรื่องนี้ ในวันที่ 29 กรกรฎาคม เวลา 10.00 น.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)และจะเร่งพิจารณาข้อเท็จจริงทันที เพื่อหาข้อสรุปให้ได้โดยเร็วที่สุด อีกทั้งผบ.ตร.ได้กำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง" ที่ปรึกษาพิเศษ ตร.ระบุ
รสนา ชี้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่
นางรสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก มีข้อความส่วนหนึ่งระบุว่า ในกรณีที่ตำรวจจะขออนุมัติให้ศาลถอนหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา ศาลย่อมสามารถเปิดการไต่สวนก่อนที่จะพิจารณาว่าจะเพิกถอนหมายจับนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 เช่นเดียวกัน
ในคดีนี้ศาลก็สามารถใช้มาตราทั้งสองนี้สั่งไต่สวนได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลว่าควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่ ซึ่งการไต่สวนถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ศาลใช้ดุลพินิจในการมีคำสั่งได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม
หากศาลมีคำสั่งไต่สวนก่อนเพิกถอนหมายจับ ศาลสามารถเรียกสำนวนสอบสวนเดิมและที่สอบสวนเพิ่มเติม และสำนวนของพนักงานอัยการทั้งของเดิมและของใหม่มาพิจารณาตรวจสอบ ซึ่งจะเห็นข้อพิรุธที่น่าสงสัยหลายประการ
การให้ศาลซึ่งเป็นสดมภ์ฝ่ายตุลาการเป็นผู้ไต่สวนว่าควรเพิกถอนหมายจับผู้ต้องหาหรือไม่ ย่อมดีกว่าการให้พนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นสดมภ์ฝ่ายบริหารตั้งคณะกรรมการตรวจสอบกันเอง เพราะขาดความน่าเชื่อถือในความเป็นกลาง “การให้คนกลางคือศาลเป็นผู้ตรวจสอบหาความถูกต้องโดยการไต่สวนว่าควรเพิกถอนหมายจับหรือไม่ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด”